**ร้านศิวิไลพระเครื่อง** วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เกจิคณาจารย์ภาคเหนือ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิวิไล, 25 พฤษภาคม 2013.

  1. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5166

    เหรียญพระครูปัญโญภาสนพคุณ วัดลอยเคราะห์ จ.เชียงใหม่ พ.ศ. 2510

    พระเกจิคณาจาธผู้เชี่ยวชาญวิชาโหรา เสริมดวงสะเดาะเคราะห์ แห่งเมืองเชียงใหม่

    เหรียญรุ่นแรกของท่านจัดสร้างปี 2510 เป็นเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวของท่านที่ได้สร้างไว้


    ของดีราคาเบาๆน่าใช้


    ราคา 500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    IMG_0415.JPG IMG_0416.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2019
  2. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5167

    เหรียญพระอุปคุต วัดอมราวาส เนื้อทองแดง ตอกโค๊ตแช่น้ำมนต์ เข้มขลัง

    พิธีปลุกปลุกเสกพร้อมเหรียญครูบาผาผ่า ปี2517

    พระดีเเม่ฮองสอน มีประสบการณ์ด้านเมตตา มหานิยม


    คุณ pkchalerm บูชาแล้วครับ

    เหรียญพระอุปคุต วัดอมราวาส 40 a.JPG เหรียญพระอุปคุต วัดอมราวาส 40 b.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2019
  3. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5168

    เหรียญอุปคุต วัดสระบ่อแก้ว จังหวัดแพร่
    เนื้อทองแดง ปี 2518 สวยๆ


    เหรียญพระบัวเข็ม"องค์ยิ้มแล้วรวย" วัดสระบ่อแก้ว ของดีเมืองแพร่ สร้างโดย พระอาจารย์อูปัญญา สิรินันทะ เจ้าอาวาสในขณะนั้น สร้างขึ้นเนื่องในงานฉลองพระบรมธาตุ โดยมีพระเกจิอาจารย์ชาวพม่าผู้ทรงภูมิธรรมหลายรูป เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 5-7 พฤษภาคม 2518 โดยสร้างเหรียญเงิน 108 เหรียญ เหรียญนวะโลหะ 108 เหรียญ และเหรียญทองแดงและกะหลั่ยทองแจกกรรมการรวม 5,000 เหรียญ พระประสบการณ์เด่นทาง เมตตามหานิยม โชคลาภ ค้าขายครับ

    เหรียญยอดนิยมของเมืองแพร่ครับ ...

    ราคา 500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    IMG_0651.JPG IMG_0652.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2019
  4. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5169

    พระอุปคุตเพชรล้านนา ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล หน้าตัก 3 นิ้ว ปี 49 ฝังตะกรุด 3 กษัตริย์

    วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ตรงกับวันขึ้น ๑o เดือน ๓ วัดศรีดอนมูล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดพิธีมหาพุทธาภิเษกพระอุปคุต เพชรล้านนา และวัตถุมงคลอื่นๆ ที่ทางวัดได้จัดสร้างขึ้นเพื่อจัดหารายได้สมทบทุนสร้างพระเจดีย์ ๙ คณาจารย์ และเปิดให้บูชาเป็นปฐมฤกษ์ในวันออกนิโรธกรรมของครูบาน้อย เตชปญฺโญ วันเสาร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ การสร้างวัตถุมงคลดังกล่าวจัดพิธีเททองที่จังหวัดนครปฐม ศูนย์กลางของดินแดนสุวรรณภูมิ แหล่งกำเนิพุทธศาสนาในประเทศไทย ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากประวัติของพระอรหันต์คือ พระโสภณเถระและพระอุตตรเถระ ท่านเป็นพระอรหันต์ ทำหน้าที่เป็นพระธรรมทูตนำพุทธศาสนามาเผยแผ่ที่นครปฐม ประมาณ พ.ศ.๒๕o - พ.ศ.๓oo โดย พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนให้ท่านข้ามน้ำข้ามทะเลเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ส่วนพระอุปคุตมหาเถรเป็นพระอรหันต์เรืองฤทธิ์อำนาจทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา ได้ช่วยเหลือพระเจ้าอโศกมหาราช โดยปราบพญามารที่จะมาทำลายพิธีสมโภชงานฉลองพระมหาเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กระทั่งงานสมโภชน์พระมหาเจดีย์สำเร็จไปด้วยดี
    พระอุปคุตเถรกับพระโสณเถร และพระอุตตรเถร จึงเป็นพระอรหันต์ที่อยู่ในยุคสมัยเดียวกัน ครูบาน้อยเตชปญฺโญ ท่านจึงเลือกลานอุโบสถวัดใหม่ปิ่นเกลียว จังหวัดนครปฐม เป็นสถานที่ในการเททองหล่อโบราณพระอุปคุตเพชรล้านนา ผู้สร้างวัดใหม่ปิ่นเกลียว คือ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) แม่กองใหญ่ผู้บูรณะปฏิสังขรณ์สร้างองค์พระปฐมเจดีย์ดังรูปแบบที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ความสอดคล้องต้องกันด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นที่มาของพิธีเททองหล่อพระอุปคุตเพชรล้านนาที่นครปฐม ศูนย์กลางดินแดนสุวรรณภูมิ
    พิธีเททองหล่อโบราณพระอุปคุตเพชรล้านนา เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ พลโทวีรศักดิ์ ไพรัช ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นประธานฝ่ายฆราวาส ครูบาน้อย เตชปญฺโญ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มีการบวงสรวงบูชาฤกษ์ บูชาเทพยดาอารักษ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยโหรพราหมณ์จากสำนักพระราชวัง พระสงฆ์ ๙ รูป นั่งปรกบริกรรมภาวนา ได้แก่หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง หลวงพ่อสมพงษ์ วัดใหม่ปิ่นเกลียว หลวงพ่อดำ วัดเขาพูลทอง หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเจตน์ วัดนก หลวงพ่อแย้ม วัดไร่ขิง หลวงพ่อพรหม วัดบ้านสวน หลวงพ่อเพี้ยน วัดตุ๊กตา และหลวงพ่อจอน วัดบุญฤทธิ์
    หลังจากนั้นจึงนำวัตถุมงคลทั้งหมดกลับไปที่วัดศรีดอนมูล ประกอบพิธีกรรมขั้นตอนต่อไปคือ จารอักขระยันต์ที่ก้นพระกริ่งอุปคุตเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อโลหะพร้อมทั้งตอกโค้ดเรียงหมายเลขกำกับทุกองค์ ส่วนพระบูชาอุปคุตเพชรล้านนาขนาดสูง ๗ นิ้ว ฝังตะกรุดทองแดง ๑ ดอก ความสูง ๑๒ นิ้ว ฝังตะกรุด ๓ กษัตริย์ และ ๒๒ นิ้ว ฝังตะกรุดทองคำ ๓ ดอก พิธีมหาพุทธาภิเษกพระอุปคุตเพชรล้านนาจัดที่วัดศรีดอนมูล เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ มีทั้งข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก เช่น พลโทวีรศักดิ์ ไพรัช ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด ประธานฝ่ายฆราวาส พล.ต.ต.สรรเสริญ ธรรมานนท์ ผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค ๕ พล.ต.ต.ดร.สุวิระ ทรงเมตตา ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง พ.ต.อ.อดิศร งามจิตรสุขศรี รองผู้บังคับการตำรวจทางหลวง นายสิรวุฒิ ทานทัด นายอำเภอสารภี จ.เชียงใหม่ ดร.ไมตรี บุญสูง คหบดีนักบุญจากภูเก็ต โดยนิมนต์ครูบาเจ้าอาวุโสภาคเหนือของประเทศไทยและประเทศพม่ารวม ๑๖ รูป มานั่งปรกปลุกเสกพระอุปคุตเพชรล้านนา ได้แก่ พระสุพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโร)วัดเจดีย์หลวงฯ เชียงใหม่
    พระเทพสิทธาจารย์ (ครูบาทอง) วัดพระธาตุศรีจอมทอง เชียงใหม่ พระครูมนูญธรรมาภรณ์ (ครูบาอินคำ) วัดมหาวัน เชียงใหม่ พระครูสุวัฒนวรคุณ (ครูบาทองคำ) วัดสันป่าข่อย เชียงใหม่ พระครูบาแสงหล้า วัดพระธาตุสายเมือง ประเทศพม่า พระครูทิพย์ ชุติธมฺโม วัดพระธาตุสายเมือง ประเทศพม่า ครูบาสามนวล โชติก วัดหัวข่วง เชียงตุง พระครูโพธิโสภณ (ครูบาศรีวัย) วัดหนองเหงือก ลำพูน พระครูอาสะภะ อาสโภ (ครูบาอาสะภะ) วัดทรายมูลพม่า พระมหาโพธิวงศาจารย์ (หลวงปู่สุจี) วัดพระบาทมิ่งเมือง แพร่ พระครูถาวรรัตนวัตร (ครูบาสิ่งแก้ว) วัดศรีบุญเรือง เชียงใหม่ พระครูสัทธาโสภณ (ครูบาอ้าย โสภณ) วัดเวฬุวัน เชียงใหม่ พระครูพิมลธรรมรัตน (ครูบาคำตั๋น) วัดย่าพาย เชียงใหม่ พระครูพินิตสารธรรม (ครูบาพรรณ) วัดพระบาทห้วยต้ม ลำพูน ครูบาผัด ผุสสิตธมฺโม วัดศรีดอนมูล และ ครูบาน้อย เตชปญฺโญ วัดศรีดอนมูล พลังฤทธิ์พลังจิตตานุภาพของครูบาเจ้าทุกรูปได้หลอมรวมเข้าด้วยกันกระทั่งความมหัศจรรย์บังเกิดขึ้นท่ามกลางพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เช่น เกิดลำแสงรัศมีเจิดจ้าพวยพุ่งบริเวณศีรษะครูบาอินคำ วัดมหาวัน มีผู้บันทึกภาพถ่ายไว้ได้เป็นช่างภาพมือสมัครเล่นไม่ประสงค์ออกนาม นับเป็นอิทธิฤทธิ์และบุญฤทธิ์ของพระสุปฏิปันโนแห่งล้านนาไทยอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังเป็นที่กล่าวขวัญกันไม่ขาดสาย เนื่องจากผู้ไปร่วมงานต่างมีโชคลาภโดยทั่วหน้า เพราะรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ รางวัลเลขท้ายสามตัวบนออกเป็น oo๙ ตรงกับเลขวันพิธีมหาพุทธาภิเษกพระอุปคุตเพชรล้านนา ส่งผลให้สาธุชนไปบูชาพระอุปคุตเพชรล้านนาอย่างล้นหลาม เพราะเชื่อในอิทธิฤทธิ์พระอุปคุตปราบมาร บันดาลโชคลาภ
    ในพิธีมหาพุทธาภิเษกได้นำพระกริ่งอุปคุตทุกองค์แช่น้ำมนต์ ๑๖ วัด ได้แก่ วัดอุปคุต วัดศรีดอนมูล วัดดับภัย วัดลอยเคราะห์ วัดชัยมงคล วัดดวงดี วัดต้นโชคหลวง วัดเชียงมั่น วัดเชียงยืน วัดชัยพระเกียรติ วัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุหริภุญชัย วัดพระธาตุศรีจอมทอง วัดเจดีย์หลวง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร และวัดดอยขม้อ และนำเข้าอธิษฐานจิตปลุกเสกระหว่างที่ครูบาน้อย เตชปญฺโญ อธิษฐานเข้านิโรธกรรมประจำปี ๒๕๔๙ ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๗ กุมภาพันธ์ วัตถุมงคลชุดนี้เปิดให้บูชาในวันออกนิโรธกรรมวันเสาร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
    เวลา o๗.o๙ น.

