เพจ คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง, 17 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
  2. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    *** เวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิต *** (นิมิตก่อนตาย)

    เวลาที่สำคัญที่สุดของนักเรียน นักศึกษา คือตอนสอบไล่
    เวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตคนเรา คือ อารมณ์จิตก่อนตาย
    จะไปสวรรค์ พรหม พระนิพพาน หรือแดนอบายภูมิ
    ก็อยู่ที่จิตก่อนตายของท่านจะผ่องใสหรือเศร้าหมอง

    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย และพระคุณเจ้าที่เคารพ ที่กล่าวมาแล้ว กล่าวถึงความตาย ความจริงเรื่องความตายมีเรื่องเล่าสู่กันฟัง บรรดาท่านพุทธบริษัท ท่านบอกว่า “คนเราจะตาย จะเห็นนิมิตก่อน”

    ตามที่หนังสือโบราณท่านเขียนไว้ แล้วก็คนโบราณ โบราณสมัยนี้ สมัยหลวงพ่อปาน ท่านก็เขียนไว้ ท่านบอกว่าลอกมาจากตำรา ก็ไม่ทราบว่า ตำราเล่มไหนเหมือนกัน ท่านบอกว่า คนก่อนจะตายต้องเห็นนิมิต เรื่องนี้สำคัญบรรดาท่านพุทธบริษัท ประเดี๋ยวจะเล่าเรื่องสมัยพระพุทธเจ้า คนที่เห็นนิมิตสมัยนั้นมาเล่าสู่กันฟัง คุยกันตอนนี้เสียก่อน

    คนจะตายต้องเห็นนิมิต คือ
    ๑. เวลาก่อนจะตาย ถ้าเห็นไฟ กองไฟ หรือดวงไฟ แสดงว่า คนนั้นตรงไปนรกทันที ไม่ผ่านสำนักของพระยายม
    ๒. ถ้าเห็นป่า จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
    ๓. ถ้าเห็นก้อนเนื้อ จะเกิดเป็นคน
    ๔. ถ้าเห็นสิ่งที่เป็นบุญ เป็นกุศล ของที่เคยให้ทานหรือวัดที่เคยทำบุญ พระที่เคยไหว้ จะเป็นพระพุทธรูปก็ตาม พระสงฆ์ก็ตาม เป็นอันว่า สิ่งที่เป็นบุญ เป็นกุศล อย่างนี้ก็จะไปเกิดบนสวรรค์ ไปสู่สุคติ

    ตามที่ท่านเขียนมาอย่างนี้ อาตมาก็ไม่ใช่ต้องการพิสูจน์ แต่ก็เข้าไปประสบโดยคาดไม่ถึง นั่นก็คือ มีอยู่ว่า มีเพื่อนอยู่คนหนึ่ง ชื่อ จวน นามสกุลว่าอย่างไรก็จำไม่ได้ อยู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    เมื่อเวลาสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ สมัยท่านจอมพลแปลก เป็นนายก ฯ เวลานั้นก็เกณฑ์คนไปทำงานที่เพชรบูรณ์ ตามลีลาที่เขาเล่ากันบอกว่า ตั้งใจจะต่อต้านญี่ปุ่น ว่าอย่างนั้นชาวบ้านพูด แต่ท่านจอมพลแปลกไม่ได้พูดให้ฟัง แต่ท่านมาแถลงการณ์ทางวิทยุทีหลัง ก็คล้ายคลึงแบบนี้ ต้องการจะเอาคนงานทั้งหมดเป็นทหารต่อต้านญี่ปุ่น จะเอานักเรียนนายร้อยไปไว้ที่นั่น เป็นผู้บังคับหมวด อย่างนี้เป็นต้น

    ก็เป็นอันว่า เมื่อเลิกสงคราม เธอเลิกงานมาแล้ว ก็ปรากฎว่าเป็นโรค เป็นไข้ ต่อมาก็เป็นวัณโรค คือ เป็นโรคฝีในท้อง เป็นโรคปอด
    วันหนึ่ง เป็นวันสุดท้ายของชีวิตของเธอ อาตามไปเทศน์ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ก็พอดีกลับมา เขาบอกว่า จวนป่วยหนัก เป็นเวลาเย็น ประมาณสัก ๔ โมงเย็น ก็นิมนต์พระไปเป็นเพื่อน ๔ องค์ อาตามด้วย ๑ องค์ เป็น ๕ องค์

    ที่ไปเป็นเพื่อนไม่ใช่คิดว่ากลัวใครจะทำร้าย ที่นำไปแบบนั้นก็คิดว่าคนป่วยหนัก ถ้าเห็นพระอาจจะเป็นมงคลก็ได้ เพราะว่าตามตำราท่านบอกว่า ถ้าเป็นสิ่งที่เป็นกุศล คนนั้นจะไปสวรรค์

    พอไปถึงเข้าจริง ๆ จวน ก็อาการหนักจริง ๆ หายใจเบา หายใจช้า ๆ แล้วก็เบาลง ๆ แต่ว่าอาตมาไปนั่งข้าง ๆ ก็เรียกชื่อ “จวน จำฉันได้ไหม? ”
    เธอเหลียวหน้ามา ก็พยักหน้าตอบว่า ” จำได้ ” เสียงเบามาก

    ก็ถามเธอว่า ” เวลานี้เห็นอะไรไหม? ไม่ใช่เห็นฉัน มีภาพอะไรลอยข้างหน้าบ้าง? ”
    เธอก็ตอบว่า ” เวลานี้มีภาพไฟลอยข้างหน้า ” เธอก็แสดงอาการหวาดกลัวมาก กลัวไฟ

    เมื่อฟังเท่านั้นก็ตกใจ คิดว่า ท่าจะไม่ได้การแล้ว นิมิตตามที่ท่านเขียนไว้ปรากฏ นึกในใจ ไม่พูด คิดว่า นิมิตอย่างนี้ ถ้าเห็นไปนรกทันที ก็คิดอะไรไม่ถูก ถามว่า ” จวน ภาวนา พุทโธ ไหม? ”
    เธอส่ายหน้าบอกว่า ” คิดไม่ออก ”

    จึงหันไปหาภรรยาเขา อาตมาก็จำชื่อภรรยาไม่ได้ ลืมเสียแล้ว ถามว่า ” มีสตางค์ไหม? ”
    เธอก็บอกว่า ” มี ”

    ก็เลยบอกว่า ” ถ้ามีละก็ ขอสัก ๒๐ บาทได้ไหม? ”

    เธอก็นำธนบัตรใบละ ๒๐ บาท มาให้ อาตมาก็ไปใส่มือจวน เอามือทั้งสองประกบกันในท่าพนมมือ บอกว่า

    ” จวน เอาอย่างนี้นะ ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง เราจะตายหรือไม่ตายนั้น ไม่มีความสำคัญ ตั้งใจทำบุญก็แล้วกันนะ เวลานี้ฉันมาพร้อมกัน ๔ องค์ ขอจวน ตั้งใจชำระหนี้สงฆ์ คิดว่าของต่าง ๆ ในวัดทั้งหลาย ที่มีพระสงฆ์ก็ดี หรือไม่มีพระสงฆ์ เป็นวัดร้างมีพระพุทธรูปก็ดี หรือว่าเป็นวัดร้างไม่มีพระพุทธรูปก็ตาม หรือเป็นที่ธรณีสงฆ์ ไม่มีสภาพเป็นวัดก็ตาม เราไปนำอะไรมาจากที่นั่นก็ตาม จะเป็นของหนักก็ดี ของเบาก็ดี ของน้อยก็ตาม ของมากก็ตาม มีค่ามากก็ตาม มีค่าน้อยก็ตาม ขอชำระหนี้สงฆ์ด้วยเงิน ๒๐ บาท ”

    เธอก็พูดเบา ๆ ตาม แล้วก็น้อมทำท่าผงกศีรษะนิดหน่อย ก็เลยบอกพระท่านบอกว่า ” คุณทั้งหลาย ถ้าเห็นชอบ ให้ สาธุ พร้อมกันนะ ”

    พระทั้งหลายก็ ” สาธุ ” พร้อมกัน พอพระสงฆ์ สาธุ พร้อมกัน รู้สึกว่า จิตใจของเธอสดชื่นขึ้นมามาก ถามว่า ” จวน เวลานี้เห็นภาพอะไร ไฟหายไปแล้วหรือยัง ”
    เธอก็ตอบ ” ไฟหายไปแล้ว ”

    ถามว่า ” เธอเห็นภาพอะไร ”
    เธอบอก ” เห็นภาพพระประธานในอุโบสถวัดบางนมโค ” เพราะว่าเธอบวชวัดนั้น เธอก็ไปทำวัตรเป็นประจำ

    ถามว่า ” เห็นชัดไหม ”
    เธอก็บอก ” เห็นชัด อยู่ใกล้มาก ”

    ก็บอก ” จวน นึกในใจก็ได้นะ ออกเสียงมันจะเหนื่อย นึกภาวนาในใจว่า พุทโธ ”
    แทนที่เธอจะนึกในใจ เธอก็ออกเสียงว่า” พุทโธ ๆ ๆ ๆ ” เบา ๆ เธอว่าไปสัก ๓ – ๔ ครั้ง รู้สึกว่าหายใจเบาลง แต่ว่ามีเสียงเล็กน้อย

    ถามว่า ” จวน เวลานี้เห็นพระไหม ”
    เธอตอบว่า ” เห็นพระ ”

    ถามว่า ” ชัดขึ้นไหม ”
    เธอก็ตอบว่า ” ชัดเจนแจ่มใสมาก สุกสว่างมาก ใหญ่กว่าเดิมมาก ”

    บอก ” ถ้าอย่างนั้น นึกถึงพระเป็นที่พึ่งนะ นึกถึงเวลานี้เราอยู่กับพระพุทธเจ้า ภาพที่เห็น คือ ภาพพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ามาสงเคราะห์ จะหายจากโรค ถ้าจำเป็นต้องตายก็ไปสวรรค์ ”
    เธอยิ้มนิดหนึ่ง เธอตอบว่า พอพูดจบก็มีวิมานลอยมาอยู่ข้างหน้า พระก็ชี้ แสดงว่า วิมานนี้เป็นของเธอ ”

    จึงถามเธอว่า ” เวลานี้ ต้องการอยู่บ้านหรือต้องการอยู่วิมาน ”
    เธอก็ตอบเบา ๆ ว่า ” ต้องการวิมานครับ ”

    ก็ไม่ต้องการรบกวนให้เหนื่อยต่อไป ก็บอกว่า ” ตั้งใจไปวิมานนะ ภาวนาว่า พุทโธ ”
    เธอก็ภาวนาเบา ๆ ว่า ” พุทโธ ๆ ๆ ๆ ”

