อาณาปานสติอย่าไงให้ได้ปฐมฌานครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nuttaponswords, 6 กรกฎาคม 2018.

  1. nuttaponswords

    nuttaponswords สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +2
    อาณาปานสติอย่าไงให้ได้ปฐมฌานครับ
    ผมอาณาปานสติวันละครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงครับมาหลายเดือน
    เวลานั่งดูลมหายใจถ้ามีผัสสะกระทบทางหูก็จะกำหนดรู้ไปพร้อมๆกับดูลมหายใจ
    แล้วจิตจะปรุงไม่ได้ครับหรือถ้าจิตมันคิดออกไปผมก็จะกำหนดรู้ครับและดูลมหายใจ
    มันนิ่งนานๆบ้างไม่นานบ้างไม่เที่ยง แบบนี้ผมทำถูกหรือไม่ครับ
    ถ้าจะทำฌานต้องเพ่งลมอย่างเดียวห้ามกำหนดรู้หรือป่าวครับ
    หรือถ้ามีเสียงมากระทบก็ไม่สามารถทำฌานได้เลยครับเพราะที่บ้านมีดเสียงจากภายนอก
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    1.เวลาปฏิบัติ ต้องรักษาใจตลอดทั้งวันทุกลมหายใจเข้าออก อย่าให้กิเลสกำเริบครับ
    2.ปฏิบัติแค่ 30 นาทีไม่พอกิน ถ้าเวลาที่เหลือ โดนกิเลสกิน ครับ หัดปฏิบัติ มีสติ ภาวนาในชีวิตประจำวัน อย่าหายใจทิ้ง
    3.เวลาปฏิบัติ เราต้องรักษาอารมณ์หนึ่ง ครับ ไม่มีสอง จิตเราถึงจะสงบลงสู่สมาธิ ฌาน ครับ การที่เราปฏิบัติ อานาปานสติ อยู่เรามีสติ จดจ่ออยู่กับลมหายใจเท่านั้น สิ่งต่างๆอื่นๆที่มากระทบให้ปล่อยวาง อย่าเอาจิตไปจับอารมณ์อื่นๆที่มากระทบ โดยเฉพาะเสียง เพราะเสียงเป็นฆ่าศึกของปฐมฌานโดยตรง

    พระพุทธเจ้าสอนให้เราหาที่ที่เป็นสัปปายะที่เหมาะสม ควรแก่การบำเพ็ญปฏิบัติ ครับ ถ้าที่มีความวุ่นวาย แล้วเรายังไม่สามารถถึงละได้ ก็จะขวางผลการปฏิบัติให้ยากลำบากกว่าปรกติ ต้องใช้ความพยายามมากกว่าเดิม จนกว่าเราจะมีสติเลิกสนใจในเสียง เสียงไม่กระทบเรา ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2018
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    จขกท เคยทำบุญปะ

    เคย สละ ความโลภ โกรธ หลง ไหม

    ถ้าเคย ให้สังเกต ความโปร่งของใจ คุ้นเคย
    กับ ปิติ โล่ง เบา สบายๆ ลัดสั้น กำหนดรู้
    คุณของ กุสลจิตที่ได้เปนวิบาก ให้ชัดๆ

    พร้อมทั้งเหน ความดับไป ของกุสลเหล่านั้น
    เมื่อหมดเหตุ ของความเปนอย่างนั้น ทราบชัด
    ลงเปนโทษ(มีเกิด มีดับเปนธรรมดา)

    ไม่ใช่ไปดูคิด ดูนิ่ง ดูบริกรรม ดูปล่อยบริกรรม

    ทีนี้ เวลา เดิน ยืน นั่ง นอน ขึ้นรถเมล์ ลงเรือ
    เดินในห้าง ทำการประชุมงานออกความคิดเหน

    ก้ให้ ระลึก ถึง ความโปร่งของใจ เวลา ระลึก
    ลมหายมจเข้า ออก สั้น ยาว (คนละรื่องกับ
    การเพ่งลม บริกรรม ซึ่งไม่คล่องตัว ชะงัก
    เฉยโง่ )

