เหรียญชินราชคุ้มเกล้า หลังภปร.พ.ศ. 2521

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 8 พฤษภาคม 2019.

  1. หนึ่ง1

    หนึ่ง1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,638
    สวยๆ
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่มา ญาณวโร
    1614-9f21-jpg.jpg
    วัดสันติวิเวก
    ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด


    ๏ อัตโนประวัติ

    “พระมงคลญาณเถร” หรือ “หลวงปู่มา ญาณวโร” อดีตประธานสงฆ์แห่งวัดสันติวิเวก บ้านโนนคำ ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด พระสายวิปัสสนากรรมฐานชื่อดังแห่งภาคอีสาน สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่สาธุชนทั่วไปต่างรู้จักดีถึงกับมีการขนานนามท่านว่า “เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี”

    หลวง ปู่มา ญาณวโร มีนามเดิมว่า มา วรรณภักดี เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล ณ บ้านโนนคำ ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด โยมบิดาชื่อ นายคูณ วรรณภักดี โยมมารดาชื่อ นางตั้ว วรรณภักดี ครอบครัวประกอบอาชีพทำนาทำไร่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๕ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ มีชื่อตามลำดับดังนี้

    ๑. นางโฮม วรรณภักดี
    ๒. นายสม วรรณภักดี
    ๓. นายทา วรรณภักดี
    ๔. หลวงปู่มา ญาณวโร
    ๕. นางสุดตา อุ่นทรวง


    ๏ การบรรพชา

    สาเหตุ ที่ทำให้ต้องบวช หลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อวัยเยาว์ พอท่านอายุย่างเข้า ๘ ขวบ โยมมารดาของท่านก็มาเสียชีวิต ตามประเพณีแล้วเมื่อบิดามารดา ญาติพี่น้อง หรือผู้มีพระคุณเสียชีวิต จะต้องมีการบวชหน้าศพ โดยลูกหรือหลานๆ ของผู้ที่เสียชีวิต แล้วนำศพไปเผา

    เช่น เดียวกันในงานศพของโยมมารดาของท่านนั้น พวกญาติๆ จึงเลือกให้หลวงปู่บวชหน้าศพ หลวงปู่บอกว่า ท่านยังจำคำพูดของโยมมารดาท่านได้ เมื่อโยมมารดากำลังป่วยอยู่ได้พูดกับท่านว่า “เมื่อแม่ตายแล้ว ให้บักน้อยบวชให้แม่เด้อ” ยังจำได้จนบัดนี้ ครั้นต่อมาเมื่อนางตั้ว วรรณภักดี โยมมารดาเสียชีวิตแล้ว ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดดอนประดิษฐาราม บ้านดอนน้อย ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ โดยมีพระอธิการสอน อุตฺตโม เป็นพระอุปัชฌาย์

    พอตอนบ่ายพวกญาติๆ และชาวบ้าน ก็ได้นำศพโยมมารดาไปสู่ป่าช้าดอนหมากเหลื่อม ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือหมู่บ้าน ห่างประมาณกิโลเศษ หลวงปู่ก็ได้เดินนำหน้าศพโยมมารดา ตั้งแต่บ้านถึงป่าช้า เมื่อทำพิธีเผาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็กลับบ้าน ตอนเย็นโยมบิดา พี่ชาย และพี่สาว ก็ออกมาหาที่วัด ถามว่า “จะสึกไหม” ท่านก็บอกว่า “ยังไม่สึก เพราะก่อนตายแม่สั่งไว้ว่าให้น้อยบวชให้แม่ น้อยจะอยู่ไปก่อน” ท่านว่าพอคิดจะสึก ก็ให้นึกถึงคำพูดของโยมมารดา ก็เลยไม่สึกอยู่มาจนทุกวันนี้

    1617-e579-jpg.jpg
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)-หลวงปู่มา ญาณวโร


    ๏ วิทยฐานะและการศึกษาพระปริยัติธรรม

    หลัง จากบรรพชาเป็นสามเณร ได้ประมาณ ๒๐ กว่าวัน ทางราชการก็ได้มีหมายเกณฑ์ให้หลวงปู่ไปเข้าโรงเรียน เพราะอายุย่างเข้า ๘ ปีแล้ว การเรียนสมัยนั้นยังไม่ได้ใช้กระดาษ แต่ใช้กระดานหินแทนกระดาษ และดินสอหิน หลวงปู่ท่านก็เดินข้ามทุ่งไปเรียนหนังสือร่วมกับเด็กๆ ทั้งชายหญิง ทั้งที่ท่านก็เป็นสามเณร ที่โรงเรียนวัดบ้านดอนน้อย ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด บ้านเกิดของท่าน

    หลวงปู่นั้นท่านเป็นผู้ที่ โชคดีกว่าทุกคนที่ไปเรียนด้วยกัน เพราะตอนที่ท่านอายุได้ ๔ ขวบ โยมบิดาได้นำท่านไปฝากไว้กับหลวงลุงดอน ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดบ้านโนนคำ ให้เรียนหนังสืออยู่ที่นั่น เนื่องจากว่าหลวงลุงดอนท่านนี้ เป็นผู้ที่รู้หนังสือไทยดีคนหนึ่ง คนในสมัยนั้นน้อยคนที่จะรู้หนังสือไทย เมื่อหลวงปู่อยู่กับหลวงลุงดอน หลวงลุงดอน ก็เอาหนังสือแบบเรียนเร็วมาให้หัดเขียน หัดอ่านตั้งแต่ ก ข ค ฆ ง แล้วผสมสระ พยัญชนะ อ่านเป็นเสียงได้

    หลวงปู่บอกว่า ท่านอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง มีใจความว่า ตาดีมือแป ตาสาอีแป๊ะ หนังสือนิทานอีสปนกกระสาหมาจิ้งจอก เรียนอยู่ไม่นาน ครูประจำชั้นก็ให้ท่านเป็นหัวหน้า นำนักเรียนในกลุ่มเดียวกันอ่านหนังสือ ตลอดจน นับเลข ตั้งแต่หนึ่งถึงร้อย ถึงพัน ท่านก็เรียนอยู่ ๒ ปี ครูเลยให้ขึ้นไปอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จนกระทั่งจบการศึกษาขั้นสูงสุดในสมัยนั้นคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

    พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้ลาออกจากโรงเรียนบ้านดอนน้อย ไปเรียนต่อที่วัดคำครตา ต.ดงมะไฟ อ.ยโสธร (ในสมัยนั้น) จ.อุบลราชธานี มีพระสา ซึ่งเป็นญาติๆ กันจะไปจำพรรษาที่นั่น จึงได้ติดตามเป็นลูกศิษย์ไปด้วย ณ วัดคำครตาแห่งนี้ มีพระเถระองค์หนึ่งเคยรับราชการเป็นเจ้านายคนไทย รู้หนังสือไทยดี มาอยู่ที่นี่ได้เรียนสูตรสิบสองตำนาน เรียนสวดไชยน้อย ไชยใหญ่ การเรียนต้องเรียนต่อคำ ไม่ต้องจับหนังสือท่องบ่นเหมือนในสมัยนี้ เรียนเทศน์มหาชาติ อยู่ที่นี้ได้ไม่นานนัก (พ.ศ. ๒๔๖๖-๒๔๖๗)

    พ.ศ. ๒๔๖๘ ก็ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดตาล (วัดศรีทองนพคุณ) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๗๐ พระครูอุตตรานุรักษ์ (อินทร์ อินฺทสาโร) เจ้าคณะแขวงเสลภูมิ (ในสมัยนั้น) ได้มีหนังสือเรียกตัวให้เข้ามาอยู่ที่วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๗๑-พ.ศ. ๒๔๗๓ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ณ สำนักเรียนวัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) สามารถสอบไล่ได้ ๓ ปีติดต่อกัน

    หลัง จากที่สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอกแล้ว ตั้งใจว่าจะไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ เพราะอยากเป็นมหากับเขาบ้าง สามเณรรุ่นเดียวกันเขาไปเรียนได้เป็นมหา เป็นเจ้าคุณ เป็นสมภารเจ้าวัด ก็หลายองค์ หลวงปู่ท่านบอกว่า เรามันไม่มีบุญจะได้เป็นมหากับเขา เป็นเพียงพระที่อาศัยอยู่ตามวัดบ้านนอกอย่างที่เห็นอยู่นี่แหละ

    1616-9aa6-jpg.jpg
    หลวงปู่มา ญาณวโร-พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)



    ๏ สามเณรเสียงทอง

    พูด ถึงการเทศน์เสียง (แหล่) นั้นแต่ละภาคก็มีสำเนียงภาษาที่ต่างกัน และเป็นที่นิยมของแต่ละภาค หลวงปู่ท่านก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่เทศน์เสียงได้ไพเราะ เป็นที่ติดอกติดใจของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง ในสมัยที่ครั้งยังเป็นสามเณร ท่านเล่าให้ฟังว่า สมัยที่ท่านเป็นสามเณรไปอยู่วัดคำครตา ท่านก็มีโอกาสได้ฝึกการเทศน์แหล่อยู่บ้าง

    พอออกพรรษาชาวบ้านก็ทำบุญกันตามประเพณี คือประเพณีอีสานนั้นครูบาอาจารย์ท่านว่า “เดือน อ้าย ทำบุญเข้าปริวาสกรรม เดือนยี่ ทำบุญข้าว เดือนสาม ทำบุญข้าวจี่ เดือนสี่ ทำบุญมหาชาติ เดือนห้า ทำบุญตรุษสงกรานต์ เดือนหก ทำบุญวันวิสาขา เดือนเจ็ด ทำบุญเทวดาอารักษ์หลักเมือง เดือนแปด ทำบุญเข้าพรรษา เดือนเก้า ทำบุญข้าวประดับดิน เดือนสิบ ทำบุญข้าวสาก หรือข้าวสราท เดือนสิบเอ็ด ทำบุญออกพรรษา เดือนสิบสอง ทำบุญกฐิน”

    ชาว บ้านคำครตา ก็เช่นเดียวกัน พอถึงเดือนสี่ ก็ทำบุญมหาชาติ มีการนำเอาหนังสือมหาเวสสันดร มาแบ่งเป็นกัณฑ์ๆ เพื่อให้พระเทศน์ ในงานครั้งนั้นสามเณรมา ได้รับหนังสือเทศน์มา ๒ กัณฑ์ เป็นกุมารบั้นปลาย ตอนพระเวสสันดรทานกัณหา ชาลี แก่ชูชก และกัณฑ์มัทรี เมื่อรับมาแล้วก็พากเพียรฝึกอ่านฝึกเทศน์ตามภาษาท้องถิ่น

    พอถึงวัน งานได้เวลา ญาติโยมก็นิมนต์ขึ้นมาเทศน์ สามเณรมาตัวเล็กๆ ก็ขึ้นสู่ธรรมาสน์อย่างอาจหาญ เพราะมีความเชื่อมั่นในตนเอง เล่นเอาญาติโยมที่ฟังเทศน์ตะลึง ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ คนทั้งหลายติดอกติดใจในน้ำเสียง และลีลาการเทศน์ของสามเณรมา ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา สามเณรมาก็ถูกคนกล่าวถึง และนิมนต์ไปเทศน์มหาชาติ ทุกวันตลอดฤดูกาล หลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนนั้น เวลาไปเทศน์บ้านไหน ต้องเดินไปไม่มีรถขี่เหมือนทุกวันนี้ บางหมู่บ้านก็อยู่ไกล


    ๏ การอุปสมบท

    ต่อ มาท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู ณ พัทธสีมาวัดดอนประดิษฐาราม บ้านดอนน้อย ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด โดยมี พระครูอุตตรานุรักษ์ (อินทร์ อินทสาโร) วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสมุห์ฉิม ชินวํโส วัดศรีทองนพคุณ (วัดตาล) อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูใบฎีกาสะอาด โฆสโก วัดเหนือเสลภูมิ อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เป็นพระอนุสาวนาจารย์


    ๏ การศึกษาพิเศษ

    เรียนจบอักษรขอม (เขมร) ภาษาธรรม ภาษาไทยน้อย


    ๏ การศึกษาพระเวทย์

    พูด ถึงการศึกษาเวทย์มนต์คาถาของครูบาอาจารย์ในสมัยก่อนนั้นเป็นที่นิยมกันมาก หลวงปู่ก็เช่นกัน ท่านก็อยู่ในวัยหนุ่มที่อยากรู้ อยากเห็น อยากลอง อยากมีไว้กับเขาบ้าง ถ้าได้ข่าวว่าพระอาจารย์องค์ไหนโด่งดังทางเวทย์มนต์คาถา ท่านก็จะพยายามไปหาเพื่อศึกษาข้อวัตรของพระอาจารย์องค์นั้น ดูเห็นว่าดีก็จะฝากเนื้อฝากตัวเป็นลูกศิษย์

    ท่านบอกว่า เรียนรู้เอาไว้ อันไหนดีก็เก็บไว้ อันไหนไม่ดีก็ทิ้งไปไม่ต้องเสียดาย ขึ้นชื่อว่าลูกผู้ชายมีไว้กับเขาบ้างก็ดี การที่จะได้เรียนวิชาเวทย์มนต์คาถากับครูบาอาจารย์ในสมัยก่อนนั้น จะต้องเรียนอักษรขอม (เขมร) ภาษาธรรม ภาษาไทยน้อย เรียนกัมมัฏฐาน ฝึกการนั่งสมาธิ เดินจงกรมภาวนา ทำจิตให้แน่วแน่เป็นหนึ่ง มีความเมตตาเป็นที่ตั้ง ออกเดินธุดงค์ติดตามครูบาอาจารย์ไปในที่ต่างๆ มีความอดทน มีข้อวัตรปฏิบัติดี ไม่เป็นที่หนักอกหนักใจของครูบาอาจารย์และเป็นที่ไว้วางใจของครูบาอาจารย์ จึงจะเรียนได้