    ในที่สุดก็เงีบบไปพร้อมกับคำภาวนา และลมหายใจเข้า – ออก รวมความว่า เธอตายคู่กับพุทโธ

    เป็นอันว่า นิมิตเครื่องหมายนี่ บรรดาท่านพุทธบริษัท มีจริง อาตมาผ่านแบบนี้มาหลายสิบราย ที่พบมาเองนะ ไม่ใช่หลายราย หลายสิบราย และวิธีแก้ของอาตมาก็มีวิธีเดียววิธีนี้ เพราะว่าอย่างอื่นเวลานั้น มันแก้กันไม่ได้

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินชำระหนี้สงฆ์ ถ้าบังเอิญไม่เป็นหนี้สงฆ์ ก็เป็นสังฆทานและวิหารทาน รวมความว่า เป็นบุญใหญ่ที่เขาจะพึงได้รับ นี่เป็นอันว่า มนุษย์เราที่ตายนี่ บรรดาท่านพุทธบริษัท ทุกคนจะเห็นนิมิตก่อน แต่ว่านิมิตที่ดี และก็ถูกตัดเพราะกฎของกรรม

    ————————————-
    ธรรมโอวาท พระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    ที่มา : group.wunjun.com/truthoflife/topic/170760-4033

    56732693_1919559214822479_7213475699087114240_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  3. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
  4. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    1f607.png ยอดเงินที่ฝากร่วมบุญสะเดาะเคราะห์ในบัญชีมี8,300บาทนะคะ มีพี่ๆน้องๆร่วมมาข้างนอกอีกจึงนำใส่ตู้จำนวน 9,000 บาทค่ะ
    ฝนและน้องปุ้ยนำรายชื่อคนเป็นและรายชื่อคนตายใส่ในโลงเรียบร้อยแล้วค่ะ
    1f64f.png ขออนุโมทนาบุญกับทุกด้วยค่ะ

    56922800_1921184984659902_5364673049037635584_n.jpg
    57384352_1921185034659897_3212241134856175616_n.jpg
    56821283_1921185097993224_3177794668213567488_n.jpg
    56973965_1921185181326549_3395055653306236928_n.jpg
    56962024_1921185277993206_8661284487096696832_n.jpg
    56879236_1921185331326534_8386143483341045760_n.jpg
    57180249_1921185377993196_7477578001236885504_n.jpg
    57064219_1921185434659857_6486207984912302080_n.jpg
    56716182_1921185501326517_6252341741425262592_n.jpg
    56857737_1921185541326513_588466465795997696_n.jpg
    57453637_1921185574659843_7039057429383872512_n.jpg
    57070858_1921185611326506_7479352780507840512_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  5. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    2734.png อานิสงส์ถวายสังฆทานวิหารทานและธรรมทาน 2734.png

    1f469.png ผู้ถาม : “ลูกเป็นคนยากจนมีเงินน้อย อยากจะได้อานิสงส์มาก ๆ จะทำบุญอย่างไรดีคะ?”

    หลวงพ่อ : “คืออานิสงส์จริง ๆ ต้องทำบุญให้มากที่สุดเท่าที่จะพึงทำได้ สมมุติว่าเรามีเงินอยู่ ๑๐ บาท จะไปมาที่นี่เสียค่ารถ ๖ บาท กินก๋วยเตี๋ยว ๓ บาท ได้ครึ่งชามแล้ว หมดไป ๙ บาท เหลือ ๑ บาท เขียนที่หน้าซองเลยว่า เงินนี้ถวายสังฆทาน วิหารทาน และธรรมทาน อันนี้อานิสงส์มากเหลือเกิน จำนวนเงินเขาไม่จำกัด เขาจำกัดกำลังใจ ถ้ากำลังใจมุ่งด้านดีนะ

    การทำบุญมาก ๆ คำว่า ทำมาก หมายความว่า ทำบ่อย ๆ แต่คำว่า บ่อย ไม่ต้องทุกวันก็ได้นะ คำว่า มาก หมายความว่า ทำเต็มกำลังที่พึงทำ ไม่ใช่ขนเงินมามาก เวลาทำบุญ ต้องดูก่อนว่า ค่าใช้จ่ายเรามีความจำเป็นเพียงไร ไอ้เงินที่มีความจำเป็นอย่านำมาทำบุญ มันจะเดือดร้อนภายหลัง และให้เหลือส่วนนั้นไว้บ้าง แล้วแบ่งทำบุญพอสมควร

    และประการที่ ๒ การทำบุญถ้าใช้วัตถุมาก แต่กำลังใจน้อย ก็มีอานิสงส์น้อย ถ้าหากใช้วัตถุน้อย กำลังใจมีมาก ก็มีอานิสงส์มาก อย่างถวายสังฆทานที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทนำมานี่ ลงทุนไม่มาก แต่อานิสงส์มหาศาล

    ความจริงถ้าจะพูดถึงอานิสงส์กันจริงๆ ละก็ รู้สึกว่าจะมากกว่าจัดงานที่บ้านหรือที่วัดตั้งเยอะแยะ ทั้งนี้เพราะว่าอะไร เพราะว่าถวายสังฆทานเราทำกันแบบเงียบๆ ไม่มีกังวล การบำเพ็ญกุศลแต่ละคราว ถ้ามีกังวลมาก อานิสงส์มันก็น้อย เพราะว่าจิตที่เราเข้าสู่กุศล มันห่วงงานอื่นมากกว่า ไม่ตั้งจิตโดยเฉพาะ

    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถวายสังฆทานในหมู่ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ตามพระวินัยท่านเรียกว่าคณะสงฆ์ ถ้าต่ำกว่านั้นเป็นคณะบุคคล ถ้าบุคคลเดียวเป็น ปาฏิปุคคลิกทาน ทานโดยเฉพาะ ทีนี้การถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์เป็นหมู่นี้มีอานิสงส์มาก

    เรื่องนี้ก็มีตัวอย่าง คนที่มีทรัพย์น้อย ทรัพย์มาก อย่าง ท่านอินทกะเทพบุตร กับ อังกุระเทพบุตร ไงล่ะ

    ท่านอังกุระเทพบุตร ทำบุญนอกเขตพระพุทธศาสนา เวลานั้นพระพุทธศาสนาไม่มี ตั้งโรงทาน ๘๐ โรง ให้ทานถึงสองหมื่นปี เลี้ยงคนกำพร้า คนตกยาก คนเดินทาง พอตายจากความเป็นคน ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเทวดาที่มีบุญน้อยที่สุด เพราะเขตของบุญเล็กไป คนไร้ศีลไร้ธรรม ใช่ไหม…?

    ตรงกันข้าม ท่านอินทกะเทพบุตร เกิดเป็นคนจน พ่อตาย ตัดฟืนเลี้ยงแม่ ก็ไม่ได้ตัดขายมากมาย เอาแค่วัน ๆ พอกินพอใช้ไปวัน ๆ วันหนึ่งพระสงฆ์เดินผ่านไปที่นั้น ท่านมีโอกาสได้ถวายทาน ในฐานะไม่ได้เตรียมตัวไว้ก่อน คนจนจะมีอะไรมากนักใช่ไหมล่ะ เพียงแค่ครั้งเดียวในชีวิตเท่านั้น อาศัยคุณความกตัญญูรู้คุณอย่างหนึ่ง แล้วก็ถวายสังฆทานหนึ่ง สองอย่างด้วยกัน ตายแล้วไปเป็นเทวดาที่มีบุญมากที่สุดในดาวดึงส์ นอกจากพระอินทร์แล้วไม่มีใครโตกว่า”

    1f342.png 1f341.png พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

    57294201_1922340794544321_1192258517365424128_o.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  6. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    คำสอนหลวงพ่อเรื่อง “พระอานนท์บรรลุอรหันต์”..

    .. พระอานนท์ในเวลานั้นเมื่อได้ฟัง
    เทศน์จากพระพุทธเจ้าจบแล้วท่านก็ได้
    พระโสดาบัน นั่นหมายความว่าท่านมี
    ความเคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม และ
    พระอริยสงฆ์อยู่แล้ว และเมื่อฟังเทศน์จบ
    ท่านตั้งใจรักษาศีล

    การเจริญกรรมฐานให้บรรลุมรรคผล
    ก็เป็นของไม่หนัก และต้องเป็นเวลาที่ไม่
    หนัก ต่อมาในกาลที่พระอานนท์จะสำเร็จ
    พระอรหันต์ ตอนนี้เห็นชัดมาก ในเมื่อ
    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์พระอานนท์ไว้

    วันที่พระพุทธเจ้าทรงนิพพานเวลานั้น
    พระอานนท์ไปยืนเกาะสลักประตูยืนร้องไห้
    พระโสดาบันก็ร้องไห้เป็นนะ พ่อแม่สอน
    มาตั้งแต่เด็กตั้งแต่เล็ก “คนที่ร้องไห้ไม่เป็น
    ก็คือตั้งแต่พระอนาคามีขึ้นไป” พระ
    โสดาบันกับพระสกิทาคามียังร้องไห้

    เวลานั้นพระอานนท์ไปยืนร้องไห้อยู่
    ก็นึกเสียใจว่าตนเองติดตามพระพุทธเจ้า
    มาเหมือนเงาตามตัว แต่ว่าวันนี้พระ
    พุทธเจ้านิพพานเสียแล้ว เรายังเป็น
    เสขะบุคคล

    คำว่า “เสขะบุคคล” แปลว่า “บุคคล
    ที่ยังต้องศึกษา” นั่นก็หมายความว่าพระ
    โสดาบันต้องศึกษาเพื่อเป็นพระสกิทาคามี
    พระอนาคามี และพระอรหันต์ ถ้าพระ
    อรหันต์เขาเรียก “อเสขะบุคคล” คือคน
    ที่ไม่ต้องศึกษา

    เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้วใคร
    จะสอนเราต่อ เมื่อพระอานนท์หายไป
    พระพุทธเจ้าจึงสั่งให้พระไปเรียกมา
    พระก็เรียกมา พระพุทธเจ้าก็ถามว่า

    อานนท์.. เธอร้องไห้ทำไม

    พระอานนท์ก็บอกว่า เวลานี้องค์
    สมเด็จพระจอมไตรจะนิพพานต่อไป
    ข้าพระพุทธเจ้าก็ไม่มีใครสอน ยังเป็น
    แค่พระโสดาบัน

    พระพุทธเจ้าก็บอกว่า “อานันทะ ดูก่อน
    อานนท์ เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วพระ
    ธรรมวินัยที่ตถาคตสอนไว้จะเป็นศาสดา
    สอนเธอ” (คำว่าศาสดาแปลว่าครู) จะเป็น
    ครูสอนเธอ และสำหรับอานนท์เองจะบรรลุ
    อรหันต์คืนก่อนวันรุ่งขึ้นที่ “พระมหากัสสป”
    จะทำสังคายนา