    นะ

    เน้นว่า เหนความโปร่ง โล่งใจ สั้นๆ ที่ได้จาก
    การระลึกได้ว่า ลมเข้า ออก สั้น ยาว แล้วไม่
    ติดซึม ติดเฉย

    เหนความเกิด ดับ ของการระลึกได้ในปฏิปทา
    ที่เรียกว่า อานาปานสติ จนหน่วงเหนี่ยว
    ความโปร่ง โล่งใจ ได้ใรทุกสภาน กาลทุกเมื่อ
    ฉลาดในจิตบันเทิง ฉลาดในสัปปายะได้ใน
    ทุกสถาณการณ์

    จนกระทั่ง เหน โลกก้ส่วนนึง ความเปนกลาง
    ในการแลโลกส่วนนั้นอยู่ก้อีกส่วนนึง ตามเหน
    การพรากออกจากขันธ์ พรากออกจากโลก
    แต่ก้ยังทำกิจ สละ จาคะ อุทิสพละกำลังทำ
    ประโยชน์ให้กับโลก ด้วยความกตัญญู รู้คุณ

    ไม่ใช่ อ้างกุสล นั่งนิ่งๆ เยี่ยงคน ค่าเงิน บาทโซ้ป

    เว้นแต่ จะเปน นักบวช อันนี้ต้องเน้นนิ่ง และ
    สละออกด้วยการ บิณฑบาตรเลี้ยงชีพ เปิด
    โอกาสให้คนสั ธาไทยไม่ตกล่วง เทศนาว่าการ
    ตามกำลังเท่าที่มี
     
  4. แผ่บุญ

    แผ่บุญ ชอบ~ศรัทธา 40 อสงไขย

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2018
    โพสต์:
    355
    ค่าพลัง:
    +307
    สำหรับผมทำไปเรื่อยๆ ถึงเมื่อไรก็ไม่เป็นไร ทำทุกวันไม่หยุดสักวันต้องถึงทั้งเรื่องสมาธิทั้งอย่างอื่น หลวงพ่อ หลวงปู่ หลวงตา ดังๆในอดีต ก่อนที่ท่านจะเป็นพระอรหันต์กันจริงๆ สมัยที่เป็นฆาราวาสเหมือนเราๆ ท่านรู้ตัวหรือเปล่าว่าชาตินี้ท่านจะได้หมดกิเลสถึงพระอรหันต์ คำตอบตามจริงคือไม่มีใครรู้หรอกมีแต่ ออกบวชจะตามประเพณีหรือกรรมบันดาล ก็ต้องเพียรปฏิบัติไปเรื่อยๆเท่านั้น เวลามันจะได้จะถึงมันจะเป็นของมันเอง โดยไม่ต้องนึกคิดไว้ก่อนล่วงหน้ามันก็ได้มันก็ถึง เวลามันยังไม่ถึงอยากให้ถึงแทบตายมันก็ไม่ถึง ตย. พระอานนท์ทรงบรรลุธรรมอรหันต์ ในพุทธกาล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2018
  5. nuttaponswords

    nuttaponswords สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +2
    ขอบคุณครับ
     
  6. nuttaponswords

    nuttaponswords สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +2
    ขอบคุณครับไม่ต้องไปรู้ตามเสียงใช่มั้ยครับ
     
  7. เส้นทางยาวไกล

    เส้นทางยาวไกล Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2018
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +206
    ศีลห้าบริสุทธิ์ด้วยครับ จะส่งผลให้ได้สมาธิเร็ว
     
  8. nuttaponswords

    nuttaponswords สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +2
    ขอบคุณคับ
     
  9. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกหยุด
    ที่ปลายจมูกนะครับส่วนลมหายใจ
    ให้ดันให้ลึกจนท้องพองเวลาหายใจเข้า
    และเวลาหายใจออกท้องแฟ้บ
    แต่ห้ามตามลม ส่วนการเห็นสายลม
    ได้ยินเสียงชัดเจน พวกนี้เป็นแค่ผลอย่าสนใจ
    เพราะการตามดูลมนั่งทั้งชาติ
    ก็ไม่เกินปฐมฌานอยู่แล้วครับ