    ไม่ว่าจะยากลำบากสักเพียงใด หลวงปู่ท่านก็ไม่เคยหวั่น ถ้าได้ตั้งใจแล้วจะต้องเอาให้ได้ ครูบาอาจารย์ที่หลวงปู่ท่านได้ไปศึกษาด้วยเท่าที่ทราบจากท่านก็มี ดังนี้

    ๑. หลวงปู่สอน อุตฺตโม วัดดอนประดิษฐาราม บ้านดอนน้อย ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    ๒. พระครูอุตตรานุรักษ์ (อินทร์ อินฺทสาโร) หรือหลวงปู่เสือ วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    ๓. พระราชสิทธาจารย์ (บุญเรือง ปภสฺสโร) วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    ๔. หลวงปู่มหาดไทย วัดบ้านบัว ต.เหล่า อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด

    ๕. หลวงปู่พรหม ไม่ปรากฏว่าท่านอยู่วัดไหน ท่านเป็นพระที่ธุดงค์มา เป็นผู้มีปฏิปทาข้อวัตรอันดีเป็นที่น่าเลื่อมใส หลวงปู่ท่านจึงเข้าไปศึกษาข้อวัตรด้วย

    ทั้งนี้ หลวงปู่ท่านก็ได้ใช้วิชาการความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาสร้างสาธารณประโยชน์อย่างมากมาย


    ๏ ความชำนาญพิเศษ

    - เป็นช่างไม้ ช่างปูน ทำการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ ก่อสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และอาคารต่างๆ อีก

    - นวกรรม เขียนแบบแปลนอุโบสถ แบบแปลนกุฏิสงฆ์ แบบแปลนศาลาการเปรียญ และแบบแปลนอาคารอื่นๆ อีก

    - หัตถกรรม จักสาร ตะกร้า กระจอ กระเบียน กระติบข้าว กระบุง

    - ศิลปกรรม เขียนลายไทยและแกะสลักลายไทย บานประตูหน้าต่าง พระอุโบสถช่างลงลักปิดทอง ติดมุก ติดกระจก ช่อฟ้า ใบระกาในอุโบสถ ช่างปั้นหล่อ เช่น ช่างปั้นช่อฟ้า ใบระกาอุโบสถ และประดับด้วยลายไทย

    1618-75bf-jpg.jpg
    หอธรรมกลางน้ำ ณ วัดสันติวิเวก จ.ร้อยเอ็ด

    1619-9b27-jpg.jpg
    กุฏี ๙๑ ปี หลวงปู่มา ญาณวโร ณ วัดสันติวิเวก จ.ร้อยเอ็ด



    ๏ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์

    พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสมานสามัคคีธรรม ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลเมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์

    พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านนาทม ต.ภูเงิน อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลภูเงิน อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะอำเภอเสลภูมิ

    พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้ลาออกจากเจ้าอาวาสวัดบ้านนาทม แล้วไปสร้างสำนักวิเวกอาศรม ต.ภูเงิน อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดวิเวกอาศรม ต.ภูเงิน อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสันติวิเวก ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเสลภูมิ


    ๏ ลำดับสมณศักดิ์

    พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระปลัดมา ญาณวโร ฐานานุกรมของพระครูวิโรจน์ผดุงศาสน์ เจ้าคณะอำเภอเสลภูมิ วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูสารธรรมนิเทศ

    พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้น โท และรองเจ้าคณะอำเภอชั้นโท ในพระราชทินนามเดิม

    พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ในพระราชทินนามเดิม

    พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่ พระมงคลญาณเถร


    ๏ งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    - เป็นวิทยาการอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดป่าซำทอง, วัดป่าหัวคู, วัดป่าคูขาด และวัดป่าบ้านคำแดง

    - เป็นพระธรรมทูตประจำสายที่ ๕ จ.ร้อยเอ็ด

    - เป็นวิทยากรอบรมศีลธรรมวัฒนธรรมและจริยธรรมแก่กลุ่มเยาวชน

    - เป็นรองประธานคณะกรรมการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล อ.เสลภูมิ


    ๏ งานสาธารณประโยชน์

    หลวง ปู่มา เป็นพระเถระผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไปและทั่วทั้งภาคอีสาน เกียรติคุณของท่านเป็นที่ทราบโดยทั่วไป หน่วยงานราชการและประชาชนต่างหลั่งไหลเข้ามาขอให้ท่านได้ช่วยเหลือเป็นจำนวน มาก ซึ่งท่านก็ได้บริจาคและให้ความช่วยเหลือด้วยดีมาโดยตลอด ชื่อหลวงปู่จึงปรากฏอยู่ตามสถานที่ราชการ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล และหน่วยงานต่างๆ มากมาย

    ทั้งนี้ โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ได้รับความเมตตาจากท่านในการสร้าง “หอสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก” เป็นจำนวนเงิน ๗ ล้าน ๕ แสนบาท เพื่อให้ลูกหลานชาวเสลภูมิได้ศึกษาหาความรู้ ซึ่งชาวเสลภูมิพิทยาคมสำนึกในพระคุณของหลวงปู่อย่างที่สุด


    ๏ เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี

    ชีวิต ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านเจ้าคุณพระมงคลญาณเถร หรือหลวงปู่มา ญาณวโร นั้น เป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยการอุทิศตนเพื่อประโยชน์สุข ประโยชน์เกื้อกูลแก่มวลมนุษย์ชาติ มีความโดดเด่นของเกียรติคุณชื่อเสียงและความพิเศษสุดในการบำเพ็ญทานบารมี รวมทั้งยังเป็นทั้งผู้รู้ รัตตัญญูเถระ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของคณะสงฆ์ไทยว่าเป็นผู้ที่มีลักษณะงดงาม เป็นเผ่าพันธุ์ชาวอีสาน มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติศักดิ์ในภูมิปัญญาพื้นบ้าน ของชาวอีสานโดยแท้จริง เป็นผู้ที่สามารถสร้างความเคารพและศรัทธาให้เกิดขึ้นในถิ่นแดนอีสาน อีกทั้ง ยังนำความเจริญที่กลมกลืนกับหลักพุทธธรรมหยิบยื่นให้กับชาวอีสาน จนทำให้ประชาชนดำรงชีพยืนหยัดอยู่ได้ด้วยลำแข้ง ประกอบสัมมาอาชีพบนความถูกต้องและชอบธรรม

    ตลอดจน ท่านยังเป็นพระนักทำงาน และทำจริงๆ อะไรที่จะเป็นประโยชน์ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ทั้งต่อมวลประชาและฝ่ายคณะสงฆ์ ท่านจะรีบเร่งทำอย่างรวดเร็วโดยมิรั้งรอ ทุกขณะทุกลมหายใจของท่านเปี่ยมล้นไปด้วยความดีที่จีรัง และไม่มีอะไรมาจำกัดขอบเขตคุณความดีที่แผ่กระจายออกไป ประจักษ์แจ้งในหมู่คณะสงฆ์ คงอยู่ในใจชาวลุ่มน้ำชีมาเกือบศตวรรษ

    “หลวงปู่มา ญาณวโร” หรือหลวงปู่ท่านเจ้าคุณ “พระมงคลญาณเถร” สมณศักดิ์ใหม่ของหลวงปู่ท่าน จึงเป็นมงคล เป็นสายน้ำแห่งพระธรรมที่หล่อเลี้ยงชาวอีสานในเขตลุ่มน้ำชีทุกอณู เป็นสายธรรม สายทอง ของชาวไทยอีสานโดยแท้ ดั่งที่เราท่านทั้งหลายได้เห็นประจักษ์อยู่ในปัจจุบันนี้ ทั้งนี้ เป็นเพราะหลวงปู่ท่านเป็นพระมหาเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีวัตรปฏิปทาสม่ำเสมอ จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วไปถึงกับมีการขนานนามท่านว่า “เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี”


    ๏ การมรณภาพ

    หลวงปู่มา ญาณวโร ประธานสงฆ์แห่งวัดสันติวิเวก จ.ร้อยเอ็ด พระสายวิปัสสนากรรมฐานชื่อดังแห่งภาคอีสาน สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งอาพาธมาหลายเดือน ได้มรณภาพแล้วด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา ๑๐.๕๙ น. ของวันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ณ วัดสันติวิเวก สิริรวมอายุได้ ๙๗ ปี พรรษา ๗๗

    สำหรับที่มาของฉายา “เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี” นั้น พระครูอุดมธรรมานุกูล (สุนทร อุตฺตโม) เจ้าอาวาสวัดภูพานอุดมธรรม ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม หนึ่งในพระลูกศิษย์ที่ใกล้ชิด บอกว่า หลวงปู่มา เป็นพระเถระผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไป และทั่วทั้งภาคอีสาน เกียรติคุณของท่านเป็นที่ทราบโดยทั่วไป หน่วยงานราชการและประชาชนต่างหลั่งไหลเข้ามาขอให้ท่านช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ซึ่งท่านก็ได้บริจาคและให้ความช่วยเหลือด้วยดีมาโดยตลอด

    ในวันอังคารที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จะมีพิธีน้ำหลวงสรงศพองค์หลวงปู่มา

    1620-2616-jpg.jpg
    วงล้อธรรมจักร ณ วัดสันติวิเวก จ.ร้อยเอ็ด

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมืทอนหลวงปู่มา พิธีใหญ่ ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ
    %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%A1%E0%B8%B2-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg

    ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    ประวัติ หลวงปู่ตี๋ (พระครูอุทัยธรรมกิจ) ญาณโสภโณ วัดหลวงราชาวาส

    budd638_1-jpg-jpg.jpg

    "พระครูอุทัยธรรมกิจ" หรือ "หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ" อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองอุทัยธานี ศิษย์สายธรรม หลวงพ่อพูน วัดหนองตางู และ หลวงพ่อพุฒ วัดทุ่งแก้ว

    วัตถุมงคลของหลวงปู่ตี๋ ที่สร้างขึ้นมาแต่ ละรุ่น มีความคิดโดดเด่นในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเมตตามหานิยม โชคลาภ และอยู่ยงคง กระพัน จึงเป็นที่นิยมเสาะหาของนักสะสมโดยทั่วไป

    ชาติภูมิ หลวงปู่ตี๋ เป็นชาวอุทัยธานีโดยกำเนิด เกิดที่ ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2455 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีชวด มีนามเดิมว่า ตี๋ แซ่ตั้ง เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 6 คน โยมบิดา-มารดา ชื่อนายก้าง และนางเหล็ง แซ่ตั้ง ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย

    ในช่วงวัยเยาว์ ด.ช.ตี๋ ได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนอุทัยทวีเวทย์ จ.อุทัยธานี จนจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3 หลังจากเข้ารับการตรวจเลือกรับราชการทหาร ปรากฏว่าไม่ถูกคัดเกณฑ์

    หลังจากนั้น ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 16 กรกฎา คม 2476 ณ พัทธสีมาวัดธรรมโฆษก (โรงโค) โดยมีพระสุนทรมุณี (หลวงพ่อฮวด) วัดพิชัยปุรณาราม เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดโชติ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระใบฎีกาทิม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ญาณโสภโณ มีความหมายว่า ผู้มีจิตอันงดงาม

    เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดธรรมโฆษก ต่อมาเมื่อเกิดไฟไหม้ตลาดอุทัยธานีครั้งใหญ่ ได้ไปอยู่กับหลวงพ่อพูนที่วัดหนองตางู เป็นเวลา 2 พรรษา ได้ศึกษาวิทยาคม จนกระทั่งหลวงพ่อพูน มรณภาพลงในปี พ.ศ.2480 จึงได้กลับมาอยู่ที่วัดธรรมโฆษกอีกครั้ง

    ในปี พ.ศ.2497 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหลวงราชาวาส พ.ศ.2501 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส และได้รับแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรมของพระราชอุทัยกวี (พุฒ) เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เจ้าอาวาสวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม (วัดทุ่งแก้ว) พระอารามหลวง

    พ.ศ.2517 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ที่ พระครูอุทัยธรรมกิจ

    นอกจากได้รับการถ่ายทอดการฝึกจิตวิชาแพทย์แผนโบราณ รวมทั้งวิทยาคมด้านอื่น จากหลวงพ่อพูน วัดหนองตางู จ.อุทัยธานี หลวงปู่ตี๋ยังได้ศึกษาจากตำราสมุดข่อยโบราณของหลวงพ่อแป้น อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส เกี่ยวกับยันต์เทพรัญจวน เป็นยันต์เดียวกับที่จารลงในตะกรุดโทน ซึ่งหลวงพ่อป๊อก อดีตเจ้าอาวาสวัดอุโป สถารามใช้อยู่เป็นประจำ

    ท่านจึงได้ให้ช่างหลี เป็นช่างตัดผมในตลาดอุทัยธานี สักยันต์เทพรัญจวนที่ตัวของท่านที่อกและหลังเป็นที่ระลึกกับหลวงพ่อแป้น และเห็นว่าเป็นยันต์โบราณที่ใช้สืบทอดกันมา ท่านยังได้รับการถ่ายทอดต่อจากพระราชอุทัยกวี หรือท่านเจ้าคุณพุฒ วัดทุ่งแก้ว

