อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    c_oc=AQmQHLHwH5TuP35QsnRzZM4z-xdn0S8R_FAHH-1r6C4l8Qi20Q1ctRT3cZgiN2yd_2E&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg




    +++ อย่าศึกษาในลักษณะหลับหูหลับตาปฏิบัติตามอย่างเดียว +++

    พระอาจารย์กล่าาว่า "การศึกษาในปัจจุบันของเราทั้งหลาย #อย่าศึกษาในลักษณะหลับหูหลับตาปฏิบัติตามอย่างเดียว ให้พยายามศึกษาเปรียบเทียบกับพระไตรปิฎกว่า #ผู้สอนนั้นสอนนอกเหนือจากพระไตรปิฎกหรือไม่ ? ไม่ใช่เขาอ้างว่าสอนตรงกับพระไตรปิฎกแล้วเราก็เชื่อเลย ถ้าเห็นว่าพระไตรปิฎก ๔ - ๕ เล่มอ่านยากมาก โดยเฉพาะฉบับอรรถกถามหามกุฎราชวิทยาลัย มีถึง ๙๑ เล่มด้วยกัน #เราก็ไปอ่านวิสุทธิมรรคแทน

    วิสุทธิมรรคมีอยู่ทั้งหมด ๓ นิเทส คือ สีลนิเทส สมาธินิเทสและปัญญานิเทส ถ้ายังเห็นว่าวิสุทธิมรรคเล่มหนามหึมาใช้แทนหมอนหนุนหัวได้ อ่านยาก เนื้อหายังมากอยู่ #ก็ไปอ่านคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐานของหลวงพ่อฤๅษีวัดท่าซุง #นั่นคือวิสุทธิมรรรคฉบับย่อ สอบสวนทวนความดู ถ้าสิ่งทั้งหลายที่สอนมาเนื้อหาไม่ผิดเพี้ยนไปจากนั้น ก็เชื่อได้ว่าสอนตรงตามพระไตรปิฎก #แต่ให้ดูด้วยว่าตัวผู้สอนประพฤติตนอย่างไร

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า ยถาการี ตถาวาที #พระองค์ท่านทำอย่างไรก็พูดอย่างนั้น ยถาวาที ตถาการี พระองค์ท่านตรัสอย่างไรก็ทำอย่างนั้น แปลว่าไม่มีเบื้องหลังให้คนอื่นขุดคุ้ยได้ #เพราะว่าทรงทำเหมือนกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง แต่ถ้าอยู่ในลักษณะทำอย่างหนึ่งพูดอย่างหนึ่ง หรือว่าพูดอย่างหนึ่งแล้วทำอีกอย่างหนึ่ง ขอให้เข้าใจไว้ก่อนว่ายังไม่ดีจริง

    ดังนั้น หลักธรรมในพุทธศาสนาของเรา นอกจากประพฤติปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของตนเองแล้ว ถ้าหากว่าเราพร้อมใจกันทำจำนวนมาก ๆ ด้วยกัน #ก็จะสร้างความเข้มแข็งมั่นคงให้แก่ประเทศชาติและพระศาสนาของเราด้วย"

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    (หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน)
    งานหล่อหลวงพ่อนาก วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=5aa972b478a5a918ab1f132fef82e0ae.jpg

    ?temp_hash=5aa972b478a5a918ab1f132fef82e0ae.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    c_oc=AQmCLAIZ6qZENOSR2uwuCI0KyPGEf2mu9bgtNkoLqE7XvUcXcBYYXxDEZq3ox5IHb6k&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg





    ทำยังไง จะได้ทำทาน 24 ชั่วโมง?

