ธรรมะ จากเพจ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สายหลวงปู่มั่น, 4 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    วันนี้วันที่ ๑๔ สิงหาคมเป็นวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร “พระอริยเจ้าผู้มีจริยวัตรงดงามดั่งดอกบัว” รำลึก ๒๖ ปี หลวงปู่สิม ท่านถือกำเนิดมาเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ให้กับตนเอง ด้วยการประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีงาม หลวงปู่เป็นผู้มีใจหนักแน่นมั่นคง ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลาย และใช้ชีวิตที่เหลือในการเกื้อกูลมหาชนชาวพุทธอย่างแท้จริง หลวงปู่พร่ำสอนเสมอๆ มิให้ตั้งตนในทางที่ประมาท ทั้งความประมาทในชีวิต ความประมาทในวัย และความประมาทในความตาย หลวงปู่เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการปฏิบัติภาวนาว่าเป็นหนทางอันสูงสุดที่จะทำให้คนพ้นทุกข์ได้ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้พยากรณ์ไว้ว่า “.. ท่านสิมเป็นดอกบัวที่ยังตูมอยู่ เบ่งบานเมื่อใด จะหอมกว่าหมู่..”

    ชีวประวัติ และปฏิปทาหลวงปู่สิม พุทธาจาโร

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย ท่านมีนามเดิมว่า สิม วงศ์เข็มมา เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๕๒ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา เวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. ที่บ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บิดามารดาชื่อ นายสาน – นางสิงห์คำ วงศ์เข็มมา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๑๐ คน ท่านเป็นคนที่ ๕

    สกุล “วงศ์เข็มมา” เป็นสกุลเก่าแก่สกุลหนึ่งของบ้านบัว ผู้เป็นต้นสกุล คือ ท่านขุนแก้ว และ อิทปัญญา น้องชาย ตัวท่านขุนแก้วก็คือ ปู่ของหลวงปู่สิมนั่นเอง เ เท้าความในคืนที่หลวงปู่เกิด ประมาณเวลา ๑ ทุ่ม โยมมารดาของท่านเคลิ้ม หลับไป ก็ได้ฝันเห็นพระสงฆ์รูปหนึ่งมีรัศมีกายสุกสว่างเปล่งปลั่งแลดูเย็นตาเย็นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลอยลงมาจากท้องฟ้าลงสู่กระต็อบกลางทุ่งนาของนาง ต่อมาเวลาประมาณ ๓ ทุ่ม นางสิงห์คำก็ให้กำเนิดเด็กน้อยผิวขาวสะอาด และจากนิมิตที่นางเล่าให้ฟัง นายสานผู้เป็นบิดาจึงได้ตั้งชื่อลูกชายว่า “สิม” ซึ่งภาษาอีสานหมายถึงโบสถ์ อันอาจบ่งบอกถึงความใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ซึ่งต่อมาเด็กชายสิมผู้นึ้ ก็ได้ครอง ผ้ากาสาวพัสตร์ บำเพ็ญสมณธรรม ใช้ชีวิตที่ขาวสะอาดหมดจดตลอดชั่วอายุขัยของท่าน เมื่อเริ่มเข้ารุ่นหนุ่ม อายุ ๑๕-๑๖ ปี ท่านมีความสนใจในดนตรีอยู่ไม่น้อย หลวงปู่แว่น ธนปาโล เล่าว่า ตัวท่านเองเป็นหมอลำ ส่วนหลวงปู่สิม เป็นหมอแคน

    สิ่งบันดาลใจให้หลวงปู่อยากออกบวชคือ ความสะดุ้งกลัวต่อความตาย ท่านเล่าว่า “ตั้งแต่ยังเด็กแล้วเมื่อได้เห็น หรือได้ข่าวคนตาย มันให้สะดุ้งใจ ทุกครั้ง กลัวว่าเราจะตายเสียก่อนได้ออกบวช” มรณานุสติได้เกิดขึ้นในใจของท่านอยู่ตลอดเวลา เฝ้าย้ำเตือนให้ท่านไม่ประมาท ในชีวิต ไม่ประมาทในวัยไม่ประมาทในความตาย เป็นเพราะหลวงปู่กำหนด “มรณํ เม ภวิสฺสติ” ของท่าน มาแต่ไหนแต่ไรแล้วนั่นเอง ตั้งแต่ยังไม่ได้ออกบวชจวบจนสิ้นอายุขัย ของท่าน หลวงปู่ก็ยังใช้อุบายธรรมข้อเดียวกันนี้อบรมลูกศิษย์ลูกหาอยู่เป็นประจำ เรียกว่า หลวงปู่เทศน์ครั้งใด มักจะมี “มรณํ เม ภวิสฺสติ” เป็นสัญญาณเตือนภัย จากพญามัจจุราชให้ลูกศิษย์ลูกหาตื่นตัวอยู่เสมอทุกครั้ง

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา เมื่อท่านอายุ ๑๗ ปี ได้ขอบิดามารดาบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีรัตนาราม ซึ่งเป็นวัดมหานิกาย ณ บ้านบัว นั้นเอง ตรงกับวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๔๖๙ ตรงกับวัน อาทิตย์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะโรง โดยมีพระอาจารย์สีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาคณะกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เดินธุดงค์มาจากจังหวัดหนองคาย เพื่อมาเผยแพร่ธรรมปฏิบัติแก่ประชาชน โดยเดินทางมาถึงวัดศรีสงคราม ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม สามเณรสิม จึงได้มีโอกาสเดินทางไปฟังธรรม ทั้งจากพระอาจารย์ใหญ่ คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล สามเณรสิมได้เฝ้าสังเกต ข้อวัตรปฏิบัติของท่านพระอาจาย์มั่น ท่านพระอาจารย์สิงห์ และพระอาจารย์ มหาปิ่น และได้บังเกิดความเลื่อมใสอย่างมาก จึงตัดสินใจขอถวายตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์มั่น และได้ขอญัตติใหม่มาเป็นธรรมยุติกนิกาย แต่โดยที่ขณะนั้นยัง ไม่มีโบสถ์ของวัดฝ่ายธรรมยุติในละแวกนั้น การประกอบพิธีกรรมจึงต้องจัดทำที่โบสถ์น้ำ ซึ่งทำจากเรือ ๒ ลำ ทำเป็นโป๊ะลอยคู่กัน เอาไม้พื้นปูตรึงเป็นพื้นแต่ไม่มีหลังคา สมมติเอาเป็นโบสถ์ โดยท่านพระอาจารย์มั่นฯ เป็นประธาน และเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดป่าบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม จากนั้นสามเณรสิมได้ติดตามพระอาจารย์มั่นไปอยู่จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านข่า ตำบลบ้านข่า อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

    เมื่อสามเณรสินอายุครบบวช ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดศรีจันทราวาส ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๒ ตรงกับ วันอังคารขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง โดยมีเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะธรรมยุติจังหวัดขอนแก่น เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดดวงจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พุทฺธาจาโร” จากนั้นท่านก็ได้เดินทางติดตามพระอาจารย์ของท่าน คือ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ไปจำพรรษาที่วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าบ้านเหล่างา) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น วัดป่าบ้านเหล่างานี้เป็นวัดอยู่ในเขตป่าช้า (บริเวณโรงพยาบาลขอนแก่นในปัจจุบัน) ซึ่งท่านพระอาจารย์สิงห์ และ ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสำนักอบรมกรรมฐาน แก่ญาติโยมชาวขอนแก่น

    ท่านพระอาจารย์สิงห์ ได้ออกอุบายสอนลูกศิษย์ของท่านให้ได้พิจารณา อสุภกรรมฐานจากซากศพ โดยพาพระเณรไปขุดศพขึ้นมาพิจารณา หลวงปุ่ได้เล่า ประสบการณ์ที่ท่านได้อสุภกรรมฐานจากซากศพและว่า “นี่แหละร่างกายนั้น พระพุทธองค์ท่านจึงทรงสอนให้กำหนดเป็นอสุภกรรมฐาน อย่าไปเห็นว่ารูป ไม่ว่ารูปหญิงรูปชาย ให้เข้าใจว่าเป็นอันเดียวกัน ไม่มีใครสวยใครงามกว่า กัน”

    “สมมติโลกว่าสวยว่างามสมมติธรรมมันไม่สวยงาม อสุภํ มรณํ ทั้งนั้น ถึงมันจะยังไม่ตาย ตอนเด็กตอนหนุ่มก็เถอะ ไม่นานละ เดี๋ยวมันก็ทยอยตายไปทีละคน สองคน หมดไป สิ้นไป ไม่เหลือ”

    ในชีวิตสมณะของท่าน ได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่า “โสสานิ กังคะ” คือไปเยี่ยมป่าช้าเป็นธุดงควัตร และที่วัดป่าเหล่างานี้เอง ที่หลวงปูได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมอย่างใกล้ชิดกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นเวลานาน ๓-๔ ปี ทั้งได้มีโอกาสมักคุ้นกับพระกรรมฐานองค์สำคัญๆ หลายองค์ เช่น หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, ท่านพ่อลี ธมฺมธโร, ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นต้น

    ปีพ.ศ.๒๔๗๙ (พรรษาที่ ๘) เมื่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) แห่งวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนพระอาจารย์สิงห์ ขนุตยาคโมที่วัดจักราช สมเด็จฯ ท่านได้แลเห็นจริยาวัตรของหลวงปู่สิมขณะทำหน้าที่อุปัฏฐากรับใช้และเกิดชื่นชอบถูกใจ ถึงกับปรารถนาจะชวนหลวงปู่ไปอยู่ด้วย กับท่าน จึงเอ่ยปากขอตัวหลวงปู่สิม กับท่านพระอาจารย์สิงห์ ว่า “พระองค์นี้มีลักษณะเป็นผู้มีบุญบารมี ผมจะขอตัวให้ไปอยู่ด้วยจะขัดข้องหรือเปล่า” ซึ่งท่านพระอาจารย์สิงห์ท่านก็มิได้ขัดข้อง ด้วยเห็นเป็นวาสนาบารมีของหลวงปู่สิม ที่จะได้มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดกับพระเถระผู้ใหญ่เยี่ยงท่านสมเด็จฯ นี้ ทั้งจะได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมวินัยให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร จึงได้ร่วมเดินทางมากับสมเด็จฯ ที่วัดบรมนิวาส มาจำพรรษาและศึกษาพระธรรมวินัย ในสำนักสมเด็จฯ ทำให้หลวงปู่สิม ได้รับความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยมากขึ้น หลวงปู่สิมอยู่รับใช้สมเด็จฯด้วยจริยา ดีเยี่ยม พร้อมกันนั้นหลวงปู่ก็ได้ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนการปฏิบัติธรรมตามแนวทางของ พระธุดงค์กรรมฐานให้แก่พระเณรจำนวนมากที่มารับการฝึกฝนอบรมจากหลวงปู่

    ปีพ.ศ.๒๔๘๐ ออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ได้เรียนขออนุญาตต่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เดินทางธุดงค์กลับถึงบ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อโปรดญาติโยมที่บ้านเกิดตามคำอาราธนา และเมื่อหลวงปู่ปรารภ ที่จะให้มีวัดป่าธรรมยุติกนิกายขึ้นเป็นวัดแรกในบ้านบัว ญาติโยม จึงต่างสนองตอบ คำปรารภของหลวงปู่อย่างกระตือรือร้นและเต็มอกเต็มใจ โยมอาของท่าน คือนางคำไพ ทุมกิจจะ ได้มีศรัทธาถวายที่ดินให้หลวงปู่ จัดสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๘๐ สำนักสงฆ์นี้ปัจจุบันได้พัฒนาเป็น “วัดสันติสังฆาราม” พร้อมด้วยวัดและสำนักสงฆ์ สาขา เกิดอีก ๙ แห่ง

    สำหรับ วัดสันติสังฆาราม จังหวัดสกลนครนี้ หลวงปู่ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๘ จนแล้วเสร็จ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาฝังลูกนิมิตในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ ในโอกาสเดียวกับงานอายุครบ ๗๑ พรรษา ของหลวงปู่

    หลวงปู่สิม ได้ธุดงค์ไปในหลายจังหวัด อาทิ เช่น วัดป่าสระคงคา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักสงฆ์หมู่บ้านแม่ดอย (ต่อมาได้พัฒนาเป็นวัด ชื่อว่า วัดป่าอาจารย์มั่น) อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ (ณ ที่นี้หลวงปู่ได้พบ หลวงปู่มั่นฯ และได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากหลวงปู่มั่น จนการปฏิบัติธรรม ของหลวงปู่ก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก) เมื่อแยกจากหลวงปู่มั่นแล้ว หลวงปู่ได้เดินธุดงค์ ไปทางอำเภอสันกำแพง เข้าพักที่ วัดโรงธรรม ซึ่งขณะนั้น ยังเป็นสำนักชั่วคราว ที่วัดโรงธรรมสามัคคีนี้ เคยเป็นสถานที่ที่ครูอาจารย์หลายท่านเคยใช้พักจำพรรษา อาทิ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ, พระอาจารย์กู่ ธัมมทินฺโน และหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เป็นต้น

    หลวงปู่สิม ได้พักจำพรรษาที่วัดโรงธรรมสามัคคี แห่งนี้ ติดต่อกันนานถึงห้าปี คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๓ ถึงปี พ.ศ.๒๔๘๗ จึงย้ายไปจำพรรษาที่ ถ้ำผาผัวะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพหลังสงคราม โลกครั้งที่ ๒ ในระหว่างนั้น หลวงปู่ได้รับรู้ความคับจิตคับใจของบรรดาชาวบ้านทั้งหลาย หลวงปู่ได้ปลุกปลอบใจของชาวบ้านที่กำลังสิ้นหวังให้กลับมีชีวิตชีวาขึ้น ด้วยการหยั่งพระ สัทธรรมลงสู่จิตของพวกเขา

    ในระหว่างออกพรรษา หลวงปู่สิม ได้จาริกธุดงค์ไปบำเพ็ญเพียร ณ สถานที่วิเวกหลายแห่งในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ศิษย์อาวุโสชาวเชียงใหม่ท่านหนึ่งคือ เจ้าชื่น สิโรรส (วัย ๙๖ ปี) โดยในปี พ.ศ.๒๔๘๘ เจ้าชื่น สิโรรส ได้อพยพครอบครัวหลบภัยสงครามไปอยู่ที่ถ้ำผาผัวะ ขณะที่หลวงปู่ธุดงค์ ไปจำพรรษาที่ถ้ำผาผัวะนี้ ท่านเปรียบเสมือนที่พึ่งอันสูงสุดที่มีความหมายมาก สำหรับคนที่อยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด เนื่องจากสงคราม ปลายปี พ.ศ.๒๔๙๘ เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาใกล้จะยุติ เจ้าชื่น สิโรรส ซึ่งอพยพจากถ้ำผาผัวะ กลับคืน ตัวเมืองเชียงใหม่ ได้กราบอาราธนาหลวงปู่ให้ย้ายเข้ามาพักจำพรรษา ที่ตึกของแม่เลี้ยงดอกจันทร์ กีรติปาล (คิวริเปอร์) ซึ่งอยู่ที่ถนนดอยสุเทพตรงข้าง กับถนนไปสนามบินเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันคือที่ตั้งของ ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ณ ที่นี้เองที่หลวงปู่สิมพบกับลูกศิษย์ คนแรกที่อุปสมบทที่เชียงใหม่คือ พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต ซึ่งต่อมาก็ได้เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันของวัด “สันติธรรม” ซึ่งได้ทำการก่อสร้างขึ้นในภายหลัง ปีพ.ศ.๒๔๙๐ เมื่อสงครามสงบโดยสิ้นเชิง มีข่าวว่า เจ้าของบ้านคือ แม่เลี้ยง ดอกจันทร์ และลูกหลานที่อพยพหลบภัยสงครามไปจะกลับคืน ถิ่นฐานเดิม หลวงปู่จึงปรารภเรื่องการสร้างวัด คำปรารภในครั้งนั้น เป็นแรงบันดาลใจ ให้คุณแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์ เกิดศรัทธาขึ้นมาอย่างแรงกล้า ที่จะสร้างวัดถวายหลวงปู่ ด้วยพลังศรัทธานั้นเอง “วัดสันติธรรม” จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาโดยอาศัยกำลังศรัทธา ของสานุศิษย์

    ปี พ.ศ.๒๔๙๗ โยมมารดาของหลวงปู่ถึงแก่กรรม หลวงปู่จึงได้เดินทาง จากเชียงใหม่ลงมาที่บ้านบัวอีกครั้งหนึ่ง ครั้นเสร็จงานฌาปนกิจศพโยมมารดาแล้ว หลวงปู่ก็ออกเดินธุดงค์ ไปจังหวัดนครพนมทันที เพื่อจำพรรษาที่ภูลังกา

    ช่วงปี พ.ศ.๒๔๙๘-๒๕๐๓ หลวงปู่ได้กลับไปพักจำพรรษาที่วัดสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ แต่ในจิตใจส่วนลึกของท่านนั้น ยังปรารภความสงบวิเวกของป่าเขาและโพรงถ้ำต่างๆอยู่ จนต้นปี พ.ศ.๒๕๐๓ ต่อมาได้มีพระลูกศิษย์ของหลวงปู่ ไปพบ ถ้ำปากเปียง ซึ่งอยู่ที่ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ หลวงปู่จึงย้ายไปอยู่ภาวนาที่ถ้ำปากเปียงบ่อยครั้ง ด้วยเป็นที่สงบสงัดร่มรื่น ต่อมาในฤดูหนาว ปี พ.ศ.๒๕๐๓ ลุงติ๊บ คนบ้านถ้ำ ได้เป็นคนนำทาง พาหลวงปู่ปีนป่ายภูเขาขึ้นไปตามซอกเล็กๆ เพื่อหาถ้ำที่กว้างและอยู่สูง ตามคำปรารภของหลวงปู่ที่ว่า “กิเลสจะได้เข้าหายาก” จนกระทั่งได้พบถ้ำผาปล่อง ซึ่งเป็นถ้ำที่ท่านคิดว่าจะเป็นบ้านสุดท้ายในการบำเพ็ญภาวนาในชีวติของท่าน หลวงปู่ได้ พักค้างคืนบนถ้ำผาปล่องหนึ่งคืน แล้วก็ลงไปพักที่ถ้ำปากเปียงต่อ ต่อจากนั้นท่านก็ได้แวะเวียนไปพักที่ถ้ำผาปล่องอีกเสมอ

    ที่ถ้ำผาปล่องนี้เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต เคยเสด็จมา รวมถึงพระอรหันตสาวกมากมาย ตลอดจนพ่อแม่ครูอาจารย์พระสุปฏิปันโน ดังคำของหลวงปู่สิม พุทธาจาโร กล่าวไว้ว่า… “ถ้ำผาปล่องที่เราอยู่นี้ เรียกว่าสงัดที่สุด วิเวกที่สุดและที่นี่เป็นที่เก่าแก่โบราณ ลูกศิษย์พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย นับตั้งแต่พระพุทธเจ้ากกุสันโธมาตรัสรู้ในโลก สาวกท่านก็มาภาวนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก้สสะปะ พระเจ้ากัสสะปะสาวกท่านก็มาภาวนา มาถึง ศาสนาพระพุทธเจ้าโคตโมของเราท่านทั้งหลายนี้ สาวกท่านก็มาภาวนา ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ตาผ้าขาว นางชี ฤาษี พราหมณี ท่านก็มาภาวนา”

    ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ ท่านพระอาจารย์ลี ธัมมธโร (ท่านเจ้าคุณวิสุทธิธรรมรังสี) เจ้าอาวาส วัดอโศการาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัด สมุทรปราการ ซึ่งเป็นศิษย์ในสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เช่นกัน ได้ถึงแก่มรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงลงมติขอให้หลวงปู่รับตำแหน่งรักษาการ เจ้าอาวาส หลวงปู่จึงได้ช่วยอยู่ดูแลวัดอโศการาม ในฐานะรักษาการเจ้าอาวาส จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๐๘ และในปี พ.ศ.๒๕๐๙ หลวงปู่ได้รับการขอร้องจาก ท่านเจ้าคุณนิโรธธรรมรังษี ให้หลวงปู่ช่วยรับตำแหน่งรักษาการ เจ้าอาวาส วัดป่าสุทธาวาส หลวงปู่สิม จึงจำใจต้องรับเป็นเจ้าอาวาส ให้วัดป่าสุทธาวาสอยู่ ๑ พรรษา โดยที่ใจจริงของท่านนั้นเบื่อหน่าย คิดอยากแต่จะออกธุดงค์อยู่เรื่อยไป

    ในระหว่าง พ.ศ.๒๕๐๖-๒๕๐๙ หลวงปู่ได้มีปัญหาอาพาธด้วยโรคไตมาตลอด จนกระทั่งปีพ.ศ.๒๕๑๐ ด้วยปัญหาสุขภาพของหลวงปู่ หลวงปู่จึงได้ตัดสินใจวาง ภารกิจต่างๆ โดยลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสทุกวัดที่ท่านดูแลอยู่ จากนั้น ท่านก็มาจำพรรษา ณ ถ้ำผาปล่องตลอดมา

    ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ หลวงปู่ได้เดินทางไปสังเวชนียสถานที่อินเดียและได้เดินทางไปอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.๒๕๒๓ นอกจากนี้แล้วหลวงปู่ยังได้มีโอกาส เดินทางไปที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตลอดถึงทวีปยุโรป และอเมริกาอีกด้วย

    หลวงปู่สิม ท่านมีความขยันและตั้งใจมั่นตั้งแต่เด็กดังเช่น พระอาจารย์ศรีทอง (พระอุปัชฌาย์ เมื่อครั้งเป็นมหานิกาย) ได้เล่าว่า ครั้งเมื่อทางวัดมีการขุดสระ สามเณรสิมก็ไปช่วยขุดและขุดจนกระทั่งใครต่อใครเขาทิ้งงานไปหมด เนื่องจากขุดลงไปลึกถึงสิบเอ็ดสิบสองวาแล้ว ก็ยังไม่มีน้ำ เมื่ออุปัชฌาย์ถามว่า “จะขุดไปถึงไหนกัน” สามเณรสิมตอบว่า “ขุดไปจนสุดแผ่นดินนั่นแหละ” ปฏิปทาของหลวงปู่ที่แสดงถึงความมีเมตตาอย่างล้นเหลือต่อลูกศิษย์ ได้แสดงให้เห็นอยู่เนืองๆ หลวงปู่ปกครองพระเณรลูกวัดของท่านอย่างอบอุ่น ใกล้ชิดเหมือนพ่อดูแลลูกๆ ภาพในอดีตที่ประทับใจลูกศิษย์ (คุณแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์) ภาพหนึ่งก็คือ เวลาที่พระเณรอาพาธ หลวงปู่จะนั่งเฝ้าไข้อย่างสงบ ไม่ยอมห่างจนกระทั่ง ผู้ป่วยอาการดีขึ้น ครั้งหนึ่งเณรน้อยนอนซมด้วยโรคพยาธิตัวเหลืองซูบซีดผอม เพราะฉัน อาหารไม่ได้เลย “แม่ไล” ได้เอายาถ่ายพยาธิมาถวาย เณรน้อยก็ฉันไม่ได้ อาเจียนออกมา ทำให้แม่ไลโมโหมากจะบังคับให้ฉันให้ได้ แต่หลวงปู่ซึ่งนั่งเฝ้า อยู่อย่างใจเย็นได้ปลอบประโลมเณรน้อยของท่านขึ้นว่า “วันพรุ่งนี้เถอะเน้อ ไปบิณฑบาตได้กล้วยก่อน จะเอายาใส่ในกล้วยให้เณรน้อยฉัน” งานพัฒนาชุมชนที่นับว่าเป็นงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง ของหลวงปู่ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมเพรียงร่วมแรงร่วมใจกัน ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส และผลงานก็ได้ก่อประโยชน์เป็นเอนกอนันต์ แก่ชาวบ้านเกษตรกร ก็คือ งานสร้างฝายน้ำล้น ลำน้ำอูน ที่ท่าวังหิน ซึ่งก็คือบริเวณ สำนักสงฆ์เวฬุวันสันติวรญาณ ในปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ.๒๕๒๑ ภายหลังจำพรรษา ที่วัดสันติสังฆาราม หลวงปู่ก็ได้รับอาราธนาจากชาวบ้านทั้ง ๔ ตำบล ใน ๒ เขตอำเภอ ให้มาเป็นประธานในการสร้างฝายน้ำล้นกั้นลำน้ำอูน งานสร้างฝายน้ำล้นชิ้นนี้ สะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกลักษณะของหลวงปู่เด่นชัดมาก ในเรื่องความเป็นผู้เอาใจใส่ และรับผิดชอบในภารกิจ เมื่อที่ประชุมปรึกษาหารือกันว่าเห็นควรจะเริ่มงานกันวันใหม่ หลวงปู่ก็ว่าให้เริ่มงานกันวันนี้เลย

