ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “อย่าให้เสียชาติที่ได้เกิดเป็นมนุษย์”

    (โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

    เราทั้งหลาย ต่างเกิดมาด้วยวาสนา มีบุญพอเป็นมนุษย์ได้ อย่างเต็มภูมิ ดังที่ทราบอยู่แก่ใจ อย่าลืมตัวลืมวาสนา โดยลืมสร้างคุณงามความดีเสริมต่อ ภพชาติของเรา ที่เคยเป็นมนุษย์ จะเปลี่ยนแปลง และกลับกลายหายไป เป็นชาติที่ต่ำทราม ท่านจึงสอน ไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามกัน เมื่อเห็นเขาตกทุกข์ หรือกำลังจน จนน่าทุเรศ เราอาจมีเวลาเป็นเช่นนั้น หรือยิ่งกว่านั้นก็ได้ เมื่อถึงวาระเข้าจริง ๆ ไม่มีใครมีอำนาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะกรรมดี กรรมชั่ว เรามีทางสร้างได้ เช่นเดียวกับผู้อื่น

    [​IMG]

    ที่มา ธรรมะพระป่ากรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น
     
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    พรรษาที่ ๓๓-๓๕ จำพรรษาร่วมกับกัลยาณมิตร
    พ.ศ. ๒๕๐๐ ณ วัดป่าแก้ว บ้านชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    พ.ต. ๒๕๐๑-๒๕๐๒ ณ ถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

    จากวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ที่หลวงปู่ได้ญัตติเป็นธรรมยุต ณ วัดโพธิสมภรณ์ ได้เป็นนาคขวาของเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ผู้เป็นองค์อุปัชฌาย์ โดยมีพระคุณเจ้าหลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นนาคซ้าย ท่านทั้งสององค์ผู้เป็นคู่นาคขวาและซ้ายของกันและกัน ก็เป็นกัลยาณมิตรเอื้อเฟื้อต่อกันตลอดมา ด้วยต่างมีใจตรงกันหวังจะปฏิบัติธรรมเพื่อความเกษมหลุดพ้นจากโอฆสงสารเช่นเดียวกัน นับแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ซึ่งท่านและหลวงปู่ขาวได้จำพรรษาร่วมกัน ณ วัดป่าบ้านหนองวัวซอ ซึ่งมีหลวงปู่ชอบ ฐานสโม จำพรรษาอยู่ร่วมด้วยแล้ว ท่านต่างก็แยกย้ายกันไปแสวงหาภูเขา เงื้อมถ้ำ โคนไม้ ตามป่าเปลี่ยว เขาสูง เพื่อทรมานกิเลส ต่างถิ่นต่างสถานที่กันไป ตามนิสัยความพอใจของแต่ละองค์

    บางโอกาสบางสถานที่ ท่านอาจจะโคจรมาพบกันบ้าง แต่เมื่อต่างองค์ต่างพอใจในความวิเวก สันโดษ อยู่คนเดียว ไปคนเดียว เป็นปกตินิสัย การจะมาจำพรรษาด้วยกันอีกจึงเป็นการยาก กระทั่งเวลาผ่านไปถึง ๒๗ ปี คู่นาคขวาซ้ายจึงมาปวารณาเข้าพรรษาด้วยกันอีกครั้งหนึ่ง

    ท่านท่องเที่ยววิเวกจำพรรษาอยู่ทางอุดรฯ ขอนแก่น นครราชสีมา และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ตามถ้ำเขาในเขตจังหวัดเลยอันเป็นจังหวัดบ้านเกิด พร้อมทั้งติดตามไปอยู่จำพรรษาใกล้กับครูบาอาจารย์ในสกลนคร ในขณะที่หลวงปู่ขาวจากอุดรฯ สกลนคร นครพนม ขึ้นไปแสวงหาความวิเวกในจังหวัดภาคเหนือ จนได้ธรรมอันเป็นที่ยอดปรารถนาแล้ว ท่านก็กลับมาภาคอีสาน ได้พบกับหลวงปู่หลุยบ้าง ในระหว่างเวลาที่ท่านเข้ามากราบเยี่ยมฟังธรรมหลวงปู่มั่น แล้วท่านก็จะเที่ยวธุดงค์ต่อไปทางจังหวัดอุดรฯ หนองคาย ระยะเวลาที่เส้นทางโคจรมาประสานกันจึงค่อนข้างสั้น

    ระยะนั้น ญาติโยมแถบอำเภอสว่างแดนดิน ได้นิมนต์ให้หลวงปู่ขาวมาเป็นประธานให้ที่พึ่งทางใจแก่พวกเขา ที่วัดป่าแก้ว บ้านชุมพล ต.ค้อใต้ ท่านอยู่โปรดพวกเขาบ้าง แต่สถานที่นั้นไม่มีภูมิประเทศ ลักษณะถ้ำ ลักษณะขุนเขาที่ท่านพึงใจได้โอกาสหลวงปู่ขาวท่านก็จะหลีกเร้นไปวิเวก และบางครั้งก็อยู่ต่อไปจนเข้าพรรษาอย่างเช่นที่ดงหม้อทอง อำเภอวานรนิวาส สกลนคร ใน พ.ศ. ๒๔๙๗ หรือที่ถ้ำแก้ว ตาดปอ บ้านทุ่งทรายจก ภูวัว หนองคาย ใน พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นต้น

    ออกพรรษา ปี ๒๔๙๙ ชาวบ้านแถบบ้านค้อใต้ ก็มาอาราธนาอ้อนวอนให้หลวงปู่ขาวกลับมาอยู่ ณ วัดป่าแก้วอีก ท่านรับนิมนต์ และปี ๒๕๐๐ นี้เป็นปีสุดท้ายที่ท่านจำพรรษาอยู่โปรดชาวบ้านชุมพลและบ้านค้อใต้ เพราะต่อมาท่านก็เที่ยวธุดงคกรรมฐาน ได้ไปพบสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง ณ อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เป็นป่ารกชัฏ บริบูรณ์ด้วยพลาญหิน ละหานห้วย เงื้อมเขาและเถื่อนถ้ำต้นไม้สูงใหญ่ขึ้นเบียดเสียดกัน เหมาะแก่อัธยาศัยในการอยู่บำเพ็ญภาวนา หลวงปู่ขาวจึงพักอยู่ ณ บริเวณสถานที่นั้น และต่อมาก็ได้จัดตั้งขึ้นเป็นวัด มีนามว่า วัดถ้ำกลองเพล ซึ่งเป็นที่ซึ่งท่านอยู่บำเพ็ญสมณธรรมตลอดมาจนวาระสุดท้ายของชีวิตของท่านในเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๖

