หนังสือพระแก้วแห่งสยาม

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 7 พฤษภาคม 2019.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807


    ผมมาเฉลยที่ผมถามไว้ครับว่า ทำไมในคลิปนี้จึงมีการใช้ปืนไฟพ่นไปที่แม่พิมพ์เหล็ก และทำไมในการสร้างพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษในสมัยที่ผมสร้างนั้น มีแต่การใช้ปืนลมยิงแม่พิมพ์เหล็ก มันเป็นเพราะเหตุผลอะไรครับ ทำไมต่างกันเหลือเกิน
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    การยิงปืนไฟตรงไปโดนแม่พิมพ์เหล็ก เป็นการเพิ่มความร้อนให้แก่เหล็ก แต่การยิงปืนลมตรงไปโดนแม่พิมพ์เหล็ก เป็นการลดอุณหภูมิให้แก่เหล็ก

    ในคลิปนาทีที่ 4:31 - 4:37 เป็นการใช้ปืนไฟพ่นไปที่แก้วส่วนล่างสุดของชิ้นงาน แต่เมื่อเวลาปฏิบัติงาน up side down ที่จริงส่วนนั้นคือส่วนล่างสุด

    นาทีที่ 4:38 - 4:40 เป็นการใช้ปืนไฟพ่นไปที่แม่พิมพ์เหล็กส่วนใกล้เคียงกันกับส่วนล่างสุดของชิ้นงาน
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ก่อนอื่นต้องอธิบายว่า การสร้างพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษนััน สร้างเร็วมาก คือประมาณ 1 นาทีต่อ 1 องค์ต่อ 1 แท่นเครื่อง และเป็นการสร้างต่อเนื่องทั้งวัน ชั่วโมงหนึ่งจะสร้างได้ประมาณ 45 - 60 องค์ จากเช้า 08:00 - 12:00 น. สร้างได้ประมาณ 200 องค์ เมื่อสร้างจาก 13:00 - 17:00 น. สร้างได้อีกประมาณ 200 องค์ ภายในเวลาทำการตามเวลาราชการสามารถสร้างได้ประมาณ 400 องค์ เป็นการสร้างต่อเนื่องอย่างรวดเร็วแทบไม่มีเวลาหยุดเลย

    คราวนี้ก็ต้องไปถามเหล็กแม่พิมพ์ก่อนว่า " ร้อนไหม " เหล็กแม่พิมพ์ก็จะบอกว่า ร้อน ร้อนมากด้วย ช่วยคลายร้อนหน่อย จึงเป็นที่มาของการใช้ปืนลมยิงตรงไปที่ผิวเหล็กภายในแม่พิมพ์และลิ่มเดือยด้วย
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807


    แต่การสร้างชิ้นงานแก้วอย่างในคลิปนี้ คือม้าท่อนบนขนาดใหญ่ เป็นการสร้างชิ้นงานชนิดที่มีราคาแพงมาก คือม้าท่อนบนนี้ราคาชิ้นละประมาณ 1 ล้าน 2 แสนบาท มีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษ จึงเป็นการสร้างอย่างช้าๆ ไม่นับเวลาว่าภายใน 1 - 2 นาทีต้องสร้างให้ได้ 1 ชิ้นนะ ไม่ใช่อย่างนั้นครับ สร้างช้าๆเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดี ( ผมชอบวิธีนี้มากกว่าแบบของไทยที่ต้องสร้างเร็วๆครับ )

    ดังนั้นเมื่อสร้างช้ามาก ผิวเหล็กจะมีความร้อนที่ลดลง ไม่สัมพันธ์กับความร้อนของเนื้อแก้วที่เนื้อแก้วต้องอยู่ในอุณหภูมิใช้งาน คือประมาณ 800 - 900C วิธีเพิ่มความร้อนให้แก่เหล็กจึงต้องใช้ปืนไฟยิงครับ เพราะถ้าความร้อนไม่ใกล้เคียงกัน ชิ้นงานคือเนื้อแก้วจะมีผิวย่น
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    หรือถ้าจะพูดให้ถูกต้อง การสร้างชิ้นงานของไทยนั้น ถูกกำหนดโดยหัวหน้าช่างเทคนิคที่คิดมาเรียบร้อยแล้วว่า ถ้าสร้างเร็ว เราใช้ปืนลมซึ่งไม่ต้องใช้แก๊ส ไม่เปลืองเงินค่าแก๊ส ( ประหยัดต้นทุนการสร้าง ) เพียงแค่เพิ่มความเร็วในการสร้างให้เร็ว ให้ทีมช่างสร้างเร็ว ทุกอย่างก็ประหยัด