    หลวงปู่เป็นผู้มีความเด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง อดทน พูดจริง ทำจริง ถือสัจจะมั่นคง เป็นผู้ไม่มากโวหาร ทุกวันหลวงปู่จะพาเริ่มงานตั้งแต่ตี ๔ ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นพอ ๑๐ โมงเช้า จึงพักฉันอาหาร หลังอาหารแล้วก็เริ่มทำงานกันต่อจนมืดค่ำ พอถึงเวลา ๑ ทุ่ม หลวงปู่ก็จะพาสวดมนต์และฟังเทศน์ เสร็จแล้ว ก็เริ่มท้ิงหินลงในคอกไม้ที่สร้างไว้ ตลอดแนวฝาย กว่าจะได้จำวัดก็ ๔ ทุ่ม หรือบางวัน งานจะติดพันจนถึงตีหนึ่งตีสอง เป็นดังนี้ตลอดระยะเวลา ๔ เดือน นับตั้งแต่ เดือนมกราคม จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๑ จนฝายน้ำล้นสร้างสำเร็จ หลวงปู่จึงกลับไปจำพรรษาที่ถ้ำผาปล่อง

    หลวงปู่สิม พุทธาจาโรได้รับสมณศักดิ์ “พระครูสันติวรญาณ” ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๒ และได้รับพัดยศโดยเลื่อนจากสมณศักดิ์ที่ “พระครูสันติวรญาณ” เป็น “พระญาณสิทธาจารย์” ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ และในคืนวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๓๕ พระเณรพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา ได้พร้อมใจกันเจริญพระพุทธมนต์ ฉลองสมณศักดิ์ถวายหลวงปู่ ที่ถ้ำผาปล่อง หลังจากเจริญพระพุทธมนต์หลวงปู่ได้พาพระเณรและญาติโยมนั่งภาวนา ต่อจนถึงเวลาประมาณ ๒๑.๓๐ น. แล้วท่านก็นั่งพักดู บริเวณ ภายในถ้ำอีกประมาณ ๒๐ นาที คล้ายกับจะเป็นการอำลา จนถึงเวลา ๒๒.๐๐ น. ท่านจึงกลับเข้ากุฏิที่พักด้านหลังภายในถ้ำผาปล่อง และได้มรณภาพในเวลาประมาณ ตีสาม ของเช้าตรู่ในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ สิริรวมอายุของหลวงปู่ ๘๒ ปี ๙ เดือน ๑๙ วัน อายุพรรษา ๖๓ พรรษา

    _/_ _/_ _/_

    -๑๔-สิงหาคมเ.jpg
    วันนี้วันที่ ๑๔ สิงหาคมเป็นวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร “พระอริยเจ้าผู้มีจริยวัตรงดงามดั่งดอกบัว” รำลึก ๒๖ ปี หลวงปู่สิม ท่านถือกำเนิดมาเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ให้กับตนเอง ด้วยการประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีงาม หลวงปู่เป็นผู้มีใจหนักแน่นมั่นคง ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลาย และใช้ชีวิตที่เหลือในการเกื้อกูลมหาชนชาวพุทธอย่างแท้จริง หลวงปู่พร่ำสอนเสมอๆ มิให้ตั้งตนในทางที่ประมาท ทั้งความประมาทในชีวิต ความประมาทในวัย และความประมาทในความตาย หลวงปู่เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการปฏิบัติภาวนาว่าเป็นหนทางอันสูงสุดที่จะทำให้คนพ้นทุกข์ได้ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้พยากรณ์ไว้ว่า “.. ท่านสิมเป็นดอกบัวที่ยังตูมอยู่ เบ่งบานเมื่อใด จะหอมกว่าหมู่..”

    ชีวประวัติ และปฏิปทาหลวงปู่สิม พุทธาจาโร

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย ท่านมีนามเดิมว่า สิม วงศ์เข็มมา เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๕๒ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา เวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. ที่บ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บิดามารดาชื่อ นายสาน – นางสิงห์คำ วงศ์เข็มมา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๑๐ คน ท่านเป็นคนที่ ๕

    สกุล “วงศ์เข็มมา” เป็นสกุลเก่าแก่สกุลหนึ่งของบ้านบัว ผู้เป็นต้นสกุล คือ ท่านขุนแก้ว และ อิทปัญญา น้องชาย ตัวท่านขุนแก้วก็คือ ปู่ของหลวงปู่สิมนั่นเอง เ เท้าความในคืนที่หลวงปู่เกิด ประมาณเวลา ๑ ทุ่ม โยมมารดาของท่านเคลิ้ม หลับไป ก็ได้ฝันเห็นพระสงฆ์รูปหนึ่งมีรัศมีกายสุกสว่างเปล่งปลั่งแลดูเย็นตาเย็นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลอยลงมาจากท้องฟ้าลงสู่กระต็อบกลางทุ่งนาของนาง ต่อมาเวลาประมาณ ๓ ทุ่ม นางสิงห์คำก็ให้กำเนิดเด็กน้อยผิวขาวสะอาด และจากนิมิตที่นางเล่าให้ฟัง นายสานผู้เป็นบิดาจึงได้ตั้งชื่อลูกชายว่า “สิม” ซึ่งภาษาอีสานหมายถึงโบสถ์ อันอาจบ่งบอกถึงความใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ซึ่งต่อมาเด็กชายสิมผู้นึ้ ก็ได้ครอง ผ้ากาสาวพัสตร์ บำเพ็ญสมณธรรม ใช้ชีวิตที่ขาวสะอาดหมดจดตลอดชั่วอายุขัยของท่าน เมื่อเริ่มเข้ารุ่นหนุ่ม อายุ ๑๕-๑๖ ปี ท่านมีความสนใจในดนตรีอยู่ไม่น้อย หลวงปู่แว่น ธนปาโล เล่าว่า ตัวท่านเองเป็นหมอลำ ส่วนหลวงปู่สิม เป็นหมอแคน

    สิ่งบันดาลใจให้หลวงปู่อยากออกบวชคือ ความสะดุ้งกลัวต่อความตาย ท่านเล่าว่า “ตั้งแต่ยังเด็กแล้วเมื่อได้เห็น หรือได้ข่าวคนตาย มันให้สะดุ้งใจ ทุกครั้ง กลัวว่าเราจะตายเสียก่อนได้ออกบวช” มรณานุสติได้เกิดขึ้นในใจของท่านอยู่ตลอดเวลา เฝ้าย้ำเตือนให้ท่านไม่ประมาท ในชีวิต ไม่ประมาทในวัยไม่ประมาทในความตาย เป็นเพราะหลวงปู่กำหนด “มรณํ เม ภวิสฺสติ” ของท่าน มาแต่ไหนแต่ไรแล้วนั่นเอง ตั้งแต่ยังไม่ได้ออกบวชจวบจนสิ้นอายุขัย ของท่าน หลวงปู่ก็ยังใช้อุบายธรรมข้อเดียวกันนี้อบรมลูกศิษย์ลูกหาอยู่เป็นประจำ เรียกว่า หลวงปู่เทศน์ครั้งใด มักจะมี “มรณํ เม ภวิสฺสติ” เป็นสัญญาณเตือนภัย จากพญามัจจุราชให้ลูกศิษย์ลูกหาตื่นตัวอยู่เสมอทุกครั้ง

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา เมื่อท่านอายุ ๑๗ ปี ได้ขอบิดามารดาบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีรัตนาราม ซึ่งเป็นวัดมหานิกาย ณ บ้านบัว นั้นเอง ตรงกับวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๔๖๙ ตรงกับวัน อาทิตย์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะโรง โดยมีพระอาจารย์สีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาคณะกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เดินธุดงค์มาจากจังหวัดหนองคาย เพื่อมาเผยแพร่ธรรมปฏิบัติแก่ประชาชน โดยเดินทางมาถึงวัดศรีสงคราม ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม สามเณรสิม จึงได้มีโอกาสเดินทางไปฟังธรรม ทั้งจากพระอาจารย์ใหญ่ คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล สามเณรสิมได้เฝ้าสังเกต ข้อวัตรปฏิบัติของท่านพระอาจาย์มั่น ท่านพระอาจารย์สิงห์ และพระอาจารย์ มหาปิ่น และได้บังเกิดความเลื่อมใสอย่างมาก จึงตัดสินใจขอถวายตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์มั่น และได้ขอญัตติใหม่มาเป็นธรรมยุติกนิกาย แต่โดยที่ขณะนั้นยัง ไม่มีโบสถ์ของวัดฝ่ายธรรมยุติในละแวกนั้น การประกอบพิธีกรรมจึงต้องจัดทำที่โบสถ์น้ำ ซึ่งทำจากเรือ ๒ ลำ ทำเป็นโป๊ะลอยคู่กัน เอาไม้พื้นปูตรึงเป็นพื้นแต่ไม่มีหลังคา สมมติเอาเป็นโบสถ์ โดยท่านพระอาจารย์มั่นฯ เป็นประธาน และเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดป่าบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม จากนั้นสามเณรสิมได้ติดตามพระอาจารย์มั่นไปอยู่จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านข่า ตำบลบ้านข่า อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

    เมื่อสามเณรสินอายุครบบวช ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดศรีจันทราวาส ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๒ ตรงกับ วันอังคารขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง โดยมีเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะธรรมยุติจังหวัดขอนแก่น เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดดวงจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พุทฺธาจาโร” จากนั้นท่านก็ได้เดินทางติดตามพระอาจารย์ของท่าน คือ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ไปจำพรรษาที่วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าบ้านเหล่างา) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น วัดป่าบ้านเหล่างานี้เป็นวัดอยู่ในเขตป่าช้า (บริเวณโรงพยาบาลขอนแก่นในปัจจุบัน) ซึ่งท่านพระอาจารย์สิงห์ และ ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสำนักอบรมกรรมฐาน แก่ญาติโยมชาวขอนแก่น

    ท่านพระอาจารย์สิงห์ ได้ออกอุบายสอนลูกศิษย์ของท่านให้ได้พิจารณา อสุภกรรมฐานจากซากศพ โดยพาพระเณรไปขุดศพขึ้นมาพิจารณา หลวงปุ่ได้เล่า ประสบการณ์ที่ท่านได้อสุภกรรมฐานจากซากศพและว่า “นี่แหละร่างกายนั้น พระพุทธองค์ท่านจึงทรงสอนให้กำหนดเป็นอสุภกรรมฐาน อย่าไปเห็นว่ารูป ไม่ว่ารูปหญิงรูปชาย ให้เข้าใจว่าเป็นอันเดียวกัน ไม่มีใครสวยใครงามกว่า กัน”

    “สมมติโลกว่าสวยว่างามสมมติธรรมมันไม่สวยงาม อสุภํ มรณํ ทั้งนั้น ถึงมันจะยังไม่ตาย ตอนเด็กตอนหนุ่มก็เถอะ ไม่นานละ เดี๋ยวมันก็ทยอยตายไปทีละคน สองคน หมดไป สิ้นไป ไม่เหลือ”

    ในชีวิตสมณะของท่าน ได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่า “โสสานิ กังคะ” คือไปเยี่ยมป่าช้าเป็นธุดงควัตร และที่วัดป่าเหล่างานี้เอง ที่หลวงปูได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมอย่างใกล้ชิดกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นเวลานาน ๓-๔ ปี ทั้งได้มีโอกาสมักคุ้นกับพระกรรมฐานองค์สำคัญๆ หลายองค์ เช่น หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, ท่านพ่อลี ธมฺมธโร, ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นต้น

    ปีพ.ศ.๒๔๗๙ (พรรษาที่ ๘) เมื่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) แห่งวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนพระอาจารย์สิงห์ ขนุตยาคโมที่วัดจักราช สมเด็จฯ ท่านได้แลเห็นจริยาวัตรของหลวงปู่สิมขณะทำหน้าที่อุปัฏฐากรับใช้และเกิดชื่นชอบถูกใจ ถึงกับปรารถนาจะชวนหลวงปู่ไปอยู่ด้วย กับท่าน จึงเอ่ยปากขอตัวหลวงปู่สิม กับท่านพระอาจารย์สิงห์ ว่า “พระองค์นี้มีลักษณะเป็นผู้มีบุญบารมี ผมจะขอตัวให้ไปอยู่ด้วยจะขัดข้องหรือเปล่า” ซึ่งท่านพระอาจารย์สิงห์ท่านก็มิได้ขัดข้อง ด้วยเห็นเป็นวาสนาบารมีของหลวงปู่สิม ที่จะได้มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดกับพระเถระผู้ใหญ่เยี่ยงท่านสมเด็จฯ นี้ ทั้งจะได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมวินัยให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร จึงได้ร่วมเดินทางมากับสมเด็จฯ ที่วัดบรมนิวาส มาจำพรรษาและศึกษาพระธรรมวินัย ในสำนักสมเด็จฯ ทำให้หลวงปู่สิม ได้รับความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยมากขึ้น หลวงปู่สิมอยู่รับใช้สมเด็จฯด้วยจริยา ดีเยี่ยม พร้อมกันนั้นหลวงปู่ก็ได้ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนการปฏิบัติธรรมตามแนวทางของ พระธุดงค์กรรมฐานให้แก่พระเณรจำนวนมากที่มารับการฝึกฝนอบรมจากหลวงปู่

    ปีพ.ศ.๒๔๘๐ ออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ได้เรียนขออนุญาตต่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เดินทางธุดงค์กลับถึงบ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อโปรดญาติโยมที่บ้านเกิดตามคำอาราธนา และเมื่อหลวงปู่ปรารภ ที่จะให้มีวัดป่าธรรมยุติกนิกายขึ้นเป็นวัดแรกในบ้านบัว ญาติโยม จึงต่างสนองตอบ คำปรารภของหลวงปู่อย่างกระตือรือร้นและเต็มอกเต็มใจ โยมอาของท่าน คือนางคำไพ ทุมกิจจะ ได้มีศรัทธาถวายที่ดินให้หลวงปู่ จัดสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๘๐ สำนักสงฆ์นี้ปัจจุบันได้พัฒนาเป็น “วัดสันติสังฆาราม” พร้อมด้วยวัดและสำนักสงฆ์ สาขา เกิดอีก ๙ แห่ง

    สำหรับ วัดสันติสังฆาราม จังหวัดสกลนครนี้ หลวงปู่ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๘ จนแล้วเสร็จ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาฝังลูกนิมิตในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ ในโอกาสเดียวกับงานอายุครบ ๗๑ พรรษา ของหลวงปู่

    หลวงปู่สิม ได้ธุดงค์ไปในหลายจังหวัด อาทิ เช่น วัดป่าสระคงคา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักสงฆ์หมู่บ้านแม่ดอย (ต่อมาได้พัฒนาเป็นวัด ชื่อว่า วัดป่าอาจารย์มั่น) อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ (ณ ที่นี้หลวงปู่ได้พบ หลวงปู่มั่นฯ และได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากหลวงปู่มั่น จนการปฏิบัติธรรม ของหลวงปู่ก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก) เมื่อแยกจากหลวงปู่มั่นแล้ว หลวงปู่ได้เดินธุดงค์ ไปทางอำเภอสันกำแพง เข้าพักที่ วัดโรงธรรม ซึ่งขณะนั้น ยังเป็นสำนักชั่วคราว ที่วัดโรงธรรมสามัคคีนี้ เคยเป็นสถานที่ที่ครูอาจารย์หลายท่านเคยใช้พักจำพรรษา อาทิ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ, พระอาจารย์กู่ ธัมมทินฺโน และหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เป็นต้น

    หลวงปู่สิม ได้พักจำพรรษาที่วัดโรงธรรมสามัคคี แห่งนี้ ติดต่อกันนานถึงห้าปี คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๓ ถึงปี พ.ศ.๒๔๘๗ จึงย้ายไปจำพรรษาที่ ถ้ำผาผัวะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพหลังสงคราม โลกครั้งที่ ๒ ในระหว่างนั้น หลวงปู่ได้รับรู้ความคับจิตคับใจของบรรดาชาวบ้านทั้งหลาย หลวงปู่ได้ปลุกปลอบใจของชาวบ้านที่กำลังสิ้นหวังให้กลับมีชีวิตชีวาขึ้น ด้วยการหยั่งพระ สัทธรรมลงสู่จิตของพวกเขา

    ในระหว่างออกพรรษา หลวงปู่สิม ได้จาริกธุดงค์ไปบำเพ็ญเพียร ณ สถานที่วิเวกหลายแห่งในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ศิษย์อาวุโสชาวเชียงใหม่ท่านหนึ่งคือ เจ้าชื่น สิโรรส (วัย ๙๖ ปี) โดยในปี พ.ศ.๒๔๘๘ เจ้าชื่น สิโรรส ได้อพยพครอบครัวหลบภัยสงครามไปอยู่ที่ถ้ำผาผัวะ ขณะที่หลวงปู่ธุดงค์ ไปจำพรรษาที่ถ้ำผาผัวะนี้ ท่านเปรียบเสมือนที่พึ่งอันสูงสุดที่มีความหมายมาก สำหรับคนที่อยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด เนื่องจากสงคราม ปลายปี พ.ศ.๒๔๙๘ เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาใกล้จะยุติ เจ้าชื่น สิโรรส ซึ่งอพยพจากถ้ำผาผัวะ กลับคืน ตัวเมืองเชียงใหม่ ได้กราบอาราธนาหลวงปู่ให้ย้ายเข้ามาพักจำพรรษา ที่ตึกของแม่เลี้ยงดอกจันทร์ กีรติปาล (คิวริเปอร์) ซึ่งอยู่ที่ถนนดอยสุเทพตรงข้าง กับถนนไปสนามบินเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันคือที่ตั้งของ ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ณ ที่นี้เองที่หลวงปู่สิมพบกับลูกศิษย์ คนแรกที่อุปสมบทที่เชียงใหม่คือ พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต ซึ่งต่อมาก็ได้เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันของวัด “สันติธรรม” ซึ่งได้ทำการก่อสร้างขึ้นในภายหลัง ปีพ.ศ.๒๔๙๐ เมื่อสงครามสงบโดยสิ้นเชิง มีข่าวว่า เจ้าของบ้านคือ แม่เลี้ยง ดอกจันทร์ และลูกหลานที่อพยพหลบภัยสงครามไปจะกลับคืน ถิ่นฐานเดิม หลวงปู่จึงปรารภเรื่องการสร้างวัด คำปรารภในครั้งนั้น เป็นแรงบันดาลใจ ให้คุณแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์ เกิดศรัทธาขึ้นมาอย่างแรงกล้า ที่จะสร้างวัดถวายหลวงปู่ ด้วยพลังศรัทธานั้นเอง “วัดสันติธรรม” จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาโดยอาศัยกำลังศรัทธา ของสานุศิษย์

    ปี พ.ศ.๒๔๙๗ โยมมารดาของหลวงปู่ถึงแก่กรรม หลวงปู่จึงได้เดินทาง จากเชียงใหม่ลงมาที่บ้านบัวอีกครั้งหนึ่ง ครั้นเสร็จงานฌาปนกิจศพโยมมารดาแล้ว หลวงปู่ก็ออกเดินธุดงค์ ไปจังหวัดนครพนมทันที เพื่อจำพรรษาที่ภูลังกา

    ช่วงปี พ.ศ.๒๔๙๘-๒๕๐๓ หลวงปู่ได้กลับไปพักจำพรรษาที่วัดสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ แต่ในจิตใจส่วนลึกของท่านนั้น ยังปรารภความสงบวิเวกของป่าเขาและโพรงถ้ำต่างๆอยู่ จนต้นปี พ.ศ.๒๕๐๓ ต่อมาได้มีพระลูกศิษย์ของหลวงปู่ ไปพบ ถ้ำปากเปียง ซึ่งอยู่ที่ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ หลวงปู่จึงย้ายไปอยู่ภาวนาที่ถ้ำปากเปียงบ่อยครั้ง ด้วยเป็นที่สงบสงัดร่มรื่น ต่อมาในฤดูหนาว ปี พ.ศ.๒๕๐๓ ลุงติ๊บ คนบ้านถ้ำ ได้เป็นคนนำทาง พาหลวงปู่ปีนป่ายภูเขาขึ้นไปตามซอกเล็กๆ เพื่อหาถ้ำที่กว้างและอยู่สูง ตามคำปรารภของหลวงปู่ที่ว่า “กิเลสจะได้เข้าหายาก” จนกระทั่งได้พบถ้ำผาปล่อง ซึ่งเป็นถ้ำที่ท่านคิดว่าจะเป็นบ้านสุดท้ายในการบำเพ็ญภาวนาในชีวติของท่าน หลวงปู่ได้ พักค้างคืนบนถ้ำผาปล่องหนึ่งคืน แล้วก็ลงไปพักที่ถ้ำปากเปียงต่อ ต่อจากนั้นท่านก็ได้แวะเวียนไปพักที่ถ้ำผาปล่องอีกเสมอ

    ที่ถ้ำผาปล่องนี้เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต เคยเสด็จมา รวมถึงพระอรหันตสาวกมากมาย ตลอดจนพ่อแม่ครูอาจารย์พระสุปฏิปันโน ดังคำของหลวงปู่สิม พุทธาจาโร กล่าวไว้ว่า… “ถ้ำผาปล่องที่เราอยู่นี้ เรียกว่าสงัดที่สุด วิเวกที่สุดและที่นี่เป็นที่เก่าแก่โบราณ ลูกศิษย์พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย นับตั้งแต่พระพุทธเจ้ากกุสันโธมาตรัสรู้ในโลก สาวกท่านก็มาภาวนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก้สสะปะ พระเจ้ากัสสะปะสาวกท่านก็มาภาวนา มาถึง ศาสนาพระพุทธเจ้าโคตโมของเราท่านทั้งหลายนี้ สาวกท่านก็มาภาวนา ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ตาผ้าขาว นางชี ฤาษี พราหมณี ท่านก็มาภาวนา”

    ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ ท่านพระอาจารย์ลี ธัมมธโร (ท่านเจ้าคุณวิสุทธิธรรมรังสี) เจ้าอาวาส วัดอโศการาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัด สมุทรปราการ ซึ่งเป็นศิษย์ในสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เช่นกัน ได้ถึงแก่มรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงลงมติขอให้หลวงปู่รับตำแหน่งรักษาการ เจ้าอาวาส หลวงปู่จึงได้ช่วยอยู่ดูแลวัดอโศการาม ในฐานะรักษาการเจ้าอาวาส จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๐๘ และในปี พ.ศ.๒๕๐๙ หลวงปู่ได้รับการขอร้องจาก ท่านเจ้าคุณนิโรธธรรมรังษี ให้หลวงปู่ช่วยรับตำแหน่งรักษาการ เจ้าอาวาส วัดป่าสุทธาวาส หลวงปู่สิม จึงจำใจต้องรับเป็นเจ้าอาวาส ให้วัดป่าสุทธาวาสอยู่ ๑ พรรษา โดยที่ใจจริงของท่านนั้นเบื่อหน่าย คิดอยากแต่จะออกธุดงค์อยู่เรื่อยไป

    ในระหว่าง พ.ศ.๒๕๐๖-๒๕๐๙ หลวงปู่ได้มีปัญหาอาพาธด้วยโรคไตมาตลอด จนกระทั่งปีพ.ศ.๒๕๑๐ ด้วยปัญหาสุขภาพของหลวงปู่ หลวงปู่จึงได้ตัดสินใจวาง ภารกิจต่างๆ โดยลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสทุกวัดที่ท่านดูแลอยู่ จากนั้น ท่านก็มาจำพรรษา ณ ถ้ำผาปล่องตลอดมา

    ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ หลวงปู่ได้เดินทางไปสังเวชนียสถานที่อินเดียและได้เดินทางไปอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.๒๕๒๓ นอกจากนี้แล้วหลวงปู่ยังได้มีโอกาส เดินทางไปที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตลอดถึงทวีปยุโรป และอเมริกาอีกด้วย

    หลวงปู่สิม ท่านมีความขยันและตั้งใจมั่นตั้งแต่เด็กดังเช่น พระอาจารย์ศรีทอง (พระอุปัชฌาย์ เมื่อครั้งเป็นมหานิกาย) ได้เล่าว่า ครั้งเมื่อทางวัดมีการขุดสระ สามเณรสิมก็ไปช่วยขุดและขุดจนกระทั่งใครต่อใครเขาทิ้งงานไปหมด เนื่องจากขุดลงไปลึกถึงสิบเอ็ดสิบสองวาแล้ว ก็ยังไม่มีน้ำ เมื่ออุปัชฌาย์ถามว่า “จะขุดไปถึงไหนกัน” สามเณรสิมตอบว่า “ขุดไปจนสุดแผ่นดินนั่นแหละ” ปฏิปทาของหลวงปู่ที่แสดงถึงความมีเมตตาอย่างล้นเหลือต่อลูกศิษย์ ได้แสดงให้เห็นอยู่เนืองๆ หลวงปู่ปกครองพระเณรลูกวัดของท่านอย่างอบอุ่น ใกล้ชิดเหมือนพ่อดูแลลูกๆ ภาพในอดีตที่ประทับใจลูกศิษย์ (คุณแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์) ภาพหนึ่งก็คือ เวลาที่พระเณรอาพาธ หลวงปู่จะนั่งเฝ้าไข้อย่างสงบ ไม่ยอมห่างจนกระทั่ง ผู้ป่วยอาการดีขึ้น ครั้งหนึ่งเณรน้อยนอนซมด้วยโรคพยาธิตัวเหลืองซูบซีดผอม เพราะฉัน อาหารไม่ได้เลย “แม่ไล” ได้เอายาถ่ายพยาธิมาถวาย เณรน้อยก็ฉันไม่ได้ อาเจียนออกมา ทำให้แม่ไลโมโหมากจะบังคับให้ฉันให้ได้ แต่หลวงปู่ซึ่งนั่งเฝ้า อยู่อย่างใจเย็นได้ปลอบประโลมเณรน้อยของท่านขึ้นว่า “วันพรุ่งนี้เถอะเน้อ ไปบิณฑบาตได้กล้วยก่อน จะเอายาใส่ในกล้วยให้เณรน้อยฉัน” งานพัฒนาชุมชนที่นับว่าเป็นงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง ของหลวงปู่ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมเพรียงร่วมแรงร่วมใจกัน ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส และผลงานก็ได้ก่อประโยชน์เป็นเอนกอนันต์ แก่ชาวบ้านเกษตรกร ก็คือ งานสร้างฝายน้ำล้น ลำน้ำอูน ที่ท่าวังหิน ซึ่งก็คือบริเวณ สำนักสงฆ์เวฬุวันสันติวรญาณ ในปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ.๒๕๒๑ ภายหลังจำพรรษา ที่วัดสันติสังฆาราม หลวงปู่ก็ได้รับอาราธนาจากชาวบ้านทั้ง ๔ ตำบล ใน ๒ เขตอำเภอ ให้มาเป็นประธานในการสร้างฝายน้ำล้นกั้นลำน้ำอูน งานสร้างฝายน้ำล้นชิ้นนี้ สะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกลักษณะของหลวงปู่เด่นชัดมาก ในเรื่องความเป็นผู้เอาใจใส่ และรับผิดชอบในภารกิจ เมื่อที่ประชุมปรึกษาหารือกันว่าเห็นควรจะเริ่มงานกันวันใหม่ หลวงปู่ก็ว่าให้เริ่มงานกันวันนี้เลย

    หลวงปู่เป็นผู้มีความเด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง อดทน พูดจริง ทำจริง ถือสัจจะมั่นคง เป็นผู้ไม่มากโวหาร ทุกวันหลวงปู่จะพาเริ่มงานตั้งแต่ตี ๔ ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นพอ ๑๐ โมงเช้า จึงพักฉันอาหาร หลังอาหารแล้วก็เริ่มทำงานกันต่อจนมืดค่ำ พอถึงเวลา ๑ ทุ่ม หลวงปู่ก็จะพาสวดมนต์และฟังเทศน์ เสร็จแล้ว ก็เริ่มท้ิงหินลงในคอกไม้ที่สร้างไว้ ตลอดแนวฝาย กว่าจะได้จำวัดก็ ๔ ทุ่ม หรือบางวัน งานจะติดพันจนถึงตีหนึ่งตีสอง เป็นดังนี้ตลอดระยะเวลา ๔ เดือน นับตั้งแต่ เดือนมกราคม จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๑ จนฝายน้ำล้นสร้างสำเร็จ หลวงปู่จึงกลับไปจำพรรษาที่ถ้ำผาปล่อง

    หลวงปู่สิม พุทธาจาโรได้รับสมณศักดิ์ “พระครูสันติวรญาณ” ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๒ และได้รับพัดยศโดยเลื่อนจากสมณศักดิ์ที่ “พระครูสันติวรญาณ” เป็น “พระญาณสิทธาจารย์” ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ และในคืนวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๓๕ พระเณรพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา ได้พร้อมใจกันเจริญพระพุทธมนต์ ฉลองสมณศักดิ์ถวายหลวงปู่ ที่ถ้ำผาปล่อง หลังจากเจริญพระพุทธมนต์หลวงปู่ได้พาพระเณรและญาติโยมนั่งภาวนา ต่อจนถึงเวลาประมาณ ๒๑.๓๐ น. แล้วท่านก็นั่งพักดู บริเวณ ภายในถ้ำอีกประมาณ ๒๐ นาที คล้ายกับจะเป็นการอำลา จนถึงเวลา ๒๒.๐๐ น. ท่านจึงกลับเข้ากุฏิที่พักด้านหลังภายในถ้ำผาปล่อง และได้มรณภาพในเวลาประมาณ ตีสาม ของเช้าตรู่ในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ สิริรวมอายุของหลวงปู่ ๘๒ ปี ๙ เดือน ๑๙ วัน อายุพรรษา ๖๓ พรรษา

    _/_ _/_ _/_

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  2. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  3. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    .. สามเณรรูปหนึ่งที่อยู่ปฏิบัติธรรมกับครูอาจารย์ “มีความประสงค์จะไปเยี่ยมบ้าน ที่อยู่ห่างไกลออกไป” ได้ไปกราบลาอาจารย์ “ท่านผู้เป็นอาจารย์นั้นปฏิบัติธรรมจริงจนได้อำนาจจิตอัศจรรย์ สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ที่จะเกิดแก่ชีวิตของศิษย์สามเณรได้” เมื่อสามเณรมาขออนุญาต “ก็อนุญาตด้วยดี” ด้วยความรู้ด้วยว่า “สามเณรจะไม่ได้กลับมาอีกแล้ว เพราะหมดอายุแล้ว”
    แต่วันหนึ่ง “สามเณรก็กลับมาท่านผู้เป็นอาจารย์แปลกใจที่สิ่งที่รู้เห็นว่าจะจากไปไม่กลับมิได้เป็นความจริง” จึงขอให้สามเณรเล่าเรื่องระหว่างการเดินทางกลับบ้านโดยตลอด สามเณรเล่าถึงเหตุการณ์ตอนหนึ่งว่า “ขณะเดินไปนั้นพบปลาตัวหนึ่งเกยแห้งกำลังใกล้ตาย สามเณรได้ซ้อนไปปล่อยในน้ำ ปลาก็มีกำลัง มีชีวิตรอดอยู่ได้และสามเณรเองก็พ้นจากความตาย” “การให้ชีวิตจึงมีผลอัศจรรย์ทันที ถ้าเป็นการให้ชีวิต โดยไม่เป็นผู้ทำลายเสียเอง ผลย่อมยิ่งใหญ่กว่า กำลังของศีลย่อมปรากฏให้เห็นเป็นอัศจรรย์ยิ่งกว่าแน่นอน” โดยเฉพาะการทำให้ชีวิตตนเองยืนยาวอยู่ “เพียงชีวิตหนึ่งกำลังตกอยู่ในอันตรายมหันต์ถึงกำลังจะจบสิ้น ผู้พบเห็นไม่ดูดาย ยื่นมือเข้าช่วยประคับประคองชีวิตนั้น ผลบุญก็ยังใหญ่ยิ่ง” สามารถยังชีวิตให้สวัสดีได้ “การตั้งจิตคิดให้ชีวิตสัตว์ทั้งหลายพ้นจากการถูกเบียดเบียน ย่อมมีผลบุญยิ่งใหญ่กว่า” อย่างประมาณมิได้ “
    ” “แสงส่องใจ ส.ค.ส. ๒๕๔๑”

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  4. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  5. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    วันนี้วันที่ ๑๖ สิงหาคม เป็นวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่ศรี มหาวีโร รำลึก ๗ ปี “พระอริยเจ้าผู้มากล้นมีบุญ” หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านได้เข้าถวายตัวเป็นศิษย์ ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ ครั้นนั้นหลวงปู่ศรี มหาวีโร อายุย่าง ๓๒ ปี พรรษา ๔ ณ วัดหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ตามลำพังเพียงผู้เดียว และได้อยู่จำพรรษา อีกทั้งได้มีโอกาสอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ร่วมกับหลวงปู่วัน อุตฺตโม และหลวงปู่หล้า เขมปัตโต โดยมีหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นหัวหน้าคอยควบคุมดูแลในตอนนั้น

    ศิษย์รุ่นสุดท้าย ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต
    ในพรรษาที่ ๕ นี้ หลวงปู่ศรี ได้มีโอกาสฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบการแสดงธรรมในแต่ละวัน ในแต่ละครั้ง ช่างเป็นธรรมะที่ลึกซึ้ง และไม่เคยได้ยินได้ฟังจากที่ใดมาก่อน ทำให้จิตใจที่มืดมนมาแต่ก่อนเก่า พลันเกิดสว่างไสว กำลังใจก็เกิดอิ่มเอิบอาจหาญมากทีเดียว หลวงปู่ศรี เล่าว่า “พอท่านเทศน์เชิงแนะนำแล้ว เราหายสงสัยทันที มีแต่จะลงทุนลงแรง ลงมือประพฤติปฏิบัติภาวนาอย่างเต็มที่ นั่งภาวนาแล้ว เดินจงกรม กำหนดสติอารมณ์ สิ่งใดเกิดขึ้นมาก็พิจารณา เอาสภาวธรรมตามความเป็นจริงทั้งกลางวันกลางคืน ไม่ย่นย่อท้อถอย เอาชีวิตนี่แหละเป็นเดิมพันเพื่อแลกกับความดี”

    จวบจนพอออกพรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ นั้น ถึงช่วงที่องค์หลวงปู่ใหญ่มั่น อาพาธหนัก กลางดึกเวลา ๐๒.๒๓ น. ของวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ก็ดับขันธวิบากเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร ฉะนี้เอง องค์หลวงปู่ศรี มหาวีโร จึงได้ถูกขนานนามว่า “หลวงปู่ศรี มหาวีโร ศิษย์รุ่นสุดท้าย ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต”

    การบรรลุธรรม
    ในพรรษาที่ ๑๙ ปีพุทธศักราช ๒๕๐๖ เมื่อออกพรรษาแล้วหลวงปู่ศรี ได้เดินทางมายังวัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เพื่อให้หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ ช่วยแก้จิตที่เสื่อมให้ เมื่อหลวงปู่บัว ท่านให้อุบายธรรมต่างๆแล้ว หลวงปู่ศรี ก็ทุ่มเทกำลังสติปัญญาทั้งหมด ปฏิบัติแบบไม่ใยดีในชีวิต ใช้ความเพียรกล้าอย่างยิ่งยวด ทั้งกลางวันและกลางคืน เรื่องการหลับนอนไม่ได้สนใจ อาศัยขันติคือความอดทนนั่งพิจารณาคลี่คลายสังขารส่วนต่างๆ ยอมเป็นยอมตาม ไม่อาลัยในสังขารชีวิตซึ่งเป็นสิ่งสมมุติ “จนจิตได้บรรลุธรรมอันพึงประสงค์ด้วยอำนาจตบะธรรมอันแกร่งกล้าอย่างหาผู้เปรียบได้ยากยิ่ง”

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้เคยกล่าวยกย่องหลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่าประชาคมวนาราม อำเภอศรีสมเด็จจังหวัดร้อยเอ็ด ไว้ดังนี้”…อาจารย์ศรีท่านก็มีนิสัยวาสนากว้างขวาง ไปคนละทิศละทาง คือเรื่องนิสัยวาสนาใครจะมาปรุงมาแต่งให้เป็นไม่ได้นะ ต้องเป็นขึ้นตามหลักธรรมชาติ คือเจ้าของเป็นผู้สร้างขึ้นมาเอง นิสัยวาสนากว้างแคบขึ้นอยู่กับตัวเองเป็นผู้สร้าง ใครคับแคบตีบตันคนนั้นก็นิสัยวาสนาคับแคบตีบตัน ไปที่ไหนก็ไม่ค่อยสมบูรณ์พูนผล ผู้ใดมีนิสัยกว้างขวางเฉลี่ยเผื่อแผ่ การทำบุญให้ทานไม่อัดไม่อั้น ไปที่ไหนก็ตามบริษัทบริวารก็มีมาก ว่าอะไรก็เป็นอันนั้นขึ้นมาๆ เรียกว่าเป็นไปตามนิสัยวาสนาอย่างอาจารย์ศรีท่านก็มีนิสัยวาสนากว้างขวาง เกี่ยวกับเรื่องฝ่ายประชาชนพระเณรมาดั้งเดิม ท่านมีนิสัยกว้างขวางไปที่ไหนว่าอะไรลูกศิษย์ลูกหาเต็มบ้านเต็มเมือง ฮือพร้อมกันหมดๆ นี่ท่านก็ไม่ได้มา แต่บริษัทบริวารลูกศิษย์ลูกหาของท่านมาจำนวนมากมายเต็มศาลา เห็นไหมล่ะ นี่ละถือเอาท่านเป็นเหตุ การสร้างบุญสร้างกุศลท่านไม่มาบริษัทบริวารทั้งหลายก็มาเพราะท่านแก่ ท่านรู้สึกว่าอายุจะอ่อนกว่าเราหน่อย แต่จะชำรุดมากกว่าเรา ท่านเคยอยู่กับเรามา…” กล่าวไว้เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ยังได้เคยกล่าวยกย่องหลวงปู่ศรี มหาวีโร “…ท่านอาจารย์ศรีมีลูกศิษย์ลูกหามาก พระเจ้าพระสงฆ์ที่เป็นสาขาของท่านก็มีอยู่ทั่วไป นอกจากจังหวัดร้อยเอ็ดแล้ว ยังมีทั่วไปในประเทศไทย ท่านนับว่า เป็นผู้มีบุญวาสนากว้างขวางองค์หนึ่งที่หาได้ยาก เพราะคำว่าวาสนานี้ มิได้เกิดขึ้นอย่างลอยๆ หรือเสกสรรปั้นยอกันเกิดขึ้นได้ แต่ต้องเกิดมาตามหลักธรรมชาติ แห่งบุญญาธิสมภารของท่านผู้สร้างบุญบารมีมา เมื่อสร้างมากขึ้นๆ ก็ยิ่งเพิ่มบารมีขึ้นเต็มหัวใจ เต็มนิสัยวาสนา ไปสถานที่ใดก็มีคนเคารพนับถือ จากนั้นก็มี เทวบุตร เทวดา อินทร์ พรหม กราบไหว้บูชา เป็นขวัญตาขวัญใจ ไปได้ทุกแห่งทุกหน เพราะอำนาจแห่งเมตตาธรรมที่ท่านปฏิบัติมา บรรจุอยู่ในหัวใจเต็มไปหมด อำนาจแห่งเมตตาธรรมนี้เอง ทำความร่มเย็นให้แก่โลกทั้งสาม คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก หรือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ทั้ง ๓ นี้ อยู่ใต้ร่มเงาแห่งเมตตาธรรมทั้งนั้น…”

    การมรณภาพ
    ช่วงใกล้รุ่งสางของวันที่ ๑๖ สิงหาคม หลวงปู่ศรี ท่านเริ่มแสดงอาการลาขันธฺลาวัฏวน องค์ท่านอยู่ในท่านอนหงาย ลมหายใจท่านก็อ่อน และละเอียดลงตามลำดับ จนหายเงียบไปอย่างละเอียดสุขุมในที่สุด หลวงปู่ศรี มหาวีโร ศิษย์รุ่นสุดท้ายท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ได้เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน เมื่อเวลา ๐๕.๓๔ น. ของวันอังคารที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ณ กุฏิกลางน้ำ วัดป่าประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด สิริอายุรวม ๙๔ ปี ๓ เดือน ๑๔ วัน ๖๖ พรรษา

    ชมภาพบรรยากาศงานพระราชทานเพลิงสรีระสังขาร “หลวงปู่ศรี มหาวีโร ศิษย์รุ่นสุดท้าย ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต” ได้ที่ลิงค์ http://www.facebook.com/media/set/?set=a.304036289646919.94841.100001216522700&type=3&l=a9658b8523

    ชมภาพอัลบั้ม “ก่อนเริ่ม..พิธีพระราชทานเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่ศรี มหาวีโร” ได้ที่ลิงค์ http://www.facebook.com/media/set/?set=a.302678229782725.94551.100001216522700&type=1&l=1367b9016c

    ชมภาพอัลบั้ม “หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน” ได้ที่ลิงค์




    หลวงปู่ศรี มหาวีโร พระอริยเจ้าผู้มากล้นด้วยบุญบารมี เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน เมื่อเวลา ตี ๕.๓๔ นาที ของเช้าวันอังคารที่…

    โพสต์โดย เฉลิมชัย จารุพัฒนเดช เมื่อ วันพุธที่ 17 สิงหาคม 2011

    ชมภาพอัลบั้ม “๒ มหาเจดีย์บูรพาจารย์หลวงปู่ศรี มหาวีโร พระผู้มากล้น ด้วยบุญบารมี”




    เมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมาผม และหมู่คณะได้มีโอกาสขึ้นไป จ.ร้อยเอ็ด กราบมุทิตาหลวงปู่ศรี มหาวีโร…

    โพสต์โดย เฉลิมชัย จารุพัฒนเดช เมื่อ วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2011

    _/_ _/_ _/_

    -๑๖-สิงหาคม.jpg
    วันนี้วันที่ ๑๖ สิงหาคม เป็นวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่ศรี มหาวีโร รำลึก ๗ ปี “พระอริยเจ้าผู้มากล้นมีบุญ” หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านได้เข้าถวายตัวเป็นศิษย์ ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ ครั้นนั้นหลวงปู่ศรี มหาวีโร อายุย่าง ๓๒ ปี พรรษา ๔ ณ วัดหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ตามลำพังเพียงผู้เดียว และได้อยู่จำพรรษา อีกทั้งได้มีโอกาสอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ร่วมกับหลวงปู่วัน อุตฺตโม และหลวงปู่หล้า เขมปัตโต โดยมีหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นหัวหน้าคอยควบคุมดูแลในตอนนั้น

    ศิษย์รุ่นสุดท้าย ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต
    ในพรรษาที่ ๕ นี้ หลวงปู่ศรี ได้มีโอกาสฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบการแสดงธรรมในแต่ละวัน ในแต่ละครั้ง ช่างเป็นธรรมะที่ลึกซึ้ง และไม่เคยได้ยินได้ฟังจากที่ใดมาก่อน ทำให้จิตใจที่มืดมนมาแต่ก่อนเก่า พลันเกิดสว่างไสว กำลังใจก็เกิดอิ่มเอิบอาจหาญมากทีเดียว หลวงปู่ศรี เล่าว่า “พอท่านเทศน์เชิงแนะนำแล้ว เราหายสงสัยทันที มีแต่จะลงทุนลงแรง ลงมือประพฤติปฏิบัติภาวนาอย่างเต็มที่ นั่งภาวนาแล้ว เดินจงกรม กำหนดสติอารมณ์ สิ่งใดเกิดขึ้นมาก็พิจารณา เอาสภาวธรรมตามความเป็นจริงทั้งกลางวันกลางคืน ไม่ย่นย่อท้อถอย เอาชีวิตนี่แหละเป็นเดิมพันเพื่อแลกกับความดี”

    จวบจนพอออกพรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ นั้น ถึงช่วงที่องค์หลวงปู่ใหญ่มั่น อาพาธหนัก กลางดึกเวลา ๐๒.๒๓ น. ของวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ก็ดับขันธวิบากเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร ฉะนี้เอง องค์หลวงปู่ศรี มหาวีโร จึงได้ถูกขนานนามว่า “หลวงปู่ศรี มหาวีโร ศิษย์รุ่นสุดท้าย ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต”

    การบรรลุธรรม
    ในพรรษาที่ ๑๙ ปีพุทธศักราช ๒๕๐๖ เมื่อออกพรรษาแล้วหลวงปู่ศรี ได้เดินทางมายังวัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เพื่อให้หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ ช่วยแก้จิตที่เสื่อมให้ เมื่อหลวงปู่บัว ท่านให้อุบายธรรมต่างๆแล้ว หลวงปู่ศรี ก็ทุ่มเทกำลังสติปัญญาทั้งหมด ปฏิบัติแบบไม่ใยดีในชีวิต ใช้ความเพียรกล้าอย่างยิ่งยวด ทั้งกลางวันและกลางคืน เรื่องการหลับนอนไม่ได้สนใจ อาศัยขันติคือความอดทนนั่งพิจารณาคลี่คลายสังขารส่วนต่างๆ ยอมเป็นยอมตาม ไม่อาลัยในสังขารชีวิตซึ่งเป็นสิ่งสมมุติ “จนจิตได้บรรลุธรรมอันพึงประสงค์ด้วยอำนาจตบะธรรมอันแกร่งกล้าอย่างหาผู้เปรียบได้ยากยิ่ง”