    จนกว่าจิตจะไม่สนลมหายใจ
    (ไม่ใช่ลมหายใจหรือคำภาวนาหายนะ
    แต่เพราะจิตละเอียกกว่าเลยไม่สนใจ
    ลมหายใจและคำภาวนาเพราะมันหยาบไปครับ)
    มันถึงจะพรวดพลาดเข้าได้เกินแฐมฌานครับ

    แต่ดูกิริยาแล้ว ตัวจิตตามธรรมชาติตอนนี้
    มันจะโน้มไปทางด้านปัญญามากกว่านะครับ
    เพราะฉนั้นในระหว่างวันให้มาเจริญสติให้ต่อเนื่องเพิ่มขึ้น และก่อนจะหลับตานอนและลืมตาตอนเช้า ให้มาพิจารณาว่าทำอะไรไปบ้าง และวันนี้เราพลาดอะไรบ้าง
    ส่วนตอนนั่ง ถ้าได้ยินให้ไปกำหนดค้างที่เสียงนั้นไว้เลย ว่าให้รู้ว่าเสียงอะไร
    เด่วลมหายใจจะละเอียดรู้ได้เองว่า
    เข้าเย็นออกร้อน ใช้ออกซิเจน หรือคาร์บอนไดออกไซด์. แล้วมันจะโน้มย้อนมาพิจารณากายได้เอง.
    ประมาณนี้ถึงเกิดผลต่อจิต
    และช่วยยกพัฒนาระดับสมาธิ
    ปล ควรเดินจงกลมสลับนั่งด้วยครับ
    มันถึงจะพอมีกำลังข่มความคิดผุด
    ที่จะขึ้นมาในช่วงที่จะผ่านปฐมฌานได้
     
  10. เส้นทางยาวไกล

    เส้นทางยาวไกล Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2018
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +206
    ขออนุญาติ เน้น ช่วง ปล. ของท่านนพกานต์
    อีกครั้ง เพราะสำคัญ ควรเดินจงกลมสลับนั่งครับ
     
  11. nuttaponswords

    nuttaponswords สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +2
  12. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ^_^
     
  13. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    "เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อ
    หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เรา
    หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า
    สั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอด
    กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกอง
    ลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก"

    ขั้นแรก ลองสำรวจตัวเองดูครับ ว่าทำได้ ตามตำราข้างต้นนี้ป่าว
    มันมีอะไรที่นอกเหนือจากนี้เข้ามา แสดงว่า เราไม่ได้ทำตามที่ตำราสอน

    แค่เพียงเท่านี้ หากทำได้ก็สุดยอดแล้วครับ
     
  14. เส้นทางยาวไกล

    เส้นทางยาวไกล Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2018
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +206
    มีประเด็นสำคัญอีกอย่าง คือ ใจที่อยากได้ฌานแล้วคอยจดจ่อตามดูว่าเมื่อไรจิตจะเป็นฌานสักทีนั่นละครับ ทำให้ไม่ได้สักที ต้องปฏิบัติตามวิธี(ซึ่งหลายท่านแนะนำแล้ว) ไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ได้ก็ดีไม่ได้ก็ไม่เป็นไร
    แล้วจิตจึงจะสงบเป็นปฐมฌานครับ
     
  15. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ฌาน นี้ แปลว่า เพ่ง โดย พระราชพหรมยาน ( หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ กอง

    โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)


    ฌาน​

    ขอแปลคำว่าฌานสักนิด ขอคั่นเวลาสักหน่อย ประเดี๋ยวเลยไปจะยุ่ง จะไม่รู้ว่า ฌาณ แปลว่าอะไร คำว่า ฌาน นี้ แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐานถึงอันดับที่ ๑ เรียกว่าปฐมฌาน คือ ฌาน ๑ ถึงอันดับที่ ๒ เรียกว่าทุติยฌาน แปลว่า ฌาน ๒ถึงอันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาน แปลว่าฌาน ๓ ถึงอันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน แปลว่า ฌาน ๔ถึงอันดับที่แปด คือ ได้อรูปฌานถึงฌาน ๔ ครบทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า ฌาน ๘ถ้าจะเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกเหมือนฌาน ฌาน ๑ ท่านก็เรียกว่า ปฐมสมาบัติ ฌานที่ ๒ท่านก็เรียกว่า ทุติยสมาบัติ ฌาน ๓ ท่านก็เรียก ตติยสมาบัติ ฌาน ๔ ท่านก็เรียกจตุตถสมาบัติฌาน ๘ ท่านเรียก อัฎฐสมาบัติ หรือสมาบัติแปดนั่นเอง


