เรื่องของลม - ท่านพ่อลี ธมฺมธโร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 17 มีนาคม 2019.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    LPLee_Air001web.jpg


    สติปัฏฐาน ๔ คือ

    ลมหายใจเป็น "กาย"

    สบายไม่สบายเป็น "เวทนา"

    ความบริสุทธิ์ผ่องใสเป็น "จิต"

    ความตั้งเที่ยงของจิตเป็น "ธรรม"


    -------------------------------


    “ภาวนา” ไม่ใช่เป็นเรื่องของพระธุดงค์ หรือเป็นของพระของเณร เป็นคนโง่คนฉลาดหรือคนมีคนจน แต่เป็นของซึ่งทุกคน ทุกเพศ ทุกชั้น ทุกวัยทำได้ คนเจ็บคนไข้นั่งนอนอยู่กับบ้านก็ทำได้ และทำได้ไม่เลือกกาลเลือกเวลา

    เราเสียสละเพียงเล็กน้อยเพื่อแลกกับความดีอันนี้ คือ เสียสละเวลา สละการนอน สละความเจ็บปวดเมื่อย ต้องใช้ความอดทนพยายาม สละกายบูชาพระพุทธ สละวาจาบูชาพระธรรม สละใจบูชาพระสงฆ์ เรียกว่า “ปฎิบัติบูชา”

    ตั้งใจอุทิศตัวของเราให้เป็นกุฎิ แล้วก็นิมนต์พระพุทธเจ้า เสด็จเดินจงกรมเข้าไปในช่องจมูก ด้วยลมหายใจเข้า “พุท” ออก “โธ”

    ทำดังนี้ พระพุทธเจ้าก็ต้องมาอยู่กับตัวเรา ช่วยคุ้มครองรักษาเรา เราก็จะมีแต่ความสุขร่มเย็น และเบิกบานแจ่มใส


    -------------------------------


    “พุทโธ” เป็น คำภาวนา

    การมีสติรู้ลมหายใจเข้าออก เป็นองค์ภาวนา เป็นตัว “พุทธะ”

    เมื่อจิตอยู่ ทิ้งคำภาวนาได้ คำภาวนาเหมือนเหยื่อหรือเครื่องล่อ

    เช่นเราอยากให้ไก่เข้ามาหาเรา เราก็หว่านเมล็ดข้าวลงไป

    เมื่อไก่วิ่งเข้ามาหาแล้ว เราก็ไม่ต้องหว่านอีกฉันใดก็ฉันนั้น


    -------------------------------


    ท่านพ่อลี ธัมมธโร
    ที่มา เรื่องของลม

    ดาวน์โหลด PDF >>> https://palungjit.org/attachments/เรื่องของลม-ท่านพ่อลี-pdf.4874572/?temp_hash=501d8c6b89c1b1c0a72c3bee0349d602


    LPLee_AirCoverWeb.jpg

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
  3. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    ท่านพ่อลีกล่าวว่า.... เมื่อมีสติอยู่กับลมหายใจเข้าออก
    จะเป็นตัวกั้นนิวรณ์และกิเลสไปโดยอัตโนมัติ
     
  4. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    ท่านว่า.....

    ลม เหมือน สายไฟ ,
    สติเหมือน ดวงไฟฟ้า
    ถ้าสายไฟดีดวงไฟก็สว่างแจ่ม
    ลม ปราบเวทนา
    สติ ปราบนิวรณ์
     
  5. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Jittawicha.pdf
      ขนาดไฟล์:
      4.1 MB
      เปิดดู:
      673
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2019
  7. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
  8. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    (อีกวิธีปฏิบัติ)

    ให้เพ่งพิจารณาลมหายใจเข้าออก

    ลมเข้ายาวก็ให้รู้ตัว ลมออกยาวก็ให้รู้ตัว ทีแรกการทำลมให้ปล่อยใจออกมาตามลมก่อน แล้วให้หายใจเข้าเอาใจเข้ามาตามลมอีก ทำอยู่อย่างนี้สักสองสามครั้ง แล้วจึงตั้งใจไว้เป็นกลาง อย่าออกตามลม

    อย่าเข้าตามลม จนจิตนิ่งอยู่ รับรู้แต่ลมเข้าลมออกเท่านั้น ทำใจว่างๆ สบายๆ ไว้เฉยๆ จะวางใจไว้ที่จมูกก็ได้ เพดานก็ได้ ถ้าวางไว้ในหทัยวัตถุได้ยิ่งดี แล้วทำจิตให้นิ่งจะเป็นที่สบาย เกิดปัญญาแสงสว่างดับความคิดต่างๆ ให้น้อยลง