    แต่ความจริงแล้ว ผมชอบแบบของฝรั่งเศสที่สร้างช้าๆ ต่อให้ต้องใช้แก๊ส ต้องใช้เงินค่าแก๊สทั้งวัน ก็เป็นเงินอีกไม่มาก ต้นทุนจะแพงขึ้นก็ช่างมันเถอะ เราจะได้ชิ้นงานที่ดี ที่ประณีตมาก
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ผมไปดูงานโรงงานแก้วในต่างประเทศ ไปทีละเป็นเดือน พบว่า ในต่างประเทศเขานึกถึงชิ้นงานที่ต้องมีคุณภาพสูง มีผิวงานดี เขายอมใช้แก๊ส หรือยอมใช้ทรัพยากรอื่นๆไม่ว่าจะเป็นอะไร เขายอมเสียเงินแทบจะเรียกได้เลยว่า ยอมทุกอย่างเพื่อชิ้นงาน ผิดกับงานสร้างพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษของไทยที่ลดต้นทุนทุกอย่าง ลดแม้กระทั่งเคมีที่ผสมในสูตรเคมี เรากลับไปใช้เศษแก้วประมาณเกิน 50% ของน้ำหนัก ใส่ลงไปในการหลอม จึงทำให้แก้วเราคุณภาพไม่ดีครับ และอื่นๆก็เช่นกัน มีแต่การลดต้นทุน เราสร้างพระรูปของพระพุทธเจ้า แต่เราทำได้แค่นี้เองหรือ ? นี่คือคำถามที่ผมถามตัวเองมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ครับ
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    55865081_2180130192083287_1362844250311491584_n-jpg-jpg.jpg
    พระแก้ว 25 พุทธศตวรรษแทบทุกรุ่น เป็นการใช้น้ำแก้วคุณภาพที่มีค่าอัลฟ่าสูงกว่า 100 ทั้งสิ้น ( ยกเว้นพระแก้วของโรงงานแก้วเจษฏาที่สร้างหลังปี พ.ศ. 2547 ซึ่งทางโรงงานแก้วเจษฏายืนยันการใช้น้ำแก้วค่าอัลฟ่าต่ำกว่า 100 ซึ่งมีคุณภาพดีพอสมควร )
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ค่าอัลฟ่าสูงกว่า 100 คุณภาพแก้วต่ำมาก

    ค่าอัลฟ่าต่ำกว่า 100 คุณภาพดีพอสมควร
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ในปี 2516 เป็นต้นมา หลายปีนั้น ผมเองเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิตของโรงงานหลอมแก้วของคุณพ่อผม เป็นคนดูแลทีมช่างที่สร้างพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษรุ่นและขนาดต่างๆตั้งแต่หน้าตักไม่ถึงครึ่งนิ้ว ไปถึงหน้าตัก 5 นิ้วเศษ ทีมช่างสร้างพระแก้ว 2 - 3 ทีม ทีมละ 6 - 8 คน ความจริงผมสามารถทักท้วงได้ แต่ไม่ได้ทำการทักท้วงให้การสร้างพระแก้วนั้นลดความเร็วลง เพราะถ้าเราลดความเร็วลง จากนาทีละ 1 องค์ต่อ 1 แท่นเครื่อง ให้กลายเป็นประมาณ 2 นาทีต่อองค์ต่อ 1 แท่นเครื่อง เราจะได้งานพระแก้วที่ดีกว่าที่เคยสร้างเป็นพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษมาก เนื่องจากเราสามารถใส่ใจรายละเอียดได้มากขึ้น

    อย่างทีมช่างฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศส เขาไม่จำกัดเวลาเลย ชิ้นงานแก้วหนึ่งชิ้น เขาทำตามสบาย 5 - 10 นาทีก็ไม่มีใครว่า เพราะเขาไม่ต้องแข่งกับการลดต้นทุนนั่นเอง ราคาขายของเขาแต่ละชิ้นหลักหลายแสนถึงหลักนับล้านถึงหลายล้านบาท
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    แท่นเครื่องอัตโนมัติสร้างเหยือกน้ำแข็ง เครื่องนี้ทำการปั๊มและเป่านาทีละ 20 เหยือกต่อแท่น เป็นการสร้างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่หยุดเลย สังเกตุการเป่าลมจากปลายท่อบีบแบน และการกระตุ้นด้วยไฟให้เหล็กแม่พิมพ์ร้อนบ้างในบางจังหวะ ถือว่าเป็นช่วงที่พอเหมาะพอดีมากที่สุดเครื่องหนึ่ง