    ภาวนา ภาวนาทาน บ่แม่นทำได้ 24 ชั่วโมง
    แต่ทำได้ตลอดชีวิต สรณัง คัจฉามิ นั่นชื่อว่าถึงที่สุด
    อนุโมทนาทานที่คนอื่นทำก็เป็นบุญ
    ภาวนา ก็ให้ทานกิเลสออกจากใจ

    ธรรมโอวาท
    หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญญมากโร
    ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๘
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    c_oc=AQnW1i8bvBQtZZvckAh4Z16OBX0b8VYuYGD4lOOxJDa2Y8Evlo7z7a77PzI1CmAEO6c&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=6502f87f880a3aea0bf7a67bc0387c71.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=5b696148920a0b7916787116a6de3f70.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ข้อปฏิบัติ ๑๒ ประการ เพื่อบรรลุอรหัตตผล คือ (๑) ศรัทธา (๒) การเข้าไปหา (๓) การนั่งใกล้ (๔) การเงี่ยโสตลงสดับ (๕) การฟังธรรม (๖) การทรงจำธรรม (๗) การพิจารณาเนื้อความ (๘) ความเพ่งพินิจธรรม (๙) ฉันทะ (๑๐) อุตสาหะ (๑๑)การไตร่ตรอง (๑๒) การอุทิศกายและใจ
    ***********
    [๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการบรรลุอรหัตตผลด้วยขั้นเดียวเท่านั้น แต่การบรรลุอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการบำเพ็ญสิกขา โดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญกิริยาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญปฏิปทาโดยลำดับ

    การบรรลุอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการบำเพ็ญสิกขาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญกิริยาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญปฏิปทาโดยลำดับ เป็นอย่างไร

    คือ กุลบุตรในศาสนานี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปหา เมื่อเข้าไปหาย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลงสดับ เงี่ยโสตลงสดับแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังธรรมแล้วย่อมทรงจำไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว เมื่อพิจารณา
    เนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรเพ่งพินิจ เมื่อมีการเพ่งพินิจธรรมอยู่ ฉันทะย่อมเกิด กุลบุตรนั้นเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมอุทิศกายและใจ เมื่ออุทิศกายและใจแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง
    สัจจะอันยอดเยี่ยมด้วยนามกาย และเห็นแจ่มแจ้งสัจจะอันยอดเยี่ยมนั้นด้วยปัญญา

    ภิกษุทั้งหลาย ถ้าศรัทธาไม่มี การเข้าไปหา การนั่งใกล้ การเงี่ยโสตลงสดับ การฟังธรรม การทรงจำธรรม การพิจารณาเนื้อความ ความเพ่งพินิจธรรม ฉันทะ อุตสาหะ การไตร่ตรอง และการอุทิศกายและใจก็ไม่มี เธอทั้งหลายเป็นผู้ปฏิบัติพลาด
    เป็นผู้ปฏิบัติผิด โมฆบุรุษเหล่านี้ได้ก้าวออกไปจากธรรมวินัยนี้ไกลเท่าไร

    [๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย คำอธิบายสัจจะ ๔ ประการมีอยู่ เมื่อยกคำอธิบายดังกล่าวขึ้นมาแสดง วิญญูชนพึงเข้าใจเนื้อความได้ด้วยปัญญาในไม่ช้า เราจักแสดงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักเข้าใจถึงเนื้อความได้”

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นคนเช่นไร และผู้เข้าใจถึงธรรมได้ เป็นคนเช่นไร”

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับแต่อามิสอยู่ ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นก็ยังไม่ต่อรองเลยว่า ‘เมื่อสิ่งเช่นนี้พึงมีแก่เรา เราพึงทำสิ่งนั้น เมื่อสิ่งเช่นนี้ไม่พึงมีแก่เรา เราก็ไม่พึงทำสิ่งนั้น’ ตถาคตไม่ข้องอยู่ด้วยอามิสโดยประการทั้งปวงจะสมควรกับการต่อรองหรือ สาวกผู้มีศรัทธาผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา ย่อมมีหลักปฏิบัติว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาเราเป็นสาวก พระผู้มีพระภาคทรงรู้ เราไม่รู้’

    คำสอนของศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา

    สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา ย่อมมีหลักปฏิบัติว่า

    ‘หนัง เอ็น และกระดูกจงเหือดแห้งไปเถิด เนื้อและเลือดในสรีระของเรา จงเหือดแห้งไปก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรนั้น’
    ภิกษุทั้งหลาย สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา จะพึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ (๑) อรหัตตผลในปัจจุบัน (๒) เมื่อมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จะเป็นอนาคามี”
    ………
    ข้อความบางตอนใน กีฏาคิริสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=20
    อรรถกถากีฏาคิริสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222