    ด้วยความสมถะและถือสันโดษมาตลอดระยะเวลาในชีวิตสมณเพศของหลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ หรือพระครูอุทัยธรรมกิจ ท่านชอบศึกษาหาความรู้และอยู่อย่างเงียบๆ มีวัตถุปฏิบัติที่เรียบง่าย ยึดมั่นในศีลาจารวัตร เคร่งครัดในพระธรรมวินัย

    แม้ท่านจะมีชื่อเสียงในเรื่องของการสร้างวัตถุมงคลที่เป็นที่นิยมสะสมกันในวงการพระเครื่อง แต่ท่านก็ยึดคำโบราณที่ว่า "ฆ้องดังเองไม่มีคนตี เรียกว่า ฆ้องอัปรีย์ ฆ้องที่ดีต้องมีคนตีถึงจะดัง"

    วัตถุมงคลของท่านไม่ว่าจะเป็นเสือพุทธาคม ตะกรุดเทพรัญจวน เหรียญและรูปหล่อ สร้างขึ้นมาด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ประกอบการปลุกเสกเดี่ยวและใช้เวลายาวนานตลอดไตรมาส หรือ 3 เดือนเป็นส่วนใหญ่ จึงบังเกิดความ เข้มขลังในพุทธคุณ จนเป็นที่เล่าลือโจษขานกันมากมาย

    วันที่ 1 มีนาคม 2546 เวลา 11.57 น. หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ ได้ละสังขารลงด้วยอาการสงบ สิริอายุ 91 ปี พรรษา 71 ถือเป็นความสูญเสียของวงการสงฆ์เมืองอุทัยธานีอย่างแท้จริง ด้วยหลวงปู่ตี๋เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

    ปัจจุบัน สังขารอันบริสุทธิ์ของท่านยังคงนอนสงบนิ่งภายในโลงแก้วอันโปร่งใส ณ วัดหลวงราชาวาส ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่ศรัทธา ตลอดจนบรรดาศิษยานุศิษย์ได้กราบไหว้สักการะ
    เหลือปรากฏไว้แต่เพียงคุณงามความดีเพียงเท่านั้น

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญรุ่น๔หลวงพ่อตี๋ วัดหลวงราชาวาส อุทัยธานี ปี ๒๕๓๕ ที่ระลึกในงานทอดกฐิน กรมการรักษาดินแดน สร้าง 2000 เหรียญครับ มี4เหรียญ สวยเดิมๆเก่าเก็บทุกเหรียญครับ
    ให้บุชาเหรียญละ 200 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    e0-b8-a5-e0-b8-9b-e0-b8-95-e0-b8-b5-e0-b9-8b-jpg-jpg.jpg e0-b8-a5-e0-b8-9b-e0-b8-95-e0-b8-b5-e0-b9-8b-e0-b8-ab-e0-b8-a5-e0-b8-b1-e0-b8-87-jpg-jpg.jpg
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    หลวงปู่ฤทธิ์ท่านเป็นพระเกจิดังเชื้อสายเขมรที่มีความเชี่ยวชาญด้านคาถาอาคมทั้งของไทย ลาว และเขมร อย่างหาผู้เทียบเคียงไม่ได้ ท่านเป็นพระที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตาอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นใครมาจากไหนฐานะ เป็นอย่างไร หลวงปู่ท่านจะให้การต้อนรับพูดคุยด้วยเป็นอย่างดี ไม่จำเป็นต้องนั่งรถยนต์ราคาแพงๆไปกราบ ท่านแล้วถึงจะได้พบหลวงปู่ นอกจากจะได้รับการต้อนรับขับสู้จากท่านอย่างไม่ถือเนื้อถือตัวแล้ว หลวงปู่ยังจะ ปลุกเสกวัตถุมงคลในมือของท่านอีกอย่างดีก่อนมอบให้ บางครั้งท่านก็จะจารเป็นยันต์ให้ บางครั้งท่านก็จะพรมน้ำมนต์ให้ วัตถุมงคลของท่านถือว่าเป็นสุดยอดไม่ว่าจะได้โดยตรงจากมือหรือที่ศูนย์พระเครื่องต่างๆก็ตาม ยังไม่พบว่าวัตถุมงคลของท่านมีของปลอมหรือเสริมโดยที่หลวงปู่ยังไม่ได้ปลุกเสก บรรดาผู้ที่บูชาวัตถุมงคลของท่าน ต่างก็พบกับอภินิหารแบบพลิกชะตาชีวิตให้อย่างทันตาเห็น ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน เมตตา มหานิยม โชคลาภ ค้าขาย เรียกเงินเรียกทอง เป็นต้น แม้ว่าทุกวันนี้จะเป็นยุค ไอเอ็มเอฟ ที่เศรษฐกิจฝืดเคือง ทำมาหากินลำบากกันถ้วนหน้า แต่คนที่บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ฤทธิ์มักจะได้พบกับสิ่งแปลกประหลาด เช่น ค้าขายดีขึ้นอย่างผิดปกติ มีโชคได้ลาภ ลองปืนไม่ออก เป็นต้น
    หลวงปู่ฤทธิ์เกิดวันอาทิตย์ที่ 13 เดือน 6 (พฤษภาคม) แรม 8 ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2460 ณ ตำบลทุ่งมน อำเภอประสาท จังหวัดสุรินทร์ ท่านบวชเณรเมื่อปี 2482 และบวชเป็นพระที่วัดเพชรบุรี ต.ทุ่งมน จ.สุรินทร์ เมื่อปี 2483 โดยมีหลวงพ่อแปะ วัดปราสาทธนาพร(บ้านพลวง) อำเภอประสาท เป็นพระอุปปัชฌาย์ หลังจากนั้นท่านมาจำพรรษาที่วัดปราสาทธนาพร เพื่อ ศึกษาพระธรรมกับหลวงพ่อแปะอยู่ 3 ปีจึงได้ย้ายไปจำวัดอยู่ที่วัดพลับ ตำบลทุ่งมน อีก 4 ปี หลวงปู่ฤทธิ์ย้ายไปอยู่ วัดบ้านกระนัง ตำบลปรือ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อปี 2490 ระหว่างที่อยู่วัดนี้ท่านได้ออกธุดงค์ไปเสาะแสวงหา ความรู้ทั้งทางธรรมและทางไสยศาสตร์ทั่วเขตอีสานจนตลอดเข้าไปในประเทศลาวและเขมร ท่านได้พัฒนาวัดบ้านกระนัง จนเจริญ มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย
    ในปี พ.ศ.2535 ท่านจึงได้ย้ายมาสร้างวัดชลประทานราชดำริ ที่บ้านกระทุ่ม ตำบลสูงเนิน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ตามพระราชดำริและได้จำพรรษาอยู่ที่นี่มาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากวัดชลประธานราชดำริเพิ่งเริ่มก่อตั้งมาไม่นาน ยังขาดถาวรวัตถุในวัดอยู่เป็นอันมาก ซึ่งในขณะนี้หลวงปู่ได้กำลังก่อสร้างศาลาการเปรียญเพื่อใช้เป็นที่อบรมพระสงฆ์และสามเณร รวมทั้งกุฏิสงฆ์ 2 ชั้น ก็กำลังก่อสร้างอยู่เช่นกัน ซึ่งปัจจัยในการก่อสร้างนั้นได้จากการให้บูชาวัตถุมงคล รวมถึงการที่บรรดา ลูกศิษย์ร่วมทำบุญในการทอดกฐินและการทอดผ้าป่า สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการทำบุญและรับวัตถุมงคลที่ช่วยเหลือ ท่านได้จริงๆ ในยุคไอเอ็มเอฟ โปรดอย่าลืมนึกถึง หลวงปู่ฤทธิ์ รตนโชโต พระเกจิชื่อดังชาวเขมรแห่งวัดชลประทานราชดำริ จังหวัดบุรีรัมย์

    ประสบการณ์ของวัตถุมงคล



    ประสบการณ์ของวัตถุมงคลรุ่นก่อนๆ ของหลวงปู่ฤทธื์ที่มีประสบการณ์เป็นที่กล่าวขานทั้งในหมู่ลูกศิษย์และบุคคลที่ได้ บูชาวัตถุมงคลของหลวงปู่ไปแล้ว
    ผ้ายันต์กิ่งแก้ว เป็นผ้ายันต์ที่มีผลในหลายๆด้าน ตามลักษณะการพับผ้ายันต์ ซึ่งรวมทั้ง เมตตา/มหานิยม คุ้มครองใน ด้านการเดินทาง โชคลาภ มหาอำนาจและอื่นๆอีกมากมาย จะเน้นมากทางด้านโชคลาภ และ เมตตา/มหานิยมคนที่ใช้แล้ว พบว่ามีคนมาติดพันมากมายเป็นต้น
    ผ้ายันต์ฉิมพะลี เป็นผ้ายันต์ที่เน้นทางด้านการค้าขายโดยเฉพาะ ซึ่งในผ้ายันต์รุ่นนี้ (โดยเฉพาะ) รุ่นพิมพ์เปื้อน (ใส่หมึกพิมพ์มากไปหน่อย -ผู้เขียน) มีรูปนางกวักและนางฟ้าซึ่งช่วยดลบันดาลให้ค้าขายดีขึ้น เช่น ร้านอาหารมีลูกค้า เพิ่มขึ้นมากผิดจากแต่ก่อนซึ่งไม่ค่อยจะมีลูกค้ามากนัก เมื่อค้าขายดีจึงช่วยปลดหนี้สินไปจนเกือบหมด , ร้านทำซอฟแวร์ ทางด้านคอมพิวเตอร์ พกผ้ายันต์ฉิมพะลีไปพบลูกค้า รายไหนรายนั้นไม่เคยพลาด ทำให้กิจการดีขึ้นโดยตลอด ทั้งๆที่ ยุคไอเอ็มเอฟซึ่งจะมีผลกระทบกับร้านเหล่านี้โดยตรง
    สำหรับวัตถุมงคลอื่นๆ เช่น เหรียญเสมา , ตะกรุด ที่ผู้บูชาติดตัวหรือติดรถ ต่างมีประสบการณ์แคล้วคลาดมาโดยตลอด
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    รูปหล่อหลวงปู่ฤทธิ์ รุ่น ๑ ให้บูชา 500 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    B-%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C-jpg.jpg 5%E0%B8%9B-%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    upload_2019-8-14_17-51-53.jpeg
    หลวงปู่นะ ฐิตปัญโญ สืบพุทธาคมหลวงปู่ศุข


    พระครูปทุมชัยกิจ หรือ หลวงปู่นะ ฐิตปัญโญ เจ้าอาวาสวัดปทุมธาราม (หนองบัว) ต.หนองบัว อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งแห่งลุ่มแม่น้ำท่าจีน ที่ชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธา เป็นพระเถระที่เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมทายาทสืบทอดพุทธาคมสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท

    ปัจจุบันหลวงปู่นะ สิริอายุ 92 พรรษา 72 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปทุมธาราม และอดีตยังเคยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลบ่อแร่-หนองขุ่น เขต 2 อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ด้วย

    อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า โฉม เหล่ายัง เกิดเมื่อวันพุธที่ 6 ธันวาคม 2459 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 1 (อ้าย) ปีมะโรง ณ บ้านขุนแก้ว ต.ดงขวาง อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี

    เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 9 คน ของนายแจกและนางตี่ เหล่ายัง ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม

    ในวาระแรกเกิด บิดา-มารดา ตั้งชื่อให้ว่า โฉม ต่อมาเมื่ออายุได้ 5-6 ขวบ หมอเป้ซึ่งเป็นหมอแผนโบราณ และมีความรู้ทางด้านโหราศาสตร์ด้วย เห็นว่าเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เป็นประจำ จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า นะ อันเป็นมงคลนาม

    ช่วงวัยเยาว์ ครอบครัวมีความเป็นอยู่ค่อนข้างขัดสน เนื่องจากมีบุตรด้วยกันหลายคน ทุกคนต้องช่วยเหลือตนเอง

    ต่อมาครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านเกาะโสภี อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี ท่านจึงได้รับการศึกษาที่วัดหนองมะกอกในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรียนที่โรงเรียนวัดหนองแฟบ หลังจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มาช่วยครอบครัวทำอาชีพกสิกรรมทำมาหาเลี้ยงชีพ

    ครั้นอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ได้ขออนุญาตโยมพ่อโยมแม่ อุปสมบท ซึ่งท่านทั้งสองก็ยินดีร่วมอนุโมทนา

    ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดราษฎร์นิธิยาวาส (ดอนปอ) ต.บ่อแร่ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2480 มี พระครูวิจิตรชัยการ (หลวงพ่อเคลือบ) วัดบ่อแร่ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ชั้น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สำเนียง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ได้รับฉายาว่า ฐิตปัญโญ มีความหมายว่า ผู้มีปัญญาอันตั้งไว้แล้ว

    หลังอุปสมบท ท่านได้ปฏิบัติกิจแห่งสงฆ์โดยครบถ้วน ใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมด้วยความตั้งใจ พ.ศ.2481 สอบได้นักธรรมชั้นตรี จากสำนักเรียนวัดราษฎร์นิธิยาวาส (ดอนปอ) พ.ศ.2483 เดินทางไปศึกษาต่อในสำนักเรียนวัดหนองแฟบ อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี สอบได้นักธรรมชั้นโท

    พ.ศ.2485 ได้ไปจำพรรษาที่วัดปทุมธาราม (หนองบัว) และในปี พ.ศ.2487 ท่านได้เข้าสอบนักธรรมชั้นเอก อันเป็นชั้นสุดท้ายของภาคการศึกษานักธรรมที่วัดหนองแฟบ

    ขณะศึกษานักธรรม ท่านได้มีโอกาสศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณกับพระอาจารย์ศรี วัดหนองแฟบ ควบคู่ไปด้วย จนมีความรู้ความชำนาญการใช้สมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั่วไป