    หลวงปู่หลุยเที่ยววิเวกมาจากทางจังหวัดเลย มาพบหลวงปู่ขาวที่วัดป่าแก้ว ก่อนจะเข้าพรรษา ปี ๒๕๐๐ เล็กน้อย เมื่อเพื่อนสหธรรมิกชวนให้อยู่จำพรรษาด้วยกัน แม้สภาพของวัดป่าแก้วจะอยู่ในพื้นที่ราบ ไม่ใช่ถ้ำ ไม่ใช่เขาอย่างแถบจังหวัดเลยหรือสกลนครที่ท่านพึงใจ แต่เพื่อนสหธรรมิกที่จะอยู่ร่วมด้วย เป็นผู้ที่มีอัธยาศัยต้องกันมีคุณธรรมที่ท่านยกย่อง ท่านก็ตกลงจำพรรษาอยู่ด้วย

    ท่านกล่าวว่า สถานที่นี้ออกจะเป็นที่ซึ่ง “ลวงตา” อยู่ กล่าวคือ เดิมคิดว่าคงจะไม่มีอะไรเลย แต่เมื่อพอใจจะได้อยู่กับกัลยาณมิตร ได้มีเวลาธรรมสากัจฉากันบ้างซึ่งก็คงเป็น “สัปปายะ” อันเพียงพอแล้วที่ท่านต้องการ อย่างไรก็ดี ท่านได้พบด้วยความประหลาดใจว่า นอกจากบุคคลสัปปายะแล้ว แม้สถานที่ก็สัปปายะ และอากาศก็สัปปายะด้วย

    ท่านและหลวงปู่ขาวถูกอัธยาศัยกันมาก ท่านเล่าว่า นอกเหนือจากเวลาที่ญาติโยมมาหา ซึ่งเป็นเวลาที่ท่านช่วยหลวงปู่ขาวรับแขกแล้ว ท่านก็ต่างองค์ต่างเข้าที่ภาวนา หรือเดินจงกรมกัน อยู่คนละแห่ง คนละแดนของวัด วันๆ หนึ่งแทบไม่ได้พบหน้ากัน พูดคุยกัน นอกจากเวลาเตรียมตัวไปบิณฑบาต หรือฉันน้ำร้อน

    ท่านยอมรับว่า นิสัยของท่านทั้งสองต่างคล้ายกัน คือ ชอบเปลี่ยนที่ทำความเพียร เช่น เวลาเช้า นั่งภาวนาอยู่ ณ ใต้ร่มไม้แห่งหนึ่ง เวลาบ่าย ไปทำความเพียรอีกแห่งหนึ่ง ตกค่ำ เปลี่ยนที่ต่อไปอีก เปลี่ยนทิศ เปลี่ยนสถานที่ แม้แต่เส้นทางจงกรมก็ตาม ท่านก็ยังจัดทำไว้หลายสาย สายหนึ่งสำหรับบริเวณนี้ อีกสายหนึ่งสำหรับบริเวณตอนโน้น บริเวณวัดนั้นกว้างขวางมาก ด้วยยังเป็นป่าเป็นแนวไพรอยู่ ผู้ภาวนาจึงสามารถเที่ยวเลือกหาแบ่งปักปันเขตภาวนากันตามอัธยาศัย แดนนี้ สุดชายป่านี้ เป็นขององค์นี้ แดนโน้น สุดชายป่าโน้น เป็นขององค์นั้น

    ก้อ…สมมติกันน่ะแหละ ว่าเป็นแดนของใคร…ท่านเล่าขันๆ

    แต่บางเวลา เปลี่ยนทิศทาง ไปซ้าย ไปขวา ไปใกล้ ไปไกล…ภาวนาเพลินไป ออกจากที่ภาวนา ปรากฏว่ามาทับแดนกัน อยู่ห่างกันเพียงกอไม้กลุ่มเดียวก็เคยมี…!

    ท่านต้องอัธยาศัยกันมาก ทั้งๆ ที่ท่านต่างชอบสันโดษไปองค์เดียวแต่สำหรับกับหลวงปู่ขาว ดูจะเป็นกรณียกเว้น เมื่อหลวงปู่ขาวไปพบถ้ำกลองเพล ท่านจึงชวนหลวงปู่หลุยให้ไปจำพรรษาอยู่ด้วยกันอีก

    ในปีพรรษา ๒๕๐๑ และ ๒๕๐๒ หลวงปู่หลุยจึงอยู่ร่วมกับหลวงปู่ขาวต่อไป รวมเป็นเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ด้วยกันถึง ๓ ปีติดต่อกัน ซึ่งท่านกล่าวว่า ท่านมิได้เคยจำพรรษาอยู่ด้วยใครนานเช่นนี้มาก่อนเลย

    ยิ่งถ้ำกลองเพลมีอาณาบริเวณกว้างขวาง เป็นป่ารกชัฏ บริบูรณ์ด้วยพลาญหิน ละหานห้วย เงื้อมเขาและเถื่อนถ้ำดังกล่าวแล้ว การที่หลวงปู่ทั้งสององค์จะแยกกันหลีกเร้นไปหาที่สงัดวิเวกจึงแทบไม่มีโอกาสที่จะมา “ทับแดน” กันได้เลย

    อยู่องค์ละเงื้อมหิน องค์ละถ้ำ ไม่ต้องพูดคุยกัน

    ในภายหลัง ได้มาพบบันทึกของหลวงปู่หลุย ท่านกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

    “พระเถระไปเยี่ยมกัน ท่านใช้ฌานของจิต ไม่ต้องพูดกันอย่างคนธรรมดา รู้สุข รู้ทุกข์ รู้ทันที ผิดกับคนสามัญต้องถามสุขทุกข์กันเสียจึงรู้ได้”

    คงจะพอเข้าใจแล้ว ทำไมท่านไม่จำเป็นต้องพูดคุยกัน…!!

