อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    48429621_2226620220994514_6193405006188642304_n.jpg?_nc_cat=105&_nc_ht=scontent.fbkk5-3.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    48397432_1866061013517045_7826853073984159744_n.jpg?_nc_cat=105&_nc_ht=scontent.fbkk5-3.jpg
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=1a08d520c83034db3f08c93856e35bfa.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ค้างคาวฟังสวดอภิธรรม แม้จะไม่เข้าใจเนื้อหา แต่เมื่อตายได้ไปเกิดบนสวรรค์
    *************
    ...ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ภิกษุเหล่านั้นเป็นค้างคาวหนู ห้อยอยู่ที่เงื้อมแห่งหนึ่ง เมื่อพระเถระ ๒ รูปจงกรมแล้วท่องอภิธรรมอยู่ ได้ฟังถือเอานิมิตในเสียงแล้ว
    ค้างคาวเหล่านั้นไม่รู้ว่า “เหล่านี้ ชื่อว่าขันธ์, เหล่านี้ ชื่อว่าธาตุ” ด้วยเหตุสักว่าถือเอานิมิตในเสียงเท่านั้น จุติจากอัตภาพนั้น แล้วเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติสิ้นพุทธันดรหนึ่ง จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว เกิดในเรือนตระกูลในกรุงสาวัตถี เกิดความเลื่อมใสในยมกปาฏิหาริย์ บวชในสำนักของพระเถระแล้ว ได้เป็นผู้ชำนาญในปกรณ์ ๗ ก่อนกว่าภิกษุทั้งปวง. ...
    ...................
    ข้อความบางตอนใน เรื่องยมกปาฏิหาริย์ พุทธวรรควรรณนา ขุททกนิกาย อรรถกถาธรรมบท
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=24&p=2


    48976864_1869354569854356_8585041395889209344_n.jpg?_nc_cat=104&_nc_ht=scontent.fbkk5-5.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    49101906_1871978309591982_8380548360725069824_n.jpg?_nc_cat=106&_nc_ht=scontent.fbkk5-8.jpg


    เป็นไปไม่ได้เลย...
    **********
    [๖๘] ภิกษุทั้งหลาย
    ๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่๑- ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ประกอบความชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ชอบคณะ๒-ยินดีในคณะ ประกอบความยินดีในคณะ จักยินดีในปวิเวก๓- ตามลำพังได้
    ๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ยินดีในปวิเวกตามลำพังจักถือเอานิมิตแห่งจิต๔- ได้
    ๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ถือเอานิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิ๕-ให้บริบูรณ์ได้
    ๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้
    ๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาสมาธิ๖- ให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ได้
    ๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ยังละสังโยชน์ไม่ได้แล้ว จักทำให้แจ้งนิพพานได้

    ภิกษุทั้งหลาย
    ๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ประกอบความชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ชอบคณะไม่ยินดีในคณะ ไม่ประกอบความยินดีในคณะ จักยินดีในปวิเวกตามลำพังได้
    ๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ยินดีในปวิเวกตามลำพัง จักถือเอานิมิตแห่งจิตได้
    ๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ถือเอานิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
    ๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้
    ๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้บำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ได้
    ๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ละสังโยชน์ได้แล้ว จักทำให้แจ้งนิพพานได้
    ..........
    สังคณิการามสูตร อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=319