    แล้วเพ่งพิจารณาสังเกตกำหนดอาการของลม ที่มีอาการพองตัวเข้าออกอยู่นั้น เป็นต้นว่า เข้ายาวออกยาว เข้าสั้นออกสั้น เข้ายาวออกสั้น เข้าหยาบออกละเอียด เข้าละเอียดออกหยาบ เข้าละเอียดออกละเอียด ให้เพ่งพิจารณาอาการของลมทั้งหลายเหล่านี้ให้ถี่ถ้วน

    และอย่าให้จิตเคลื่อนไหลไปตามลม ทำอย่างนี้จนกว่าจะเกิดสงบ


    ที่มา สติปัฏฐาน โดย ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
    https://palungjit.org/threads/สติปัฏฐาน-โดย-ท่านพ่อลี-ธมฺมธโร.549029/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2019
  9. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
  10. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    หลักวิธีฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ ของท่านพ่อลี ธมฺมธโร


    img_5324-jpg.jpg


    .. หลักในการปฏิบัติ ก็มีดังนี้ คือ


    ๑. กำจัดอารมณ์ที่ชั่วออกจากจิตให้หมด


    ๒. ทำจิตให้อยู่ในอารมณ์ที่ดี


    ๓. อารมณ์ที่ดีต่างๆ ให้ต้อนเข้าไปรวมอยู่ในจุดอันเดียวที่เรียกว่า เอกัคคตารมณ์


    ๔. พิจารณาอารมณ์หนึ่งนั้นให้เป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน สัตว์บุคคล ว่างเปล่า


    ๕. วางอารมณ์ที่ดีและอารมณ์ชั่วไปตามสภาพของอารมณ์ เพราะดีและชั่วย่อมอยู่ด้วยกัน มีสภาพเสมอกัน วางจิตไว้ตามสภาพของจิต รู้ไว้ตามสภาพแห่งรู้ รู้นั้น ไม่รู้จักเกิด ไม่รู้จักดับ นั้นแล คือ สันติธรรม


    ดีก็รู้ ดีไม่ใช่รู้ รู้ไม่ใช่ดี ชั่วก็รู้ รู้ไม่ใช่ชั่ว ชั่วไม่ใช่รู้ คือ รู้ไม่ติดความรู้ รู้ไม่ติดสิ่งที่รู้ นั่นแหละคือธรรมชาติธาตุแท้อันบริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนน้ำที่อยู่ในใบบัว ฉะนั้นจึงเรียกว่า อสังขตธาตุ เป็นธาตุแท้


    เมื่อใครทำได้เช่นนี้ ก็จะเห็นของดีวิเศษเกิดขึ้นในใจแห่งตน จะเป็นกุศลวาสนาบารมีของท่านผู้ปฏิบัติในทางสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน จะได้ผล ๒ ประการดังกล่าวมา คือ โลกิยผลที่จะทำให้สำเร็จประโยชน์อนามัยของร่างกายแห่งท่านและคนอื่นๆทั่วไปในสากลโลกนี้ประการหนึ่ง ประการที่ ๒ จะได้โลกุตรผลอันเป็นประโยชน์อนามัยในด้านจิตใจของท่านมีความสุขความเยือกเย็นและความราบรื่นชื่นบาน ก็จะถึงพระนิพพานเป็นเบื้องหน้า ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย..


    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร


    ศึกษาต่อ...
    ที่มา วิธีฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ แบบที่ ๑
    http://www.yajai.com/index.php/dhamma-master/tp-lee/143-anapansati-1a
    ................................................................
    ลิงค์ วิธีฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ แบบที่ ๒
    http://www.yajai.com/index.php/dhamma-master/tp-lee/142-anapansati-2a


    https://palungjit.org/threads/หลักวิธีฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ-ของท่านพ่อลี-ธมฺมธโร.611599/
     
  11. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ศีล ปราบกิเลสอย่างหยาบที่เป็นวิติกมโทษที่เกิดขึ้นทางกาย ทางวาจา ออกเสียได้

    สมาธิ ปราบกิเลสอย่างกลางมี กามฉันทะ พยาปาทะ ถีนะมิทธะ อุทัจจะกุกกุจจะ วิจกิจฉา เป็นต้น

    ส่วน ปัญญา ปราบกิเลสอย่างละเอียดมี อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นต้น

