อยากได้ MSN ของท่านฝึกถอดจิตเเบบมองกึ่งกลางระหว่างคิ้วครับ

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย nay_pianfoon, 14 มกราคม 2009.

  1. nay_pianfoon

    nay_pianfoon สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2007
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    คื่อผมสนใจเเละฝึกมองกึ่งกลางระหว่างคิ้วสัก 4-5 ปี ที่เเล้ว ผมได้หนังสือมาสองเล่ม 1. สมาธิ ทางสงบ เเละถอดจิต 2.คู่มือฝึกถอดจิต ของคุณเเสงอรุณ สมัยยังอยู่ ป.6 แต่พอเรียนต่อที่มหาลัยก็เลยไม่มีเวลาฝึก เเละเพราะมันตรึ่งๆหมุนที่กึ่งกลางระหว่างคิ้วตลอดเวลา เมื่อมองอะไรตรงๆนาน หรือคิดอะไรมากๆ ก็เลยเเลกฝึกไป ตอนนี้จบมหาลัยพอดีก็เลยคิดว่าอยากจะฝึกต่อ แต่รู้สึกว่าไม่ค่อยพัฒนาเท่าที่ควรครับ ก็เลยอยากได้คำปรึกษาจากทุกท่านจากประสบการณ์

    *ความคืบหน้าในการฝึก ผมเพ่งมองกึ่งกลางระหว่างคิ้ว พร้อมกับกำหนดลมหายใจ จนรู้สึกตรึ่งๆๆตลอดเวลา ทึ้งลืมตาเเละหลับตา
    -แต่พอจิตเริ่มสงบก็ไม่เกิดอะไรขึ้นครับ
    -ตอนนอนก็นอนไม่ค่อยจะหลับ เพราะนอนที่ไรจะตรึ่งๆตรงกึ่งกลางระหว่างตลอดเวลาทำให้หลับอยาก

    nay_pianfoon@hotmail.com

    ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยคับ
     
  2. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    แอ้ด ไปแล้วครับ เผื่อสนทนากันครับ
     
  3. nay_pianfoon

    nay_pianfoon สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2007
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    อยากได้ท่านที่ฝึกเเบบมองกึ่งกลางระหว่างคิ้วครับ ไม่เห็นมีสักท่านเลย หรือว่าไม่มีใครฝึกสมาธิเเนวนี้ครับ
     
  4. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    วิธีนี้ทำได้แต่ยากหน่อย ขอแนะนำให้ไล่ลำดับขึ้นมาจะง่ายกว่า
    ให้ฝึกเข้าออกฌาณ4ให้ได้ก่อน
    พอถึงจุดหนึ่งที่สมาธิเริ่มทรงตัวแล้ว
    ค่อยขอบารมีพระ แล้วก็ฝึกกำหนดที่ระหว่างคิ้วไป
    ถ้าค่อยๆไล่ระดับไปจะเร็วกว่าครับ
    ถ้าเราเอาทีเดียวเลย มันจะยากไป
     
  5. nay_pianfoon

    nay_pianfoon สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2007
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณมากครับ

    แต่รบกวนเรียนถามนิดหนึ่ง ไม่ทราบว่าควรเลือกฝึกเเบบไหนก่อน ถึงจะได้ ฌาน 4 ครับ
     
  6. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    726
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,503
  7. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014


    การฝึกเพ่ง ตาที่สาม แบบที่คุณทำอยู่
    สุดท้ายจะไปจบที่ความตึงเครียด
    ในบริเวณ ระหว่างคิ้ว หรือ เหนือดวงตา
    เพราะฐานกาย ไม่ถูกต้อง
    ที่ถูกต้อง ก็คือ จุดกึ่งกลางลำตัว
    เพราะฉนั้น หากไปเพ่ง ฐานอื่น นานๆ
    โดยเฉพาะเป็น ฐานเดียว
    ไม่สับเปลี่ยนฐาน จะทำให้ จุดเคร่งเครียด
    และ ปวดตา ปวดหน้าผาก ปวดหัว
    ลองไปฝึก เพ่งกสิน ดูครับ
    แล้ว อาการปวดต่างๆ จะหายไป
     
  8. ไม่ใช่ตัวตน

    ไม่ใช่ตัวตน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2018
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +175
    ผมก็เป็น อาการเพ่งระหว่างคิ้ว มันก็คือ

    การไม่รู้จักการใช้สมาธิหรือเรียกว่า สัมปชัญญะ นั้นเอง

    หรือไม่รู้จักความรู้ในงาน มันเลยเพ่ง
     
  9. ไม่ใช่ตัวตน

    ไม่ใช่ตัวตน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2018
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +175
    ง่ายมาก อาการเพ่งระหว่างคิ้วก็เป็นอาการอย่างหนึ่ง