    ๑ คลุกคลีด้วยหมู่ หมายถึงคลุกคลีด้วยหมู่คณะของตน (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๖๘-๖๙/๑๗๔)
    ๒ ชอบคณะ (คณาราโม) หมายถึงชอบคลุกคลีกับคนทั่วไป (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๖๘-๖๙/๑๗๔)
    ๓ ปวิเวก ในที่นี้หมายถึงกายวิเวก (ความสงัดทางกาย) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๘/๑๕๑)
    ๔ นิมิตแห่งจิต หมายถึงอาการซึ่งเป็นนิมิตแห่งสมาธิและวิปัสสนา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๘/๑๕๑)
    ๕ สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑/๖)
    ๖ สัมมาสมาธิ ในที่นี้หมายถึงมัคคสมาธิ สมาธิที่ช่วยให้ตรัสรู้ หรือสมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรค มีชื่อเรียกพิเศษว่า อนันตริกสมาธิ แปลว่า สมาธิที่ให้ผลต่อเนื่องไปทันที (ขุ.ขุ. ๒๕/๕/๖, ขุ.สุ. ๒๕/๒๒๘/๓๗๗) และหมายถึงผลสมาธิ หรือ อรหัตตผลสมาธิ ได้แก่ เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยกำลังจิตที่ประกอบด้วยสมาธิ ซึ่งกำราบราคะลงได้ ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกมัดทั้งหลายได้ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑/๖)
    …………
    พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรหรืออารามสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า สงฺคณิการาโม ความว่า รื่นเริงใจด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ส่วนภิกษุชื่อว่าคณารามะ เพราะยินดีในคณะ มีคณะศึกษาพระสูตรเป็นต้น หรือในคณะ กล่าวคือบริษัทของตน.
    บทว่า ปวิเวเก ได้แก่ กายวิเวก.
    บทว่า จิตฺตสฺส นิมิตฺตํ ความว่า นิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต คืออาการของสมาธิและวิปัสสนา.
    บทว่า สมฺมาทิฏฺฐึ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิในวิปัสสนา.
    บทว่า สมาธึ ได้แก่ มรรคสมาธิและผลสมาธิ.
    บทว่า สํโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ อย่าง.
    บทว่า นิพฺพานํ ได้แก่ ปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้.
    อรรถกถาฐานสูตรหรืออารามสูตรที่ ๔http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=339


    *******************************************
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    29542962_923226521170600_3748134946700828515_n.jpg?_nc_cat=101&_nc_ht=scontent.fbkk5-6.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    49346134_134817264195822_7582755075936747520_n.jpg?_nc_cat=102&_nc_ht=scontent.fbkk5-6.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=d61bc3ca4741a231c938cf0ebc2ca254.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    49947230_1886796044776875_9092724912736436224_n.jpg?_nc_cat=110&_nc_ht=scontent.fbkk5-4.jpg



    [๔๕] ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๓ ประการนี้บัณฑิตบัญญัติไว้ สัตบุรุษบัญญัติไว้
    กรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. ทาน(การให้)
    ๒. ปัพพัชชา(การถือบวช)
    ๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน(การบำรุงมารดาบิดา)
    กรรม ๓ ประการนี้แลบัณฑิตบัญญัติไว้ สัตบุรุษบัญญัติไว้

    ทาน อหิงสา(ความไม่เบียดเบียน) สัญญมะ(ความสำรวม) ทมะ(การฝึกฝน) มาตาปิตุอุปัฏฐาน(การบำรุงมารดาบิดา)
    เป็นสิ่งที่สัตบุรุษบัญญัติไว้
    คุณธรรมเหล่านี้เป็นฐานะของสัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบ
    เป็นพรหมจารีบุคคลซึ่งบัณฑิตควรเสพ
    บัณฑิตนั้นเป็นอริยบุคคลผู้มีทัสสนะสมบูรณ์
    เข้าถึงโลกอันเกษมได้
    ********
    ปัณฑิตสูตร อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=89
    ดูเพิ่มในอรรถกถา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=484

    *************************************************************************



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2019
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    49759011_1889285071194639_8554742106717945856_n.jpg?_nc_cat=110&_nc_ht=scontent.fbkk5-4.jpg

    49864861_1889288424527637_4725129758415781888_n.jpg?_nc_cat=107&_nc_ht=scontent.fbkk5-7.jpg

    ละกามได้โดยเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) โดยการข่มไว้ (๒) โดยการตัดขาด
    *************
    [๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
    ผู้ใดละกามได้ เหมือนคนเดินเลี่ยงหัวงู
    ผู้นั้นมีสติ ล่วงพ้นตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกานี้ในโลก
    ว่าด้วยการละกามโดยเหตุ ๒ อย่าง
    คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดละกามได้ ได้แก่ ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ผู้ขวนขวายอย่างใด ผู้ตั้งใจอย่างใด ผู้มีประการอย่างใด ผู้ถึงฐานะใด ผู้ประกอบด้วยธรรมใด จะเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม

    คำว่า ละกามได้ อธิบายว่า คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม

    คำว่า ละกามได้ ได้แก่ ละกามได้โดยเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) โดยการข่มไว้ (๒) โดยการตัดขาด

    บุคคลละกามได้โดยการข่มไว้ เป็นอย่างไร คือ บุคคลเมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูกเพราะให้ความยินดีเล็กน้อย จึงละกามได้โดยการข่มไว้
    …ฯลฯ...
    เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนกองไฟ เพราะเผาผลาญ จึงละกามได้โดยการข่มไว้

    ว่าด้วยบุคคลที่ละกามได้โดยการข่มไว้ ๑๐ จำพวก
    ๑. บุคคลกำลังเจริญพุทธานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๒. บุคคลกำลังเจริญธัมมานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๓. บุคคลกำลังเจริญสังฆานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๔. บุคคลกำลังเจริญสีลานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๕. บุคคลกำลังเจริญจาคานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๖. บุคคลกำลังเจริญเทวตานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๗. บุคคลกำลังเจริญอานาปานัสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๘. บุคคลกำลังเจริญมรณานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๙. บุคคลกำลังเจริญกายคตาสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๑๐. บุคคลกำลังเจริญอุปสมานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้

    ว่าด้วยบุคคลที่ละกามได้โดยการข่มไว้ ๘ จำพวก
    ๑. บุคคลกำลังเจริญปฐมฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๒. บุคคลกำลังเจริญทุติยฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๓. บุคคลกำลังเจริญตติยฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๔. บุคคลกำลังเจริญจตุตถฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๕. บุคคลกำลังเจริญอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๖. บุคคลกำลังเจริญวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๗. บุคคลกำลังเจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    ๘. บุคคลกำลังเจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
    บุคคลชื่อว่าละกามได้โดยการข่มไว้ เป็นอย่างนี้

    ว่าด้วยบุคคลที่ละกามได้โดยการตัดขาด ๔ จำพวก
    บุคคลละกามได้โดยการตัดขาด เป็นอย่างไร คือ
    ๑. บุคคลกำลังเจริญโสดาปัตติมรรค ย่อมละกามอันเป็นเหตุไปสู่อบายได้โดยการตัดขาด
    ๒. บุคคลกำลังเจริญสกทาคามิมรรค ย่อมละกามอย่างหยาบได้โดยการตัดขาด
    ๓. บุคคลกำลังเจริญอนาคามิมรรค ย่อมละกามอย่างละเอียดได้โดยการตัดขาด
    ๔. บุคคลกำลังเจริญอรหัตตมรรค ย่อมละกามได้หมดสิ้น ไม่เหลือทุกสิ่งทุกประการ โดยการตัดขาด
    บุคคลชื่อว่าละกามได้โดยการตัดขาด เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ผู้ใดละกามได้
    …….
    ข้อความบางตอนใน กามสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=1
    ……..
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถากามสุตตนิทเทส http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    49376839_377468882987041_8065035939992305664_n.jpg?_nc_cat=106&_nc_ht=scontent.fbkk5-8.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=f98b6df56dabc3be78ec02c134d3c9c1.jpg





    "ตัดมานะการถือตัวถือตน "


