ข่าวสาร วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี โดยเพจมูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ, 19 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันนี้วันพระตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๕ แรม ๘ ค่ำ เดิอน ๘ ปีจอ

    ขอให้ทุกท่านมีความสุขในธรรม

    จรณะ ๑๕ ตอนที่ ๔

    ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย เวลานี้ก็เป็นเวลาก่อนการเจริญพระกรรมฐาน ขอทุกท่านตั้งใจสดับเรื่องความประพฤติ คำว่า “ความประพฤติ” นี้ ตามพระบาลีท่านเรียกว่า “จรณะ” มี ๑๕ อย่าง ขอท่านทั้งหลายจงถือความประพฤตินี้ให้เป็นความสำคัญที่สุด เพราะว่าเป็นพระพุทธพจน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะทำให้พวกเราเข้าถึงความเป็น “พระอริยเจ้า”

    ความเป็นพระอริยะไม่ใช่เป็นของหนัก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าท่านทั้งหลายบวชเข้ามาแล้ว ท่านใช้คำว่าเป็นพระ ก็เหลืออีกคำเดียวเท่านั้นที่เราเรียกว่า “อริยะ” ข้างหลัง หากว่าเป็นอริยะไม่ได้ ก็ควรจะเป็น “กัลยาณชน” เพราะกัลยาณชนก็หมายถึงว่า เป็นผู้ทรงฌานสมาบัติ ถ้าเป็นกัลยาณชนไม่ได้ก็ควรจะเป็น “สาธุชน” สาธุชนนี่หมายถึงว่า เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์

    แต่ความจริงไหนๆ ท่านทั้งหลายตั้งใจบวชเข้ามาแล้วในพระพุทธศาสนาก็ดี หรือว่าท่านทั้งหลายที่มุ่งหน้าเข้ามาประพฤติปฏิบัติ เพื่อธรรมะเบื้องสูงก็ดี คือเพื่อจิตบริสุทธิ์ ถ้าอารมณ์จิตของท่านเองท่านยังอยู่ในขั้นสาธุชน ความรู้สึกของผมก็มีความรู้สึกว่ายังเลวเกินไป ไม่ควรที่จะเป็น “ปูชนียบุคคล” คือเป็นบุคคลที่ชาวบ้านเขาบูชา

    ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าชาวบ้านเขาก็เป็นได้ สาธุชนเขามีศีลได้ นี่ถ้าหากว่าเราจะมุ่งเฉพาะกัลยาณชน เวลานี้ชาวบ้านที่เขามีฌานสมาบัติก็เยอะ ถ้าเรามุ่งแค่นั้นผมว่าเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง เป็นการเอาเปรียบชาวบ้าน คนเท่ากันไหว้กันก็ไม่ได้ประโยชน์ ที่ถูกแล้วก็ควรจะมุ่งเอา “อริยชน” เป็นสำคัญ เพราะว่าอริยชนเราแบ่งกันเป็นหลายขั้น คือตั้งแต่ พระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์

    สำหรับพระโสดาบันนี่ก็อยู่ในขั้นชาวบ้านชั้นดีเท่านั้น คือมีศีลบริสุทธิ์ มีความเคารพในพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ ผมไม่เห็นจะมีอะไรมาก นอกจากว่าเราจะต้องรักษาศีลให้เป็นอัตโนมัติ คำว่าระวังในศีลจงไม่มีในจิตเราเลย นี่หมายความว่าอย่างนี้ที่พูดอย่างนี้ ไม่ได้หมายความว่าปล่อยให้ศีลมันหายไปหมด คือเรื่องศีลจิตมันมีอารมณ์ปกติในการรักษาศีล โดยไม่ต้องระวัง อย่างที่พวกเราหายใจกันอยู่ทุกวัน อารมณ์หายใจมันเคลื่อนไหวไปตามอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ต้องสั่ง มันจะมีลมหายใจเข้าหายใจออกเป็นปกติของมัน จะสั้นหรือยาวก็เป็นไปตามความต้องการของร่างกาย โดยที่จิตใจเราไม่ต้องไปสั่ง ข้อนี้มีอุปมาฉันใด การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ของพระโสดาบันก็เป็นเช่นนั้น ให้ศีลมันอยู่ในขอบเขตเป็นอัตโนมัติ มีการระมัดระวังเป็นปกติ นี่จึงจะเป็นการสมควร และนอกจากนั้นพระโสดาบันก็มีอารมณ์รักพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่ก็ว่ายังมีความรักในเพศ ยังมีความอยากรํ่ารวย ยังมีความโกรธ ยังมีความอยากสวย ยังมีอยู่แต่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างนี้อยู่ในขอบเขตของศีล

    ถ้าหากว่าเท่านี้ทำไม่ได้ ผมก็สลดใจอย่างยิ่ง ที่บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิงที่เกิดขึ้นมาแล้ว แต่ไม่สามารถจะทรงความดีเดิมไว้ได้ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าก่อนที่เราจะเกิดมาเป็นคน มีอายตนะ ๓๒ ครบถ้วน ทั้งนี้ก็อาศัยเดิมทีเรามีศีลมาก่อน ที่เราจะมีการหากิน มีอาหารการบริโภคอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยที่เราเคยมีทาน เคยให้ทานมาในกาลก่อน มีจิตเมตตามีความกรุณา คือ เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร เรามีมาในกาลก่อนแล้วก็การที่เราจะมีสติปัญญา ก็เพราะอาศัยการอบรมธรรมมาก่อน แล้วถ้าบังเอิญในขณะนี้ท่านทั้งหลายไม่สามารถจะทรงความดีทั้ง ๓ ประการนี้ได้ ก็ว่าเลวกว่าเก่า กลับลงนรกใหม่ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร

    นี่เราก็ควรจะเสริมสร้างความดีเดิมที่เรามีอยู่ คือเดิมทีเราเคยให้ทานมาในกาลก่อน เพราะอาศัยเมตตาความรัก กรุณาความสงสาร เราเคยมีศีลมาก่อนเพราะอาศัยเมตตาความรัก กรุณาความสงสาร เพราะอาศัยเราเป็นผู้มีปัญญาเข้าถึงธรรมมาก่อนจึงมีปัญญา แล้วก็เสริมส่วนเก่าของเราให้ดีขึ้นไปอีกนิดหนึ่ง เอาจิตจับอารมณ์ทุกอย่างนี้ให้เป็น “เอกัคคตารมณ์” คือไม่ยอมให้เคลื่อนไปจากจิต เรามีจิตคิดอยู่อย่างเดียวว่า เราต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์เท่านี้เอง เป็นการเสริมของเก่าจึงจะเป็นการสมควร นี่ว่าถึง “อารัมภบท”

    ต่อไปนี้ก็จะพูดถึงจรณะข้อที่ ๖ “จรณะ” คือ ความประพฤติ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำเรา จรณะข้อที่ ๖ ว่า หิริ แปลว่า ความละอายแก่ใจ นี่ใจของเราควรจะละอายตรงไหน เอาใครไปอายใจกัน ก็รวมความเอาใจอายใจ คือเราต้องเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เป็นปกติ สติ นึกไว้ได้เสมอ สัมปชัญญะ รู้ตัว นึกยังไง คิดไว้ว่าก่อนที่เราเกิดเป็นคน เรามาได้จากไหน เราจะเกิดเป็นได้เพราะเราเคยมีศีลบริสุทธิ์ ทำความรู้สึกไว้ เรามีอาหารการบริโภค มีทรัพย์สินก็เพราะอาศัยเคยมีทานการบริจาคมาในกาลก่อน

    ในการที่เราจะมีศีลบริสุทธิ์ได้ก็เพราะอาศัยเราเคยเคารพในคุณพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ คือ พระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และ สังฆรัตนะ เรามีปัญญาก็เพราะอาศัยจิตเราเคยอบรมธรรมมาก่อน นี่เป็นอันว่าเรามีทรัพย์สินได้เพราะทาน เรามีร่างกายเป็นมนุษย์ได้เพราะศีล เราจะมีปัญญาได้เพราะธรรม ก็ได้แก่การเชื่อถือในคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตอนนี้เราก็มานั่งอาย อายตรงไหนล่ะ!

    ถ้าขณะใดที่จิตใจของเราละเมิดในศีล นึกคิดจะละเมิดก็ควรจะละอายแก่ใจว่า นี่เรามันจะเลวเกินไปเสียแล้ว เพราะอะไร เพราะว่าถ้าเราละเมิดศีลข้อใดข้อหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส ก็หมายความว่าเราจะต้องกลับไปเกิดในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น นี่มันจะดีหรือ ถ้าหากว่าจิตใจของเราไร้เมตตาความรัก กรุณาความสงสารซึ่งกันและกัน เราก็กลายเป็นคนมีอารมณ์เลวจะทำลายความดี คือทานการกุศลที่เราเคยให้ ทำให้มีทรัพย์สมบัติมาในปัจจุบันเพราะผลของทาน จะกลายเป็นคนยื้อแย่งทรัพย์สินสมบัติของบุคคลอื่นก็เป็นปัจจัยแห่งอบายภูมิเหมือนกัน

    ถ้าเราจะใช้ความคิดเห็นที่ผิดจากทำนองคลองธรรม ตามที่ชาวบ้านเขาไม่ต้องการ แล้วเราไม่ต้องการ นั่นก็คือกรรมที่เป็นอกุศล หมายความว่ามีกายชั่ว มีวาจาชั่ว มีอารมณ์จิตชั่ว กายคิดจะประทุษร้ายเขาไปประทุษร้ายบุคคลอื่น

    วาจาชั่วมีวาจาไม่ตรงกับความจริง วาจาหยาบ วาจาพูดส่อเสียดยุแยงตะแคงแสะให้เขาแตกร้าวกัน แล้ววาจาที่กล่าวไปโดยไม่พิจารณาคือไร้ประโยชน์