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้เคยกล่าวยกย่องหลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่าประชาคมวนาราม อำเภอศรีสมเด็จจังหวัดร้อยเอ็ด ไว้ดังนี้”…อาจารย์ศรีท่านก็มีนิสัยวาสนากว้างขวาง ไปคนละทิศละทาง คือเรื่องนิสัยวาสนาใครจะมาปรุงมาแต่งให้เป็นไม่ได้นะ ต้องเป็นขึ้นตามหลักธรรมชาติ คือเจ้าของเป็นผู้สร้างขึ้นมาเอง นิสัยวาสนากว้างแคบขึ้นอยู่กับตัวเองเป็นผู้สร้าง ใครคับแคบตีบตันคนนั้นก็นิสัยวาสนาคับแคบตีบตัน ไปที่ไหนก็ไม่ค่อยสมบูรณ์พูนผล ผู้ใดมีนิสัยกว้างขวางเฉลี่ยเผื่อแผ่ การทำบุญให้ทานไม่อัดไม่อั้น ไปที่ไหนก็ตามบริษัทบริวารก็มีมาก ว่าอะไรก็เป็นอันนั้นขึ้นมาๆ เรียกว่าเป็นไปตามนิสัยวาสนาอย่างอาจารย์ศรีท่านก็มีนิสัยวาสนากว้างขวาง เกี่ยวกับเรื่องฝ่ายประชาชนพระเณรมาดั้งเดิม ท่านมีนิสัยกว้างขวางไปที่ไหนว่าอะไรลูกศิษย์ลูกหาเต็มบ้านเต็มเมือง ฮือพร้อมกันหมดๆ นี่ท่านก็ไม่ได้มา แต่บริษัทบริวารลูกศิษย์ลูกหาของท่านมาจำนวนมากมายเต็มศาลา เห็นไหมล่ะ นี่ละถือเอาท่านเป็นเหตุ การสร้างบุญสร้างกุศลท่านไม่มาบริษัทบริวารทั้งหลายก็มาเพราะท่านแก่ ท่านรู้สึกว่าอายุจะอ่อนกว่าเราหน่อย แต่จะชำรุดมากกว่าเรา ท่านเคยอยู่กับเรามา…” กล่าวไว้เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ยังได้เคยกล่าวยกย่องหลวงปู่ศรี มหาวีโร “…ท่านอาจารย์ศรีมีลูกศิษย์ลูกหามาก พระเจ้าพระสงฆ์ที่เป็นสาขาของท่านก็มีอยู่ทั่วไป นอกจากจังหวัดร้อยเอ็ดแล้ว ยังมีทั่วไปในประเทศไทย ท่านนับว่า เป็นผู้มีบุญวาสนากว้างขวางองค์หนึ่งที่หาได้ยาก เพราะคำว่าวาสนานี้ มิได้เกิดขึ้นอย่างลอยๆ หรือเสกสรรปั้นยอกันเกิดขึ้นได้ แต่ต้องเกิดมาตามหลักธรรมชาติ แห่งบุญญาธิสมภารของท่านผู้สร้างบุญบารมีมา เมื่อสร้างมากขึ้นๆ ก็ยิ่งเพิ่มบารมีขึ้นเต็มหัวใจ เต็มนิสัยวาสนา ไปสถานที่ใดก็มีคนเคารพนับถือ จากนั้นก็มี เทวบุตร เทวดา อินทร์ พรหม กราบไหว้บูชา เป็นขวัญตาขวัญใจ ไปได้ทุกแห่งทุกหน เพราะอำนาจแห่งเมตตาธรรมที่ท่านปฏิบัติมา บรรจุอยู่ในหัวใจเต็มไปหมด อำนาจแห่งเมตตาธรรมนี้เอง ทำความร่มเย็นให้แก่โลกทั้งสาม คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก หรือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ทั้ง ๓ นี้ อยู่ใต้ร่มเงาแห่งเมตตาธรรมทั้งนั้น…”

    การมรณภาพ
    ช่วงใกล้รุ่งสางของวันที่ ๑๖ สิงหาคม หลวงปู่ศรี ท่านเริ่มแสดงอาการลาขันธฺลาวัฏวน องค์ท่านอยู่ในท่านอนหงาย ลมหายใจท่านก็อ่อน และละเอียดลงตามลำดับ จนหายเงียบไปอย่างละเอียดสุขุมในที่สุด หลวงปู่ศรี มหาวีโร ศิษย์รุ่นสุดท้ายท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ได้เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน เมื่อเวลา ๐๕.๓๔ น. ของวันอังคารที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ณ กุฏิกลางน้ำ วัดป่าประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด สิริอายุรวม ๙๔ ปี ๓ เดือน ๑๔ วัน ๖๖ พรรษา

    ชมภาพบรรยากาศงานพระราชทานเพลิงสรีระสังขาร “หลวงปู่ศรี มหาวีโร ศิษย์รุ่นสุดท้าย ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต” ได้ที่ลิงค์ http://www.facebook.com/media/set/?set=a.304036289646919.94841.100001216522700&type=3&l=a9658b8523

    ชมภาพอัลบั้ม “ก่อนเริ่ม..พิธีพระราชทานเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่ศรี มหาวีโร” ได้ที่ลิงค์ http://www.facebook.com/media/set/?set=a.302678229782725.94551.100001216522700&type=1&l=1367b9016c

    ชมภาพอัลบั้ม “หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน” ได้ที่ลิงค์




    หลวงปู่ศรี มหาวีโร พระอริยเจ้าผู้มากล้นด้วยบุญบารมี เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน เมื่อเวลา ตี ๕.๓๔ นาที ของเช้าวันอังคารที่…

    โพสต์โดย เฉลิมชัย จารุพัฒนเดช เมื่อ วันพุธที่ 17 สิงหาคม 2011

    ชมภาพอัลบั้ม “๒ มหาเจดีย์บูรพาจารย์หลวงปู่ศรี มหาวีโร พระผู้มากล้น ด้วยบุญบารมี”




    เมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมาผม และหมู่คณะได้มีโอกาสขึ้นไป จ.ร้อยเอ็ด กราบมุทิตาหลวงปู่ศรี มหาวีโร…

    โพสต์โดย เฉลิมชัย จารุพัฒนเดช เมื่อ วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2011

    _/_ _/_ _/_

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  6. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  7. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  8. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ความรักและความโกรธ

    คนเรานี้ยังมีความโกรธอยู่เพราะอะไร? ก็เพราะกิเลสตัณหาเป็นธรรมดา และต้นเหตุนี่ส่วนมากก็เกิดจากความรัก เราต้องแก้ความโกรธด้วยการละ บุคคลใดละได้ก็จะมีความสุข พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า บุคคลใดละความโกรธได้บุคคลนั้นแหละมีความสุขสบาย

    โอวาทธรรม:หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  9. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  10. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  11. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    วันนี้วันที่ ๑๗ สิงหาคมเป็นวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่คำพอง(หลวงตาน้อย) ปัญญาวุโธ รำลึก ๑ ปี “พระอริยสงฆ์ผู้มีปัญญาวุธชำแรกกิเลส” หลวงตาน้อย ท่านมีศักดิ์เป็นหลานของหลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร และเป็นลูกพี่ลูกน้องของหลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม ท่านทั้งสองเป็นสามเณรติดตามหลวงอา คือหลวงปู่สิงห์ทอง ไปศึกษาธรรมกับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และได้เคยไปศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่เพียร วิริโย จนกระทั้งไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่วัดถ้ำกลองเพล ชีวประวัติของท่านน่าสนใจมาก ผมได้คัดลอกมาจากหนังสือ “คู่ธรรมกรรมฐานฯ” จึงจอน้อมนำมาเผยแผ่เป็นสังฆานุสติและมรณานุสตินะครับ…สาธุ

    ๐ ประวัติปฏิปทาของหลวงปู่คำพอง(หลวงตาน้อย) ปัญญาวุโธ

    นามเดิมท่านชื่อ “คำพอง” ถือกำเนิดในสกุล “จันได” เป็นบุตรของพ่อดอน และแม่บุญหนา เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๒ ปีขาล ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา (เทียบจากปฏิทิน ๑๐๐ปี : อ้างอิงจากหนังสือประวัติคู่ธรรม กรรมฐาน หลวงปู่คำพอง ปัญญาวุโธ – หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม) ณ บ้านศรีฐาน ต.กระจาย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ บ้านศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร)

    ๐ บ้านศรีฐาน ถิ่นกำเนิดพระอริยเจ้า
    “บ้านศรีฐาน” เป็นดินแดนอริยภูมิ ที่มีพระอริยสงฆ์ฝ่ายกรรมฐานถือกำเนิดที่นี่หลายรูป โดยเฉพาะในเขตป่าติ้ว ครูบาอาจารย์ได้ถือกำเนิดเป็นจำนวนมาก

    ราวปี พ.ศ.๒๔๖๙ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล พร้อมด้วยคณะพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ออกเที่ยวจาริกเพื่อบำเพ็ญสมณธรรมและเผยแผ่พระศาสนา กระทั่งได้มาถึงหมู่บ้านศรีฐานใน ท่านทั้งสองเกิดความพอใจบริเวณดอนปู่ตา เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมต่อการภาวนา พร้อมทั้งยังได้เทศนาสั่งสอนชาวบ้านให้เลิกนับถือผี แล้วหันมาพึ่งคุณของพระรัตนตรัยแทน และให้เข้าใจวัตรปฏิบัติของพระกรรมฐาน ภายหลังประชาชนจึงเกิดความเลื่อมใสขึ้น ทั้งยังได้พร้อมใจกันถวายดอนปู่ตาให้สร้างเป็นวัดขึ้นมา และได้เรียกกันว่า “วัดป่า”

    ในขณะนั้นวัดศรีษะเกษซึ่งเป็นวัดเดิม ไม่มีพระจำพรรษาอยู่ ชาวบ้านจึงเห็นควรว่าให้รวมวัดเดิมกับวัดป่าให้เป็นวัดเดียวกัน เพราะมีเขตติดต่อกันเพื่อสะดวกต่อครูบาอาจารย์ ซึ่งวัดที่เกิดใหม่นี้ ชาวบ้านได้เรียกกันว่า “วัดป่าศรีฐานใน” มาจนถึงปัจจุบันนี้

    วัดป่าศรีฐานในจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของศรัทธาญาติโยมชาวบ้านศรีฐาน และเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตั้งแต่นั้นมา

    นับตั้งแต่คณะพระกรรมฐานซึ่งนำโดยพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้ให้การอบรมธรรมะแก่ชาวบ้านในครั้งนั้นเป็นต้นมา จากนั้นได้มีลูกหลานชาวบ้านศรีฐานออกบวชประพฤติปฏิบัติภาวนาสืบๆกันมาเป็นจำนวนมากจนถึงปัจจุบัน จึงอาจกล่าวได้ว่า “บ้านศรีฐาน” เป็นถิ่นกำเนิดนักปราชญ์โดยแท้

    ครูบาอาจารย์ในสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่เป็นคนบ้านศรีฐาน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางของสาธุชน อาทิ หลวงปู่บุญช่วย ธัมมวโร วัดศรีฐานใน จ.ยโสธร , หลวงปู่สอ สุมังคโล วัดศรีฐานใน จ.ยโสธร , หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร , หลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง จ.อุดรธานี , หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู , หลวงตาพวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร , หลวงตาสรวง สิริปัญโญ วัดศรีฐานใน จ.ยโสธร , หลวงปู่บุญมา สุชีโว วัดป่าสามัคคีสิริมงคล จ.หนองบัวลำภู , หลวงตาคำพอง(หลวงตาน้อย) ปัญญาวุโธ วัดป่านานาชาติ สหรัฐอเมริกา , หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร เป็นต้น

    บ้านศรีฐานนี้ เป็นบ้านใหญ่มาก ไม่ค่อยรู้จักกัน อย่างหลวงตาสรวง ก็มารู้จักกันตอนบวช บ้านศรีฐานเป็นบ้านใหญ่ ขนาด ๗๐๐ หลังคาเรือนนะ อาตมาอยู่บ้านศรีฐานนอก ส่วนหลวงปู่สิงห์ทอง ท่านอยู่บ้านศรีฐานใน อยู่คนละมุมหมู่บ้าน บ้านศรีฐานนอก อยู่ทางทิศตะวันออก ส่วนบ้านศรีฐานใน อยู่ทางทิศตะวันตก แต่ก็เป็นหมู่บ้านเดียวกัน เราก็ไปแต่วัดศรีฐานนอก ซึ่งเป็นวัดมหานิกายก็ไปถวายจังหัน ถวายเพลอยู่แทบทุกวัน เดินตามพ่อแม่ ปิ่นโตใส่แขนทางซ้าย ๒ ปิ่นโต ทางขวาอีก ๒ ปิ่นโต เดินตามท่าน อายุ ๕ ถึง ๖ ขวบ แม่ให้ไปวัด เราเป็นคนเชื่อฟังพ่อแม่นะ เดินตามพ่อแม่ไป

    สมัยเด็กท่านตัวเล็กกว่าพี่น้องคนอื่น พ่อแม่ท่านจึงเรียกว่า “น้อย” ซึ่งองค์ท่านเป็นญาติมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกันกับหลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร และหลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม โดยโยมมารดาท่านทั้งสามคนเป็นพี่น้องกัน และบวชเป็นแม่ชี ถวายตัวเป็นศิษย์ของคุณย่าชีแก้ว เสียงล้ำ เจดีย์บรรจุอัฐิของคุณแม่ชีทั้งสาม ตั้งอยู่ที่วัดป่าแก้วชุมพล ใกล้กันกับเจดีย์คุณย่าชีแก้ว เสียงล้ำ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร นั่นเอง

    ๐ โยมมารดาของพระเถระทั้งสามรูป มีรายนามดังนี้
    ๑.คุณแม่ชีอบมา ไชยเสนา โยมมารดาของ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร (ถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๗ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    ๒.คุณแม่ชีบุปผา เข็มเพ็ชร โยมมารดาของ ท่านพระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธัมโม (ถือกำเนิดเมื่อวันพุธที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๒ ตรงกับ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ) วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    ๓.คุณแม่ชีบุญหนา จันทร์เหลือง โยมมารดาของ ท่านพระอาจารย์คำพอง (หลวงตาน้อย) ปัญญาวุโธ (ถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีขาล) วัดป่านานาชาติ รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา

    ๔.นอกจากพี่น้องแม่ชีทั้งสามนี้แล้ว ยังมีหลวงปู่ทองสี กตปุญฺโญ วัดป่าสุทธิมงคล อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ซึ่งเป็นพระน้องชายของแม่ชีทั้งสามท่านนี้ และมีศักดิ์เป็นหลวงลุงของพระอาจารย์ทั้งสามท่านอีกด้วย ปัจจุบันหลวงปู่ทองสี กตปุญฺโญ ละสังขารแล้วและกระดูกก็แปรเป็นพระธาตุด้วย

    ๐ คู่ธรรม กรรมฐาน
    อาจารย์อุ่นนี่ (หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม)บ้านอยู่ติดกันนะ เรียนก็เรียนด้วยกัน เล่นก็เล่นด้วยกัน โตขึ้นมาด้วยกัน บ้านอยู่ห่างไม่กี่สิบเมตร ไปไหนก็ไปด้วยกัน พอเลิกเรียนแล้วไปทุ่งนาด้วยกัน ไปเลี้ยงควายด้วยกัน ออกจากพ่อตระกูลเดียวกัน บวชก็บวชด้วยกัน บวชแล้วอยู่กุฏิใกล้กัน เกิดก็ไล่ๆ กัน อาจารย์อุ่นท่านเกิดหลังอาตมา ๓ เดือน

    ๐ ถ้าอุ่นบวช กูต้องบวช
    ประเพณีของบ้านศรีฐาน พออาตมาเรียนจบชั้น ป.๔ แล้วต้องออกบวช โยมแม่อาตมาท่านว่า “มึงออกจากโรงเรียน จบแล้วมึงต้องบวชนะ” ตอนนั้นอาตมาก็ไม่ได้คิดอยากบวชนะ พอดีหลวงลุง ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ท่านกลับมาเยี่ยมบ้านที่ศรีฐาน แม่ของหลวงลุง แม่ของท่านอาจารย์อุ่น แม่ของอาตมา ได้ไปทำบุญกับท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง พอกลับบ้านมาโยมแม่ก็เรียก “น้อยๆ บักอุ่น มันจะบวชแล้วนะ”

    ทางบ้านเรียกท่านพระอาจารย์สิงห์ทองว่า “ญาครู” “ญาครูท่านมา บักอุ่นมันจะไปบวชตามญาครูท่านแล้วเด้” อาตมาก็ “โอ๊ะ..ถ้าอุ่นบวชกูต้องบวช” ตัดสินใจบวชทันทีเลยซิเพราะเป็นเพื่อนสนิทกันมากเลย

    ๐ บรรพชาเป็นสามเณร
    ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเพราะโยมแม่ขอร้อง เมื่ออายุ ๑๓ ปี ญาติได้พาไปฝากตัวกับหลวงปู่บุญช่วย ธัมมวโร เจ้าอาวาสวัดศรีฐานใน บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๕ ณ วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (วัดของหลวงตาสรวง สิริปุญฺโญ ปัจจุบัน) โดยมีพระครูสมุห์บุญสิงห์ วัดศรีธรรมมาราม จ.ยโสธร เป็นพระอุปัชฌาย์

    เฮาบวชนี่ตอนอายุ ๑๓ ย่างเข้า ๑๔ นี่ เป็นเณรตัวยังไม่ใหญ่นะ บิณฑบาตตามก้นหมู่เพื่อนอยู่หางแถวเลย วันนั้นออกบิณฑบาตวันแรก ผ้าสบงหลุดเลย จีวรหลุดเลย บวชใหม่ ๆ ต้องเอาบาตรไปห้อยแขวนไว้ที่เสารั้วข้างทางก่อน แล้วมานุ่งสบงห่มคลุมจีวรให้กันก่อน ก็เพิ่งบวชใหม่ ๆ แล้ววันนั้นพระเณรก็เยอะมาก พระข้างหน้าก็ไม่ได้ดูข้างหลัง พระข้างหน้าก็เลยเดินไปเลย ทิ้งเณรข้างท้ายไว้ โอ้ย อายมากตอนนั้น เลยไม่ฉันจังหัน ไม่กินข้าวเลย อายมาก นี่เป็นเณรอยู่หางแถว บางวันบิณฑบาตก็ได้กล้วย บางวันก็ได้อาหาร เราก็ยังมีญาติ มีโยมแม่มาใส่บาตรให้ แม่ก็ซ่อนไว้ในกระติบข้าว มีปลา มีแจ่ว มีพริก พอลูกเดินบิณฑบาตมาถึง ก็เอาออกมาใส่บาตรให้เณรลูกชาย ก็พอประทังธาตุขันธ์ เป็นเณรน้อยอยู่หางแถวเลย

    ปี ๒๔๙๕ อาตมาจำพรรษาและเรียนหนังสือด้วยกันกับอาจารย์อุ่นหล้า อยู่ที่บ้านศรีฐานใน ไปอยู่เป็นเณร อยู่ไป ๆ ก็คุ้นเคยกับหมู่เพื่อนเณรรุ่น ๆ เดียวกัน ก็สนุกสนาน ความคิดที่จะสึก ก็ค่อย ๆ จืดจางหายไป ก็เรียนนักธรรมตรีกัน แล้วก็สอบได้นักธรรมตรีในปีนั้น

    ๐ เดินจงกรมครั้งแรก
    หลวงปู่บุญช่วย ธัมมวโร ท่านเป็นอาจารย์องค์แรกที่อยู่บ้านศรีฐานใน บวชเณรมาพรรษาแรกก็เรียนหนังสืออย่างเดียว มีแต่หลวงปู่บุญช่วย ท่านสอนปฏิบัติ “ภาวนาพุทโธๆ นะเณร” เวลา ๒ ทุ่ม ๓ ทุ่ม ท่านเดินจงกรมเสร็จ เราก็ไปอุปัฐฐาก ไปนวดจับเส้นหลวงปู่บุญช่วย ท่านก็เล่าว่า พ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ท่านเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติดี ก็ได้ยินได้ฟังบ่อยมาก แต่ตอนนั้นยังไม่รู้เรื่อง แล้วหลวงปู่บุญช่วย ท่านก็เดินจงกรมเป็นประจำ ท่านก็สอนให้เราเดินจงกรม “เณร เดินจงกรมนะ ให้เอาพุทโธๆ นะ” เริ่มหัดเดินจงกรมตอนเป็นเณร กุฏิของเราอยู่กลางป่า อยู่ในป่าช้า คนตายก็เอาไปเผาที่นั่น กลัวก็กลัวนะ แต่มันมีศรัทธา พออุปัฏฐากหลวงปู่บุญช่วยเสร็จ ก็ลงจากกุฏิท่าน เดินผ่านป่าช้าไปกุฏิตนเอง แทบจะวิ่งไปเลย กลัวผีไปถึงก็นอน แต่ถ้าท่านสั่งให้เดินจงกรม เราก็ต้องเดินจงกรมก่อนนะ

    พอออกพรรษาปี พ.ศ.๒๔๙๕ แล้ว พ่อก็ถามว่า ” จะสึกไหม จะซื้อกางเกงมาให้ ” ตอนนั้นบวชกันตั้งหลายคนนะ ตั้ง ๑๐ ถึง ๒๐ คนนะ พอเวลาบวช ก็ชวนกันบวช พอถึงเวลาออกพรรษา ก็ชวนกันสึกนะ เขาก็พากันสึก ก็อยากสึกอยู่นะ แต่สึกไม่ได้เพราะเป็นห่วงอาจารย์ ถ้าเราสึก ใครจะต้มน้ำร้อนให้ท่านสรง ให้ท่านฉัน ก็ถือว่าท่านเหมือนพ่อเลย รักท่านมากเลย พอพ่อจะซื้อกางเกงมาให้สึก ก็เลยบอก ” ยัง ๆ เดี๋ยว ๆ เอาไว้ก่อน ” คิดถึงอาจารย์ รักท่านมาก ต้มน้ำร้อน น้ำชาถวายท่าน พออยู่กับท่าน ท่านก็สงสารเมตตา ไปไหนก็เอาไปด้วย ตอนที่พ่อจะให้สึก ก็ไม่อยากสึกเพราะรักอาจารย์

    ๐ ตามครูบาแก้วไปภาวนาอยู่ถ้ำเจ้าผู้ข้า
    ช่วงอยู่ที่บ้านศรีฐาน ก็ได้แต่เรียนหนังสืออย่างเดียว พระปฏิบัติมีแต่หลวงปู่บุญช่วยองค์เดียวที่ปฏิบัติภาวนา นั่งสมาธิ เดินจงกรม นอกนั้นมีแต่เรียนหนังสือ พอดีช่วงนั้นครูบาแก้ว ลูกศิษย์หลวงปู่บุญช่วย ท่านอยู่วัดท่าสองคอน อ.พรรณานิคม มาเยี่ยมครูบาอาจารย์ที่บ้านศรีฐาน

    อาตมาเกิดความศรัทธาเลื่อมใส ก็เลยขอหลวงปู่บุญช่วยท่าน จะขออยู่กับครูบาแก้ว ครูบาแก้วก็เลยพาธุดงค์ไปภาวนาอยู่ถ้ำเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม ไปบิณฑบาตนี่ระยะทางเดินก็ไกล ๓ กิโลเมตรนะ พอสว่าง ก็ออกบิณฑบาตไป มีคนใส่บาตรแค่ ๒ คนเท่านั้น เขาอยู่ที่เถียงนาอยู่ไร่ เขาทำตะแคร่เอาผ้าขาวปูสำหรับให้นั่งรอ เขาก็ตำข้าวกะจ๊อก ๆ โห น่าสงสาร ตำข้าวด้วยครกมอง ใช้เท้าเหยียบกระเดื่อง พอเราไปนั่งรอ เขาเห็นแล้ว เขาก็รีบล้างมือ แล้วเอากระติ๊บข้าวมาใส่บาตร มีอยู่ ๒ คนพี่น้องเท่านั้น ชื่อบ้านพ่อไท
    พอบิณฑบาตเสร็จกลับ ก็ต้องถอดจีวรออก ร้อนมาก ข้างทางจะมีแต่ต้นบักม๊อบลูกดำๆ ลูกขนาดลูกมังคุด เนื้อ-เม็ดก็ดำ หอมหวาน กินกับข้าว ก็จะถอดจีวรออก แล้วก็ไปเก็บใส่ฝาบาตร ก็จะเก็บลูกม๊อบ เก็บผักตามข้างทางใส่ฝาบาตรไปด้วยทุกวัน

    บางทีหลังจากสรงน้ำตอนเย็นแล้วขึ้นไปบนหลังเขาเจ้าผู้ข้า มันจะมีผักหนาม ผักตบ ผักอะไรก็เก็บมา ครูบาแก้วก็ว่า “เณรมาอยู่ที่นี้ ต้องปฏิบัติให้ดีนะ ที่นี่ศักดิ์สิทธิ์มากนะ” “ถ้าเณรคิดเรื่องโลกเรื่องสงสารนี่ จะวิบัตินะ ให้ตั้งใจปฏิบัตินะ” “เณรให้เอาธรรมปฏิบัติ คิดเรื่องพุทโธอย่างเดียวนะ ถ้ำนี้หากคิดเรื่องโลกเรื่องสงสาร จะวิบัติเลย”

    ถ้ำนี้พระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน พี่ชายพระอาจารย์กว่า สุมโน มามรณภาพอยู่ในถ้ำนั้น ถ้ำเล็กนิดเดียว ไปอยู่ที่นั่น ครูบาท่านก็อยู่ในถ้ำ ส่วนอาตมาก็อยู่ในเงิบหิน แล้วก็มีตะแคร่ข้างล่าง มีทางผ่าน แล้วก็เป็นเหว อาตมาก็นอนที่ตะแคร่นี้