     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ค่าอัลฟ่าสูงกว่า 100 เวลาแก้วถูกความร้อน เช่น อากาศร้อน หรือน้ำร้อน หรือแดดร้อนๆ หรือแสงหลอดไฟร้อนๆ ไม่ว่าจะเป็นหลอดสปอตไล้ท์หรือหลอดคอมแพค เนื้อแก้วจะขยายตัวในอัตราสูง สูงกว่าแก้วที่มีค่าอัลฟ่าต่ำกว่า 100

    นี่คือสาเหตุที่พระแก้ว 25 พุทธศตวรรษมักแตก ร้าว กระเทาะ เพราะเขามีค่าอัลฟ่าสูงกว่า 100 นั่นเอง
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    เตาหลอมแก้วตั้งแต่อดีตนับพันๆปีที่แล้ว ถ้าเป็นเตาแบบเดิม ดูเหมือนไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย
    upload_2019-5-19_20-46-43.jpeg
    นี่คือเตาหลอมแก้วแบบเดิมเมื่อนับพันปีที่แล้ว
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    20141226115226917839_8.jpg
    ปัจจุบันเตาหลอมแก้วทั้งในอินเดีย หรือไทยก็ยังคงรูปแบบเดิมเมื่อนับพันๆปีที่แล้ว

    ยกเว้นแต่จะแตกแยกแขนงออกไปเท่านั้น จึงใช้เตาหลอมแก้วรูปร่างใหม่ๆหรือรูปแบบอื่นๆที่มีทั้งขนาดใหญ่กว่ามากและเล็กกว่ามาก
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    140217103505.jpg
    แม้แต่โรงงานแก้วเจษฏาที่ผมเลือกให้สร้างพระแก้วหน้าตัก 9 นิ้วเป่าด้วยปอด ก็ใช้เตาหลอมอย่างเดียวกันกับอดีตเมื่อนับพันๆปีก่อน และก็ขนาดใกล้เคียงกันคือเตาละประมาณ 3.5 ตัน กำลังการผลิตชิ้นงานวันละ 3,500 kg.
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ปัจจุบันหากท่านใดสนใจเตาหลอมแก้วจากจีน ลองดูได้ที่นี่ครับ

    http://th.furnace-refractory.com/
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    2018082310385732625277.jpg
    เตาหลอมแก้วขนาดหลายสิบตันต่อวัน เป็นเตาหลอมแก้วสีน้ำแก้วเดียว ไม่ใช่แบบหลายสีเหมือนเตาเบ้าหมู
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    การผลิตชิ้นงานแก้วยิ่งทำยิ่งหลอมกันวันละหลายๆตัน มากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งกลายเป็นเตาหลอมเฉพาะกิจ เช่น กระจกแผ่น ซึ่งต้องใช้เตาโฟลทขนาดเตาหลอมหลายสิบหรือหลายร้อยตันต่อวัน และทำงานตลอด 24 ชั่วโมง

    ยิ่งวันงานประเภททำจำนวนมากก็ยิ่งมากขึ้น มากขึ้น และมากขึ้น
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    แต่งานสร้างปฏิมากรรมแก้วกลับหักมุม หักมุมเป็นเตาขนาดเล็กนิดเดียว หลอมกันทีละชิ้นก็มี ทั้งเตาหลอมแค่ 5 กิโลกรัมก็ได้ แต่ใช้เวลาการหลอมและการอบนานขึ้น เพื่อให้งานปฏิมากรรมแก้วมีความถูกต้องทางด้านเทคนิค ทางทฤษฏีว่า แก้วที่ดีต้องไม่หลงเหลือความเครียดในเนื้อแก้ว ในอณู ต้องไม่หลงเหลืออยู่เลย ไม่ทำชุ่ยๆเหมือนไทยบางโรงงาน หรือ หลายๆโรงงานแก้วที่ทำมาตลอด 65 ปีที่ผ่านมา
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    0002.jpg
    อย่างองค์หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยองนี้ สามารถสร้างทีละ 1 องค์ในเตาหลอมและเตาอบขนาดเล็ก หลอมและอบครั้งละ 1 กิโลกรัมเศษๆเท่านั้น แต่การอบยาวนานถึง 4 วัน 4 คืน รวมทั้งตอนหลอมแล้ว อาจนานถึง 5 วัน 4 คืนทีเดียว
     

แชร์หน้านี้

Loading...