เรื่องเด่น บุคคล 7 ระดับ ตามหลักพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย อกาลิโก!, 10 มีนาคม 2018.

  1. อกาลิโก!

    อกาลิโก! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    609
    กระทู้เรื่องเด่น:
    531
    ค่าพลัง:
    +3,731
    บุคคล 7 ระดับ ตามหลักพระพุทธศาสนา

    person-7-level-850x491.jpg


    บุคคล 7 ระดับ ตามหลักพระพุทธศาสนา

    1. อันธปุถุชน

    หมายถึง บุคคลที่ยังเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นอยู่ตามเหตุปัจจัย ยังไม่สามารถอยู่ในศีลห้าได้ จิตใจยังมีความคิดอกุศล คิดดีบ้าง คิดชั่วบ้าง มีความขุ่นเคือง มีความอิจฉาริษยามากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย

    2. กัลยาณชน

    หมายถึง บุคคลที่เว้นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทางกายและวาจาได้แล้ว คือผู้ที่ถือศีลห้าได้เป็นปกติแล้ว แต่ยังต้องสำรวมตนอยู่เสมอ เพราะถ้ามีเหตุปัจจัยรุมเร้าหนักๆ ก็อาจจะทำผิดศีลได้อีก จิตใจยังมีความคิดอกุศลอยู่ แต่มีความรู้สึกตัวเร็ว ไม่ปล่อยให้ความคิดอกุศลอยู่เหนือตนเองมากเกินไป

    3. พระโพธิสัตว์

    หมายถึง บุคคลที่เว้นจากการเบียนเบียนผู้อื่นทางกายและวาจา คือบุคคลผู้ถือศีลห้าได้เป็นปกติ มีจิตคิดถึงผู้อื่นมากกว่าคิดถึงตนเอง มีความเสียสละ และความอดทนสูงเกินคนปกติ แม้จิตใจยังมีความคิดที่เป็นอกุศลอยู่บ้าง แต่ความอกุศลนั้น ไม่ลุกลามถึงขั้นทำร้ายผู้อื่นได้

    4. พระโสดาบัน

    หมายถึง บุคคลที่เว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่นทางกายและวาจา เป็นบุคคลที่ถือศีลห้าได้เป็นปกติ ไม่มีวันคิดทำผิดศีลธรรมอีกต่อไป เป็นผู้มีจิตใจสงบนิ่งตามสมควร มีความเข้าใจตรงตามความจริงว่า กายใจนี้ไม่ใช่ของเรา แต่ยังตัดไม่ขาด มีความเห็นเกี่ยวกับชีวิตถูกต้องตามความเป็นจริง(สัมมาทิฏฐิ) มั่นคงในคุณธรรมชนิดยอมตายดีกว่ายอมทำชั่ว จิตใจยังมีความเศร้าหมองอยู่บ้าง แต่ไม่สามารถพัฒนาถึงขั้นคิดริษยาใครได้

    5. พระสกทาคามี

    หมายถึง บุคคลที่เว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่นทางกายและวาจา เป็นบุคคลที่ถือศีลห้าได้เป็นปกติ ไม่มีวันคิดทำผิดศีลอีกต่อไป เป็นผู้มีจิตเป็นสมาธิมั่นคง มีความเข้าใจตรงตามความจริงว่า กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของเรา แต่ยังตัดไม่ขาด มีความเห็นเกี่ยวกับโลกตรงตามความเป็นจริง(สัมมาทิฏฐิ) จิตใจยังมีความเศร้าหมองอยู่เล็กน้อย ยังมีความติดใจในรูป รส กลิ่น เสียงอยู่เล็กน้อย แต่ไม่สามารถพัฒนาไปถึงขั้นเกิดความโลภ

    6. พระอนาคามี

    หมายถึง บุคคลที่เว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่นทางกายและวาจา เป็นบุคคลที่ถือศีลห้าได้เป็นปกติ ไม่มีวันคิดทำผิดศีลอีกต่อไป เป็นผู้มีจิตเป็นสมาธิตั้งมั่น มีความเป็นกลางของอารมณ์ค่อนข้างสูง(อุเบกขา) มีความเห็นเกี่ยวกับโลกตรงตามความเป็นจริง(สัมมาทิฏฐิ) มีสติมั่นคงเป็นมหาสติทำให้รู้ทันความโกรธ จนเป็นผู้ไร้ความโกรธ ไม่อยู่ในอำนาจของลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จิตแทบไม่หลงเหลือความขุ่นเคืองอยู่เลย แต่ยังมีความต้องการความเบิกบาน ยังพอใจในสมาธิ และยังรู้สึกถึงความมีตัวตนของตนเองอยู่

    7. พระอรหันต์

    หมายถึง บุคคลผู้รู้แจ้งในความจริงว่า ความเป็นตัวตนคือสิ่งสมมุติ เป็นผู้ทำลายอัตตาและกิเลสของตนเองแล้ว เป็นผู้ไม่เหลือความทุกข์โดยสิ้นเชิงแล้ว

    ***หนทางแห่งการพัฒนาตนเอง***
    1. หมั่นกระทำพรหมวิหารสี่อยู่เสมอ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

    2. หมั่นพิจารณาในความดี และประโยชน์ของศีล และวางตนอยู่ในศีลอย่างเคร่งครัด โดยมีมุมมองต่อศีลว่า ศีลคือความท้าทายในการใช้ชีวิตให้มีความดีงาม มิใช่กฏข้อห้ามที่ทำตามๆ กันไปอย่างไร้ปัญญา

    3. หมั่นคิดตรึกตรองว่า ชีวิตคือความไม่แน่นอน ทุกสิ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป

    4. หมั่นทำสมาธิให้มากพอ

    5. หมั่นทำวิปัสสนาให้มากพอ

    แม้ชีวิตนี้เกิดมาด้วยอัตภาพของความเป็นปุถุชน แต่เราทุกคนก็มีศักยภาพที่จะพัฒนาจิตใจของตนเองได้ หากมีความอดทนและตั้งใจจริง!!!



    ขอบพระคุณแหล่งที่มา : Talktopasin2013



    -----------------
    ขอบคุณที่มา
    http://rugyim.com/3940
     
  2. Norawon

    Norawon สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2018
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +208
    สาธุคับ
     
  3. athip19

    athip19 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2017
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +43
    สาธุ
     
  4. madeaw23

    madeaw23 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    210
    ค่าพลัง:
    +188
    สาธุครับ
     
  5. Bodhisattva

    Bodhisattva The Spirit of BUDDHA

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2018
    โพสต์:
    506
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,662
    สาธุๆๆ ค่ะ
     
  6. mrmos

    mrmos Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,191
    ค่าพลัง:
    +1,095
    sa222.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...