    สำหรับใจก็มีอารมณ์ชั่วคิดประทุษร้ายบุคคลอื่นด้วยเหตุนานาประการ นี่ผมจะไม่พรรณนาตามแบบ รวมๆ ความว่าอารมณ์ประเภทนี้เป็นอารมณ์ชั่วมันดีไหม ถ้าเราจะลืมข้อนี้เสีย ถ้าจิตใจมันลืมประเภทนั้นก็แสดงว่าเราเลว เราต้องการไปอบายภูมิ นี่ควรจะอาย ถ้าจิตมันชั่วเราก็อายความเป็นคน เพราะในฐานะที่เกิดมาเป็นคนแล้วนี่ไม่น่าจะทำความชั่ว เรามาด้วยความดี เราก็ควรจะส่งเสริมให้มีความดียิ่งๆ ขึ้นไป คนทุกคนที่เขามีทรัพย์น้อย เขาก็สั่งสมทรัพย์ให้มันมากขึ้น นี่เรามีความดีมาแล้ว มันก็ควรจะคิดว่าความดีเก่ามันน้อยไป ควรจะส่งเสริมความดีใหม่ให้มันดีขึ้น

    เป็นอันว่า ความดีทุกอย่างตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี เรียกว่าตามพระธรรมวินัย และความดีทางกฎหมายที่เขาออกบทบัญญัติไว้ว่า จงอย่าละเมิดข้อนั้นข้อนี้ เราก็ไม่ละเมิด และความดีตามประเพณีนิยม นอกจากกฎหมายสิ่งใดก็ตาม ที่เป็นการขัดต่อประเพณีนิยม เราก็ไม่ทำ สิ่งใดที่ขัดต่อกฎหมายของบ้านเมือง เราก็ไม่ทำ สิ่งใดที่ขัดต่อศีลต่อธรรม เราก็ไม่ทำ ถ้าอารมณ์มันคิดจะทำจงมีความละอาย ว่าเราเห็นจะเลวมากไปเสียแล้ว นี่รวมความว่าความละอายแก่ใจ เขาเรียกว่าอายความเลว นี่สำหรับคำสอนใน “จรณะ” สิ่งที่ควรประพฤติ

    จรณะข้อที่ ๗ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า โอตตัปปะ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ความเกรงกลัวต่อความผิด ข้อต้นอายไม่ทำ ไม่กล้าทำเพราะความอาย มาข้อนี้ไม่ทำเพราะความกลัว ทำไมจึงกลัว ถ้าเราละเมิดกฎหมายของบ้านเมือง เขาก็ลงโทษตามกฎหมาย เกรงความเร่าร้อน เกรงความทุกข์มันจะเกิดเพราะการกระทำความชั่ว

    ถ้าเราละเมิดต่อประเพณีนิยม เราก็จะถูกสาปแช่งด้วยเหตุนานาประการ ไม่มีใครเขายอมรับนับถือว่าเราเป็นคนดี ถ้าเราละเมิดต่อศีลธรรม ตอนนี้เป็นอันว่าความดีจะไม่ปรากฏกับเรา ความเร่าร้อนใหญ่จะปรากฏ เพราะว่าไม่มีใครจะยอมรับนับถือเราเป็นพวกเป็นพ้อง เป็นพี่เป็นน้องเป็นญาติและร่วมคบหาสมาคมด้วย

    สำหรับกฎหมายประเพณีจะไม่พูดถึง

    สำหรับศีลธรรมเราว่ากันโดยเฉพาะศีล ถ้าเราไม่กลัวศีลขาด ไม่กลัวในการทำลายศีล เพราะทำลายศีลข้อแรก เราฆ่าเขา เราทำร้ายเขา ผลจะได้รับผลทันที เขาก็จะฆ่าเราบ้าง เขาก็จะทำร้ายเราบ้าง เราก็กลายเป็นคนมีศัตรูมาก การมีศัตรูมากเป็นความเดือดร้อน เป็นความสุขหรือเป็นความทุกข์ ลองคิดดู ใช้ปัญญาพิจารณาคิดเอาเอง

    ถ้าเราเป็นคนชอบลักชอบขโมย แล้วมีใครบ้างที่อยากจะคบค้าสมาคมกับเรา
    และหากว่าถ้าเราเป็นคนชอบยื้อแย่งความรักของบุคคลอื่น เราจะมีมิตรมากหรือเราจะมีศัตรูมาก คิดถึงตัวเรา คิดถึงตัวเขา คิดเอาเองใช้ปัญญากันบ้าง

    ถ้าเรามีวาจาไร้สัจจะไร้ความจริง กล่าววาจาหยาบคาย แล้วก็ชอบยุยงส่งเสริมให้ชาวบ้านเขาแตกร้าวกัน พูดหาประโยชน์ไม่ได้ มีใครบ้างเขาอยากจะสมาคมกับเรา

    หากว่าเรามีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์คล้ายคนบ้าพูดหาประโยชน์ไม่ได้ ด้วยความเมาเป็นสำคัญ แล้วคนดีๆ มีใครบ้างที่เขาอยากจะคบเรา

    นี่การละเมิดศีลเป็นปัจจัยของความสุขหรือว่าเป็นปัจจัยของความทุกข์ คนที่มีปัญญาเขาจะเห็นว่าเป็นปัจจัยของความทุกข์ นี่ว่าเฉพาะส่วนน้อยเราจะพึงเห็นได้ง่าย แล้วอารมณ์ใจตรงนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงได้ตรัสว่า ให้อายแก่ความชั่วด้วย แล้วเกรงกลัวผลของความชั่วจะเกิด ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายมีความอายอารมณ์อายต่อความชั่ว และเกรงกลัวผลของความชั่วแล้ว ความชั่วมันก็เกิดไม่ได้ ในเมื่อเราอายความชั่วกลัวความชั่ว เราจะมีความสุขหรือความทุกข์เพราะเราไม่ทำความชั่ว เราทำแต่ความดี ความสุขมันจะมีมากกว่าความทุกข์ ความทุกข์อาจจะมีบ้างเป็นของธรรมดา เพราะว่าด้วยอำนาจของอกุศลกรรมนี่มันมีอยู่ เราช่วยเหลืออะไรไม่ได้ แต่ถึงยังไงก็ดี ความทุกข์ใจที่จะพึงเกิดขึ้นด้วยเหตุผลบางประการ เราก็มีมิตรเป็นที่รักคอยช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ยังไงๆ ก็ยังเป็นปัจจัยให้เกิดความสุข

    ทีนี้สำหรับจรณะข้อที่ ๘ คือความประพฤติข้อที่ ๘ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า พาหุสัจจะ แปลว่า เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมากคือการศึกษามาก แต่ว่าสำหรับผมจะขอแปลว่า จำได้มาก ได้ยินมาก ได้ฟังมาก ศึกษามาก ถ้าเอาตาเป็นตากระทู้ เอาหูเป็นหูกระทะ เห็นคนสอนก็เห็น ได้ยินคำเขาสอนก็ได้ยินแต่ไม่จำ มันจะเป็นพาหุสัจจะได้ยังไง นี่ผมไม่ได้ตำหนิท่านที่แปลหนังสือแบบนี้ แต่ว่าผมถือเป็นความหมายของผม มันตรงดีกว่า คือ พาหุสัจจะ แปลว่า เป็นผู้ทรงความจำไว้ด้วยดี หรือเรียกกันว่า “พหูสูต” อย่าง พระอานนท์ พระอานนท์เป็นพระอุปัฏฐากขององค์สมเด็จพระทศพล แล้วพระพุทธเจ้าทรงยกย่องสรรเสริญว่าเป็นผู้เลิศใน “พหูสูต” หมายความว่า ผู้ทรงจำได้มาก แล้วก็มีจริยาดี

    ในก่อนที่จะปรินิพพานในวันนั้น องค์สมเด็จพระชินศรีตรัสกับพระอานนท์ว่า
    “อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เธอจงอย่าเสียใจไปเลย ในเมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว พระธรรมวินัยที่เราสอนเธอไว้ จะเป็นศาสดาสอนเธอ”
    เพราะว่าวันนั้นพระอานนท์ไปยืนร้องไห้อยู่ที่สลักประตู เห็นว่าองค์สมเด็จพระบรมครูจะนิพพาน ท่านยังไม่ได้อรหันต์ ท่านได้เพียงพระโสดาบัน เมื่อองค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงทราบจึงได้เรียกเข้ามา จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า

    “อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เธออย่าเสียใจไปเมื่อเรานิพพานไปแล้ว พระธรรมวินัยจะสอนเธอ เธอจะเป็นผู้เลิศในฐานะ “พหูสูต” คือ ผู้ทรงจำ แล้วเธอก็ไม่ได้ทรง ไม่ได้จำแต่เฉพาะคำสอนอย่างเดียว ทรงจำทั้งจริยาวัตรที่ตถาคตปฏิบัติได้ด้วย เหตุทั้ง ๒ ประการนี้ จะช่วยให้เธอเป็นพระผู้เลิศในการแสดงธรรม เมื่อบุคคลผู้ใดที่รับฟังธรรมจากเธอแล้ว เขาทั้งหลายเหล่านั้นจะไม่อิ่มไม่เบื่อในการฟังธรรมจากเธอ ไม่อยากให้เธอเลิกพูด ไม่อยากให้เธอเลิกเทศน์”

    นี่เป็นอันว่า พหูสูต หรือ พาหุสัจจะ ในข้อนี้จะต้องแปลว่าอย่างนี้ แปลว่าจำได้ด้วย แล้วก็ประพฤติตามได้ด้วย ไม่ใช่บอก ฟังมาก ศึกษามาก ไอ้ฟังมากศึกษามากนี่มันเลยหัวเลยหูไปตั้งเยอะแยะ เข้าหูซ้ายออกหูขวา ดีไม่ดีการฟังก็เลยหัวไปไม่ต้องจำอะไรกันได้ อันนี้มีถมไป แปลอย่างนี้ผมไม่เอาด้วย

    เป็นอันว่า พาหุสัจจะ ในที่นี้ ท่านทั้งหลายอย่างพวกเราฟังกันวันละ ๔ เวลา แล้วการฟังทั้งวันละ ๔ เวลานี้ถ้ายังเอาความดีไม่ได้ จำไม่ได้ ประพฤติดีไม่ได้ ผมอยากจะแนะนำท่านถ้ามันไม่บาป ว่าท่านทั้งหลายควรจะผูกคอตายเสียให้หมด เพราะไม่มีโอกาสที่ไหนที่ได้ฟังธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมสุคต ถึงวันละ ๔ เวลา ไม่มีที่ไหน