    .. ผมบอกแล้วว่า "ฌาน" คือ "ชิน"
    ผมไม่นิยมคนที่เก่งฌานในการเข้านั่ง
    หลับตาขัดสมาธิ ถ้าได้เพียงเท่านั้น
    ลืมตาฌานเคลื่อน อย่างนี้ผมยังถือว่า
    "ยังเป็นผู้เข้าไม่ถึงฌาน"
    ผู้มีอารมณ์ฌานจะต้องทรงอยู่ทุก
    อิริยาบถ "อารมณ์จิตจะเป็นกุศลในตัวละ
    อยู่เสมอ" อย่างนี้เรียกว่า "ผู้ทรงฌาน"
    ทรงฌานได้อย่างนี้ พระพุทธเจ้ายังไม่
    ถือว่าดี คือถือว่าเป็นตัวหน่วงเหนี่ยว
    เหนี่ยวรั้งหรือดึงเข้าไว้ ได้แก่สังโยชน์
    ฉะนั้นเราจะไม่เห็นว่า รูปฌานและ
    อรูปฌาน เป็นจุดจบแห่งกิจที่เราจะพึง
    ปฏิบัติ เราจะก้าวต่อไป ทรงกำลังใจไว้
    ในฌาน และก็หันไปจับมานะ เพราะ
    รูปฌานและอรูปฌานนี่เป็นของไม่ยาก
    "มานะ ความถือตัวถือตน" ถือเขา
    ถือเรา ถือพวกถือพ้องถือพี่ถือน้อง ถือว่า
    เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา
    เราเป็นลูกศิษย์สำนักโน้น เราเป็นลูกศิษย์
    สำนักนี้ เรามีความรู้ชั้นนี้ เรามีความรู้
    ชั้นนั้น "นี่มันเป็นความเลวของจิต"
    จะมีความรู้สึกอย่างนี้ เพราะอะไรจึง
    ว่าอย่างนั้น ถือตัวถือตน คืออะไรกันล่ะ
    ความรู้สึกที่เรามีอยู่ พาเราไปนิพพานได้
    ไหม ครูบาอาจารย์ผู้สอนพาเราไปพระ
    นิพพานได้ไหม ถ้าพาไปได้ละก็
    พระพุทธเจ้าพาไปแล้วทุกคน
    สมเด็จพระทศพลทรงตรัสว่า "อักขา
    ตาโร ตถาคตา ตถาคตน่ะเป็นแต่เพียง
    ผู้บอกเท่านั้น" ท่านจะไปไหน นั่นมันเรื่อง
    ของท่าน ไม่ใช่เรื่องของตถาคต จะดีจะชั่ว
    มันเป็นเรื่องของท่าน

    "จำข้อนี้ไว้ให้ดีนะและก็จงวางเสีย
    ให้หมด การถือตัวถือตนจงอย่ามี" ถ้า
    ท่านทั้งหลายมีความรู้สึกว่า สัตว์เดรัจฉาน
    กับเราไม่เป็นที่รังเกียจกัน เราไม่รังเกียจ
    สัตว์เดรัจฉานเพราะมีสภาวะความเกิด
    ขึ้นเป็นเบื้องต้น มีความแปรปรวนไป
    ในท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุด
    เขามีขันธ์ ๕ เรามีขันธ์ ๕ เขามีธาตุ ๔
    เรามีธาตุ ๔ ร่างกายเขาสกปรกฉันใด ของ
    เราก็สกปรกฉันนั้น ร่างกายเขากับร่างกาย
    เรามันก็ไม่ใช่ใครเป็นเจ้าของ "จิตผู้ครอง
    ร่างไม่ได้มีอำนาจเป็นเจ้าของร่างกาย"
    ร่างกายมีสภาวะของมันไปตามกฎของ
    ธรรมดา ใครจะยึดเหนี่ยวรั้งมันไม่ได้ ทำใจ
    ให้เป็นสุข คนดี คนชั่ว คนเลว เรื่องของเขา
    เราถือเฉพาะเพียงอย่างเดียวว่า "เราทำจิต
    ของเราให้บริสุทธิ์"
    เมื่อถึงเวลาจะคบหาสมาคม ก็ถือว่า
    การคบหาสมาคมในฐานะเป็นมิตร ไม่คิด
    รังเกียจคนและสัตว์ และมีความรู้สึกอยู่
    เสมอว่า ขันธ์ ๕ เรา ขันธ์ ๕ เขา ไม่ช้า
    มันก็พัง ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน
    ฐานะไม่มีความหมาย วิชาความรู้ที่
    ศึกษามาไม่มีความหมาย เราตายแล้วมัน
    ไม่ตายไปด้วย เราจะไม่ยอมถือตัวถือตน ..