    บางทีเพ่งใจ ได้เหมือนกัน จึงเกิด ทุกข์เวทนาโดยมีปัจจัยสิ่งอื่นเช่น ความไม่สบายกาย

    เราแค่รู้สึก ลักษณะของการคลายตัว หรืออาศัยปัจจัยอื่นก็ได้ เช่นเวลานอน เราเพ่งอยู่ใช่ปะ ก็เปิดแอร์เย็นๆให้ความรู้สึกคลายตัวไปคิดเรื่องแอร์เย็น ระลึกการคลายตัวหายเพ่ง ระลึก จาง คลาย บ่อยๆ

    ขึ้นอยู่ตามสมควรว่ากิจใดควรทำ
     
  10. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014

    ความจริงยังมี อริยาบท อื่นอีก
    ก็คือ ยืน เดิน นั่ง นอน
    สี่อย่างนี้ ควรทำสลับกันสลับกันมา
    แล้วฐานจิต จะไม่เคร่งเครียดจนเกินไป

    ส่วน สัมปชัญญะ ก็คือ สติ หรือ มหาสติ นั่นเอง
    หากรู้จักใช้ให้เป็น ก็จะเรียกว่า เป็นวิปัสสนา ก็ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2019
  11. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014

    ท่านเคย เพ่งความว่าง บ้างหรือไม่
    สุดท้าย เพ่งความว่างเปล่า ได้ด้วย
     
  12. ไม่ใช่ตัวตน

    ไม่ใช่ตัวตน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2018
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +175
    ความรู้สึก รู้อันใด รู้ว่าเบลอก็รู้ รู้ว่าสมาธิไม่มี
    รู้ว่าเคลียดก็เคลียด

    รู้สิ่งใดสิ่งนั้นคือธรรม

    รู้เพื่อเดินสติปัฏฐาน4 ครับ

    จากนั้นมาเรียนรู้จักต่างๆของอารมณ์ สาระพัด มาก ของจิตใจ

    ไตรลักษณ์

    จนแจ้ง อริยสัจ 4
    รู้สึกทุกข์ปรากฏ ก่อนจะโกรธ ก่อนจะมีอะไร ด้วยควาทแปรปรวยในไป สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์

    เพื่อ ขึ้นองศ์แห่งมรรคมีองศ์ 8 ครับ

    เป็นตัวแก้อาการโมหะ

    ต่อไปเราก็จะเข้าใจสมาธิมากขึ้นครับ
    ตามสถานะของตน
     
  13. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014

    ดี ท่านเข้าใจได้ เราขอ อนุโมทนา
    วันหนึ่ง เราคงต้องทำงานร่วมกัน
     
  14. ไม่ใช่ตัวตน

    ไม่ใช่ตัวตน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2018
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +175
    ผมทำสมาธิไม่เป็น

    ช่วงนี้มีความสงสัยมาก ว่าอะไรเป็นเหตุ อะไรเป๊นปัจจัย
     
  15. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014

    การทำสมาธิ ก็คือ การทำใจให้นิ่งๆ
    ดังนั้น เมื่อไหร่ที่ใจเรานิ่ง นั่นเรียกว่า
    การทำสมาธิแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ท่าไหน
    ทำการทำงานอะไรอยู่ ก็เรียกว่า การทำสมาธิ
    แม้แต่การจ้องอ่านหนังสือ ก็เป็นการทำสมาธิเหมือนกัน
    ดังนั้นจะเรียกว่า ทำสมาธิไม่เป็น ก็ไม่ได้
    จะต้องเรียกว่า ทุกคนทำสมาธิเป็นหมด
    แต่ยังไม่รู้จักว่า ตนเอง ทำสมาธิอยู่

    และทุกคน ก็มี ความทุกข์ใจ เป็นเหตุทั้งนั้น
    จะเหมือนกันหมด ทุกผู้ทุกคน
    ไม่มีใครแตกต่างกันเลย ใน สามโลกธาตุ นี้
    ทุกคนมีทุกข์เหมือนกันหมด
    แต่จะมากบ้างน้อยบ้าง ต่างกันไป
    ตาม ภูมิธรรม ของตนเอง

    โง่มาก ก็ปล่อยวางได้น้อย
    โง่น้อย ก็ปล่อยวางได้มาก
    ปล่อยวางได้หมด ก็เป็น อรหันต์
    มันจะเป็น ปล่อยเอง เข้าใจเอง
    ไม่มีใครกำหนดให้ ไม่มีใครทำแทนให้ได้
    ต้องทำเอง ฝึกปล่อยวางเอง
    ก็จะรู้ได้ด้วยตนเอง ว่า เราปล่อยวางได้แค่ไหน
     

แชร์หน้านี้

Loading...