อยู่อย่างเบิกบานด้วยตนเอง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้ว่าง, 14 มกราคม 2019.

  1. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ต้องใช้ภาษา "ให้ละเอียดกว่านี้" และต้องใช้แบบ "ถูกต้อง ตรงกับ ปัจจุบันขณะ ณ ขณะนั้น ๆ ด้วย"
    +++ มิฉะนั้น "การระบุใช้ภาษาแบบ การเดินจิต จะไม่สามารถ เดินจิตตามได้ และ จะทำ โอปนยิโก" ไม่ได้เลย

    +++ ตรงอาการ "รู้ เป็นเรา" นั้น "ถูกต้องแล้ว" แต่การใช้ภาษาของคุณ ยังเบี่ยงเบนมาก จน "ชี้ไปที่อาการอื่น" ซึ่งไม่ตรงประเด็น

    +++ ภาษาตรงนี้ คือ ณ ขณะที่เรา "เป็นรู้" ให้ใช้ภาษาตามตรง ที่เป็นสัจจธรรมว่า "เป็นรู้ หรือ เป็นสภาวะรู้ หรือ เป็นสติรู้" ก็ได้

    +++ เช่น "ณ ขณะที่ เป็นรู้" ณ ขณะนั้น ๆ "อาการสมมุติ ว่า เป็นเรา ไม่ปรากฏข้างใน รู้" "อาการบัญญัติ ว่าเป็นเรา ไม่ปรากฏข้างใน รู้"

    +++ ณ ขณะนั้น ๆ "อาการสมมุติ เป็น ตัวพูดมาก" "อาการบัญญัติ เป็น ตัวดู" ทั้ง 2 อาการ แยกหลุดออกไป "ไม่สามารถ อยู่ ในรู้ได้เลย"

    +++ ให้สังเกตุ "การใช้ภาษาของผมให้ดี ๆ" ว่า ผมเรียงคิวจาก "ขณะอาการแรก ไปทีละอาการ จนถึง อาการสุดท้าย"
    +++ หากคุณ "เดินจิตตามได้ (โอปนยิโก)" คุณจะได้ "ปรากฏการณ์ทางสภาวะ" ปรากฏกับคุณ ทันที ให้สังเกตุไปเรื่อย ๆ นะ
    +++ ภาษาในวรรคนี้ "กำกวม" ไปหมดในทุกขณะจิต มันเป็นภาษาแบบ Narration (บรรยาย/นิยาย/มโน) ไม่ใช่ภาษาแบบ Instruction (คู่มือ/ขั้นตอนปฏิบัติ/เดินจิต)
    +++ เคยเจอคำว่า คุณ "อ่าน Instruction เป็นมั้ย" ในเวลาที่ต้องใช้ของแบบ "ถอดประกอบ ต่าง ๆ"

    +++ สันทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ คือ อาการของ
    +++ ปฏิบัติด้วยตนเอง ไม่จำกัดกาล ทดลองด้วยตนเอง เดินจิตด้วยตนเอง จะรู้ได้ด้วยตนเอง

    +++ บทสวดข้างบนนี้ มันชัดเจนอยู่แล้วว่า "ไม่ใช่ภาษาบรรยายในห้องบรรยาย Lecture Room"
    +++ มันเป็น "ภาษาภาคปฏิบัติล้วน ๆ ที่ต้องเอา กาย/จิต มาเป็นห้องทดลอง ห้องแลป Laboratory Room"

    +++ ภาษาแบบ Instruction จะไม่ "อธิบายจน มโน อาละวาด" ไม่นำให้ นึก/คิด มีแต่ "ตัดปรุงแต่ง" ออก
    +++ ภาษาแบบ Instruction จะระบุ "ตรง ๆ ไปที่ วิธี การเดินจิต" แบบ step/step ที่สามารถทำได้
    +++ ภาษาแบบ Instruction จะชี้ "ไปที่ การกระทำ ที่ให้ผลลัพธ์" ระบุ "เหตุแห่งการกระทำ และ ผลที่ออกมา"

    +++ เมื่อ "ผลลัพธ์" ออกมาแล้ว จึงระบุ "การใช้ภาษา" อีกครั้ง ภายหลัง
    +++ ซึ่งเป็นเรื่องของการ "ฝึกใช้ตัวพูดมาก" ให้ทำงานใน "ภาษา 4 ประการ"
    +++ ซึ่งมี "ธัมมะ อัตถะ นิรุติ ปฏิภาณ" ที่มี "สภาวะรู้ ครอบคลุมอยู่โดยตลอด"
    +++ ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องของ ปฏิสัมภิทา อันเป็นหมวดของ "ตัวพูดมาก" โดยตรง

    +++ หากคุณ "ไม่แก้ไข ในเรื่องภาษาแล้ว" คุณจะไม่มีทางได้ใน "ภาษา 4" แน่นอน
     
  2. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ นี่ก็ "ผิด" อีก อาการของมันคือ "เงา"
    +++ เงา มันมาที่ โพรงจมูก แต่ "ตัวดู" ยังอยู่ข้างใน กระโหลกศีรษะ

    +++ ให้แถมการฝึก ภาษาแบบ "ขณะจิต สู่ผลลัพธ์ เหตุเดินจิตต่อ" ไปทีละวาระ ด้วย
    +++ อาจยากอยู่สักหน่อย แต่ "คุ้มเหลือคุ้ม" แน่นอน ถ้า ทำได้นะ
     
  3. คนโง่โง่

    คนโง่โง่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2012
    โพสต์:
    483
    ค่าพลัง:
    +302
    สวัสดีครับท่านธรรม-ชาติ
    ผมมาอยู่ตรงจุดนี้ได้ไงครับนี่ ทำไมภาษาผมมันเพี้ยนขนาดนี้ ไม่มีความละเอียดอย่างที่ท่านกล่าวเลย จะพยายามให้มากกว่านี้ครับ
    จะใช้ภาษาให้ตรงกับอาการณขณะนั้นครับ
    ลองย้อนดูน่าจะมีตัวพูดมากแทรกมาด้วยแสดงว่าสติผมขาดไปในช่วงนั้นมีกระบวนการคิดเข้ามาแทรกด้วยแน่นอน(พอผมเผลอมันก็มาจริงๆครับ ทุกขณะจิตชั่วแว้บเดียวมันก็มาละ) จะพยายามฝึกฝนในด้านวสี และในส่วนอื่นๆต่อไปครับ และจะไม่ยอมแพ้ตัวกูในอดีตที่ผมสร้างไว้แน่นอนครับ
    ช่วงนี้ขอไปทำความเข้าใจในส่วนที่ท่านอธิบายไว้ในด้านล่างครับ
    ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
    ขอบคุณครับผม
     