    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ กอง

    โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
     
  16. pisces2018

    pisces2018 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +37
    ถ้ามีเสียงรบกวนก็ลองหาเวลาอื่นดู อาจจะช่วงดึกหรือเช้ามืด แต่ถ้าระหว่างวันพยายามระลึกรู้ลมหายใจไว้บ้างก็อาจจะช่วยได้ เพราะอานาปานสติเวลาใช้งานจริงก็จะใช้ได้ในทุกสถานการณ์ระหว่างวัน ไม่ต้องรอมานั่งสมาธิอย่างเดียว ถ้าระหว่างวันฝึกรู้ลมไปเรื่อยๆ ฝึกตามลมเข้า-ออกที่จมูกและท้องบ้าง ฝึกเฝ้าดูลมที่จมูกและท้องบ้าง จนรู้สึกถึงเส้นสายหรือลำของลมหายใจที่วิ่งเข้า-ออกระหว่างปลายจมูกและท้องได้ก็จะง่ายขึ้น อย่างเวลาใช้งานถ้าเจอสถานการณ์อารมณ์โกรธมากระทบปั๊บ ให้สังเกตที่ลมหายใจก่อนเลยถ้าลมหายใจปกติกายก็จะปกติ แต่ถ้าไปคิดปรุงแต่งตามอารมณ์ที่มากระทบจนเริ่มมีอารมณ์โกรธลมหายใจมันจะติดๆ ขัดๆ ให้ควบคุมที่ลมหายใจจนลมมันระงับเป็นปกติอารมณ์โกรธก็จะคลายไปได้แต่อย่าไปปรุงแต่งอารมณ์ที่มากระทบจนบานปลายให้มาอยู่กับลมหายใจ บางทีตั้งใจเกินมันจะทำไม่ได้ต้องทำแบบสบายๆ ไม่ตึงเกินแต่ทำไปเรื่อยๆ ระหว่างวันนี่แหละ พอวันไหนลืมๆ ไปไม่ได้สนใจ บางทีนั่งดูทีวีสบายๆ แล้วสูดหายใจอยู่ดีๆ จะรู้สึกเกิดเป็นท่ออ่อนๆ เชื่อมระหว่างจมูกและท้อง เป็นลำของลมหายใจขึ้นมาชัดเจน จากที่เคยวิ่งตามลมทีแรกมันจะจับตัวลมไม่ได้เหมือนลมกระจายไปหมด...

    เวลานั่งสมาธิก็เหมือนกันอย่าไปตั้งใจอยากจะได้เพราะยิ่งอยากมันยิ่งจะไม่ได้ แต่ก่อนนั่งให้กำหนดความรู้สึกวางเรื่องรอบตัวต่างๆ ไว้ก่อน เช่น เรื่องลูกเมีย ทรัพย์สมบัติ หน้าที่การงาน เรื่องที่ทำให้ขุ่นข้องหมองใจทั้งหลาย ทำความรู้สึกเหมือนกับว่าอยู่คนเดียวในโลก ฯลฯ เพื่อตัดความกังวลฟุ้งซ่าน สวดมนต์แผ่เมตตา เวลานั่งสมาธิถ้าบริกรรมพุทโธ+อานาปานสติได้ก็ดี (คำบริกรรมพุทโธเป็นพุทธานุสสติ จะช่วยประคองสติในช่วงแรกได้ถึงปฐมฌาน ส่วนอานาปานสติจะไปต่อได้ถึงฌาน 4) นั่งบริกรรมพุทโธ (หายใจเข้า-นึกในใจว่า "พุท" ที่ท้อง หายใจออก-นึกในใจว่า "โธ" ที่จมูก เอาความรู้สึกตามลมหายใจที่วิ่งเข้าออกระหว่างท้องและจมูกและบริกรรมพุทโธไปเรื่อยๆ ถ้าจับความรู้สึกได้ชัด 3 ฐานคือที่ปลายจมูก-หน้าอก-ท้อง ได้ก็ดี ตามที่หลวงพ่อฤาษีฯ สอนจะเป็นสมาธิได้เร็วขึ้น ที่เค้าเรียกวิ่งตามลม ประคองอารมณ์นี้แบบสบายๆ ไปเรื่อยๆ แต่อย่าให้เผลอ) และสติดูลมหายใจไปเรื่อยๆ จากลมหายใจที่หยาบจะค่อยละเอียดขึ้นอาการทางกายก็จะค่อยๆ สงบระงับขึ้น จนถึงจุดหนึ่งอาการที่วิ่งตามลม จะกลายเป็นสติเฝ้าดูลมที่จุดใดจุดหนึ่ง (อาจจะเป็นที่ปลายจมูกหรือท้องแล้วแต่ถนัด คนส่วนใหญ่อาจจะถนัดเฝ้าดูที่ปลายจมูก แต่ผมถนัดดูที่ท้อง)