    ๐ ดาบส ที่ถ้ำเจ้าผู้ข้า
    ที่ถ้ำนั้นมีคนหนึ่งชื่ออาจารย์แก้ว บวชนาน พอสึกไป เขาจะเรียกอาจารย์ในถ้ำเจ้าผู้ข้า พอคลานเข้าไป มันเป็นโพรงข้างใน พอพ้นศรีษะพอดี ก็จะอาราธนา พออาราธนาเสร็จ ก็จะได้ยินเสียงดาบส เสียงคนสักไม้เท้าดัง ” ตึ้ก ๆ ” เป็นดาบส ฤาษีนุ่งขาวห่มขาว บางครั้งพออาราธนาเสร็จ ก็ได้ยินเป็นเสียงเทศน์

    มีคืนหนึ่ง เป็นคืนเดือนหงาย อาตมาได้ยินเสียงเดินมาจากทางถ้ำ อาตมาอยู่ที่เงิบหิน ถัดมาจากถ้ำเล็กน้อย ตรงนั้นพอจะกางกลดนอนได้พอดี อาตมาได้ยินเสียงเดิน ก็เลยคิดว่า เอ ครูบาแก้วมาเยี่ยมหรืออย่างไรหนอ ตอนนั้นประมาณ ๓ ทุ่มกว่า อาตมานั่งสมาธิอยู่ ” อ้าว ไม่ใช่ครูบานี่ ” เป็นตาปะขาว เป็นดาบสนุ่งขาวห่มขาว ถือไม้เท้าหลังค่อม ๆ อายุประมาณ ๗๐ ถึง ๘๐ ปี เดินมา ก็รู้สึกทั้งกลัวทั้งสั่นเลย พอเห็นเท่านั้น ก็เลยหลับตาเข้าสมาธิแน่วไปเลย ดาบสเฒ่าก็ไม่ได้ทำอะไร ก็เดินผ่านไป

    ๐ ได้พบเห็นพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นแรงบันดาลใจ
    ปี พ.ศ.๒๔๙๗ หลวงปู่บุญช่วย พาสามเณรน้อย เดินทางไปวัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร เพื่อรำลึกวันมรณภาพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นปีแรกออกจากงานสามเพ็ง วัดป่าสุทธาวาส แล้วก็มาที่บ้านโนนภู่ แต่จำไม่ได้ ว่าเป็นงานอะไร แต่ครูบาอาจารย์มากันเต็มไปหมด พากันมากวาดลานวัด สะอาดสะอ้าน เดินไปตามวัด ในวัดป่าบ้านโนนภู่ เห็นทางจงกรม เห็นกลดท่านแขวนอยู่บนแคร่ใต้ร่มต้นไม้ เห็นท่านเดินจงกรม ก็ไปนั่งแอบดู ก็ชื่นชมศรัทธา คือดี คืองามแท้ อยากจะเดินจงกรม คืออยากจะเดินจงกรม นั่งสมาธิเหมือนท่าน

    จะทำยังไงหน๊อ คิด ทำยังไง กูถึงจะเป็นอย่างนี้ได้หน๊อ ทำยังไงถึงจะเป็นอย่างท่านได้ เห็นบาตรลูกใหญ่ ๆ เห็นกลด ” โห เกิดศรัทธา ” อยากได้มากเลย เห็นผ้าจีวรสีกรัก สีแก่นขนุนแก่ ๆ ” โห คืองามแท้ อยากได้จีวรแบบนี้ ” ผ้าจีวรเราตอนนั้นก็บาง ๆ สีเหลืองอ๋อย สีแบบพระมหานิกายนี่ล่ะ

    เห็นหลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ท่านกวาดลานวัด หัวล้าน ๆ สีผ้าจีวรสีกรัก ที่บ้านภู่ไปงานครูบาอาจารย์ ไปพบหลวงปู่กว่า สุมโน เจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ไปเห็นครูบาอาจารย์ ” โห ศรัทธามาก ” พอถึงเวลาบ่ายสามโมงพากันกวาดลานวัดกันเต็มไปหมด เจ้าคุณธรรมเจดีย์ ก็ลงกวาดลานวัดด้วยนะ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่อ่อนก็กวาดด้วย

    สามเณรน้อย ได้พบหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ครั้งแรก และหลวงลุง ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ก็ได้อยู่กับหลวงตามหาบัวด้วย สามเณรน้อย เห็นหลวงตามหาบัว แล้วเกิดศรัทธา จึงขออนุญาตท่านพระอาจารย์หลวงปู่บุญช่วย ติดตามหลวงลุง และหลวงตามหาบัว กลับไปวัดป่าบ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร ระหว่างทางที่เดินธุดงค์ได้ไปพักอยู่ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ ได้มีโอกาสกราบหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ เป็นครั้งแรก

    ๐ ถวายตัวเป็นศิษย์ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    สมัยอยู่กับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านเข้มงวดมาก ให้ปฏิบัติธรรมเดินจงกรมภาวนาตลอดไม่ให้หลับนอน จะยืนเดินนั่งหรือทำกิจนี่ ท่านห้ามมีเสียงดัง สำรวมระวังตลอด ประชุมสงฆ์ทุก ๆ ๗ วัน หลวงตาท่านเทศน์นานมาก กินใจมาก เหมือนนิพพานจะอยู่แค่เอื้อม สมัยอยู่วัดป่าห้วยทราย นอกจากหลวงลุงท่านพระอาจารย์สิงห์ทองแล้ว ยังมีหลวงปู่หล้า เขมปัตโต หลวงปู่เพียร วิริโย หลวงปู่ลี กุสลธโร และหลวงปู่คำตัน ฐิตธัมโม ก็บวชในปี พ.ศ.๒๔๙๗ นั้นด้วย อีกทั้งคุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำเป็นต้น ท่านได้อยู่อุปัฏฐากหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน สมัยเป็นเณรและพระรวม ๖ ปี

    ๐ จิตสงบครั้งแรก
    หลวงตามหาบัว ท่านเน้นเทศน์เรื่องทุกขสัจจ์ สัจธรรม ทุกขํ อนิจฺจํ อนตฺตา การเกิด แก่ เจ็บ ตาย การพลัดพรากจากกัน ช่วงนั้นท่านก็กำลังคิดถึงโยมพ่อโยมแม่อยู่ ท่านรักโยมทั้งสองมาก ห่วงว่าถ้าเราตาย พ่อตาย แม่ตาย ไม่ได้พบเจอกันอีกจะทำอย่างไร แต่พอฟังหลวงตาท่านเทศน์ไปๆ ใจมันก็พิจารณา มันทำไมเป็นอย่างงี้ โห มันจะต้องพลัดพราก จะทำอย่างไรดี ถึงเวลาตาย เราจะทำอย่างไร หลวงตาท่านก็เทศน์เรื่องสติ ต้องมีสติ ถ้าขาดสติก็ไม่ใช่ความเพียร เอาสติเป็นหลักแล้วก็พิจารณาทุกขํ อนิจฺจํ อนตฺตา นี่ท่านเทศน์ทุกวันๆ เราก็พิจารณา “โห ใจมันเข้าใจ มันหนีไม่พ้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย มันต้องพรัดพรากจากกันไป ได้ฟังก็พิจารณาตาม มันต้องทำใจ พอฟังไปๆ ยิ่งรู้ยิ่งเข้าใจ ยิ่งเกิดศรัทธา ภาวนาก็สบาย พอเข้าใจภาวนาก็ลงง่าย สมาธิก็ปิ๊งเลย จิตรวมลงที่บ้านห้วยทรายนี้ ฟังเทศน์หลวงตามหาบัว จิตก็รวมลงเลย นั่งภาวนาไป มันก็เจ็บก็ปวด แต่ใจมันสบาย ใจมันสงบ แต่มันอดทนต่อความเจ็บปวดไม่ได้ จิตถอนออกมาแล้วก็ยังคิดประทับใจ อยากจะนั่งต่ออีก

    ๐ หลวงปู่เพียร วิริโย พาพิจารณาอสุภะ
    ที่วัดห้วยทรายนี่ติดกับป่าช้าเผาผีนะ ถัดจากศาลาลงมาทางทิศใต้ ตรงออกมาทางหน้าวัดนั่นละ ทีนี้มีวันหนึ่งผู้หญิงคนนึงมันตาย ท่านพระอาจารย์เพียร วิริโย(วัดป่าหนองกอง จ.อุดรธานี) ก็เรียกอาตมา “น้อยๆ” ก็ไปดูอสุภะกับท่านพระอาจารย์เพียร พากันไปตรงผีป่าช้าหน้าวัดได้ไม้มาก็เอาไม้แทงท้องศพขี้กะตืกก็ไหลออกมา พยาธิตัวตืดไหลออกมา ตอนนั้นกำลังไหม้อยู่ เห็ท้องพอง บวม พอง ไคอุ้งบุงอยู่ ไฟมันไหม้คอ แขน ขาแล้วนะ เขาเอาศพวางบนกองฟืนหน่ะ แต่ตรงท้องมันมีน้ำมีมันอยู่เยอะ มันก็ไม่ไหม้หมดอยู่ง่ายๆ นะ พอเผาแล้วขาแข้งก็หลุดออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน หัวกระโหลกแตก “ปั้ง” เสียงดังเลย บางทีก็ไส้แตกออกมา อาตมาก็ได้ดูอสุภะอยู่เรื่อยๆ เพราะมันตายอยู่เรื่อยๆ ทุกวันนี้มันหาดูได้ยาก มันเอาเข้ากองอิฐ เข้ากองปูน มันก็ไม่ได้เห็นซากศพ เผาเสร็จก็ไม่เหลือซากอสุภะให้ได้ดูอย่างแต่ก่อนแล้ว

    ๐ เรื่องเล่าจากบ้านห้วยทราย
    เรื่อง พันธุลกับองค์ธรรม
    คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ เคยเล่านิมิตถวายหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่วัดยางระหง โดยมีพระกาย กุศลธมฺโม นั่งฟังอยู่ด้วยว่า
    ” เมื่อครั้งพุทธกาลนั้น คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ คือนางมัลลิกา และองค์หลวงตา คือ พันธุลเสนาบดี นางมัลลิกาหลังจากแต่งงานกับพันธุลแล้ว ก็ไม่มีบุตรเสียที จึงจะลากลับบ้านเมืองกุสินาราบ้านเกิด ก็เลยไปกราบลาพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าทรงให้รอก่อน อย่าเพิ่งไป หลังจากนั้นไม่นาน นางมัลลิกาก็ตั้งครรภ์ แล้วก็ได้คลอดบุตรเป็นลูกชายทั้งหมด เป็นแฝด ๑๖ คู่ ๓๒ คน โดยมีลูกชายคนเล็ก ซึ่งในชาติปัจจุบัน คือ หลวงปู่น้อย (คำพอง ปัญญาวุโธ) ซึ่งคุณแม่ชีแก้ว ก็จะเรียกหลวงปู่น้อยว่า “ลูกหล่า ๆ” ทุกครั้ง เพราะเคยเกิดเป็นลูกชายคนเล็กของท่านหลายภพหลายชาติ และหลวงตามหาบัว ท่านจะเรียกหลวงปู่น้อยว่า “องค์ธรรม”

    ๐ อุปสมบทเป็นพระภิกษุคู่กับพระอาจารย์อุ่นหล้า
    ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๒ ณ วัดศรีมงคลเหนือ อ.มุกดาหาร จ.นครพนม (ปัจจุบันคือ อ.เมือง จ.มุกดาหาร) โดยมีท่านเจ้าคุณมุกดาหารโมลี เป็นพระอุปัชฌายาจารย์ ท่านพระอาจารย์คำ คัมภีรญาโณ วัดศิลาวิเวก เป็นกรรมวาจาจารย์ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร เป็นอนุสาวนาจารย์ ซึ่งท่านเข้าพิธีอุปสมบทพร้อมกับท่านพระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธัมโม ผู้ซึ่งเป็นทั้งเพื่อนสนิท และเป็นทั้งญาติพี่น้องกัน หลังจากนั้น ท่านพระอาจารย์น้อย จึงออกธุดงค์ติดตามไปกับท่านพระอาจารย์อุทัย ท่านเป็นคนลาวมาจากเวียงจันทน์ ศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร (คนละรูปกับหลวงปู่อุทัย สิริธโร ที่วัดเขาใหญ่ฯ) ไปภาวนาที่ภูเก้า ถ้ำสูง อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร

    ๐ ข้อวัตรที่ภูเก้า
    ตอนบวชพระใหม่ๆ ปี ๒๕๐๒ ไปจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำพระภูเก้า ท่านอาจารย์อุทัย กำหนดกติกาข้อวัตรในการทำความเพียรที่อยู่ร่วมกันที่ภูเก้า ท่านบอกห้ามนอนก่อนห้าทุ่ม ให้ทำความเพียร ท่านจะคอยมาตรวจสอบว่าเผลอหลับนอนกันหรือป่าว ถึงเวลาตีสาม ก็มีสัญญาณตื่น ท่านมีเมตตาตั้งใจ ก็ทำเป็นกิจวัตรทุกวัน ภาวนาดีมากที่ภูเก้านี่ เมื่อถึงเวลาบิณฑบาต ก็เดินลงภูระยะทางไปกลับประมาณ ๖ กิโลเมตร บิณฑบาตก็ได้มานิดเดียว สมัยนั้นอดอยาก ผอมเหลือแต่กระดูก อาหารการกินก็ไม่ค่อยมีฉัน ตอนเย็นก็เอาใบไม้แก่นไม้มาต้ม ก็ฉันรูปละแก้วเท่านั้นล่ะ ก็เอาเกลือหยดลงหน่อยพอเค็มๆ สมัยนั้นน้ำอ้อยน้ำตาลไม่มีหรอก ทำความเพียรอย่างเดียว นั่นหล่ะ ธรรมมักอยู่ในที่ขาดแคลน ไม่ได้อยู่ในที่อุดมสมบูรณ์

    ๐ ตทังคปหาน ที่ภูเก้า
    การพิจารณาธรรมอยู่ที่ถ้ำภูเก้า ทำความเพียรหนักเหมือนกันปีนั้น ขณะเดินจงกรมอยู่ในถ้ำยาว ก็พิจารณา อนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา พิจารณาเรื่องสมมุติ วิมุติ ทั้งหลาย “โห มันหายหมดเลยนะ มันหายไปหมดเลยทุกอย่างมันเห็นเป็นวิมุติไปหมด มันเป็นอย่างนี้เอง การปล่อย การวาร พระนิพพาน เป็นอย่างนี้ ลักษณะมันเป็นอัตฌนมัติเลย มันเป็นเองก็ค่อยๆ พิจารณาไป พิจารณามา ก็ค่อยๆ เข้าใจ มันก็แจ้งชัดออก ค่อยปล่อย ค่อยวาง ค่อยรู้ ค่อยเห็น ความเป็นจริงมันปรากฏขึ้นมามันปล่อยวางได้หมด แต่ก่อนใจมันเคยยึดเคยถือ พอพิจารณาไปมันไม่ยึดไม่ถือเลย คำว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน มันบ่มีในใจ มันเป็นสมมุติทั้งนั้น จากสมมุติเป็นวิมุติเลย ในใจมันมองเป็นวิมุติไปหมดเลย

    พอกลับมาวัดป่าบ้านตาด ปี ๒๕๐๓ ก็เข้าไปกราบเรียนหลวงตามหาบัว ถึงผลการปฏิบัติที่มีมา ท่านว่า “ตทังคปหาน” คือการละกิเลสได้ชั่วคราว

    ๐ เนสัชชิกที่วัดถ้ำกลองเพล
    จำพรรษาอยู่ศึกษาธรรมกับหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่วัดถ้ำกลองเพล ในช่วงปี ๒๕๐๔ และ ๒๕๐๖ ในช่วงนั้นมี ท่านพระอาจารย์เพียร วิริโย(วัดป่าหนองกอง จ.อุดรธานี) ,พระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต (เจ้าอาวาสวัดถ้ำกลองเพล องค์ปัจจุบัน) ,ท่านพระอาจารย์จันทา ถาวโร (วัดป่าเขาน้อย จ.พิจิตร) ,ท่านพระอาจารย์ขาน ฐานวโร (วัดป่าบ้านเหล่า จ.เชียงราย) ,ท่านพระอาจารย์ปรีดา ฉันทกโร (หลวงปู่ทุย วัดป่าดานวิเวก จ.บึงกาฬ) ,ท่านพระอาจารย์คำสุข ญาณสุโข (วัดป่าซับคำกอง จ.เพชรบูรณ์) ,ท่านพระอาจารย์วิไลย์ เขมิโย (วัดถ้ำพญาช้างเผือก จ.ชัยภูมิ) ,ท่านพระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธัมโม (วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร) เป็นต้น ในพรรษาวันพระ ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ หลวงปู่ขาว ท่านจะประชุมพระอยู่ตลอดคืน เป็นกฏของวัดถ้ำกลองเพล เข้าพรรษา ๓ เดือน ในวันพระถือเนสัชชิกไม่นอนตลอดคืน คือเราลงอุโบสถ สวดมนต์ไหว้พระ ฟังเทศน์ ภาวนาถือเนสัชชิกไม่นอนทุกวันพระ อันนี้เป็นกฏระเบียบ

    บางทีหลวงปู่ขาว ท่านก็ว่า “โห เทวบุตร เทวดา เข้ามาฟังธรรมเยอะเลย” แต่เทวดาเข้ามาข้างในไม่ได้นะ ตรงถ้ำกลองเพลมีพระเณร แล้วก็แม่ขาว แม่ชีล้อมรอบจนเต็มบริเวณ เทวดามานั่งอยู่รอบๆ เข้าไม่ได้ มาฟัง ศรัทธา ได้ยินเสียงสวดมนต์ เพราะว่าสวดมนต์มากนะ สวดทีละสองชั่วโมง หลวงปู่ขาว ท่านชอบสวดธรรมจักร อนันตลักขณสูตร หลวงปู่ขาวท่านแก่ แต่ท่านขยันนะ ขนาดท่านอย่างนี้ เวลาสดมนต์ ปั๊ปๆๆ ได้หมดนะ ปาฏิโมกข์นี้ก็สวดได้ อ่านจนจำได้หมด ท่านเป็นคนฝักใฝ่ ขยันชอบสวดมนต์ได้บุญ เป็นการแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ บทสวดมนต์ของพระพุทธเจ้า พอฟังแล้วก็ทำให้ดึงจิตดึงใจดึงภูตผีปีศาจวิญญาณจ้าที่แถวนั้น บทสวดมนต์เป็นคำสอน ภาษาไทย ภาษาบาลี ก็เป็นคำสอน ธรรมมันชนะหัวใจไม่ว่าภูตผีปีศาจ ธรรมะชนะได้หมดนะ ไม่ใช่แค่กิเลสในใจมนุษย์เท่านั้นนะ ชนะแม้แต่ภูตผีปีศาจ

    หลวงตาน้อย ปัญญาวุโธ ท่านได้เคยไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ขาว อนาลโย , หลวงปู่ฝั้น อาจาโร , หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน , หลวงปู่บัว สิริปุณโณ , หลวงปู่วัน อุตฺตโม , หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ และ หลวงปู่เพียร วิริโย เป็นต้น สมัยท่านอยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย มีโยมได้มาอาราธนาให้ท่านไปโปรดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีโยมปวารณาเรื่องค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ท่านจึงเดินทางไปเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๕ โดยได้ไปโปรดสงเคราะห์ญาติโยมอยู่ที่นั่นเรื่อยมา จนกระทั้งหลวงปู่ขาว อนาลโย เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน หลวงตาน้อย จึงเดินทางกลับมาร่วมช่วยงานพระราชทานเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่ขาว อนาลโย ผู้เป็นอาจารย์ จนเสร็จงานลุล่วงแล้ว จึงได้เดินทางไปโปรดสงเคราะห์ญาติโยมที่ต่างแดนในที่ต่าง ๆ เรื่อยมาจนได้มีกาจัดสร้างวัดป่านานาชาติ ที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

    ๐ โรคหัวใจ
    เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าเราเป็นโรคหัวใจ ไปตรวจไปเช็คก็ไม่มีวี่แวว จู่ๆ ก็เป็นขึ้นมา มันมีอาการออกมาเมื่อคืนวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๘ ปกติเราไม่เคยป่วยไข้ ก็คิดว่าจะดีขึ้นจะหายได้ ก็อาศัยความอดทน ตอนนั้นมันก็จวนจะไปแล้ว หมดแรงแล้ว หมอคนนึงก็วินิจฉัยว่าอาการแบบน้ มีโอกาสที่จะมรณภาพสูงถึง ๕๘ เปอร์เซ็นต์ หมอเขาก็ไม่ได้ดูนาน ถ้าดูแลไม่ทันก็คงไปแล้ว

    ๐ นิมิตสีทอง
    อาตมาฝันไปว่า เราไปนอนอยู่บนแท่น ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ที่เราไปเทศนาว่าการมาก่อน แล้วรอบๆ ตัวเราก็มีดอกไม้มาสักการะ รอบไปหมด แต่ดอกไม้สิ่งสักการะทั้งหมดเป็นสีทองคำไปหมดเลย ผู้คนที่เคยมานั่งสมาธิสวดมนต์ภาวนากับเรา หรือคนที่เคยมาทำบุญตักบาตรกับเรา ก็มากันหมดทุกคนเลย มานั่งกราบไหว้เราเต็มไปหมด นี่มันฝันแปลกนะ

    ๐ มรณกาล
    ในพรรษาปีนี้ ๒๕๖๐ หลวงตาน้อย ท่านได้เดินทางกลับไปจำพรรษาที่วัดป่านานาชาติ รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาเหมือนเช่นทุกๆ ปี ในคืนวันพุธที่ ๑๖ สิงหาคม เวลา ๒๑.๐๐ น. เวลาท้องถิ่นโดยประมาณ หลวงตาน้อย มีอาการทางหัวใจ หยุดหายใจและปั้มชีพจรขึ้นมาได้ คณะศิษย์ได้ทำการย้ายท่านไปรักษาที่ Reston Hospital Center ซึ่งเป็นโรงพยาบาลใหญ่ประจำเมือง อาการขององค์ท่านทรงตัวดีขึ้นจนกระทั่งเมื่อเวลา ๑๖.๕๑ น. เวลาท้องถิ่น

    ๐ สิ้นโลก เหนือธรรม องค์พ่อแม่ครูอาจารย์พระครูมงคลญาณ หลวงตาคำพอง(หลวงตาน้อย) ปัญญาวุโธ ท่านได้ละสังขารลงอย่างสงบในวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๐ (ตรงกับเวลาในเมืองไทย ประมาณตี ๔ ของเช้าวันศุกร์ที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๐) ณ Reston Hospital Center เมืองเรสตัน ในรัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา สิริอายุ ๗๘ ปี ๖ เดือน ๑๓ วัน ๕๘ พรรษา

    ทางคณะศิษยานุศิษย์วัดป่านานาชาติ รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดพิธีบำเพ็ญกุศลศพ หลวงตาคำพอง ปัญญาวุโธ เป็นเวลา ๗ วัน ก่อนจะมีการประชุมมติคณะสงฆ์เพื่อเคลื่อนสรีระสังขารหลวงตาคำพอง กลับมาประเทศไทย โดยสายการบิน ทีจี ๖๔๑ ถึงวันจันทร์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๕.๒๐ น. จากนั้นจะมีการเคลื่อนสรีระสังขารท่านไปที่วัดป่าศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร เพื่อบำเพ็ญกุศลและพิธีถวายเพลิงสรีระสังขารอันเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน

    “..พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่ตลอดเวลา ใจได้รู้เห็นตามความเป็นจริง จะได้เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย คายจากความยินดีในสังขารร่างกาย อันไม่เป็นแก่นสาร เมื่อเห็นทุก ๆ อย่าง เห็นเป็นอนัตตาก็ไม่มีที่อยู่ อัตตาคือบ้านอยู่อาศัยของกิเลส เมื่ออัตตาไม่มีอยู่ในหัว กิเลสหมดไปโดยอัตโนมัต ภพชาติหมด..” โอวาทธรรมคำสอนของหลวงตาคำพอง (หลวงตาน้อย) ปัญญาวุโธ “พระมหาเถราจารย์ผู้มีปัญญาเป็นอาวุธ”