    ราคา 1950 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    IMG_0664.JPG
    IMG_0665.JPG
    IMG_0669.JPG
    Clip_3.jpg


    พระอุปคุต′ เป็นรูปเคารพที่ สร้างขึ้นแทนพระอรหันต์สาวกสำคัญรูปหนึ่ง ซึ่งได้รับการยกย่องว่า มีความเป็นเลิศทางอิทธิฤทธิ์สมัยหลังพุทธกาล คำว่า ′พระอุปคุต′ เป็นภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตจะเขียนว่า ′อุปคุปต์′ หมายความว่า ผู้คุ้มครองมั่นคง นอกจากนี้ยังมีการเรียกขานกันว่า พระอุปคุตเถระ หรือพระเถรอุปคุต อันเป็นสัญลักษณ์ที่บอกถึงความมั่นคงในพระธรรมวินัย และชื่ออื่นๆ อีก เช่น พระนาคอุปคุต พระกีสนาค อุปคุต เป็นต้น

    พระ อุปคุตเถระ เป็นที่เคารพนับถือของ ชาวพม่า รามัญ เป็นจำนวนมาก จึงมีการสร้างรูปบูชาขึ้นมา โดยจะเห็นได้ว่าพระบูชาพระอุปคุตที่เป็นศิลปะแบบพม่านั้นมีอยู่มากมาย

    สำหรับ ชาวล้านนาจะรู้จักพระอุปคุตในนามของ ′ผู้ปกป้องคุ้มครองภัย′ โดยเฉพาะมีปอยหลวงหรืองานพิธีกรรม จะมีการอาราธนาพระอุปคุตขึ้นจากแม่น้ำมาคุ้มครองการจัดงานให้ลุล่วงด้วยดี ในบางท้องถิ่นยังเชื่อว่า พระอุปคุตจะตะแหลง (แปลงร่าง) เป็น ′สามเณรน้อย′ ขึ้นมาบิณฑบาตใน วันเป็งปุ๊ด หรือเพ็ญพุธ (วันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธ) เริ่มตั้งแต่ตีหนึ่งของวันพุธ ผู้คนจึงมักเห็นสามเณรน้อยเดินบิณฑบาตไปตามถนนหนทาง ตลอดจนท่าน้ำต่างๆ จนกระทั่ง ตี๋นฟ้ายก หรือแสงเงินแสงทองออกมา จึงเนรมิตกายหายไป
    เชื่อกันว่าหากผู้ใดมีบุญบารมีได้ใส่บาตรพระอุปคุตจะทำให้ร่ำรวยเงินทอง ปราศจากภัยทั้งปวง มีสมาธิจิตดี มีชีวิตที่ป็นสุข
    จาก ความเชื่อและการนับถือดังกล่าวจึงมีผู้สร้าง ′พระอุปคุต′ ในปางต่างๆ ที่เป็นที่นิยมกันมากได้แก่ ปางล้วงบาตร หมายถึง กิ๋นบ่เสี้ยง หรือกินไม่หมด ให้คุณทางทรัพย์สินเงินทอง ความร่ำรวย ปางห้ามมาร ให้คุณในทางคุ้มครองป้องกันภัยต่างๆ และ ปางสมาธิ หรือพระบัวเข็ม ซึ่งให้คุณในด้านสติปัญญาดี จิตใจผ่องใส ดำเนินชีวิตเป็นสุข ด้วยปัญญาบารม

    ใน ขณะที่สยามประเทศเชื่อเรื่องการบูชาแม่น้ำคงคาและพระแม่คงคา ตลอดจนประเพณีการจองเปรียง หรือตำนานของนางพระยากาเผือก อันเป็นการผสมผสานระหว่างคติฮินดูกับพุทธศาสนานั้น ชาวมอญกลับมีความเชื่อว่าประเพณีลอยกระทงผูกพันอยู่กับพระอุปคุตเถระ ซึ่งเป็นพระมหาเถระซึ่งทรงอิทธิฤทธิ์

    ปรากฏ เรื่องราวในพุทธศาสนาตอนหนึ่งว่า พระอุปคุปต์บำเพ็ญธรรมอยู่กลางมหานทีอันกว้างใหญ่ในโลหะปราสาท เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ที่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในอินเดีย ทรงโปรดฯให้กระทำสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นครั้งที่ 3 แต่มีพญามารเข้ามาก่อกวนมณฑลพิธี จนต้องอาราธนาพระอุปคุปต์มาปราบ ด้วยการเนรมิตซากสุนัขเน่าเหม็นห้อยติดคอพญามาร และทำอย่างไรก็ไม่สามารถแก้หลุดได้ จนพญามารต้องยอมศิโรราบ ทำให้การสังคายนาพระไตรปิฎกสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

    ธรรมเนียม การบูชาพระอุปคุปต์แพร่หลายในหมู่ชาวพม่า มีการสร้างรูปบูชาพระอุปคุปต์ใน ลักษณาการพระพุทธรูปไม้นั่งอยู่กลางน้ำ บนพระเศียรคลุมด้วยใบบัว และตามร่างกายมีเข็มปักติดอยู่ทั่วพระวรกาย ที่รู้จักกันแพร่หลายว่า ′พระ บัวเข็ม′ นอกจากนี้ ชนชาติเขมรยังรับคติความเชื่อเรื่องพระอุปคุปต์มาจำลองเป็นเทวประติมา กรรม ขนาดเล็ก ทำด้วยสัมฤทธิ์ เป็นรูปองค์พระนั่งอยู่ในเปลือกหอยลักษณะต่างๆ และเมื่อจะจัดงานพิธีสำคัญต่างๆ ก็มักจะมีพิธีอธิษฐานบูชาพระอุปคุต เป็นเบื้องต้น เพื่อให้ช่วยคุ้ม ครองให้งานนั้นๆ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

    รูป ลักษณะของพระอุปคุตที่เป็นรูปเคารพโดยทั่วไป มักทำเป็นรูปองค์พระนั่งอยู่ภายในหอยสังข์ มีขนาดศีรษะค่อนข้างใหญ่ เน้นส่วนคิ้ว ตา จมูกให้เห็นชัดเจน และเนื่องจากที่อาศัยจำพรรษาของพระอุปคุตอยู่ในปราสาทแก้วกลางมหาสมุทร จึงมักทำ ′รูปสัตว์น้ำ′ เป็นสัญลักษณ์ประกอบอยู่ด้วยเสมอ