    เฉพาะในถ้ำกลองเพล ซึ่งเป็นถ้ำใหญ่กว้างขวาง เพดานถ้ำสูง มีอากาศโปร่ง โล่ง สบาย ลมพัดถ่ายเทได้ ปากถ้ำก็กว้าง คนเข้าไปอยู่ในบริเวณถ้ำได้เป็นจำนวนเรือนพัน กล่าวกันว่า ภายในถ้ำนั้นเคยมีกลองเพลใหญ่ประจำอยู่ลูกหนึ่ง ขนาดใหญ่มหึมา ไม่ทราบสร้างกันมาแต่กาลใด สมัยใด คงจะเป็นเวลานับด้วยร้อยๆ ปีผ่านมาแล้วบ้างก็ว่า เกิดขึ้นเองพร้อมกับถ้ำ บ้างก็ว่า เป็นกลองเทพเนรมิตขึ้นสำหรับผู้มีบุญ กลองเพลนั้นอยู่คู่กับถ้ำมาช้านาน สุดท้ายก็เสื่อมสลายลงเป็นดินตามกฎแห่งอนิจจังที่ว่า มีเกิด ย่อมมีดับ มีอุบัติ ย่อมมีเสื่อมสลายทำลายลง พวกที่เคยเข้าไปล่าสัตว์อาศัยเข้าไปพักเหนื่อยหรือหุงหาอาหาร เล่าว่า เคยเห็นเศษไม้ของกลองยักษ์นั้นที่กระจัดกระจายอยู่ในหลืบถ้ำ เอามาเป็นฟืนหุงต้มอาหารได้ ที่สำคัญก็คือภายในถ้ำนั้นมีพระพุทธรูปขนาดต่างๆ มากมาย ประดิษฐานไว้ตามหลังเขาและในถ้ำ ส่วนที่กล่าวกันว่า เป็นพระพุทธรูปทองหรือพระพุทธรูปเงินแท้นั้น ได้ถูกคนในสมัยหลังยึดถือเอาไปเป็นสมบัติส่วนตัวกันหมดแล้ว

    โดยที่ปี ๒๕๐๑ เป็นปีแรกที่หลวงปู่ขาวท่านมาเริ่มตั้งวัดถ้ำกลองเพล ดังนั้น หลวงปู่หลุยจึงเท่ากับมาร่วมอยู่ในยุค “บุกเบิกแรกตั้ง” ด้วย ท่านมิได้มีนิสัยในทางก่อสร้าง แต่ท่านก็คงช่วยเพื่อนสหธรรมิกของท่านในการเทศนาอบรม โดยเฉพาะเชิญชวนพุทธบริษัทให้มาร่วมทำนุบำรุงวัดถ้ำกลองเพลด้วย

    ได้พบข้อความในสมุดบันทึกของท่านหลายแห่ง ซึ่งท่านให้ชื่อไว้ว่า “โฆษณาเชยชมถ้ำกลองเพลโดยเอกเทศ” ขอเลือกนำมาลงพิมพ์ไว้เป็นอนุสรณ์ในที่นี้สำนวนหนึ่ง ดังนี้

    “ถ้ำกลองเพลเป็นสถานที่ประชุมของพุทธบริษัท มีทั้งภิกษุสงฆ์สามเณร มีทั้งศิษย์วัด มีทั้งแม่ขาว นางชี และมี ท่านอาจารย์ขาว ผู้เป็นเถระผู้ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาเป็นเจ้าอาวาส ประกอบทั้งมีคุณวุฒิทางธรรมวินัยที่ได้อบรม และฉายความรู้มาจากเถระผู้ใหญ่ กล่าวคือ ท่านอาจารย์มั่น โลกนิยมกันว่า เป็นคณาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานที่สำคัญของภาคอีสาน”

    “แม้ท่านอาจารย์ขาวองค์นี้ เป็นที่นับถือของพระเถรานุเถระผู้ใหญ่มานาน ทั้งท่านได้มีโอกาสมาจำพรรษา ณ ถ้ำกลองเพล ที่ถ้ำกลองเพลนี้ก็ได้ทราบว่า พระภิกษุสามเณร แม่ขาว นางชี มาจากต่างถิ่น ต่างจังหวัดเช่น อุบล อุดร ขอนแก่น เลย หนองบัวลำภู สกลนคร พร้อมฉันทะมาจำพรรษา ณ ถ้ำกลองเพลนี้ปีละมากๆ หากว่าเช่นนั้นเป็นสายชะนวนให้พุทธบริษัทดำเนินการก่อสร้างวัดถ้ำกลองเพล”

    “ถ้ำกลองเพลนี้ เนื้อที่ของวัดกว้างขวาง ประมาณ…..ไร่ ภูเขาถ้ำกลองเพลเป็นธรรมชาติภูเขามาตั้งแต่ปฐมกัป มีเรือกเกณฑ์ภูมิลำเนาดี มีน้ำอุปโภค บริโภค มีถ้ำใหญ่ มีพุทธรูปปฏิมากรเป็นพยานน่าชื่นใจ น่าบูชา และมีเหลี่ยมหินที่เล็กๆ หลายแห่ง ซอกเขาต่างๆ เป็นที่ซ่อนใจ ซ่อนตัวในเวลากลางวันได้ สถานที่ขึ้นไปหาถ้ำบิ้งขึ้นแต่ถ้ำหารไป มีสูงๆ ต่ำๆ และมีกุฎีปลูกขึ้นไปโดยลำดับสวยงาม ส่วนผาบิ้งนั้นมีดานหินที่สะอาด เดินภาวนาเปลี่ยนอิริยาบถได้ตามสบาย ทั้งมีก้อนหินสูงๆ ต่ำๆ สะอาด เจริญใจ ทั้งมีลำคลองน้ำเล็กๆ ที่มีน้ำใช้ ฤดูฝนใสสะอาด บริโภค อุปโภคได้เป็นอย่างดี ถ้ำกลองเพลนี้ประกอบไปด้วยป่าใหญ่ที่เกิดจากธรรมชาติ เป็นเทือกดงแนวป่าเปลี่ยว สดชื่น ป่าไม้นั้นล้วนอยู่ในบริเวณถ้ำกลองเพลทั้งนั้น”