  4. คนโง่โง่

    คนโง่โง่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2012
    โพสต์:
    483
    ค่าพลัง:
    +302
    สวัสดีครับท่านธรรม-ชาติ
    ไปอ่านเรื่องตัว จะ หรือกริยาจิต มาพอเข้าใจแล้วครับ ในสภาวะ รู้ อย่างเดียวไม่เห็นตัว จะ เลยครับและสภาวะรู้อย่างเดียวทำอะไรกับตัวพูดมากไม่ได้เลย
    เมื่อรู้ และทำการตื่น(การระลึกถูกรู้(เข้าใจคำนี้ซะที)) มันจะรู้สึกสว่่าง กว่าปกติ ตรงจุดนี้ถ้าเราดำเนินต่อเนื่องพอจะสังเกตุได้ว่าถ้าไม่กำหนดจิตเราจะทำอะไรไม่ได้เลย ขยับมือ ขยับนิ้วก็ไม่ได้ คิดก็ไม่ได้ ต้องพยายามเดินจิตในสภาวะนี้ไปเรื่อยๆใช่ไหมครับให้เราเคยชินกับมัน
    ผมมีคำถามเพิ่มเติมครับ เรารู้สึกถึงเงา เอาเนื้อของเงาเป็นที่ตั้ง ปรับเนื้อของกายเวทนาทั้งตัวให้กลายเป็นเนื้อในระดับเดียวกับเงา อาการของเงาแทบจะหายไปเลย เมื่อเงากลายเป็นเนื้อเดียวกับกายเวทนา ก็รู้สึกมีพลังงานไหลออกมาทางจมูก ปาก พอทำแช่ไปซักพักใหญ่ๆจนเป็นเนื้อเดียวกัน เงาก็แจ่มชัดขึ้นมาอีก ก็ทำการปรับอีกลองปรับไป 2-3 รอบ รู้สึกเลยว่าเงาเบาบางลงไปครับ(เนื้อของเงาเบาลงไปมากนะครับสมัยก่อนแน่นจนเสียดเลย)ขั้นตอนนี้ต้องทำในช่วงที่ผมนอนทำสมาธิจน กายเวทนาเกิดแน่นขึ้นมาทั้งตัวผมก็รักษาสภาวะนั้นไว้แล้วก็ปรับไปเรื่อยๆครับ และระหว่างวันผมทำไม่ได้อาการหายใจทางกายหยาบจะผิดปกติ หายใจอึดอัดครับผม
    ส่วนการนำตัวดูเป็นเนื้อผมไม่กล้าทำต้องให้ท่านธรรม-ชาติแนะนำก่อนครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2019
  5. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ "ตัวจะ" เห็นได้ในสภาวะรู้ หรือ อรูปสมาบัติ ขึ้นไปเท่านั้น หาก "ปล่อย" ให้มันเกิดขึ้น
    +++ ทำได้ ถ้า "รู้วิธีทำ"
    +++ สภาวะตื่น คือ สภาวะรู้ตั้งมั่น (ดำรงค์สติมั่น)(สติสัมโภชฌงค์) ต่อไปจะเข้าใจได้เอง
    +++ "ถูกต้อง" หากไม่มีการ "กำหนดจิต" จะไม่มีอะไร "เกิดขึ้น" มาได้ ทุกอย่าง "ดับ" ทั้งรูปทั้งนาม
    +++ ตรงนี้เรียกว่า "นิโรธสมาบัติ" เป็นอาการ "ดับจิตตะสังขาร" ทั้งหมด พ้นจากอาการ "เกิด/ดับ" ทั้งหมด
    +++ เพราะมัน "เกิดไม่ได้ หลังจาก ดับไปแล้ว" เหลือแต่ "สภาวะรู้" อย่างเดียว
    +++ ฝึกให้อยู่ใน "นิโรธตรงนี้จนแค่ กำหนดดับ วาระจิตเดียว ก็เข้านิโรธได้ทันที"

    +++ ณ เฉพาะขั้นตอนนี้ ให้ฝึก "ดับ และ อยู่ในนี้ ให้ชำนาญก่อน" ตรงนี้เป็นขั้นตอนสำคัญ ก่อนเข้าสู่ ปฏิจจสมุปบาท
    +++ ตอนนี้คงเข้าใจคำว่า "ดับจิต" ได้ดีพอสมควรแล้วนะ ให้ "อยู่" ไปเรื่อย ๆ "อย่าปล่อย" ให้ตัว "จะ" มันเกิด

    +++ อย่าลืมว่า "พระพุทธองค์" ท่านค้นพบหนทางที่ "หลุดออก/พ้นออก จากวงจรของอาการ เกิด/ตาย (เกิด/ดับ)" ดังนั้น ให้เน้นตรงนี้ ให้มั่นคง
    +++ ส่วนการสอนให้ "อยู่กับ เกิด/ดับ ตลอดกาล" โดยไม่สามารถอกมาได้ ให้ถือว่า เป็นคำสอนที่ เป็น "ปฏิปักษ์ กับ ศาสนาพุทธ" นะ
    +++ "ห้าม" เอาเนื้อของเงา เป็นที่ตั้ง "โดยเด็ดขาด" ในการฝึกบริเวณนี้
    +++ "ให้" เอาเนื้อของ "ตัวดู" เท่านั้น เป็นที่ตั้ง "เพียงอย่างเดียว"
    +++ กายเวทนา คือ "เนื้อของ ตัวดู ที่ขยายออกมาเต็มตัว" เอาเนื้อนี้ เป็นที่ตั้ง เท่านั้น
    +++ "ห้าม" เล่นกับเงาอีก มันเสียเวลา และ มีโอกาสหลงทางได้ง่าย ๆ
    +++ พลังงานจะออกมาจาก "เนื้อ" ของ ตัวดู/กายเวทนา เท่านั้น ไม่ได้ออกมาจาก เงา แม้แต่นิดเดียว
    +++ "ห้าม" เล่นกับ เงา ในบริเวณนี้ มันทำให้ เสียเวลา/หลงทาง/ไร้ประโยชน์
    +++ การฝึก "เนื้อต่าง ๆ ตามความเป็นจริงแห่งเนื้อ" จะไม่มีการใช้ "เงา" แม้แต่น้อย

    +++ ณ ปัจจุบัณขณะ ควรทำ สภาวะตื่น ที่เป็น "1. สติสัมโภชฌงค์" ให้ชำนาญและมั่นคงก่อน
    +++ เมื่อผ่านแล้วจึงค่อยทำ การฝึก "เข้า/ออก เนื้อของสภาวะธรรมต่าง ๆ (2. ธัมมะวิจัย สัมโภชฌงค์)" ในภายหลัง
    +++ เมื่อเริ่ม ชำนาญและคล่องตัวแล้วจึงนับได้ว่า ผ่าน "3. วิริยะสัมโพชฌงค์" ภายในตัวมันเอง (เริ่มได้นิสัย)
    +++ ระหว่าง "การเดินจิต" เข้า/ออก "เนื่อต่าง ๆ" นั้น อาการ "เบากาย/จิต" ย่อมเกิดขึ้น ตรงนี้เป็น "4. ปิติสัมโพชฌงค์"
    +++ ระหว่างการฝึก อาการ "เนื้อสภาวะธรรม เปลี่ยนไปมาตลอดเวลา" แต่เรากลับ "สงบท่ามกลางสภาวะ" ตรงนี้เป็น "5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์"
    +++ อาการ "สงบท่ามกลางสภาวะ" ตั้งมันในทุก "สภาวะธรรม" ตรงนี้เป็น "6. สมาธิสัมโพชฌงค์"
    +++ จากนั้นสามารถ "ระงับการส่งออกต่อเชื่อ ได้ในทุกสภาวะธรรม" ตรงนี้เป็น "7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์"
    +++ ขยายตัวดู มาเป็น กายเวทนา "แล้วเป็น เนื้อของกายเวทนา"
    +++ จากนั้น "หด/ขยาย" ไปพร้อม ๆ กับกายเวทนา
    +++ ก็จะเป็นการ "อยู่/เป็น" เนื้อตัวดู ได้อย่างแท้จริง
    +++ ตรงนี้ต่างหาก "ที่ให้ทำ" คือ "อยู่/เป็น เนื้อตัวดู"
    +++ จนกว่า "เนื้อตัวดู" จะเปลี่ยนเป็น "สภาวะตื่น"
    +++ เมื่อ "ดำรงค์สติมั่น จนเป็น สติสัมโพชฌงค์" ได้แล้ว
    +++ ผมจะค่อย ๆ บอกวิธีของ "ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์" ในภายหลัง นะครับ
     