    เป็นอันว่าถ้าหากว่าท่านทั้งหลาย ยังฟังถึง ๔ เวลาแล้วยังมีอารมณ์เลว ยังถือเราถือเขาอยู่ด้วยกัน มีอารมณ์ไม่เสมอกันบ้าง อยู่ไม่ได้ ขัดคอกันบ้าง มีอารมณ์ขวางกัน ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาเข้าหากันละก็ รีบไปเสียจากสำนักนี้ รีบออกไปเสียก่อนที่จะไล่ให้ไป แล้วออกไปจากที่นี้แล้วก็ไม่ควรจะไปอยู่ที่ไหนอีก ควรจะเข้าป่าไปอยู่คนเดียว เพราะคนที่เข้ามาอยู่ในเขตของผ้ากาสาวพัสตร์ ฟังคำสั่งและคำสอนตามแนวที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส ฟังกันทั้งวันละ ๔ เวลา ยังเอาดีไม่ได้ เห็นจะเหมือนกับพูดที่ในโบสถ์ล่ะมั้ง

    วันนี้เราคุยกันว่า ถ้าการฟังอย่างนี้เอาดีไม่ได้ มันก็เลวกว่าหมา ผมว่ามันเป็นอย่างนั้น สุนัขมันยังสอนกันได้ มันทั้งๆ ไม่รู้ภาษาคน แต่คนยกตนออกจากกามเข้ามาอยู่ในเขตผ้ากาสาวพัสตร์ ฟังกันอย่างนี้จนกระทั่งฟังมากถึงวันละ ๔ วาระ จำไม่ได้ ประพฤติไม่ได้ ก็จะมานั่งอยู่เพื่อให้เปลืองขอบเขตของพระศาสนาทำไม เป็นอันว่าความประพฤติข้อนี้องค์สมเด็จพระจอมไตร ให้ถือว่าเราฟังมากด้วย แล้วก็จำได้มากด้วย แล้วก็ปฏิบัติตามนั้นได้ด้วย ไม่ใช่แปลแต่เพียงว่าความเป็นผู้ได้ฟังมาก คือได้รับการศึกษามาก แปลห่วยๆ แบบนี้ผมไม่แปลด้วย ใครเขาจะแปลมาก็ช่างปะไร เป็นอันว่าท่านทั้งหลายจำไว้ให้ดีว่าความประพฤติของเราจะต้องมีตามนี้

    แล้วข้อที่ ๙ องค์สมเด็จพระชินศรีทรงกล่าวว่า วิริยะ มีความเพียร ความเพียรนี่พูดกันอย่างย่อๆ คือเพียรละความชั่วประพฤติความดี ไม่ต้องไปนั่งจาระไนกันว่าความชั่วมันมีอะไรบ้าง เราสอนกันอยู่แล้ว เรารู้กันอยู่แล้ว สิ่งใดก็ตามที่เราเห็นว่ามันเป็นความชั่ว แบบฉบับมีอยู่แล้ว กายกรรม การกระทำทางกายชั่ว วจีกรรม ทำทางวาจาชั่ว มโนกรรม คิดชั่ว เป็นอันว่าความชั่วทั้งหมดนี้ เราจะต้องหาทางลิดรอนทำลายมันให้สิ้นไป ถึงแม้ว่าจิตใจมันจะสั่งสมมานับเป็นแสนหลายๆ อสงไขยกัปก็ตามที แต่เราก็ถือว่าเวลานี้เราเข้ามาเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระชินศรีบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้บริสุทธิ์ เราก็ต้องใช้ความพยายาม ที่มันจะเกิดอุปสรรคแก่จิต เพราะอารมณ์จิตมันคบกับความชั่วมานาน เราจะไล่ความชั่วให้ไปพ้นจากจิต จิตมันยังมีความรัก มันก็ต้องดึง ต้องดัน ต้องต้านทานด้วยประการทั้งปวง แล้วเราก็จะยอมไม่ได้ ต้องใช้วิริยะอุตสาหะต่อต้านมันเข้าไว้ มันจะชั่วขึ้นมา เราก็จะใช้ความดีเข้าต่อต้านนี่ มันก็ต้องใช้กำลังจิตกันนิดหน่อยเป็นของธรรมดา

    เป็นอันว่า วิริยะ ตัวนี้ เป็นตัวมีความพากเพียรเพื่อทำลายความชั่วให้พ้นไปจากจิต ความชั่วของจิตมีอะไร พรรณนากันจะไหวไหม

    (๑) สักกายทิฏฐิ เห็นว่าอัตภาพร่างกายเป็นเราเป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรานี่ชั่ว!
    (๒) วิจิกิจฉา มีความสงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณานี่ชั่ว!
    (๓) สีลัพพตปรามาส ไม่รักษาศีลให้เด็ดขาด เป็นผู้บกพร่องในศีล ใช้ไม่ได้ ชั่ว!
    (๔) กามราคะ พอใจในกามคุณ ชั่ว!
    (๕) ปฏิฆะ พอใจในความโกรธ ความพยาบาท ชั่ว!
    (๖) รูปราคะ หลงอยู่ในรูปฌาน ชั่ว!
    (๗) อรูปราคะ หลงอยู่ในอรูปฌาน ชั่ว!
    (๘) มานะ หลงถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา ชั่ว!
    (๙) อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ไม่จับพระนิพพานเป็นอารมณ์ ชั่ว!
    (๑๐) ไม่เข้าใจในอริยสัจที่เรียกว่า “อวิชชา” นี่ชั่ว!

    เป็นอันว่าความชั่วทั้ง ๑๐ อย่างนี้ เราต้องทำลายให้หมดเพื่อให้เข้าถึงความดี ที่องค์สมเด็จพระบรมสุคตศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำเรา แต่ทว่าบรรดาท่านทั้งหลาย สำหรับจรณะที่จะปฏิบัติกันในวันนี้ ก็ว่ากันได้เพียง ๙ ข้อเท่านั้น เพราะเวลาหมดเสียแล้ว ต่อแต่นี้ไปก็ขอบรรดาท่านทั้งหลาย ได้โปรดรับฟังการแนะนำในการปฏิบัติพระกรรมฐาน

    สวัสดี*

    โพสต์โดย ACHAYA

    .jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  2. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันอาทิตย์ที่๘ กรกฎาคม ๒๕๖๑
    งานบำเพ็ญกุศลทำบุญปัญญาสมวารครบ๕๐วัน ถวายหลวงพ่อสุรพงษ์ อภิวังโส ณ วัดถ้ำรัตนบุปผา อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
    ช่วงเช้าวันนี้ หลวงพ่อชัยวัฒน์ อชิโต ท่านพระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ ท่านเจ้าอาวาสวัดท่าซุงและคณะพระสงฆ์วัดท่าซุงเดินทางมาร่วมงานทำบุญปัญญาสมวารครบ๕๐วัน ถวายหลวงพ่อสุรพงษ์ อภิวังโส อดีตเจ้าอาวาสวัดถ้ำรัตนบุปผา
    เวลาประมาณ๑๐.๑๐น.เริ่มพิธีสวดธรรมนิยาม โดยเชิญคุณรัตนา ชินบุตรตรานนท์ จุดธูปเทียนหน้าพระรัตนตรัย และเชิญท่านกำนันทวี ปานจันทร์ จุดธูปเทียนที่ตู้พระธรรม และเชิญคุณประสงค์ จินตนพันธุ์ จุดธูปเทียนที่พระประจำวันเกิด หลังจากนั้นพระสงฆ์สวดธรรมนิยาม๑จบ และเมื่อพระสงฆ์สวดธรรมนิยามจบแล้ว คณะเจ้าภาพและญาติโยมเข้าถวายผ้าไตร หลังจากนั้นคณะพระสงฆ์พิจารณาผ้า และลำดับต่อไป คณะเจ้าภาพถวายเครื่องไทยธรรม และเมื่อถวายเสร็จเรียบร้อยแล้ว คณะพระสงฆ์ให้พรกับญาติโยม หลังจากนั้นหลวงพ่อชัยวัฒน์ อชิโต ได้เมตตาเล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติของหลวงพ่อสุรพงษ์ อภิวังโสให้ญาติโยมฟังกระทั่งเวลาประมาณ๑๑.๑๐ คณะญาติโยมได้ร่วมกันกราบขอขมาพระรัตนตรัยและคณะพระสงฆ์ เป็นเสร็จพิธี หลังจากนั้นคณะพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเพล
    เวลาประมาณ๑๒.๑๐น. ท่านพระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธและคณะพระสงฆ์วัดท่าซุงเดินทางกลับ

    -กรกฎาคม-๒.jpg
    1531063206_417_วันอาทิตย์ที่๘-กรกฎาคม-๒.jpg
    1531063206_537_วันอาทิตย์ที่๘-กรกฎาคม-๒.jpg
    1531063206_894_วันอาทิตย์ที่๘-กรกฎาคม-๒.jpg
    1531063207_260_วันอาทิตย์ที่๘-กรกฎาคม-๒.jpg
    1531063207_901_วันอาทิตย์ที่๘-กรกฎาคม-๒.jpg
    1531063207_396_วันอาทิตย์ที่๘-กรกฎาคม-๒.jpg
    1531063208_71_วันอาทิตย์ที่๘-กรกฎาคม-๒.jpg
    1531063208_110_วันอาทิตย์ที่๘-กรกฎาคม-๒.jpg
    1531063209_13_วันอาทิตย์ที่๘-กรกฎาคม-๒.jpg
    1531063210_954_วันอาทิตย์ที่๘-กรกฎาคม-๒.jpg
    1531063210_68_วันอาทิตย์ที่๘-กรกฎาคม-๒.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  3. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    -ท่านเจ้าคุณพระ.jpg