    วิธี การตั้งบูชาพระอุปคุต หรือพระบัวเข็ม จะตั้งต่ำกว่าพระพุทธ เนื่องจากเป็นพระอรหันต์สาวก และนิยมการตั้งบนฐานรองรับ อยู่กลางภาชนะใส่น้ำ เป็นการจำลองว่าท่านจำพรรษาอยู่ในมหาสมุทร แล้วใช้ดอกมะลิลอยในน้ำบูชา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2019
  5. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    โชว์ครับ

    ตะกรุดแสนค้อนอ่อนหลวงปู่ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธัมปํญโญ วัดร้องคุ้ม ต.บ้านแม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ครับ ยุคต้นจารมือ ด้ายย้อม หายากมากครับ

    Clip_5.jpg Clip_6.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2019
  6. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5170

    ยันต์ชุดหนีบ + ต่อเจ็ดเเม่ เหรียญครูบาต๋า วัดอุโบสถบ้านเหล่า


    จารด้วยลายมือของท่านครูบาต๋าซึ่งเป็นยันต์หนีบราหูตำราสืบทอด จากท่านครูบาชุ่มวัดวังมุยผู้เป็นอาจารย์และเป็นลุงของท่าน (เมตตาสุดๆ) ยันต์หนีบด้วยวิธีการสร้างที่สุดแสนจะพิเศษ เมื่อคืนใดเกิดราหูอมจันทร์ เมื่อถึงเวลาราหูเริ่มอมจันทร์ พิธีจึงเริ่มขึ้น ครูบาท่านจะเริ่มจารอักขรล้านนาลงบนแผ่นโลหะ เมื่อราหูอมจันทร์จนเต็มดวง สิ้นแสงจันทร์ในคืนนั้น ท้องฟ้ามืดมิด ครูบาท่านเริ่มบริกรรมคาถา ตำราราหูอมจันทร์อันลือเรื่อง ที่ได้รับสืบถอดมาจากท่านผู้เป็นอาจารย์ ท่านครูบาชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) พอพระจันทร์เริ่มกลับมามีแสงอีกครั้ง ครูบาท่านจะหยุดบริกรรมคาถา ส่วนที่เหลืออยู่เก็บไว้ทำในเช้าวันรุ่งขึ้น ท่านใดมียันต์หนีบราหูไว้ จะจูงใจให้คนรักใคร่เอ็นดู ยุคแรกของยันต์หนีบราหูจะเป็นแบบจารมือลงบนแผ่นโลหะต่างๆ แต่เมื่อญาติโยมมีมาก ความต้องการมากขึ้น ทางวัดจึงได้จัดสร้างแม่พิมพ์ปั๊ม เพื่อให้พอกับบรรดาศิษย์ที่มาคอยรับยันต์หนีบราหูจากมือของท่านครูบา

    วิธีการใช้ ให้เอา "ใบไม้หอม" เช่น "ใบดอกมะลิ"เขียนชื่อเรา และ คนที่เรา ต้องการให้เมตตา พับเข้าหากัน สอดไว้ใน ยันต์หนีบ แล้วเสก คาถาว่า - โอม นะ โม โห ติ - 108 จบ ให้ท่องคาถาตอน เที่ยงคืน(เป็นเวลา คาบวัน ระหว่างวันนี้กับวันรุ่งขึ้น) เอาไว้ใต้หมอนเรานอน คนที่เรา คิดถึง จะ" ฝัน "เห็นเรา - เสกคาถา 7-9 จบ ให้พกไว้ในกระเป๋าพกพา แล้วไปหา คนที่เราเขียนชื่อไว้ ต้องการให้ เมตตา เขาเห็นหน้าเรา จะ เมตตา เอ็นดูเรา "-... ตะกรุดพับ หรือ ยันต์หนีบ(ราหู) แผ่นนี้ เป็นยุคแรก ของท่าน มีใบฝอย คาถากำกับ ติดมาด้วย ว่า ...โอม- นะ -โม -โห -ติ -หญิงชายทั้งหลาย-เจ้านายทั้งหลาย- ยันต์หนีบ(ราหู) ยุคหลังของท่าน จะเป็นแบบ ปั๊ม ยันต์หนีบ (ราหู ) ทั้ง2แบบนี้ มี มหานิยมดีนัก ...

    ชุดนี้เป็นยันต์ปั๊ม พร้อมยันต์ต่อเจ็ดเเม่ เหรียญรุ่น 3 ครบชุด มาจรฐานเดิมๆจากวัด หายากมากครับ

    ราคา 2250 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_7.jpg Clip_8.jpg Clip_9.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2019
  7. ก้านมะยม

    ก้านมะยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    660
    ค่าพลัง:
    +1,801
    รายการที่ 5131
    รายการที่ 5132
    จองครับ
     
  8. pkchalerm

    pkchalerm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,029
    ค่าพลัง:
    +3,167
    จอง
     
  9. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รับทราบการจอง ขอบคุณครับ
     
  10. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รับทราบการจอง ขอบคุณครับ
     
  11. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5171


    เหรียญครูบาศรีวิชัย ปี 2517 วัดบ้านปาง เนื้อทองแดง เศียรหนาม นิยม


    จัดสร้างเมื่อปี 2517 โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล เป็นองค์ประธาน และคุณนิตย์ พงษ์ลัดดา เป็นผู้ดำเนินการสร้าง ช่างผู้บรรจงแกะแม่พิมพ์ คือ ช่างยิ้ม ยอดเมือง ช่างผู้มากด้วยฝีมือเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป พระเถราจารย์ผู้ร่วมพิธีพุทธาภิเษก ล้วนแต่เป็นพระอริยะสงฆ์ ดังมีรายนามดังต่อไปนี้ อาทิเช่น
    1.ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    2.ครูบาอินทจักร์ วัดน้ำบ่อหลวง
    3.ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล
    4.ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย
    5.หลวงพ่อสิม พุทธาจาโร วัดสันติธรรม ( หรือที่รู้จักว่าปัจจุบัน คือ หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง )
    6.ครูบาชัยวงศ์ษา วัดพระบาทห้วยต้ม
    7.ครูบาทึม วัดจามเทวี
    8.ครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี้ย
    9.ครูบาสิงห์ชัย วัดป่าซางงาม
    10.ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย เจ้าอาวาสวัดบ้านปาง และท่านเจ้าคุณพระเทพสารเวที เจ้าคณะภาคเหนือธรรมยุต เป็นประธานฝ่ายสงฆ์นั่งปรกในพิธี เริ่มพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ เวลา 21.19 น. ณ.วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน
    จำนวนการจัดสร้าง มีรายละเอียดดังนี้
    1.เนื้อทองคำ จำนวน 9 เหรียญ
    2.เนื้อเงิน จำนวน 579 เหรียญ
    3.เนื้อนวะโลหะ จำนวน 3,559 เหรียญ
    4.เนื้อทองแดง จำนวน 5,625 เหรียญ
    5.ล็อคเก็ตลงหิน จำนวน 227 อ้นเท่ากับจำนวน ศีล 227 ข้อ
    รายละเอียดการตอกโค๊ดเหรียญมีดังนี้
    -เหรียญทองคำและเงิน เป็นเหรียญไม่มีหู เหรียญทองคำไม่มีการตอกโค้ต เหรียญเงิน และล็อคเก็ตมีการตอกโค้ตตัว "ศ" และ "ช"
    -เหรียญนวะโลหะตอกตัว "ศ"
    -เหรียญทองแดงตอกตัว "จ"

    เหรียญยอดนิยมของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเดิมๆไม่ผ่านการใช้


    บูชาแล้วครับ

    hj.jpg fgd.jpg fs.jpg ghfp.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2019
  12. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5172

    พระกริ่งรุ่นแรก ครูบาอินสม สุมโน วัดทุ่งน้อย เนื้อนวะ 224

    เมื่อปี 2538 ได้มีมหาพิธีพุทธาภิเษกพร้อมเหรียญฉีดใบโพธ์ และรูปหล่อบูชา เมื่อวัน มาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เหนือ ตรงกับวันไทยสากล คือวัน อังคาร ที่ 14 เดือนกุมภาพันธ์ ปี พุทธศักราช 2538 เวลา 14.39 น. จุดเทียนไชย

    มีวัตถุประสงค์ เพื่อสมทบทุนสร้างศาลาเอนกประสงค์ วัดทุ่งน้อย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

    โดยมี ท่านพระสมุห์สมัย สารถิโก เป็นประธานอำนวยการจัดสร้าง เททองหล่อโดยมีครูบาสม สุมโน เป็นประธาน พร้อมทั้งจารแผ่นยันต์ให้

    มีครูบาอาจารย์เมตตาร่วมปลุกเสกและลงอักขระ อาทิ ครูบาหน้อย วัดบ้านปง,ครูบาสิงหวิชัย วัดฟ้าฮ่าม, ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง, ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี, ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง, ครูบาชัยวงศา วัดพระบาทห้วยต้ม, ครูบาแสง วัดร้องก่องเข้า, ครูบาชัยวงศ์ วัดนาหวาย, ครูบาคำตัน วัดสันทรายหลวง, ครูบาหล้าวัดป่าลาน, ครูบาสร้อย วัดมงคลคีรี, ครูบาธรรมวงศ์ วัดห้วยไส้, ครูบาดวงจั๋นวัดทุ่งหลุก, ครูบาบุรีตารกานุรักษ์ วัดอินทาราม และ สาธุเจ้าถาวร วัดแม่อีด(เป็นเจ้าพิธี)