    (พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน)

    ที่มาจาก.. โอวาทหลวงพ่อฯ เล่ม ๔
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    . ?temp_hash=f9de701cfebf189b88b9eda699a5ef71.jpg ..................................
    ปกิณกะธรรม 25
    ....................................

    ▪️ความละอายเกรงกลัวต่อบาปเป็นเครื่องส่อแสดงให้เห็นถึงความสะอาดของศีล ท่านใช้คำว่า หิริโอตตัปปะ

    ▪️กรรมที่ใครทำลงไปแล้วจึงเป็นสิ่งที่เปิดเผยตลอด มันเปิดเผยอยู่ในใจของเจ้าของนั่นแหละ ระลึกได้ก็ตามระลึกไม่ได้ก็ตาม มันก็ฝังไว้ในใจแล้ว

    ▪️การที่คนเราได้มาพบกัน และร่วมเดินทางไปด้วยกันได้อย่างตลอดรอดฝั่ง หรือร่วมเดินทางกันแล้วต้องแยกกันไปในที่สุดนั้น มาจากความเห็น ๒ อย่างเท่านั้น คือ ความศรัทธา และความคิดเห็น (ทิฐิมานะ) ถ้าได้มาพบ และร่วมเดินทางกันแล้วก็จากกันไป ก็เพราะตัวใดตัวหนึ่งนี้ไม่เท่ากัน ไม่ปรับความเห็นให้ตรงกัน เห็นต่างและไม่ยอมลงให้กัน การมีเพื่อนร่วมเดินทาง ร่วมพูดคุยกันได้ก็น่าจะดี แต่เพราะความเห็นตัวใดตัวหนึ่งในสองตัวนี้ไม่ตรงกัน จึงมักทำให้ร่วมเดินทางกันไม่ได้ตลอด เพราะฉะนั้นสัมมาทิฐิจึงสำคัญมาก

    ▪️สามีภรรยาและลูก ต่างก็มีความเกี่ยวข้องกันมาก่อนทั้งนั้น เพราะเราต่างเกิดมานับภพนับชาติไม่ถ้วน เราจะช่วยเขาได้เพียงส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือนั้นเขาติดมากับดวงจิต ซึ่งเราทำอะไรไม่ได้

    พระอาจารย์บัณฑิต สุปณฺฑิโต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    49797565_2336719669937873_7874597055727927296_n.jpg?_nc_cat=111&_nc_ht=scontent.fbkk5-3.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    30727215_230611430826708_8412971385461380160_n.jpg?_nc_cat=106&_nc_ht=scontent.fbkk5-8.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    IWinUP7tqQHQkLDL5Kzby9Co40nl5GfxjTlVq53JFtA3tSdTtot1UgCV0IN5_x4GYjYmlaIA&_nc_ht=scontent.fbkk5-6.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    eiG--aChw8_euyBZNOMTDpzuic_ilPf3182QvKNN3v5y4d4hvMomvkxZiVNe7Eot4fBjWUMw&_nc_ht=scontent.fbkk5-5.jpg




    #อยากได้ธรรมก็ต้องลงมือทำ

    "คนสมัยใหม่นี่เป็นคนสุขสบาย คือไม่อยากทำแต่อยากได้ มันเป็นไปไม่ได้ เพราะธรรมก็ชื่อว่าทำอยู่แล้ว คือจะต้องลงมือทำ จะต้องใช้ร่างกายทำ ไม่ใช่ว่าเราพูดทำได้ คือเราพูดให้เป็นวัตถุเป็นสมบัติเป็นอะไร ให้มันเป็นขึ้นมา มันเป็นไม่ได้หรอก มันเป็นได้ก็เพราะการทำ เราจึงพูดว่าธรรม

    เราทำมันน้อยไปมันก็ไม่เห็นเพราะว่าพระพุทธเจ้าเราทำมามาก ทำมาจนเกินหล่ะทีนี้ จนว่าสละชีวิต เลือดเนื้อร่างกายทุกอย่าง พระองค์สละหมดแล้วไม่ห่วงคือไม่ห่วงร่างกายไม่ห่วงชีวิต..."