    ระลึกถึง ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล (อนันต์ พทฺธญาโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี นำคณะลูกหลานหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หล่อรูปเหมือนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ด้วยทองคำแท้ เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ณ มหาวิหาร ๑๐๐ ปี ฯ ใช้เวลาในการปรับปรุงก่อสร้าง ๘ เดือน ซึ่งตรงกับวันนี้เมื่อ ๒ ปีที่แล้วพิธีเททอง หล่อรูปหลวงพ่อ 2
    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  4. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  5. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    งานพิธีบรรพชาอุปสมบท (จำพรรษาประจำปี ๒๕๖๑) วันเสาร์ที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑

    กำหนดการ
    วันศุกร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๑

    เวลา ๑๖.๐๐ น. ทำพิธีโกนผมนาค พร้อมทั้งมีการอาบน้ำ ให้นาคด้วย ที่ หน้าอุโบสถ

    วันเสาร์ที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑

    เวลา ๐๖.๓๐ น. ทำพิธีขอขมาบิดามารดาและผู้มีพระคุณ ณ ศาลานวราช
    เวลา ๐๗.๐๐ น. แห่นาคพร้อมกัน โดยมีวงโยธวาทิตนักเรียน “โรงเรียนพระสุธรรมยานเถระ” นำขบวนนาคและ
    พ่อแม่พี่น้อง และญาติ พร้อมพุทธบริษัทที่ร่วมบวช เดินเวียนประทักษิณรอบอุโบสถ วัดท่าซุง รอบนอก ๓ รอบ
    เวลา ๐๗.๒๐ น. นาควันทาเสมา ณ หน้าอุโบสถ
    เวลา ๐๗.๓๐ น. นาคโปรยทาน ณ หน้าอุโบสถ
    เวลา ๐๗.๕๐ น. บิดามารดาพานาคเข้าอุโบสถ

    เวลา ๐๘.๐๐ น. ทำพิธีบรรพชาอุปสมบท โดยท่านเจ้าคุณพระราชอุทัยโสภณ ฉายา “สมชาโน ” เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เป็นพระอุปัชฌาย์

    รายชื่อนาค
    ๑.นาค เกริกชัย ภูประวิง มีชื่อฉายา สุธมฺมขนฺติพโล
    ๒.นาค สมโภชน์ แจ่มศรี มีชื่อฉายา สุธมฺมญาณวโร
    ๓.นาค เจษฎา โพธิ์ชะ มีชื่อฉายา สุธมฺมถิรจิตฺโต
    ๔.นาค วิเชียร อ้วนล่ำ มีชื่อฉายา สุธมฺมติสฺสโร
    ๕.นาค ณัฐพล เที่ยงแท้ มีชื่อฉายา สุธมฺมคุณกโร
    ๖.นาค ฉัตรชัย ศิริภาภรณ์ มีชื่อฉายา สุธมฺมครุธมฺโม
    ๗.นาค กิตติศักดิ์ บึนกระโทก มีชื่อฉายา สุธมฺมสปฺปญฺโญ
    ๘.นาค สุภกิจ ศิลประสพ มีชื่อฉายา สุธมฺมสุจิตฺโต

    พระกรรมวาจาจารย์ พระอนุกรรมวาจาจารย์

    ๑.พระบุญมา – พระสุรเชษฐ
    ๒.พระใบฎิกาพิษณุ– พระวิชิต
    ๓.พระทนงศักดิ์ – พระอิสเรต

    เวลา ๑๐.๓๐ น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ณ ศาลาพระพินิจอักษร เนื่องในพิธีฉลองพระบวชใหม่
    เวลา ๑๑.๐๐ น. เจ้าภาพผู้อุปสมบทถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์วัดท่าซุงที่ศาลา พระพินิจอักษร
    เวลา ๑๒.๐๐ น. คณะญาติโยมผู้เป็นเจ้าภาพร่วมกันรับประทานอาหารกลางวัน ที่ศาลาพระพินิจอักษร

    -ท่าซุง-กำหน.jpg

    วัดจันทาราม (ท่าซุง) – กำหนดการ…งานพิธีบรรพชาอุปสมบท (จำพรรษาประจำปี 2561) วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาค

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  6. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันนี้วันพระตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีจอ

    ขอให้ทุกท่านมีความสุขในธรรม

    การอุทิศส่วนกุศล บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท ไม่ต้องใช้คำมาก คือใช้ถ้อยคำเพียงแค่สั้นๆ ว่า
    “ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทำแล้วในวันนี้ จะพึงมีผลแก่ข้าพเจ้าเพียงใด ขอผลบุญนี้จงปรากฏกับท่านผู้นั้น (คือท่านผู้ตายออกชื่อนำ) ขอมารับกุศลมีความสุขเช่นเดียวกับข้าพเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป” เพียงเท่านี้เขาจะมีผลทันที
    ดูตัวอย่าง พระสารีบุตร เมื่อ พระสารีบุตร ยังทรงชีวิตอยู่ ไปเที่ยวในเมืองนรกแล้วเข้ามาในแดนเปรต ก็ไปพบผู้หญิงเปรตคนหนึ่ง ท่านก็ทราบว่าเคยเป็นมารดาของท่านมาเมื่อ ๑๐๐ ชาติที่ผ่านมา พอมาถึงหญิงเปรตคนนั้นท่านก็หยุดยืน หญิงเปรตคนนั้นมองหน้าท่าน ถามว่า
    “ท่านพระคุณเจ้า! จำฉันได้ไหม?”
    ตามลีลาของพระ บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท พระนี่มีระเบียบพิเศษรู้แล้วทำเป็นไม่รู้ บางทีญาติโยมพุทธบริษัทใครนึกอะไร ท่านที่ได้ เจโตปริยญาณ ท่านรู้แต่ท่านต้องทำเป็นไม่รู้ นี่ระเบียบของพระ
    เวลานั้น พระสารีบุตร ก็ทราบว่าหญิงคนนี้คือแม่ของท่าน เมื่อสมัย ๑๐๐ ชาติที่ผ่านมา
    ท่านก็เลยแกล้งถามว่า
    “เธอกับฉันมีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกันหรือ จึงถามว่าจำได้ไหม?”
    มารดาก็บอกว่า
    “เมื่อ ๑๐๐ ชาติที่ผ่านมาฉันเคยเป็นแม่ของคุณ แต่ว่าเวลานั้นคุณเป็นคนมีเมตตาจิต เพราะให้ทานทำบุญอยู่เสมอ แต่ว่าฉันเป็นคนอำมหิต ตระหนี่ขี้เหนียว ไม่ทำบุญไม่ให้ทาน มีแต่ว่าใครเผลอก็โกงเขาบ้าง ลักเขาบ้าง แย่งชิงเขาบ้าง เมื่อตายจากความเป็นคน ฉันจึงต้องมาเป็นเปรตอย่างนี้ ผ่านไป ๑๐๐ ชาติของเธอแล้ว”
    พระสารีบุตร ก็ถามว่า
    “ถ้าต้องการให้ฉันช่วยจะทำยังไง?”
    หญิงเปรตคนนั้นก็บอกว่า
    “เมื่อท่านขึ้นไปแล้ววันพรุ่งนี้หรือเมื่อไรก็ได้ ให้ถวายทานในคณะสงฆ์ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระสมณโคดม”
    เวลานั้น พระสารีบุตร ท่านอยู่ป่า มีลูกศิษย์ ๕๐๐ องค์ ไอ้ในป่านี่กินลำบาก ไปบิณฑบาตเขาก็ใส่ข้าวน้อยๆ กับน้อยๆ กับข้าวชาวป่าก็ไม่มีอะไรมาก
    ในตอนเช้าเมื่อท่านบิณฑบาตกลับมา บรรดาพระของท่านก็ตั้งวงฉัน ท่านฉันนอกวงพระ เป็นธรรมดาพระผู้ใหญ่ถ้าไปฉันกับพระลูกน้อง พระลูกน้องกลืนไม่ค่อยลง ฉันเองก็ไม่รวมกับพระเหมือนกัน เพราะสมัยก่อนฉันอยู่กับ หลวงพ่อปาน ฉันวงเดียวกับท่านมันไม่เต็มท้องสักที กลืนไม่ค่อยลง หมํ่าไม่ค่อยได้ เกรงใจท่าน เมื่อท่านอิ่มเราต้องรีบอิ่มด้วย เพราะท่านแก่กินน้อย
    ฉะนั้น พระสารีบุตร ก็เช่นเดียวกัน ท่านฉันนอกวงพระ ก่อนที่ท่านจะฉัน ท่านหยิบใบไม้มาใบหนึ่ง ข้าวหยิบมือหนึ่งใส่ใบไม้ แล้วเอาใบไม้มาอีกใบหนึ่ง เอากับหยิบมือน้อยๆ ใส่ลงไปในใบไม้ แล้วก็ส่งไปวงพระ แล้วก็ใช้นํ้าหนึ่งฝาบาตร ส่งไปในวงพระ ใช้ผ้ากว้างหนึ่งคืบ ยาวหนึ่งคืบ ผ้ากว้างหนึ่งคืบยาวหนึ่งคืบ ทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นจีวร มีความสำคัญมาก โตกว่านั้นไม่เป็นไร ถ้าเล็กกว่านั้นไม่ถือเป็นจีวร ถวายไปในวงพระ เวลาถวายไม่ได้ว่าอะไร เป็นสังฆทานโดยตรง
    การถวายสังฆทาน โยมไม่ต้องว่าอะไรก็เป็นสังฆทาน ถ้าเราเห็นว่าพระนั่งตั้งแต่ ๔ องค์ขึ้นไป ก็ถวายไปปั๊บไม่ต้องพูดเป็นสังฆทานเลย อานิสงส์ได้ครบ ถ้าองค์เดียวต้องบอกนี่สังฆทานนะ
    แต่สำหรับวันนี้ไม่ต้องบอก เพราะวันนี้เป็นเรื่องของกฐิน ยังไงๆ ก็ต้องเป็นสังฆทาน เพราะว่ากฐินไม่ใช่องค์ใดองค์หนึ่ง สมภารไม่มีสิทธิ์จะใช้แต่ผู้เดียว ถ้าใช้แต่ผู้เดียว ไม่แบ่งพระองค์อื่น สมภารลงนรก อาตมาก็ขี้เกียจลงนรก ถ้าจะลงโยมก็ไปด้วยก็แล้วกันนะ ถ้าโยมไม่ไปฉันก็ไม่ไป ถ้าไปมากด้วยกันนี่เอาไปมากด้วยกันมันเลยขุมนรก เขาไม่เอาไปหรอก เขาขี้เกียจใส่
    ก็เป็นอันว่า เมื่อ พระสารีบุตร ถวายสังฆทานแล้ว ในตอนสายก็ไปชวน พระอนุรุทธ พระมหากัจจายนะ กับ พระโมคคัลลาน์ ว่า
    “เมื่อคืนนี้ผมไปพบแม่ของผมมาเมื่อ ๑๐๐ ชาติที่ผ่านมา เวลานี้เป็นเปรต เมื่อเช้านี้ผมถวายสังฆทานแล้ว แต่ทว่าเกรงว่าแม่จะไม่มีวิมานอยู่ ชวนท่านทั้ง ๓ องค์มาสร้างศาลากันคนละหลัง”
    ศาลา ๔ หลัง หนึ่งองค์หนึ่งหลัง สร้างวันเดียวเสร็จ ครู่เดียวเสร็จ เพราะอะไรรู้ไหม หาไม้สี่อันปักเข้า เอาไม้พาดๆ แล้วก็เอาใบไม้มุงเป็นที่พักของสงฆ์ได้ อย่างนี้เขาเรียก “วิหารทาน”
    พอถึงเวลากลางคืนพระทั้งหมด พระอรหันต์นี่ขยันเจริญกรรมฐาน พอถึงเวลากลางคืนก็เริ่มเจริญกรรมฐาน ตามธรรมดา พระโมคคัลลาน์ นี่ เวลาเจริญพระกรรมฐานพอจิตสบาย ท่านก็จะไปเที่ยวนรกบ้าง ไปเที่ยวสวรรค์บ้าง ไปดูว่าใครอยู่ที่ไหน สมัยเป็นมนุษย์ชื่ออะไร มีญาติอยู่ที่ไหน ทำบาปอะไรจึงตกนรก ทำบุญอะไรจึงไปสวรรค์ แล้วก็มาแจ้งให้ญาติเขาทราบ ว่าต้องการความช่วยเหลืออะไร หรือต้องการอะไร อย่างนี้เป็นต้น
    แต่คืนวันนั้น พระโมคคัลลาน์ ไม่ทันจะไป พอเริ่มจิตเป็นสมาธิ พอเริ่มสบายก็ปรากฏว่า มีนางฟ้าคนหนึ่ง รูปร่างสวยมาก เครื่องประดับก็สวย แสงสว่างก็เต็มจักรวาล มาพร้อมทั้งวิมานและสระโบกขรณี ในเมื่อ พระโมคคัลลาน์ เห็นเข้าก็คิดว่า นางฟ้าทุกคนเรารู้จัก ใครอยู่ที่ไหนเรารู้จักหมด แต่นางฟ้าคนนี้เราไม่รู้จัก แสดงว่าเพิ่งเป็นนางฟ้าใหม่ จึงถามว่า
    “ภคินิ ดูก่อนน้องหญิง ฉันอยากจะถามว่า เธอสมัยเป็นมนุษย์เธอทำบุญอะไรไว้ จึงมีรูปร่างหน้าตาสวยมาก เครื่องประดับก็สวยมาก แสงสว่างก็มาก และมีวิมานก็สวย มีสระโบกขรณีก็ดีมาก สวยมาก”
    นางฟ้าคนนั้นก็กล่าวว่า
    “ภันเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ฉันคือแม่ของพระสารีบุตร เมื่อ ๑๐๐ ชาติที่ผ่านมา เมื่อตอนเช้าพระสารีบุตรถวายสังฆทาน เอาข้าวใส่ใบไม้หยิบมือหนึ่ง และกับอีกหยิบนิดหนึ่งถวายให้สงฆ์ ของส่วนนี้เป็นปัจจัยให้ฉันได้ร่างกายอันเป็นทิพย์
    ประการที่สอง พระสารีบุตรถวายผ้ากว้างหนึ่งคืบยาวหนึ่งคืบแก่บรรดาพระสงฆ์เป็นจีวร ส่วนนี้เป็นปัจจัยให้ฉันได้เครื่องประดับอันเป็นทิพย์สวยสดงดงาม
    แล้วก็พระคุณเจ้าทั้งสี่ ปลูกศาลาหลังใหญ่ คือเพิงหมาแหงน เสาสี่เสาเอาไม้พาดๆ เข้า เอาหญ้าทำหลังคาอุทิศให้แก่ฉัน เป็นเหตุให้ฉันได้วิมานสวยสดงดงาม อาศัยที่พระสารีบุตรถวายนํ้าหนึ่งฝาบาตร เป็นเหตุให้ฉันได้สระโบกขรณี”
    นี่แหละบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ที่ พระสารีบุตร ทำบุญในวันนั้น อานิสงส์ไม่เท่ากับญาติโยมที่ทำบุญในวันนี้ แต่ว่าบรรดาญาติโยมทั้งหลายที่ทำบุญในวันนี้ต้องการจะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ใคร ให้นึกในใจว่า
    “ผลบุญใดที่ฉันทำแล้วในวันนี้ จะพึงมีประโยชน์แก่ฉันเพียงใด ขอท่านผู้นั้นจงมาโมทนารับผลเช่นเดียวกับฉัน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”
    เพียงแค่นี้เขาจะได้ทันที สวัสดี*