  6. คนโง่โง่

    คนโง่โง่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2012
    โพสต์:
    483
    ค่าพลัง:
    +302
    สวัสดีครับท่านธรรม-ชาติ
    อาการนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแว้บๆตลอดระหว่างทำธุระนะครับไม่ได้นั่งสมาธิ รู้ว่าจะขยับแขนขวาถ้าไม่สั่งหรือกำหนดมันก็จะไม่ขยับรวมทั้งกริยาอื่นๆด้วยครับ ถ้าปล่อยเหลือแต่รู้ทุกอย่างก็ปกติครับ (รู้สึกมีอีกตัวด้วยนะครับอยู่ภายในนี่ละที่จะทำโน่นี่นั่นโดยที่ผมไม่ได้กำหนด)
    อาการนี้คนละอย่างกับแขนกู ขากู คือรู้สึกถึงความเป็นกูทั้งตัวแต่ขยับไม่ได้ถ้าไม่กำหนด
    สาธุ จะพยายามครับ
    จะเลิกโดยเด็ดขาดครับ
    ผมก็ปฏิบัติทุกวันครับถ้าว่าง แต่ตอนนี้จะเน้นมากขึ้นครับ
    แต่ทำไมผมถึงไปหลงกับเงาอีก
    ปกตินักปฏิบัติธรรม เขามีเรื่องเยอะแบบผมไหมครับท่านธรรม-ชาติ มีเรื่องสงสัยวุ่นวายได้ทุกวัน หรือให้ผมไปปฏิบัติให้เข้าที่เข้าทางก่อนค่อยมาถามครับ
    กราบขอบคุณในทุกๆคำตอบด้วยนะครับ
     
  7. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ใช่ "การฝึก คือ ทุกขณะจิต ทุกเวลา ทุกอิริยาบท ไร้ขีดจำกัด" ถ้านั่งอย่างเดียว ถือว่า "จำกัดการฝึก ของตัวเอง" ไว้แค่นั้น

    +++ ให้กำหนดแค่ "1 วาระจิต ให้มัน เดิน" จากนั้นให้ "ปล่อยให้มันเดิน" แต่เพียงอย่างเดียว
    +++ ดับ "จิตตะสังขาร" ให้พ้นจากอาการ "เกิด/ดับ ของจิต"
    +++ สิ่งที่ "ปรากฏต่อเนื่อง ในอิริยาบท เดิน" เป็นอะไรที่ "ไร้กิริยาอาการ" ใช่หรือไม่
    +++ อาการ "เดิน ของ รูปกาย" ยังมีอยู่ "ใช่หรือไม่" ตรงนี้เรียกว่า "รูปกาย มันเดินอยู่ ใช่หรือไม่"

    +++ และตรงนี้ จะใช้คำว่า "เราเดิน" ไม่ได้ ใช่หรือไม่ และ "ความเป็น เรา" ไม่มีปรากฏ ใช่หรือไม่

    +++ 1. ทั้งหมดเกิดจาก "การกำหนด 1 วาระจิต ให้มัน เดิน"
    +++ 2. ดับจิต ไร้อาการ "เกิด/ดับ" แต่ผลต่อเนื่องจาก การกำหนด ยังมีอยู่
    +++ 3. การกำหนดเดิน เป็น "มโนกรรม" ส่วนรูปกายที่มันเดิน เป็น "วิบาก (วิปากะปัจจัยโย)"

    +++ ให้ฝึก "1กรรม : 1 วิบาก" เริ่มจาก "เดิน" "ขยับ" "ยกแขน" และอื่น ๆ
    +++ แล้วจะรู้จัก "กรรม-ฐาน ของหลวงพ่อ เทียน รวมทั้ง กรรม-ฐาน สายหนอ" ได้ "ชัดแจ้ง" เอง
    +++ ตรงนี้เป็น "กรรม-ฐาน ตามความสัมพันธ์ของ กาย/จิต/กรรม/วิบาก อันเป็น รูป/นาม" ทั้งหมด

    +++ หมายเหตุ อาการตรงนี้ จะตรงกับภาษาของพระป่าว่า มันเป็น "เศษกรรม" หรือ "วิบากขันธ์" ก็ได้ แล้วแต่ภาษาของบางรูป
    +++ ตรงนี้ เป็นอาการ "ตัวอย่าง" ของสิ่งที่เรียกกันว่า "วิบาก" และเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า "กฏแห่งกรรม" ตรงนี้เป็น "ตัวอย่าง เท่านั้น"

    +++ นี่เป็นอาการ "ไร้ รูป/นาม ที่ตน" "ดับ รูป/นาม ที่ตน" แต่ไม่ได้ "ดับในสรรพสิ่ง ข้างนอกตน" ใช่หรือไม่
    +++ ดังนั้น "นิโรธ = ดับรูป/นาม" นั้น "ดับที่ตน หรือ ดับข้างนอก"
    +++ จำเป็นที่จะ "ต้องตาบอด ต้องอัมพาต" หรือไม่ เมื่อทำได้ ก็รู้เอง
    +++ ในท่อนนี้แหละ "ถูกต้องแล้ว" และ มันเป็นอาการ ที่กล่าวมา ตามข้างบนนี้
    +++ ตัวนี้แหละ "ตัวที่อยู่ข้างใน" และตัวนี้แหละ คือ "ตัวจะ"
    +++ ปรากฏการณ์ของ "ตัวจะ" จะมี "1 รูป+1 นาม" ผสมอยู่ด้วยกัน ใน 1 วาระจิต
    +++ 1 รูป คือ "1 ความเข้าใจ" 1 นาม คือ "1 อารมณ์" ตัวนี้คือ "นามะรูปัง ใน ปฏิจจสมุปบาท"

    +++ ตรงนี้ในหมวดของ "สติปัฏฐาน 4" จะตรงกับ "จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน"
    +++ ตัวนี้ เมื่อ "อยู่ข้างใน เรียกว่า จิตผุด" ตัวนี้ เมื่อ "อยู่ข้างนอก เป็น วจี/มโน สังขารจิต"