    บูชาแล้วครับ

    gdf.jpg fgdo.jpg sdfs.jpg gd;.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Clip.jpg
      Clip.jpg
      ขนาดไฟล์:
      171.1 KB
      เปิดดู:
      125
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2019
  13. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5173

    พระผงรุ่นแรกครูบาผาผ่า ปี 07 สวยคมชัด หายากสุดๆ

    จัดสร้างปี ๒๕๐๗ คณะศิษย์และกรรมการวัดผาผ่าได้รวบรวมเอาอัฐิขี้เถ้าของท่านมาผสมกับว่าน เกษรดอกไม้นาๆ ชนิด ผงคำภีร์ใบลานสร้างเป็นพระผงรุ่นแรกมีจำนวน ๙๐๐๐ องค์
    วัตถุมงคลของท่านครูบา เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า มีความขลังความศักดิ์สิทธิ์ ให้ผลทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุเภทภัยอันตรายต่างๆ นานา จนกลายเป็นพระเครื่องยอดนิยมของเมืองเหนือ
    · ตนบุญแห่งอำเภอแม่สะเรียง ผู้มีสมาธิจิตแก่กล้าแต่เยาวัย
    · สามารถหยั่งรู้จิตใจของคนอื่นและเหตุการณ์ล่วงหน้าได้
    · ผู้ถือมังสะวิรัติเคร่งครัดในพระกัมมัฎฐาน เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม
    · เป็นพระภิกษุรูปเดียวที่ครูบาเจ้าศรีวิไชย ยกย่องประกาศเกียรติคุณว่า มีบุญญาธิการบารมีแก่กล้า แต่ไม่ชอบแสดงตนและยอมรับว่าเป็น “ ตุ๊น้อง ”
    #องค์นี้ สวยคมชัด หายากมาก


    ราคา 8500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    hh.jpg ghfopo.jpg cv.jpg xzxz.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2019
  14. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5173

    เหรียญรุ่นแรก พระธาตุศิลามงคลวัดศิลามงคล จ.น่าน กะไหล่ทอง สวยเดิมๆ


    พระกริ่งศิลามงคล อ.ท่าวังผา จ.น่าน ปี2514 ปลุกเสกโดย หลวงพ่อวัดดอนตัน ครูบาก๋ง
    วัดศรีมงคล และเจ้าคณะอำเภอท่านวังผา พระดีน่าใช้ สวยเดิมๆ


    ราคา 1300 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_9.jpg
    Clip_8.jpg Clip_10.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2019
  15. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5174

    สิงห์คาบเเก้วเจ้าพ่อดำ วัดบุพพาราม เนื้อนวะกะไหล่ทอง ปี 19 ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททอง


    หนึ่งเดียวที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงเสด็จ ทำพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษก ด้วยพระองค์เอง พระราชาเปรียบดั่ง สิงห์ราชสีห์ มีพลังของพระมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ ดั่งราชสีห์มหาอำนาจในป่าใหญ่

    สิงห์เป็นสัตว์มหาอำนาจคนจีนถือเป็นสัตว์เสี่ยงโชคเสี่ยงบุญวาสนากันทีเดียว เช่นเดียวกับวัดในพม่าจะขาดสิงห์ไม่ได้เลย เพราะรู้อยู่แล้วว่า เป็นสัตว์ที่มีอำนาจ มีกำลังมาก มีเดชานุภาพมาก ผู้สร้างวัดก็ดี ครูบาอาจารย์ก็ดีพอสร้างกำแพงวัดก็ต้องสร้างสิงห์ไปพร้อมกันสำหรับสิงห์เจ้า พ่อดำใช้ป้องกันพวกคุณไสย์และภูติผีและขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดี

    จัดสร้างโดยพระอาจารย์สีอ่องวัดเอี่ยมวรนุช กทม.ร่วมกับพระอาจารย์สนิทวัดช่าง ฆ้องเชียงใหม่ ปลุกเสกให้วัดบุพพารามเพื่อให้บูชาหาทุนสร้างหอมณเฑียรธรรม.....เชื่อกันว่า เป็นเครื่องรางที่มีอิทธฤทธิ์ อำนาจ ตบะ ป้องกันภัย กันคุณไสย ต่างๆและขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดี

    จัดพิธีพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษก
    ราวต้นปี พ.ศ.๒๕๑๙ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททอง ในหลวงทรงจุดเทียนชัยพุทธาภิเษก ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม
    .
    พิธีพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษก
    ราวต้นปี พ.ศ.๒๕๑๙ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททอง ในหลวงทรงจุดเทียนชัยพุทธาภิเษก ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม
    .
    รายชื่อพระคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษก ๔๙ องค์
    .
    ๑ . ) สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธฯ(สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 18)
    ๒ . ) สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ (สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19)
    ๓ . ) สมเด็จพระธีรญาณ วัดจักรวรรดิ์ฯ
    ๔ . ) พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดสุทัศน์ฯ
    ๕ . ) พระวิสุทธาธิบดี วัดไตรมิตร
    ๖ . ) พระธรรมวโรดม วัดประทุมคงคา
    ๗ . ) พระพุทธวงศ์มุนี วัดเบญจมบพิตร
    ๘ . ) พระธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญชัย
    ๙ . ) พระเทพวิสุทธิโสภณ วัดเชียงราย
    ๑๐. ) พระเทพวิสุทธิ์ วัดเจดีหลวง
    ๑๒. )*ครูบาคำแสน อินฺทจกฺโก* วัดสวนดอก(บุพพาราม)
    ๑๓. )*ครูบาคำแสนเล็ก คุณาลงฺกาโล* วัดบ๊าดอนมูล
    ๑๓. ) ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง
    ๑๔. ) ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    ๑๕. ) หลวงพ่อสิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาบ่อง
    ๑๖. ) พรอาจารย์หนู วัดแม่ปั่ง
    ๑๗. ) ครูบาอินถา วัดเชียงมั่น
    ๑๘. ) ครูบาจันทร์แก้ว วัดดอกเอื้อง
    ๑๙. ) พระครูสิงหวิชัย วัดฟ้าฮ่าม
    ๒๐. ) ครูบาบุญมี(พระครูธรรมธร) วัดท่าส๋อย
    ๒๑. ) ครูบาคำบัน(พระครูมงคลคุณาทร) วัดหม้อคำดวง
    ๒๒. ) ครูบาปั๋น วัดกู่คำ
    ๒๓. ) ครูบาแก้ว วัดวิเวกวนาราม
    ๒๔. ) ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง
    ๒๕. ) ครูบาจินา วัดท่าข้าม
    ๒๖. ) ครูบาคำตันดินจืน วัดดอนจืน
    ๒๗. ) พระอาจารย์ทองบัว วัดโรงธรรม
    ๒๘. ) ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดทุ่งจำปี
    ๒๙. ) พระประสาท สุตาคม วัดจามเทวี
    ๓๐. ) พระราชสุมนต์มุนี วัดราชบพิธ
    ๓๑. ) ครูบาจุ่ม โพธิโต วัดวังมุย
    ๓๒. ) พระญาณวีราคม วัดดอนเจดีย์
    ๓๓. ) ครูบาเมือง วัดท่าแหน
    ๓๔. ) ครูบาคำแสน วัดท่าแหน
    ๓๕. ) พระอินทวิชยาจารย์ วัดคะตึก
    ๓๖. ) ครูบาอินโต วัดบุญยืน
    ๓๗. )*หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี*
    ๓๘ . ) ครูบาหล้า วัดดอยคู่ค้าง
    ๓๙. ) พระราชรัตนมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง
    ๔๐. ) พระชยานันทมุนี วัดพญาภู
    ๔๑. ) พระญาณมงคล วัดมหาวัน
    ๔๒. ) หลวงพ่อแพ วัดพิกุทอง
    ๔๓. ) หลวงพ่อนอ วัดกลาง
    ๔๔. ) หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน
    ๔๕. ) หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
    ๔๖. ) หลวงพ่อถีร วัดป่าเรไลย์
    ๔๗. )*พระอาจารย์ มหาวีระ *(หลวงพ่อฤษีลิงดำ) วัดท่าซุง
    ๔๘. )*พระอาจารย์ผั้นอาจาโร* วัดป่าอุดมพร
    ๔๙. ) พระอาจารย์สำราญ วัดเขาตะเครา

    ของดีพิธีใหญ่น่าใช้ สวยมาพร้อมกล่องเดิมครับ


    ราคา 7000 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    ghf.jpg jhj.jpg iuy.jpg ioi.jpg jk.jpg yu.jpg hjgjg.jpg Clip_11.jpg Clip_12.jpg Clip_13.jpg Clip_14.jpg Clip_16.jpg Clip_15.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2019
  16. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5175