    โพสต์โดย achaya

    1531362490_787_วันนี้วันพระตรงกับวันพ.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  7. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    -๑๔-ก-ค-๖๑-ความเป็นม.jpg

    วันที่ ๑๔ ก.ค. ๖๑ ความเป็นมาของการสร้างเมรุพระราชทานเพลิงฯและการสร้างปราสาททองคำ
    ท่านพระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธเจ้าอาวาสวัดท่าซุง ได้ปรารภถึงการสร้างเมรุที่จะใช้ในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพพระเดชพระราชภาวนาโกศล อดีตเจ้าอาวาส ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า อันเป็นวันครบรอบ ๑ ปีแห่งการมรณภาพ ว่าได้ทำการปรับปรุงลานพื้น๒๕ไร่ ซึงเป็นลานสำหรับพระบิณฑบาตในงานธุดงค์ของทุกปี พร้อมทั้งออกแบบก่อสร้างเมรุอย่างอลังการสวยงาม ก็เพื่อสนองพระเดชพระคุณของ ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศลซึ่งเป็นที่คารพรัก
    บูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์ทุกรุ่น ทุกคน
    ตลอดมา และในส่วนงบประมาณค่าใช้จ่ายในการสร้างเมรุ ก็ล้วนมาจากจิตศรัทธาของลูกศิษย์ ที่ต่างพร้อมใจกันทำบุญเป็นเจ้าภาพร่วมกันนำโดย คุณณชญาดา ชูชัยศรี
    ( ร้านMr. Shake) ซึ่งเป็นเจ้าภาพใหญ่ ในการสร้างเมรุกลางและไม้ดอกไม้ประดับ
    นอกจากนี้ ท่านพระครูปลัดฯยังกล่าวถึงที่มาการสร้างปราสาททองคำ ว่าแรกเริ่มเป็นดำริของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานที่ต้องการสร้าง ณ ที่ตรงปัจจุบันนี้ และท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศลได้เริ่มสร้างต่อมาเรื่อยๆ โดยมีอดีตพระสามารถ(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เป็นช่างฝีมือประดิษฐ์
    ลวดลายมาแต่เริ่มสร้าง จนสึกเป็นฆราวาสก็ยังดำเนินงานต่อ และทุกวันนี้ช่างของทางวัดก็ได้สืบสานงานต่อมา
    ท้ายสุด ท่านเจ้าอาวาสได้อำนวยอวยพรให้ลูกศิษย์วัดท่าซุงทุกท่าน มีความสมานสามัคคีกันในหมู่คณะ เพื่อสืบทอดงานพระพุทธศาสนาตลอดไป
    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  8. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  9. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    -๑๔-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg

    วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑ ช่วงบ่าย ท่านพระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ เจ้าอาวาสวัดท่าซุง และคณะพระติดตาม เดินทางมา วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) จ.สระบุรี เพื่อมาร่วมพิธีถวายมุทิตาสักการะ พระครูภาวนาพิลาศ เนื่องในวันครบอายุ ๗๖ ปี
    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  10. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    -๑๕ก-ค-๖๑-ปรับปรุงภ.jpg

    วันที่ ๑๕ก.ค.๖๑ ปรับปรุงภูมิทัศน์รอบวิหารหลวงพ่อ๕พระองค์
    ท่านพระครูปลัดสมนึก สธมฺมถิรสทฺโธ
    เจ้าอาวาส ได้ตรวจงานการสร้างภูมิทัศน์รอบๆศาลาหลวงพ่อ ๕ พระองค์ โดยศาลาเก่าจะถูกยกสูง ใต้ถุนโล่ง ข้างบนด้านในจะไว้เก็บรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส เช่นหลวงปู่เล่ง หลวงปู่ไล้ หลวงปู่ขนมจีน และหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ปั้นจากเรซิ่นขนาดเท่าองค์จริง เพื่อให้ญาติโยมได้กราบไหว้บูชา ส่วนด้านติดแม่น้ำทำบันไดลงสู่ท่าน้ำและทุ่นแพปลาจะปรับปรุงใหม่ถูกต้องปลอดภัยขึ้นตามกฏหมายกำหนด โดยทำเป็นทุ่นแสตนเลส น้ำหนักเบา คงทนรองรับผู้คนที่มาเที่ยวให้อาหารปลาจำนวนมากเพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด ด้านหอฉัน จะเสริมรับน้ำหนักพื้นด้านล่าง จึงต้องทำการย้ายพระที่พักประจำไปพักที่มหาวิหารอนุสรณ์๑๐๐ปี หลวงพ่อพระราชพรหมยาน รวมทั้งหอฉันก็ต้องย้ายไปด้วยชั่วคราวเนื่องจากจะมีการก่อสร้างต่อเนื่อง ด้านหน้าติดถนนใหญ่ หลังป้อมตำรวจ ตั้งใจจะให้เปิดเป็นร้านขายกาแฟ โดยมีนักเรียน
    ร.ร.พระสุธรรมยานเถระวิทยาดูแลรับผิดชอบเพื่อเป็นรายได้ของโรงเรียนอักทางหนึ่ง ซึ่งทางวัดจะเร่งงานทั้งหมดดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  11. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
    พระใบฎีกาพิษณุ นำคณะไปติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ และส่งมอบให้ โรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา)