    +++ ตัวนี้ ในยามแรกเกิด จะรู้สึกได้ นับตรง "อาการที่รู้สึกได้ เฉพาะตรงนี้ ในปฏิจจสมุปบาท เรียก ผัสสะ"
    +++ ตัวนี้ ในภาษาพระป่า เรียกว่า "กิริยาจิต" ให้เข้าใจ "ภาษา ในบริเวณนี้ ไว้แค่นี้ก่อน"
    +++ ถูกแล้ว ถ้า

    +++ 1. ไม่มี "ตัวจะ (กิริยาจิต)"
    +++ 2. ถึงมี ก็ "ไม่ทำตาม"
    +++ 3. ตัวกู/ของกู "หยุด"

    +++ ขณะที่ ตัวกู/ของกู "หยุด" แล้ว เข้าไปอยู่ข้างในมัน
    +++ ตัวกู/ของกู จะกลายสภาพ เป็น "ฌาน ในชั้น อัปปนาสมาธิ"
    +++ ลอง "เล่น" ดูในบริเวณนี้ เมื่อเข้าใจชัดเจนแล้ว
    +++ ก็จะ "ผ่าน/พ้น" ในชั้นสมาธิ ทั้งหมด เข้าสู่ภาค "ปัญญา" ได้เองโดยตรง

    +++ และนี่คือ "สติ สมาธิ ปัญญา" ที่เป็นเบื้องต้นของ "วิชชา วิมุติ" ซึ่งจะ ตามมาภายหลัง
    +++ เพราะมัวแต่ไป "ดู" และยัง "เป็นตัวดู" อยู่นั่นแหละ
    +++ ยังไม่ยอมทำ "ตัวดู/ถูกรู้" ให้มัน จบ ๆ ไปซะที
    +++ ไม่มี หาคนที่ "มี" ยากมาก
    +++ เพราะ "ไม่" ดำรงค์สติมั่น
    +++ ก็เลย "ไม่" รู้ธรรมเฉพาะหน้า

    +++ ปล่อยให้เป็น "ทางใครทางมัน" ก็แล้วกัน
    +++ มันเป็นเรื่อง "เกิดมา ไม่เคยเจอ" มันก็แบบนี้แหละ
    +++ ถ้ามัน "เข้าที่เข้าทาง" ได้ก็ดี
    +++ แต่ถ้ามัน "เข้ารกเข้าพง" ล่ะ
    +++ รู้ทางชัดเจน ดีพอ แล้วเหรอ
    +++ ไม่เป็นไรครับ
     
  8. คนโง่โง่

    คนโง่โง่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2012
    โพสต์:
    483
    ค่าพลัง:
    +302
    สวัสดีครับท่านธรรม-ชาติ
    ครับจริงๆแล้วผมฝึกแบบนั้นแทบตลอดเวลาครับแต่ไม่ได้บอก ไม่ว่าจะเดินเที่ยวห้างเล่นเกม หรือทำอะไรก็ตามแม้ตอนไปฉี่ ถ้ามันยังค้างในสภาวะธรรมนั้นๆผมก็ทำต่อไปทั้งแบบนั้น เพราะผมอยากรู้ว่ามันจะเป็นอย่างไรครับ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นคือผมไม่รู้ว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเรียกว่าอะไรมีชื่อแบบไหนครับพยายามทำความเข้าใจศัพท์อยู่ครับ
    ลองกำหนด 1 วาระจิตให้มันเดิน ก็เดินได้ตามปกติ แขนแกว่งไปตามธรรมชาติ แต่แขนยกขึ้นไม่ได้ถ้าไม่กำหนดให้มันยก ใช้คำว่ารูปกายมันเดินอยู่ตามนั้นครับ
    ใช้คำว่าเดินครับ ไม่มีเราในนั้น
    ถ้าตรงนี้เรียกว่านิโรธ ดับที่ภายในครับในนั้นจะไม่มีอะไรเลยนอกจากผมคุยคนเดียวตัวจะก็ไม่มี ภายนอกยังได้ยินเสียงตามปกติ รูุ้รูปกายตามปกติ แต่จะมีขอบรูปกายรู้สึกชัดเจนโดยสภาวะนิโรธอยู่ภายในนี้ครับ
    ต้องไปศึกษาภาษาธรรมะเพิ่มเติมครับ จะได้เข้าใจในส่วนต่างๆ
    เพิ่งลองทำตอนบ่ายๆวันนี้ครับ ลองกำหนดเข้านิโรธดู แล้วเดินมาเดินไป ก็ไม่เห็นมีอะไรภายในมันก็นิ่งๆ แน่นๆทั้งตัว เลยมาลองนั่งสมาธิดูก็ไม่มีอะไรต่าง เร่งสัมปชัญยะกายภายในก็ไม่ได้ แต่ภายนอกขอบยังเร่งได้อีกครับ
    ลักษณะที่ท่านธรรม-ชาติกล่าว คือเรามองจากด้านนนอกเข้าไปมองตัวดูด้านในใช่ไหมครับ
    เรื่องแบบนี้ถ้าท่านไม่ถามออกมาผมก็ไม่กล้าบอกใครหรอกครับมันเป็นเรื่องของความรู้สึกล้วนๆ ไม่มีการมองเห็นหรืออะไรเลยเชื่อมั่นในสติ-สัมปะชัญญะที่เราฝึกมาเท่านั้น
    โดยปกติถ้าไม่มีกลัยาณมิตรคอยช่วยเหลือผมคงหลุดไปไกลมากครับเพราะผมค่อนข้างดื้อมากในเรื่องปฏิบัติธรรมแบบผิดๆครับ ตอนนี้ดีขึ้นเยอะเลยครับ
    ขอบคุณมากครับ
     
  9. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ลักษณะการฝึก ที่ผมฝึกให้กับกลุ่มฝึก คือ "ลืมตา อยู่กับ อิริยาบทปกติ" ไม่ได้นั่งหลับตาแบบที่สายอื่น ๆ ทำกัน
    +++ แรก ๆ แม้ว่าจะให้ "นั่ง" ก่อน เพื่อให้ "ทำความรู้สึกตัวทั่วถึง ทั้งตัว ให้ได้" แต่พอได้แล้ว ก็จะให้ทำแบบ "ไม่จำกัด"
    +++ ดังนั้น การฝึกของคุณ ถือว่า "มีรากฐานเดียวกัน" กับของกลุ่มฝึก ซึ่งสามารถ "เดินจิต" ได้อย่างปกติ ท่ามกลางสังคมที่ว้าวุ่น
    +++ "อย่าใช้คำศัพท์ ที่ต้องเอามาแปล โดยเด็ดขาด" ถ้าจำเป็นที่จะต้องใช้จริง ๆ
    +++ ก็ต้อง "ระบุ" คำศัพท์ทุกตัวที่ "ร่วมในอาการเดียว" เช่น "ตัวกู/ตัวดู/อัตตาจิต/วิญญาณขันธ์ ฯลฯ"
    +++ ตัวอย่างคำศัพท์ที่ยกมานี้ "ทุกคำ ชี้ไปที่อาการเดียวกันทั้งหมด"
    +++ ไม่มีอาการอื่นผสมเลย เป็น "อาการเดี่ยว อาการเดียว" เท่านั้น