    รูปหล่อรุ่นแรกครูบาอินตา วัดห้วยไซ ปี 2537 ก้นอุดเทียนชัย เส้นเกศา

    ตอกโค๊ต ผิวสวยเดิมๆ


    รูปหล่อยอดนิยมแห่งเมืองลำพูน องค์นี้สวยเเชมป์


    ราคา 1550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_2.jpg Clip_3.jpg Clip_4.jpg Clip_5.jpg Clip_6.jpg Clip_7.jpg

    "หลวงปู่ครูบาอินตา วัดห้วยไซ"

    พระครูถาวรวัยวุฒิ (หลวงปู่ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ)

    วัดห้วยไซ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน

    อัตโนประวัติของหลวงปู่ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ วัดห้วยไซ ท่านเกิดเมื่อวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ปี มะเส็ง(งูเล็ก) ตรงกับ วันเสาร์ ที่ ๖ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ ณ บ้านห้วยไซ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน มีนามเดิมว่า อินตา นามสกุล ปาลี เป็นบุตรของ นายก๋อง นางก๋ำ นามสกุล ปาลี เป็นคนที่มีเชื้อสายยอง มารดาของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเด็กไม่รู้ความ ท่านจึงได้รับการเลี้ยงดูจากบิดาจนอายุท่านได้ ๙ ขวบ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์วัด(ขะโยม)ที่วัดห้วยไซเพื่อจะได้รับการศึกษาเล่า เรียน ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนเช่นปัจจุบัน เด็กชายอินตา จึงได้เรียนภาษาพื้นเมืองตามแบบสมัยนิยม และได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรขณะอายุได้ ๑๓ ปี พ.ศ.๒๔๖๑ ณ วัดห้วยไซ โดยมีพระภิกษุพุธเป็นผู้บวชให้ หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้วจึงได้ไปศึกษาภาษาไทยกลางเพิ่มเติมที่สำนักวัด สันก้างปลา(วัดทรายมูลในปัจจุบัน) อำเภอสันกำแพง โดยมีพระครูอินทนนท์ เจ้าอาวาส (ท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่เก่งกล้ามากได้ปรมัติสูญสตาอรรถพยัญชนะทรงอภิ ญาชั้นสูง)เป็นอาจารย์ผู้สอนให้ ด้วยความเป็นผู้ไผ่เรียนท่านยังมีความสนใจเรื่องของภาษาอื่นๆด้วยเช่น อักษรขอมโบราณ ภาษาอังกฤษ และจีนเพิ่มเติม ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากในสมัยนั้น เมื่อพออายุครบบวชจึงได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดห้วยไซ พ.ศ.๒๔๖๙ โดยมีครูบาอินทจักร วัดป่าลาน เป็นพระอุปัชฌาย์(เป็นศิษย์ครูบาหลวงวัดฝายหิน จบสตาปรมัติรู้ภาษานกกาได้ เจนจบ 9 มัด) พระอธิการชื่น สันกอแงะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “อินฺทปัญฺโญภิกขุ”

    หลัง จากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วจึงได้ตั้งใจที่จะศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชา ตามจริตวิสัยที่ชอบศึกษาหาความรู้อันเป็นทุนเดิมของท่าน ทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับนับถือของผู้คนในเรื่องของวิชาพลังจิตที่สูงมากตลอด ถึงในวิชาอาคมแขนงต่างๆ ประกอบกับการปฏิบัติสมถะวิปัสสนาธุระควบคู่กันไประหว่างปีพ.ศ.๒๔๗๑ ครูบาศรีวิชัยท่านได้มาเป็นประธานในการบูรณะพระธาตุดอยห้างบาตร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดห้วยไซมากนัก หลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้ไปร่วมในการบุญครั้งนั้นด้วยและได้พบกับครูบาศรี วิชัยและถือโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ หลังจากนั้นขณะที่ครูบาศรีวิชัยท่านเป็นประธานในการสร้างทางขึ้นดอยสุ เทพหลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้มีโอกาสไปร่วมในการสร้างทางด้วยเช่นกัน เมื่อครูบาศรีวิชัยมรณภาพไปหลังเสร็จสิ้นงานพระราชทานเพลิงศพ ผ้าขาวดวงต๋า ได้นำอัฐิธาตุของครูบาศรีวิชัยมาบรรจุและสร้างกู่อัฐิขึ้นที่บนดอยง้ม เขตติดต่อระหว่างอำเภอสันกำแพงกับอำเภอบ้านธิ หลวงปู่ครูบาอินตาท่านก็ถือว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการนำสร้างด้วย ที่วัดห้วยไซเองท่านถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนร่วมกับอดีตเจ้าอาวาส ของวัดห้วยไซองค์ก่อนๆในการนำสร้างถาวรวัตถุต่างๆภายในวัด โดยเฉพาะสมัยของพระครูดวงดี จนกระทั้งครูบาดวงดีท่านมรณภาพไป หลวงปู่ครูบาอินตาท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยไซ เมื่อพ.ศ.๒๕๑๙ และได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็น พระครูถาวรวัยวุฒิ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๖ ระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นได้ได้ฝากผลงานทางด้านพระพุทธศาสนาและ สาธารณประโยชน์มากมาย อาทิ พัฒนาถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้างต่างๆของวัดห้วยไซจนเป็นที่เจริญรุ่งเรือง สาธารณะประโยชน์เช่นโรงเรียน สถานีอนามัย โรงพยาบาล ห้องสมุด ที่อ่านหนังสือพิมพ์ ตลอดจนฌาปนกิจสถานประจำหมูบ้าน นอกจากนั้นท่านยังทำนุบำรุงพระศาสนาไปยังวัดวาอารามต่างๆที่มาของความเมตตา อนุเคราะห์จากท่าน เช่น ถาวรวัตถุต่างที่วัดเปาสามขา วัดวังธาน อำเภอแม่ออน วัดโป่งช้างคต อำสันเภอกำแพง วัดเวียงแห่ง อำเภอเวียงแห่ง จังหวัดเชียงใหม่ วัดศรีชัยชุม บ้านห้วยไซเหนือ

    พระพุทธรูปยืนวัด ศรีดอนชัย อำเภอบ้านธิ ประธานสร้างตึกสงฆ์อาพาสโรงพยาบาลบ้านธิ และผลงานชิ้นสุดท้ายที่ทิ้งไว้ให้ศิษย์ได้สารงานต่อคือพระวิหารของวัดห้วยไซ ก่อนที่ท่านจะมรณภาพด้วยชราภาพ เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๕ สิริรวมอายุได้ ๙๘ ปี ๗๗ พรรษา พระเถระที่หลวงปู่ครูบาอินตาท่านสนิทสนมไปมาหาสู่กันเป็นประจำก็มี ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง)ครูบาธรรมชัย วัดประตูป่า ครูบาสิริ วัดปากกองสารภี(ครูบาผีกลัว)ครูบาแก้ว สันกำแพงครูบาดวงทิพย์ วัดสันคะยอม(เป็นพระที่ครูบาพรหมาจักรนับถือมากๆ) ครูบาชุ่ม วัดวังมุย ครูบาหล้าตาทิพย์ วัดป่าตึง ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ครูบาดวงจันทร์ วัดป่าเส้า ครูบาน้อย วัดบ้านปง ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม ครูบาอินตา วัดวังทอง สำหรับพิธีพระราชทานเพลิงศพ หลังจากศิษยานุศิษย์ได้เก็บรักษาสรีระของหลวงปู่ครูบาอินตาไว้เป็นเวลาหลาย ปีแต่รางของท่านก็มิได้มีการเน่าเปื่อยแต่อย่างใด เมื่อก่อสร้างวิหารแล้วเสร็จจึงได้ของไฟพระราชทานและประกอบพิธีพระราชทาน เพลิงศพ เมื่อวันที่ ๔ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐

    สำหรับวัตถุมงคล ของหลวงปู่ครูบาอินตา ท่านได้สร้างขึ้นในยุคแรกๆก็จะมีเพียงยันต์และตระกุดเพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหา ไว้ใช้ป้องกันตัวอิทธิวัตถุมงคลต่างๆก็มีประสิทธิผลจนเป็นที่ลำลือ

    หลวงปู่ครูบาอินตา อินทปัญโญ เอกองค์พระอาจารย์ที่ให้ดวงกรรมฐานกับครูบากฤษดา ตั้งแต่เป็นสามเณร ที่ท่านสามารถปราบความคิดที่อยากรู้อยากเห็น ซุกซนโลดเเล่นแก่นแก้วสามารถดักทางความคิดจิตของครูบากฤษดา ได้ทั้งหมดตั้งแต่เป็นสามเณรร่ำเรียนอยู่ในสำนักวัดห้วยไซใต้ ถือว่าเป็นพระอาจารย์องค์แรกครับ และก็มีครูบาชัยวงค์ได้ไปกราบคารวะสนทนาเป็นบางครั้งคราว และมีพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ครูบากฤษดาเทิดเหนือหัวคือหลวงปู่พิสดู ธัมมจารี เป็นที่สุดครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2019
  17. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5176

    รูปหล่อห่มคลุมครูบาอิน อินโท ปี 2539 ก้นอุดกริ่ง

    พระดีพิธีใหญ่น่าใช้มากครับ

    ปิดรายการนี้ครับ

    IMG_0796.JPG IMG_0798.JPG IMG_0799.JPG
    .......................................................................................