    “ถ้ำกลองเพลนี้ หนทางเข้าวัด ติดกับทางรถยนต์ระหว่างอุดรไปหนองบัวลำภู ทางแยกรถยนต์เข้ามาทางวัด ๕ กิโลเมตร สะดวกไม่ขัดข้องด้วยประการใดๆ ถ้ำกลองเพลเป็นสถานที่ห่างไกลจากบ้าน เป็นสถานที่เจริญสมณธรรม เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาแต่โบราณกาลนานหนักหนา เป็นสถานที่มงคลดุจเทพรักษาถิ่นนี้มาก เป็นสถานที่ดึงดูดน้ำใจพวกเราพุทธบริษัทให้มาดูสภาพของถ้ำกลองเพลเรื่อยๆ เป็นสถานที่มีชื่อเสียงเด่นไปต่างจังหวัดอื่น เป็นสถานที่ร่วมใจของชาวเมือง มีข้าราชการ พ่อค้าพาณิชย์ และชาวไร่ชาวนา พากันมานมัสการพระพุทธรูปปฏิมากร เจดียสถาน แม้ในฤดูกาลปีใหม่ ท่านศาสนิกชนทั้งหลายพากันมาสระสรงพระพุทธรูป เพื่อขอฟ้าขอฝน และขออยู่อายุวรรณะ สุขะ พละ สำหรับปีใหม่”

    “ถ้ำกลองเพล มีทั้งต้นกล้วย ต้นขนุน ต้นมะละกอ เป็นพิเศษหมากไม้บริโภคที่เกิดจากธรรมชาติไม่แสลงโรค ครั้นพากันบริโภคแล้วบังเกิดความสุข หากว่าเป็นเช่นนี้ พวกเราพุทธศาสนิกชนควรปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมสาธารณวัตถุ เพื่ออุทิศบูชาไว้ในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอานิสงส์อย่างใหญ่ไพศาล”

    “ถ้ำกลองเพลนี้ มีท่านอาจารย์ขาวเป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นคณาจารย์ฝ่ายวิปัสสนา ทั้งมีพระภิกษุสามเณรเป็นจำนวนมาก มีทั้งฤดูแล้ง ฤดูฝนมิได้ขาด ท่านโยคาวจรเจ้าทั้งหลายผู้ที่แสวงหาวิโมกขธรรมย่อมไปๆ มาๆ อยู่อย่างนั้นมิได้ขาดสาย ท่านเหล่านั้นมาพักพาอาศัย พึงร่มพึ่งเย็นที่คณะอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายท่านพากันก่อสร้างไว้ดังนี้ แม้เสนาสนะไม่เพียงพอก็อยู่ ท่านเหล่านั้นพากันอยู่ในรุกขมูล ต้นไม้บ้าง อยู่ในถ้ำบ้างอยู่ง่ามภูเขาบ้าง แล้วแต่ความผาสุกของท่านเหล่านั้น”

    “ถ้ำกลองเพล ต่ออนาคตข้างหน้าจะเป็นวัดสำนักใหญ่ เป็นสถานที่เป็นมงคลอย่างยิ่งในอนาคตข้างหน้า หากว่าเป็นเช่นนี้ การก่อสร้างใดๆ จะเป็นกุฎีก็ดี หรือจะเป็นสรณวัตถุสิ่งอื่นๆ ก็ดี ล้วนแต่เป็นสถานที่เสนาสนะต้อนรับพระโยคาวจรเจ้าทั้งหลายที่มาแต่จตุรทิศทั้ง ๔ ซึ่งมีอานิสงส์อย่างไพศาล”

    “นำมาซึ่งความชื่นใจของท่านศาสนิกชนพุทธบริษัทต่อหลายฟ้าหลายปี จะเป็นสำนักใหญ่รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ ท่านผู้มาพบเห็น ก็พากันใคร่อยากจะก่อสร้างเป็นอนุสาวรีย์ไว้ในศาสนาทั้งนั้น เพื่อสืบบุญลูก บุญหลาน บุญเหลนต่อไป อนุชนเหล่านั้น ก็จะได้พากันระลึกได้ว่า ปู่ของเรา ย่าของเรา ชวดของเรา บิดามารดาของเรา ท่านเหล่านั้นได้พากันก่อสร้างไว้แล้ว อนุชนเหล่านั้นจะได้พากันก่อสร้างสืบต่ออนาคต ดังนี้”
    พรรษาที่ ๓๖ พ.ศ. ๒๕๐๓ ในถ้ำเขตจังหวัดเลย
    จำพรรษา ณ ถ้ำมโหฬาร ต.หนองหิน อ.ภูกระดึง

    พอออกพรรษา ปี ๒๕๐๒ แล้ว หลวงปู่ก็แยกจากกัลยาณมิตรของท่านออกจากวัดถ้ำกลองเพล ท่องเที่ยววิเวกมุ่งกลับไปทางจังหวัดเลย ซึ่งขณะนั้นยังสมบูรณ์ด้วยป่าด้วยเขา มองเห็นภูเขาลูกแล้วลูกเล่า ต่อเนื่องเนืองนันต์กันไปเป็นสีเขียวอ่อนแก่สลับซับซ้อนกัน

    แม้บริเวณแถวถ้ำกลองเพลเอง ก็ยังเป็นป่าดงพงทึบอยู่ มีเสือมีช้างเข้ามาเยี่ยมกรายในบริเวณวัดอยู่เสมอ ฉะนั้นเมื่อพ้นเขตที่วัด ก็ไม่ต้องสงสัยว่า ต่อไปจากนั้นบริเวณป่าเขาลำเนาไพร ก็จะยังคงสภาพ “ป่าดงพงทึบ” จริงๆ เพียงใด ต้นไม้แต่ละต้นใหญ่มาก สำนวนท่านเรียกว่า “กอดไม่หุ้ม” หมายความว่า ใหญ่จนคนโอบไม่รอบ สัตว์ป่ายังคงอุดมสมบูรณ์ บ้านเรือนผู้คนห่างกัน เล่าว่า จากอุดรไปเลยนั้น เป็นภูเขามาก ที่เห็นเป็นถนนลาดยางคดเคี้ยวไปตามไหล่เขานั้น เพิ่งจะมาทำกันในสมัยหลังๆ นี้ดอก การเดินทางสมัยหลังๆ นั้นจึงกลายเป็นของสะดวกง่ายดาย พระธุดงคกัมมัฏฐานสมัยหลังจึงอาศัยความเจริญก้าวหน้าของการคมนาคม เดินทางไปมาอย่างสะดวกสบาย

    หลวงปู่เคยเทศนาไว้ในภายหลัง วิจารณ์กัมมัฏฐานสมัยใหม่ไว้ว่า

    “ทกวันนี้ กัมมัฏฐานขุนนาง ! เป็นยังไงขุนนาง ? หรูหรามากเหลือเกิน ขุนนางหมายความว่ายังไง เดินธุดงค์ขึ้นรถแล้ว นั่น…เดินธุดงค์ขึ้นเรือบินแล้ว…นั่น…แต่ก่อนน่ะ ไม่ได้ทีเดียว…แบกกลดขึ้นภูเขา ลงภูเขา แหมเหนื่อยยากเหลือเกินนะ แต่ก่อนนะ อาหารการกินก็ไม่บริบูรณ์เหมือนทุกวันนี้นะ กินพริกกินเกลือไป แล้วมื้อแล้ววันไป หิวมาก…หิวมากเทียวเวลาเย็นนะ…นั่น”

    “เดี๋ยวนี้อะไร ป้อนอาหารใหญ่โต หรูหรามาก เลี้ยงกิเลสนะ มันจะมีความรู้ความฉลาดอะไรได้นะ แล้วขึ้นเรือบินด้วย แล้วขึ้นรถขึ้นราด้วย…!”