    เวลานั้นพระมหากัสสปก็ไม่ได้อยู่ที่นั่น
    ท่านบอกว่าสมมุติว่าวันพรุ่งนี้พระมหา
    กัสสปจะประชุมสงฆ์ทำสังคายนา คืน
    วันนั้นแหละอานนท์จะบรรลุมรรคผลเป็น
    พระอรหันต์พร้อมด้วยอภิญญา ๖ และ
    ปฏิสัมภิทาญาณ

    พอถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๘ วันรุ่งขึ้น
    เขาจะทำปฐมสังคายนา พระทั้งหลาย
    พระอรหันต์ทั้งหมดที่เป็นปฏิสัมภิทาญาณ
    ก็ตักเตือนว่า อานนท์พรุ่งนี้เขาจะทำ
    สังคายนาแล้วนะ ตอนนี้ท่านยังเป็น
    พระโสดาบันอยู่ จงเร่งรัดการปฎิบัติ

    พระอานนท์ก็ขยันใหญ่ นั่งบ้าง
    นอนบ้าง ยืนบ้าง เดินบ้าง จงกรมบ้าง
    ก็เป็นเวลาใกล้สว่างขึ้นมาแล้ว ก็รู้สึก
    หนักใจตนเอง คิดในใจว่าเราคงจะ
    เครียดเกินไป เอาอย่างนี้ดีกว่าขอนอน
    สักประเดี๋ยวหนึ่ง

    นอนคอยพระอรหันต์ เวลานี้เป็น
    พระโสดาบันอยู่ยังคอยพระอรหันต์ จะมา
    เมื่อไหร่ก็ช่าง “เมื่อคิดว่าจะนอนอารมณ์
    ก็คลาย การตั้งใจก็ไม่เครียด อารมณ์ก็
    เริ่มละแบบสบายๆ” การคลายตัวแบบนี้
    ขอญาติโยมโปรดทราบว่าจะต้องทรงจิต
    ใน “อุปจารสมาธิ”

    พอเริ่มคลายอารมณ์หวังจะนอน
    เอนกายลงไป หัวไม่ทันจะถึงหมอน เท้า
    ซ้ายยกขึ้น เท้าขวายังหยั่งพื้นอยู่ ข้อศอก
    แขนขวาถึงพื้นเตียง เป็นพระอรหันต์ตอน
    นั้น ได้เป็นพระอรหันต์ท่าเหาะหรือท่านอน
    แต่ตามบาลีท่านบอกว่า

    พระอานนท์บรรลุอรหันต์ในท่า
    อิริยาบถ ๔ จะนั่งก็ไม่ใช่ จะนอนก็ไม่ใช่
    จะยืนก็ไม่ใช่ จะเดินก็ไม่ใช่ “เป็นตอนที่
    อารมณ์จิตคลาย” ฉะนั้นการปฎิบัติของ
    บรรดาท่านพุทธบริษัทก็เหมือนกัน

    การกระทำของเราถ้าเร่งรัดเกินไป
    เครียดเกินไปนี่มันไม่มีผล “มันจะมีผลก็
    ต่อเมื่ออารมณ์จิตเริ่มเป็นสุข” พออารมณ์
    เริ่มสบายๆ คลายเครียด มันจะได้กัน
    ตอนนี้ ถ้าถามว่ารู้มาจากไหน

    อาตมาขอยืนยันว่า “ตัวเองก็พบมา
    แบบนั้น แต่ละจุดที่จะได้มา มันได้ตอน
    จิตเบา” ถ้าเรานั่งเครียดตึงเป๋ง เคร่งสุด
    หายใจเข้าหายใจออกรู้บ้างไม่รู้บ้าง
    ทำจิตเครียดใช้ไม่ได้

    พอเริ่มคลายตัวปั๊บขอพักสักประเดี๋ยว
    หนึ่งค่อยว่ากันใหม่ ยังไม่ทันจะพัก จิตยัง
    ไม่ทันจะเข้าถึงจุดพัก มันเอาตรงนั้น ฉะนั้น
    การปฎิบัติขอบรรดาท่านพุทธบริษัทให้
    เอาผลกันจริงๆ ก็ปฏิบัติตามผลที่บอกแล้ว

    คือ “ทำแบบสบายๆ นะ ทำแบบไม่
    หนัก” เวลา ๗ โมงเช้าฉันจะบูชาพระ เวลา
    ๒ ทุ่มหรือ ๓ ทุ่มหรือเวลานอน ฉันจะ
    ภาวนาสัก ๑๐ ครั้ง เวลาเช้ามืดตื่นขึ้นมา
    ฉันจะภาวนาสักนิดหนึ่ง

    ถ้าถึงจุดนั้นเราทำ เราทำทุกวัน
    “อย่าลืมว่าถ้าถึงจุดไม่ทำ ใจไม่สบายนั่น
    ก็หมายถึงจิตเป็นฌาน จิตมีการทรงตัว”
    บางท่านก็คิดว่าถึงเวลานี้จะถวายข้าวพระ
    เวลานี้จะใส่บาตรให้กับพระ

    จิตที่คิดว่าจะใส่บาตรหรือจะหาของ
    มันเป็นจาคานุสสติกรรมฐาน เป็นฌาน
    ในจาคานุสสติกรรมฐาน แล้วถ้าคิดว่า
    เราจะถวายกับพระ พระที่มาบิณฑบาต
    เป็นพระสงฆ์นี่เป็นสังฆานุสสติ เป็นของ
    ง่ายเหลือเกิน แต่มีอานิสงส์มาก

    วิธีทำแบบง่ายๆ ก็คือทำให้เป็นปกติ
    น่ากลัวครูจะขี้เกียจ สอนลูกศิษย์ให้ขี้เกียจ
    แต่อย่าลืมนะว่าครูได้มาแบบขี้เกียจ ถ้า
    สอนลูกศิษย์ขยันก็เลยหน้าครูไป ก็เป็น
    อันว่าอันนี้เป็นวิธีปฏิบัติ ..

    (พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน)
    ที่มาจาก.. ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๔๒๗ หน้าที่ ๔๒-๔๕

    56883596_1923403257771408_7016736630375448576_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  7. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    .. ถ้าเรายังรู้สึกว่าคนอื่นเขาชั่วก็แสดงว่า เราชั่วมาก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าถ้าเราดีแล้วไม่มีใครชั่วเพราะว่าเรายอมรับนับถือกฎของกรรม อะไรจะมีชั่ว เรายังนินทาว่าร้ายบุคคลอื่น นั่นเรายังชั่วอยู่ อาการอย่างนี้จงลืมเสียให้หมด ..

    (พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน)

    57277740_1928258673952533_6010301719907401728_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  8. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    “…การอดทนต่อความทุกข์ นี่เป็นภารกิจของเรา…”

    การอดทนต่อความทุกข์ นี่เป็นภารกิจของเรา อย่าถือเหตุภายนอกที่เข้ามาว่ากวนใจเรา เหตุภายนอกนี่ห้ามเขาไม่ได้ ความวุ่นวายในกิจการงาน กิจที่เหตุที่จะต้องแบกภาระต่าง ๆ
    เป็นเรื่องของการเกิดถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา
    งานมันเหนื่อยเท่าไร เราต้องเข้าใจ มันเป็นเรื่องของงาน ว่าเราเลือกเกิดมาทำไม

    ถ้ารู้ว่างานมันยุ่งล่ะ เลือกเกิดมาทำไม
    เรามันเลือกเกิดมาแล้วนี่เราก็ต้องยุ่งแบบนี้
    เมื่อยุ่งมาแล้วก็ต้องยุ่งเพื่อใช้หนี้มัน

    เพื่อไม่ยุ่งต่อไป ทำทุกสิ่งทุกอย่างให้มันครบถ้วน อย่าทำจิตใจให้มันเข้าไปกวนประสาทตัวเอง ถือว่าภาระหน้าที่มียังไง ทำไปเพื่อความอยู่เป็นสุข เราชำระหนี้ส่วนที่เป็นอกุศล เพราะการอดทนต่อความทุกข์ นี่เป็นภารกิจ ของเรา

    1f64f.png พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

    57624919_1928847870560280_1301081959170048000_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  9. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    เร่งรัดปฏิบัติ โดย พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานเถระ(หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง)