    +++ อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ "กายเวทนา"
    +++ ให้คุณ "เข้าอาการ ตอนนี้ แล้ว อยู่ กับมัน" จากนั้น "อ่านคำศัพท์ ไปทีละตัว" จะเข้าใจการใช้ภาษา "ของภาคปฏิบัติ" ได้เอง

    +++ ใช้ภาษาไทยโดยทั่วไป
    +++ "ความรู้สึกตัว ทั้งตัว" "ความรู้สึกตัว ทั่วถึง" "เป็นตัว เนื้อสภาพเดียว" "เป็นกายพลังงาน" "เป็นกายทึบแสง" "เป็นตัวทึบแสง ที่มีสติเต็มบริบูรณ์"
    +++ "เป็นตัวดำ ๆ แต่มีสติเต็มที่" "คล้าย ๆ ไอ้โม่ง แต่รู้ชัดแจ่มใส" "เป็นตัวแน่น ๆ" "เป็นตัวคล้าย สนามพลังแม่เหล็ก" และอื่น ๆ ฯลฯ

    +++ ใช้ภาษาประกอบพระไตรปิฏก
    +++ "เป็นกายสติ" "เป็นกายสัมปชัญญะ" "เป็นกายฌานทั้งตัว" "เป็นสติครองฌาน" "เป็นกายสัมโภชฌงค์" และอื่น ๆ ฯลฯ

    +++ ไม่ว่าจะ "ใช้ภาษาอะไรก็ตาม" ให้ใช้ "เฉพาะ" กับผู้ที่เราสื่อสารด้วยเท่านั้น และใช้ "คำเฉพาะ ที่ตรงกับความเข้าใจ ของผู้นั้น"
    +++ การใช้ คำศัพท์/ภาษา ที่ "ไม่สามารถ สื่อความเข้าใจ ให้ตรงกันได้" เรียกว่า "พูดกัน คนละภาษา"
    +++ ทำให้ พูดไม่รู้เรื่อง และ ปิดกั้นการปฏิบัติลง โดยสิ้นเชิงได้

    +++ ให้เข้า "กายเวทนา" แล้ว "อ่านไปทีละภาษา" จะรู้ได้เองว่า "ไม่ว่าภาษาจะพาไปที่ใดก็ตาม แต่ อาการยังชี้ไปที่เดียว" อยู่ดี
    +++ ตรงนี้ "ถูกแล้ว"
    +++ ตรงนี้ "ถูกแล้ว" นิโรธ คือ "การดับตน ในระดับ ไร้รูป/นาม แห่งความเป็นตน"
    +++ นิโรธ ไม่ใช่ "ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ รวมถึง เป็นอัมพาต" และ "ไม่ใช่ พรหมลูกฟัก"
    +++ การ "ดับตน ที่สมบูรณ์" นั้น แม้แต่ "กิริยาจิต/ตัวจะ" ก็ไม่สามารถ เกิด ขึ้นมาได้เลย
    +++ แต่ มีอะไรบางอย่างที่ "รู้" ณ บริเวณนี้ได้ คือ "การสื่อสาร ที่ ไม่มีตัว ไม่มี กิริยาจิต"
    +++ มีอาการคล้าย ตัวพูดมาก "แต่ ไม่มีตัว ไม่มีอาการ ไม่มี กิริยา"
    +++ มันเป็น "การสื่อสาร ที่ผนึกเข้ากับธรรมชาติ เป็นเนื้อเดียวกัน"
    +++ ตรงนี้ให้ทำ "หมายเหตุเฉพาะของคุณ เอาไว้ เท่านั้น" และ ให้ยกไว้ก่อน
    +++ ตรงนี้เริ่ม "รู้" แล้วนะว่า "เนื้อ" ภายนอก/ภายใน มันต่างกัน และ เป็น คนละเนื้อ
    +++ และ แต่ละเนื้อ ล้วนเป็น "อรูป" ทั้งหมด
    +++ ณ บริเวณขอบเขตของ ชายแดน ที่เนื้อต่างระดับกัน มันจะมี "อาการแบ่งมิติ" กางกั้นอยู่
    +++ ตรงนี้ คือ "อาการแบ่ง ภูมิ" ที่รู้จักกันในนามของ "ต่างภูมิ" นั่นแหละ
    +++ และคำว่า "เนื้อ" แต่ละเนื้อ ก็คือ "สภาวะธรรม" แต่ละสภาวะ

    +++ ดังนั้น "ดำรงค์สติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า"
    +++ ก็คือ "การ รู้ เนื้อสภาวะธรรมต่าง ๆ ด้วยสติ" นั่นเอง

    +++ หากจะ "ใช้ภาษา ของยุคปัจจุบัณ" มันจะเป็น ดังนี้

    +++ เราอยู่ใน "มิติ" หนึ่ง ซึ่งมี อุณหภูมิ/ความดัน หนึ่ง ๆ รวมทั้ง "ความเข้มข้น ของระดับกาย ระดับหนึ่ง"
    +++ ให้คุณ "เดินจิต" เข้าสภาวะนี้ ให้ได้เสียก่อน แล้ว "อยู่" อย่างนั้น
    +++ จากนั้นให้ "รับรู้" สนามพลังขอบเขต "ที่คุณอยู่ภายใน" รวมทั้ง "เนื้อภูมิ + เนื้อกาย" ของคุณให้ดี ๆ
    +++ จากนั้น "ให้เปรียบเทียบ ระดับความหนาแน่นของกาย ตั้งแต่ กาย0 ถึง กาย100"
    +++ แล้วจะพบได้เองว่า "กายในภูมินี้ จะอยู่ในบริเวณ กาย30 โดยคร่าว ๆ"
    +++ หากนับแบบ 10 ส่วน กายตรงนี้ จะมี "ความหนาแน่นเพียง 3 ส่วนเท่านั้น"
    +++ ตรงนี้จึงเป็นที่มาของ "3rd Density" ซึ่งเข้ากันได้กับ "3rd Dimension" ตรงนี้ "ให้ยกไว้ก่อน"
    +++ ทุกอย่าง ให้นับที่ "ความเป็น เนื้อ เท่านั้น" โดยเฉพาะ "เนื้อกาย VS เนื้อภูมิ/มิติ"
    +++ "ไม่ใช่" ลักษณะที่ผมกล่าว คือ "ณ ขณะนั้น ๆ คุณ เป็น ตัวดู เต็ม ๆ" นั่นเอง
    +++ มันเป็นอาการของ "รู้-เห็น ไม่ใช่ ดู-เห็น"
    +++ รู้ = ญาณ
    +++ เห็น = ทัศนะ
    +++ นี่แหละ "ญาณทัศนะ" ตัวจริง นอกนั้น "ไม่ใช่"
    +++ มันเป็นเรื่องของ "ความเชื่อ" ทั้งหมด จนกว่าจะ "ลงมือปฏิบัติ" แล้วเกิด "ผลลัพธ์"
    +++ ผู้ปฏิบัติจะ "รู้ด้วยตนเองว่า ใช่/ไม่ใช่ อย่างไร"
    +++ หากต้องการที่จะ "รู้" ว่าปรากฏการณ์ นั้น ๆ เรียกว่าอย่างไร ก็มาตรวจเทียบกับ "พระไตรปิฏก"
    +++ ก็จะค่อย ๆ "รู้/รู้จัก" ว่า อาการนั้น ๆ พระไตรปิฏก เรียกว่าอย่างไร จึงค่อย ๆ ใช้ภาษา "สื่อสาร" ภายหลัง