    ในปี พ.ศ.2539 ทางคณะกรรมการ ศรัทธาชาวบ้าน ลูกศิษย์ หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท วัดฟ้าหลั่ง นำโดย นายณรงค์ มูลรัตน์ นายจันทร์ ปัญญาไว และนายโต เจริญกุล ได้เล็งเห็นว่า วัดฟ้าหลั่ง ยังขาดปัจจัยใช้สอยในกิจการของทางวัด จึงได้กราบขออนุญาตหลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท จัดสร้าง รูปเหมือนหลวงปู่ รุ่น “หลวงปู่ฟ้าหลั่ง” และพระพุทธรูปบูชา “หลวงพ่อฟ้าหลั่ง” ขนาดต่างๆ ขึ้นมา เพื่อให้ศรัทธาญาติโยมที่เคารพนับถือได้เช่าบูชา เพื่อรวบรวมรายได้จัดตั้งเป็นกองบุญนิธิ หาดอกผลมาใช้จ่ายในกิจการของทางวัด ตามกิจที่เห็นสมควรต่อไป

    จำนวนจัดสร้าง

    การจัดสร้าง โดยมีพระอาจารย์ไพบูลย์ อินทปัญฺโญ หัวหน้ากองเลขาของหลวงปู่เป็นผู้ดำเนินการติดต่อช่าง ให้ออกแบบเป็นรูปหลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท รูปนั่งสวมประคำ และมีผ้าห่มคลุม ส่วนพระพุทธรูปเป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน เพื่อให้หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท ได้พิจารณา เพื่อขึ้นแม่พิมพ์และหล่อองค์พระจนเป็นที่แล้วเสร็จในปีดังกล่าว

    รูปหล่อหลวงปู่ฟ้าหลั่ง และพระพุทธรูปหลวงพ่อฟ้าหลั่ง จัดสร้างตามจำนวนดังนี้

    รูปเหมือนหลวงปู่ครูบาอิน รุ่น “หลวงปู่ฟ้าหลั่ง
    1. รูปหล่อลอยองค์เล็ก ขนาดหน้าตัก ประมาณ 1.5 เซนติเมตร อุดกริ่ง
    - รูปหล่อลอยองค์ บรรจุกล่องบุกำมะหยี่ เนื้อทองคำ 9 องค์
    - รูปหล่อลอยองค์ บรรจุกล่องบุกำมะหยี่ เนื้อเงิน 200 องค์

    เนื้อโลหะผสมรมดำจำนวนประมาณ 5,903 องค์ โดยเนื้อโลหะผสมรมดำแยกเป็น ๓ แบบ คือ
    - รูปหล่อลอยองค์ บรรจุกล่องบุกำมะหยี่ 4,100 องค์
    - รูปหล่อลอยองค์ พร้อมครอบแก้ว ตั้งหน้ารถ 984 องค์
    - รูปหล่อลอยองค์ ในกระเช้าพลาสติก สำหรับแขวนหน้ารถ 819 องค์

    2. รูปหล่อบูชา ขนาดหน้าตัก ๓ นิ้ว สร้างจำนวน 608 องค์
    3. รูปหล่อบูชา ขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว สร้างจำนวน 375 องค์
    4. รูปหล่อบูชา ขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว สร้างจำนวน 115 องค์
    โดยมีหมายเลขกำกับทุกองค์

    พระพุทธรูป หลวงพ่อฟ้าหลั่ง เนื้อเดียวกัน มี 2 ขนาด คือ
    1. รูปหล่อหลวงพ่อฟ้าหลั่ง ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว 116 องค์
    2. รูปหล่อหลวงพ่อฟ้าหลั่ง ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว 109 องค์
    โดยมีหมายเลขกำกับทุกองค์

    พิธีอธิษฐานจิตปลุกเสก

    หลังจากจัดสร้างเสร็จ หลวงปู่ครูบาอินได้เมตตาอธิษฐานจิตเดี่ยวบนอุโบสถวัดฟ้าหลั่ง เป็นเวลาหลายเดือน และในปี พ.ศ.2540 ทางวัดฟ้าหลั่งได้จัดงานฉลองมงคลอายุ 8 รอบ ถวายหลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท พร้อมทั้งจัดงานสมโภชพระบรมธาตุเจ้าฟ้าหลั่งซึ่งสร้างเสร็จในปีเดียวกัน จึงได้นำรูปหล่อและพระพุทธรูปเข้าพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นพิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวัดฟ้าหลั่ง ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2540

    ในพิธีพุทธาภิเษก หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท ได้ให้พระเณรและคณะศรัทธาชาวบ้าน ลำเลียงรูปหล่อและพระพุทธรูป เข้าไปตั้งบริเวณฐานองค์พระบรมธาตุ แล้วจัดปะรำพิธีรอบองค์พระธาตุ เพื่อให้พระเถระ ครูบาอาจารย์ที่นิมนต์มาได้นังปรกปลุกเสก โดยมีพระเกจิอาจารย์ที่เป็นที่มีฃื่อเสียงในยุคนั้นร่วมพิธีจำนวนมาก อาธิเช่น พระครูชัยวงศ์วิวัฒน์ (หลวงปู่ครูบาน้อย ชยวํโส) วัดบ้านปง พระครูสุภัทรศีลคุณ (หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภทฺโท) วัดท่าจำปี (ปัจจุบันได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระมงคลวิสุต) พระธรรมสิทธาจารย์ (หลวงปู่หนู ถาวโร) วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร พระโพธิรังษี วัดพันตอง พระราชรัตนากร วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ (ปัจจุบันได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวรสิทธาจารย์) พระสุพรหมญาณเถระ (พระอาจารย์ทอง สิริมํคโล) วัดพระธาตุศรีจอมทอง (ปัจจุบันได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสิทธาจารย์) พระครูมงคลคันธวงศ์ (ครูบาศรียูร คนฺธวํโส) วัดมงคล (ทุ่งแป้ง) พระครูสถิตธรรมวัตร (ครูบาดวง ฐิตวโร) วัดศรีทรายมูล (กู่ลายมือ) พระครูบุญมี สุเมโธ (ครูบาบุญมี) วัดศิลามงคล พระครูพิศาลประชานุกูล (ครูบาติ๊บ ปภากโร) วัดท่าวังพร้าว พระครูวุฒิธรรมวิมล (ครูบาดำ) วัดดอยหล่อ พระครูมนูญธรรมาภรณ์ (ครูบาอิ่นคำ ฐานงฺกโร ) วัดมหาวัน (เชียงใหม่) พระครูมงคลคุณาทร (ครูบาคำปัน นนฺทิโย) วัดหม้อคำตวง พระครูสิงหวิชัย (ครูบาสิงห์ สิริวิชโย) วัดฟ้าฮ่าม หลวงพ่อต๋า ปัญญาวุฒโฒ (ครูบาต๋า) วัดอุโบสถบ้านเหล่า พระครูปัญญาธรรมวัฒน์ (พระอาจารย์อินทร ปัญยาวัฑฒโน) วัดสันป่ายางหลวง ฯลฯ และยังมีพระเถระจากทุกวัดในเขตอำเภอจอมทอง (และอำเภอดอยหล่อในปัจจุบัน) พระเถระจากทั่วจัดหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน เข้าร่วมสวดมนต์ตั๋น อธิษฐานจิตตลอดระยะเวลาสามวัน


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 เมษายน 2020
  18. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5177

    เหรียญรุ่นแรกครูบาดวงดี วัดท่าจำปี อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ชุบนิเกิล จ ไม่จุด ปี 2507


    ครูบาดวงดีท่าน เป็นพระเถราจารย์ ผู้ที่มีความอาวุโสสูงสุดท่านหนึ่งของเมืองไทย ซึ่งท่านเป็นศิษย์ในสาย ครูบาเจ้าศรีวิชัยฯ เป็นพระเถระ ผู้มีอายุยืนยาวที่สุดของแผ่นดินล้านนา และมีลูกศิษย์อยู่ทั่วประเทศ เกิดที่บ้านท่าจำปี ต.ทุ่งสะโตก อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่อายุ ๑๐๔ ปี พรรษา ๘๓ ฃท่านมีความเชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐานตลอดชีวิตท่านมักจะ \\nมีกิจนิมนต์ในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลต่างๆ ที่มีผู้สร้างนิมนต์ ฃอยู่เสมอๆ รวมทั้งวัตถุมงคลที่ออกในนามของวัดท่านเอง ซึ่งมีผู้สร้างถวายอย่างต่อเนื่อง หลวงปู่ได้เมตตาประกอบพิธีปลุกเสกให้เป็นอย่างดี ตลอดเวลาที่ผ่านมา หลวงปู่ครูบาดวงดี มีผลงานทั้งทางด้านพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองให้กับพระพุทธศาสนา รวมทั้งได้ให้ความช่วยเหลือบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ในวัดละแวกเดียวกันด้วย ทั้งการก่อสร้างถนน โรงเรียน โรงพยาบาล ได้ก่อสร้างวัดวาอารามต่างๆ ตามแบบอย่างที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้ปฏิบัติมาจนตลอดชีวิตของท่าน…. เหรียญนี้เป็นเหรียญรุ่นแรกของท่านออกประมาณปี พ.ศ. 2508เป็นเนื้อทองแดงชุบนิเกิล