    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย และพระโยคาวจรทั้งหลาย สำหรับวันนี้ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว
    วันนี้ก็ขอให้ศึกษากันทางด้านในด้าน เร่งรัดในการปฏิบัติ เพราะว่าการที่เราศึกษามาก็เป็นการศึกษาตามลำดับ ตั้งแต่ อานาปานุสสติกรรมฐาน มาจนกระทั่งถึงหมวด กรรมฐาน 40 จุดนั้นชื่อว่าเป็นจุดของการศึกษา แต่ก็เห็นว่ากำลังใจของท่านทั้งหลาย ที่ฝึกปฏิบัติมามีความเข้มข้นพอ
    ฉะนั้น ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายที่มีความมุ่งหวังจะศึกษาตามลำดับ ถ้ากำลังใจยังอ่อนก็ทำได้ตามอัธยาศัย แต่ว่าท่านผู้ใดเห็นว่ามีกำลังใจเข้มข้นพอแล้ว ก็ศึกษาตามข้อต่อไปนี้
    เมื่อวานนี้ได้พูดกันมาถึง อวิชชา และก็ วิชชา
    อวิชชา แปลว่า ไม่รู้ อริยสัจ ถ้าพูดง่าย ๆ
    สำหรับ วิชชา ก็ว่ากันถึง ญาณ 8
    คำว่า วิชชา ที่ว่ากันถึง ญาณ 8 ก็เพื่อความรู้จริง ว่า ความรู้ในทางพระพุทธศาสนาเป็นความรู้ในกรณีพิเศษ นอกจากจะเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ยังมีความรู้พิเศษอีก 8 อย่าง ซึ่งสามารถจะทำได้ สุดแล้วแต่กำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท
    วันนี้เราก็มาคุยกันถึงเรื่องที่เราจะกำจัดอวิชชา การที่จะกำจัดอวิชชา อันดับแรกเราก็ต้องมุ่งหวังกันในด้านของความทุกข์ก่อน ทำไมเราจึงรู้จักคำว่าทุกข์ แต่ว่าสำหรับเรื่องนี้ เมื่อวานนี้ก็ได้พูดมาแล้วว่า ทุกข์คืออะไร เป็นเหตุที่ท่านทั้งหลายพิจารณาหรือฟังกันมานานแล้ว แต่เพื่อย้ำความรู้สึกของท่านทั้งหลาย ก็มีความเข้าใจความไม่สบายกายไม่สบายใจเรียกว่า ทุกข์
    สำหรับการไม่สบายกายไม่สบายใจที่เรียกกันว่า ทูกข์ ก็ต้องมาย้อนกันอีกว่า คำว่าไม่สบายกายไม่สบายใจที่เราเรียกว่า ทุกข์ น่ะอะไรมันเป็นเหตุของความทุกข์
    เพราะเหตุของความทุกข์จริง ๆ คือ ตัณหา ได้แก่ ความทะยานอยาก เมื่อเรามีตัณหาขึ้นแล้ว ร่างกายมันจึงมี เพราะอารมณ์จิตเรามีตัณหามันจึงมีร่างกาย ร่างกายเป็นจุดรับภาระของความทุกข์ทั้งหมด ขึ้นชื่อว่าทุกข์ทุกอย่างที่เราจะมีขึ้นมาได้ ก็เพราะอาศัยร่างกายเป็นสำคัญ ถ้าเราไม่มีร่างกายเราก็หมดตัณหา ถ้าหมดทั้ง 2 อย่าง คือ หมดตัณหาก็ชื่อว่าหมดร่างกาย ถ้าเราไม่ติดอยู่ในร่างกายก็ชื่อว่าหมดตัณหา
    คำว่า ไม่ติดในร่างกาย ก็หมายถึง ไม่ติดอยู่ในร่างกายของเราด้วย และก็ไม่ติดอยู่ในร่างกายของบุคคลอื่นด้วย อารมณ์ไม่ติดอยู่ในวัตถุธาตุใด ๆ ด้วย โดยยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ที่เราเรียกกันว่า วิปัสสนาญาณตัวสุดท้าย การยอมรับนับถือนี้ก็หมายถึงว่า อารมณ์มันเฉย
    คำว่า อารมณ์เฉย ไม่ได้หมายความว่าอารมณ์ไม่คิด ตามที่เขาบอกว่าอารมณ์ว่าง ว่างโดยไม่คิดอะไรเลยนั้น ไม่มีในชีวิตของคน และอารมณ์เฉยในที่นี้เป็นอารมณ์คิดไม่เร่าร้อน คิดถือว่า มันเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเหตุปกติ ในเมื่อความทุกข์ใด ๆ เกิดขึ้นจากร่างกาย ก็ถือว่านี่มันเป็นเรื่องธรรมดาของร่างกายหรือขันธ์ 5
    ขันธ์ 5 เป็น โรคนิทธัง จัดว่าเป็นรังของโรค ในเมื่อมีขันธ์ 5 ขึ้นมาแล้ว โรคมันก็รบกวน โรคอันดับต้นที่เรียกว่า ชิฆัจฉา ปรมา โรคา ขึ้นชื่อว่าความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง หรือว่าโรคปวดนั่นเจ็บนี่ โรคไม่สบายนั่นโรคไม่สบายนี่ อาการอย่างนี้ถือว่าเป็นโรค
    โรคะ แปลว่า อาการเสียดแทง
    นี่ร่างกายเป็นที่ฝังของโรค ในเมื่อโรคเกิดขึ้น คือ อาการเสียดแทงเกิดขึ้น มันก็มีอารมณ์เป็นทุกข์ ถ้าเราเอาจิตไปจับเกาะอยู่ในร่างกายมันก็เป็นทุกข์
    ร่างกายนอกจากเป็นโรคก็เป็น อนิจจัง หาความเที่ยงหาความทรงตัวไม่ได้ วันนี้ผ่องใส พรุ่งนี้เสร้าหมอง วันนี้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า พรุ่งนี้เปลี้ยเพลีย วันนี้หนุ่ม รุ่งขึ้นอีกวันก็แก่ แก่ไปทุกวินาที
    และในที่สุดร่างกายก็เป็น อนัตตา คือ พัง มองดูร่างกายอย่างเดียวพอ ถ้าเราปลดร่างกายของเราได้แล้ว เราก็ปลดทุกสิ่งทุกอย่างได้ในโลก
    บารมี นี่แปลว่า เต็ม
    คราวนี้มาว่ากันถึงการปลดร่างกาย จะมานั่งปลดกันเฉย ๆ จะมองทุกข์กันเฉย ๆ มันก็มองไม่เห็น มองเห็นเหมือนกันแต่ไม่ชัด องค์สมเด็จพระสวัสดิโสภาคย์ได้แสดงกฎของการปลดทุกข์ คือ ปลดอารมณ์แห่งความทุกข์ สร้างอารมณ์ความสุขให้เกิดขึ้นกับใจ มีอยู่ 10 อย่าง ด้วยกันคือ
    (1) ทานบารมี
    (2) ศีลบารมี
    (3) เนกขัมมบารมี
    (4) ปัญญาบารมี
    (5) วิริยบารมี
    (6) ขันติบารมี
    (7) สัจจบารมี
    (8) อธิษฐานบารมี
    (9) เมตตาบารมี
    (10) อุเบกขาบารมี
    คำว่า บารมี นี่แปลว่า เต็ม เมื่อเต็มแล้วก็ต้องเต็มจริง ๆ เป็นอันว่าถ้าบารมีทั้ง 10 ประการนี้เต็มครบถ้วนบริบูรณ์ ที่เรียกว่า ปรมัตถบารมี สำหรับพระสาวกนะ ไม่ใช่อันดับขั้นพระพุทธเจ้า สำหรับขั้นพระสาวกนี้ใช้อารมณ์ต่ำ อารมณ์ไม่สูงนักไม่ใช่ขั้นพระพุทธเจ้า
    ถ้าหากว่าบารมีทั้ง 10 ประการนี้เป็น ปรมัตถบารมี
    คำว่า ปรมัตถบารมี หมายความว่า มีอารมณ์ทรงสูงอย่างยิ่ง คำว่าอย่างยิ่งก็หมายความว่าไม่เคลื่อนไป อารมณ์ที่มีอาการตรงกันข้ามไม่เกิดขึ้นกับจิตใจของเรา
    ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างนี้ครบถ้วนบริบูรณ์ ทุกท่านก็เป็นพระอริยเจ้าขั้นพระอรหัตตผล
    นี่เดิมทีเดียวเราก็สอนกันมา แนะนำกันมาในหลักการทั่ว ๆ ไป แต่จะเห็นว่ากว้างเกินไปในการปฏิบัติ และเวลานี้บรรดาท่านพุทธบริษัท มีทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ที่มีกำลังใจคือ บารมีแก่กล้านี้มีอยู่ หรือว่าบางท่านที่ยังอ่อนยังย่อหย่อน ก็จะได้มีความเข้าใจในการปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติจริง ๆ เพื่อมรรคเพื่อผล ถ้าขาดบารมีทั้ง 10 ประการแล้ว ทำอย่างไรมันก็ไม่มีผล ถ้าผลที่จะมีกับกำลังใจก็ได้แค่ผลหลอก ๆ คือ อุปาทาน คำว่าหลอกลวงนี่ไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาไปโกหกมดเท็จใคร แต่ว่ากำลังใจมันไม่จริง
    ที่เรียกว่าหยุดได้จากความโลภ ความโกรธ ความหลง อาจจะหยุดไปเพราะอารมณ์สบายชั่วคราว แต่ทว่าข้างหน้าต่อไปคลายไปก็มีทุกข์ มีความโลภ ความโกรธ ความหลง หรืออาจจะหยุดได้ด้วยกำลังของฌาน เช่น ฌานโลกีย์ กำลังใจยังดีไม่พอ ก็เอากำลังเข้าไปกดความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่ถ้าหากว่าจะตัดกันตรง ๆ ก็ต้องมาพิจารณาขันธ์ 5 ว่ามันเป็นทุกข์
    นี่ขันธ์ 5 เป็นทุกข์เพราะอะไร เพราะว่าเราขาด ทานบารมี ขาดศีลบารมี ขาดเนกขัมมบารมี ขาด ปัญญาบารมี ขาดวิริยบารมี ขาดขันติบารมี ขาดสัจจบารมี ขาดอธิษฐานบารมี ขาดเมตตาบารมี ขาดอุเบกขาบารมี
    และที่พูดวันนี้อาจจะมีหลายท่านจะตอบว่า บารมีทั้งหลายเหล่านี้มีครบถ้วนแล้ว แต่ก็อย่าลืมว่าบารมีนี้จัดเป็น 3 ชั้น คือ บารมีต้น เรามีทานมีศีลเหมือนกัน แต่ว่าทาน ศีลมันบกพร่อง มันไม่ครบถ้วนบริบูรณ์
    ถ้าหากว่าบารมีอันดับที่ 2 ที่เรียกว่า อุปบารมี ทาน ศีล ของเราดีครบถ้วนแต่จิตใจยังไม่สะอาดพอ ยังไม่รักพระนิพพาน ถ้าหากว่าเป็น ปรมัตถบารมี แล้ว ไม่มีการหวังผลใด ๆ ในโลกีย์วิสัย จะเป็นชาตินี้หรือว่าชาติหน้าก็ตามที กำลังใจของเราไม่มีการเกาะ การกระทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพระนิพพานโดยเฉพาะ ทำด้วยจิตบริสุทธิ์ ทำเพื่อหวังความสุข เรื่องความทุกข์ที่จะต้องห้ำหั่นกับสิ่งที่ตรงกันข้าม คือ กิเลส เราจะไม่ท้อถอย
    วันนี้ก็จะพูดเรื่อง ทานบารมี ก่อน เอาเข้ามาเปรียบเทียบกันกับ อริยสัจ อริยสัจ ที่เห็นว่าร่างกายของเราเป็นทุกข์ ร่างกายของคนอื่น ก็เป็นทุกข์ วัตถุธาตุที่เรามีความหลงใหลใฝ่ฝัน ก็เป็นปัจจัยของความทุกข์ เพราะ
    ทุกข์ เพราะว่า เราหลงใหลในกายของเรา เห็นว่าร่างกายนี้มันเป็นเรา เป็นของเรา เรามีในเรา เห็นว่าร่างกายที่ประกอบไปด้วยธาตุ 4 คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ มันเป็นเรา เป็นของเรา
    และเราก็มานั่งฝังความโง่ไว้ในจิต โดยที่เราไม่เคยคิดว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันจะเสื่อม ทั้ง ๆ ที่มันยังเสื่อมอยู่ และเราก็ไม่เคยคิดว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้คือร่างกายนี้ทั้งหมดมันจะพังไปในที่สุด ความเมาในชีวิต การมีอารมณ์คิดตรงกันข้ามกับความเป็นจริง เราจึงได้ตั้งหน้าตั้งตาแบกความทุกข์ คำว่าตั้งหน้าตั้งตาแบกความทุกข์ เพราะว่าในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่เป็นไปตามความปรารถนา เราก็มีความทุกข์ใจ
    ฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา จึงได้ทรงแนะนำให้หาความเต็มในอารมณ์ของจิต ความเต็มในอารมณ์ของจิตในอันดับแรก จับจุดให้มันเต็มจริง ๆ เนื้อแท้จริง ๆ แล้วมันเต็มอย่างเดียว มันก็เต็มหมด ถ้าเต็มหมดขึ้นชื่อว่าความทุกข์ทั้งหมดมันก็ไม่มี เราก็มานั่งคิดว่า ท่านบอกว่า
    “ร่างกายของเราจะมีเป็นเหตุของความทุกข์ เป็นเครื่องรองรับความทุกข์ก็เพราะว่า อาศัยตัณหาเป็นสำคัญ
    ความทะยานอยาก
    เราก็มานั่งดูคำว่า ตัณหา
    ตัณหา แปลว่า ความทะยานอยาก อยากจะรวย เมื่ออยากรวยเป็นอย่างไร คนที่อยากรวยจริง ๆ ไม่ได้มองหาความจริงของความตายที่มันจะเข้ามาถึง และก็ผลของความร่ำรวยมันเป็นปัจจัยของความทุกข์ เราเคยคิดบ้างไหม เคยได้ยินบ้างไหมว่า
    คนรวยคนไหนไม่แก่มีไหม
    คนที่เขาร่ำรวยที่เขาไม่ป่วยไม่ไข้มีไหม
    คนที่ร่ำรวยไม่ตายมีไหม
    หรือว่าคนที่ร่ำรวยไม่มีอาการเคลื่อนไหวทางจิต คือ มันมีแต่อารมณ์เป็นไปตามความชอบใจของเราเสมอมีบ้างไหม
    ถ้าจะพูดกันไปก็ไม่มีใครที่ไหน มันหาไม่ได้
    คนที่รวยแสนรวยนี่ตายนับไม่ถ้วน เราได้ฟังมหาเศรษฐีตาย คนที่มียศใหญ่ตาย คนที่มีอำนาจวาสนาบารมีใหญ่ตาย ทำไมเขาจึงตาย ถ้าจะถามว่าเขาอยากตายหรือ ก็ต้องตอบได้ทันทีว่าคนพวกนี้ไม่อยากตาย ในเมื่อไม่อยากตาย ทำไมเขาจึงไม่เอาความร่ำรวยไปช่วยไม่ให้ตาย ก็จะต้องตอบว่า ทรัพย์ที่เป็นโลกีย์วิสัยไม่สามารถจะช่วยอะไร คือ ไม่สามารถจะป้องกันกฎของธรรมดาได้
    ในเมื่อกฎของธรรมดามีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง มีการสลายไปในที่สุด ทั้งร่างกายของคน ร่างกายของสัตว์และวัตถุธาตุต่าง ๆ มีสภาพเสมอกัน กฎธรรมดามีอย่างนี้ จะมีทรัพย์อะไรที่ไหน
    แม้แต่พระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งมีอำนาจวาสนาปกครองคนทั้งโลก พระเจ้าจักรพรรดิก็ตาย เราก็มานั่งมองว่าตัณหาตัวที่หนึ่ง นั่นก็คือทะยานอยาก มัวเมา อยู่ในทรัพย์สิน คิดว่าเรารวยเสียแล้วเรามีความสุข ความจริงรวยไม่มีความสุข รวยก็ไม่สุข ไม่รวยก็ไม่สุขในด้านของวัตถุ แต่ถ้ารวยกำลังใจในการให้ทานมีความสุข
    วิธีหาความสุขเขาไม่ได้หากันชาติหน้า เขาหากันชาตินี้ การที่จะไปนิพพานอย่าไปมุ่งเอานิพพานชาติหน้า ถ้าชาตินี้จิตใจมันไม่ถึงนิพพาน ชาติหน้ามันก็ไม่ถึง นิพพธาตุเป็นไปในความดับ
    คำว่า ดับในที่นี้ไม่ได้ดับชีวิต ดับอารมณ์คิดที่อยากจะมีความร่ำรวย เพราะตัณหาทะยานอยากเป็นตัวดึงเข้ามา ดึงทรัพย์ดึงสินเข้ามาสะสม และก็มีความมัวเมาในทรัพย์สิน มัวเมาในชีวิต คิดว่าทรัพย์กับเราจะไม่แยกกัน
    บางคนรวยเป็นมหาเศรษฐี แต่ว่ามาปลายมือก็เป็นยาจกก็มี บางคนรวยแสนรวยแต่หาความสุขอะไรไม่ได้เลยก็มี เวลานี้มีมาก ถ้าหากว่าท่านจะเข้าไปในบ้าน เข้าไปถึงกำลังใจของบรรดามหาเศรษฐีทั้งหลาย จะรู้สึกว่าบรรดาท่านมหาเศรษฐีทั้งหลายเหล่านั้น ไม่มีความสุข เพราะไม่มีคำว่า พอ มีอารมณ์เป็นทุกข์
    ตามที่ พระรัฐบาล ตรัสกับ พระเจ้าโกรพยะ ว่า
    “โลกพร่องอยู่เป็นนิจ โลกเป็นทาสของตัณหา เพราะฉะนั้น อาตมาจึงบวชในพระพุทธศาสนา ตัดความบกพร่อง ตัดความเป็นทาส”
    ถ้าเราจะทำ ทานบารมี ให้เต็มเราทำอย่างไร ต้องรักษากำลังใจให้มันตรง การที่เราจะเอาชนะ ต้องชนะกันจริง ๆ ไม่ว่าเวลานี้ ชนะแล้วเวลานี้เวลาหน้าแพ้ อารมณ์ใจต้องเต็มไปด้วยความเสียสละ อารมณ์ใจต้องเต็มไปด้วยการสงเคราะห์ มีจิตใจคิดไว้เป็นปกติ ว่าชีวิตนี้นี้ทั้งชีวิต ร่างกายทุกจุด อิริยาบถทุกอิริยาบถที่เราเกิดมาเป็นคน เราเกิดมาเพราะตัณหาคือ ความอยากรวย ความมัวเมาในทรัพย์สิน ความมัวเมาในร่างกายเป็นปัจจัยให้เราเกิดมาเป็นทุกข์ เราจะแสวงหาความสุข ความสุขนี่ไม่ได้แสวงหาชาติหน้า แสวงหามันเดี๋ยวนี้
    อันดับแรกในระยะต้น เราจะทำความรู้สึกในใจของตน ว่า เราจะเป็นผู้สงเคราะห์ทั้งคนและสัตว์ ให้มีความสุขตามกำลังที่เราจะพึงหาได้ ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่เกินวิสัยสำหรับเรา และมันเป็นการเกินวิสัยสำหรับเขาที่จะช่วยตัวเองได้ เราก็ช่วยตามกำลัง ช่วยมากไม่ได้ก็ช่วยน้อย ช่วยบ่อยไม่ได้ก็นาน ๆ ช่วย แต่ว่าใจของเราคิดจะช่วยทุกลมหายใจเข้าออก จิตคิดประกอบไปความเมตตาปราณี อยากจะสงเคราะห์ให้เขามีความสุข ขึ้นชื่อว่าอารมณ์แห่งความมัวเมาในทรัพย์สิน คิดว่าทรัพย์สินกับเราจะอยู่ด้วยกันตลอดกาลตลอดสมัยไม่มีในจิตของเรา นั่งมองดูความจริงว่าคนที่มีทรัพย์เขาตายไป เขาแบกอะไรไปได้บ้าง
    ผลของทาน
    ถ้าหากว่าเราเริ่มต้นด้วยการสงเคราะห์ ความสุขก็เริ่มตามมา ความสุขที่จะตามมาในชาตินี้นั่นก็คือ ความสุขที่เกิดจากความรัก ในอันดับแรกการให้เป็นปัจจัยให้เกิดความรัก การยื้อแย่งเขาเข้ามาเป็นปัจจัยให้เกิดความโกรธ แล้วก็มานั่งมองว่าคนที่มีคนรักมากกับคนที่มีคนโกรธมาก คนประเภทไหนจะมีความสุขกว่ากัน อย่างนี้อธิบายไม่ยาก คนที่มีคนรักมากมีความสุข อันนี้เป็นสุขเบื้องต้นในชาติปัจจุบัน ที่เราจะมองเห็นว่าถ้า ทานบารมี ของเรามีอยู่เป็นปกติ เราจะเป็นที่รักที่ท่านกล่าวว่าผลของทาน คือ
    (1) ปิโย จะได้เป็นที่รักของคนทั่วไป
    (2) กิตติสัทโธ ชื่อเสียงของคนที่มีใจดี ปรารถนาในความปรานีบุคคลทั้งหลายจะฟุ้งขจรไป
    (3) วิสรโท จะเป็นผู้แกล้วกล้าในหมู่มวลชน เพราะไปไหน ก็มีแต่คนรักจะไปกลัวอะไร
    (4) อสัมมุฬโห เมื่อเวลาจะตายไม่หลงตาย
    นี่แสดงว่าด้วยอำนาจ ทานบารมี ให้กำลังใจ คือ
    (1) ปิโย เป็นที่รัก ในเมื่อเราเป็นที่รักของคนทั้งหลาย เราก็มีความสุข
    (2) กิตติสัทโธ เมื่อความดีฟุ้งขจรไปที่ไหนก็มีแต่คนชอบใจ อยากจะคบค้าสมาคม อยากจะคบหาด้วย อยากจะเกื้อกูล อยากจะสงเคราะห์ จะไปพักที่ไหน จะไปอยู่ที่ไหน ก็มีแต่คนรักเพราะชื่อเสียงฟุ้งไป แม้แต่เขาทั้งหลายเหล่านั้น ยังไม่ได้รับผลของการให้ของ เราเขาก็ชอบใจ เรามีความสุขหรือความทุกข์ นี่มันก็เริ่มมีความสุข
    (3) วิสารโท จะไปไหนก็มีแต่ความองอาจ ไม่หวาดหวั่นต่ออันตราย เพราะไม่ต้องกลัวใคร มีคนรักเสียแล้ว ไปที่ไหนก็มีแต่คนรักอันตรายที่ไหนจะมี เหตุทั้ง 3 ประการนี้ ทำอารมณ์ใจให้เป็นสุข
    (4) อสัมมุฬโห เมื่อจิตมันเป็นสุข จิตไม่มีอารมณ์กระสับกระส่าย จิตไม่มีความระแวงระไว จิตไม่มีความเร่าร้อน อารมณ์ใจก็เป็นสุข เวลาตายไม่หลงตาย
    ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะ ทานบารมี ที่คุมกำลังใจของเราให้เข้าถึงจุดดับ ตัวไหน ดับตัวทุกข์ คือ หมายถึงว่าดับอันตราย เพราะจิตใจของเราคิดจะให้ และจะให้อยู่ ชื่อว่าทรัพย์สินของบุคคลใดก็ดี เราไม่เคยคิดอยากจะได้ ถ้าจะได้ก็ต้องอาศัยเจ้าของเป็นผู้เต็มใจให้
    และการจะยอมรับก็ต้องมองดูว่า ควรรับหรือไม่ควรรับ ถ้าสิ่งที่เขาให้มันเป็นการเกินวิสัยฐานะของเขา เราไม่ควรรับเราก็ไม่รับ เพื่อเป็นการรักษากำลังใจของบุคคลผู้ให้
    และน้ำใจของเราก็มีจิตคิดไว้เสมอ ว่าวัตถุธาตุทั้งหมดมันมีประโยชน์ แต่เฉพาะในเวลาที่เรามีชีวิตเท่านั้น ร่างกายยังทรงอยู่เพียงใด วัตถุธาตุทั้งหลายสามารถจะให้โอกาสที่เราจะใช้สอยมัน แต่ทว่าเราก็ใช้สอยแต่พอสมควร
    มามองดูความเกิด อย่าลืมความเกิดว่าร่างกายที่มันเกิดทุกข์มาได้ ก็เพราะอาศัยเราอยากจะดึงเข้ามานี่ เราสามารถจะผลักอารมณ์ที่รักในวัตถุ ความจริงเรารัก แต่ทว่ารักเฉพาะในกิจที่มีความจำเป็น แต่อารมณ์รักในการสะสมไม่มี จิตคิดไว้เสมอว่าร่างกายนี้ไม่ช้าก็สลาย ธาตุ 4 พังไปอะไรมันจะเหลือ ทรัพย์สินที่มีอยู่จะมีประโยชน์อะไร ในเมื่อร่างกายพังแล้ว
    ฉะนั้นองค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงเห็นประโยชน์ในเรื่องนี้ จึงสอนให้รู้จักการเสียสละ คือ สละทรัพย์ให้เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่น แต่ว่าการให้ด้วยการรักษากำลังใจให้พอเหมาะพอดี อย่าถึงกับเบียดเบียนเกินไป
    เอาละ บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย การใช้ อริยสัจ คือ สักกายทิฏฐิ ร่วมกับ ทานบารมี เป็นการตัดตัวที่สำคัญ ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ค่อย ๆ ตัดจนกระทั่งหมดความเมา เห็นทรัพย์สินทั้งหลายก็มองหาประโยชน์ ว่าทุกชิ้นทุกอันนี่เป็นวัตถุขึ้นมา เราคิดว่านี่เป็นปัจจัยคือ เป็นเชื้อสาย เป็นทุนให้เราตัดความทุกข์ เราจะแสวงหาความสุขในชาติปัจจุบัน คือ เกื้อกูลซึ่งกันและกันได้เป็นปกติ จนกระทั่งจิตไม่คิดเสียดายของที่ให้ไปอย่างนี้ ชื่อว่าจิตใจของท่านทั้งหลายเข้าถึงระดับที่เรียกกันว่า นิพพาน เป็นดับจุดหนึ่งคือ กำลังของตัณหาที่จะดึงเข้ามาที่เรียกว่า ความโลภ
    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยทั่วหน้า สำหรับการอธิบายกันมา เวลาจะเกินไปสักหน่อยหนึ่ง หวังว่าท่านทั้งหลายคงมีความเข้าใจ เห็นว่าจะไม่ยากเกินไป เวลานี้ก็หมดเสียแล้ว ต่อนี้ไปทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควร

    โดย พระราชพรหมยาน ( หลวงพ่อฤาษีลิงดำ )

    57284618_1929650540480013_4572173010793922560_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  10. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
  11. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
  12. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    #ตายจากพระสงฆ์ไปเกิดเป็นเปรต

    ..ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ อาตมาเดินทางไปภาคเหนือ ได้ไปพักที่วัดเม็งราย จังหวัดเชียงราย คราวก่อนเคยมาพักที่นี่ครั้งหนึ่งแล้ว คราวนั้นอากาศหนาวเมื่อนอนลงไป ก็เห็นพระสงฆ์องค์หนึ่งมีความสวยสดงดงาม กำลังหนุ่มมาโบกพัดให้ อาตมาจึงถามท่านว่า
    “อากาศมันหนาว โบกให้ผมทำไม”
    “ไม่เป็นไร ผมโบกให้แล้วมันอุ่น”

    และก็อุ่นจริงๆ แต่มาคราวนี้ไม่พบพระองค์นั้น เมื่อนอนลงไปก็เห็นแต่ผีมาเป็นพันๆ นอนเฉยๆ ไม่ได้เข้าฌาน เห็นผีมากมายมารับส่วนบุญกัน นอนพักทั้งสองคืนพบแต่ผีทุกคืนทั้งตอนเช้ามืด และหัวค่ำ เมื่อผีมาหาในฐานะที่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ก็อุทิศส่วนกุศลให้ แต่ทว่าคืนสุดท้ายมีเรื่องพิเศษคือ คืนนั้นเห็นผีมากันมากแล้วก็ผ่านไป ก็เห็นพระสงฆ์เดินมาใหม่ประมาณสัก ๒๐๐ องค์เศษ ห่มผ้าสีกรัก แต่ว่าผิวเนื้อไม่สวยเหมือนกับพระองค์นั้นที่เคยเห็น ไม่มีอาการผ่องใส ท่าทางการเดินสงบเสงี่ยมมาก เห็นแล้วน่าเลื่อมใส น่าไหว้น่าบูชา เดินตรงเข้ามาไม่ทันจะถึงตัวก็หายไปหมด ก็สงสัยจึงถามลูกศิษย์ของท่านท้าวมหาราชซึ่งยืนอยู่ใกล้ๆ ว่า

    “พระพวกนั้นท่านจะมาเยี่ยม แล้วท่านหายไปไหน”

    ลูกศิษย์ท่านท้าวมหาราชตอบว่า
    “นั่นไม่ใช่พระอรหันต์นะขอรับ องค์ก่อนที่ท่านพบนั้นเป็นพระอรหันต์ แต่คณะนี้ไม่ใช่”

    จึงถามว่า
    “พระพวกนี้เป็นอะไร”

    ตอบว่า
    “พวกนี้เป็นเปรตขอรับ ตั้งใจจะมาขอส่วนบุญ แต่ว่ากำลังของกฎแห่งกรรมเป็นอกุศลยังมีอยู่มาก จึงยังไม่มีโอกาสจะรับโมทนาได้ เมื่อมาแล้วจึงได้หายไป”

    อาตมาสงสัยถามว่า
    “พระพวกนี้น่ะหรือเป็นเปรต และเปรตรูปร่างเหมือนพระมีหรือ”

    ตอบว่า
    “ถ้าหากทำความชั่วในระหว่างเป็นพระ และก็ตายระหว่างเป็นพระ ก็จะแสดงภาพเดิมที่เป็นพระให้ปรากฎ”

    เมื่อท่านตอบอย่างนี้ก็นึกถึงว่าเคยอ่านพระไตรปิฎกหรือแปลบาลี ก็เคยพบเปรตที่มีรูปร่างเป็นพระบ้าง เป็นเณรบ้าง เป็นนางภิกษุณีบ้าง มีไฟไหม้ตลอดตัว มีสรรพาวุธเสียบแทงอยู่ตลอดเวลาก็มีมาก มีแร้งมีกาจิกกินอยู่ตลอดเวลาก็มี จึงถามว่า
    “พระพวกนี้ความจริงจริยาก็ดีกว่าฉัน แต่ทำไมพวกท่านจึงไปนรก”

    ตอบว่า
    “ก็เพราะว่าห่มผ้าสีกรักแสดงตนว่าเป็นคนบริสุทธิ์ ทำท่าสงบเสงี่ยมเรียบร้อย เคร่งครัดมัธยัสถ์ เหมือนกับพระเทวทัต แต่ว่าน้ำใจของท่านไม่ใช่พระ ไม่ได้ปฏิบัติให้ใจใสสะอาดตามที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงสั่งสอน”

    ฉะนั้นพระพวกนี้ตายไปแล้วจึงเสวยทุกขเวทนาในนรกนานพอสมควรแก่กฎของกรรม เมื่อพ้นนรกมาแล้วก็มาเป็นเปรตถึง ๑๒ ระดับ เวลานี้เป็นปรทัตตูชีวิเปรต คือเปรตระดับที่ ๑๒ แต่กรรมยังหนักอยู่จึงยังไม่มีโอกาสจะโมทนาได้ และก็ไม่สามารถจะเข้ามาใกล้ได้”

    อาตมาฟังลูกศิษย์ของท้าวมหาราชท่านอธิบาย ก็รู้สึกสลดใจว่า
    “พระก็ชอบลงนรกเหมือนกัน เป็นเปรตก็มาก”

    ถ้าเราจะบูชาพระก็ควรจะบูชาพระที่เป็นสุปฏิปันโน ถ้าพระองค์ใดติดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข อันเป็นโลกธรรม และเราไปบูชาเข้าก็จะเป็นการให้กำลังใจโจร เพราะคนพวกนี้เป็นโจรปล้นความดีของพระพุทธศาสนา และก็ปล้นความดีของบรรดาท่านพุทธบริษัทด้วย..

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    _____
    จากหนังสือ “ตายไม่สูญ…แล้วไปไหน” หน้า ๓๒๗ คัดลอกโดย คณะบุญสุประวีณ์

    58374328_1935936429851424_3290528660561330176_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  13. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    #พระพุทธคาถา

    “สัมมาสัมพุทธัสสะ พระอะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ”

    ให้สวดทุกคืนๆละ ๗ จบ อานุภาพของพระคาถา ศัตรูจะพินาศเองเมื่อคิดประทุษร้าย จะเกิดผลในด้านมงคลทุกประการ จะสามารถเห็นได้แจ่มแจ้งด้วยญาณ เป่าให้ศิษย์ผู้เรียนทิพจักขุญาณ และเรียนไปปรโลกได้ มีญาณเครื่องเห็นแจ่มใส

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    ______________
    จากหนังสือ “พ่อรักลูก” เล่ม ๑ หน้า ๕๔ คัดลอกโดย คณะบุญสุประวีณ์

    57611695_1936723853106015_1476328779604295680_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  14. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    1f6a9.png 1f6a9.png เมื่อจิตสงบแล้วจะพิจารณาตอนไหน

    ผู้ถาม:- “เมื่อจิตสงบแล้วเป็นเอกัคคตารมณ์ เราจะพิจารณาตอนนี้ หรือว่าต้องถอนจิตมาพิจารณาครับ?”