    หมายเหตุ ข้อปฏิบัติ ๑๒ ประการ เพื่อบรรลุอรหัตตผล คือ (๑) ศรัทธา (๒) การเข้าไปหา (๓) การนั่งใกล้ (๔) การเงี่ยโสตลงสดับ (๕) การฟังธรรม (๖) การทรงจำธรรม (๗) การพิจารณาเนื้อความ (๘) ความเพ่งพินิจธรรม (๙) ฉันทะ (๑๐) อุตสาหะ (๑๑)การไตร่ตรอง (๑๒) การอุทิศกายและใจ

    นอกจากนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสสอนให้ภิกษุยึดหลักศรัทธาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดา ตนเป็นสาวก ควรปฏิบัติตามคำสั่งสอนด้วยความเพียรอย่างสูงสุดคือ ตั้งใจว่า “แม้หนัง เอ็น กระดูก เนื้อและเลือด จะเหือดแห้งไป ถ้ายังไม่บรรลุ อรหัตตผลก็จักไม่ลุกขึ้น” ทรงสรุปว่า สาวกผู้มีศรัทธาเมื่อปฏิบัติตามที่ทรงแนะนำจะได้รับผล ๒ อย่าง คือ อรหัตตผล หรืออนาคามิผล

    c_oc=AQlwRVDucYb6_xYhNuvDdVLwfTE44OanDl5bYyDhoZi0-OWVACF4MqD6biQ501Ur_MA&_nc_ht=scontent.fbkk5-3.jpg
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น
    ***********
    [๑๖๔] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ... นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกฏฐิกะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น

    ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นอนัตตา คือ จักขุเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในจักขุนั้น รูปเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในรูปนั้น จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในจักขุวิญญาณนั้น จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในจักขุสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา เธอพึง
    ละฉันทะในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นอนัตตานั้น ฯลฯ

    ชิวหาเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในชิวหานั้น ฯลฯ มโนเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในมโนนั้น ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นอนัตตานั้น
    โกฏฐิกะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”
    ......................
    โกฏฐิกอนัตตสูตร สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=142

    หมายเหตุ โกฏฐิกอนัตตสูตร ว่าด้วยทรงแสดงอนัตตาแก่พระมหาโกฏฐิกะ คือ ท่าน พระมหาโกฏฐิกะทูลขอให้ทรงแสดงธรรมเพื่อหลีกออกไปอยู่คนเดียว พระผู้มีพระภาค จึงทรงแสดงว่า อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ สัมผัส ๖ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัส ๖ เป็นปัจจัย เป็นอนัตตา ให้ละความพอใจในอายตนะเหล่านั้น
    #อนัตตา

    c_oc=AQn_aGKqXMjLMAG0ELzguOWZuyM2ntdPYa-6C1wlBvM6iDJAXTW1yo_H6txmpnWg-Fc&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    อนุสสติ ๑๐ อย่าง เป็นเหตุให้เกิดสติ
    *************
    (มีสติด้วยเหตุอีก ๑๐ อย่าง คือ)
    ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงพุทธคุณ
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมคุณ
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงสังฆคุณ
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
    ๕. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
    ๖. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา
    ๗. ชื่อว่ามีสติ เพราะตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
    ๘. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา
    ๙. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกทั่วไปในกาย(ให้เห็นว่าไม่งาม)
    ๑๐. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับ(กิเลสและความทุกข์) คือนิพพาน
    …….
    ข้อความบางตอนใน กามสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=1

    พระสารีบุตรเถระแสดงวิปัสสนาโดยเปรียบด้วยโครงกระดูกเป็นต้น และเปรียบด้วยกองไฟเป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงอุปจารสมาธิ จึงกล่าวคำว่า พุทฺธานุสฺสตึ ภาเวนฺโต เป็นต้น.

    บรรดาบทเหล่านั้น สตินั่นแหละ ชื่อว่าอนุสสติ เพราะเกิดขึ้นบ่อยๆ.