    ด้วยความเป็นพระหนุ่มที่ทรงความรู้ วิทยฐานะนักธรรมชั้นเอก ในสมัยนั้นจะหายากยิ่ง ท่านจึงมีความคิดก่อตั้งสำนักเรียนขึ้นมาใหม่ หลังจากซบเซาขาดหายไปนาน ซึ่งท่านเป็นผู้สอนเองทุกชั้น ตั้งแต่นักธรรมชั้นตรี โท และเอก ท่านจึงมีลูกศิษย์ที่เป็นพระภิกษุบริหารกิจการคณะสงฆ์อยู่ในเวลานี้หลายจังหวัด

    ในความเป็นจริงแล้ว ภายหลังสอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก ท่านคิดที่จะเรียนทางด้านภาษาบาลีต่อ แต่ด้วยกิจการคณะสงฆ์ที่วัด ทำให้ไม่มีเวลา อีกทั้งสำนักเรียนบาลีก็อยู่ในตัวเมืองไกลจากวัดหนองบัว การเดินทางไม่สะดวก ทำให้ต้องงดการเรียนบาลี

    อย่างไรก็ตาม ท่านหันมาให้ความสนใจศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณเพิ่มเติม และเรียนวิทยาคม เลขยันต์พันคาถาควบคู่กันไป จากตำราที่พระปลัดปั่น เจ้าอาวาสรูปที่ 9 ได้รับมอบจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และพระปลัดปั่นท่านได้มอบตำราของหลวงปู่ศุขให้กับหลวงพ่อนะ

    ท่านได้ศึกษาสรรพวิชาในตำราทั้งหมด จนมีความรู้แตกฉานในวิทยาคมเป็นอย่างดี เป็นที่พึ่งของชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วย และผู้ที่โดนคุณไสย ท่านก็ได้ช่วยเหลือปัดเป่าทุกข์เหล่านั้นด้วยความเมตตา
    ด้านงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้จัดเทศนาธรรมเป็นประจำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชักชวนประชาชนให้ร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ เวียนเทียนรอบอุโบสถ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา อีกทั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดปทุมธาราม (หนองบัว) เป็นครูสอนการปฏิบัติธรรมวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่พระภิกษุ สามเณร ตลอดจนประชาชนทั่วไป จัดสถานที่อบรมหน่วยพระธรรมทูต และได้รับเชิญให้ออกปฏิบัติงานพระธรรมทูตตามวัดและโรงเรียนในเขตอำเภอ-จังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง โดยร่วมมือกับหน่วยราชการต่างๆ

    ด้านการพัฒนาวัด นับตั้งแต่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปทุมธารามเป็นต้นมา ได้ทำการพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ ด้วยการสร้างศาลาการเปรียญ โครงสร้างชั้นล่างเป็นคอนกรีตเสริม เหล็ก ชั้นบนเป็นไม้ หลังคาเป็นกระเบื้องเกล็ด, สร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม ลักษณะทรงไทย คอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศล, สร้างกุฏิ 2 หลัง ลักษณะทรงไทยประยุกต์ ชั้นล่างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นบนเป็นไม้, สร้างฌาปนสถานแบบมาตรฐาน พร้อมเตาเผาอย่างดี, สร้างอาคารปริยัติธรรมภิกษุ-สามเณร ลักษณะทรงไทย คอนกรีตเสริมเหล็ก

    นอกจากนี้ ยังสร้างวิหารหลวงปู่ศุขอีก 1 หลัง ลักษณะทรงไทยก่ออิฐถือปูน ช่อฟ้า ใบระกา หน้าบัน ลายใบเทศ ประดับด้วยกระจก, ต่อเติมชานวัดพื้นไม้ สร้างมุขบันไดทรงไทยจัตุรมุข, สร้างหอสมุดประชาชนประจำตำบล, สร้างหอ กลอง หอระฆัง, ถมดินปรับพื้นที่ในลานวัด, สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่

    ด้านวัตถุมงคลของหลวงปู่นะ อาทิ ใบพลูใจเดียว, เหรียญนารายณ์ทรงครุฑ, สมเด็จบัวไขว้ข้างอุ,ปิดตามหาอุด, เหรียญรูปไข่ รุ่นรวยลาภ-รวยยศ, ผ้ายันต์หนุมานประสานกาย,สมเด็จฉลองอายุ80 เป็นต้น ล้วนแต่ได้รับความนิยมจากสาธุชน เนื่องจากมีพุทธคุณครอบจักรวาล โดดเด่นในหลากหลายด้าน

    พ.ศ.2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมธาราม

    พ.ศ.2495 เป็นเจ้าคณะตำบลบ่อแร่-หนองขุ่น เขต 2

    พ.ศ.2500 เป็นองค์อุปถัมภ์โรงเรียนประชา บาล โรงเรียนรัฐปทุมราษฎร์อุปถัมภ์

    พ.ศ.2501 เป็นพระอุปัชฌาย์

    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2501 ได้รับพระราช ทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูปทุมชัยกิจ

    พ.ศ.2514 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ในราชทินนามเดิม

    หลวงปู่นะ พร่ำสอนญาติโยมทั่วไป ให้ทุกคนทำความดี ละเว้นความชั่ว ให้มีความอดทน อดกลั้น ให้มีความละอายต่อการกระทำชั่ว กตัญญูกตเวทีต่อบิดา มารดา และครูบาอาจารย์

    หลวงปู่นะ เป็นพระเถราจารย์ชื่อดังรูปหนึ่ง ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย เผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนสืบทอดพระพุทธศาสนาให้มั่นคงอยู่เป็นประจำ พัฒนาวัดเก่าแก่เสื่อมโทรมจนเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง

    เป็นเนื้อนาบุญของชาวเมืองชัยนาทอย่างแท้จริง
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่ศุข ออกวัดหนองบัวหลวงปู่นะปลุกเสกและพิธีใหญ่ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ


    ลป.นะ.jpg ลป.นะหลัง.jpg
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    https://www.phuttha.com/พระสงฆ์/สังเขปประวัติพระภิกษุสงฆ์/หลวงปู่ชอบ-ฐานสโม
    https://www.tnews.co.th/columnist/213358/ประวัติหลวงปู่ชอบ-ฐานสโม
    ประวัติหลวงปู่ชอบ ฐานสโม


    chob1-1-jpg-jpg.jpg

    ชาติกำเนิด

    ท่านเกิดเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 ท่านเกิดเมื่อวันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ปีฉลู ณ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นบุตรของนายมอ และ นางพิลา แก้วสุวรรณ แต่เดิมครอบครัวท่านอยู่อำเภอด่านซ้ายดินแดนอันศักดิ์สิทธ์แห่งพระธาตุศรีสองรักเนื่องจากตัวอำเภอด่านซ้ายอยู่กลางหุบเขาพื้นที่ราบมีไม่มากนัก ทำให้การทำมาหากินลำบากจึงได้พากันอพยพมาอยู่บ้านโคกมน

    การอุปสมบท การศึกษา และธรรมปฎิบัติ อภิญญา

    บวชสามเณรเมื่ออายุ 19 ปี ณ วัดบ้านนาแก ตำบลบบ้านากลาง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นสามเณรอยู่ถึง 4 ปีกว่า และได้อุปสมบทเมื่ออายุ 23 ปี วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2467 ณ วัดศรีธรรมาราม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยมีพระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ สังกัดธรรมยุติกนิกาย

    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ท่านเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น โปรดปรานมากที่สุด และเป็นพระอริยสงฆ์ กล่าวกันกันว่าเป็นพระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญาญาน คือผู้ทรงความรู้ยิ่งในพระพุทธศาสนามีคุณสมบัติพิเศษ 6 อย่าง

    1. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ 2. ทิพโสต หูทิพย์ 3.เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่น 4.บุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้ 5.ทิพจักขุ ตาทิพย์ 6. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป

    chob1-2-jpg-jpg.jpg






    chob-2-2-jpg-jpg.jpg

    chob-2-1-jpg-jpg.jpg

    ท่านได้พบพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ณ เสนาสนะป่าบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม หลวงปู่มั่นได้ให้โอวาทสั้นๆ ว่า “ท่านเคยภาวนามาอย่างไร ก็ให้ทำต่อไปเช่นนั้น อย่าได้หยุด ธรรม 84,000 พระธรรมขันธ์ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงไว้นั้น มันอยู่ที่ใจเรานี่แหละ ถ้าอยากรู้อยากเห็นธรรมเหล่านั้น ก็ให้ค้นหาเอาที่ใจของท่านเอง” และจากการที่ท่านมีนิสัยชอบโดดเดี่ยวเที่ยวไปอยู่ในป่า ทำในสิ่งที่บุคคลอื่นทำได้ยาก ไม่ชอบเกี่ยวข้องกับหมู่ชนพระเณร เป็นผู้มีความองอาจเด็ดเดี่ยวอดทนเป็นเลิศ ไม่กลัวความทุกข์ยากลำบาก เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย กล้าได้กล้าเสียในการปราบกิเลส ถึงกับพระอาจารย์มั่นออกปากชมท่ามกลางสภาสงฆว่า “ให้ทุกองค์ภาวนาให้ได้เหมือนท่านชอบสิ ท่านองค์นี้ภาวนาไปไกลลิบเลย” ท่านสามารถแสดงธรรมและสนทนาธรรมเป็นภาษาต่างๆ ได้หมด เพียงกำหนดจิตดูว่าภาษานั้นเขาใช้พูดกันว่าอย่างไร ท่านสามารถแสดงธรรมโปรดเทวดา พญานาค ตลอดจนภพภูมิต่างๆ ได้ ในระยะที่ท่านอยู่กับหลวงปู่มั่นนั้น ท่านได้รับความไว้วางใจและมอบหมาย ให้ช่วยดูแลพระเณรที่คิดอะไรนอกลู่นอกทาง ไม่ถูกต้องตามครรลองของผู้ทรงศีลธรรม ท่านก็จะตักเตือน เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์หลวงปู่มั่นว่า ท่านมีความรู้ภายในว่องไวไม่แพ้หลวงปู่มั่น พระเณรทั้งหลายจึงเกรงกลัวท่านมาก และท่านก็ยังสามารถระลึกชาติรู้อดีตชาติของท่านเองว่าเคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง เช่น เคยเกิดเป็นพระภิกษุรักษาศีลอยู่กับพระอนุรุทธะ เคยเป็นสามเณรน้อยลูกศิษย์พระมหากัสสปะ เคยเกิดเป็นท้าวมหาพรหมในพรหมโลกและเป็นสัตว์หลายชนิดอีกด้วย หลวงปู่ชอบท่านบำเพ็ญภาวนาอยู่ตามป่าตามเขา ส่วนมากทางภาคเหนือหลายพื้นที่รวมถึงประเทศพม่าด้วย


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงปู่ชอบ ปี 2535 ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    e0-b8-a5-e0-b8-9b-e0-b8-8a-e0-b8-ad-e0-b8-9a-jpg-jpg.jpg e0-b8-a5-e0-b8-9b-e0-b8-8a-e0-b8-ad-e0-b8-9a-e0-b8-ab-e0-b8-a5-e0-b8-b1-e0-b8-87-jpg-jpg.jpg
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    upload_2019-5-28_12-26-47-jpeg.jpg