    หลวงพ่อ:- “ไม่ต้องถึงอย่างนั้นหรอกโยม เรื่องพิจารณานี่เราจะเริ่มตั้งแต่ตอนต้นได้เลย คือว่าวิธีปฏิบัติเพื่อมรรคผลจริงๆ เขาทำกันแบบนี้นะ คือว่าในตอนนั้นหรือจุดเริ่มต้นน่ะ เราพอใจในอะไร ถ้ามันกระสับกระส่ายก็ใช้อานาปาเข้าควบคุมให้จิตสงบเสียก่อน เมื่อจิตสงบดีแล้ว ก็ถอยมาสู่อุปจารสมาธิมาพิจารณาขันธ์ ๕ ไม่ใช่พิจารณาเฉยๆ ต้องเอาสังโยชน์เข้ามาคุมเป็นพื้นฐานด้วยว่า เราจะตัดจุดไหนกันแน่ พอพิจารณาไปอารมณ์มันจะซ่านออก พอซ่านออกต้องทิ้งการพิจารณาเสีย แล้วมาจับอานาปาใหม่ ให้จิตทรงตัวดีแล้วมีอารมณ์เป็นสุข จิตมันทรงตัวดีก็ไปพิจารณาใหม่ สลับกันไปสลับกันมาแบบนี้นะ นี่เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อมรรคผลจริงๆ

    บางท่านก็พิจารณาได้ดี พอเริ่มต้นพิจารณาอยู่ในขอบเขตได้ดี ตัวพิจารณานี่เป็นตัวตัดกิเลสตรง ถ้าหากว่าใครพิจารณาได้ตลอด โดยไม่ภาวนาเลยยิ่งดีใหญ่ เพราะการพิจารณานี่เป็นตัวปัญญา เป็นตัวตัด อารมณ์ทรงมีจิตเป็นสุข พิจารณาเฉยๆ สบายๆ จนกระทั่งตัดกังวลทั้งหมด กังวลที่ตัด ก็คือร่างกายของเรา เรียกว่าขันธ์ ๕ ถ้าเราตัดตัวเราได้ ก็ตัดคนอื่นได้ ใช่ไหม…ดีไม่ดี เราตัดคนอื่นได้ แต่เราตัดตัวเราไม่ได้ เพราะยังเกาะ

    ฉะนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านให้ตัดจุดเดียว คือ สักกายทิฏฐิ ใน สังโยชน์ ๑๐ น่ะ ตัดสักกายทิฏฐิจุดเดียว ถ้าอารมณ์มันเบาลงไปหน่อยก็เป็นพระโสดาบัน เบามากไปอีกนิดก็เป็นสกิทาคามี เบามากขึ้นไปก็เป็นพระอนาคามี ตัดได้หมดเป็นพระอรหันต์”

    ผู้ถาม:- “ถ้าผู้ฝึกมโนมยิทธิแล้ว จะทำให้เป็นพระอรหันต์ได้เร็วไหมครับ…?”

    หลวงพ่อ:- “ความจริงพวกที่ได้มโนมยิทธินี่ตัดง่าย เป็นกำไร เพราะว่าพวกที่ได้ทิพจักขุญาณอย่างหนึ่ง และพวกที่ได้มโนมยิทธิอย่างหนึ่ง ท่านมีขอบเขต ท่านบอกว่าคนพวกนี้
    ถ้ามีบารมีแก่กล้า ก็จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ วัน
    ถ้ามีบารมีอย่างกลาง จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ เดือน
    ถ้ามีบารมีอ่อน จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ ปี
    ท่านไม่ได้บอกว่าไม่ได้เลย ถ้าอ่อนก็ภายใน ๗ ปี อาจจะเป็น ๑ ปีก็ได้”

    1f4d6.png 1f4d6.png หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๖๒-๖๔
    1f64f.png 1f64f.png พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง)

    58378203_1938570729587994_178129641138028544_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  15. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    #พระโสดาบันเป็นของไม่ยาก

    แล้วก็อย่าลืมอีกนิดหนึ่งว่า
    ทำไมพระโสดาบันยังรักเขาอยู่ล่ะ
    ยังอยากแต่งงาน
    ยังอยากรวย
    ยังมีความโกรธ
    ยังมีความหลง

    นี่ก็ต้องย้ำลงไปอีกนิดว่า ดูองค์พระโสดาบันว่ามีอะไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า “อธิศีลสิกขา” คือมีศีลยิ่งเท่านั้นเอง พระโสดาบันกับสกิทาคามี ความสำคัญอยู่ที่ศีล

    เขาอยากรวย เขาก็ไม่โกงใคร
    เขารักเขาก็อยู่ในขอบเขตของศีล
    เขาโกรธเขาไม่ฆ่าใคร
    เขาหลงรัก หลงสวย หลงงาม เขาก็ไม่ลืมความตาย

    นี่จำไว้ว่านี่เป็นองค์ของพระโสดาบัน แล้วการปฏิบัติเข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อารมณ์เบื้องต้น องค์สมเด็จพระทศพลกล่าวว่าเต็มไปด้วย “อธิศีลสิกขา”

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาม
    ___________
    จากหนังสือ “ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน” หน้า ๑๘ ย่อหน้าสุดท้าย คัดลอกโดย คณะบุญสุประวีณ์

    58113338_1939437326168001_2197657241203507200_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  16. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
  17. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    #การขนศิษย์ไปนิพพาน
    จาก “ประวัติหลวงพ่อพระราชพรหมยาน”

    “…พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีขั้นวิริยะธิกะใช้เวลา ๑๖ อสงไขยกับ แสนกัป และปรมัตถบารมีเต็มแล้วนั้น ย่อมมีบริวารที่ปรารถนาจะเป็นสาวกร่วมกันมากมายมหาศา ล และเมื่พระมหาโพธิสัตว์ลงมาเกิดแต่ละชาตินั้น บริวารส่วนใหญ่จะลงมาเกิดด้วยเพื่อสร้างบารมีให้เต็ม แต่จะมีบริวารอีกส่วนหนึ่งซึ่งอาจติดอยู่ในภพภูมิอื่น ๆ หรือลงมาเกิดไม่ทัน

    ดังนั้นบริวารของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ จึงตกค้างวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏเป็นจำนวนมากนับตั้งแต่บริวารของสมเด็จองค์ปฐมเป็นต้นมา จนกว่าบารมีจะเต็มหรือมีพระพุทธเจ้าองค์ต่อ ๆ มาโปรด และได้ตามลงมาเกิดด้วย เพื่อเร่งบำเพ็ญบารมีจนบรรลุอรหันตผลในพุทธกาลนั้น ๆ

    ผู้เขียนเคยถามพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านว่า ท่านจะตัดตอนอยู่เก็บลูกศิษย์แค่ไหน [ ที่เหลือก็ฝากพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป ] ท่านตอบว่า

    ” ฉันจะเก็บของฉันไปจนหมด ฉันเก็บลูกศิษย์ของฉันครบแน่ !”

    ท่านยืนยันว่าลูกศิษย์ของท่าน หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นห้าพันสี่ร้อยคนเศษนี้ ท่านพบหมดแล้ว [ ในภพภูมิต่าง ๆ ] ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๓ และส่วนใหญ่จะถึงนิพพานในชาตินี้ แต่ทุกคนจะถึงนิพพานหมดในชาติหน้า ท่านได้ยืนยันความรู้นี้ไว้หลายแห่งด้วยกันกล่าวคือ

    ๑. ในการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดท่าซุง ท่านได้ให้จารึกไว้ในแผ่นทองบรรจุใต้แท่นพระประธาน เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๙ ว่า

    เราพระมหาวีระ มีพระราชานามว่า ภูมิพล เป็นผู้อุปถัมภ์
    ร่วมด้วยพุทธสานิกชนส่วนใหญ่ สร้างวัดนี้เป็นพุทธบูชา
    เมื่อศักราชล่วงไปแล้ว ๒,๗๐๐ ปีปลาย จะมีพระเจ้าธรรมิกราช
    นามว่าศิริธรรมราชา สืบเชื้อสายมาจากเชียงแสนและสุโขทัย ร่วมกับพระอรหันต์
    จะมาบูรณะวัดนี้ สืบพระศาสนาต่อไป
    คณะของเราขอโมทนา แต่อยู่ช่วยไม่ได้ เพราะไปพระนิพพานหมดแล้ว

    ๒. เพื่อให้แน่ใจว่าลูกหลานของท่านมีสุขคติเป็นที่ไป ท่านได้ตั้งสัตยาธิษฐาน ฝากลูกหลานของท่านไว้กับพระ พรหม และเทพยดาทั้งหมดดังนี้

    ” ฉันขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข พร้อมด้วยพระอริยสงฆ์ทั้งหมดและพระพรหม และเทพเจ้าทั้งหมด ขอทุกท่านจงกำหนดจิตจดจำลูกหลานของฉันไว้ ว่าบุคคลใดก็ตาม เมื่อเวลาจะตายขอให้สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีจิตน้อมไปในกุศลกรรม และขอให้ได้รับผลที่ฉันได้ทำไปแล้วทุกประการ แก่ลูกหลานของฉันทุกคน

    เวลานี้ฉันมองดูแล้วนะ ตรวจดูแล้ว สิ่งที่ฉันต้องการมันสมใจนึกแล้ว ฉันมีความอิ่มใจบอกไม่ถูก ปลื้มใจที่ความปรารถนาสมหวัง ที่ฉันตั้งใจไว้นาน ปรารถนาไว้นานคิดว่าจะทำไม่ได้ แต่เวลานี้ทำได้แล้ว ลูกหลานของฉันทุกคน มีศรัทธาเป็นอจลศรัทธาแล้ว มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาแล้ว มีความดีพอสมควรแล้ว ”

    ถ้าเผอิญจะมีใครสงสัยในอธิษฐานบารมีขององค์ท่าน ก็ขอบอกกล่าวให้รู้ทั่วกันว่า อธิษฐานบารมีท่านเต็มมานานแล้ว ตั้งแต่ก่อนชาติที่จะเกิดเป็น “พระร่วงวาจาสิทธิ์” ผู้สร้างเมืองศรีสัชชนาลัยเสียอีก ท่านเคยสั่งลูกศิษย์ของท่านทุกคนไม่ให้แช่งใคร เพราะทุกคนเป็นลูกหลานพระร่วง แช่งคนแล้วจะมีผลตามนั้น

    วิธีการเก็บของท่านเท่าที่ทราบมีอยู่ ๗ วิธีคือ

    ๑. การออกหมายเกณฑ์ คือการตั้งสัตยาธิษฐานว่า…..ถ้าผู้ใดเป็นเชื้อสายข องท่าน เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งเล่มใดของท่าน หรือได้ฟังเทป หรือฟังวิทยุที่ท่านเทศน์ หรือได้อ่านได้ยินได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับตัวท่าน แล้วขอให้เกิดศรัทธาปสาทะจนต้องมาหาท่าน

    ๒. ฝากพระ พรหม หรือเทพยดา ให้ไปเข้าฝันตามตัวให้ หรือให้ไปบอกในสมาธิ

    ๓. ท่านไปเข้าฝันเอง ทำให้ต้องตามมาหาท่าน [ มีเรื่องเล่ากันหลายเรื่องแล้ว ] หรือไปสงเคราะห์ด้วยอภิญญา