    ประวัติและปฏิปทาคัดลอกมาจากหนังสือ “คู่ธรรม กรรมฐาน”
    รวบรวมและเรียบเรียงโดย คุณสมบูรณ์ วงษ์วานิช ขออนุญาตและขออนุโมทนาบุญมา ณ โอกาสนี้ครับ . . . ส า ธุ

    ชมภาพบรรยากาศงานถวายเพลิงสรีระสังขารหลวงตาน้อย ปัญญาวุโธ ได้ที่ลิ้งค์
    https://m.facebook.com/thindham/albums/1630293250354543/?ref=bookmarks

    _/_ _/_ _/_

    -๑๗-สิงหาคมเ.jpg
    วันนี้วันที่ ๑๗ สิงหาคมเป็นวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่คำพอง(หลวงตาน้อย) ปัญญาวุโธ รำลึก ๑ ปี “พระอริยสงฆ์ผู้มีปัญญาวุธชำแรกกิเลส” หลวงตาน้อย ท่านมีศักดิ์เป็นหลานของหลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร และเป็นลูกพี่ลูกน้องของหลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม ท่านทั้งสองเป็นสามเณรติดตามหลวงอา คือหลวงปู่สิงห์ทอง ไปศึกษาธรรมกับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และได้เคยไปศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่เพียร วิริโย จนกระทั้งไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่วัดถ้ำกลองเพล ชีวประวัติของท่านน่าสนใจมาก ผมได้คัดลอกมาจากหนังสือ “คู่ธรรมกรรมฐานฯ” จึงจอน้อมนำมาเผยแผ่เป็นสังฆานุสติและมรณานุสตินะครับ…สาธุ

    ๐ ประวัติปฏิปทาของหลวงปู่คำพอง(หลวงตาน้อย) ปัญญาวุโธ

    นามเดิมท่านชื่อ “คำพอง” ถือกำเนิดในสกุล “จันได” เป็นบุตรของพ่อดอน และแม่บุญหนา เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๒ ปีขาล ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา (เทียบจากปฏิทิน ๑๐๐ปี : อ้างอิงจากหนังสือประวัติคู่ธรรม กรรมฐาน หลวงปู่คำพอง ปัญญาวุโธ – หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม) ณ บ้านศรีฐาน ต.กระจาย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ บ้านศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร)

    ๐ บ้านศรีฐาน ถิ่นกำเนิดพระอริยเจ้า
    “บ้านศรีฐาน” เป็นดินแดนอริยภูมิ ที่มีพระอริยสงฆ์ฝ่ายกรรมฐานถือกำเนิดที่นี่หลายรูป โดยเฉพาะในเขตป่าติ้ว ครูบาอาจารย์ได้ถือกำเนิดเป็นจำนวนมาก

    ราวปี พ.ศ.๒๔๖๙ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล พร้อมด้วยคณะพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ออกเที่ยวจาริกเพื่อบำเพ็ญสมณธรรมและเผยแผ่พระศาสนา กระทั่งได้มาถึงหมู่บ้านศรีฐานใน ท่านทั้งสองเกิดความพอใจบริเวณดอนปู่ตา เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมต่อการภาวนา พร้อมทั้งยังได้เทศนาสั่งสอนชาวบ้านให้เลิกนับถือผี แล้วหันมาพึ่งคุณของพระรัตนตรัยแทน และให้เข้าใจวัตรปฏิบัติของพระกรรมฐาน ภายหลังประชาชนจึงเกิดความเลื่อมใสขึ้น ทั้งยังได้พร้อมใจกันถวายดอนปู่ตาให้สร้างเป็นวัดขึ้นมา และได้เรียกกันว่า “วัดป่า”

    ในขณะนั้นวัดศรีษะเกษซึ่งเป็นวัดเดิม ไม่มีพระจำพรรษาอยู่ ชาวบ้านจึงเห็นควรว่าให้รวมวัดเดิมกับวัดป่าให้เป็นวัดเดียวกัน เพราะมีเขตติดต่อกันเพื่อสะดวกต่อครูบาอาจารย์ ซึ่งวัดที่เกิดใหม่นี้ ชาวบ้านได้เรียกกันว่า “วัดป่าศรีฐานใน” มาจนถึงปัจจุบันนี้

    วัดป่าศรีฐานในจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของศรัทธาญาติโยมชาวบ้านศรีฐาน และเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตั้งแต่นั้นมา

    นับตั้งแต่คณะพระกรรมฐานซึ่งนำโดยพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้ให้การอบรมธรรมะแก่ชาวบ้านในครั้งนั้นเป็นต้นมา จากนั้นได้มีลูกหลานชาวบ้านศรีฐานออกบวชประพฤติปฏิบัติภาวนาสืบๆกันมาเป็นจำนวนมากจนถึงปัจจุบัน จึงอาจกล่าวได้ว่า “บ้านศรีฐาน” เป็นถิ่นกำเนิดนักปราชญ์โดยแท้

    ครูบาอาจารย์ในสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่เป็นคนบ้านศรีฐาน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางของสาธุชน อาทิ หลวงปู่บุญช่วย ธัมมวโร วัดศรีฐานใน จ.ยโสธร , หลวงปู่สอ สุมังคโล วัดศรีฐานใน จ.ยโสธร , หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร , หลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง จ.อุดรธานี , หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู , หลวงตาพวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร , หลวงตาสรวง สิริปัญโญ วัดศรีฐานใน จ.ยโสธร , หลวงปู่บุญมา สุชีโว วัดป่าสามัคคีสิริมงคล จ.หนองบัวลำภู , หลวงตาคำพอง(หลวงตาน้อย) ปัญญาวุโธ วัดป่านานาชาติ สหรัฐอเมริกา , หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร เป็นต้น

    บ้านศรีฐานนี้ เป็นบ้านใหญ่มาก ไม่ค่อยรู้จักกัน อย่างหลวงตาสรวง ก็มารู้จักกันตอนบวช บ้านศรีฐานเป็นบ้านใหญ่ ขนาด ๗๐๐ หลังคาเรือนนะ อาตมาอยู่บ้านศรีฐานนอก ส่วนหลวงปู่สิงห์ทอง ท่านอยู่บ้านศรีฐานใน อยู่คนละมุมหมู่บ้าน บ้านศรีฐานนอก อยู่ทางทิศตะวันออก ส่วนบ้านศรีฐานใน อยู่ทางทิศตะวันตก แต่ก็เป็นหมู่บ้านเดียวกัน เราก็ไปแต่วัดศรีฐานนอก ซึ่งเป็นวัดมหานิกายก็ไปถวายจังหัน ถวายเพลอยู่แทบทุกวัน เดินตามพ่อแม่ ปิ่นโตใส่แขนทางซ้าย ๒ ปิ่นโต ทางขวาอีก ๒ ปิ่นโต เดินตามท่าน อายุ ๕ ถึง ๖ ขวบ แม่ให้ไปวัด เราเป็นคนเชื่อฟังพ่อแม่นะ เดินตามพ่อแม่ไป

    สมัยเด็กท่านตัวเล็กกว่าพี่น้องคนอื่น พ่อแม่ท่านจึงเรียกว่า “น้อย” ซึ่งองค์ท่านเป็นญาติมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกันกับหลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร และหลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม โดยโยมมารดาท่านทั้งสามคนเป็นพี่น้องกัน และบวชเป็นแม่ชี ถวายตัวเป็นศิษย์ของคุณย่าชีแก้ว เสียงล้ำ เจดีย์บรรจุอัฐิของคุณแม่ชีทั้งสาม ตั้งอยู่ที่วัดป่าแก้วชุมพล ใกล้กันกับเจดีย์คุณย่าชีแก้ว เสียงล้ำ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร นั่นเอง

    ๐ โยมมารดาของพระเถระทั้งสามรูป มีรายนามดังนี้
    ๑.คุณแม่ชีอบมา ไชยเสนา โยมมารดาของ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร (ถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๗ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    ๒.คุณแม่ชีบุปผา เข็มเพ็ชร โยมมารดาของ ท่านพระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธัมโม (ถือกำเนิดเมื่อวันพุธที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๒ ตรงกับ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ) วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    ๓.คุณแม่ชีบุญหนา จันทร์เหลือง โยมมารดาของ ท่านพระอาจารย์คำพอง (หลวงตาน้อย) ปัญญาวุโธ (ถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีขาล) วัดป่านานาชาติ รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา

    ๔.นอกจากพี่น้องแม่ชีทั้งสามนี้แล้ว ยังมีหลวงปู่ทองสี กตปุญฺโญ วัดป่าสุทธิมงคล อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ซึ่งเป็นพระน้องชายของแม่ชีทั้งสามท่านนี้ และมีศักดิ์เป็นหลวงลุงของพระอาจารย์ทั้งสามท่านอีกด้วย ปัจจุบันหลวงปู่ทองสี กตปุญฺโญ ละสังขารแล้วและกระดูกก็แปรเป็นพระธาตุด้วย

    ๐ คู่ธรรม กรรมฐาน
    อาจารย์อุ่นนี่ (หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม)บ้านอยู่ติดกันนะ เรียนก็เรียนด้วยกัน เล่นก็เล่นด้วยกัน โตขึ้นมาด้วยกัน บ้านอยู่ห่างไม่กี่สิบเมตร ไปไหนก็ไปด้วยกัน พอเลิกเรียนแล้วไปทุ่งนาด้วยกัน ไปเลี้ยงควายด้วยกัน ออกจากพ่อตระกูลเดียวกัน บวชก็บวชด้วยกัน บวชแล้วอยู่กุฏิใกล้กัน เกิดก็ไล่ๆ กัน อาจารย์อุ่นท่านเกิดหลังอาตมา ๓ เดือน

    ๐ ถ้าอุ่นบวช กูต้องบวช
    ประเพณีของบ้านศรีฐาน พออาตมาเรียนจบชั้น ป.๔ แล้วต้องออกบวช โยมแม่อาตมาท่านว่า “มึงออกจากโรงเรียน จบแล้วมึงต้องบวชนะ” ตอนนั้นอาตมาก็ไม่ได้คิดอยากบวชนะ พอดีหลวงลุง ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ท่านกลับมาเยี่ยมบ้านที่ศรีฐาน แม่ของหลวงลุง แม่ของท่านอาจารย์อุ่น แม่ของอาตมา ได้ไปทำบุญกับท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง พอกลับบ้านมาโยมแม่ก็เรียก “น้อยๆ บักอุ่น มันจะบวชแล้วนะ”

    ทางบ้านเรียกท่านพระอาจารย์สิงห์ทองว่า “ญาครู” “ญาครูท่านมา บักอุ่นมันจะไปบวชตามญาครูท่านแล้วเด้” อาตมาก็ “โอ๊ะ..ถ้าอุ่นบวชกูต้องบวช” ตัดสินใจบวชทันทีเลยซิเพราะเป็นเพื่อนสนิทกันมากเลย

    ๐ บรรพชาเป็นสามเณร
    ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเพราะโยมแม่ขอร้อง เมื่ออายุ ๑๓ ปี ญาติได้พาไปฝากตัวกับหลวงปู่บุญช่วย ธัมมวโร เจ้าอาวาสวัดศรีฐานใน บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๕ ณ วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (วัดของหลวงตาสรวง สิริปุญฺโญ ปัจจุบัน) โดยมีพระครูสมุห์บุญสิงห์ วัดศรีธรรมมาราม จ.ยโสธร เป็นพระอุปัชฌาย์

    เฮาบวชนี่ตอนอายุ ๑๓ ย่างเข้า ๑๔ นี่ เป็นเณรตัวยังไม่ใหญ่นะ บิณฑบาตตามก้นหมู่เพื่อนอยู่หางแถวเลย วันนั้นออกบิณฑบาตวันแรก ผ้าสบงหลุดเลย จีวรหลุดเลย บวชใหม่ ๆ ต้องเอาบาตรไปห้อยแขวนไว้ที่เสารั้วข้างทางก่อน แล้วมานุ่งสบงห่มคลุมจีวรให้กันก่อน ก็เพิ่งบวชใหม่ ๆ แล้ววันนั้นพระเณรก็เยอะมาก พระข้างหน้าก็ไม่ได้ดูข้างหลัง พระข้างหน้าก็เลยเดินไปเลย ทิ้งเณรข้างท้ายไว้ โอ้ย อายมากตอนนั้น เลยไม่ฉันจังหัน ไม่กินข้าวเลย อายมาก นี่เป็นเณรอยู่หางแถว บางวันบิณฑบาตก็ได้กล้วย บางวันก็ได้อาหาร เราก็ยังมีญาติ มีโยมแม่มาใส่บาตรให้ แม่ก็ซ่อนไว้ในกระติบข้าว มีปลา มีแจ่ว มีพริก พอลูกเดินบิณฑบาตมาถึง ก็เอาออกมาใส่บาตรให้เณรลูกชาย ก็พอประทังธาตุขันธ์ เป็นเณรน้อยอยู่หางแถวเลย

    ปี ๒๔๙๕ อาตมาจำพรรษาและเรียนหนังสือด้วยกันกับอาจารย์อุ่นหล้า อยู่ที่บ้านศรีฐานใน ไปอยู่เป็นเณร อยู่ไป ๆ ก็คุ้นเคยกับหมู่เพื่อนเณรรุ่น ๆ เดียวกัน ก็สนุกสนาน ความคิดที่จะสึก ก็ค่อย ๆ จืดจางหายไป ก็เรียนนักธรรมตรีกัน แล้วก็สอบได้นักธรรมตรีในปีนั้น

    ๐ เดินจงกรมครั้งแรก
    หลวงปู่บุญช่วย ธัมมวโร ท่านเป็นอาจารย์องค์แรกที่อยู่บ้านศรีฐานใน บวชเณรมาพรรษาแรกก็เรียนหนังสืออย่างเดียว มีแต่หลวงปู่บุญช่วย ท่านสอนปฏิบัติ “ภาวนาพุทโธๆ นะเณร” เวลา ๒ ทุ่ม ๓ ทุ่ม ท่านเดินจงกรมเสร็จ เราก็ไปอุปัฐฐาก ไปนวดจับเส้นหลวงปู่บุญช่วย ท่านก็เล่าว่า พ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ท่านเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติดี ก็ได้ยินได้ฟังบ่อยมาก แต่ตอนนั้นยังไม่รู้เรื่อง แล้วหลวงปู่บุญช่วย ท่านก็เดินจงกรมเป็นประจำ ท่านก็สอนให้เราเดินจงกรม “เณร เดินจงกรมนะ ให้เอาพุทโธๆ นะ” เริ่มหัดเดินจงกรมตอนเป็นเณร กุฏิของเราอยู่กลางป่า อยู่ในป่าช้า คนตายก็เอาไปเผาที่นั่น กลัวก็กลัวนะ แต่มันมีศรัทธา พออุปัฏฐากหลวงปู่บุญช่วยเสร็จ ก็ลงจากกุฏิท่าน เดินผ่านป่าช้าไปกุฏิตนเอง แทบจะวิ่งไปเลย กลัวผีไปถึงก็นอน แต่ถ้าท่านสั่งให้เดินจงกรม เราก็ต้องเดินจงกรมก่อนนะ

    พอออกพรรษาปี พ.ศ.๒๔๙๕ แล้ว พ่อก็ถามว่า ” จะสึกไหม จะซื้อกางเกงมาให้ ” ตอนนั้นบวชกันตั้งหลายคนนะ ตั้ง ๑๐ ถึง ๒๐ คนนะ พอเวลาบวช ก็ชวนกันบวช พอถึงเวลาออกพรรษา ก็ชวนกันสึกนะ เขาก็พากันสึก ก็อยากสึกอยู่นะ แต่สึกไม่ได้เพราะเป็นห่วงอาจารย์ ถ้าเราสึก ใครจะต้มน้ำร้อนให้ท่านสรง ให้ท่านฉัน ก็ถือว่าท่านเหมือนพ่อเลย รักท่านมากเลย พอพ่อจะซื้อกางเกงมาให้สึก ก็เลยบอก ” ยัง ๆ เดี๋ยว ๆ เอาไว้ก่อน ” คิดถึงอาจารย์ รักท่านมาก ต้มน้ำร้อน น้ำชาถวายท่าน พออยู่กับท่าน ท่านก็สงสารเมตตา ไปไหนก็เอาไปด้วย ตอนที่พ่อจะให้สึก ก็ไม่อยากสึกเพราะรักอาจารย์

    ๐ ตามครูบาแก้วไปภาวนาอยู่ถ้ำเจ้าผู้ข้า
    ช่วงอยู่ที่บ้านศรีฐาน ก็ได้แต่เรียนหนังสืออย่างเดียว พระปฏิบัติมีแต่หลวงปู่บุญช่วยองค์เดียวที่ปฏิบัติภาวนา นั่งสมาธิ เดินจงกรม นอกนั้นมีแต่เรียนหนังสือ พอดีช่วงนั้นครูบาแก้ว ลูกศิษย์หลวงปู่บุญช่วย ท่านอยู่วัดท่าสองคอน อ.พรรณานิคม มาเยี่ยมครูบาอาจารย์ที่บ้านศรีฐาน

    อาตมาเกิดความศรัทธาเลื่อมใส ก็เลยขอหลวงปู่บุญช่วยท่าน จะขออยู่กับครูบาแก้ว ครูบาแก้วก็เลยพาธุดงค์ไปภาวนาอยู่ถ้ำเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม ไปบิณฑบาตนี่ระยะทางเดินก็ไกล ๓ กิโลเมตรนะ พอสว่าง ก็ออกบิณฑบาตไป มีคนใส่บาตรแค่ ๒ คนเท่านั้น เขาอยู่ที่เถียงนาอยู่ไร่ เขาทำตะแคร่เอาผ้าขาวปูสำหรับให้นั่งรอ เขาก็ตำข้าวกะจ๊อก ๆ โห น่าสงสาร ตำข้าวด้วยครกมอง ใช้เท้าเหยียบกระเดื่อง พอเราไปนั่งรอ เขาเห็นแล้ว เขาก็รีบล้างมือ แล้วเอากระติ๊บข้าวมาใส่บาตร มีอยู่ ๒ คนพี่น้องเท่านั้น ชื่อบ้านพ่อไท
    พอบิณฑบาตเสร็จกลับ ก็ต้องถอดจีวรออก ร้อนมาก ข้างทางจะมีแต่ต้นบักม๊อบลูกดำๆ ลูกขนาดลูกมังคุด เนื้อ-เม็ดก็ดำ หอมหวาน กินกับข้าว ก็จะถอดจีวรออก แล้วก็ไปเก็บใส่ฝาบาตร ก็จะเก็บลูกม๊อบ เก็บผักตามข้างทางใส่ฝาบาตรไปด้วยทุกวัน

    บางทีหลังจากสรงน้ำตอนเย็นแล้วขึ้นไปบนหลังเขาเจ้าผู้ข้า มันจะมีผักหนาม ผักตบ ผักอะไรก็เก็บมา ครูบาแก้วก็ว่า “เณรมาอยู่ที่นี้ ต้องปฏิบัติให้ดีนะ ที่นี่ศักดิ์สิทธิ์มากนะ” “ถ้าเณรคิดเรื่องโลกเรื่องสงสารนี่ จะวิบัตินะ ให้ตั้งใจปฏิบัตินะ” “เณรให้เอาธรรมปฏิบัติ คิดเรื่องพุทโธอย่างเดียวนะ ถ้ำนี้หากคิดเรื่องโลกเรื่องสงสาร จะวิบัติเลย”

    ถ้ำนี้พระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน พี่ชายพระอาจารย์กว่า สุมโน มามรณภาพอยู่ในถ้ำนั้น ถ้ำเล็กนิดเดียว ไปอยู่ที่นั่น ครูบาท่านก็อยู่ในถ้ำ ส่วนอาตมาก็อยู่ในเงิบหิน แล้วก็มีตะแคร่ข้างล่าง มีทางผ่าน แล้วก็เป็นเหว อาตมาก็นอนที่ตะแคร่นี้

    ๐ ดาบส ที่ถ้ำเจ้าผู้ข้า
    ที่ถ้ำนั้นมีคนหนึ่งชื่ออาจารย์แก้ว บวชนาน พอสึกไป เขาจะเรียกอาจารย์ในถ้ำเจ้าผู้ข้า พอคลานเข้าไป มันเป็นโพรงข้างใน พอพ้นศรีษะพอดี ก็จะอาราธนา พออาราธนาเสร็จ ก็จะได้ยินเสียงดาบส เสียงคนสักไม้เท้าดัง ” ตึ้ก ๆ ” เป็นดาบส ฤาษีนุ่งขาวห่มขาว บางครั้งพออาราธนาเสร็จ ก็ได้ยินเป็นเสียงเทศน์

    มีคืนหนึ่ง เป็นคืนเดือนหงาย อาตมาได้ยินเสียงเดินมาจากทางถ้ำ อาตมาอยู่ที่เงิบหิน ถัดมาจากถ้ำเล็กน้อย ตรงนั้นพอจะกางกลดนอนได้พอดี อาตมาได้ยินเสียงเดิน ก็เลยคิดว่า เอ ครูบาแก้วมาเยี่ยมหรืออย่างไรหนอ ตอนนั้นประมาณ ๓ ทุ่มกว่า อาตมานั่งสมาธิอยู่ ” อ้าว ไม่ใช่ครูบานี่ ” เป็นตาปะขาว เป็นดาบสนุ่งขาวห่มขาว ถือไม้เท้าหลังค่อม ๆ อายุประมาณ ๗๐ ถึง ๘๐ ปี เดินมา ก็รู้สึกทั้งกลัวทั้งสั่นเลย พอเห็นเท่านั้น ก็เลยหลับตาเข้าสมาธิแน่วไปเลย ดาบสเฒ่าก็ไม่ได้ทำอะไร ก็เดินผ่านไป

    ๐ ได้พบเห็นพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นแรงบันดาลใจ
    ปี พ.ศ.๒๔๙๗ หลวงปู่บุญช่วย พาสามเณรน้อย เดินทางไปวัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร เพื่อรำลึกวันมรณภาพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นปีแรกออกจากงานสามเพ็ง วัดป่าสุทธาวาส แล้วก็มาที่บ้านโนนภู่ แต่จำไม่ได้ ว่าเป็นงานอะไร แต่ครูบาอาจารย์มากันเต็มไปหมด พากันมากวาดลานวัด สะอาดสะอ้าน เดินไปตามวัด ในวัดป่าบ้านโนนภู่ เห็นทางจงกรม…
     
  12. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    จงแผ่เมตตา ให้สรรพสัตว์ทั่วไป
    แม้ที่เป็นศัตรู คนที่ท่านรัก คนที่เขารักท่าน

    ที่จริงไม่แปลกอะไรเลย ใครๆ ก็ทำได้
    แต่ที่แปลกทำได้ยาก และเป็นผลดีที่สุด
    นั้นคือ…

    “ต้องรักคนที่เขาเกลียดท่านด้วย”

    -:-ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต-:-

    -ให้สรรพสัตว์.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  13. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    นิสัยเทวดาทำบุญ กับ นิสัยเปรตทำบุญ

    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต ธรรมะบนเขา ณ จุลศาลา เขตปฏิบัติธรรมเขาชีโอนวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี ท่านได้พูดไว้เกี่ยวกับนิสัยของคน เป็นการพูดให้คิด หรือเปรียบเทียบนิสัยของมนุษย์ ว่าเป็นอย่างไร และท่านได้เคยบอกไว้ว่านิสัยเทวดาทำบุญ กับ นิสัยเปรตทำบุญนั้นแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งมันสะท้อนกับสังคมปัจจุบันอย่างมาก ไปดูกันว่านิสัยในการทำบุญของเปรต และเทวดาเป็นยังไง

    เทวดากับเปรต อยู่คนละมุมกัน อยู่คนละด้านกัน เทวดาจะไม่ทำบาป จะมีแต่ให้ จะไม่อยากได้อะไร อยากให้ ให้แล้วมีความสุข