    ตามคำขอการสนับสนุน
    วันที่ 14 เดือน กรกฎาคา พ.ศ.2561
    เรียน ประธานกรรมการมูลนิธิหลวงพ่อปาน – พระมหาวีระ ถาวโร

    เรื่อง ขอบริจาควัสดุอุปกรณ์ขยายห้องเรียนอนุบาล,ห้องน้ำ,รับบริจาคคอมพิวเตอร์,โรงเรือนปลูกผัก,บ่อเลี้ยงกบ

    ด้วยโรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา)มีจำนวนนักเรียน 130 คน ยังขาดวัสดุอุปกรณ์จำนวนมากเนื่องจากวัสดุอุปกรณ์มีจำนวนจำกัดโรงเรียนจึงขอความอนุเคราะห์รับบริจาคจัดทำเพื่ออำนวยความสะดวก นักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปีทำให้ห้องเรียน ห้องน้ำไม่เพียงพอต่อนักเรียน มีความประสงค์ขอบริจาควัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (มือสอง) พร้อมอุปกรณ์การติดตั้ง ให้แก่โรงเรียนวัดวงฆ้อง(ราษฎร์สุริยศึกษา) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสนับสนุนการศึกษา จรรโลงพระพุทธศาสนา และช่วยเหลือสังคม สงเคราะห์ผู้ยากจน ซึ่งมีรายการดังนี้

    1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ จำนวน 15 ชุด พร้อมอุปกรณ์การติดตั้ง
    2. ขยายห้องเรียนอนุบาล พร้อมห้องน้ำ – ห้องอาบน้ำ จำนวน 6 ห้อง
    3. แปลงผักกางมุ้ง ขนาด 3 x 8 เมตร จำนวน 1 โรง
    4. บ่อกบ 1 บ่อ ขนาด 2 X 4 เมตร
    5. ที่นอนนักเรียนระดับอนุบาล 50 ชุด

    จึงเรียนมาเพื่อขอความอนุเคราะห์และโปรดพิจารณา

    ขอแสดงความนับถือ

    (นายวิมลชัย ฉัตรรักษา

    -๑๕-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1531715286_13_วันที่-๑๕-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1531715286_564_วันที่-๑๕-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1531715286_701_วันที่-๑๕-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1531715287_302_วันที่-๑๕-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1531715287_10_วันที่-๑๕-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1531715287_608_วันที่-๑๕-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1531715287_912_วันที่-๑๕-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1531715288_754_วันที่-๑๕-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1531715288_500_วันที่-๑๕-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1531715288_216_วันที่-๑๕-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1531715289_487_วันที่-๑๕-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  12. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  13. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    โครงการอุปสมบทหมู่ และบวชพราหมณ์ ชาย-หญิงเฉลิมพระเกียรติ
    ถวายเป็นพระราชกุศล แด่
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

    ปฎิบัติธรรม ระหว่างช่วงเข้าพรรษา ปี ๒๕๖๑ ระยะเวลา ๓ เดือน
    ณ วัดจันทาราม(ท่าซุง) ต.น้ำซึม อ.เมืองอุทัยธานี จ.อุทัยธานี

    เนื่องในวันเข้าพรรษา ปี ๒๕๖๑ จะเข้ามาถึง ตามประเพณีของวัดท่าซุงทุกปี จะมีการอุปสมบทพร้อมกัน ณ พระอุโบสถ เพื่อจำพรรษาตามประเพณีที่เคยจัดมาทุกปี และเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรทางวัดจึงขอประกาศข่าวดีอันเป็นมหากุศลว่า ในปีนี้จะจัดงานบวช วันเสาร์ที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑

    วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๑
    เวลา๑๖.๐๐ น. พระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ(เจ้าอาวาส)เป็นประธานในพิธีบวชพราหมณ์ ชาย-หญิงเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ที่ มหาวิหาร ๑๐๐ ปีหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ศาลา๑๒ไร่)

    -ท่าซุง-โครง.jpg

    วัดจันทาราม (ท่าซุง) – โครงการ…อุปสมบทหมู่ และบวชพราหมณ์ ชาย-หญิงเฉลิมพระเกียรติ วันที่ 21แล

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  14. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  15. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันนี้วันพระตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘) ปีจอ