    ว่ากันว่าพุทธคุณโดดเด่นมากในเรื่องเมตตามหานิยมและโชคลาภประกอบกับชื่อของท่านที่เป็นมหามงคล

    จึงมีผู้คนนิยมชมชอบบูชาพระเครื่องของท่านและ เชื่อว่าจะทำให้เจริญรุ่งเรือง โชคดีเหมือนชื่อของหลวงปู่ครับ


    คุณ j999 บูชาแล้วครับ

    gf.jpg dfs.jpg fh.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2019
  19. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5178

    เหรียญ หลวงพ่อวัดดอนตัน รุ่น งาช้างดำ ปี ๒๕๑๘ งาใหญ่นิยม

    เมื่อเอ่ยชื่อ ”หลวงพ่อวัดดอนตัน” อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน คนทางเหนือย่อมรู้จักท่านดี เพราะเครื่องรางของขลัง,เหรียญ,ผ้ายันต์ ของท่านดังมาก มีอานุภาพปกป้องคุ้มภัย ให้โชคให้ลาภดีสารพัด แม้กระทั่ง “วิทยุปักกิ่ง จีนแดง” เมื่อได้รู้กิตติศัพท์อานุภาพเหรียญ,ผ้ายันต์ของหลวงพ่อวัดดอนตันเข้า ก็ได้นำไปกล่าวขวัญออกอากาศ ทั้งนี้เนื่องจากตอนที่พวกก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ทางชายแดนจังหวัดน่าน ประมาณ ๒๐๐ คน ได้บุกเข้าโจมตีหน่วยงานของบริษัทอิตาเลียนไทย ที่ตำบลน้ำยาว อำเภอทุ่งช้าง จ.น่าน เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ ได้ก่อความสูญเสียทั้งชีวิตร่างกายของเจ้าหน้าที่และคนงานตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งก่อสร้างอย่างหนัก “แต่รถและคนที่มีเหรียญและผ้ายันต์ของหลวงพ่อวัดดอนตัน ปลอดภัยไม่ได้รับอันตรายทั้งๆที่ถูกยิง ถูกจุดไฟเผาและถูกระเบิดขว้าง. ”

    เหรียญหลวงพ่อวัดดอนตันรุ่นที่ ๓ (รุ่น งาช้างดำ)

    วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างจัดสร้างณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยท่านเจ้าคุณอมรสุธีได้กราบขอความเมตตาจากหลวงพ่อวัดดอนตันเพื่อหารายได้บุรณะศาลาการเปรียญ ณ อ.ชะอำ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านเจ้าคุณ เหรียญและผ้ายันต์ธงชัยของหลวงพ่อ เมื่อทำเสร็จก็ได้นำขึ้นเครื่องบิน บ.ด.ท. ไปให้หลวงพ่อปลุกเสกที่วัดดอนตัน จ.น่าน แล้วจึงนำกลับมาเข้าพิธีพุทธาภิเษกในมงคลสมัยวิสาขฤกษ์ วันเสาร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๘ เวลา ๑๗.๓๐ น ณ.พระอุโบสถวัดพระเชตุพนฯ ตั้งแต่เย็นจนตลอด
    พิธีพุทธาภิเษก ในมงคลสมัยวิสาขฤกษ์วันเสาร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๘ เวลา ๑๗.๓๐ น ณ.พระอุโบสถวัดพระเชตุพนฯ ตั้งแต่เย็นจนตลอดรุ่ง...

    พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๙ รูป เจริญพระพุทธมนต์

    ๑. พระพรหมคุณาภรณ์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค๙ วัดสระเกศ กทม. (ตำแหน่งในปัจจุบัน สมเด็จพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสะเกศ)
    ๒. พระธรรมปิฎก เจ้าคณะภาค๑๓ วัดชนะสงคราม กทม. (ตำแหน่งในปัจจุปัน สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม)
    ๓. พระธรรมคุณาภรณ์ ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กทม.
    ๔. พระเทพโสภณ เจ้าคณะภาค ๑๔ วัดพระเชตุพน กทม.
    ๕. พระราชปัญญาสุธี เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี วัดไชยชุมพลชนะสงคราม จ.กาญจนบุรี
    ๖. พระราชวิมลมุนี เจ้าคณะอำเภอลาดกระบัง วัดพระเชตุพน กทม.
    ๗. พระทักษิณคณิสสร เจ้าคณะตำบลพระบรมมหาราชวัง วัดพระเชตุพน กทม.
    ๘. พระวิเชียรธรรมคุณาธาร เลขานุการเจ้าคณะภาด ๑๔ วัดพระเชตุพน กทม.
    ๙. พระอุดรคณารักษ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน กทม.


    โดยมีพระอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีฯครั้งสำคัญนี้ มีหลายสิบองค์ อาทิเช่น

    ๑. ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
    ๒. ลพ.เมี้ยน วัดพระเชตุพน กทม.
    ๓. ลพ.ถิร วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
    ๔. พระอาจารย์วีระ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.
    ๕. ลพ.แพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
    ๖. ลพ.เหมือน วัดกำแพง จ.ชลบุรี
    ๗. ลพ.หอม วัดซากหมาก จ.ระยอง
    ๘. ลพ.ทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง จ.สมุทรสาคร
    ๙. ลพ.อุตตะมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
    ๑๐. ลพ.แช่ม วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    ๑๑. ลพ.จรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี
    ๑๒. ลพ.จ้วน วัดพระพุทธบาทเขารูปช้าง จ.เพชรบุรี
    ๑๓. ลพ.มงคล วัดศรีมงคล(ก๋ง) อ.ท่าวังผา จ.น่าน
    ๑๔. พระอาจารย์พยนต์ วัดเกตุมดีศรีวราราม จ.สมุทรสาคร
    ๑๕. พระอาจารย์นคร วัดเขาอิตอสุคโต จ.ประจวบครีขันธ์
    ๑๖. พระอาจารย์กัสสปมุณี สำนักปิปพลิวนาราม ระยอง
    ฯลฯ

    และที่สำคัญ...
    พระอาจารย์ที่ลงแผ่นเงิน แผ่นทองแดง และนั่งปรกให้พิเศษอีก อาทิเช่น
    ๑. ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    ๒. ลพ.วัดดอนตัน วัดดอนตัน จ.น่าน
    ๓. ลพ.เส่ง วัดกัลยานิมิตร กทม.
    ๔. พระอาจารย์ประเสริฐ วัดพระเชตุพน กทม.
    ๕. พระอาจารย์มหาบรรจง วัดพระเชตุพน กทม.
    ๖. พระอาจารย์เขียน วัดพระเชตุพน กทม.
    ๗. ลพ.จันทร์ วัดมฤคทายวัน จ.เพชรบุรี
    ๘. ลพ.แผ่ว วัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี
    ๙. ลพ.อมฤต วัดเวฬุวราราม จ.เพชรบุรี


    เหรียญหลวงพ่อวัดดอนตันรุ่น งาช้างดำ แบ่งเป็น ๒ พิมพ์

    ๑. พิมพ์งาใหญ่ (นิยม)
    ๒. พิมพ์งาเล็ก


    เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๑๙ ในวโรกาศ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชินีนาถ และพระเจ้าลูกยาเธอทั้งสองพระองค์ เสด็จฯตรวจราชขการณ กองทหารชายแดน พัน ร.๒๑๓ อ.ปัว จ.น่าน (ปัจจุบันรื้อเป็นเทศบาลตำบลปัว) หลวงพ่อวัดดอนตันได้จัดเหรียญและผ้ายันต์ รุ่น พญาครุฑแบกงาช้างดำ (งาช้าดำก็เรียก) ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย (เสียดายที่ไม่มีรูปภาพบันทึกไว้) จำนวน ๓๐๐ ชุด เพื่อพระราชทานแก่ ทหารตำรวจ

    เหรียญและผ้ายันต์หลวงพ่อวัดดอนตันรุ่นงาช้าดำนี้ ได้ให้ประสบการณ์คุ้มครองศาสนิกชน จนเป็นข่าวมากมาย ขอยกตัวอย่าง จากหนังสืออนุสรณ์ของหลวงพ่อวัดดอนตัน ที่ท่านเจ้าคุณอมรสุธี จัดทำ ไว้ดังนี้