    ๔. ตามเพื่อน ญาติ พี่น้อง หรือคนรัก มาวัดหรือซอยสายลม หรือที่อื่น ๆ เพื่อมากราบท่าน แล้วก็มาติดใจหลวงพ่อ

    ๕. แสวงหาพระดีไปทั่วประเทศ พอมาเจอหลวงพ่อวัดท่าซุงเข้าก็เลิกแสวงหา

    ๖. พอเห็นท่านครั้งแรกโดยบังเอิญก็ติดใจ ทำบุญด้วยทันที โดยไม่รู้ว่าท่านเป็นใคร

    คราวหนึ่ง ท่านขึ้นไปดอยตุงแล้วลงมาฉันก๋วยเตี๋ยวเเพลอยู่ที่ร้านข้างถนน ที่อำเภอแม่สาย มีผู้หญิงอายุราว ๓๐ เศษคนหนึ่งเดินผ่านมาพบเข้า ก็ไปซื้อลูกประคำมาถวายท่าน ท่านก็เอาประคำคล้องคอท่านทันที ( ตามปกติท่านจะไม่คล้องลูกประคำ นอกจากเพื่อเจริญศรัทธาหมู่คณะเฉพาะงาน ) พวกเราก็ล้อท่าน ท่านหัวเราะแล้วบอกว่า

    ” ท่านแม่มาบอกว่า น้องรักเขาถวาย คล้องให้กำลังใจเขาหน่อย ”

    ๗. ท่านตามไปเก็บเองเมื่อเป็นลูกศิษย์ท่านแล้ว ทุกคนจะซาบซึ้งในมหากรุณาอันมหาศาลของท่านเอง โดยมิต้องบรรยายในที่นี้ เพราะท่านทำทุก ๆ อย่าง เพื่อสงเคราะห์ลูกหลานของท่านในทุกโอกาส..”

    58887018_1944767888968278_2100104575267635200_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  18. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    “อย่าทะนงตนว่าเป็นคนดี หมั่นชำระจิตตนเองไว้เสมอ”
    ธรรมโอวาท หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

    ถ้าทุกคนปรับปรุงใจตนดีแล้ว มันก็ไม่มีเรื่องยุ่งกับคนอื่น ไม่สร้างคนอื่นให้มี ความเร่าร้อน ในการที่จะเพ่งโทษคนอื่น ต้องรู้ตัวว่าเราเลวเกินไป

    นี่จงรู้สึกตัวไว้เสมอ รู้สึกตัวว่าเรามันเลว เลวมาก จนกระทั่งขังไว้ในใจไม่ได้ มันจึงอุตส่าห์ไหลออกมาทางวาจา ไหลมาทางกาย

    นี่แสดงว่าความเลวมันล้นออกมาจากจิต ในข้อนี้ต้องคิดไว้เป็นประจำ อย่าทะนงตนว่าเป็นคนดี ถ้าดีแล้ว ปากไม่เสีย กายไม่เสีย ถ้าปากเสีย กายเสีย ความเลวมันล้น มีความดีไม่ได้ เราไม่ควรนึกว่าคนอื่น เขาจะเป็นอะไร ใครเขาจะเป็นอะไร ก็ช่างเขาข้อสำคัญ เราชำระจิตใจของเราให้สะอาดนั้นเป็นการดี

    57012533_1946848235426910_8762022683031371776_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  19. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    …..บวชชีพราหมณ์ บวชชีพุทธ บวชชีเจ๊ก ก็เหมือนกันแหละ มันอยู่ที่เรารักษาศีลบริสุทธิ์ไหม.. เขาให้ชื่อว่าบวชชีพราหมณ์ ก็หมายความว่าไม่ต้องโกนหัว ศัพท์นี้ท่านวิริยังค์ท่านตั้งขึ้น ไม่ผิดอะไรหรอก คือว่าในอันดับแรก เรารักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ รักษาได้ดีขนาดไหน..ถ้ารักษาได้ดี ถือว่าเป็นผู้ทรงสีลานุสสติกรรมฐาน ได้เป็นอันดับหนึ่ง
    …..และประการที่ ๒ ขณะที่บวชชีพราหมณ์ เราสามารถระงับ “นิวรณ์” ไหวไหม..เรากังวลใจมากหรือเปล่า…บางขณะไม่กวนใจเลย ขณะนั้นเป็นปฐมฌาน และหลังจากนั้นมีปีติ มีความเอิบอิ่มก็เป็นทุติยฌาน คือ ฌาน ๒
    …..ต่อไปถ้าจิตสงัดดีมาก เวลาภาวนาอยู่ ได้ยินเสียงภายนอกเบา จิตทรงอารมณ์ดี เวลานั้นเป็นฌานที่ ๓ ต่อไปไม่รู้ลมหายใจเข้าออก จิตโพรงสว่างเป็นฌานที่ ๔ แบบนี้เป็นฌานสมาบัติ
    …..เวลาที่บวชชีพราหมณ์ บวชมาแล้วกี่ครั้งก็ตาม ถ้าจิตสามารถทรงอารมณ์ได้ ๓ ประการ คือ
    ๑.เห็นว่าร่างกายจะต้องตาย
    ๒.เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
    ๓.ทรงศีล ๕ บริสุทธิ์
    และแถมอีกนิดหนึ่ง “มีนิพพานเป็นอารมณ์” อย่างนี้เขาเรียก “พระโสดาบัน”
    โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    58461772_1946144128830654_8983085620419100672_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  20. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    …เสือกเกิดมา ให้เขาเลี้ยงทำไม?…

    …”มีลูกหลายคนที่เห็นว่า บิดา มารดา
    เป็นคนไม่ดี หาว่าอคติ รักไม่เท่ากัน
    อย่างนี้เห็นมาซะมาก

    ชีวิตและเลือดเนื้อของเรานี่ เป็นของท่านให้เรามา ถ้าเราไม่ได้ท่าน
    เราจะมีชีวิตและเลือดเนื้อขึ้นมาได้อย่างไร
    ลูกอกตัญญูไม่รู้คุณคนบางพวก เขาบอกว่า บิดา มารดา ไม่ได้ตั้งใจให้เกิด

    ก็ต้องขอพูดแบบภาษาชาวบ้านสักนิดว่า ถ้ารู้ว่าเขาไม่ตั้งใจให้เกิดแล้วล่ะก็
    เสือกเกิดมาให้เขาเลี้ยงทำไม…

    …โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บิดา มารดา นี่ท่านทั้งหลาย อยากจะพูดต่อสักนิดหนึ่งว่า นอกจากท่านเลี้ยงมาแล้ว เราจะเลี้ยงท่านตอบ ทำกิจการของท่าน ดำรงวงศ์ตระกูล ประพฤติตนให้เป็นคน ควรแก่การรับมรดก ไม่ใช่อันธพาล กินเหล้าเมายา เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ นี่เป็นความดี…

    …ขอเตือนท่านทั้งหลายว่า ความต้องการในทรัพย์สิน ที่บิดา มารดา ให้ในภายนอก อย่าสนใจ ท่านหาให้เราได้ เพราะอาศัยความขยันหมั่นเพียร รู้จักเก็บหอมรอมริบตั้งตัวไว้ดี ทรัพย์ภายนอกเหล่านี้ เราอาจจะหามาได้มากกว่า
    บิดา มารดา ให้เราก็ได้
    ท่านไม่ให้เราก็จงอย่าสนใจ

    จงเทิดทูนความดีของท่านไว้ นั่นคือทรัพย์ที่ให้ไว้เป็นกรณีพิเศษ แล้วก็เป็นทรัพย์สำคัญกว่าทรัพย์ใดๆทั้งหมด
    คือ ชีวิต และเลือดเนื้อของเรา

    ชีวิตและเลือดเนื้อของเรานี่ เป็นของท่านให้เรามา ถ้าเราไม่ได้ท่าน เราจะมีชีวิตและเลือดเนื้อขึ้นมาได้อย่างไร
    และมีคนบางพวก เขาบอกว่า
    “บิดา มารดา ไม่ได้ตั้งใจให้เกิด”

    อันนี้ไม่จริง อาตมาเป็นพระมีประสบการณ์มามาก
    มีคนอยากจะได้ลูก แต่ก็ไม่มีลูก
    ท่านถามว่า “ทำไมถึงจะมีลูก”

    มาถามพระ มันจะได้เรื่องอะไร พระไม่มีความรู้ ในการสร้างลูก อยากได้ลูกดีๆ แหม…เราก็นั่งนึกในใจว่า “อยูสบายๆ ไม่ชอบ มีลูกขึ้นมาคน มันจนไปหลายปี ดีไม่ดีเกิดทุกข์ระทม ไปจนวันตาย ถ้าลูกอกตัญญูไม่รู้คุณคน”

    ฉะนั้นขอบรรดาท่านทุกคน ถ้าหากว่า ท่านจะไม่ให้ทรัพย์สินอันใด
    ก็จงนึกถึงความดีของท่าน มองดูร่างกายของเราทั้งหมด หรือแม้แต่ชีวิตจิตใจ ที่เราได้ขึ้นมานี่
    เพราะอาศัยท่านเป็นเหตุ ท่านเป็นแดนเกิด

    ถ้าบางคนจะคิดว่า เขาไม่ได้ตั้งใจให้เกิด ก็ต้องขอพูดแบบภาษาชาวบ้าน
    สักนิดได้ไหม ว่า

    “แล้วเสือกเกิดมาให้เขาเลี้ยงทำไม”

    นี่เป็นความเลว ของคนที่คิดอย่างนั้น บางทีท่านอาจไม่ได้ตั้งใจให้เกิด เราเกิดมาแล้ว ท่านก็ยังไม่เว้นความดี หากว่าท่านไม่เลี้ยงเรา ไม่ปรานีกับเรา ท่านทำให้แท้งเสียก่อนจะออกมา เราก็ตาย หรือออกมาแล้ว ท่านไม่เลี้ยงไม่ดู เราก็ตาย หรือว่าออกมาแล้ว ท่านเลี้ยง แต่ไม่ให้การศึกษา เราก็โง่

    เป็นอันว่า บิดา มารดา นี่เอง ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ถือว่าเป็นพรหมของบุตร
    คำว่า “พรหม” ก็คือผู้ประเสริฐ”…
    ————————————–

    คัดย่อจากหนังสือ ธรรมวิภาค (ภาคปฏิบัติ)
    ตอนที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๕๕-๒๖๐
    โดย พระราชพรหมยาน
    (หลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร)
    วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    ————————————–

    น้อมบูชาธรรม โดย สุวโจ-ผาลา…

    59614066_1947745655337168_1555184121460817920_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...