    อนึ่ง ชื่อว่าอนุสสติ เพราะอรรถว่าสติที่สมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เพราะเป็นไปในฐานะที่ควรให้เป็นไปนั่นเอง ดังนี้ก็มี.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระพุทธเจ้า ชื่อว่าพุทธานุสสติ. คำว่า พุทธานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระพุทธคุณ, มีความเป็นพระอรหันต์เป็นต้นเป็นอารมณ์ซึ่งพุทธานุสสตินั้น.
    บทว่า ภาเวนฺโต ได้แก่ เจริญอยู่คือเพิ่มพูนอยู่.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระธรรม ชื่อว่าธรรมานุสสติ, คำว่า ธรรมานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระธรรมคุณ, มีความเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่าสังฆนุสสติ. คำว่า สังฆานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระสังฆคุณ, มีความเป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นต้นเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภศีล ชื่อว่าสีลานุสสติ. คำว่า สีลานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีศีลคุณ, มีความไม่ขาดเป็นต้นของตนเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภจาคะ ชื่อว่าจาคานุสสติ. คำว่า จาคานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีจาคคุณ, มีความเป็นผู้มีจาคะอันสละแล้วของตนเป็นต้น เป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภเทวดา ชื่อว่าเทวตานุสสติ. คำว่า เทวตานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีคุณมีศรัทธาของตนเป็นต้น ตั้งเทวดาทั้งหลายไว้ในฐานะพยานเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภลมหายใจเข้าออก ชื่อว่าอานาปานัสสติ. คำว่า อานาปานัสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตแห่งลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความตาย ชื่อว่ามรณานุสสติ. คำว่า มรณานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีความตายกล่าวคือความแตกแห่งชีวิตินทรีย์ที่นับเนื่องในภพหนึ่งเป็นอารมณ์.
    สติที่ไป, คือเป็นไปในสรีระที่นับว่ากาย เพราะเป็นความเจริญ คือเป็นบ่อเกิดของสิ่งปฏิกูลทั้งหลายมีผมเป็นต้นที่น่าเกลียด ชื่อว่า กายคตาสติ. เมื่อควรจะกล่าวว่า กายคตสติ ท่านกล่าวว่า กายคตาสติ เพราะไม่รัสสะ แม้ในที่นี้ท่านก็กล่าวคำนี้เป็นกายคตาสติ เหมือนกัน. คำว่า กายคตาสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตปฏิกูลในส่วนของร่างกายมีผมเป็นต้นเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความสงบ ชื่อว่าอุปสมานุสสติ คำว่า อุปสมานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระนิพพานอันเป็นที่เข้าไปสงบทุกข์ทั้งปวงเป็นอารมณ์.

    ผู้เจริญปฐมฌานอันประกอบด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญทุติยฌานอันประกอบด้วยปิติ สุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญตติยฌานอันประกอบด้วยสุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญจตุตถฌานอันประกอบด้วยอุเบกขาและจิตเตกัคคตา ฯลฯ แม้ผู้เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย.

    พระสารีบุตรเถระแสดงการละกามโดยการข่มไว้ด้วยประการฉะนี้.
    ……..
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถากามสุตตนิทเทสhttp://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…

    c_oc=AQkD5u4wBKyJpi_5vRYdhbK5aU1dPxeQ4k4e9I4uT24GQgsqfQRzssP2iCTBQ5OUiis&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    วิธีละความโกรธ


    c_oc=AQlYkZ3gYWHvL3pq6093c_M932Z1wvNcosp0JFQm1OyDT4JHz1au7L35UIMzu2b-QfA&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    พระไตรปิฎกศึกษา