    ประวัติเกจิ หลวงปู่แดง สิริภทฺโท

    หลวงปู่แดง สิริภทฺโท



    หลวงปู่แดง สิริภทฺโท ปี 2555 อายุ 96 ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดห้วยฉลองราษฎร์บำรุง หมู่ที่ 2 บ้านห้วยฉลอง ต.ถ้ำฉลอง อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ อัตโนประวัติ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 5 เมษายน 2459 ปีมะโรง ที่บ้านนาตารอด ต.หาดงิ้ว อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายพลอยและนางบาง เพ็ชรสวัสดิ์ เป็นบุตรคนที่ 7 ในจำนวนพี่น้อง 7 คน ช่วงอายุได้ 12 ปี บิดามารดาพาไปบวชเณรกับหลวงพ่อฮวบ เจ้าอาวาสวัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน ช่วงที่บวชเณรอยู่นั้น ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและศึกษาตำราเรียนสมุนไพรจากใบลาน พร้อมทั้งศึกษาคาถาบาลี เลขยันต์จากหลวงพ่อฮวบ เป็นเวลา 4 ปี ก็ได้สึกออกมาช่วยเหลือพ่อแม่ทำงาน กระทั่งอายุครบได้ 20 ปี ก็ได้อุปสมบท มีหลวงพ่อไซร์ ติสฺสโร เจ้าอาวาสวัดช่องลม (วัดหนองเหี้ย) ต.แสนตอ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นพระครูอุปัชฌาย์ จากนั้นได้ศึกษาวิชาไสยเวท วิชาอาคมด้านแคล้วคลาด ผูกดวง ดูดวง พร้อมทั้งเรียนภาษาบาลีและตำรายาสมุนไพรเพิ่มเติมอย่างตั้งใจจนเรียนสำเร็จ และเรียนจนกระทั่งจบนักธรรมตรี บวชเรียนอยู่ได้นานเกือบ 8 ปี สึกออกมาและมีครอบครัวรวมระยะเวลาที่เล่าเรียนอยู่กับหลวงพ่อฮวบและหลวงพ่อไซร์(วัดชองลม)นานถึง 13 ปี เมื่อมีครอบครัวแล้ว ก็ได้นำวิชาที่เล่าเรียนมาประกอบอาชีพเป็นหมอสมุนไพรรักษาโรคทั่วไปและโรคร้ายให้กับชาวบ้าน โดยเฉพาะโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ ที่ใครเป็นแล้วก็ตามมักจะรักษาไม่หาย แต่เมื่อมาถึงหมอแดง โรคร้ายดังกล่าวจะหายไปทันที เพราะเชื่อกันว่าได้นำตัวยาสมุนไพรชนิดหนึ่งมาต้มพร้อมกับเป่ามนต์ไสยเวทไปด้วย ระหว่างที่เป่ามนต์ไสยเวทก็ได้ระลึกนึกถึงพระพุทธชินราช ซึ่งเป็นพระครูบาอาจารย์ใหญ่ประจำมณฑลภาคเหนือ ในระหว่างที่เคี่ยวตัวยาทำให้ได้ยาที่สมบูรณ์แบบ จนได้รับฉายาว่า พ่อเลี้ยงแดง มีชื่อเสียงโด่งดังไปในหมู่บ้านและดังไปไกลทั่วทุกสารทิศในภาคเหนือ อยู่กับครอบครัวจนมีบุตร-ธิดารวมกัน 4 คน ช่วงเวลาเช้าและเย็นมักจะหาเวลาเข้าวัดสม่ำเสมอเพื่อปฏิบัติธรรม ถือศีลภาวนา หรือแม้แต่อยู่ที่บ้านก็หาเวลานั่งสมาธิและปฏิบัติธรรมมิได้ขาด จนคนในหมู่บ้านเลือกให้เป็นมรรคนายกวัด ในช่วงมีพิธีงานบวช งานบุญก็จะเรียกหาใช้ให้เป็นผู้นำทางด้านศาสนพิธี ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ นำสวดมนต์เช้า สวดมนต์เย็น และนำสวดในพิธีต่างๆ ที่สำคัญทางศาสนา กระทั่งอายุได้ 73 ปี บุตร-ธิดา ได้โตจนมีครอบครัวสามารถเลี้ยงหาดูแลตนเองได้แล้ว ไม่น่าเป็นห่วงอะไรอีกต่อไป จึงได้บวชเป็นพระภิกษุอีกครั้ง โดยมี หลวงพ่อฟัก ภูริปัญโญ หรือ พระครูนิกรธรรมรักษ์ เจ้าอาวาสวัดหาดงิ้ว ต.หาดงิ้ว อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นพระครูอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์วิเชียร เจ้าอาวาสวัดเกาะเรไร และ พระอธิการอารมณ์ เจ้าอาวาสวัดช่องลม ต.แสนตอ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นพระคู่สวดกรรมวาจาจารย์-อนุสาวนาจารย์หลังจากที่บวชแล้วก็ได้มาอยู่ที่พักสงฆ์ห้วยฉลอง บ้านห้วยฉลอง หมู่ที่ 2 ต.ถ้ำฉลอง อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ โดยมีญาติโยมร่วมกันสร้างกุฏิมุงหลังคาสังกะสีให้จำพรรษาอยู่เพียงรูปเดียวพร้อมทั้งสร้างโรงอบยาสมุนไพร เพื่อรักษาโรคด้วยไสยเวทให้ชาวบ้านในหมู่บ้าน ทั้งได้นำวิชาความรู้ด้านอาคมแคล้วคลาด เมตตามหานิยม ผูกดวง ดูดวง ตามที่ได้เล่าเรียน หลวงปู่แดง กล่าวว่าการดำรงตนเป็นพระภิกษุต้องยึดเอาศีล 227 ข้อเป็นที่ยึดเหนี่ยว พร้อมกับหมั่นสวดมนต์ไหว้พระ นั่งภาวนาทำจิตสมาธิให้มั่นและแน่วแน่ นึกถึงครูบาอาจารย์ที่พร่ำสอนมา คติธรรมที่สั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาคือผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมจะทำให้ชีวิตมีแต่ความก้าวหน้า มั่งมีศรีสุข ครอบครัวมีแต่ความอบอุ่นสำหรับสิ่งที่คนทั่วไปยกย่องเป็นเกจิอาจารย์นั้น หลวงพ่อแดงบอกว่ารู้สึกเฉยๆ ไม่ได้นิยมชมชอบกับสิ่งที่เยินยอออกมา ก็ได้แต่อุเบกขานิ่งเสีย เงินที่ได้มาก็ตั้งใจที่จะทำการสร้างอุโบสถให้สำเร็จลุล่วงเพียงอย่างเดียว ยึดมั่นในหลักคำสอน ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้รับผลที่ไม่ดีตอบแทน กรรมเป็นเครื่องชี้วัดของคนทุกผู้ทุกนาม สำหรับมุมมองเครื่องรางของขลังและวัตถุมงคลต่างๆนั้น หลวงพ่อแดงบอกว่าเครื่องรางของขลังเป็นวัตถุอย่างหนึ่ง ที่สามารถเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของ
    คนให้มีสมาธิ จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อไม่ฟุ้งซ่านก็เกิดความศรัทธาในสิ่งนั้น ความศรัทธาบวกกับคุณงามความดีที่ได้สร้างสะสมเอาไว้ก็จะก่อให้เกิดพลังอำนาจ และพลังนี้จะเป็นผู้ทำลายสิ่งชั่วร้ายที่จะเกิดกับตน อยู่ที่ว่ามีความเชื่อมากน้อยแค่ไหน ผู้ที่มีวัตถุมงคลหรือเครื่องรางของขลัง จะต้องยึดมั่นถือมั่นทำในสิ่งที่ดี ถือศีล 5 ศีล 8 ผลดีก็จะตอบแทนภายหลัง แต่ถ้าทำชั่วเครื่องรางของขลังต่อให้ดีแค่ไหน ก็ใช่ว่าจะคุ้มครองคนชั่วได้!!


    ข้อมูลจากคอลัมน์ มงคลข่าวสด หนังสือพิมพ์ข่าวสด

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    พระพิมพ์ขุนแผนหลวงพ่อแดง
    ให้บููชา100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    รม เจ้าอาวาสวัดหนองนกชุม พระอานุสาวนาจารย์ พระอธิการบัว ปุณณธรรมโน เจ้าอาวาสวัดหนองพลับ

    วิทยฐานะสอบได้นักธรรมเอกและสอบได้เปรียญธรรมประโยค 2 พ.ศ. 2457 สำนักเรียนวัดปทุมคงคาราม กรุงเทพมหานคร

    งานปกครอง

    พ.ศ.2458 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองพลับ

    พ.ศ.2461 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวด ตำบลเมืองเก่า ตำบลหนองพลับ แขวงเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

    พ.ศ.2477 ได้สถาปนาจากกรมการศาสนาแต่งตั้งให้เป็น พระครูกรรมการศึกษาที่พระครูบางในสมัยนั้น็็น

    พ.ศ.2479 ทางราชการคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้พระครูบาง ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวง กิ่งอำเภอหนองแซง อำเภอเสาให้ จังหวัดสระบุรี ในตำแหน่งพระครูบาง มีการทำอุโบสถสังฆกรรม(สวดพระปาฎิโมกข์) ตลอดทั้งปี ทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็นตลอดทั้งปี

    งานการศึกษา

    พ.ศ. 2461 เป็นผู้จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดหนองพลับ

    พ.ศ.2507 เป็นผู้จัดหาที่ดิน 13 ไร่2 งานเศษ เพื่อจัดสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษา

    งานเผยแผ่

    พ.ศ.2510 ตั้งศูนย์พัฒนาวัด ซึ่งวัดหนองพลับ ได้รับเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง จังหวัดสระบุรี และจัดตั้งมูลนิธิศีลวุฒาจารย์

    สาธารณูปการพ.ศ.2457 เป็นผู้ดำเนินก่อสร้างอุโบสถต่อจากเจ้าอาวาสสององค์เดิมได้ก่อสร้างไว้จนแล้วเสร็จสมสมบูรณ์

    สมณศักดิ์พ.ศ.2477ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูกรรมการศึกษาที่ พระครูบาง และให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงกิ่งอำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

    พ.ศ.2487 ได้รับเป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูสิริธรรมสาร ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอหนองแซง ชั้นโท ปกครองคณะสงฆ์อำเภอหนองแซง

    พ.ศ.2498 ได้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษชั้นพิเศษในพระราชทินนามเดิมที่พระครูสิริธรรมสาร เจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษ

    พ.ศ. 2515 เจ้าคณะจังหวัดสระบุรีได้ขอยกขึ้นไปดำรงที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสระบุรี

    พ.ศ.2516 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่พระศีลวุฒาจารย์
    อวสานแห่งชีวิตพระศีลวุฒาจารย์ ท่านล้มป่วยด้วยโรคปอดบวม และโรคถุงลมโป่งพอง เข้าพักรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลมิตรภาพเมโมเลี่ยน ถนนมิตรภาพ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสระบุรี ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2534 สิริอายุรวม 101 ปี 2 เดือน 19วัน พรรษาได้ 80 พรรษา เป็นเจ้าอาวาสได้ 76 ปี เป็นเจ้าคณะอำเภอได้ 28 ปี เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดได้ 19 ปี เป็นพระอุปัชฌาย์ได้ 47 ปี คณะสงฆ์ได้ขอน้ำพระราชทานน้ำสรงศพหีบทองทึบประกอบเกียรติยศ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2534 และพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2535

    ความสำคัญเป็นพระเกจิอาจารย์ มีวิชาความรู้หลากหลายด้าน เป็นเจ้าคุณองค์แรกของอำเภอหนองแซง ถือได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญทางศาสนาของอำเภอหนองแซง ที่สร้างชื่อเสียงให้ชาวอำเภอหนองแซงเป็นที่รู้จัก นอกจากนี้ท่านได้สร้างวัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงของหลวงปู่บาง คือ ตะกุดที่คาดเอว เหรียญรูปเหมือน ปัจจุบันวัดได้จัดสร้างวิหารชื่อว่า “วิหารศีลวุฒาจารย์”ภายในวิหารจะมีรูปปั้นของท่านไว้ให้ศิษย์ยานุศิษย์ ประชาชนที่ผ่านไปมา ได้กราบไหว้ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัว และในอาทิตย์สุดท้ายเดือนพฤษภาคม ของทุกปี วัดหนองพลับโดยพระครูสุวรรณธรรมวัตร เจ้าอาวาสพร้อมด้วยศิษย์ยานุศิษย์และประชาชนชาวอำเภอหนองแซง จะแสดงมุฑิตาท่านด้วยการทำบุญครบรอบวันมรณภาพของท่านเป็นประจำทุกปี
    ขอบขอบคุณท่านเจ้าของที่มาบทความข้อมูลอย่างสูงครับ

    พระสมเด็จกฤตยาคาแฝดหลวงปู่บาง วัดหนองพลับให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ
    e0-b8-a5-e0-b8-9b-e0-b8-9a-e0-b8-b2-e0-b8-87-jpg-jpg.jpg e0-b8-a5-e0-b8-9b-e0-b8-9a-e0-b8-b2-e0-b8-87-e0-b8-ab-e0-b8-a5-e0-b8-b1-e0-b8-87-jpg-jpg.jpg 0-b8-a5-e0-b8-9b-e0-b8-9a-e0-b8-b2-e0-b8-87-e0-b8-81-e0-b8-a5-e0-b9-88-e0-b8-ad-e0-b8-87-jpg-jpg.jpg
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    [​IMG]