    ก็บริกรรมพุทโธและดูลมต่อไปเรื่อยๆ ช่วงที่เฝ้าดูลมที่ปลายจมูกนี่จิตมันจะรวมดีขึ้นแล้ว ถ้าบริกรรมพุทโธอยู่ต่อเนื่องโดยไม่เผลอ จนความรู้สึกมันคลุกเคล้าแนบแน่นอยู่กับพุทโธและรู้ลมหายใจไปได้เรื่อยๆ แบบไม่รู้สึกว่าต้องใช้ความพยายามมากเหมือนตอนแรก จะเป็นไปแบบกึ่งอัตโนมัติเราแค่ประคองอารมณ์นั้นไปเรื่อยๆ อาจจะรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจและเราจะไม่รู้สึกสนใจอารมณ์หรือเสียงภายนอก อารมณ์นั้นเรียกว่าเข้าถึงฌาน 1 (ดูองค์ฌาน 5 ประกอบ) ให้บริกรรมพุทโธและดูลมหายใจต่อ ถ้าสมาธิละเอียดขึ้นลมหายใจละเอียดขึ้น คำบริกรรมพุทโธจะหายไป ถ้าเกิดอาการนี้ไม่ต้องตกใจไปควานหาพุทโธอีก เพราะอารมณ์เข้าถึงฌาน 2 แล้วให้ดูลมหายใจต่ออย่างเดียว ถ้าไปนึกหาพุทโธเดี๋ยวจิตจะถอนจากสมาธิ เอาแค่นี้ก่อนคุณถามฌาน 1 แถมให้ฌาน 2 ที่เหลือคงพอจะไปต่อได้ ดูลมไปเรื่อยๆ พอลมมันละเอียดมากๆ เข้า สติคุณจะปล่อยลม ไปอยู่ที่อาการรู้อย่างเดียวในสมาธิระดับที่สูงขึ้น...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2018
  17. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,396
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
    วิธีฝึกสมาธิแบบง่าย ๆ แต่ได้ผล

    ท่านสอนให้นับลมหายใจเข้าออก
    เข้าครั้ง ออกครั้ง นับเป็นหนึ่ง
    ท่านให้กำหนดนับดังต่อไปนี้

    นับ 1 , 2 , 3 , 4 , 5
    เอาแค่เข้าออก 5 คู่
    นับไปและกำหนดรู้ฐานทั้ง 3ไปด้วย

    ***ฐาน 3 คือ ลมกระทบ
    1. จมูก
    2. ภายในอก
    3. ศูนย์เหนือสะดือ

    ศูนย์เหนือสะดือ คือ จุดต่ำกว่าสะดือลงไปเล็กน้อย
    ตรงที่เวลาหายใจเข้าตรงนั้นจะพอง
    หายใจออกตรงนั้นจะยุบ