    อุบายวิธี ๑๒ อย่างสำหรับกำจัดความโกรธ
    *********************
    ถาม : อะไร คือ อุบายวิธีที่จะกำจัดความโกรธได้สำเร็จ ?
    ตอบ : (๑) แบ่งปันให้ประโยชน์แก่คนที่ตนเกลียด (๒) คิดถึงความดีของเขา (๓) ความปรารถนาดี (๔) ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน (๕) การใช้หนี้กรรม (๖) ความเป็นญาติ (๗) ความผิดพลาดของตน (๘) ไม่ควรพิจารณาทุกข์ที่ทำให้ตนเอง (๙) พิจารณาธรรมชาติของอินทรีย์ (๑๐) ความดับไปเพียงชั่วขณะของสภาพทั้งหลาย (๑๑) ขันธ์ (๑๒) สุญตา โยคีควรพิจารณาอย่างนี้
    ***************
    ๑. แบ่งปันให้ประโยชน์แก่คนที่ตนเกลียด คือ ถึงเราจะโกรธเขา หรือ เขาจะโกรธเรา เมื่อเขาขอเราควรให้ของแก่เขา และเมื่อเขาให้ของเราควรรับของนั้นด้วยความเต็มใจ นอกจากนี้ยังควรพูดดีและทำดีต่อเขา

    ๒. คิดถึงความดีของเขา เช่นคิดว่า “นี้เป็นความดี นี้ไม่ใช่ความชั่ว”, อุปมาเหมือนเมื่อแหวกแหนออกแล้ว บุคคลย่อมตักน้ำได้ ถ้าเขาไม่มีความดี เราควรแผ่เมตตาว่า “บุคคนี้ไม่มีความดี เขาอยู่เป็นทุกข์แน่แท้”

    ๓. ความปรารถนาดี เช่นคิดว่า ถ้าเขาเป็นคนไม่เคารพผู้อื่น หรือ เขาไม่ได้รับความเคารพ เขาควรทำความปรารถนาดีให้เกิดขึ้น

    ๔. ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน คือ บุคคคลควรพิจารณาถึงกรรมชั่วของตนว่า “กรรมที่เราทำ จะทำความโกรธให้เกิดขึ้นในผู้อื่น”

    ๕. การใช้หนี้กรรม เช่นคิดว่า “เพราะกรรมในอดีตของเรา ผู้อื่นจึงติเตียนเรา บัดนี้ เราปลดจากหนี้ เมื่อน้อมนึก ถึงการใช้หนี้กรรมได้อย่างนี้ เราสบายใจ”

    ๖. ความเป็นญาติ คือ คิดว่าสัตว์ทั้งหลายเกิดสืบต่อกันและกันในสังสารวัฏ เช่นคิดว่า “นี้เป็นญาติในอดีตชาติของเรา”

    ๗. ความผิดพลาดของตน คือ การมองตน (อัตสัญญา) เห็นความผิดพลาดของตนเอง ว่า “ความโกรธเกิดขึ้นเพราะเรา เราได้ทำบาปเพราะเขา”

    ๘. ไม่ควรพิจารณาทุกข์ที่ทำให้ตนเอง คือ การไม่ควรใส่ใจทุกข์ ซึ่งไม่เกี่ยวกับความโกรธ เช่นคิดว่า “เพราะความโง่เขลา เราจึงเห็นทุกข์ของตัวเองว่าเป็นนิวรณ์”

    ๙. พิจารณาธรรมชาติของอินทรีย์ คือคิดว่า “การประสบกับสิ่งเป็นที่รักและสิ่งอันไม่เป็นที่รักเป็นเรื่องธรรมดาของอินทรีย์ เพราะเหตุนั้นเราจึงเกลียด เพราะเหตุนั้นเราจึงขาดสติ”

    ๑๐. ความดับไปเพียงชั่วขณะของสภาพทั้งหลาย คือคิดว่า “เราประสบทุกข์เพราะความเกิดจากเขา ทั้งหมดนี้ดับไปในชั่วขณะจิตเดียว เราโกรธต่อสภาพใดในตัวเขาหรือ?”