    …..พระครูมงคลคำภีรคุณ หรือ หลวงปู่คำแดง ฐานทัตโต เป็นพระเกจิ อาจารย์แห่งเมืองดอกบัว เชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือ
    หลวงปู่คำแดง สิริอายุ 91 ปี พรรษา 24 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคัมภีราวาส บ้านนาพิน ต.นาพิน อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธาน
    นามเดิม คำแดง พึ่งบารมี เกิดเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.2465 ตรงกับวันพุธ แรม 10 ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ ณ บ้านเลขที่ 31 หมู่ 10 ต.นาพิน อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี บิดา-มารดา ชื่อ นายถาวรและนางใหม่ พึ่งบารมี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 8 คน
    มีเรื่องเล่าว่า ก่อนท่านมาเกิด นางใหม่ ผู้เป็นมารดาฝันว่ามีพระธุดงค์เดินมามอบหนังสือใบลานก้อมให้แล้วเดินจากไป ต่อจากนั้น นางใหม่ก็ตั้งครรภ์ 10 เดือน ก่อนคลอดเด็กทารกเพศชายตัวเล็ก สุขภาพไม่แข็งแรง บิดาจึงเอาไปถวายพระอาจารย์ใหม่ บัวแดง ให้ท่านผูกข้อมือรับเป็นพ่อบุญธรรม
    ครั้นอายุ 9 ขวบ เข้าโรงเรียนประชาบาล ต.นาพิน จบชั้น ป.4 สอบชิงทุนได้ นายฮง มณีภาค ศึกษาอำเภอ ได้ส่งไปเรียนที่โรงเรียนกสิกรรม (ท่าวังหิน) แต่นายถาวร ผู้บิดาขอสละสิทธิ์ นำบุตรชายให้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ.2479-2499 อยู่วัดคัมภีราวาส
    พ.ศ.2480 ย้ายไปอยู่จำพรรษาวัดสิงหาญสะพือ กับพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2481 ออกเดินธุดงค์ไปอยู่ภูขาม แล้วไปจำพรรษาอยู่วัดบูรพา ในเมืองอุบลราชธานี
    พ.ศ.2481 อยู่ ต.นาจิก จ.อำนาจเจริญ สามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้
    ครั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดฉิมพลี อ.เมือง จ.สกลนคร
    หลังอุปสมบทได้เดินทางไปปฏิบัติธรรมและศึกษาพระธรรมวินัยในหลายจังหวัดทางภาคอีสาน ก่อนกลับมาจำพรรษาที่วัดศรีโพธิ์ชัย พ.ศ.2486 เรียนบาลีไวยากรณ์อยู่
    พ.ศ.2491 ย้ายไปเรียนบาลีไวยากรณ์ อยู่วัดกลาง อำเภอเขมราฐ
    ในปี พ.ศ.2501 ย้ายมาอยู่จำพรรษา วัดพาราณสี ต.นาพิน แต่ท่านบวชได้เพียง 6 ปี ท่านตัดสินใจลาสิกขาไปใช้ชีวิตแบบฆราวาส
    เมื่อวันที่ 6 ส.ค.2530 นายคำแดง ป่วยหนักพวกญาตินำส่งโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี หมอผ่าตัดถุงน้ำดี หลังจากนั้น ท่านได้หายป่วย หลังผ่านเหตุการณ์ครั้งนี้ ท่านจึงเริ่มนึกปลงชีวิต ตัดสินใจหันหน้าเข้าสู่ทางธรรมอีกครั้ง ตัดสินใจอุปสมบท เมื่อวันที่ 31 ม.ค.2532 ที่วัดกุญชราราม ต.ขุหลุ อ.ตระการพืชผล มี พระครูไพโรจน์ปรีชากร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูภัทรญาณปยุต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสิริธรรมมากร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ฐานทัตโต
    ภายหลังอุปสมบท พระคำแดง ได้ออกธุดงควัตรไปสร้างวัดบ้านโนนฮาง หมู่ที่ 9 ต.นาพิน อ.ตระการพืชผล พ.ศ.2533 สามารถสอบได้เปรียญธรรมประโยค 1-2 พ.ศ.2538 สอบได้เปรียญธรรมประโยค 3
    จากนั้น พ.ศ.2541 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดคัมภีราวาสจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
    หลวงปู่คำแดง เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตายามได้รับกิจนิมนต์ไปงานบุญต่างๆ ท่านไม่เคยปฏิเสธ แม้ว่าท่านจะย่างอายุเข้าสู่วัยชราและมีปัญหาด้านสุขภาพตามวัย
    ส่วนงานกิจนิมนต์ในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลตามวัดต่างๆ ท่านต้องเดินทางเข้าร่วมพิธีเสมอ แม้นจะไกลหรือจะเหน็ดเหนื่อยเพียงใด ท่านก็มีความสุขที่ได้ปฏิบัติเช่นนั้น ศิษย์ผู้คอยดูแลปรนนิบัติก็ไม่สามารถทัดทานได้
    ส่วนวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ ที่ท่านได้สร้างและอธิษฐานจิตปลุกเสกนั้น ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์เล่าขาน วัตถุมงคลหลายรุ่นที่ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกได้รับความนิยมจากนักสะสมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น เหรียญ รูปเหมือน หรือเครื่องรางของขลังต่างๆ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมือนผสมเกษาหลวงปู่มหาคำแดง ให้บูชา200บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ
    [​IMG] [​IMG]
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    1478690961.jpg

    หลวงพ่อพุฒท่านได้ศึกษาวิชาการสร้างราหูอมจันทร์ด้วยกะลาตาเดียวมาจากหลวงพ่อน้อย และอาจารย์ปิ่น วัดศรีษะทอง สำหรับองค์นี้ศิลป์แกะโดยลุงหนุ่ย(ลูกชายลุงศรีใหญ่ ช่างแกะกะลาคู่บุญหลวงพ่อน้อย) จารสองฤกษ์สุริยะประภา จันทรประภา และด้านล่างยังมีเซ็นชื่อหลวงพ่อพุฒไว้อีกด้วย ถือว่าสวยงามหาชมยากครับ

    ประวัติพระครูสุนทรวุฒิคุณ หลวงพ่อพุฒ สุนฺทโร
    1.สถานะเดิม
    ชื่อพุฒ นามสกุลหาญสมัย เกิด6ฯ12 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันศุกร์ที่ 13พฤจิกายน พ.ศ.2453
    บิดาชื่อนายขำ มารดาชื่อนางปาน เกิดที่บ้านบางพระ เลขที่8 หมู่ที่4 ต.บางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
    2.บรรพชา
    วันที่2ฯ4ค่ำ ปีจอ วันจันทร์ที่ 1เมษายน พ.ศ.2489 ณ วัดบางพระ ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี
    จ.นครปฐม โดยมีพระอธิการหิ่ม อินทโชโต วัดบางพระเป้นพระอุปัชฌาย์
    3.อุปสมบท
    วันที่2ฯ4ค่ำ ปีจอ วันจันทร์ที่ 1เมษายน พ.ศ.2489 ณ วัดบางพระ ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี
    จ.นครปฐม โดยมีพระอธิการหิ่ม อินทโชโต วัดบางพระเป้นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์เปลี่ยน ฐิตธมโมวัดบางพระเป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอาจารย์อยู่ ปทุมรตโน วัดบางพระเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า สุนฺทโร
    4.วิทยฐานะ
    พ.ศ.2467 สำเร็จวิชาสามัญชั้นประถมศึกษาปีที่4จากโณงเรียนวัดบางพระ
    พ.ศ.2489 สอบได้นักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนวัดบางพระ จังหวัดนครปฐม
    พ.ศ.2491 สอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดบางพระ จังหวัดนครปฐม
    พ.ศ.2535 สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดกลางบางพระ จังหวัดนครปฐม
    พ.ศ.2513 สำเร็จการศึกษาอบรมจากโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลางแผนกศึกษาอบรมรุ่นที่1
    5.งานปกครอง
    พ.ศ.2495 เป็นเจ้าอาวาสวัดกลางบางพระ
    พ.ศ.2497 เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พ.ศ.2537 เป็นพระอุปัชฌาย์
    6.ความสามารถพิเศษ
    เป็นผู้มีความรอบรูในอักขระและคาถาต่างๆ ภาษาขอม ตำรายาแผนโบราณและมีความชำนาญในการก่อสร้าง
    7.สมณศักดิ์
    พ.ศ.2509 เป็นพระครูชั้นประทวนสมณศักดิ์
    พ.ศ.2513 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี
    พ.ศ.2517 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท
    พ.ศ.2533 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก

    ประวัติความเป้นมาโดยสังเขป
    หลวงพ่อพุฒเกิดที่บ้านบางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม มีพี่น้อง5คนคือ
    -นางสาวบุญรอด หาญสมัย
    -นายพุฒ หาญสมัย (หลวงพ่อพุฒ สุนทโร)
    -นางปุ่น นาคละมัย
    -นายปั่น หาญสมัย
    -นางบุญนาค กลั่นสนิท
    หลวงพ่อพุฒได้รับการศึกษาเล่าเรียนมีความรู้ติดตัวมาจากวัดและจบชั้นประถม4ในเวลาต่อมา ครอบครัวของท่านมีอาชีพทำนาท่านจึงต้องช่วยบิดามารดาทำนา เมื่ออายุครบ20ปีได้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบท ณ วัดบางพระ ต่อมาได้ลาสิกขาบทไปเป็นทาหรรักาพระองค์อยู่2ปี เมื่อครบกำหนดรับราชการทหารแล้วได้กลับมาช่วยบิดามารดาทำนาเช่นเดิมได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่1 ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม ท่านได้ดูแลลูกบ้านจนมีความร่มเย้นเป้นสุขตลอดมาและได้ทำหน้าที่อยู่ 5ปีเต็ม จึงได้ขอลาออกจากผู้ใหญ่บ้าน ขออนุญาตบิดามารดาลาชีวติทางโลกเข้าสู่ร่วมกาสาวพัตรด้วยความศรัทธาในพระรัตนตรัย เข้ารับการบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมวัดบางพระ เมื่อวันที่ เมษายน พ.ศ.2489 โดยมีหลวงพ่อหิ่ม วัดบางพระเป็นพระอุปัชฌาชย์ ซึ่งถือเป้นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตของท่านโดยได้รับฉายาว่า “สุนฺทโร”
    มีความมุ่งมั่นในการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและเมื่อมีโอกาสจะศึกษาตำราต่างๆอาทิเช่นหนังสือขอม ตำรายาแผนโบราณ ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจในการศึกษาธรรมของท่านทำให้ท่านสอบได้นักธรมชั้นตรีและโทตามลำดับ ท่านเป้นผู้ฝักใฝ่ในการศึกษามีปัญญาดี มีความสามารถในการท่องจำและสวดมนต์อยู่ในระดับขั้นต้นๆของผู้ที่มีความสามารถ ทั้งยังมีความชำนาญในการเทศนาโวหารเป็นที่ยอมรับของคณะสงห์และสาธุชนทั่วไป ต่อมาท่านได้เห็นถึงความสำคัญของการปฎิบัติธรรมจึงเริ่มศึกษาหาความรู้ในเรื่องธุดงค์วัตรจนมีความเข้าใจและชำนาญ จึงเริ่มออกธุดงคืไปยังสถานที่ต่างๆเพื่อเจิรญสมาธิธรรมกัมมัฎฐาน ต่อมาท่านได้ศึกษาตำรายาสมุนไพรจากหมอชาวบ้านในชุมชนต่างๆที่เป็นผู้มีความสามารถ เพื่อมาช่วยรักษาชาวบ้านในถิ่นทุระกันดารที่ห่างไกลหมอและยา จนต่อมาท่านได้ศึกษาวิทยาคมต่างๆจากหลวงพ่อแช่มวัดตาก้อง หลวงพ่อน้อยวัดศรีษะทอง หลวงพ่อกี๋วัดหูช้าง และหลวงปู่เพิ่มวัดกลางบางแก้ว

    “พระอธิการพุฒวัดวัดกลางบางพระ”
    หลังจากที่ได้รับการบรรพชาอุปสมบทและมีโอกาสศึกษาพระธรรมวินัยตลอดจนวิทยาคมต่างๆรวมทั้งการออกรุกขมูล(ธุดงค์) เมื่อพรรษได้6พรรษาในปีพ.ศ.2494 เจ้าอาวาสองค์ที่6ของวัดกลางบางพระได้มรณะภาพลง คณะสงฆ์และชาวบ้านได้มีมติให้หลวงพ่อพุฒขึ้นดำรงตำแหน่งเป้นเจ้าอาวาสองคที่๗สืบต่อมา หลังจากที่หลวงพ่อได้รับภาระหน้าที่เจ้าอาวาสแล้วก็มุ่งมั่นที่จะบูรณะปฎิสังขรร์วัดกลางบางพระให้สามารถใช้งานได้เหมือนวัดทั่วๆไป เพราะถาวรวัตถุและสิ่งปลุกสร้างภายในวัดได้ทรุดโทรมไปตามการเวลา หลวงพ่อพุฒได้บูรณะปฎิสังขรณ์และสร้างถาวรวัตถุขึ้นมาใหม่คือ ศาลาการเปรียญ กุฎิพระสงฆ์ เมรุ วิหาร โรงเรียนพระปริยิติธรรม หอฉัน โรงครัง พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ศาลาประชุม กำแพงวัด ซุ่มประตู ศาลาเอนกประสงค์ มณฑปพระเกศจุฬามณี ห้องน้ำ ศาลาการเปรียยหลังใหม่ กุฎิ ศาลาปติบัติธรรมและอุโบสถหลังใหม่ วัดกลางบางพระจึงมีความเจิรญรุ่งเรืองมาจนถึงทุกวันนี้

    คำสอนของหลวงพ่อพุฒ
    1.เว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน และมีความเมตตากรุณาอยู่เป็นนิจ
    2.เว้นจากการลักทรัพย์และเลี้ยงชีพทำมาหากินในทางสุจริต
    3.เว้นจากการประพฤติผิดในกาม และให้มีความสำรวมเรื่องกาม
    4.เว้นจากการพูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด เพ้อเจ้อ สอนให้มีสัจจะ
    5.เว้นจากการดื่มของมึนเมา ให้มีสติสัมปชัญยะรุ้ตัวอยู่เสมอ
    หลักคสอนนี้คือเบญศีลเบญจธรรมในพุทธศาสนา

    ปฎิปทาข้อปฎิบัติ
    หลวงพ่อพุฒเป็นพระที่เคร่งครัดในการปฎิบัติตามพระธรรมวินัย และวิชาอาคมที่ได้ร่ำเรียนมาจากครูอาจารย์ มีความเป้นอยู่แบบเรียบง่ายไม่พิถีพิถันเป็นกันเอง พูดจามึงกูตามเอกลักษร์ของท่าน สมถะ ใจดีมีเมตตาเป็นพระเถระที่พบได้ง่ายที่สุดไม่ต้องมีพิธีรีตองเป็นกันเองและอารมรืดีอยู่เสมอ กิจวัตรของหลวงพ่อคือไหว้พระสวดมนตืปฎิบัติวิปัสสนาทุกเช้าไม่เคยให้ขาดให้ความสำคัญในการปกครองพระภายในวัดให้รักใคร่สามัคคีและอยู่ในพระธรรมวินัย ท่านได้ใช้วิชาความรู้ความสามารถที่ท่านได้ร่ำเรียนมาจากครูอาจารยืช่วยอนุเคราะห์สาธุชนโดยไม่แบ่งชั้นวรรณะจนเป็นที่เคารพศรัทธากับสาธุชนทั้งหลาย ในช่วงปีพ.ศ.2535-2540 ท่านได้รับนิมนต์พิธีพุทธาภิเษกมาแล้วทั่วประเทศเป็นพระเกจิคณาจารย์ที่ได้รับการยอมรับรุปหนึ่งของเมืองไทย วัตถุมงคลของท่านที่สร้างมาแต่ละรุ่นล้วนแล้วแต่มีพุทธคุณควรค่าแก่การบูชาเป็นสิริมงคล นอกจากนี้หลวงพ่อท่านยังเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิวัดกลางบางพระโดยมีวัตถุประสงคืเพื่อเก็บดอกออกผลบำรุงบูรณะปฎิสังขรร์ถาวารวัตถุภายในวัดและอุปถัมภ์การศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมของพระภิกุสามเณรวัดกลางบางพระ