    +++ แต่ ถ้าไม่ต้องการสื่อสารกับใคร และ "สรุป" ออกมาว่า "ไปเฉพาะตน (ปัจเจก)" ดีกว่า
    +++ รวมทั้ง "ตัดเรื่อง ไม่ยุ่งไม่ วิวาทะ" กับผู้อื่น ก็ไม่ต้องใช้ภาษาก็ได้ ทั้งหมดก็ แค่นั้นเอง นะครับ
     
  10. คนโง่โง่

    คนโง่โง่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2012
    โพสต์:
    483
    ค่าพลัง:
    +302
    สวัสดีครับท่านธรรม-ชาติ
    ครับถึงไม่ได้เดินจงกรม แต่ตอนทำงานก็เดินรู้ จนเท้าเป็นรองช้ำ ขาหนีบเสียดสีจนเป็นแผลถลอก เหงือไหลไปโดนแสบ ก็ยังคงเดินสติรับออเดอร์ลูกค้าแล้วทำงานต่อไปได้ครับ กำหนดหนอสนุกมากครับตอนนั้นลืมกูเจ็บ กูเหนือย ไปเลย
    รับปฏิบัติครับ ถ้าไม่ได้เจอสายปฏิบัติด้วยกันคงไม่คุยด้วยละครับอยู่เฉยๆดีกว่า
    การที่มันจำสภาวะ ที่ 30 เปอเซ็นได้นั้น เพราะสภาวะนี้เหมาะสมที่จะเข้านิโรธเพื่อหยุดทุกอย่างไว้พิจารณาเหรอครับ แต่มันก็ไม่เจออะไรเพราะมันหยุดหมดนอกจากตัวดูที่ถูกรู้
    ลักษณะที่ตัวดูถูกรู้ ผมขออธิบายในลักษณะการมองของผมนะครับ
    1 เข้านิโรธ ทำตัวดูถูกรู้โดยเราอยู่ในนิโรธ
    2. สร้างกายสัมปชัญญะ ทำการตัวดูถูกรู้ โดยลักษณะเราอยู่ด้านนอกรู้สึกเข้ามาถึงตัวดูด้านใน (รู้สึกถึงขอบเขตกาย และรู้ถึงตัวดูในเวลาเดียวกัน)
    3. สร้างกายสัมปัชัญญะ+ตัวกู ทำการตัวกูถูกรู้ โดยลักษณะเราอยู่ด้านนอกรู้สึกถึงตัวกูเข้ามาด้านใน(ลักษณะเหมือนการระลึกถูกรู้)(รู้สึกเหมือนตัวกูอยู่ด้านในสัมปชัญญะอีกที)
    ผิดถูกอย่างไรท่านธรรม-ชาติพิจารณาด้วยครับว่าทำได้หรือเปล่า
    ขั้นตอน ตัวดูถูกรู้ มันก็คือการสรา้งและทำลายตัวกู ซ้ำแล้วซ้ำเล่าใช่ไหมครับ สร้างมาเก่ง สร้างมาดีเท่าไหร่ก็ทุบมันให้หมดไม่ต้องเสียดาย ทำลายไปเรื่อยๆจนกว่าจะไม่มีอะไรเลย ตามความรู้สึกของผมนะครับเพราะกายหยาบจะล้ามากล้าน้อยอยู่ที่ผมเพียรทำลายมากขนาดไหนครับ
    และตอนนี้ เวลาจะจะขยับกายส่วนไหน ความรู้สึกจะชัดขึ้นกว่าเดิมในบริเวณนั้นก่อนที่จะขยับครับผมใช้คำว่าใจขยับครับ เพราะพลังงานจากใจวิ่งไปที่ตำแหน่งนั้นก่อนครับ
    สอบถามท่านธรรรม-ชาติ ดีแล้วครับ เพราะถ้าไปถามคนอื่นว่านี่นายเราใช้ใจขยับน่างกายด้วยละ นายใช้อะไรขยับละ.. คำตอบก็เป็นที่เข้าใจได้ครับ
    ขอบคุณมากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2019
  11. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ "นิโรธ" เป็นอาการ "ดับตน/ดับจิต ดับรูป/นาม ดับตนสนิท/ดับตนทั้งหมด" แต่ไม่เกี่ยวกับ "ข้างนอก"
    +++ "วิมุติ" เป็นอาการ "แยกตน/แยกจิต แยกรูป/นาม" ออกไปอยู่ "ข้างนอก"
    +++ กาย30 เป็นสภาวะ "ทำ อย่างเดียวเท่านั้น" อย่าเอา "ความจำ" เข้ามายุ่งในบริเวณนี้
    +++ "ตัวดู ถูกรู้" เป็อาการ "วิมุติ" ไม่ใช่ "นิโรธ" ให้ปรับปรุงการใช้ภาษา ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะ ตรงตามอาการ นะ

    +++ ให้คุณ "ทบทวนใหม่" ณ ขณะที่ทำ "กาย30" นั้น แล้วสรุปผลว่า ที่โพสท์มานั้น "ตรง" ตามอาการที่เกิดขึ้น หรือเปล่า
    +++ "ตัวดู ถูกรู้" เป็นอาการของ "วิมุติ" ไม่ใช่ "นิโรธ"
    +++ "เรา" ของคุณ ไม่ได้อยู่ใน นิโรธ แต่อยู่ใน "สภาวะรู้"
    +++ ณ ขณะที่ "เป็น" กายสัมปชัญญะนั้น มีแต่ "ตัวกู/ของกู" เท่านั้น หากยังไม่หด "ตัวกู" ให้เข้าไปในหัว "ตัวดู" จะเกิดไม่ได้
    +++ ข้อนี้ จริง ๆ มันเกิดก่อน ข้อ 1
    +++ ตรงนี้เป็น "กายเวทนา/สัมปชัญญะ ถูกรู้" ก่อน จากนั้นจึงเป็น ข้อ 1

    +++ ณ ตรงนี้ คุณ "ใช้ภาษา ข้ามขั้นตอน" มันเลยกลายเป็น ภาษาภาคบรรยาย ไม่ใช่ ภาคปฏิบัติ ต่อไปคุณจะ "สดุด" ภาษาของตนเอง
    +++ ตรงนี้ "สนุกมาก" คุณโพสท์ "กลับหัวกลับหาง" ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
    +++ ตรงนี้ ต้องเป็น "ข้อ 1" และข้อ 1 ต้องเป็น "ข้อ 3"