    ๑๑. ขันธ์ คือคิดว่า “ขันธ์ภายในและภายนอก ทำให้เกิดทุกข์ เป็นไปไม่ได้สำหรับเราที่โกรธต่อส่วนใด ๆ หรือที่ใด ๆ”

    ๑๒. สุญตา คือคิดว่า “ความจริงไม่สามารถพูดได้ว่า เขาทำให้เกิดทุกข์ หรือ เราประสบทุกข์ เพราะกายนี้เป็นผลแห่งเหตุปัจจัยทั้งหลาย ไม่มีความมีอยู่คืออัตตาในขันธ์ทั้งหลาย”
    …………..
    หมายเหตุ สรุปความจากอุบายวิธี ๑๒ อย่างสำหรับกำจัดความโกรธ ในหนังสือวิมุตติมรรค รจนาโดยพระอุปติสสเถระ แปลโดย พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ, หน้า ๑๗๕ -๑๗๗.
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    c_oc=AQk2QwfE1cQMKAM6yPT05kecD_jouFhGCc10Y0FP5QajQk8uhSJGMI4-JsQdXGpxBDs&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    กายคตาสติ
    **************
    สติที่ไป, คือเป็นไปในสรีระที่นับว่ากาย เพราะเป็นความเจริญ คือเป็นบ่อเกิดของสิ่งปฏิกูลทั้งหลายมีผมเป็นต้นที่น่าเกลียด ชื่อว่า กายคตาสติ.

    เมื่อควรจะกล่าวว่า กายคตสติ ท่านกล่าวว่า กายคตาสติ เพราะไม่รัสสะ แม้ในที่นี้ท่านก็กล่าวคำนี้เป็นกายคตาสติ เหมือนกัน. คำว่า กายคตาสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตปฏิกูลในส่วนของร่างกายมีผมเป็นต้นเป็นอารมณ์.
    ……………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถากามสุตตนิทเทส
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=1&p=3&fbclid=IwAR0qw8L5HvoS_H4HuGnvJUFvvXfOOV-lzv2bW1bm56wf6CDP-1BZkiAJewI#อนุสสติ

    (มีสติด้วยเหตุอีก ๑๐ อย่าง คือ)
    ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงพุทธคุณ
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมคุณ
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงสังฆคุณ
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
    ๕. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
    ๖. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา
    ๗. ชื่อว่ามีสติ เพราะตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
    ๘. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา
    ๙. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกทั่วไปในกาย(ให้เห็นว่าไม่งาม)
    ๑๐. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับ(กิเลสและความทุกข์) คือนิพพาน
    …….
    ข้อความบางตอนใน กามสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=1



    c_oc=AQkspRk-H1FMbmKjKEHpyC9LmBJJTw--FnDwQy0rMRpFLrDu733u_VSGlHP0x-E2QOY&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ธรรมที่ก่อให้เกิดปัญญา ๔ ประการ
    **********
    [๒๔๘] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญด้วยปัญญา
    ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. สัปปุริสสังเสวะ (การคบหาสัตบุรุษ)
    ๒. สัทธัมมัสสวนะ (การฟังสัทธรรม)
    ๓. โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย)
    ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)
    ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญด้วยปัญญา
    ………….
    ปัญญาวุฑฒิสูตร อาปัตติภยวรรค อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=141

    หมายเหตุ ธรรมที่ก่อให้เกิดปัญญา ๔ ประการ คือ การคบหาสัตบุรุษ การฟังธรรมของสัตบุรุษ การมนสิการธรรมนั้น และการปฏิบัติตามธรรมนั้น


    c_oc=AQlHVDvUzfE4f3s5ySymzjfR4nO6mjh8ffenti_HdIBbRjMsD88b1x4kx892yf-X208&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    เรื่อง "สมถวิปัสสนา ฉลาดในการพักจิตเดินจิต"