    “กัมมัฏฐานขุนนาง ทุกวันนี้น่ะ “ลาภเกิดก่อนธรรม” ลาภมันเกิดก่อนนะ เมื่อเกิดก่อนซะแล้ว มันยกจิตไม่ขึ้นทีเดียว ลาภมันเกิดขึ้นก่อนมัน ถ่วงหัวทุบหาง มันยกจิตไม่ขึ้น มันติดลาภติดยศอยู่”

    นับเป็นภัยอย่างยิ่งต่อผู้ที่ยังไม่ถึงมรรคถึงผล เพราะลาภสักการะย่อมฆ่าบรรพชิต หัวก็ถูกถ่วง หางก็ถูกทุบ…ก็ได้แต่แบนเละตาย…มีแต่ตายลูกเดียวเท่านั้น

    ท่านเล่าถึงสภาพป่าเขาแถบจังหวัดอุดรฯ ต่อเนื่องไปจังหวัดเลย ในสมัยที่ท่านยังเดินธุดงค์ไปมาอย่างโชกโชน อย่างละเอียด แม้ขณะในปี ๒๕๐๑-๐๒-๐๓-๐๔ ก็ยังคงสภาพป่าอยู่ เดินไปนานๆ จึงจะพบบ้านผู้บ้านคนสักครั้ง ล้วนขุดดินทำไร่กันตัวเป็นเกลียว สัตว์ป่าก็ยังมากมาย บางแห่งชาวบ้านเห็นหน้าพระก็ปรับทุกข์ กลางวันแท้ๆ ไปเกี่ยวหญ้ากันห้าหกคน อยู่ใกล้ๆ กันด้วย แต่ต่างคนต่างก็หมกมุ่นอยู่กับงานเฉพาะหน้า ได้ยินเสียงเพื่อนร้องคำเดียว เหลียวไป เสือมันตะปบไปแล้ว มันคาบร่างตีใส่ดินตูมเดียว เพื่อนก็เงียบเสียง ทุกคนเห็นอยู่กับตา ตะลึงงันกันไปหมด ไม่ทราบจะทำอย่างไร เพื่อนเงียบเสียง ตัวอ่อนนิ่งไปแล้ว จ้าวป่ามันยังชำเลืองดู แล้วก็เยื้องย่างเดินฉากไป โดยมีร่างเลือดโทรมของเพื่อนติดอยู่ในปาก

    น่าสยดสยอง น่าสลดสังเวชอย่างยิ่ง สัตว์เล็กย่อมพ่ายสัตว์ใหญ่ สัตว์อ่อนแอยอมแพ้แก่สัตว์แข็งแรง ชีวิตช่างไม่มีคุณค่า หาที่พึ่งมิได้เลย พึ่งได้แต่พระธรรมอย่างเดียว ท่านจึงได้แต่เทศน์ปลอบใจเขา อบรมสั่งสอนให้เขาพากันยึดถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่ง รู้จักรักษาศีล ศีลเป็นธรรมเครื่องค้ำจุนโลก โดยเฉพาะการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ชีวิตย่อมเป็นที่รักที่หวังของทุกคน ไม่มีใครอยากเจ็บอยากตาย สัตว์ก็เช่นกันเขาก็มีชีวิตเหมือนกับเรามนุษย์ เวลานี้เขามาเกิดเป็นสัตว์ตามกรรมที่กระทำมา ต่างมีความคิด ความนึก เจ็บร้อน อ่อน หิว กลัวตายเช่นมนุษย์เหมือนกัน เพียงแต่พูดออกมาเป็นภาษามนุษย์ไม่ได้เท่านั้น การมาอยู่ในป่าเปลี่ยวท่ามกลางสัตว์ร้ายเช่นนั้นยิ่งต้องพยายามรักษาศีลข้อไม่ฆ่าสัตว์นี้ให้มาก ให้ยิ่ง ให้มีใจเมตตากรุณาต่อสัตว์ ผลของความเมตตาต่อสัตว์นั้น จะเป็นเครื่องคุ้มครองตนเองและครอบครัวให้แคล้วคลาดจากภยันตรายจากสัตว์เช่นกัน

    เมื่อเราเมตตาเขา เขา…พวกเขา…ย่อมเมตตาเรา เสือและเพื่อนผู้นั้นคงเป็นคู่กรรมเวรกันมา ทำไมอยู่กันหลายคน มันจึงเจาะจงคาบเอาไปแต่คนนั้นคนเดียว ขอให้ปลงใจเสียเถิด ปัจจุบันก็ให้ทำแต่กรรมดี อย่าก่อเวรต่อไป

    ท่านเล่าว่า ขณะที่สั่งสอนเขานั้น ภาพเหตุการณ์เมื่อท่านเองได้ผจญกับเสือที่ถ้ำโพนงามก็กลับมาเป็นภาพอนุสรณ์ให้ได้รำลึกถึงอีก ทำให้สงสารพวกชาวบ้านเหล่านั้น ยิ่งนัก

    หลวงปู่ธุดงค์ตัดมุ่งตรงไปทางริมแม่น้ำโขง ท่านเคยอยู่เชียงคานในสมัยยังหนุ่มก่อนบวชหลายปี จึงกลับไปเยี่ยมผู้คนทางนั้นด้วย และเลยข้ามฝั่ง ไปฝั่งลาวไปเมืองแก่นท้าว