    เปรตนี้อยากได้ ได้แล้วมีความสุข ได้แบบไม่ถูก ได้ด้วยการทำบาป ด้วยการฉ้อโกง ด้วยการโกหกหลอกลวง ด้วยการลักทรัพย์ ด้วยการฆ่าผู้อื่น อันนี้จะทำให้ใจหิวโหย ได้เท่าไหร่ก็ไม่พอ ได้หนึ่งล้านก็อยากจะได้สองล้าน ได้สองล้านก็อยากจะได้สามล้าน อันนี้ก็ทำให้หิวให้อยากเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ

    ส่วนคนชอบให้ จะไม่โลภอยากได้ อยากแต่จะให้ ให้แล้วมีความสุข แล้วไม่อยากเบียดเบียนผู้อื่น ไม่อยากทำบาป ทำมาหากินก็ด้วยวิธีสุจริต ได้เงินมามากเกินกว่าจะใช้ได้ก็เอาไปทำบุญทำทาน นี่เป็นลักษณะของเทวดา ไม่ได้หวังจะต้องร่ำรวยมหาศาล แค่ทำมาหากินพออยู่ได้กินได้ ไม่เดือดร้อนก็พอแล้ว นิสัยเทวดาจะเป็นแบบนี้ ไม่โลภ ไม่อยากเกินความจำเป็น ขอให้พอมีพอกิน พอมีเกินกว่านั้นก็เอาไปทำบุญ

    เราเคยบิณฑบาตที่กรุงเทพฯ มีร้านขายของอยู่ร้านหนึ่ง วันหนึ่งๆเขาจะใส่บาตรพระเป็น100รูป หุงข้าวหม้อเบ้อเร่อเลย เขาเตรียมใว้ ฐานะเขาก็ไม่ร่ำรวยอะไร มีห้องแถวสองห้อง ขายของอะไรตามปกติ แต่ใจเขาไม่โลภ ใจเขามีความสุขจากการทำบุญ นี่แหละคือลักษณะของเทวดา

    พวกที่โลภส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลามาทำบุญ พวกที่เป็นเศรษฐีร้อยล้านพันล้าน ถามมันเคยใส่บาตรหรือเปล่า ถ้าทำบุญก็ทำแบบเอาหน้าเอาตา ต้องมีการถ่ายรูปลงหนังสือพิมพ์ บริษัทของเราได้ทำโน่นทำนี่ อันนี้ไม่ได้ทำเพราะการให้ ทำด้วยความโลภ โลภจะได้ขายของเยอะขึ้น โลภแบบเป็นการโฆษณาแฝงในตัว ประชาสัมพันธ์ การตลาด คนที่ทำบุญด้วยความโลภ มันทำแบบนี้ จึงไม่ได้เป็นเทวดา ก็ยังเป็นเปรตอยู่นั่น เพราะยังโลภยังอยากได้อยู่

    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโตธรรมะบนเขา ณ จุลศาลา เขตปฏิบัติธรรมเขาชีโอน วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรีได้โพสต์เรื่องราวนี้เมื่อ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 แต่ยังเป็นเรื่องราวที่สอนใจและเตือนสติใครหลายคนได้

    -กับ-นิสั.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  14. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    วันนี้วันที่ ๑๗ สิงหาคมเป็นวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่เจ้าคุณพระชินวงศาจารย์ (หลวงปู่อุดม ขนฺติพโล) รำลึก ๒ ปี บรรดาศิษย์ล้วนต่างเรียกท่านว่าหลวงตาชิน อันเป็นนามสมณศักดิ์ของท่านนั่นเอง หลวงตาชิน ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนรูปหนึ่งองค์ท่านติดตามหลวงลุงของท่านขณะมีวัยแค่ ๖ ขวบไปกราบที่สำนักของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงตาชินเมื่อถึงวัยอุปสมบท ท่านก็ขยันหมั่นเพียร ทั้งทางปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ท่านเคยได้ไปศึกษาอบรมธรรมกับหลวงปู่ขาว อนาลโย , หลวงปู่ชอบ ฐานสโม , หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงปู่ศรี มหาวีโรเป็นต้น อีกทั้งท่านยังเคยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบด้านฝ่ายบริหารคณะสงฆ์โดยเคยได้ดำรงตำแหน่ง อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอปักธงชัย(ธรรมยุติ) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเวฬุวัน(ธ) ต.เมืองปัก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา จึงขอน้อมนำประวัติปฏิปทาของหลวงตาชิน หรือหลวงปู่อุดม ขันติพโล เพื่อรำลึกเป็นสังฆานุสติและมรณานุสติครับ

    ชาติภูมิ
    หลวงตาชิน มีนามเดิมว่า อุดม เขตเจริญ ท่านถือกำเนิดเมื่อ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๒ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะเส็ง ที่บ้านท่าสองคอน หมู่ที่ ๘ ตำบลท่าดินแดง อำเภอแซงบาดาล จังหวัดร้อยเอ็ด โยมบิดาชื่อ พึ่ง โยมมารดาชื่อ คำผัน หลวงตามีพี่น้องร่วมมารดา ๕ คน ท่านเป็นบุตรคนโต

    ชีวิตปฐมวัย
    เนื่องจากครอบครัวของท่านมีอาชีพทำนา ทำสวน การดำเนินชีวิตก็เหมือนชาวนาทั่วไป ชีวิตจึงมีความผูกพันกับท้องทุ่ง ไร่นา ขณะที่ท่านอายุได้ ๔ ขวบ บิดาได้นำไปฝากเป็นลูกศิษย์วัดใกล้บ้าน กับท่านพระอาจารย์วิสุทธิ์ วิสุทฺโธ(ต่อมาได้รับสมศักดิ์เป็นพระครูวิสุทธิธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าสุวารีวิหาร และรองเจ้าคณะอำเภอธวัชบุรี) ผู้เป็นหลวงลุง เพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียน เพราะการศึกษาสมัยนั้นต้องเรียนในวัดโดยมีพระครูเป็นผู้สอน และ เพื่อให้ท่านได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา และได้ซึมซับรับเอาคุณธรรมมาเป็นเครื่องหล่อหลอมจิตใจ

    เมื่อท่านมาเป็นลูกศิษย์วัดแล้ว ก็ยังไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนได้ เพราะเด็กที่จะเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาได้ต้องมีอายุ ๗ ขวบ ดังนั้นท่านได้ใช้เวลาในช่วงนี้เรียนหนังสือกับพระอาจารย์ผู้เป็นหลวงลุงของท่านก่อน โดยการเรียนต้องอาศัยการท่องจำและการเขียนตามคำบอกโดยเรียนหนังสือในตอนกลางวัน ตกเย็นต้องคอยรับใช้อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ ซึ่งครูบาอาจารย์ก็จะอบรมสอนธรรมะและเล่านิทานชาดกให้ฟังโดยตลอด จึงทำให้ท่านได้รับการอบรมทั้งความรู้ และคุณธรรมไปพร้อมกัน

    ปี พ.ศ.๒๔๗๘ ขณะที่ท่านอายุได้ ๖ ขวบ พระอาจารย์ของท่านได้ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมตามป่าเขาในเขตภาคอีสาน ท่านจึงได้ติดตามพระอาจารย์ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรด้วย บางครั้งก็เข้าไปศึกษาในสำนักปฏิบัติธรรมของครูบาอาจารย์ต่างๆ โดยท่านได้มีโอกาสอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์หลายท่าน และได้ร่วมปฏิบัติธรรมกับสามเณรด้วย กระทั่งสำนักสุดท้ายที่ท่านออกธุดงค์ครั้งนั้นคือ ท่านได้ไปปฏิบัติธรรมในสำนักของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่ถ้ำค้อ จ.สกลนคร

    ในปี พ.ศ.๒๔๗๙ ท่านได้ติดตามพระอาจาย์ไปกรุงเทพ เพื่อกราบพระอมราภิรักขิต ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระอาจารย์ที่วัดบรมนิวาส ได้เข้าพักที่กุฏิเสงี่ยม คณะ ๓ โดยในปีนั้นพระอาจาย์ท่านได้จำพรรษาที่วัดบรมนิวาสนั้นเอง

    เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์
    ท่านได้ขอบวชกับพระครูวิสุทธิธรรมคุณ พระอาจารย์ โดยได้รับการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดมิ่งเมือง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๑ โดยมีพระราชสิทธาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระใบฎีกาสมศักดิ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาเนาว์ นวโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ขนฺติพโล” แปลว่า “ผู้มีกำลังคือความอดทน”

    การศึกษาพระธรรมวินัย
    เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าสุวารีวิหารกับพระอาจารย์ ไดรับการอบรมจาพระอาจารย์พร้อมกับการศึกษาปริยัติธรรมควบคู่กันโดยสามารถสอบไล่ได้ดังนี้
    พ.ศ.๒๕๐๑ สอบได้นักธรรมตรี
    พ.ศ.๒๕๐๒ สอบได้นักธรรมชั้นโท
    พ.ศ.๒๕๐๓ สอบได้นักธรรมชั้นเอก
    เข้าศึกษาอบรมในสำนักครูบาอาจารย์

    หลังออกพรรษา พ.ศ.๒๕๐๕ ขณะที่ท่านบวชได้ ๕ พรรษา ซึ่งถือว่าพ้นนิสัยแล้ว เพราะได้รับการอบรมข้อวัตรปฏิบัติจากครูอาจารย์เป็นเวลา ๕ ปี ท่านเห็นว่าหากอยู่ที่ใดที่หนึ่งนานจะทำให้เกิดพลิโพธ คือความห่วงกังวลอาลัยอาวรณ์ ทำให้การศึกษาและปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้า ท่านจึงได้กราบลาพระอาจารย์เพื่อออกธุดงค์และปฏิบัติตามอย่างปฏิทาครูบาอาจารย์โดยได้ไปศึกษาและปฏิบัติธรรมในสำนักของหลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ดเป็นเวลา ๓ เดือน

    หลังจากนั้นจึงได้กราบลาหลวงปู่ศรี มหาวีโร ออกเดินทางจากร้อยเอ็ดไปวัดถ้ำขาม จ.สกลนครเพื่อกราบและพักปฏิบัติธรรมในสำนักของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ขณะอยู่ที่ถ้ำขาม หากเกิดความลังเลสงสัยในการปฏิบัติธรรม ก็ได้รับความเมตตาจากหลวงปู่ฝั้นตอบข้อสงสัยอธิบายธรรมปฏิบัติจนแจ่มแจ้ง ทำให้มีกำลังใจและความอุตสาหะในการปฏิบัติสมาธิภาวนาเป็นอย่างมาก

    หลังจากพักปฏิบัติธรรมที่วัดถ้ำขาม เป็นเวลา ๑ เดือนแล้วจึงได้กราบลาหลวงปู่ฝั้น เพื่อเดินทางไปที่จังหวัดหนองคายโดยพักที่วัดป่าอรุณรังสี ซึ่งเป็นศูนย์รวมของพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และได้จำพรรษาที่วัดป่าอรุณรังสี เป็นเวลา ๑ พรรษา

    ธุดงค์วิเวกข้ามฝั่งลาว
    หลังออกพรรษา รับกฐินแล้วท่านได้ธุดงค์ไปฝั่งลาวโดยข้ามทางจังหวัดหนองคาย ไปพักที่ชานเมืองนอกเมืองเวียงจันทร์ รุ่งขึ้นได้ไปนมัสการพระธาตุหลวงเวียงจันทร์ ซึ่งเป็นพระธาตุเจดีย์ที่สร้างใหญ่โตมากในสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชพระเจ้าแผ่นดินผู้สร้างเวียงจันทร์ พักปฏิบัติธรรมที่เมืองเวียงจันทร์พอสมควรแล้ว จึงได้มุ่งหน้าต่อไปยังหลวงพระบาง

    กราบหลวงปู่ขาว อนาลโย
    เมื่อถึงหลวงพระบางแล้วได้พักปฏิบัติธรรมตามวัดต่างๆ ที่อยู่รอบๆ หลวงพระบาง จวนกระทั่งจะเข้าพรรษา จึงได้กลับมาฝั่งไทยโดยได้เดินทางไปยังวัดถ้ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานี เพื่อกราบหลวงปู่ขาว อนาลโย ศิษย์รุ่นแรกของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้พักปฏิบัติธรรมและเข้ารับการอบรมข้อวัตรปฏิบัติจากหลวงปู่ขาว เป็นเวลา ๑ เดือนจึงได้กราบลาหลวงปู่เพื่อเดินทางต่อไปยังเขาใหญ่

    ในพรรษาปี พ.ศ.๒๕๐๗ ได้จำพรรษาที่ถ้ำสะพานหิน อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ซึ่งมีเขตติดต่ออับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีความสงบ ร่มรื่น และอากาศสดชื่นตลอดปี นับเป็นความสัปปายะของสถานที่เหมาะแก่การบำเพ็ญจิตภาวนาอย่างมาก ในพรรษานั้นจึงได้ทำความเพียรอบรมสมาธิภาวนาและพิจารณาหลักธรรมต่างๆ ที่ครูบาอาจารย์ได้อบรมมา ทำให้มีกำลังใจและอิ่มเอิบในธรรม

    รับภาระเป็นเจ้าอาวาส
    พอออกพรรษาแล้ว ท่านได้ออกเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่ทางเจ้าหน้าที่อนุญาตให้พักได้ชั่วคราวเท่านั้นทำให้ต้องเดินทางไปมาระหว่างที่พักสงฆ์และเขาใหญ่เป็นประจำกระทั่งถึงวันวิสาขบูชา ท่านได้เดินทางไปร่วมประชุมอุโบสถที่วัดเขาไทรสายัณห์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งวัดนี้มีท่านจ้าคุณ พระราชมุนี (โฮม โสภโณ) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร มาสร้างให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรม และมีอุบาสิกาเล็ก ล่ำชำ เป็นผู้อุปถัมภ์ในการสร้างวัด หลังจากฟังพระปาติโมกข์เสร็จแล้วได้เข้าไปกราบท่านเจ้าคุณ และท่านเจ้าคุณได้ไต่ถามถึงบ้านเกิดและพระอุปัชฌาย์ ทำให้ได้ทราบว่าท่านเป็นสัทธิวิหาริกของพระราชสิทธาจารย์ ซึ่งท่านเจ้าคุณทั้งสองต่างก็เป็นสหธรรมมิกกันโดยต่างก็บวช ในพระอุปัชฌายะองค์เดียวกัน คือ พระปัญญาพิศาลเถร(หนู) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร เมื่อทราบดังนั้น ท่านเจ้าคุณจึงชักชวนให้มาช่วยดูแลวัดเขาไทรสายัณห์ถึงแม้จะพยายามบ่ายเบี่ยงแต่ท่านเจ้าคุณขอร้องให้ช่วยดูแลสัก ๓ พรรษา จึงได้ตอบตกลงท่าน รับเป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดเขาไทรสายัณห์

    ๓ ปีที่วัดเขาไทรสายัณห์
    หลังจากตอบตกลงรับเป็นผู้ดูแลวัดเขาไทรสายัณห์ ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ เพื่อเป็นการสนองพระคุณของท่านเจ้าคุณพระราชมุนี จึงได้เริ่มต้นพัฒนาวัด คือ
    ๑. ได้นำคณะทำถนนขึ้นไปบนเขา
    ๒. ได้สร้างศาลา ๑ หลังจนแล้วเสร็จ
    ๓. ได้ขอไฟฟ้ากับทางราชการ จนติดตั้งแล้วเสร็จ

    ลุถึงปี พ.ศ.๒๕๑๑ ได้เกิดอธิกรณ์ขึ้นภายในวัดตัวท่านเองเกรงว่าหากเหตุการณ์ยังเป็นอยู่เช่นนี้ จะทำให้เรื่องราวลุกลามยิ่งขึ้น อันจะเกิดความเสื่อมเสียแก่วัด และได้พิจารณาถึงการที่ท่านเจ้าคุณได้ขอร้องให้มาช่วยดูแลวัดเขาไทรสายัณห์ ๓ พรรษา บัดนี้ครบกำหนดที่รับปากไว้พอดี ดังนั้นท่านจึงได้ออกจากวัดเขาไทรสายัณห์

    มุ่งสู่ปักธงชัย
    เมื่อออกจากวัดเขาไทรสายัณห์แล้ว ท่านพร้อมด้วยคณะมีพระเณร ๘ รูป และแม่ชี ๕ คน ได้เดินทางมาตามเชิงเทือกเขาใหญ่ย้อนขึ้นมาอำเภอปักธงชัย โดยปักกลดนั่งพักชั่วคราวอยู่ที่ป่าไผ่กุดกว้าง ห่างจากอำเภอปักธงชัยประมาณ ๓ กิโลเมตร

    ขณะนั้นความจริงเกี่ยวกับวัดไทรสายัณห์ปรากฏขึ้น ความได้ทราบถึงท่านเจ้าคุณ พระธรรมบัณฑิต (ญาณ ญาณชาโล) เจ้าคณะภาค ๑๑ วัดสุทธจินดา ท่านจึงมีคำสั่งให้เข้าพบและถามข้อเท็จจริง จึงได้กราบเรียนเรื่องราวทั้งหมดให้ท่านทราบ ท่านจึงเมตตาแนะนำให้เลือกวัดที่สะดวกพอจะพักอาศัย คือ วัดป่าสาลวัน วัดป่าศรัทธารวม หรือวัดศาลาลอย จึงกราบเรียนว่า วัดทั้งสามอยู่ในตัวเมือง ในอนาคตจะเป็นชุมชนใหญ่มีแต่ความวุ่นวายหาความสงบได้ยาก จึงขอกลับไปตำพรรษาที่ปักธงชัยตามเดิม

    การพัฒนาวัดป่าเวฬุวัน
    คณะของหลวงพ่อเดินทางมาถึงวัดป่าเวฬุวัน เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๑ โดยวันแรกได้เกิดนิมิตปรากฏว่าตรงนี้เป็นที่อยู่ของคนโบราณมาก่อน จึงได้สอบถามชาวบ้าน ทำให้ทราบว่าที่แห่งนี้มีบูรพาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระมาวางรากฐานการปฏิบัติธรรมเบื้องต้นเป็นแห่งแรกของอำเภอปักธงชัย ทำให้เกิดปีติในใจว่าควรที่จะทำนุบำรุงที่แห่งนี้ต่อไป เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของบูรพาจารย์

    ในระยะแรก มีความเป็นอยู่ลำบาก การคมนาคมไม่สะดวกอาศัยความสงบของสถานที่จึงทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติธรรมมากขึ้นในส่วนการปกครองนั้น ความได้ทราบถึงท่านเจ้าคุณพระธรรมบัณฑิต(ญาณ ญาณชาโล) เจ้าคณะภาค ๑๑ วัดสุทธจินดา ว่าพระอุดม ขนฺติพโล พักจำพรรษาที่สำนักสงฆ์ป่าไผ่ บ้านดู่ ท่านจึงมอบหมายให้พระครูสุนทรธรรมโกศล (โกศล สิรินฺธโร ปัจจุบันเป็นพระธรรมโสภณ) เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดนครราชสีมาออกคำสั่งแต่งตั้งรักษาการหัวหน้าสำนักสงฆ์ป่าไผ่ (กุดกว้าง) ดังนั้น ท่านจึงได้ดำเนินการขอตั้งวัด โดยตั้งชื่อวัดป่าไผ่แห่งนี้ว่า วัดป่าเวฬุวัน และขออนุญาตเขตวิสุงคามสีมาตามระเบียบของทางราชการและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๕

    ประวัติวัดป่าเวฬุวัน
    วัดป่าเวฬุวัน เดิทเป็นป่าไผ่ริมฝั่งน้ำกุดกว้าง บ้านดู่ หมุ่ที่๖ ตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม (ต่อมาเป็น พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์) ศิษย์รุ่นแรกหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้นำคณะศิษย์เดินทางมาจากเขาตะกรุดรัง ตำบลสะแกราช มาพักที่ป่าไผ่แห่งนี้เพื่อแสดงธรรมโปรดชาวอำเภอปักธงชัย เจ้าของป่าไผ่แห่งนี้เกิดศรัทธาเลื่มใสจึงสร้างถวายเพื่อเป็นที่พักสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันสร้างกระท่อมเพื่อเป็นที่พักอาศัยของพระเณรจำนวนหลายสิบหลัง ตกเย็นชาวบ้านไผ่ บ้านดู่ และบ้านใกล้เคียงในอำเภอปักธงชัย ได้มารวมกันเพื่อฟังการอบรมและปฏิบัติธรรมครั้งหลวงปู่สิงห์ เดินทางกลับวัดป่าสาละวัน ท่านก็ได้มอบหมายให้พระส่วนหนึ่งอยู่ประจำเพื่ออบรมสั่งสอนประชาชน

    ในปีต่อมา ปี พ.ศ.๒๔๗๙ หลวงปู่สิงห์ได้นำคณะกองทัพธรรมหลวงปู่มั่น ซึ่งมีครูบาอาจารย์หลายรูปร่วมคณะมาด้วย เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่สิงห์ หลวงปู่คำดี ปภาโส หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ หลวปู่ลี ธมฺมธโร เป็นต้น เดินทางมาโปรดญาติโยมชาวอำเภอปักธงชัย เป็นครั้งที่ สอง โดยได้พักที่วัดป่าเวฬุวันประมาณเดือนเศษ เพื่อเทศนาอบรมกรรมฐานให้แก่ลูกศิษย์ผู้ติดตามและชาวบ้านที่มารับการอบรมในตอนค่ำคืนแทบทุกวัน
    หลังจากนั้นก็มีครูบาอาจารย์ผลัดเปลี่ยนกันมาพักอาศัยแต่ไม่ค่อยแน่นอน ทำให้เป็นไปอย่างลุ่มๆ ดอนๆ แตะมีพระประจำอยู่ได้นานเกือบ ๕ ปี คือ พระอาจารย์จันตา (มรณภาพแล้ว) ต่อมาระหว่างปี พุทธศักราช ๒๔๙๘ – ๒๔๙๙ มีพระอาจารย์สำราญ ทนฺตจิตฺโต (วิริยานุภาพ) ได้มาจำพรรษาอยู่ ๓ ปี แล้วจึงย้ายไปอยู่วัดป่าจักราช อำเภอจักราช ส่วนพระที่อยู่ดูแลป่าไผ่ตรงนี้บางปีกไปนิมนต์มาจากวัดป่าสาลวัน บางปีก็นิมนต์มาจากวัดศาลาทอง มาจำพรรษา

    วันมาฆบูชาได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถโดยมีหลวงพ่อพุธ ฐานิโย เป็นประธาน เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๑๗ พลเอก กฤษณ์ ศรีวะรา ผู้บัญชาการทหารบกได้มาประกอบพิธีหล่อพระประธานที่วัดป่าเวฬุวัน พร้อมด้วย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง แม่ทัพภาคที่ ๒ เมื่อหล่อพระประธานเสร็จแล้ว ได้กราบทูลขอประทานนามพระประธานจากเจ้าประคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสโน) สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยสมเด็จพระสังฆราชได้ประทานพระนามว่า “พระสัมพุทธชัยมงคลสุวิมลอนันตญาณ”

    มรณนิมิต
    ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๖ หลวงตาท่านได้นิมิตว่าท่านได้มรณภาพลง คณะศิษย์ได้นำร่างไร้วิญาณขึ้นสู่เมรุเพื่อทำการฌาปนกิจ ขณะที่กำลังนำร่างขึ้นสู่เชิงตะกอนนั้น ปรากฏว่าวิญญาณได้กลับเข้าสู่ร่าง ท่านจึงได้ชูมือขึ้นเหนือศีรษะเพื่อให้สัญญาณว่าฟื้นแล้ว ทำให้ผู้พบเห็นตกใจวิ่งหนีกันอลหม่าน ท้ายที่สุดคณะศิษย์จึงช่วยกันปฐมพยาบาลจนท่านฟื้นคืนมา เมื่อตื่นตอนเช้าหลังจากทำวัตรเสร็จ ท่านจึงพิจารณานิมิตดังกล่าวและถือว่าเป็นเหมือนเทวทูตที่มาเตือนให้ทราบว่าวันเวลาของชีวิตเหลือน้อยนิดเต็มทีแล้ว จงรีบขวนขวายทำความดี เหมือนดังปัจฉิมพจน์ของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทานไว้ก่อนปรินิพานว่า “หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ” แปลว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา ขอเธอทั้งหลายจงทำประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมเถิด” ดังนั้น หลวงพ่อจึงได้ฝากถึงสหธรรมิกและศิษย์ทั้งหลายว่า อย่าได้รอช้า รอวันเวลาที่จะสร้างความดีแก่สังคม เพราะความดีที่ทำไว้จะเป็นเหมือนกระจกเงาที่ส่องสะท้อนให้เห็นตัวเอง ควรประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ด้วยจิตที่เป็นสัมมาทิฐิเถิด