    คนบางคนที่มีปัญญาฉลาดหลักแหลม สามารถที่จะอธิบายข้ออรรถข้อธรรมได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง แต่กิเลสเพียงหยาบ ๆ อันเป็นคู่ปรับแห่งศีลแค่นี้ก็ยังละกันไม่ค่อยจะออก นี่คงจะเป็นเพราะขาดความสมบูรณ์แห่งศีล สมาธิ ปัญญา กระมัง จึงได้เป็นไปอย่างนั้น

    ศีล ก็คงเป็นศีลอย่างเปลือก ๆ สมาธิ ก็คงเป็นสมาธิเปื้อนเปรอะ ปัญญา ก็คงเป็นปัญญาอย่างเลอะเลือนเคลือบเอาเสมอเหมือนกับด้วยบานกระจกที่ทาด้วยปรอท ฉะนั้น จึงไม่สามารถเป็นเหตุให้สำเร็จความมุ่งหวังของพุทธบริษัทได้

    ตกอยู่ในลักษณะ มีดที่คมนอกฝัก คือ ฉลาดในเชิงพูดเชิงคิด แต่ดวงจิตไม่มีสมาธิ นี่เรียกว่า คมนอกฝัก ฟักไข่นอกรัง คือ แสวงหาความดีแต่ภายนอก ไม่อบรมจิตของตนให้เป็นไปในทางสมาธิ

    ปักหลักกองทราย คือ เที่ยวยึดถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นสาระแก่ตนมาเป็นสรณะที่พึ่งย่อมให้โทษ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ที่ยังไม่ได้ที่พึ่งอันเป็นแก่นสาร

    ฉะนั้น จึงควรที่จะสร้างเหตุให้เป็นไปด้วยดี เพราะธรรมทั้งหลายย่อมไหลมาเทมาแต่เหตุดังนี้ อตฺตนา โจทยตฺตานํ ปฏิมํเส ตมตฺตนา จงเตือนตน ฝึกฝนใจด้วยตนเอง จงเร่งคิดพิจารณา (อานาปา ฯ) ของตนด้วยตนเทอญ.


    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
    ที่มา วิธีฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ แบบที่ ๒

    http://www.yajai.com/index.php/dham...-dgzcZrAEKGATLD2ZnHvCCt2QqoGcTvW8Ze4Bh5T4pzzw



    13619998_585976921564167_1221433969852271320_n.jpg
     
  12. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,397
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
  13. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    อันนี้ ผมอ่านแล้ว ทำให้สับสนครับ
    เลยขอแสดงความไม่เห็นด้วยครับ เพราะ อธิบายออก แบบ แตกแขนง
    ไม่ไช่อธิบายเข้าแบบภาพรวม รวมเป็นสติปัฏฐาน
    แต่เป็นการ อธิบาย แบบแยกฐาน..มันเยอะไปครับ

    ที่ผมเข้าใจคือ
    กายนอกคือ..อายตนะทั้งห้าของกาย(ตาหูจมูกลิ้นกาย)
    กายในคืออายตนะในของกายคือใจ(สัมปชัญญะ)
    กายในกายคือจิตที่รู้การทำงานของกายกับใจคือสติ(ตัวรู้)

    เวทนานอก ก็ ผัสสะความรู้สึกของกาย
    เวทนาใน ก็ ผัสสะความรู้สึกของใจ
    เวทนาในเวทนา ก็คือ การรับรู้ของสติ

    จิตนอก คือ วิญญาณรู้ในผัสสะกาย
    จิตใน คือ วิญญาณรู้ในผัสสะของใจ
    จิตใจจิต คือ วิญญาณรู้ในสติคือตัวรู้

    ธรรมนอกคือ ความจริงของผัสสะกาย
    ธรรมในคือ ความจริงของผัสสะใจ(สัมปชัญญะหรือมโน)
    ธรรมในธรรม คือ ความจริงของสติหรือตัวรู้(ขันธ์ห้า)

    ทั้งสี่ฐาน มันทำงานร่วมกัน..พร้อมกัน.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2019
  14. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ขออนุญาตไม่เห็นด้วยนะครับ
    1.กำจัดอารมณ์ที่ชั่วออกจากจิตไปให้หมด.. ถ้ากำจัดได้จริงๆ ทำไม..ข้อ5 ถึงยังต้องมีอารมณ์ชั่วเหลือให้วางอีกล่ะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2019
  15. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    เอาสติผูกจิตไว้กับลม...(สติคือเชือก..ลมคือหลัก..จิตคืออะไร.?)

