คุณมีตัณหาแบบไหน ???

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย @^น้ำใส^@, 2 เมษายน 2008.

  1. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,673
    <HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1>

    คุณมีตัณหาแบบไหน ??? <HR align=center width="100%" color=white noShade SIZE=1>

    ตัณหามีตัวเร้าอยู่ 6 ประการ คือความอยากเกี่ยวกับ รูป (รูปตัณหา) รส (รสตัณหา) กลิ่น (คันธตัณหา) เสียง (สัททตัณหา) สัมผัส (โผฏฐัพพตัณหา) และความอยากเสพอารมณ์ (ธัมมตัณหา)

    จึงเรียกตัณหา 6 และแต่ละอย่างสามารถแยกออกไปอีก 3 อาการ คือ

    <O:p</O:p

    <TABLE class=MsoNormalTable style="BACKGROUND: #ecfff9; WIDTH: 80%; mso-cellspacing: 1.5pt" cellPadding=0 width="80%" border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 0.75pt; PADDING-LEFT: 0.75pt; BORDER-LEFT-COLOR: #e2e2e2; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e2e2e2; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BORDER-TOP-COLOR: #e2e2e2; PADDING-TOP: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #e2e2e2">1. กามตัณหา คือ ความทะยานอยากได้ ของตัณหา 6 ประการ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ เช่น อยากได้ของสวยที่ตนไม่มีสิทธิได้ อยากรับทานอาหารทิพย์ อยากได้กลิ่นหอมของเทวดา อยากฟังเสียงจากสวรรค์ อยากมีรูปงามอย่างนางฟ้า อยากมีบ้านสวย ทำให้ไม่รู้จักพอ เป็นต้น <O:p</O:p


    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 0.75pt; PADDING-LEFT: 0.75pt; BORDER-LEFT-COLOR: #e2e2e2; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e2e2e2; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BORDER-TOP-COLOR: #e2e2e2; PADDING-TOP: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #e2e2e2">2. ภวตัณหา คือ ความทะยานอยากเป็น อยากมี หรืออยากให้อยู่ เช่น อยากเป็นนายกรัฐมนตรี อยากเป็นเจ้า อยากเป็นดารา นักร้อง จนถึงอยากนิพพาน ก็นับเป็นตัณหา <O:p</O:p


    </TD></TR><TR style="mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="PADDING-RIGHT: 0.75pt; PADDING-LEFT: 0.75pt; BORDER-LEFT-COLOR: #e2e2e2; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e2e2e2; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BORDER-TOP-COLOR: #e2e2e2; PADDING-TOP: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #e2e2e2">3. วิภวตัณหา คือ ความทะยานอยากไม่ให้เป็น ไม่ให้อยู่ หรือให้พ้นไป ของสิ่งที่สมควรจะเป็น เช่น ไม่อยากแก่ ไม่อยากตาย ไม่อยากให้สิ่งที่มีอยู่หมดสิ้นไป หรือเชื่อว่าตายแล้วสูญไม่เกิดอีก ในความเป็นจริงลักษณะของตัณหาทั้ง 3 ประการนี้ไม่ได้เกิดตามลำพังแต่เกิดต่อเนื่องกัน เช่น กามตัณหา คือ อยากได้ เมื่อได้มาแล้วก็เป็นภวตัณหา คือ อยากให้อยู่ตลอดไป แต่เมื่อเบื่อก็เกิดวิภวตัณหา คืออยากให้พ้นไปจากตน จึงรวมเรียกว่า ตัณหา 3<O:p</O:p

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    สรุปว่า ตัณหา 6 คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และใจ ก็ย่อมมีตัณหา 3 อยู่ด้วย คือ อยากได้ อยากให้อยู่ และอยากให้พ้นไป อยู่ร่วมด้วยทุกข้อ จึงรวมเป็นตัณหา 18 ซึ่งถ้าแบ่งเป็นภายนอกและภายในจะเป็นตัณหา 36 และถ้ายังแบ่งต่อไปโดยนับกาลเวลาว่าเป็นเมื่ออดีต ปัจจุบัน และอนาคต จึงเป็นตัณหา 108 ดังนี้


    ตัณหานี้แต่ละคนมีไม่เท่าเทียมกัน เพราะมี 3 ระดับ คือมีมาตั้งแต่เกิดติดมากับปฏิสนธิวิญญาณ เรียกอนุสัยกิเลส ทำให้คนเรารักตัวเอง จะมากหรือน้อยต่างกันออกไป ซึ่งเป็นธรรมดาของมนุษย์ แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้น กระทบกับสิ่งเร้ารูปรสกลิ่นเสียงใจ ก็เกิดตัณหามากขึ้น ซึ่งถ้ายังคุมให้อยู่ในสภาพอันควรได้ก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าคุมตัณหาไม่อยู่ทำให้เกิดการละเมิดศีลต่างๆ ทำผิดต่างๆทั้งกาย วาจา ใจ ที่เป็นขั้นสุดท้ายเรียก วีติกรรมกิเลส อาจทำบาปด้วยวิธีต่างๆจนถึงการฆ่าให้ตาย


    อุปาทาน เป็นตัวกิเลสที่ต่อมาจากตัณหา คือเมื่อคนเรามีความทะยานอยากแล้วก็เกิดอุปาทานคือความหลงเชื่อผิดว่าเป็นของตน ทำให้มีการ ยึดถือ ไม่ยอมปล่อย ไม่ว่าจะเป็นยศ ศักดิ์ สรรเสริญ บริวาร ทรัพย์สมบัติ หรือรูปกายของตน จะมีอุปาทานยึดมั่นว่าเป็นของตนทั้งสิ้น โดยลืมนึกไปว่าอย่าว่าแต่ของนอกกายเหล่านี้เลย แม้แต่ร่างกายของเรายังยึดไม่อยู่ มีป่วย มีแก่ชรา มีตาย สลายไป อุปาทานจึงเป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมองอันหนึ่ง ซึ่งอาจแยกสาเหตุได้หลายอย่าง ได้แก่