    มรณะภาพละสังขาร
    หลวงพ่อเข้ารับการรักษาเส้นเลือดในสมองตีบที่โรงพยาบาลสนามจันทร์ เมื่อวันที่14มกราคม พ.ศ.2542 และได้ถึงแก่มรณะภาพละสังขารเมื่อวัน1ฯ3ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันอาทิตย์ที่17มกราคม พ.ศ.2542 เวลา 8.45น. สิริรวมอายุได้88ปี2เดือน8วันศิษย์ยานุศิษย์ได้นำสังขารหลวงพ่อกลับมายังวัดกลางบางพระและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอย่างสมเกียรติ คงเหลือไว้แต่คุณงามความดีและคำสั่งสอนอบรมของท่านที่ศิษย์ยานุศิษยืจะยึดถือไว้เป็นทางแห่งการประพฤติดีปฎิบัติชอบสืบไป

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    พระนางพญาแก่นจันทร์หลวงพ่อพุฒ ให้บูชา100บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลพ.พุฒกล่อง.jpg ลพ.พุฒ.jpg ลพ.พุฒหลัง.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    1966-1096d.jpg
    ประวัติ หลวงปู่โถม วัดธรรมปัญญาราม สุโขทัย
    หลวงปู่โถม สิริอายุ 84 พรรษา 64 อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย, เจ้าอาวาสวัดธรรมปัญญาราม ต.โตนด อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย
    ประวัติ มีนามเดิมว่า โถม ขำแย้ม เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2464 ตรงกับเดือน 6 ปีระกา ที่หมู่ 3 ต.โตนด อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย พ.ศ.2473 สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนประชาบาล วัดวาลุการาม ต.โตนด อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย
    เมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท เพื่อตอบแทนพระคุณบุพการี วันที่ 17 เมษายน 2484 ณ พัทธสีมาวัดวาลุการาม ต.โตนด อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิด โดยมีพระครูคีรีมาศเมธี วัดวาลุการาม เป็นพระอุปัชฌาย์
    ภายหลังพิธีอุปสมบท พระโถมได้มุ่งมั่นตั้งใจศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างแข็งขัน ในปีพ.ศ.2488 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักศาสนาศึกษาวัดวาลุการาม ต.โตนด อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย
    ตลอดทั้งชีวิตที่หลวงปู่โถมได้ครองผ้าเหลืองอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ ได้สร้างคุณูปการแก่เมืองสุโขทัยในหลากหลายด้านมากมาย อาทิ การพัฒนาด้านการพระศาสนา ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดทั้งสาธารณประโยชน์ต่างๆ
    หลวงปู่โถม ได้ให้การสนับสนุนส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้าน เพื่อสร้างความสมัครสมานสามัคคี ปลูกฝังความรัก ความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ภายในชุมชน โดยให้ประชาชนร่วมกันลงแขกเกี่ยวข้าว ทำไร่ ทำนา ทำบุญกลางหมู่บ้าน ทอดกฐิน ผ้าป่า งานอุปสมบทหมู่ ส่งเสริมการจัดประชุมพระสังฆาธิการทุกระดับและทุกรูปในเขตปกครอง ทุกวันขึ้น 7 ค่ำ ของทุกเดือนเป็นประจำทุกปี เพื่อร่วมกันแก้ไขและปรับปรุงงานคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยเรียบร้อย
    ตั้งแต่หลวงปู่โถมสมณศักดิ์ ปกครอง
    พ.ศ.2490 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดวาลุการาม
    พ.ศ.2491 เป็นเจ้าคณะตำบลโตนด
    พ.ศ.2492 เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พ.ศ.2501 เป็นพระอุปัชฌาย์
    พ.ศ.2508 เป็นเจ้าคณะตำบลทุ่งหลวง
    พ.ศ.2515 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอคีรีมาศ
    พ.ศ.2515 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอมือง
    พ.ศ.2516 เป็นเจ้าคณะอำเภอคีรีมาศ
    พ.ศ.2518 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดธรรมปัญญาราม
    พ.ศ.2519 เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมปัญญาราม
    พ.ศ.2542 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย
    พ.ศ.2542 เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย
    พ.ศ.2547 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย
    ลำดับสมณศักดิ์
    พ.ศ.2499 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่พระครูพิลาศธรรมคุณ

    พ.ศ.2503 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบล ชั้นโท ราชทินนามเดิม
    พ.ศ.2522 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ราชทินนามเดิม
    พ.ศ.2540 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ ราชทินนามเดิม
    พ.ศ.2543 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระมงคลสุนทร
    พระมงคลสุนทร หรือหลวงปู่โถม กลฺยาโณ ได้ละสังขารลงอย่างสงบ หลังจากเข้ารับการรักษาอาการอาพาธด้วยโรคชรา ที่ห้องไอซียู โรงพยาบาลสุโขทัย เมื่อเวลา 14.08 น. ของวันวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สิริอายุ 84 พรรษา 64
    ส่วนด้านวัตถุมงคลของหลวงปู่โถม หลวงปู่โถมท่านใด้ส้างใว้เยอะ แบบที่เป็นทางการละไม่เป็นทางการ ในยุคแรกๆ วัดถุมงคลของหลวงปู่จะเป็น ตะกรุด แหวนพิรอด พระเนื้อผงต่างๆ ที่หลวงปู่ใด้สร้างขึ้นเอง
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่โถม ให้บูชา100บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลป.โถม.jpg ลป.โถมหลัง.jpg
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    จัดสร้างครั้งแรกโดยท่านเจ้าคุณสนิท วัดศีลขันธ์ ในปี12-13 ได้มีการทำพิธีปลุกเสกเรียบร้อยแล้วนำไปขอให้ท่านเจ้าคุณนรฯเมตตาอธิษฐานจิตซ้ำให้ในปี 13 ถือว่าเป็นหนึ่งในพระสายท่านเจ้าคุณนรฯอีกรุ่นด้วย พระสมเด็จรุ่นนี้จะเป็นพระผงน้ำมัน มีหลากหลายสี หลายพิมพ์ อนึ่งท่านเจ้าคุณสนิทเป็นถึงพระราชาคณะแต่ไปประจำอยู่ที่วัดศีลขันธ์ อ่างทอง จึงไม่แปลกที่ท่านจะสนิทสนมและรู้จักท่านเจ้านรฯและทางสายวัดเทพศิรินทร์ ตัวหลวงพ่อท่านเจ้าคุณสนิทเองในสมัยโน้นได้รับนิมนต์ไปปลุกเสกพระอยู่เรื่อยๆ ดังนั้นเรื่องพุทธาคมของท่านคงไม่ธรรมดาแน่ อีกเรื่องที่ได้ยินมาจากเพื่อนแม่ เพื่อนแม่ไปวัดศีลขันธ์ในสมัยโน้น(หลังปี2513) ไปขอพระสมเด็จสายรุ้ง แต่ท่านเจ้าคุณบอกว่าพระหมดนานแล้วเหลือแต่พระบูชาในกุฏิท่าน ท่านให้เดินเข้าไปหยิบเอาเอง ท่านแสดงออกถึงความเมตตาอย่างสูง และไม่ถือยศ ศักดิ์อันใด ท่านให้มาฟรีโดยไม่เรียกร้องอะไร เป็นพระสมเด็จสายรุ้งขนาดบูชา พระบูชาสร้างน้อยโดยส่วนตัวยังไม่เคยเห็นครับ พระดี ราคาถูก ประสบการณ์ดีเยี่ยม พุทธคุณครบวงจรทั้งเมตตา มหานิยม แคล้วคลาด คงกะพัน โดยส่วนตัวจะไม่ค่อยเชื่อประสบการณ์พระเครื่องจากการอ่านหนังสือต่างๆ แต่จะเชื่อถ้าได้ฟังมาจากคนรู้จักกัน พรรคพวกกันที่เป็นทหารได้ทดสอบยิงพระชุดนี้โดยกราบขอขมาแล้วนำพระใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อทหาร ยิงด้วยปืนลูกโม่.38ปรากฏว่ายิงไม่ออกทั้งหกนัด พอหันปากกระบอกปืนขึ้นฟ้ายิงได้ทั้งหกนัด แต่พอมือล้วงจะหยิบพระออกจากกระเป๋าเสื้อ พระได้กลายเป็นผงไปทั้งองค์โดยไม่ทราบสาเหตุ (ทดสอบต่อหน้านายทหารและชั้นประทวนร่วม20คนที่ แสมสาร สัตหีบ ปี39)

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมือนท่านเจ้าคุณนรให้บูชา300บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    เจ้าคุฅณนร.jpg เจ้าคุฅณนรหลัง.jpg
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    phrathepyanamongkol.jpg
    ประวัติสังเขป พระเทพญาณมงคล วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.6)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    เจ้าสำนักและอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนา สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี
    ผู้จัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดราชบุรี
    ประธานศูนย์ประสานงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งประเทศไทย (ศปท.)
    ประธานศูนย์ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ประจำวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม (ศสค.)
    Director, Wat Luang Phor Sodh Buddhist Meditation Institute, an Affiliated Institution of the World Buddhist University

    ชาติภูมิ

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระเทพญาณมงคล ซี่งบรรดาศิษยานุศิษย์รู้จักท่านดี ในนามว่า "หลวงป๋า" เดิมท่านชื่อ เสริมชัย พลพัฒนาฤทธิ์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2472 ณ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นบุตรคนที่ 4 ของคุณพ่อทองดี และคุณแม่บุญนาค พลพัฒนาฤทธิ์ ท่านมีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 6 คน

    ใฝ่การศึกษา
    ภายหลังจากที่ท่านสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนบุรีรัมย์วิทยาลัยและเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยแล้ว เข้ามาทำงานเป็นพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยอยู่ชั่วระยะเวลา 2-3 ปี ท่านได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนสำเร็จปริญญาตรีเมื่อปี พ.ศ.2498 ทำงานแล้วได้ศึกษาต่อจนสำเร็จปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (เกียรตินิยม "ดี") ในปี พ.ศ.2508

    ครั้นต่อมาในปี พ.ศ.2512 ท่านได้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร "ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์" จาก Institute of Social Research, The University of Michigan, Ann Arbor สหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตรการควบคุมระบบงานคอมพิวเตอร์ จัดโดยกองฝึกอบรมสำนักข่าวสารอเมริกัน (USIS) สำนักงานใหญ่อเมริกา

    การอาชีพก่อนบวช
    ท่านทำงานเป็นพนักงานต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ประจำอยู่ที่สำนักข่าวสารอเมริกัน แห่งสถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำกรุงเทพฯ ในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญฝ่ายการวิจัย (Research Specialist)

    แสวงหาสัจจธรรม
    ระหว่างที่ท่านอยู่ที่สำนักข่าวสารอเมริกันนั้น งานในหน้าที่ระดับหัวหน้าฝ่ายวิจัยฯ ทำให้มีความเคร่งเครียดในการทำงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ท่านจึงหาเวลาศึกษาและปฏิบัติธรรม ร่วมกับเพื่อนๆ ที่ทำงานอยู่ที่เดียวกัน โดยใช้เวลาพักกลางวัน ปิดประตูห้องทำงาน นั่งสมาธิกันประมาณวันละ 15-30 นาที และไปปฏิบัติธรรมที่วัดธาตุทองได้ 7 วันก่อนที่จะต้องเดินทางไปอเมริกา

    หลังจากพักอยู่ที่อเมริกาได้ระยะหนึ่ง พอให้สิ่งต่างๆ เข้าที่เข้าทางดีแล้ว ท่านก็เริ่มปฏิบัติภาวนาต่อ ทุกๆ คืนก่อนเข้านอน วันละ 1 ชั่วโมง มิได้ขาด จนปรากฏผลของสมาธิในระดับหนึ่ง สามารถเห็นภรรยาที่ประเทศไทยกำลังทำงานบ้านอยู่ได้ และได้จดหมายสอบถามดู ก็ปรากฏว่าเป็นเช่นนั้นจริง

    ศิษย์พบอาจารย์
    จากนั้นมาอาจารย์เสริมชัย โดยการแนะนำของพระอาจารย์ณัฐนันท์ กุลสิริ ได้ฝากตนเข้าเป็นศิษย์ของพระเดชพระคุณ พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) รองเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้ทำหน้าที่สืบทอดวิชชาธรรมกาย สืบต่อจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระเดชพระคุณท่านได้ต่อวิชชาธรรมกายชั้นกลาง และชั้นสูงให้กับอาจารย์เสริมชัยเป็นครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2516 ตรงกับวันขึ้น 11 ค่ำ เดือนอ้าย เวลา 17.30 น. ทันทีที่อาจารย์มงคลบุตร (อาจารย์เสริมชัย) กราบนมัสการถวายตัวเป็นศิษย์ของท่าน พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) ได้กล่าวแก่อาจารย์มงคลบุตรเพียงสั้นๆ แต่มีความล้ำลึกว่า "หาตัวมานานแล้ว เพิ่งพบ ดีแล้วที่มา เกือบจะสายไป" คือท่านเห็นด้วยใจมานานแล้ว แต่เพิ่งจะมาพบตัวจริงในคราวนี้