    จิตเหมือนลูกโค

    แล้ว ลูกโคคืออะไร ในสติปัฏฐานสี่.?
    แล้วลูกโคคืออะไรใน อานาปานสติ.?
    แล้วลูกโคคืออะไร ใน กายตยคติ.?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2019
  16. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    สติคือเชือก ลมคือหลัก จิตคือลูกโค

    เอาสติผูกจิตไว้กับหลัก แล้ว นิวรณ์กับกิเลส ก็เกิดขึ้นไม่ได้.
    นิวรณ์เกิดขึ้นไม่ได้ ถ้า ลืมกายใจ ไปแล้ว..ด้วยอำนาจสมาธิ
    แต่กิเลส..เก่าที่มีอยู่ ที่มันมีอยู่ในขันธ์ห้าล่ะครับ..ในตัวรู้น่ะครับ
    กิเลสเก่า..รู้มั้ยครับ.?
     
  17. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    กายนอกคืออายตนะกาย ตาหูจมูกลิ้นกาย
    เวทนานอกคือผัสสะความรู้สึกของกายที่อายตนะรับรู้
    จิตนอกคือวิญญาณรู้ในอายตนะกาย
    ธรรมนอกคือ สติรู้การทำงานของอายตนะกาย รู้ผัสสะกาย รู้วิญญาณในอายตนะกาย

    กายในคืออายตนะใจ
    เวทนาในคือผัสสะที่รับรู้จากกายมาเป็นความรู้สึกของใจ
    จิตในคือวิญญาณรู้ในใจ.
    ธรรมในคือ สติรู้การทำงานของอายตนะใจ รู้ผัสสะใจ รู้เส้นทางการไหลของเวทนาความรู้สึกจากกายมาที่ใจและมาให้สติรู้ได้อย่างไร รู้วิญญาณในใจ

    จิตนอกคือรู้ของกาย(วิญญาณรู้ที่รู้ผัสสะในอายตนะกาย)คือ..กายในกาย คือวิญญาณในกาย
    จิตในคือรู้ของใจ(วิญญาณรู้ที่รู้ผัสสะในอายตนะใจ)คือ เวทนาในเวทนา คือวิญญาณในใจ
    จิตในจิตคือรู้ในตัวสติ(วิญญาณรู้ในขันธ์ห้า)คือวิญญาณในตัวรู้ วิญญาณในตัวจิต

    ธรรมนอกคือ ความจริงของการทำงานของอายตนะกายผัสสะกาย วิญญาณในอายตนะกาย
    ธรรมในคือความจริงของการทำงานของอายตนะใจ ผัสสะใจ วิญญาณรู้ในอายตนะใจ
    ธรรมในธรรมคือความจริงของการทำงานของวิญญาณของตัวรู้ในสติ หรือในขันธ์ห้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2019
  18. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    สรุปคือ

    กายคือ อายตนะทั้งหมด ผัสสะทั้งหมด วิญญาณรู้ในกายใจ (รูป)
    เวทนาคือ ความรู้สึกที่อายตนะ ผัสสะ วิญญาณ ..รับรู้ (เจตสิก)
    จิตคือ ตัวที่รู้ การทำงานทั้งหมดของ อายตนะกายใจ คือวิญญาณในกายใจ (จิต)
    ธรรมคือ ความจริงของ ทั้ง กายใจ เวทนา จิต ที่มันทำงานร่วมกัน
    ความจริงของกาย
    ความจริงของใจ
    ความจริงของจิต
    ความจริงของความไม่เที่ยงทั้งหลายคือ นิพพาน

    เวทนาจะกลายเป็น..สัญญา คืออาหาร ของผัสสะกายใจ ของวิญญาณ

    ความไม่เที่ยงของวิญญาณ คือ..นิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2019
  19. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ความตั้งเที่ยงของจิต เป็นธรรม...พึ่งเคยได้ยินครับ

    ผมเข้าใจว่า ธรรมคือ ความไม่เที่ยงของกายใจจิต ของ วิญญาณรู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2019
  20. ~หัตถ์oBuddha~

    ~หัตถ์oBuddha~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2017
    โพสต์:
    573
    ค่าพลัง:
    +401
    สาธุครับ ของดีฯทั้งนั้น นุ่มนวลจริงฯ สาธุท่านพ่อลี เเละ จขก. ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...