    ๑.เมื่อวันที่ ๔ ก.ย. ๒๕๑๘ นายวัลภ สิงหลชาติ เจ้าหน้าที่บรัษัทเอสโซ่ ได้ขับรถไปตรวจงานที่ จ.ตากพอไปถึงทางแยก กำแพงเพชร-ตาก ถูกคนร้ายดักยิงด้วยปืนลูกซอง กระสุนถูกหน้ารถแตกพรุนไปหมด จนเจาะถึงเบาะคนนั่งด้านใน นายวัลลภรีบสังให้น้องชายขับรถหนี จนถึงด่านตรวจ ตำรวจตรวจสภาพแล้ถามว่า ตายกี่คน? พอนายวัลลภบอกไม่มีใครเป็นอะไรเลย ตำรวจก็งง ImPossiBle!!! นายวัลลภจึงชี้มือไปที่ผ้ายันต์และหรียญของหลวงพ่อวัดดอนตัน และวบอกว่า หลวงพ่อได้ช่วยชีวิตผมไว้

    ๒. ๑๕ ธ.ค. ๒๕๑๘ พ.ท. เทิอดศักดิ์ มารมณ์ ได้ไปปฏิบัติงานประจำจังหวัดน่าน ได้นั่งเฮลิค๊อปเตอร์ลงบริเวณ ลานวัด สปัน อ.ปัว(ปัจจบันอ.บ่อเกลือ) พอไม่ทันไรก็ถูกพวกก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ ถล่มหนัก ทั้งตัวท่านลูกน้อง ชาวบ้าน พระเณร หลวงหลุมหลบภัยด้วยกัน เสียงระเบิด RPG ถล่มกุฎิพระพังยับเยิน แล้วระเบิดลูกหนึ่งตกมาที่ปากหลุมพอดี(โอ้...พระเจ้า)และปรากฏว่าระเบิดไม่แตก(ไม่งั้นไม่รู้แน่ชิ้นส่วนไหนของพระชิ้นไหนทหาร) ประกฏว่าเสมียน1ในผู้หลบในหลุม มีเหรียญและผ้ายันต์ของหลวงพ่อวัดดอนตันรุ่นงาช้างดำติดตัว (บารมีของหลวงพ่อคุ้มทั่วถึงแท้ แม้คนที่ไม่พกมา)

    ๓.นายสิบท่านหนึ่ง(สงวนนาม) ได้ไปปฏิบัติงาน ณ กองทหารชายแดน พัน ร.๒๑๓ อ.ปัว จ.น่าน ถูกคนร้ายยึงด้วยปืนลูกโม่ ตรงขมับล้มคว่ำ เมื่อเอามือจับดูก ปรากฏว่า แค่เลือดออกซิบๆ และลูกปืนไม่เข้า ทหารท่านผู้นี้ได้พกเหรียญและผ้ายันต์ของหลวงพ่อวัดดอนตันรุ่นงาช้างดำติดตัว หลังจากเหตุการณ์นี้ ท่านได้สะสมวัตถุงมงคลหลวงพ่อไว้มากกว่า ๓๐ ชุด

    ๔. มรว.ชนม์สวัสด์ ชมพูนุท ได้ทำบุญและรับเหรียญหลวงพ่อ วันที่ ๓๐ พ.ค.๒๕๑๘ รุ่งขึ้น ๑ มิ.ย. ได้พาพรรคพวกไปจันทบุรี ก่อนเดินทางได้แบ่งเหรียญให้พวกผู้หญิงเก็บติดตัว ส่วนท่านเก็บผ้ายัต์ไว้ ขณะที่รถวิ่งในอ.บ้านใหม่ รถได้เสียหลักวิงตกถนนคล่อมต้นยางขาดไปหลายต้น รถเสียหาย คนเห็นสภาพรถแล้วต้องบอกว่า ไม่รอดแน่ แต่อัศจรรย์ไม่มีใครตายเลย มรว.ชนม์สวัสดิ์กล่าวว่า ผมเชื่อว่าเพราะอานุภาพเหรียญและผ้ายันต์หลวงพ่อวัดดอนตัน

    ๕.ท่านนี้พิเรนหน่อยๆๆ คนขายปลากหมึกได้ฟังลูกค้ากำลังนั่งกินปลาหมึกบอกว่า ผ้ายันต์ของหลวงพ่อวัดดอนตันกันไฟได้ เลยขอขมาแล้ว วางบนเตาปิ้งปลาหมึก ทันใดนั้นเอง ไฟในเตาทำเสียงดังฟุ๊บและดับหมดทั้งเตา
    [
    เหรียญดีน่าใช้ของเมืองน่านครับ


    คุณ j999 บูชาแล้วครับ

    Clip_6.jpg Clip_7.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2019
  20. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5179

    เหรียญสี่เหลี่ยมหลวงพ่อวัดดอนตัน อ.ท่าวังผา จ.น่าน "เสี่ยเล็ก" เนื้อทองแดง


    เหรียญหลวงพ่อวัดดอนตันพิมพ์สี่เหลี่ยมนั่งสมาธิ หรือ ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า รุ่นเสี่ยเล็กสร้างถวาย

    เสี่ยเล็ก หรือ คุณสุรศักดิ์ อัฌชานภาลัย คหบดีในตลาดอ.ท่าวังผา ได้สร้างเหรียญรุ่นนี้ในปี 2519 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายให้หลวงพ่อวัดดอนตันเอาไว้แจกแก่ญาติโยมและบุคคลทั่วไปที่แวะมานมัสการหลวงพ่อที่วัดดอนตัน

    แต่ด้วยเหตุขัดข้องบางประการ ทำให้ไม่สามารถนำเหรียญรุ่นนี้เข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกได้พร้อมๆกับวัตถุมงคลชุดซุ้มลึก / ซุ้มตื้น ที่วัดศิลามงคล อ.ท่าวังผา

    เสี่ยเล็กจึงรอเวลาและโอกาสที่เหมาะสม จนกระทั่ง มีการจัดพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลหลวงพ่อวัดดอนตันครั้งใหญ่ในปี 2521 ในพิธีเปิดอนุสาวรีย์พญาผานอง ที่อ.ปัว

    เสี่ยเล็กได้นำเอาเหรียญเนื้อทองแดงที่สร้างไว้ก่อนหน้านั้น 2,000 เหรียญในปี2519 (โปรดสังเกต เนื้อทองแดงไม่มีการระบุปี พ.ศ. ไว้ด้านหลังเหรียญ) และเหรียญที่ปั๊มขึ้นมาใหม่เป็นกะไหล่ทองอีก 1,000 เหรียญโดยมีการระบุปี พ.ศ. 2521 ไว้ที่ด้านหลัง เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ในวันที่ 21 กุมภ่พันธ์ 2521 ณ มลฑลพิธีสนามกีฬา อ.ปัวท่ามกลางพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมเป็นจำนวนมาก

    ลักษณะเหรียญรุ่นนี้ เป็นรูปสี่เหลี่ยมมองเผินๆคล้ายเหรียญรุ่นหนึ่งของพระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร อุดรธานี

    ส่วนด้านหลังเหรียญประทับยันต์ตาราง 9 ช่อง อันเป็นยันต์ครูของหลวงพ่อวัดดอนตันไว้ เหรียญเนื้อทองแดงไม่มีเลขปีพ.ศ.เหมือนเหรียญกะไหล่ทองครับ

    จำนวนการสร้าง 3,000 เหรียญ แยกเป็น ทองแดง 2,000 เหรียญ และ กะไหล่ทอง 1,000 เหรียญ

    ประสบการณ์และพุทธคุณ เด่นไปในเรื่องแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีตามแบบฉบับของวัตถุมงคลสายหลวงพ่อวัดดอนตัน..

    ....มีเรื่องเล่า เกี่ยวกับตัวผู้สร้างเอง คือ เสี่ยเล็ก หรือ คุณสุรศักดิ์ อัฌชานภาลัย ท่านนี้เป็นคนพูดจาตรงไปตรงมาในลักษณะโผงผาง ทำให้มีศัตรูในแวดวงธุรกิจก่อสร้างและรับเหมามาก เสียเล็กเคยถูกลอบยิงหลายครั้ง แต่ก็แคล้วคลาดและรอดตายทุกครั้ง ในคอของเสี่ยเล็กจะมีเหรียญรุ่นนี้และเป็นรุ่นเดียวที่ท่านใช้อยู่เป็นประจำ แต่ สี่ตีนยังรู้พลาด วันหนึ่งด้วยความรีบร้อน เสี่ยเล็กลืมพระไว้ที่รถ ท่านจึงถูกคนร้ายลอบสังหารขณะเดินตรวจงานก่อสร้าง

    ส่วนบรรดาผู้ที่ได้รับแจกไปจากหลวงพ่อวัดดอนตัน ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า แคล้วคลาดจากภยันตรายและภัยต่างๆได้ดี ใครมี ใครหวง อีกทั้งเหรียญสร้างไว้จำนวนน้อย จึงไม่มีแพร่หลายเหมือนเหรียญรุ่นอื่นๆ

    เหรียญดีน่าใช้สวยเดิมๆ ตอกโค๊ตชัดเจน


    คุณ j999 บูชาแล้วครับ

    Clip_4.jpg Clip_5.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2019

แชร์หน้านี้

Loading...