    การมรณภาพ
    หลวงตาชิน หรือหลวงปู่อุดม ขันติพโล ท่านละสังขารลงอย่างสงบ เมื่อวันพุธที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ เวลา ๒๑.๔๐ น. สิริอายุรวม ๘๖ ปี ๑๐ เดือน ๒๖ วัน ท่านมรณภาพลงในช่วงเข้าพรรษาที่ ๕๙ แห่งการอุปสมบทของท่าน

    _/_ _/_ _/_

    1534509128_748_วันนี้วันที่-๑๗-สิงหาคมเ.jpg
    วันนี้วันที่ ๑๗ สิงหาคมเป็นวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่เจ้าคุณพระชินวงศาจารย์ (หลวงปู่อุดม ขนฺติพโล) รำลึก ๒ ปี บรรดาศิษย์ล้วนต่างเรียกท่านว่าหลวงตาชิน อันเป็นนามสมณศักดิ์ของท่านนั่นเอง หลวงตาชิน ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนรูปหนึ่งองค์ท่านติดตามหลวงลุงของท่านขณะมีวัยแค่ ๖ ขวบไปกราบที่สำนักของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงตาชินเมื่อถึงวัยอุปสมบท ท่านก็ขยันหมั่นเพียร ทั้งทางปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ท่านเคยได้ไปศึกษาอบรมธรรมกับหลวงปู่ขาว อนาลโย , หลวงปู่ชอบ ฐานสโม , หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงปู่ศรี มหาวีโรเป็นต้น อีกทั้งท่านยังเคยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบด้านฝ่ายบริหารคณะสงฆ์โดยเคยได้ดำรงตำแหน่ง อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอปักธงชัย(ธรรมยุติ) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเวฬุวัน(ธ) ต.เมืองปัก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา จึงขอน้อมนำประวัติปฏิปทาของหลวงตาชิน หรือหลวงปู่อุดม ขันติพโล เพื่อรำลึกเป็นสังฆานุสติและมรณานุสติครับ

    ชาติภูมิ
    หลวงตาชิน มีนามเดิมว่า อุดม เขตเจริญ ท่านถือกำเนิดเมื่อ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๒ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะเส็ง ที่บ้านท่าสองคอน หมู่ที่ ๘ ตำบลท่าดินแดง อำเภอแซงบาดาล จังหวัดร้อยเอ็ด โยมบิดาชื่อ พึ่ง โยมมารดาชื่อ คำผัน หลวงตามีพี่น้องร่วมมารดา ๕ คน ท่านเป็นบุตรคนโต

    ชีวิตปฐมวัย
    เนื่องจากครอบครัวของท่านมีอาชีพทำนา ทำสวน การดำเนินชีวิตก็เหมือนชาวนาทั่วไป ชีวิตจึงมีความผูกพันกับท้องทุ่ง ไร่นา ขณะที่ท่านอายุได้ ๔ ขวบ บิดาได้นำไปฝากเป็นลูกศิษย์วัดใกล้บ้าน กับท่านพระอาจารย์วิสุทธิ์ วิสุทฺโธ(ต่อมาได้รับสมศักดิ์เป็นพระครูวิสุทธิธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าสุวารีวิหาร และรองเจ้าคณะอำเภอธวัชบุรี) ผู้เป็นหลวงลุง เพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียน เพราะการศึกษาสมัยนั้นต้องเรียนในวัดโดยมีพระครูเป็นผู้สอน และ เพื่อให้ท่านได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา และได้ซึมซับรับเอาคุณธรรมมาเป็นเครื่องหล่อหลอมจิตใจ

    เมื่อท่านมาเป็นลูกศิษย์วัดแล้ว ก็ยังไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนได้ เพราะเด็กที่จะเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาได้ต้องมีอายุ ๗ ขวบ ดังนั้นท่านได้ใช้เวลาในช่วงนี้เรียนหนังสือกับพระอาจารย์ผู้เป็นหลวงลุงของท่านก่อน โดยการเรียนต้องอาศัยการท่องจำและการเขียนตามคำบอกโดยเรียนหนังสือในตอนกลางวัน ตกเย็นต้องคอยรับใช้อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ ซึ่งครูบาอาจารย์ก็จะอบรมสอนธรรมะและเล่านิทานชาดกให้ฟังโดยตลอด จึงทำให้ท่านได้รับการอบรมทั้งความรู้ และคุณธรรมไปพร้อมกัน

    ปี พ.ศ.๒๔๗๘ ขณะที่ท่านอายุได้ ๖ ขวบ พระอาจารย์ของท่านได้ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมตามป่าเขาในเขตภาคอีสาน ท่านจึงได้ติดตามพระอาจารย์ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรด้วย บางครั้งก็เข้าไปศึกษาในสำนักปฏิบัติธรรมของครูบาอาจารย์ต่างๆ โดยท่านได้มีโอกาสอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์หลายท่าน และได้ร่วมปฏิบัติธรรมกับสามเณรด้วย กระทั่งสำนักสุดท้ายที่ท่านออกธุดงค์ครั้งนั้นคือ ท่านได้ไปปฏิบัติธรรมในสำนักของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่ถ้ำค้อ จ.สกลนคร

    ในปี พ.ศ.๒๔๗๙ ท่านได้ติดตามพระอาจาย์ไปกรุงเทพ เพื่อกราบพระอมราภิรักขิต ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระอาจารย์ที่วัดบรมนิวาส ได้เข้าพักที่กุฏิเสงี่ยม คณะ ๓ โดยในปีนั้นพระอาจาย์ท่านได้จำพรรษาที่วัดบรมนิวาสนั้นเอง

    เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์
    ท่านได้ขอบวชกับพระครูวิสุทธิธรรมคุณ พระอาจารย์ โดยได้รับการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดมิ่งเมือง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๑ โดยมีพระราชสิทธาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระใบฎีกาสมศักดิ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาเนาว์ นวโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ขนฺติพโล” แปลว่า “ผู้มีกำลังคือความอดทน”

    การศึกษาพระธรรมวินัย
    เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าสุวารีวิหารกับพระอาจารย์ ไดรับการอบรมจาพระอาจารย์พร้อมกับการศึกษาปริยัติธรรมควบคู่กันโดยสามารถสอบไล่ได้ดังนี้
    พ.ศ.๒๕๐๑ สอบได้นักธรรมตรี
    พ.ศ.๒๕๐๒ สอบได้นักธรรมชั้นโท
    พ.ศ.๒๕๐๓ สอบได้นักธรรมชั้นเอก
    เข้าศึกษาอบรมในสำนักครูบาอาจารย์

    หลังออกพรรษา พ.ศ.๒๕๐๕ ขณะที่ท่านบวชได้ ๕ พรรษา ซึ่งถือว่าพ้นนิสัยแล้ว เพราะได้รับการอบรมข้อวัตรปฏิบัติจากครูอาจารย์เป็นเวลา ๕ ปี ท่านเห็นว่าหากอยู่ที่ใดที่หนึ่งนานจะทำให้เกิดพลิโพธ คือความห่วงกังวลอาลัยอาวรณ์ ทำให้การศึกษาและปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้า ท่านจึงได้กราบลาพระอาจารย์เพื่อออกธุดงค์และปฏิบัติตามอย่างปฏิทาครูบาอาจารย์โดยได้ไปศึกษาและปฏิบัติธรรมในสำนักของหลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ดเป็นเวลา ๓ เดือน

    หลังจากนั้นจึงได้กราบลาหลวงปู่ศรี มหาวีโร ออกเดินทางจากร้อยเอ็ดไปวัดถ้ำขาม จ.สกลนครเพื่อกราบและพักปฏิบัติธรรมในสำนักของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ขณะอยู่ที่ถ้ำขาม หากเกิดความลังเลสงสัยในการปฏิบัติธรรม ก็ได้รับความเมตตาจากหลวงปู่ฝั้นตอบข้อสงสัยอธิบายธรรมปฏิบัติจนแจ่มแจ้ง ทำให้มีกำลังใจและความอุตสาหะในการปฏิบัติสมาธิภาวนาเป็นอย่างมาก

    หลังจากพักปฏิบัติธรรมที่วัดถ้ำขาม เป็นเวลา ๑ เดือนแล้วจึงได้กราบลาหลวงปู่ฝั้น เพื่อเดินทางไปที่จังหวัดหนองคายโดยพักที่วัดป่าอรุณรังสี ซึ่งเป็นศูนย์รวมของพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และได้จำพรรษาที่วัดป่าอรุณรังสี เป็นเวลา ๑ พรรษา

    ธุดงค์วิเวกข้ามฝั่งลาว
    หลังออกพรรษา รับกฐินแล้วท่านได้ธุดงค์ไปฝั่งลาวโดยข้ามทางจังหวัดหนองคาย ไปพักที่ชานเมืองนอกเมืองเวียงจันทร์ รุ่งขึ้นได้ไปนมัสการพระธาตุหลวงเวียงจันทร์ ซึ่งเป็นพระธาตุเจดีย์ที่สร้างใหญ่โตมากในสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชพระเจ้าแผ่นดินผู้สร้างเวียงจันทร์ พักปฏิบัติธรรมที่เมืองเวียงจันทร์พอสมควรแล้ว จึงได้มุ่งหน้าต่อไปยังหลวงพระบาง

    กราบหลวงปู่ขาว อนาลโย
    เมื่อถึงหลวงพระบางแล้วได้พักปฏิบัติธรรมตามวัดต่างๆ ที่อยู่รอบๆ หลวงพระบาง จวนกระทั่งจะเข้าพรรษา จึงได้กลับมาฝั่งไทยโดยได้เดินทางไปยังวัดถ้ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานี เพื่อกราบหลวงปู่ขาว อนาลโย ศิษย์รุ่นแรกของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้พักปฏิบัติธรรมและเข้ารับการอบรมข้อวัตรปฏิบัติจากหลวงปู่ขาว เป็นเวลา ๑ เดือนจึงได้กราบลาหลวงปู่เพื่อเดินทางต่อไปยังเขาใหญ่

    ในพรรษาปี พ.ศ.๒๕๐๗ ได้จำพรรษาที่ถ้ำสะพานหิน อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ซึ่งมีเขตติดต่ออับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีความสงบ ร่มรื่น และอากาศสดชื่นตลอดปี นับเป็นความสัปปายะของสถานที่เหมาะแก่การบำเพ็ญจิตภาวนาอย่างมาก ในพรรษานั้นจึงได้ทำความเพียรอบรมสมาธิภาวนาและพิจารณาหลักธรรมต่างๆ ที่ครูบาอาจารย์ได้อบรมมา ทำให้มีกำลังใจและอิ่มเอิบในธรรม

    รับภาระเป็นเจ้าอาวาส
    พอออกพรรษาแล้ว ท่านได้ออกเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่ทางเจ้าหน้าที่อนุญาตให้พักได้ชั่วคราวเท่านั้นทำให้ต้องเดินทางไปมาระหว่างที่พักสงฆ์และเขาใหญ่เป็นประจำกระทั่งถึงวันวิสาขบูชา ท่านได้เดินทางไปร่วมประชุมอุโบสถที่วัดเขาไทรสายัณห์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งวัดนี้มีท่านจ้าคุณ พระราชมุนี (โฮม โสภโณ) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร มาสร้างให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรม และมีอุบาสิกาเล็ก ล่ำชำ เป็นผู้อุปถัมภ์ในการสร้างวัด หลังจากฟังพระปาติโมกข์เสร็จแล้วได้เข้าไปกราบท่านเจ้าคุณ และท่านเจ้าคุณได้ไต่ถามถึงบ้านเกิดและพระอุปัชฌาย์ ทำให้ได้ทราบว่าท่านเป็นสัทธิวิหาริกของพระราชสิทธาจารย์ ซึ่งท่านเจ้าคุณทั้งสองต่างก็เป็นสหธรรมมิกกันโดยต่างก็บวช ในพระอุปัชฌายะองค์เดียวกัน คือ พระปัญญาพิศาลเถร(หนู) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร เมื่อทราบดังนั้น ท่านเจ้าคุณจึงชักชวนให้มาช่วยดูแลวัดเขาไทรสายัณห์ถึงแม้จะพยายามบ่ายเบี่ยงแต่ท่านเจ้าคุณขอร้องให้ช่วยดูแลสัก ๓ พรรษา จึงได้ตอบตกลงท่าน รับเป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดเขาไทรสายัณห์

    ๓ ปีที่วัดเขาไทรสายัณห์
    หลังจากตอบตกลงรับเป็นผู้ดูแลวัดเขาไทรสายัณห์ ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ เพื่อเป็นการสนองพระคุณของท่านเจ้าคุณพระราชมุนี จึงได้เริ่มต้นพัฒนาวัด คือ
    ๑. ได้นำคณะทำถนนขึ้นไปบนเขา
    ๒. ได้สร้างศาลา ๑ หลังจนแล้วเสร็จ
    ๓. ได้ขอไฟฟ้ากับทางราชการ จนติดตั้งแล้วเสร็จ

    ลุถึงปี พ.ศ.๒๕๑๑ ได้เกิดอธิกรณ์ขึ้นภายในวัดตัวท่านเองเกรงว่าหากเหตุการณ์ยังเป็นอยู่เช่นนี้ จะทำให้เรื่องราวลุกลามยิ่งขึ้น อันจะเกิดความเสื่อมเสียแก่วัด และได้พิจารณาถึงการที่ท่านเจ้าคุณได้ขอร้องให้มาช่วยดูแลวัดเขาไทรสายัณห์ ๓ พรรษา บัดนี้ครบกำหนดที่รับปากไว้พอดี ดังนั้นท่านจึงได้ออกจากวัดเขาไทรสายัณห์

    มุ่งสู่ปักธงชัย
    เมื่อออกจากวัดเขาไทรสายัณห์แล้ว ท่านพร้อมด้วยคณะมีพระเณร ๘ รูป และแม่ชี ๕ คน ได้เดินทางมาตามเชิงเทือกเขาใหญ่ย้อนขึ้นมาอำเภอปักธงชัย โดยปักกลดนั่งพักชั่วคราวอยู่ที่ป่าไผ่กุดกว้าง ห่างจากอำเภอปักธงชัยประมาณ ๓ กิโลเมตร

    ขณะนั้นความจริงเกี่ยวกับวัดไทรสายัณห์ปรากฏขึ้น ความได้ทราบถึงท่านเจ้าคุณ พระธรรมบัณฑิต (ญาณ ญาณชาโล) เจ้าคณะภาค ๑๑ วัดสุทธจินดา ท่านจึงมีคำสั่งให้เข้าพบและถามข้อเท็จจริง จึงได้กราบเรียนเรื่องราวทั้งหมดให้ท่านทราบ ท่านจึงเมตตาแนะนำให้เลือกวัดที่สะดวกพอจะพักอาศัย คือ วัดป่าสาลวัน วัดป่าศรัทธารวม หรือวัดศาลาลอย จึงกราบเรียนว่า วัดทั้งสามอยู่ในตัวเมือง ในอนาคตจะเป็นชุมชนใหญ่มีแต่ความวุ่นวายหาความสงบได้ยาก จึงขอกลับไปตำพรรษาที่ปักธงชัยตามเดิม

    การพัฒนาวัดป่าเวฬุวัน
    คณะของหลวงพ่อเดินทางมาถึงวัดป่าเวฬุวัน เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๑ โดยวันแรกได้เกิดนิมิตปรากฏว่าตรงนี้เป็นที่อยู่ของคนโบราณมาก่อน จึงได้สอบถามชาวบ้าน ทำให้ทราบว่าที่แห่งนี้มีบูรพาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระมาวางรากฐานการปฏิบัติธรรมเบื้องต้นเป็นแห่งแรกของอำเภอปักธงชัย ทำให้เกิดปีติในใจว่าควรที่จะทำนุบำรุงที่แห่งนี้ต่อไป เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของบูรพาจารย์

    ในระยะแรก มีความเป็นอยู่ลำบาก การคมนาคมไม่สะดวกอาศัยความสงบของสถานที่จึงทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติธรรมมากขึ้นในส่วนการปกครองนั้น ความได้ทราบถึงท่านเจ้าคุณพระธรรมบัณฑิต(ญาณ ญาณชาโล) เจ้าคณะภาค ๑๑ วัดสุทธจินดา ว่าพระอุดม ขนฺติพโล พักจำพรรษาที่สำนักสงฆ์ป่าไผ่ บ้านดู่ ท่านจึงมอบหมายให้พระครูสุนทรธรรมโกศล (โกศล สิรินฺธโร ปัจจุบันเป็นพระธรรมโสภณ) เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดนครราชสีมาออกคำสั่งแต่งตั้งรักษาการหัวหน้าสำนักสงฆ์ป่าไผ่ (กุดกว้าง) ดังนั้น ท่านจึงได้ดำเนินการขอตั้งวัด โดยตั้งชื่อวัดป่าไผ่แห่งนี้ว่า วัดป่าเวฬุวัน และขออนุญาตเขตวิสุงคามสีมาตามระเบียบของทางราชการและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๕

    ประวัติวัดป่าเวฬุวัน
    วัดป่าเวฬุวัน เดิทเป็นป่าไผ่ริมฝั่งน้ำกุดกว้าง บ้านดู่ หมุ่ที่๖ ตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม (ต่อมาเป็น พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์) ศิษย์รุ่นแรกหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้นำคณะศิษย์เดินทางมาจากเขาตะกรุดรัง ตำบลสะแกราช มาพักที่ป่าไผ่แห่งนี้เพื่อแสดงธรรมโปรดชาวอำเภอปักธงชัย เจ้าของป่าไผ่แห่งนี้เกิดศรัทธาเลื่มใสจึงสร้างถวายเพื่อเป็นที่พักสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันสร้างกระท่อมเพื่อเป็นที่พักอาศัยของพระเณรจำนวนหลายสิบหลัง ตกเย็นชาวบ้านไผ่ บ้านดู่ และบ้านใกล้เคียงในอำเภอปักธงชัย ได้มารวมกันเพื่อฟังการอบรมและปฏิบัติธรรมครั้งหลวงปู่สิงห์ เดินทางกลับวัดป่าสาละวัน ท่านก็ได้มอบหมายให้พระส่วนหนึ่งอยู่ประจำเพื่ออบรมสั่งสอนประชาชน

    ในปีต่อมา ปี พ.ศ.๒๔๗๙ หลวงปู่สิงห์ได้นำคณะกองทัพธรรมหลวงปู่มั่น ซึ่งมีครูบาอาจารย์หลายรูปร่วมคณะมาด้วย เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่สิงห์ หลวงปู่คำดี ปภาโส หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ หลวปู่ลี ธมฺมธโร เป็นต้น เดินทางมาโปรดญาติโยมชาวอำเภอปักธงชัย เป็นครั้งที่ สอง โดยได้พักที่วัดป่าเวฬุวันประมาณเดือนเศษ เพื่อเทศนาอบรมกรรมฐานให้แก่ลูกศิษย์ผู้ติดตามและชาวบ้านที่มารับการอบรมในตอนค่ำคืนแทบทุกวัน
    หลังจากนั้นก็มีครูบาอาจารย์ผลัดเปลี่ยนกันมาพักอาศัยแต่ไม่ค่อยแน่นอน ทำให้เป็นไปอย่างลุ่มๆ ดอนๆ แตะมีพระประจำอยู่ได้นานเกือบ ๕ ปี คือ พระอาจารย์จันตา (มรณภาพแล้ว) ต่อมาระหว่างปี พุทธศักราช ๒๔๙๘ – ๒๔๙๙ มีพระอาจารย์สำราญ ทนฺตจิตฺโต (วิริยานุภาพ) ได้มาจำพรรษาอยู่ ๓ ปี แล้วจึงย้ายไปอยู่วัดป่าจักราช อำเภอจักราช ส่วนพระที่อยู่ดูแลป่าไผ่ตรงนี้บางปีกไปนิมนต์มาจากวัดป่าสาลวัน บางปีก็นิมนต์มาจากวัดศาลาทอง มาจำพรรษา

    วันมาฆบูชาได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถโดยมีหลวงพ่อพุธ ฐานิโย เป็นประธาน เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๑๗ พลเอก กฤษณ์ ศรีวะรา ผู้บัญชาการทหารบกได้มาประกอบพิธีหล่อพระประธานที่วัดป่าเวฬุวัน พร้อมด้วย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง แม่ทัพภาคที่ ๒ เมื่อหล่อพระประธานเสร็จแล้ว ได้กราบทูลขอประทานนามพระประธานจากเจ้าประคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสโน) สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยสมเด็จพระสังฆราชได้ประทานพระนามว่า “พระสัมพุทธชัยมงคลสุวิมลอนันตญาณ”

    มรณนิมิต
    ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๖ หลวงตาท่านได้นิมิตว่าท่านได้มรณภาพลง คณะศิษย์ได้นำร่างไร้วิญาณขึ้นสู่เมรุเพื่อทำการฌาปนกิจ ขณะที่กำลังนำร่างขึ้นสู่เชิงตะกอนนั้น ปรากฏว่าวิญญาณได้กลับเข้าสู่ร่าง ท่านจึงได้ชูมือขึ้นเหนือศีรษะเพื่อให้สัญญาณว่าฟื้นแล้ว ทำให้ผู้พบเห็นตกใจวิ่งหนีกันอลหม่าน ท้ายที่สุดคณะศิษย์จึงช่วยกันปฐมพยาบาลจนท่านฟื้นคืนมา เมื่อตื่นตอนเช้าหลังจากทำวัตรเสร็จ ท่านจึงพิจารณานิมิตดังกล่าวและถือว่าเป็นเหมือนเทวทูตที่มาเตือนให้ทราบว่าวันเวลาของชีวิตเหลือน้อยนิดเต็มทีแล้ว จงรีบขวนขวายทำความดี เหมือนดังปัจฉิมพจน์ของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทานไว้ก่อนปรินิพานว่า “หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ” แปลว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา ขอเธอทั้งหลายจงทำประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมเถิด” ดังนั้น หลวงพ่อจึงได้ฝากถึงสหธรรมิกและศิษย์ทั้งหลายว่า อย่าได้รอช้า รอวันเวลาที่จะสร้างความดีแก่สังคม เพราะความดีที่ทำไว้จะเป็นเหมือนกระจกเงาที่ส่องสะท้อนให้เห็นตัวเอง ควรประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ด้วยจิตที่เป็นสัมมาทิฐิเถิด

    การมรณภาพ
    หลวงตาชิน หรือหลวงปู่อุดม ขันติพโล ท่านละสังขารลงอย่างสงบ เมื่อวันพุธที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ เวลา ๒๑.๔๐ น. สิริอายุรวม ๘๖ ปี ๑๐ เดือน ๒๖ วัน ท่านมรณภาพลงในช่วงเข้าพรรษาที่ ๕๙ แห่งการอุปสมบทของท่าน

    _/_ _/_ _/_

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  15. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  16. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ผู้ใดก็ตาม ไม่ช่วยชี้ให้ผู้ผิดรู้ตัว ทั้งยังส่งเสริมด้วยการชื่นชมทั้งรู้ว่าผิด เช่นนั้นเป็นการแสดงความไม่เมตตา ผู้มีกัลยาณมิตร คือ มีมิตรดี หมายความว่ามีมิตรที่ไม่ตามใจ ให้ทำความผิดร้ายความไม่ดีต่างๆ มีมิตรคอยตักเตือนเมื่อทำผิดทำมิชอบ มีมิตรที่มีปัญญาสามารถช่วยแก้ไข ป้องกันไม่ให้คิดผิดพูดผิด ผู้ใดทำตัวเป็นกัลยาณมิตรของใครๆ ได้ ผู้นั้นคือ ผู้ให้เมตตาต่อใครๆ นั้น

    (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก)

    -ไม่ช่วยชี้ให.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  17. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  18. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  19. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  20. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...