    เผยแผ่วิชชาธรรมกาย
    เมื่อได้พบของจริงในพระพุทธศาสนาเช่นนี้แล้ว ท่านจึงได้จัดตั้งโครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย และโครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน ขึ้น เพื่อเผยแพร่ธรรมปฏิบัตินี้ ทางสื่อมวลชน ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์ต่างๆ

    ในปี พ.ศ.2524 ได้ก่อตั้งมูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย และสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เพื่อบริหารโครงการทั้งสองนั้น แล้วได้จัดอบรมพระกัมมัฏฐานแด่พระภิกษุสามเณร และสาธุชนทั่วไปในปี พ.ศ. 2525 จนถึงปัจจุบัน

    อุปสมบท
    ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2529 ณ พัทธสีมา วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้รับฉายาว่า "ชยมงฺคโล" โดยมีเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ (สมัยที่ดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระพรหมคุณาภรณ์) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ (สมัยดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ พระธรรมธีรราชมหามุนี) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    ในปี 2534 เมื่อท่านได้บริหารกิจการเผยแผ่พระสัทธรรมให้เจริญขึ้นแล้ว ก็ได้ดำเนินขั้นตอนมาเป็นลำดับ จนกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนาขึ้น ชื่อ "วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

    ครั้นถึงเวลาอันเหมาะสม เมื่อท่านอุปสมบทได้ 5 พรรษา อายุได้ 62 ปี ได้ศึกษาภาคปริยัติจากสำนักเรียนวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จนสำเร็จ เปรียญธรรม 3 ประโยค และ นักธรรมเอก เป็นพระมหาเปรียญ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2534 ท่านจึงได้กราบลาพระเดชพระคุณหลวงพ่อ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มารับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงธรรมกาย หลวงป๋า ให้บูชา1500บาทครับ

    หลวงป๋ากล่อง.jpg หลวงป๋า.jpg หลวงป๋าหลัง.jpg
     
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    0n-jpg.jpg

    บางท่านยังอาจจะไม่เคยได้ยินกิตติศัพท์หรือแม้กระทั่งชื่อของหลวงปู่ฤทธิ์มาก่อน แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์และสุรินทร์กับผู้ที่นิยมวัตถุมงคลของเกจิอาจารย์ยุคปัจจุบันแล้ว หลวงปู่ฤทธิ์ท่านมีชาวบ้านชาวช่องนับถือและรู้จักกันดีเป็นอย่างยิ่ง มีลูกศิษย์ลูกหาที่นำวัตถุมงคลของท่านมาบูชา ติดตัว ติดบ้าน ติดร้านกันมาก วัตถุมงคลของท่านเป็นที่แพร่หลายมานับสิบปีโ
    ประวัติ หลวงปู่ฤทธิ์



    หลวงปู่ฤทธิ์ท่านเป็นพระเกจิดังเชื้อสายเขมรที่มีความเชี่ยวชาญด้านคาถาอาคมทั้งของไทย ลาว และเขมร อย่างหาผู้เทียบเคียงไม่ได้ ท่านเป็นพระที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตาอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นใครมาจากไหนฐานะ เป็นอย่างไร หลวงปู่ท่านจะให้การต้อนรับพูดคุยด้วยเป็นอย่างดี ไม่จำเป็นต้องนั่งรถยนต์ราคาแพงๆไปกราบ ท่านแล้วถึงจะได้พบหลวงปู่ นอกจากจะได้รับการต้อนรับขับสู้จากท่านอย่างไม่ถือเนื้อถือตัวแล้ว หลวงปู่ยังจะ ปลุกเสกวัตถุมงคลในมือของท่านอีกอย่างดีก่อนมอบให้ บางครั้งท่านก็จะจารเป็นยันต์ให้ บางครั้งท่านก็จะพรมน้ำมนต์ให้ วัตถุมงคลของท่านถือว่าเป็นสุดยอดไม่ว่าจะได้โดยตรงจากมือหรือที่ศูนย์พระเครื่องต่างๆก็ตาม ยังไม่พบว่าวัตถุมงคลของท่านมีของปลอมหรือเสริมโดยที่หลวงปู่ยังไม่ได้ปลุกเสก บรรดาผู้ที่บูชาวัตถุมงคลของท่าน ต่างก็พบกับอภินิหารแบบพลิกชะตาชีวิตให้อย่างทันตาเห็น ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน เมตตา มหานิยม โชคลาภ ค้าขาย เรียกเงินเรียกทอง เป็นต้น แม้ว่าทุกวันนี้จะเป็นยุค ไอเอ็มเอฟ ที่เศรษฐกิจฝืดเคือง ทำมาหากินลำบากกันถ้วนหน้า แต่คนที่บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ฤทธิ์มักจะได้พบกับสิ่งแปลกประหลาด เช่น ค้าขายดีขึ้นอย่างผิดปกติ มีโชคได้ลาภ ลองปืนไม่ออก เป็นต้น
    หลวงปู่ฤทธิ์เกิดวันอาทิตย์ที่ 13 เดือน 6 (พฤษภาคม) แรม 8 ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2460 ณ ตำบลทุ่งมน อำเภอประสาท จังหวัดสุรินทร์ ท่านบวชเณรเมื่อปี 2482 และบวชเป็นพระที่วัดเพชรบุรี ต.ทุ่งมน จ.สุรินทร์ เมื่อปี 2483 โดยมีหลวงพ่อแปะ วัดปราสาทธนาพร(บ้านพลวง) อำเภอประสาท เป็นพระอุปปัชฌาย์ หลังจากนั้นท่านมาจำพรรษาที่วัดปราสาทธนาพร เพื่อ ศึกษาพระธรรมกับหลวงพ่อแปะอยู่ 3 ปีจึงได้ย้ายไปจำวัดอยู่ที่วัดพลับ ตำบลทุ่งมน อีก 4 ปี หลวงปู่ฤทธิ์ย้ายไปอยู่ วัดบ้านกระนัง ตำบลปรือ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อปี 2490 ระหว่างที่อยู่วัดนี้ท่านได้ออกธุดงค์ไปเสาะแสวงหา ความรู้ทั้งทางธรรมและทางไสยศาสตร์ทั่วเขตอีสานจนตลอดเข้าไปในประเทศลาวและเขมร ท่านได้พัฒนาวัดบ้านกระนัง จนเจริญ มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย
    ในปี พ.ศ.2535 ท่านจึงได้ย้ายมาสร้างวัดชลประทานราชดำริ ที่บ้านกระทุ่ม ตำบลสูงเนิน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ตามพระราชดำริและได้จำพรรษาอยู่ที่นี่มาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากวัดชลประธานราชดำริเพิ่งเริ่มก่อตั้งมาไม่นาน ยังขาดถาวรวัตถุในวัดอยู่เป็นอันมาก ซึ่งในขณะนี้หลวงปู่ได้กำลังก่อสร้างศาลาการเปรียญเพื่อใช้เป็นที่อบรมพระสงฆ์และสามเณร รวมทั้งกุฏิสงฆ์ 2 ชั้น ก็กำลังก่อสร้างอยู่เช่นกัน ซึ่งปัจจัยในการก่อสร้างนั้นได้จากการให้บูชาวัตถุมงคล รวมถึงการที่บรรดา ลูกศิษย์ร่วมทำบุญในการทอดกฐินและการทอดผ้าป่า สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการทำบุญและรับวัตถุมงคลที่ช่วยเหลือ ท่านได้จริงๆ ในยุคไอเอ็มเอฟ โปรดอย่าลืมนึกถึง หลวงปู่ฤทธิ์ รตนโชโต พระเกจิชื่อดังชาวเขมรแห่งวัดชลประทานราชดำริ จังหวัดบุรีรัมย์
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    ลูกอมผงพราย หลวงปู่ฤทธิ์ รตฺนโชโต วัดชลประทานราชดำริ บุรีรัมย์ อ.เปล่ง บุญยืน ท่าตูม สุรินทร์ร่วมเสก
    ให้บููชา1000บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ
    คาถา : โอมละลวย มหาละลวย ละลวยหน้า ละลวยหลัง ละลวยทั้งอินทร์ พรหม ยมราช อากาส เทพบุตร เทพธิดา ละลวยทั้งแม่พระคงคา มาช่วยค้ำคู่สู่องค์ สัพพะสิทธิสวาหะ สวาโหม นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธาเอ็นดู ยะยินดี

    %E0%B8%AD-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87-jpg.jpg %E0%B8%AD-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%871-jpg.jpg %E0%B8%AD-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%872-jpg.jpg
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    หลวงพ่อเมียก วัดโคกกะเพอ สุรินทร์ วัตถุมงคลท่านมวลสารดี มวลสารอาถรรพย์ เสกเดี่ยวและเสกหมู่ มากประสพการณ์ครับ หายากแน่นอน ศิษย์และคนรู้ตามเก็บ

    พระปิดตาหลวงพ่อเมียก วัดโคกกะเพอ สุรินทร์ ให้บูชา 1000บาทครับ

    %E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B2123-jpg.jpg %E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B21234-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%95-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94-jpg.jpg 5%E0%B8%95-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    https://palungjit.org/threads/หลวงพ...าผู้มากไปด้วยบุญฤทธิ์-แห่งวัดโพธิ์คุณ.325209/

    _1_-3-jpg.jpg
    พระพุทธชินราชเสก๙วาระ หลวงพ่อพระมหาวิบูลย์ พุทธญาโณ วัดโพธิคุณ (สวนโพธิญาณ) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
    ให้บูชา500 บาทครับค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลพ.มหาวิบูลย์.jpg ลพ.มหาวิบูลย์หลัง.jpg ลพ.มหาวิบูลย์กระดาษ.JPG
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    showimage.jpg

    เหรียญที่ระลึกหล่อพระประธานวัดไผ่ล้อม หลวงพ่อเอียด บางบาล อยุธยา
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ
    ลพ.เอียด.jpg ลพ.เอียดหลัง.jpg ลพ.เอียดกล่อง.jpg
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    ประวัติ พระครูอาทรธรรมนิเทศก์ (ทองอยู่ อตฺตทีโป)
    tyoopic.jpg

    พระครูอาทรธรรมนิเทศก์ (ทองอยู่ อตฺตทีโป)

    อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าเสา เจ้าคณะตำบลท่าเสา

    1.ชาติภูมิ

    • พระครูอาทรธรรมนิเทศก์ (ทองอยู่ อตฺตทีโป) นามเดิม ทองอยู่ นามสกุล โชตะมังสะ นามฉายา อตฺตทีโป นามโยมบิดา ขุนศรีบรรณสาร (ทูป โชตะมังสะ)
    นามโยมมารดา นางเพิ่ม โชตะมังสะ

    • ชาติกาล วันอาทิตย์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 ปีวอก ตรงกับวันที่ 17 มกราคม พุทธศักราช 2439 ณ บ้านหมู่ 2 ตำบลท่าไม้ ำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
    2.สถานะเดิม

    • นายทองอยู่ โชตะมังสะ ต่อมาได้เปลี่ยนนามสกุลเป็น ศรีบรรณสาร การศึกษาจบมัธยมชั้นปีที่ 3 จากโรงเรียนบุญรังสฤษดิ์ วัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พ.ศ.2453 การทำงานได้รับราชการเป็นสมุห์บัญชี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี นายทองอยู่ ศรีบรณสาร ได้สมรสกับ นางอาบ ศรีสุพรรณ มีบุตร 3 คน คือ1. นายสมพงษ์ ศรีบรรณสาร ถึงแก่กรรม2. นาวาเอก สมพันธ์ ศรีบรรณสาร รน. ถึงแก่กรรม3. นายสมเผ่า ศรีบรรณสาร รับราชการตำแหน่งผู้ช่วยกรมป่าไม้ จังหวัดนครสวรรค์ ถึงแก่กรรม
    3.บรรชาอุปสมบท

    • พระทองอยู่ ฉายา อตฺตทีโป บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พุทธศักราช 2476 ณ วัดนางสาว อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยมี1.พระครูถาวรสมณศักดิ์ (หลวงพ่อคง) วัดหงอนไก่ เป็นพระอุปัชฌาย์2.พระเพี้ยน จนฺทสโร วัดนางสาว เป็นพระกรรมวาจาจารย์3.พระสุนทร คุณชารี วัดนางสาว เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    4.การศึกษาธรรม

    • พระครูอาทรธรรมนิเทศก์ (ทองอยู่ อตฺตทีโป) ศึกษาจนสอบได้นักธรรมตรี โท และเอก มีความสามารถพิเศษทางพิมพ์ดีด
    • พ.ศ.2479 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักวัดสุวรรณาราม ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
    • พ.ศ.2480 พระครูสมณศักดิ์ เจ้าคณะอำเภอกระทุ่มแบน ทำหนังสือรายงาน เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาคร จัดส่งพระทองอยู่มาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าเสา พระทองอยู่ได้ร่วมกับชาวบ้านบูรณะวัดท่าเสา ซึ่งแต่เดิมเป็นวัดร้างต่อมาได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาเพื่อสร้างอุโบสถ
    • พ.ศ.2482 ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน หลังคามุงสังกะสีแต่หาผู้ที่จะมาเป้นครูสอนยาก พระทองอยู่ต้องทำหน้าที่สอนนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 – 4
    • พ.ศ.2485 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่โรงเรียนวัดท่าเสา
    5.งานด้านการปกครอง

    • พ.ศ.2480 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าเสา ตำบลท่าเสา อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงพ่อทองอยู่วัดท่าเสา สมุทราสาคร
    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ลป.ทองอยู่.jpg ลป.ทองอยู่หลัง.jpg
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    จัดส่ง

    EI 1189 7353 0 TH ปลวกแดง

    EI 1189 7354 3 TH คำเขื่อนแก้ว

    ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...