    ขอให้ทุกท่านมีความสุขในธรรม

    “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” สำหรับใจความจริงๆ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ความมุ่งหมายขององค์สมเด็จพระจอมไตรก็หมายเอา “อริยสัจ” คือ “อริยสัจ” ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสก็หมายถึงเป็นเรื่องของความจริง ความจริงพอพูดกันถึง “อริยสัจ” นี่ บางท่านอยากจะง่วงนอน อยากจะหลับ ความจริงคำว่า “อริยะ” นี่ เขาแปลว่า บริสุทธิ์ผุดผ่อง “สัจจะ” หมายความว่า เราทรงความจริงที่เข้าถึงความบริสุทธิ์ทางใจ ในเรื่องของกายแต่ละคนหาความบริสุทธิ์ไม่ได้ เพราะกายมันสกปรก ไอ้ความบริสุทธิ์จริงๆ มันต้องเป็นความบริสุทธิ์ทางใจ ความบริสุทธิ์ทางใจนี่ องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสในวันนี้ว่าโดยย่อ ท่านบอกว่า จงละ ตัณหา ๓ ประการ คำว่าตัณหานี่ก็ไม่ใช่เรื่องหยาบ ถ้าไปด่ากันว่าเจ้านี่มักมากด้วยตัณหา มักจะโกรธ แต่ความจริงเป็นของธรรมดา ตัณหา แปลว่า ความอยาก เราอยากได้สิ่งที่ยังไม่มีให้มันมีขึ้น เขาก็เรียกว่าตัณหา สิ่งใดที่มีอยู่แล้ว อยากให้ทรงตัว เขาก็เรียกว่าตัณหา สิ่งใดที่มันมีอยู่แล้ว มันเก่าไป มันแก่ไป เราไม่อยากให้มันพัง มันจะต้องพัง เราไม่อยากให้มันพัง อย่างนี้ก็เรียกว่าตัณหา
    (๑) ที่ยังไม่มี อยากให้มีขึ้น ท่านเรียกว่า “กามตัณหา” “กาม” เขาแปลว่า ความใคร่ “ตัณหา” แปลว่า อยาก ใคร่อยากจะได้
    (๒) สิ่งที่มีอยู่แล้ว อยากให้ทรงตัวอย่างนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เรียกว่า “ภวตัณหา”
    (๓) สิ่งที่มันเปลี่ยนแปลงไปมันจะต้องแตก มันจะต้องตาย มันจะต้องพัง เราไปนั่งภาวนา บนบานศาลกล่าว ขออย่าให้แตกให้ตายให้พังเลย ให้คงอยู่อย่างนี้ อย่างนี้ท่านเรียกว่า “วิภวตัณหา”
    ดังนั้น ถ้าใครเขามาว่าเราว่าเป็นคนมีตัณหา เราก็อย่าไปโกรธเขา เรามีจริงๆ แต่ว่าคนที่ว่าเราเขามีมากกว่าเรานิดหนึ่ง มีมากถึงขั้นเอามาแจกเราด้วย ของเรามีเก็บคนเดียว มันไม่ล้นกระเป๋านะ แต่ไอ้คนที่ว่าเราน่ะมันล้น มาแจกเราอีกหน่อย แสดงว่าเขามากกว่าเรานิดหนึ่ง เราก็ดีใจนะว่าเราได้รับแจก
    เป็นอันว่า ตัณหาทั้ง ๓ ประการนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความจำเป็นของร่างกายมีอยู่เป็นของธรรมดา ถ้าเทศน์กับฆราวาส อย่างพระพุทธเจ้าเทศน์กับ นางวิสาขา ก็ดี หรือ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็ดี ใครก็ดี องค์สมเด็จพระชินสีห์ไม่ได้สอนให้คนละการทำมาหากิน ทรงสนับสนุนด้วยการทำมาหากินดังกล่าวว่า “อุฏฐานสัมปทา” จงถึงพร้อมด้วยความหมั่น หมายความว่าทุกคนจงมีความขยันหมั่นเพียรในการทำมาหากิน เมื่อกี้บอกว่าสิ่งที่ยังไม่ได้มา ถ้าเราอยากได้ จัดว่าเป็น “กามตัณหา” ถ้าฟังกันตรงนี้ ฟังเผินๆ จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าก็ยุให้ชาวบ้านมีตัณหา แต่เนื้อแท้จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ การแสวงหาทรัพย์สินมาได้โดยชอบธรรม เขาเรียกว่า “สัมมาอาชีวะ” เขาไม่เรียกตัณหา ฟังให้ดีนะ! ประเดี๋ยวกลับไปบ้าน เกิดไม่ทำนาทำไร่ไม่หากิน พระอดตายหมด..
    แต่ความจริงต้องเข้าใจว่า คำว่าอยากได้นี่ที่เป็นตัณหา มันอยากได้เกินพอดี กำลังเรามีเท่านี้ อยากได้เท่าโน้น กำลังมีเท่าโน้น อยากได้เท่านั้น ตะเกียกตะกายเกินพอดี จึงเรียกว่าตัณหา ถ้ามีทุนพอ พอที่จะลงทุนทำการค้าขาย ทำไร่ ทำนา ลงทุนทำทุกอย่างที่มันไม่เดือดร้อน ไม่คดไม่โกงเขา อย่างนี้เรียกว่า “สัมมาอาชีวะ” แยกเสียด้วยนะ ถ้าไม่แยกกลับไป เดี๋ยวกลับไปคนมีตัณหาหมดนะ ต้องแยกกัน คำว่า “ตัณหา” นี่ ต้องอยากได้เกินพอดี หรือว่าอยากโกงเขา อยากจะลัก อยากจะขโมยเขา ยื้อแย่งทรัพย์สินเขา อย่างนี้เป็น “ตัณหา”
    ถ้าหากินด้วยความชอบธรรม มีน้อยได้กำไรมาก เป็นคนจน หากินจนรวยเท่าไหร่ก็ตาม ไม่เรียกว่าตัณหา เป็น “สัมมาอาชีวะ”
    ทีนี้สำหรับ “กามตัณหา” ก็อยากได้ สิ่งที่ไม่มีเกินพอดี อยากได้เข้ามา ไอ้เจ้าตอนที่อยากได้เข้า มันไม่ได้สมหวัง ใจเราก็เดือดร้อน ขณะที่อยากจะได้ใจมันก็ไม่สบาย อารมณ์มันก็ไม่เป็นสุข ถ้าได้มาแล้วมันก็ไม่เป็นสุข ถ้าไม่ได้เดือดร้อนใหญ่ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ดีไม่ดีตายเอาเฉยๆ หรือทุพพลภาพ
    สำหรับ “ภวตัณหา” ก็เดือดร้อนเหมือนกัน ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลก คำว่า “โลก” นี่ ใน “วิสุทธิมรรค” ท่านแปลว่า มีอันจะต้องฉิบหายไป เป็นอันว่าของในโลกทั้งหมด ไม่มีการทรงตัว คนก็ดี สัตว์ก็ดี วัตถุก็ดี คนหรือสัตว์เกิดขึ้นมาแล้ว ก็เจริญขึ้นหาความเป็นหนุ่มเป็นสาว ต่อไปก็เป็นคนแก่ ต่อไปก็เป็นคนตาย สำหรับวัตถุเป็นของเกิดขึ้นมาใหม่ ไปมีใหม่ เป็นของใหม่ วันเวลาล่วงไปๆ มันก็เก่าไปทุกทีๆ ในที่สุดมันก็ผุ มันก็พัง อย่างปราสาทที่สร้างไว้ด้วยศิลาแลงมันก็พัง ปราสาทที่สร้างไว้ด้วยหินมันก็พัง
    เป็นอันว่าของในโลกทั้งหมด จะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม มันไม่มีการทรงตัว เกิดขึ้นใหม่ วันเวลาล่วงไป เก่าไปทุกวันๆ ผลที่สุดก็พัง วัตถุ คนเกิดขึ้นมา เด็กเจริญขึ้นมาเป็นหนุ่มเป็นสาว โว้งว้าง..ก็เรียกว่าร่างกายดีหน่อย พอไม่ช้านานเท่าไร ความร่วงโรยก็เข้ามาถึง มันก็ไม่มีการทรงตัว แล้วก็ตาย..
    สำหรับ “วิภวตัณหา” มีความรู้สึกว่า ของสิ่งใดที่เรามีอยู่แล้วเราชอบใจ อย่างคนที่เป็นหนุ่มเป็นสาว เมื่อถึงความเป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นเด็กอยากจะหนุ่มจะสาว พอถึงความเป็นหนุ่มเป็นสาว ก็นั่งภาวนา นอนภาวนา เดินภาวนา ยืนภาวนาว่า ขอฉันจงอย่าแก่เลย จงอย่าตายเลย นี่มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าเราคิดว่าเราจะไม่แก่ ไอ้ความแก่เข้ามาถึงมันก็เดือดร้อน ของที่เราซื้อมาใหม่ หามาใหม่ได้เราชอบใจ เรานึกว่าจงอยู่อย่างนี้ จงอย่าเก่า อย่างนี้เป็นอาการของ “วิภวตัณหา” นี่เราจะนึก เราจะคิด จะทำยังไงก็ตาม สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเว้นไม่ได้ มันต้องเก่าไปตามวันเวลา ถ้าความปรารถนาไม่สมหวังเกิดขึ้นมา เราก็มีความเดือดร้อนเกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจ ว่าสิ่งที่เราตั้งใจไว้มันไม่สมหวัง นี่ตัณหามันเดือดร้อนอย่างนี้
    สำหรับ “วิภวตัณหา” แล้ว ของมันจะพัง คนมันจะตาย เราก็นั่งบนบานศาลกล่าว ไอ้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ วัตถุเรามีอยู่ชิ้นเดียว ถ้ามันพังเราไม่มีอะไรจะใช้ ก็หาทางทุกอย่างป้องกันไม่ให้มันพัง ผลที่สุดมันก็พังจนได้ เราก็เดือดร้อนเป็นการฝืนอารมณ์ สำหรับคนและสัตว์ที่มีชีวิตอยู่ เราไม่อยากให้ตาย วาระความตายเข้ามาถึง ขืนไปฝืนแบบนั้นเราก็เดือดร้อน
    ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า “ขอทุกท่านจงวางตัณหาเสีย เอาจิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดา อริยสัจนี่ไม่มีอะไรมาก อริยสัจนี่ ถ้าจิตยอมรับนับถือกฎธรรมดาก็เป็นอริยสัจ”
    อย่างพระอรหันต์นี่เรียนไม่มาก ท่านเรียนอยู่ข้อเดียวคือ “สักกายทิฏฐิ” ตั้งแต่พระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นมา จนถึงอรหันต์น่ะเรียนข้อเดียว เรียนในด้าน “สักกายทิฏฐิ” มองเห็นกฎธรรมดาของร่างกายของเราเองว่า ร่างกายของเรานี่มีสภาพเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วก็มีความเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ เป็นเด็กเปลี่ยนมาเป็นความเป็นหนุ่มเป็นสาว จากความเป็นหนุ่มเป็นสาวเปลี่ยนไปหาความเป็นวัยกลางคน จากวัยกลางคนเปลี่ยนเป็นวัยแก่ จากวัยแก่มากลายเป็นวัยตาย
    เป็นอันว่ามันเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ ไม่ทรงตัว ในเมื่อร่างกายมันไม่ทรงตัว ทีนี้มานั่งมองอีกทีว่าร่างกายของเรามันตายแล้ว เราตายหรือเปล่า เราตาย คำว่าถ้าเรามีคำว่า เราตายด้วย คำว่าตกนรกมันก็ไม่มี คำว่าไปสวรรค์มันก็ไม่มี มันก็ต้องมีสภาพสลาย หรือว่าองค์สมเด็จพระจอมไตรบอกว่าคำว่าสลายตัวมี คือมันตายแต่ร่างกาย แต่เราคือ “จิต” มันไม่ตาย ตอนนี้ต้องคิดกันมากหน่อย
    รวมความว่าจิตของเราจะสบายได้ ก็หมายความว่าจิตไม่ฝืนกฎธรรมดา ให้มีความยอมรับนับถือ หรือรู้สึกไว้เสมอว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และก็เสื่อมลงไปทุกวัน ในที่สุดมันก็พัง ร่างกายของเราในสภาพเวลานี้พอมีแรง ไม่ช้าแรงมันจะหมดไปทีละน้อยๆ ในที่สุดมันก็พัง แล้วก็ตัดสินใจไว้อีกทีว่า การเกิดเหล่านี้มันมาจากไหน นี่การเกิดอย่างนี้จะพึงมีมาได้เพราะอาศัยตัณหาเป็นเหตุ ความตะเกียกตะกายตัณหาตัวไหน ไอ้ตัณหาตัวนอกไม่เป็นไร สำคัญตัวใน คือว่าเราเกิดมาแล้วลำบากแสนลำบาก ก็อยากเกิดต่อไป ความอยากแปลว่าตัณหา ไม่ใช่ทางละ
    อย่างนี้พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า “ถ้าละเสียมันมีสุข” จึงได้ทรงแนะนำบรรดา ปัญจวัคคีย์ ฤาษีทั้ง ๕ ว่า
    “เธอทั้งหลายจงพยายามละตัณหาทั้ง ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ด้วยอำนาจของ “อริยสัจ” คือรู้ตามความเป็นจริง จงพิจารณาว่าร่างกายของคนก็ดี ของสัตว์ก็ดี ที่มีอยู่นั้นไม่ใช่ร่างกายของเขาจริง มันเป็นเรือนร่างที่อาศัญชั่วคราวเท่านั้น มันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง และมีการสลายตัวไปในที่สุด ในเมื่อพวกเธอทั้งหลายวางภาระนี้เสียได้ เธอก็จะพ้นจากความทุกข์ คือเป็น “พระอริยเจ้า” เข้าพระนิพพาน”
    เมื่อองค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงเทศน์จบ ปรากฏว่า ท่านโกณฑัญญะ เป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุให้องค์สมเด็จพระพิชิตมารดีพระทัยมาก จึงได้เปล่งอุทานวาจาว่า
    “อัญญาสิ วะตะโภ โกณฑัญโญ
    อัญญาสิ วะตะโภ โกณฑัญโญ”
    คำว่า “อัญญาสิ” นี่แปลว่า รู้แล้ว จึงแปลเป็นใจความว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ดีใจมาก เพราะเทศน์กัณฑ์แรก มีคนบรรลุมรรคผล แม้แต่เบื้องต้น เป็นอันว่าคำว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” ต่อหน้าคำว่า “โกณฑัญญะ” เฉยๆ มีมาตั้งแต่วันนั้น
    เป็นอันว่าคนที่เป็นพระโสดาบัน พระโกณฑัญญะ ท่านฟังอะไร ฟัง “ธรรมจักร” ฟังอย่างไรจึงได้พระโสดาบัน อันนี้ฟังอย่างไร มันต้องว่ากันไป ขืนว่าไป ๓ เดือนมันไม่จบ ว่ากันถึงอารมณ์ นี่อารมณ์จิตเวลานั้นของท่านตั้งอย่างไร ที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงตัณหา ๓ ประการ ให้วางตัณหา ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาที่เรียกกันว่า “อริยสัจ”
    ท่านโกณฑัญญะ อันดับต้น มีความเคารพพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรมจริง เวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์ มีแต่พระพุทธเจ้ากับพระธรรม เข้าถึงสรณาคมน์ ๒ ประการ แล้วหลังจากนั้น ท่านโกณฑัญญะ ไม่มีความสงสัยในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องของศีล ท่านออกบวชมานาน ทรงศีลบริสุทธิ์ จิตยึดมั่นที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ถ้าถึงนิพพานเมื่อไร นิพพานเป็นแดนเอกันตบรมสุข คือสุขอย่างยิ่ง ไม่มีการเคลื่อน ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่ไปไหน ท่านถูกใจในพระนิพพาน จึงเป็นพระโสดาบัน
    สรุปความง่ายๆ ท่านก็เรียกว่า การที่เป็นพระโสดาบันของ ท่านโกณฑัญญะ หรือบรรดาท่านพุทธบริษัทก็เช่นเดียวกัน ฟังวันนี้ก็เป็นพระโสดาบันได้ เป็นอันว่าพระโสดาบันเขาเป็นกันอย่างนี้ คืออารมณ์จริงๆ เป็นง่ายๆ
    (๑) มีความเคารพในพระพุทธเจ้าจริง เคารพในพระธรรมจริง เคารพในพระอริยสงฆ์จริง แล้วก็
    (๒) ทรงศีล ๕ บริสุทธิ์
    (๓) จิตคิดไว้เสมอว่า ถ้าตายจากชาตินี้ เราไม่ไปไหนนอกจากนิพพาน เราไม่ต้องการเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดาหรือพรหม เราต้องการ “นิพพาน” อย่างเดียว
    พระโสดาบันกับสกิทาคามีสำคัญที่ศีล ๕ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “พระโสดาบันกับสกิทาคามีเป็นผู้ทรงอธิศีล” ถ้ามีศีล ๕ บริสุทธิ์ เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง จิตยังไม่รักพระนิพพาน ท่านเรียกว่าเป็นผู้เข้าถึง “ไตรสรณาคมน์” ถ้าจิตมุ่งมั่นต้องการพระนิพพานจริงๆ พรุ่งนี้เป็นพระโสดาบัน
    แต่คนที่จะเป็นพระโสดาบันได้ ต้องมีบารมีเต็มพอที่จะบรรลุมรรคผลได้ ต้องบำเพ็ญบารมีมา ถ้าเป็น “สาวกภูมิ” ก็ต้องบำเพ็ญบารมีมาไม่น้อยกว่า ๑ อสงไขยกับแสนกัป
    ถ้าเป็น “อัครสาวก” ก็ต้องบำเพ็ญบารมีมาไม่น้อยกว่า ๒ อสงไขยกับแสนกัป
    ฉะนั้น คนที่นั่งอยู่ที่นี่ทั้งหมด ถ้ามีใครบ้าง จิตใจรักศีลเป็นสำคัญ มีความเคารพพระพุทธเจ้าจริง ในพระธรรมจริง ในพระอริยสงฆ์จริง จิตใจมุ่งมั่นปรารถนาอย่างเดียวคือพระนิพพาน ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้มีบารมีเต็ม สวัสดี*