    (โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

    การนอน การสงบเข้าฌาณ เป็นอาหารของจิตและร่างกายอย่างหนึ่ง สมถะ ต้องพักจิตสอบอารมณ์ ส่วน วิปัสสนา จิตเดินไตรลักษณ์ให้รู้อริยสัจ เหนื่อยแล้วเข้าพักจิตพักจิตหายเหนื่อยแล้ว จิตตรวจอริยสัจอีกดังนี้ ฉะนั้นให้ฉลาดการพักจิต การเดินจิต ทั้งวิปัสสนาและสมถะ พระโยคาวจรเจ้าทิ้งไม่ได้ ชำนิชำนาญทั้งสองวิธี จึงเอาตัวพ้นจากกิเลสทั้งหลายไปได้ เป็นมหาศีล เป็นมหาสมาธิ เป็นมหาปัญญา มีศีลทั้งอย่างหยาบอย่างกลาง อย่างละเอียด พร้อมทั้งจิตเจตสิก พร้อมทั้งกรรมบถ ๑๐ ไม่กระทำผิดในที่ลับและที่แจ้ง สว่างทั้งภายในและภายนอก มีมหาสติรอบคอบหมด วิโมกข์ วิมุติ อกุปธรรม จิตบริสุทธิ์ จิตปกติเป็นจิตพระอรหันต์ สว่างแจ้งทั้งภายนอก ภายในสว่างโร่ ปุถุชนติเตียนเกิดบาป เพราะพระอรหันต์บริสุทธิ์ กายเป็นชาตินิพพาน วาจา ใจ เป็นชาตินิพพาน นิพพานมี ๒ อย่าง นิพพานยังมีชีวิตอยู่ ๑ นิพพานตายแล้ว ๑

    บันทึกธรรมโดย หลวงปู่หลุย จันทสาโร
    พ.ศ. ๒๔๘๓ ณ วัดป่าโนนนิเวศน์ จ.อุดรธานี
    จากหนังสือ “บูรพาจารย์”
    โดยมูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๔๔

    c_oc=AQlCjiZmEfjB2jfmZ1gnO6ZRW1PtPwZzabHDIAmBMODxHa4xbjEndmrzwfIQv_SqyTE&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    เรื่อง "อย่าสำคัญตนยกตัวว่าเก่งกาจฉลาดรอบรู้"

    (คติธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

    อย่าสำคัญว่าตนเองเก่งกาจสามารถฉลาดรู้กว่าเขาเลย ถึงกับสร้างความมืดมิดปิดตาทับถมตัวเอง จนไม่มีวันสร่างซา เมื่อถึงเวลาจนตรอกอาจจนยิ่งกว่าสัตว์ ยังไม่เตรียมทราบไว้เสียแต่บัดนี้ ซึ่งอยู่ในฐานะอันควร เมื่อมีผู้เตือนสติ ควรยึดมาเป็นธรรมคำสอน จะเป็นคนมีขอบเขตมีเหตุผล ไม่ทำตามความอยาก เมื่อพยายามฝ่าฝืนให้เป็นไปตามทางของนักปราชญ์ได้ จะประสบผลคือความสุขในปัจจุบันทันตา แม้จะมิได้เป็นเจ้าของเงินล้าน แต่มีทางได้รับความสุขจากสมบัติและความประพฤติดีของตน

    c_oc=AQlYo_M6OL47FRuSHP1u26iPSzcI6UtUVDfs0nJIVqAFAkg3JNHybXhoyTgO8YWtc60&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    ----------------------------------------------

     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “บุคคลนี้มีราคจริต บุคคลนี้มีโทสจริต บุคคลนี้มีโมหจริต บุคคลนี้มีวิตกจริต บุคคลนี้มีสัทธาจริต บุคคลนี้มีญาณจริต”
    ***********
    พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยพุทธจักขุ เป็นอย่างไร
    คือ พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักขุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักขุ ผู้มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักขุมีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี บางพวกเป็นผู้ไม่เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี เหมือนในกอบัวเขียว ในกอบัวแดง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำและน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำตั้งอยู่เสมอผิวน้ำ ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดงหรือดอกบัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นระดับน้ำ น้ำไม่ติดเปื้อนอยู่เลย

    ฉันใด พระผู้มีพระภาค เมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักขุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักขุ ผู้มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักขุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี บางพวกเป็นผู้ไม่เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี ฉันนั้นเหมือนกัน

    พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “บุคคลนี้มีราคจริต บุคคลนี้มีโทสจริต บุคคลนี้มีโมหจริต บุคคลนี้มีวิตกจริต บุคคลนี้มีสัทธาจริต บุคคลนี้มีญาณจริต”