    กลางเดือนมีนาคม ๒๕๐๓ ท่านบันทึกไว้ว่า

    “อยู่ปากเหือง ข้างแรม ๓ ค่ำ เดือน ๔ พ.ศ. ๐๓ (วันอังคารที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ – ผู้เขียน) เทวดานิมิตนิมนต์ไปแผ่เมตตาจนนกเขาขันกลางคืน ภาวนาดี แจบจม แม่ครูอ้วนอุปัฎฐาก น้ำโขงไม่เป็นสัปปายะ”

    ที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ท่านไปภาวนาที่ถ้ำผาพร้าว ซึ่งท่านว่า ภาวนาดีมาก อีกหลายปีต่อมา ท่านบันทึกเกี่ยวกับการอยู่ถ้ำผาพร้าวในปี ๒๕๐๓ ไว้อีกว่า

    “ถ้ำผาพร้าว ฝั่งซ้าย เกือบเสีย บุญวาสนาแก้ทัน เพราะอยู่คนเดียวเสียด้วย” ท่านรำพึงต่อไปว่า “นี้พระเถระผู้ใหญ่ยังมีนิมิตหลอกได้”

    ดังได้เคยกล่าวมาแล้วว่า คำว่า “เกือบเสีย” ของหลวงปู่นั้นมีความหมายเฉพาะองค์ท่าน ใครมาเห็นบันทึกของท่านกล่าวถึงสถานที่บำเพ็ญความเพียรที่ใดว่าเป็นที่ “เกือบเสีย” หรือ “เป็นบ้า” แล้วเข้าใจตามภาษาของเราเองก็จะผิดถนัด

    “เกือบเสีย” หรือ “เป็นบ้า” ของท่าน คือ การภาวนาจนจิตลงถึงอัปปนาสมาธิ เมื่อถอนออกมาเกิดมีนิมิตรู้เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นวิสัยของท่านผู้เคยมี นิสัยวาสนาทางอภิญญามาก่อน.มิได้พยายามปล่อยวางนิมิต คงเพลิดเพลินไปตามนิมิตและความรู้เห็นนั้น

    ถ้าปล่อยไป ก็จะ “เสีย” หรือ “เป็นบ้า” ไปเลย

    จึงต้องมีการ “แก้บ้า” หรือ แก้ไม่ให้เสีย โดยใช้ไตรลักษณ์เข้าพิจารณาให้เห็นเป็น ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา ตามสำนวนของท่านว่า “ล้างเช็ด” หรือ “ฟอก” จิตให้บริสุทธิ์

    การภาวนาที่ “เกือบเสีย” หรือ “แก้บ้า” ได้แล้ว หมายความว่า จิตจะเด่นดวง เป็นจิตที่มีปาฏิหาริย์แกล้วกล้ามาก

    ยกตัวอย่างที่ท่านเคยวิจารณ์การภาวนาที่ถ้ำโพนงามไว้ว่า “ถ้ำโพนงาม พ.ศ. ๗๗ เกือบเสียเหมือนกัน ระยะผลร้ายที่สุด เกือบสึก เกือบบ้า เกือบเสียชีวิต”

    และในขณะเดียวกัน ท่านก็กล่าวไว้อีกเช่นกันถึงการเจริญภาวนา ณ ที่ถ้ำโพนงาม นั้นในช่วงระยะเวลาเดียวกันว่า “ความเพียรอยู่ถ้ำโพนงามนั้นเด่นมาก เอาลัทธิท่านอาจารย์สิงห์และท่านมหาปิ่น (ท่านเพิ่งกลับมาจากการไปจำพรรษาอยู่กับท่านอาจารย์สิงห์ ณ ที่วัดป่าบ้านเหล่างา ปี ๒๔๗๔ และกับท่านอาจารย์พระมหาปิ่น ณ วัดป่าศรัทธารวม ปี ๒๔๗๕ – ผู้เขียน) หากเราได้ฟังเทศน์ท่านอาจารย์มั่น เราอาจได้สำเร็จอรหันต์”

    “เกือบเสีย” ของท่าน…! ยังเด่นดวง จนท่านอุทานว่า หากได้ฟังเทศนาท่านอาจารย์ ท่านอาจได้สำเร็จอรหันต์…!

    ท่านเคยเล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ทางฝั่งประเทศลาวยังมีป่าดงพงไพร เหมาะเป็นที่วิเวกเจริญสมณธรรมอีกมาก เพราะบ้านเมืองยังไม่ถูกความเจริญเข้ารุกไล่อย่างรวดเร็วเช่นทางประเทศไทย ที่สงบสงัด เถื่อนถ้ำ เงื้อมเขาสูง ยังโดดเดี่ยวปกคลุมด้วยไพรพฤกษาเขียวครึ้ม และสมัยนั้นการเดินทางข้ามไปมาระหว่างไทยและลาวก็ง่ายดาย ไม่มีพิธีการเข้มงวดกวดขันดังในสมัยที่ลาวเปลี่ยนการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐแล้ว พระธุดงคกัมมัฏฐานที่เคยไปแสวงหาความสงบวิเวกยังถิ่นโน้นจึงต้องลดละไป เป็นที่น่าเสียดายมาก

    ระหว่างอยู่ทางฝั่งลาว ก็พักตามเถียงนาบ้าง วัดร้างบ้าง บางทีก็มีผู้นิมนต์ให้ไปโปรดตามบ้านช่องห้องหอของศรัทธาญาติโยม ซึ่งมักจะเคยคุ้นต่อการข้ามมากราบครูบาอาจารย์พระกัมมัฏฐานสายนี้อยู่แล้ว การเดินทางไปเที่ยวกัมมัฏฐานของหลวงปู่นี้ เท่าที่เรียนถามพระเณรที่เคยได้มีโอกาสไปกับท่าน เล่าว่า ท่านมักจะไปผู้เดียวตลอด มาจนระยะหลัง พ.ศ. ๒๕๐๐ ล่วงแล้วนั้นท่านจึงมีเณรติดตามบ้างเป็นบางครั้ง

    ที่ใดท่านได้อยู่องค์เดียว ท่านก็อยู่นานหน่อย ถ้ามีหมู่พวกอยู่ด้วยท่านก็จะไม่อยู่นาน ท่านมักเคลื่อนที่ทุกสามวันห้าวัน หากการภาวนาดีก็จะอยู่ถึงเจ็ดวันแปดวัน หมู่พวกมาอยู่ด้วยท่านก็ปล่อยให้หมู่พวกอยู่ แล้วท่านจะหลีกหนีไปเอง พอถึงต้นเดือนพฤษภาคม ท่านก็กลับมาจากแถบริมฝั่งแม่น้ำโขงมาในเขตอำเภอภูกระดึง มุ่งมาถ้ำมโหฬาร