    +++ ดังนั้น 1-2-3 ของคุณ หากเรียงลำดับตามความเป็นจริง ต้องเป็น 3-2-1 คือ

    +++ 1. ขึ้นต้นที่ "กายเวทนา" มีสัมปชัญญะพร้อม จากนั้น "รู้" กายเวทนา ทั้งหมด เป็นอาการ "รู้ครอบคลุม กายเวทนา"
    +++ ตรงนี้ เป็น "กายเวทนา อยู่ข้างใน สภาวะรู้ อยู่ข้างนอก"

    +++ 2. จากนั้น "หดกายเวทนา เป็น ตัวดู และ ถูกรู้" โดยที่ยัง "เป็นรู้" อยู่อย่างเดิม
    +++ ตรงนี้ เป็น "กายเวทนา กลายเป็น ตัวดู และ อยู่ข้างใน" ส่วน สภาวะรู้ อยู่ข้างนอก ตามเดิม

    +++ 3. คุณ "เป็นรู้ ทำตัวดูถูกรู้ โดยคุณ อยู่กับรู้"
    +++ อาการนั้น "ถูกต้อง" แต่ภาษาที่ใช้ ยังไม่ตรงต่อ "อาการที่ปรากฏ"
    +++ อาการ "ตัวดู ถูกรู้" เป็นอาการ "วิมุติ (หลุด/พ้น/แยก ออกจากกัน)"
    +++ ส่วนการ "เรียงลำดับเหตุการณ์" คุณเอา "หางมาเป็นหัว" เลยกลับกันไปหมด
    +++ "ไม่ใช่" ขั้นตอนนี้ เป็นเรื่องของ "อนัตตาธรรม"
    +++ คือ "ตัวดู ไม่ใช่ ตัวกู/ของกู อีกต่อไป" ทั้ง ๆ ที่มันมาจาก "กายเวทนา ที่เป็น ตัวกู/ของกู" นั่นเอง
    +++ เรื่องการทำลายตัวดู เป็นเรื่องของ "ทำลายขันธ์ ทำลายสังขาร" ไม่ใช่เรื่อง ในบริเวณนี้ อย่าเพิ่งเอามาปนนะ
    +++ คำว่า "ใจ" ผมจะไม่นำมาใช้เลย หากไม่จำเป็นถึงที่สุดจริง ๆ
    +++ คำว่า "ใจขยับ" ของคุณ ชี้ไปที่ "ใจ เป็นสังขาร ชนิดหนึ่ง ที่ขยับได้"

    +++ เป็นผม จะใช้ภาษาตรง ๆ ว่า "เจตนาขยับ" จะไม่ใช้คำว่า "ใจขยับ" แน่นอน

    +++ สรุปตามอาการ คือ
    +++ 1. จะขยับส่วนไหน
    +++ 2. มันจะ "ดู" ที่นั่นก่อน
    +++ 3. ดูที่ไหนก็ "รู้สึก" ที่นั่น
    +++ 4. รู้สึกที่ไหนก็ "ขยับ" ที่นั่น

    +++ เอาให้แน่ว่า "ดูขยับ" หรือ "ใจขยับ" กันแน่ นะครับ
     
  12. คนโง่โง่

    คนโง่โง่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2012
    โพสต์:
    483
    ค่าพลัง:
    +302
    สวัสดีครับท่านธรรม-ชาติ
    ตรงครับ
    ขอโทษครับที่ไม่ได้เรียงลำดับ ผมกำหนดตัวดูถูกรู้ ผมก็กำหนดตอนนั้นเลยครับคือดูตรงๆเลยในขณะจิตเดียวครับ แล้วค่อยขยายไปรู้ส่วนอื่นโดยที่ตัวดูก็ถูกรู้ ไม่ว่ามันจะขยายหรือหดตัวครับ
    และถ้าดูต่อเนื่องไปนานๆ มันก็จะแปร๊บๆนิดหน่อยที่ในกลางศรีษะ(ยิ่งดูนานเท่าไหร่ยิ่งดีใช่ไหมครับ กายหยาบก็จะอ่อนล้านิกหน่อย)
    เริ่มตามขั้นตอนที่ละขั้นที่ท่านธรรม-ชาติบอกดีกว่าครับเดี๋ยวผมจะงงเองครับ ตอนนี้ทุกอย่างเอาที่ตัวดูถูกรู้ก่อนนะครับไม่งั้นผมหลงอีกแน่ๆเลย
    เป็นไปตาม ข้อ 1 2 3 4 ครับ ขอบคุณครับละเอียดขึ้นอีกนิดละครับ
    ขอบคุณมากครับผม
     
  13. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ หลังจาก เข้ากลุ่มฝึก แล้วก็ "รู้" ชัดเจนนะ ว่า "สิ่งที่อ่านในโพสท์ แล้วนึกว่าเข้าใจ"
    +++ พอเอาเข้าจริงแล้ว กลับ "ไปกันคนละทาง" ภาษา สมมติ/เข้าใจ/มโน มันไม่ตรงนะ

    +++ แม้กระทั่ง "ความรู้สึกตัวทั่วถึง/กายเวทนา/สัมปชัญญะ ต่าง ๆ" เวลาฝึก กับ เวลาอ่าน มันออกมากัน คนละทาง โดยสิ้นเชิง
    +++ นี่ขนาด ใช้ภาษาภาคปฏิบัติแล้ว ผลลัพธ์ของความเข้าใจ ยังออกมาแบบ "คนละทาง"

    +++ น่าสงสาร "ระบบความเชื่อ ที่ใช้การศึกษาแบบ ระบบท่องจำ/มโน" แบบตะวันตก
    +++ ศาสนาพุทธแบบ ปริญญาตรี ถึง ปริญญาเอก นี่เป็นการเอา "ระบบฝรั่ง มาสอนแทน พระพุทธเจ้า"

    +++ ฝรั่ง ที่เข้ามาฝึก กลับ "ไม่สน ปริญญาทางธรรม" วิ่งหา การฝึกแบบ "พระพุทธเจ้า" ตามครูบาอาจารย์ กรรมฐาน
    +++ แต่คนไทย กลับวิ่งหา "ปริญญา ทางพระ" กันให้ขวักไปหมด ดอกเต้อร์ทางธรรม เฮ้อ...