    กำหนดใจว่า
    เราจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าและออกเพียง 5 คู่
    พร้อมด้วยรู้ฐานลมทั้ง 3 ฐาน
    และก็เริ่มกำหนดฐานและนับลม
    พอครบ 5 คู่
    ถ้าอารมณ์ยังสบาย
    ก็นับไป 1 ถึง 5 เอาแค่นั้น
    พอใจเริ่มพล่าน
    ถ้าเห็นท่าจะคุมไม่ไหว
    ก็เลิกเสียหาความเพลิดเพลินตามความพอใจ

    เมื่ออารมณ์ดีแล้ว
    กลับมานับกันใหม่
    ไม่ต้องภาวนา เอากันแค่รู้เป็นพอ
    เมื่อนับเพียง 5 จนอารมณ์ชินไม่หนีไม่ส่ายแล้ว
    ก็ค่อยเลื่อนไปเป็น 6 คู่
    คือ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6
    ถ้า 6 คู่สบายดีไม่มีอะไรรบกวนแล้ว
    ก็ค่อยเลื่อนไปเป็น 7 คู่ 8 คู่ 9 คู่ 10 คู่
    จนกว่าอารมณ์จิตจะทรงเป็นฌานได้นานตามสมควร


    เคล็ดลับวิชา
    การเจริญอานาปานุสสตินี้
    มีอาการสำคัญของนักปฏิบัติใหม่ ๆ อย่างหนึ่ง
    คือ อารมณ์ซ่าน เวลาที่จิตไม่สงบจริงมีอยู่
    พอเริ่มต้น อารมณ์ฟุ้งซ่านก็เริ่มเล่นงานทันที
    บางรายวันนี้ทำได้เรียบร้อยอารมณ์สงัดเป็นพิเศษ
    จิตสงัดผ่องใส อารมณ์ปลอดโปร่งกายเบา อารมณ์อิ่มเอิบ
    พอรุ่งขึ้นอีกวัน คิดว่าจะดีกว่าวันแรก
    หรือเอาเพียงสม่ำเสมอ แต่กลับผิดหวัง
    เพราะแทนจะสงัดเงียบ
    กลับฟุ้งซ่านจนระงับไม่อยู่
    ก็ให้พยายามระงับ
    และนับ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 , 8 , 9 , 10
    ถ้านับก็ไม่เอาเรื่องด้วย ยิ่งฟุ้งใหญ่
    ท่านตรัสสอนไว้ในบทอานาปานุสสติว่า
    เมื่อเห็นว่าเอาไว้ไม่ได้จริง ๆ ท่านให้ปล่อยอารมณ์
    แต่อย่าปล่อยเลย ให้คอยระวังไว้ด้วย
    คือปล่อยให้คิดในเมื่อมันอยากคิด
    มันจะคิดอะไรก็ปล่อยให้มันคิดไปตามสบาย

    ไม่นานนัก อย่างมากไม่เกิน 20 นาที
    อารมณ์ซ่านก็จะสงบระงับ
    กลับเข้าสู่อารมณ์สมาธิ
    เมื่อเห็นว่าอารมณ์หายซ่านแล้ว
    ให้เริ่มกำหนดลมตามแบบ 3 ฐานทันที
    ตอนนี้ปรากฏว่าอารมณ์สงัดเป็นอันดี
    มีอารมณ์เป็นฌานแจ่มใส
    อาการอย่างนี้มีแก่นักปฏิบัติอานาปานุสสติเป็นปกติ
    โปรดคอยระลึกไว้ และปฏิบัติตามนี้จะได้ผลดี

    คัดลอกจาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ของ หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง
     
  18. กบอ้วนในกะลา

    กบอ้วนในกะลา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2018
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +11
    อนุโมทนาเจ้าของกระทู้ที่มีความตั้งใจครับ
     
  19. กบอ้วนในกะลา

    กบอ้วนในกะลา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2018
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +11
    ขอแชร์ประสบการณ์ครับ ควรดูแต่ลมครับ เพ่งดูหรือเฝ้าดูอยู่ที่จุดๆเดียวเช่นจมูกเฝ้าไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็ดีเอง..บอกล่วงหน้าไมได้ครับ..555 (การตามคิดตามดูสิ่งอื่นจิตจะไม่มีพลัง)
     

แชร์หน้านี้

Loading...