    “ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๐๓ (ตรงกับวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ – ผู้เขียน) กลับมาอยู่ถ้ำมโหฬาร วิเวกดี นำมาซึ่งความสุขใหญ่ มีโอกาสภาวนาชำระจิตอย่างเดียวดีกว่าถ้ำผาปู่ ถ้ำผาพร้าว ไม่ขัดข้องด้วยสิ่งอันใด แต่อาพาธบางประการ เบื่อผักหวาน หมู่เพื่อนช่วยเหลือทุกอย่าง”

    ได้ความว่า ระยะนั้นเณรเก็บผักหวานมาต้มถวายทุกวันๆ และโปรดอย่าลืมว่า ระยะนั้นท่านทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ อาหารนั้นก็มักจะเป็นปลาร้าละลายน้ำต้มกับผักใบไม้ที่พอหาได้ใกล้ถ้ำ

    “แรม ๒ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๐๓ (วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ – ผู้เขียน) ภาวนาและตายลงไป เชื่อนิมิตอิงอริยสัจ ๔ บังคับจิตอยู่เสมอ ตั้งสติให้ระวังอยู่อาการนั้น เพื่อความชำนิชำนาญของสติ เมื่อรู้เท่าอันนี้แล้วเป็นแก่นสารของจิตแก่นสารของอริยสัจ จิตจะปกติ ตั้งเที่ยงอยู่ในโลกุตระ บรรดานิมิตเข้าหลอกไม่ได้ สติกับหลักอริยสัจอิงกันอยู่โดยดี”

    ในปี ๒๕๐๓ นี้ ท่านก็ตกลงจำพรรษา ณ ถ้ำมโหฬาร ส่วนปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ท่านจำพรรษา ณ ถ้ำแก้งยาว ซึ่งอยู่ ณ บ้านโคกแฝก ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

    -๓๓-๓๕-จำพรรษาร่.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ุทธศาสนิกชนสามารถร่วมทำบุญเพื่อถวายเป็นอาจาริยบูชาคุณ แด่
    องค์หลวงปู่ท่อน ญาณธโร อดีตเจ้าอาวาส
    ัดศรีอภัยวัน /-
    และมีเพียงสามบัญชีเท่านั้น ที่จะสามารถร่วมบุญกับทาง ัดศรีอภัยวัน ได้

    (1) เลขที่บัญชี 403-0-90490-4 ธนาคารกรุงไทย
    ชื่อบัญชี บำเพ็ญกุศลพระราชญาณวิสุธิโสภณ

    (2) เลขที่บัญชี 648-265140-7 ธนาคารไทยพาณิชย์
    ชื่อบัญชี เพื่อสร้างเมรุชั่วคราว

    (3) เลขที่บัญชี 403-0-91366-0 ธนาคารกรุงไทย
    ชื่อบัญชี ( เพื่อจัดพิมพ์หนังสือในงานพระราชทางเพลิงหลวงปู่ท่อน ญาณธโร)

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
    สำนักงานวัดศรีอภัยวัน
    โทร 0981326538
    ขอความกรุณาไม่คัดลอกข้อความเพียงบางส่วนหรือบางข้อความเพื่อไปเผยแพร่ เนื่องจากอาจจะมีความเข้าใจผิดและคลาดเคลื่อนในข้อมูลนะครับ

    ขอบคุณ วัดศรีอภัยวัน ที่ให้ข้อมูลและรูปภาพ

    1534399147_378_พุทธศาสนิกชนสามารถร่วม.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ุทธศาสนิกชนสามารถร่วมทำบุญเพื่อถวายเป็นอาจาริยบูชาคุณ แด่
    องค์หลวงปู่ท่อน ญาณธโร อดีตเจ้าอาวาส
    ัดศรีอภัยวัน /-
    และมีเพียงสามบัญชีเท่านั้น ที่จะสามารถร่วมบุญกับทาง ัดศรีอภัยวัน ได้

    (1) เลขที่บัญชี 403-0-90490-4 ธนาคารกรุงไทย
    ชื่อบัญชี บำเพ็ญกุศลพระราชญาณวิสุธิโสภณ

    (2) เลขที่บัญชี 648-265140-7 ธนาคารไทยพาณิชย์
    ชื่อบัญชี เพื่อสร้างเมรุชั่วคราว

    (3) เลขที่บัญชี 403-0-91366-0 ธนาคารกรุงไทย
    ชื่อบัญชี ( เพื่อจัดพิมพ์หนังสือในงานพระราชทางเพลิงหลวงปู่ท่อน ญาณธโร)

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
    สำนักงานวัดศรีอภัยวัน
    โทร 0981326538
    ขอความกรุณาไม่คัดลอกข้อความเพียงบางส่วนหรือบางข้อความเพื่อไปเผยแพร่ เนื่องจากอาจจะมีความเข้าใจผิดและคลาดเคลื่อนในข้อมูลนะครับ

    ขอบคุณ วัดศรีอภัยวัน ที่ให้ข้อมูลและรูปภาพ

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    .jpg

    “แฟนพันธุ์แท้หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต” จะออกอากาศในคืนวันศุกร์ ที่ 17 สิงหาคม 2561 นี้ เวลา 21.00 น. ศิษย์สายพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อย่าลืมชมและเชียร์กันนะครับ บันเทิงธรรม (แฝงความรู้) ทางช่อง Workpoint (หรือดูผ่าน Facebook แฟนพันธุ์แท้ (ช่อง 23) ครับ
    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    พรรษาที่ ๒๖-๓๑ พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๔๙๘ แล้วก็ออกธุดงค์เรื่อยไป

    พ.ศ. ๒๔๙๓ จำพรรษา ณ วัดศรีพนมมาศ อ.เขียงคาน จ.เลย
    พ.ศ. ๒๔๙๔ จำพรรษา ณ ถ้ำพระ นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    พ.ศ. ๒๔๙๕ จำพรรษา ณ เขาสวนกวาง อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น
    พ.ศ. ๒๔๙๖ จำพรรษา ณ วัดดอนเลยหลง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.เลย
    พ.ศ. ๒๔๙๗ จำพรรษา ณ บ้านไร่ม่วง (วัดป่าอัมพวัน) ท่าแพ อ.เมือง จ.เลย
    พ.ศ. ๒๔๙๘ จำพรรษา ณ สวนพ่อหนูจันทร์ บ้านฟากเลย จ.เลย