    โอวาทธรรม
    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร
    วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=63b377da93202b1f6e6470927babc63a.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    51669962_1930486217074524_5751034717709271040_n.jpg?_nc_cat=101&_nc_ht=scontent.fbkk5-6.jpg




    เมื่อจะทรงถามถึงสิ่งที่อยู่เหนือโลก จะไม่ทรงถามว่า "ภิกษุ เธอมีสิ่งที่ทำหน้าที่กระทบอย่างไร มีความรู้สึกอย่างไร มีความรู้จำอย่างไร มีความจงใจอย่างไร"
    ****************
    “เวทนา สัญญา และวิญญาณ ๓ ประการนี้ รวมกัน ไม่แยกกัน และไม่สามารถแยกแยะบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้

    เพราะเวทนาเสวยอารมณ์สิ่งใด สัญญาก็กำหนดหมายสิ่งนั้น
    สัญญากำหนดหมายสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น

    เหตุนั้นธรรม ๓ ประการนี้ จึงรวมกัน ไม่แยกกัน และไม่สามารถแยกแยะบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้”

    ข้อความบางตอนใน มหาเวทัลลสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=43

    คำว่า "จำแนกแยกแยะ" หมายความว่า ไม่มีใครสามารถเพื่อจะแยกเป็นแผนกและพลิกแพลงแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันโดยอารมณ์ โดยที่ตั้ง โดยการเกิดขึ้น หรือโดยการดับไปได้.

    ก็ธรรมดาว่าอารมณ์ของสิ่งนั้นๆ มีอยู่.

    จริงอยู่ เมื่อบรรลุสิ่งที่เป็นของแบบโลกๆ จิตย่อมเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า เมื่อบรรลุสิ่งที่อยู่เหนือโลก [โลกุตตร] ความรู้ชัดย่อมเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า.

    จริงอย่างนั้น แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อตรัสถามถึงสิ่งที่เป็นของแบบโลกๆ ก็ไม่ตรัสถามอย่างนี้ว่า "ภิกษุ เธอบรรลุความรู้ชัดชนิดไหน เป็นความรู้ชัดในทางชั้นต้น หรือเป็นความรู้ชัดในทางชั้นที่สอง ที่สามและที่สี่" แต่จะตรัสถามด้วยอำนาจจิตว่า "ภิกษุ เธอมีจิตอย่างไร" และไม่ตรัสถามว่า "ภิกษุเธอมีผัสสะอย่างไร? มีเวทนาอย่างไร มีสัญญาอย่างไร มีเจตนาอย่างไร"

    แม้เมื่อจะทรงบัญญัติกุศลและอกุศล ก็ทรงบัญญัติด้วยอำนาจจิตอย่างนี้ว่า "สิ่งทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จด้วยใจ" และว่า "สิ่งที่เป็นกุศลเป็นไฉน ในสมัยใด จิตเป็นกุศลที่ท่องเที่ยวอยู่ในชั้นกาม ย่อมเป็นของเกิดขึ้นแล้ว"

    แต่เมื่อจะทรงถามถึงสิ่งที่อยู่เหนือโลก จะไม่ทรงถามว่า "ภิกษุ เธอมีสิ่งที่ทำหน้าที่กระทบอย่างไร มีความรู้สึกอย่างไร มีความรู้จำอย่างไร มีความจงใจอย่างไร"

    จะทรงถามด้วยอำนาจความรู้ชัดอย่างนี้ว่า "ภิกษุ ความรู้ชัดที่เธอบรรลุแล้วเป็นไฉน เป็นความรู้ชัดในหนทางชั้นต้น หรือเป็นความรู้ชัดในหนทางชั้นที่สอง ชั้นที่สามและชั้นที่สี่"
    ……….
    ข้อความบางตอนในอรรถกถามหาเวทัลลสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=493
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...