    +++ ไม่นาน "ศาสนาพุทธ" อาจเปลี่ยนศูนย์ ไปตาม "สัจจธรรม" อันเกื้อหนุนต่อ "การปฏิบัติ"
    +++ ส่วน "ศาสนาแห่งการท่องจำ" ต่อไปก็คงต้อง "เสียตังเรียน" พร้อมกับ "ค่ากวดวิชา" อีก

    +++ การเดินจิต คำถาม คำศัพท์ รวมถึง วิธีทำต่าง ๆ ให้ไปต่อใน "กลุ่มฝึก" เอาก็แล้วกัน
    +++ สำหรับผม การตอบในกระทู้นี้ ก็ขอ "ยุติ" ไว้แค่นี้ นะ
     
  14. morning_glory1

    morning_glory1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +70
    อ้าวอจ. หยุดตอบกระทู้ซะแล้ว ชอบอจ.ตอบกระทู้ที่สุดเลย
     
  15. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ การตอบกระทู้ จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อ ผู้ที่อ่านกระทู้ สามารถ "เข้าใจ ตรง กับเจตนารมณ์ของ คำตอบ"
    +++ ตอนนี้ ผู้ที่ "สนใจและพยายามปฏิบัติ" ได้เข้าสู่ กลุ่มฝึก แล้วและ "รู้ชัดเจน" ว่า ความเข้าใจ ณ ที่อ่านกระทู้ นั้น
    +++ เป็นอาการ ที่ตนเข้าใจเอาเอง เลยทำให้ "การเดินจิต" ไม่สามารถเกิดผลลัพธ์ ที่ตรงทางได้
    +++ แม้แต่ความเข้าใจเบื้องต้นที่ "กายเวทนา" หลังจากที่เข้า กลุ่มฝึกแล้ว จึง "รู้" ว่า สิ่งที่ตน "อ่าน/เข้าใจ" นั้น ไม่ตรงตามอาการ
    +++ ตอนนี้ "ต้องรื้อกันใหม่หมด ณ ขณะปฏิบัติ" แล้วจึง "ระบุภาษา ณ ขณะที่ อาการปรากฏ" จึงเริ่มเข้าใจได้ ตอนนี้ เริ่ม OK แล้ว

    +++ หลังจากที่โพสท์ ก่อนหน้านี้ (โพสท์ที่แล้ว ข้างบนนี้) เมื่อวัน เสาร์ เวลา 12:49 "ระบุ" ว่า
    +++ ก็อุตส่าห์ มีโพสท์ในห้องอื่น เมื่อวาน เวลา 21:02 (หลังจากที่ผมโพสท์ เมื่อวันเสาร์)
    +++ คัดค้านขึ้นมาว่า "ภาษาบาลี และธรรมะ มีความจำเป็นต้อง “ท่องจำ”?"
    +++ โดย "ยกมาจาก" http://www.siamrath.co.th/n/66634 โดย
    =========================================
    คนข้างวัด/อุทัย บุญเย็น

    ได้ยินได้ฟังบ่อยๆ ว่า วิธีเรียนของไทยด้วยการท่องจำ เป็นวิธีที่ผิด เสนอกันว่า ต้องเรียนด้วยการคิด การสอนต้องสอนให้คิด ไม่ใช่ให้ท่องจำ

    วิธีเรียนของไทยแต่ไหนแต่ไรมา เรียนด้วยการฟังและอ่าน (ส.) ด้วยการคิด (จิ.) ด้วยการถาม (ปุ.) และด้วยการเขียน (ลิ.)

    วิธีทั้ง 4 นี้เรียกว่า “หัวใจนักปราชญ์” หรือ “หัวใจของการเล่าเรียน” พูดเป็นคำย่อว่า

    สุ. (=สุตะ) หมายถึงการฟัง (การอ่าน)

    จิ. (=จิต) หมายถึงการคิด

    ปุ.(=ปุจฉา) หมายถึง การถาม

    ลิ.(=ลิขิต) หมายถึงการเขียน

    ทั้ง 4 วิธีนี้ ไม่มีในพระไตรปิฎก เข้าใจว่า คิดขึ้นโดยคนไทย แต่ก็ไม่ทราบว่า มีตั้งแต่สมัยไหน
    =========================================
    +++ แต่เอาเป็นว่า ไม่ว่ามันจะเป็น "เรื่องบังเอิญ หรือ เจตนา" ก็ตาม
    +++ ผมก็จะให้ "วิธีทำ" ในเรื่อง "สุ จิ ปุ ลิ" เป็นการ "ส่งท้าย" ในกระทู้นี้ ไว้ดังนี้

    +++ สุ. (=สุตะ) หมายถึงการฟัง "วิธีการ เดินจิต" (อธิบายข้างล่าง)
    +++ จิ. (=จิต) หมายถึงการ "เดินจิตตาม ในอิทธิบาท 4" (ฉันทะ วิริยะ "จิตตะ" วิมังสา) (ไม่ใช่ "คิดปรุงแต่ง จนมั่วตลอด")
    +++ ปุ.(=ปุจฉา) หมายถึง การถาม (ตรงนี้ ปัจจุบัณ เป็นเรื่องของการ "สอบจิต ต่อหน้า ณ ขณะที่ฝึก")
    +++ ลิ.(=ลิขิต) หมายถึงการ "ลิขิตจิตตนเอง" (เปรียบเทียบกับ "พรหมลิขิต")(สิ้นสงสัย "ลิขิตแล้ว ไม่เป็นอื่น")

    +++ สุ จิ ปุ ลิ เป็นเรื่องโดยตรงของ "อิทธิบาท 4" ดังนี้

    +++ สุ. (=สุตะ) ชี้ไปที่ "ฉันทะ" ในการรับฟัง "วิธีปฏิบัติ"
    +++ จิ. (=จิต) ชี้ไปที่ "วิริยะ+จิตตะ" ในการ "เดินจิตปฏิบัติ"
    +++ ปุ.(=ปุจฉา) ชี้ไปที่ "การตรวจสอบ" ในการ "เดินจิตปฏิบัติ ว่า ถูกต้องหรือไม่"
    +++ ลิ.(=ลิขิต) ชี้ไปที่ "วิมังสา" ในผลลัพธ์ที่ปรากฏมาจาก "การปฏิบัติ ที่ได้ผลลัพธ์แล้ว"

    +++ ทั้ง 4 วิธีนี้ เป็นวิธีการ "เดินจิต" แบบพระไตรปิฎก
    +++ ให้สังเกตุจาก "พระสูตร" ได้ในหลาย ๆ เรื่อง เช่น

    +++ เอากายไว้ในจิต หรือ เอาจิตไว้ในกาย ฯลฯ
    +++ ทำ "ลหุกาย" ฯลฯ
    +++ เปรียบประดุจ "บุรุษ คู้แขนเข้า แล้วเหยียดออก ด้วยกำลัง"
    +++ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ "เป็น วิธีการเดินจิต" ทั้งนั้น และ "ไม่ใช่ ให้เอามานั่งคิดเลย"
    +++ ดังนั้น "สุ จิ ปุ ลิ" ตามที่อ้างมา จากกระทู้นั้น จะ "ไม่มีวันบังเกิดผล ขึ้นมาได้ ตามความเป็นจริง" แม้แต่นิดเดียว

    +++ ดังนั้นผู้ที่ "เรียน ธรรมะ มีความจำเป็นต้อง “ท่องจำ”?" นั้น จะไม่มีวันที่จะ "เจอและได้ประสพการณ์ ทางธรรมะ" เลย
    +++ และจะ สวนทางกันกับ "สันทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ" ตลอดเวลา

    +++ ก็ต้องถือว่า "ทางใครทางมัน ก็แล้วกัน" นะ แล้วแต่ดวง ก็แล้วกัน แค่นั้นแหละ ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...