    หลังจากที่ประทีปแก้วของพระกัมมัฏฐาน ที่โชติช่วงอยู่ที่บริเวณทางภาคอีสาน โดยเฉพาะที่วัดป่าบ้านหนองผือ เป็นเวลาช้านานกว่า ๕ พรรษา ได้ดับลงที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้มีการถวายเพลิงท่านในต้นปี ๒๔๙๓ หลวงปู่ได้ช่วยจัดงานศพเป็นการสนองคุณพ่อแม่ครูบาอาจารย์เป็นครั้งสุดท้าย เสร็จแล้วท่านก็ออกธุดงค์เรื่อยๆ ไปอย่างที่ท่านเคยบอกว่า อาชีพคือ ออกธุดงค์เรื่อยไป

    ท่านเล่าว่า ระหว่างนั้นรู้สึกว่าจะมีสภาพเหมือนบ้านแตกสาแหรกขาด ทุกคนซบเซา จิตใจหดหู่ พูดจากันแทบจะไม่ได้ เหมือนคล้ายกับว่าไม่รู้จะทำสิ่งใดต่อไป ต่างองค์ก็ต่างแยกกัน พระหนุ่ม เณรน้อย ได้อาศัยร่มบารมีของพระเถระผู้ใหญ่ ผู้เป็นเสมือนพี่ชายใหญ่ ซึ่งบางท่านบางองค์ก็ไปกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี บางองค์ก็ไปอยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย บางองค์ก็ไปอยู่กับท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ลูกเล็กลูกหล้าก็ย่อมต้องการพี่ชายใหญ่ที่จะโอบอุ้ม ให้ความเมตตาดูแลฝึกปรือต่อไป

    หลวงปู่นั้น ท่านยังพึ่งตัวเองไม่ได้ ท่านก็แยกองค์จากหมู่เพื่อน เดินทางรอนแรมวิเวกต่อไป รำพึงถึงความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร ได้เคยหวังพึ่งอาศัยพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ได้อยู่ในร่มเงา ใต้รัศมีบารมีท่านหลายปี และถึงเวลาแล้วที่จะต้องแยกตัวออกมาเหมือนลูกนกทีปีกกล้าขาแข็งแล้ว จะอยู่กับแม่อาศัยไออุ่นแม่ปกปักรักษาต่อไปย่อมไม่ได้ จะต้องบินออกไปสู่โลกกว้างตามลำพัง

    ระยะเวลาตั้งแต่พรรษาที่ ๒๖-๓๑ แต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๔๙๘ อาจจะถือได้ว่า เป็นเวลาที่ท่านออกธุดงค์เรื่อยไปตลอด ปีแรกท่านไปที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จำพรรษาที่วัดศรีพนมมาศ อำเภอเชียงคาน ซึ่งเป็นวัดที่ท่านเคยได้ช่วยเหลือดูแลในการงานบุญบ่อยครั้ง ด้วยเป็นถิ่นที่หลวงปู่ได้เคยมาอยู่ทำงานตั้งแต่สมัยเป็นเด็กหนุ่ม ฝั่งตรงข้ามเป็นฝั่งลาว ชาวบ้านยังมีความศรัทธาอยู่มาก ท่านก็ได้อบรมให้เป็นอย่างดี

    พ.ศ. ๒๔๙๔ ท่านเที่ยวธุดงค์มุ่งผ่านจากเลยมาอุดรฯ ไปสกลนคร กลับไปจำพรรษาที่ถ้ำพระ นาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของถ้ำโพนงาม ซึ่งเคยจำพรรษาเมื่อปี ๒๔๗๖-๒๔๗๗ และปี พ.ศ. ๒๔๘๓ บริเวณถ้ำนั้นกว้างยาวไปไกล อยู่ในเขตเทือกเขาภูพาน อาจจะเดินทางจากด้านหนึ่งไปทะลุอีกด้านหนึ่ง แล้วไปออกอีกหมู่บ้านหนึ่งได้ ลึกลับซับซ้อนต่อกัน ในช่วงบริเวณตอนที่จำพรรษาในปีนี้ มีพระพุทธรูปตั้งเรียงรายอยู่มาก จึงได้ชื่อว่า “ถ้ำพระ” ในครั้งนี้ท่านไม่ได้ผจญเสือโดยเผชิญหน้าอย่างที่เคยได้พบกันในปี ๒๔๘๓ ในครั้งนั้น แต่ท่านก็เล่าว่า ยังมีเสืออยู่มากเช่นกัน

    ที่ซึ่งหลวงปู่ไปนั่งภาวนานั้นเป็นหลืบหิน มีพระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาดเท่าตัวคนตั้งอยู่ เวลาเช้าท่านออกไปบิณฑบาต ท่านได้เอาผ้าจีวรคลุมบ่าพระพุทธรูปไว้ พอท่านกลับจากบิณฑบาต ปรากฏว่าเสือเข้ามาตบพระพุทธรูป เศียรหัก จีวรขาดเลย ในกาลต่อๆ มา ท่านมักจะเล่าอย่างมีอารมณ์ขันว่า ใครว่าเสือมันไม่กินพระ ไม่ทำอะไรพระ แต่ขนาดพระพุทธรูปที่นั่งห่มจีวรอยู่ เสือยังมาตบเสียพระพุทธรูปคอหัก จะว่าเสือไม่กินพระได้อย่างไร

    จากนั้นอีกปีหนึ่ง ท่านก็วกกลับไปจำพรรษาที่เขาสวนกวาง กิ่งอำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ด้วยความพบปะใกล้ชิดกับท่านเจ้าคุณอริยคุณาธารแห่งเขาสวนกวาง ซึ่งเดิมท่านเคยเป็นเจ้าคณะจังหวัด ได้พบพูดคุยกับท่านระหว่างงานถวายเพลิงศพท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ท่านก็ได้ชวนหลวงปู่ให้มาจำพรรษาที่เขาสวนกวางบ้าง คราวนี้ได้สบโอกาส ท่านจึงได้เดินทางเลยมาจำพรรษาที่ ๒๘ ที่เขาสวนกวาง

    -๒๖-๓๑-พ-ศ-๒๔๙๓-๒๔๙.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...