    <O:p</O:p

    <TABLE class=MsoNormalTable style="BACKGROUND: #ecfff9; WIDTH: 80%; mso-cellspacing: 1.5pt" cellPadding=0 width="80%" border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 0.75pt; PADDING-LEFT: 0.75pt; BORDER-LEFT-COLOR: #e2e2e2; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e2e2e2; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BORDER-TOP-COLOR: #e2e2e2; PADDING-TOP: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #e2e2e2">อัตตวาทุปาทาน เป็นข้อสำคัญที่สุดคือความยึดมั่นว่าเห็นตนเองหรืออัตตาเป็นตัวเรา สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นของตนและยึดไว้ไม่ยอมปล่อย อันจะเป็นเหตุให้เกิดภพชาติต่อๆไป พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ยึดว่าทุกสิ่งเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน<O:p</O:p
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 0.75pt; PADDING-LEFT: 0.75pt; BORDER-LEFT-COLOR: #e2e2e2; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e2e2e2; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BORDER-TOP-COLOR: #e2e2e2; PADDING-TOP: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #e2e2e2">กามุปาทาน ความยึดมั่นในรูปเสียงกลิ่นรสและสัมผัสและการบริโภคของที่มีที่ได้<O:p</O:p
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 0.75pt; PADDING-LEFT: 0.75pt; BORDER-LEFT-COLOR: #e2e2e2; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e2e2e2; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BORDER-TOP-COLOR: #e2e2e2; PADDING-TOP: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #e2e2e2">ทิฏฐปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในความคิดเห็นของตนว่าเป็นสิ่งถูกต้องแน่นอน

    </TD></TR><TR style="mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="PADDING-RIGHT: 0.75pt; PADDING-LEFT: 0.75pt; BORDER-LEFT-COLOR: #e2e2e2; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e2e2e2; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BORDER-TOP-COLOR: #e2e2e2; PADDING-TOP: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #e2e2e2">สิลพัตตุปาทาน ความยึดมั่นกับศิลพรต ซึ่งมีข้อยึดถือข้อปฏิบัติต่างๆกันว่าของตนถูกต้อง ซึ่งเป็นความงมงาย <O:p</O:p

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ขอบคุณที่มาค่ะ http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=15404
     
  2. manson810

    manson810 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    410
    ค่าพลัง:
    +780
    สงสัยผมจะมีเกินด้วยสิครับ..
     
  3. T-1970

    T-1970 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +1,179
    ...สมเด็จท่านตรัสสอนบรรดาศิษย์สายธรรมยุตในเรื่องตัณหาดังกล่าวอยู่บ่อยๆครับ(ผมเป็นศิษย์ธรรมยุตสายวัดบวร)...ผมมีตัณหาทั้งหมด และคงต้องพักวางเรื่องการขัดเกลา(ฝึกจิต)เอาไว้ช่วยคราว...เพราะมีปณิธานที่ตั้งไว้เรื่องความมั่นคงของพระพุทธศาสนาที่ต้องกระทำ...จึงต้องกระโจนเข้าสู่วังวนของการต่อสู้อีกครั้ง..
     
  4. นายจั๊บ

    นายจั๊บ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,109
    มีกามตัณหาซะมากครับ ตัวอื่นๆน้อยหน่อย
     
  5. GROLY

    GROLY เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    2,019
    ค่าพลัง:
    +8,001
    มีครบทุกตัว เพราะผมยังไม่ใช่อริยะ แต่เบาบางลงบ้างแล้ว มีความละอายมากขึ้ น รู้สึกมีความสูขในชีวิตมากขึ้น จากความสงบครับ
     
  6. motorm

    motorm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +169
    จนถึงอยากนิพพาน ก็นับเป็นตัณหา งง???
    นิพพาน = ความดี
    ตัณหา=ความชั่ว
     
  7. Moopooi@PIXAR

    Moopooi@PIXAR สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +13
    อยากนิพพานนับเป็นตัณหา จริงหรอ งั้นทำไงดีอ่ะ ใช่เหมือนกรณีพระอานนท์หรือเปล่า คุ้นๆ
     
  8. ahantharik

    ahantharik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,596
    ค่าพลัง:
    +6,346
    มีตัณหาต้องใช้ยาพระธรรมเข้าช่วย
     
  9. สุมหัว

    สุมหัว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2008
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +3
    อันความอยาก ไม่ว่าอยากแบบไหนก็คือความอยาก

    ความอยากนิพพาน เป็นความอยากแบบดีให้เราทำนิพพานให้แจ้ง

    แต่ถ้ายังมีความอยากนิพพานอยู่ ก็จะเข้าไม่ถึง นิพพาน
     
  10. manson810

    manson810 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    410
    ค่าพลัง:
    +780
    ส่วนตัวผมมองว่า ความอยากนั่นแบ่งเป็น ดังนี้
    1. ความอยากที่เป็นกุศล
    2. ความอยากที่เป็นอกุศล

    อยากนิพพานนั่นอยู่ในส่วน "กุศล" นะครับ ทั้งนี้ต้องอย่า"อยาก"เพียงอย่างเดียวต้องพยายามปฏิบัติด้วยครับ ปฏิบัติน้อยหรือปฏิบัติมากก็สุดแล้วแต่
     

แชร์หน้านี้

Loading...