    โพสต์โดย achaya

    .jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  16. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑ หลังจากทำวัตรเย็น นั่งกรรมฐานเสร็จแล้ว ท่านพระครูปลัดสมนึก เจ้าอาวาสวัดท่าซุง และพระสงฆ์วัดท่าซุง จัดเตรียมสถานที่ บริเวณหน้าพระอุโบสถ เพื่อเตรียมงานโครงการอุปสมบทหมู่ และบวชพราหมณ์ ชาย-หญิงเฉลิมพระเกียรติ
    ถวายเป็นพระราชกุศล แด่
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

    ปฎิบัติธรรม ระหว่างช่วงเข้าพรรษา ปี ๒๕๖๑ ระยะเวลา ๓ เดือน
    ณ วัดจันทาราม(ท่าซุง) ต.น้ำซึม อ.เมืองอุทัยธานี จ.อุทัยธานี ซึ่งจะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ และพระบางส่วนได้จัดสถานที่หน้าพระประธาน มหาวิหาร ๑๐๐ ปี หลวงพ่อพระราชพรหมยาน จากนั้นได้ติดตั้งพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ขึ้นประดับด้านหน้าถนนหน้าศาลานวราชบพิตร วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี จนถึงเวลา ตีสองจึงแล้วเสร็จ

    -๒๐-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1532119266_342_วันที่-๒๐-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1532119267_273_วันที่-๒๐-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1532119268_805_วันที่-๒๐-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1532119269_781_วันที่-๒๐-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1532119269_785_วันที่-๒๐-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1532119269_270_วันที่-๒๐-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1532119270_110_วันที่-๒๐-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1532119270_506_วันที่-๒๐-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1532119270_610_วันที่-๒๐-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1532119271_530_วันที่-๒๐-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg
    1532119271_853_วันที่-๒๐-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  17. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  18. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑ พิธีอุปสมบทหมู่ เฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ณ อุโบสถวัดจันทาราม(ท่าซุง)

    -๒๑-กรกฎาคม-๒๕๖๑-พิ.jpg
    1532136905_357_วันที่-๒๑-กรกฎาคม-๒๕๖๑-พิ.jpg
    1532136905_638_วันที่-๒๑-กรกฎาคม-๒๕๖๑-พิ.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  19. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันอาทิตย์ที่๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑
    งานยกช่อฟ้าเอกอุโบสถหลวงพ่อพระราชพรหมยานอนุสรณ์๑๐๐ปีและทอดผ้าป่าสามัคคีสมทบทุนจัดงานปิดทองฝังลูกนิมิต ณ วัดศาลพันท้ายนรสิงห์ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
    ในงานบุญวันนี้ ท่านพระครูสมุห์พิชิต(หลวงพ่อโอ) ฐิตวีโร หลวงพ่อชัยวัฒน์ อชิโต และท่านพระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ ท่านเจ้าอาวาสวัดท่าซุง และคณะสงฆ์วัดท่าซุงจำนวนหลายรูปได้เดินทางมาร่วมงานครั้งนี้
    ในช่วงเช้าเวลาประมาณ๐๘.๓๙น.ทำพิธีบวงสรวงท่านท้าวมหาราชทั้ง๔ โดยท่านพระครูสาครสิทธิวิมล(หลวงตาชลอ) วิมโล และท่านพระครูปลัดสมนึกพร้อมคณะสงฆ์ร่วมกันบวงสรวง หลังบวงสรวงเสร็จแล้ว ท่านพระครูปลัดสมนึกประพรมน้ำมนต์ให้กับญาติโยมที่มาร่วมพิธี หลังจากนั้นญาติโยมต่างทำบุญตามอัธยาศัย และในเวลาประมาณ๑๐.๐๐น.ทางวัดได้จัดให้มีพิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาให้กับญาติโยมที่มาร่วมงาน และหลังจากเสร็จพิธีสะเดาะเคราะห์แล้ว ทางคณะสงฆ์ฉันภัตตาหารเพลและพักผ่อนอิริยาบถ และพิธียกช่อฟ้าเอกเริ่มในเวลาประมาณ๑๓.๑๙น.โดยประธานฝ่ายฆราวาสคือคุณเยาวลักษณ์ มิตรศรัทธาจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย หลังจากนั้นหลวงพ่อชลอได้กล่าวพูดคุยกับญาติโยมในงานถึงความเป็นมาเรื่องบุญยกช่อฟ้านี้ หลังจากนั้นท่านนิมนต์ท่านพระครูสมุห์พิชิต(หลวงพ่อโอ) ฐิตวโร เป็นประธานในการบวงสรวงก่อนการยกช่อฟ้าเอกอุโบสถ โดยหลังจากการบวงสรวงเสร็จคณะสงฆ์พระเถระได้ร่วมกันผูกระฆังและผ้าสามสีรวมทั้งปิดแผ่นทองและโปรยดอกไม้ที่ช่อฟ้า หลังจากนั้น ทั้งคณะสงฆ์และฆราวาสร่วมกันอัญเชิญยกช่อฟ้าเอกขึ้นสู่อุโบสถ หลังจากยกช่อฟ้าขึ้นสู่อุโบสถเรียบร้อยแล้ว คณะเจ้าภาพได้เข้าถวายเครื่องไทยธรรมพระเถระและคณะสงฆ์ในพิธี ถัดจากนั้นคณะพระสงฆ์ให้พรและญาติโยมร่วมกันอุทิศส่วนกุศลเป็นอันเสร็จพิธี
    เวลาประมาณ๑๔.๓๘น. ท่านพระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ และคณะพระสงฆ์วัดท่าซุงเดินทางกลับ

    -กรกฎาคม.jpg
    1532256186_700_วันอาทิตย์ที่๒๒-กรกฎาคม.jpg
    1532256186_876_วันอาทิตย์ที่๒๒-กรกฎาคม.jpg
    1532256186_959_วันอาทิตย์ที่๒๒-กรกฎาคม.jpg
    1532256186_84_วันอาทิตย์ที่๒๒-กรกฎาคม.jpg
    1532256186_120_วันอาทิตย์ที่๒๒-กรกฎาคม.jpg
    1532256186_424_วันอาทิตย์ที่๒๒-กรกฎาคม.jpg
    1532256187_806_วันอาทิตย์ที่๒๒-กรกฎาคม.jpg
    1532256187_764_วันอาทิตย์ที่๒๒-กรกฎาคม.jpg
    1532256187_148_วันอาทิตย์ที่๒๒-กรกฎาคม.jpg
    1532256187_601_วันอาทิตย์ที่๒๒-กรกฎาคม.jpg
    1532256187_872_วันอาทิตย์ที่๒๒-กรกฎาคม.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  20. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    -๒๓-กรกฎาคม-พ-ศ-๒๕๖๑.jpg

    วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑
    ท่านพระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ (เจ้าอาวาส)ให้โอวาทพระนวกะ ประจำปี ๒๕๖๑ เพื่อปฎิบัติจำพรรษา ณ วัดจันทาราม(ท่าซุง)ท่านพระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ (เจ้าอาวาส)ให้โอวาทพระนวกะ ประจำปี ๒๕๖๑ เพื่อปฎิบัติจำพรรษา ณ วัดจันทาราม(ท่าซุง)
    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...