    พระผู้มีพระภาคย่อมตรัสอสุภกถาแก่บุคคลราคจริต ตรัสการเจริญเมตตาแก่บุคคลโทสจริต ย่อมทรงแนะนำบุคคลโมหจริตให้ดำรงอยู่ในการเล่าเรียน การไต่ถาม การฟังธรรมตามกาล การสนทนาธรรมตามกาล การอยู่ร่วมกับครู ย่อมตรัสอานาปานสติแก่บุคคลวิตกจริต ตรัสบอกนิมิตที่น่าเลื่อมใส ความตรัสรู้ชอบของพระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรมการปฏิบัติชอบของพระสงฆ์ และศีลของตนแก่บุคคลสัทธาจริต ย่อมตรัสนิมิตแห่งวิปัสสนา มีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์ มีอาการเป็นอนัตตาแก่บุคคลญาณจริต…
    ……….
    ข้อความบางตอนใน ตุวฏกสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=14

    ดูเพิ่มเติมใน อรรถกถาตุวฏกสุตตนิทเทส http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=699

    c_oc=AQlpXk4g2eQKK7f_ZeQKG4BPWSXIY33lM44xc0t8vdenrQFXnbG_xFHPtzkX2OLGbzU&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    c_oc=AQmWRqpQIeWci14W8QTXdlbsWxSHceqKJcM2VKv4a2IdGdHQsgOdl4nC5dDQnaoOJAo&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    พระโสณะผู้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุเป็นพระอรหันต์
    **************
    ขณะที่พระโสณะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ท่านเกิดความคิดคำนึงว่า ตนเองก็บำเพ็ญเพียรมาอย่างหนัก ไฉนจึงไม่บรรลุธรรมชั้นสูง น่าจะลาสิกขาออกไปอยู่ครองเรือน

    พระผู้มีพระภาคทรงทราบเรื่องนั้นด้วย พระญาณแล้ว จึงเสด็จไปปรากฏต่อหน้าท่านพระโสณะด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ทรงแสดงธรรมอุปมาด้วยพิณ แล้วตรัสว่า “โสณะ เช่นเดียวกัน ความเพียรที่ปรารภเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ฉะนั้น เธอจงตั้งความเพียรให้พอดี จงปรับอินทรีย์ให้เสมอกันและจงถือเอานิมิตในความเสมอกันนั้น”

    ต่อมาท่านพระโสณะได้ตั้งความเพียรให้พอดี ปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน และถือเอานิมิตในความเสมอกันนั้น ได้หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ได้บรรลุอรหัตตผล

    เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค กราบทูลว่า พระอรหันต์น้อมไปในธรรม ๖ ประการ ซึ่งเป็นธรรมใช้แทนอรหัตตผล คือ (๑) เนกขัมมะ (๒) ปวิเวก (๓) ความไม่เบียดเบียน (๔) ความสิ้นตัณหา (๕) ความสิ้นอุปาทาน (๖) ความไม่ลุ่มหลง และท่านได้อธิบายขยายความแห่งธรรมทั้ง ๖ ประการโดยพิสดาร
    ..........
    ดูรายละเอียดใน โสณสูตร อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=306

    และอรรถกถาโสณสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=326
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ความไม่ประมาท
    *************
    (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
    [๒๑] ความไม่ประมาท เป็นทางแห่งอมตะ
    ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย...

    ดูเพิ่มเติม
    c_oc=AQmMLh1wNTMJgepkTG1oXLGJRpN0Z1itE6nEK7sOkJ0kSZt2YyMg2lerqwA-vv4xaaI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    c_oc=AQn_VVo3pIIUcUnCF1TN5K5yUW4WbxCOCq7dBSc5lXIPwryc2INf5BDk1y-s6MpeX6c&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=e0c0ac19e3b1c9b4e0ace8e12eae86ca.jpg
    ?temp_hash=e0c0ac19e3b1c9b4e0ace8e12eae86ca.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ฌ1.jpg
      ฌ1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      118.8 KB
      เปิดดู:
      88
    • ฌ2.jpg
      ฌ2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      143.3 KB
      เปิดดู:
      161
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...