เรื่องเด่น เรือนเสมือนญาติ-วัดอมรินฯที่พักผู้ป่วยยากไร้-ศิริราชพยาบาล

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 10 พฤศจิกายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b8aae0b8a1e0b8b7e0b8ade0b899e0b88de0b8b2e0b895e0b8b4-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8ade0b8a1e0b8a3e0b8b4.jpg
    เรือนเสมือนญาติ-วัดอมรินฯที่พักผู้ป่วยยากไร้-ศิริราชพยาบาล


    เรือนเสมือนญาติ-วัดอมรินฯที่พักผู้ป่วยยากไร้-ศิริราชพยาบาล – โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เป็นโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียอาคเนย์ โดยมีจำนวนผู้ป่วยนอกต่อวันถึงประมาณ 8,000-10,000 คน พบผู้ป่วย และญาติผู้ยากไร้ส่วนหนึ่งที่มีนัดต้องพบแพทย์ เพื่อรักษาอย่าง ต่อเนื่อง

    8aae0b8a1e0b8b7e0b8ade0b899e0b88de0b8b2e0b895e0b8b4-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8ade0b8a1e0b8a3e0b8b4-1.jpg
    เรือนเสมือนญาติ

    แต่มีปัญหาการเดินทางไป-กลับโรงพยาบาล ขาดทั้งปัจจัย และที่พักอาศัย

    “เรือนเสมือนญาติ” ริเริ่มจัดตั้งโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 โดย นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เข้ากราบนมัสการหารือกับพระพิศาล พัฒนกิจ เจ้าอาวาสวัดอมรินทราราม ให้อนุญาตจัดทำโครงการนี้

    8aae0b8a1e0b8b7e0b8ade0b899e0b88de0b8b2e0b895e0b8b4-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8ade0b8a1e0b8a3e0b8b4-2.jpg
    ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล

    พระสุนทรกิจจาภิวัฒน์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอมรินทราราม สนับ สนุนทุนก้อนแรกในการดำเนินงานจัดทำโครงการ และให้การสนับสนุนตลอดมา

    โดยมี พระครูสมุห์ภักดี ยตินธโร ซึ่งเป็นศิษย์เก่ารุ่นแรกของวิทยาลัยศาสนศึกษา มหา วิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับอาสาดูแลดำเนินโครงการ

    8aae0b8a1e0b8b7e0b8ade0b899e0b88de0b8b2e0b895e0b8b4-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8ade0b8a1e0b8a3e0b8b4-3.jpg
    วัดอมรินทราราม

    นพ.อภิชาติกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโครงการเรือนเสมือนญาติ ว่า เป็นการช่วยลดความกังวลใจเรื่องที่พักของผู้ป่วยและญาติ เมื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช โดยเป็นการจัดหาที่พักชั่วคราวให้กับผู้ป่วย และญาติที่มีปัญหาการเดินทางไป-กลับโรงพยาบาล กรณีมีนัดต่อเนื่องในเวลาใกล้เคียงกัน รวมทั้งในรายที่มีปัญหาเรื่องการเงินค่าใช้จ่าย

    นางส่งศรี เมืองทอง หัวหน้างานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศิริราช กล่าวเสริมว่า ผู้ป่วยและญาติที่จะขอเข้าพักทุกรายจะต้องได้รับการประเมินจากนักสังคมสงเคราะห์ ของโรงพยาบาลศิริราช จึงจะสามารถเข้าพักได้ โดยแสดงความประสงค์จะขอเข้าพัก พร้อมส่งประวัติมาเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ที่ตึกผู้ป่วยนอกชั้น 1 ห้อง 109 โรงพยาบาลศิริราช จากนั้นจะนำเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปมอบให้แก่ พระครูสมุห์ภักดี ยตินฺธโร พระผู้รับผิดชอบดูแลเรือนเสมือนญาติ เพื่อดำเนินการต่อไป

    [​IMG] [​IMG]
    8aae0b8a1e0b8b7e0b8ade0b899e0b88de0b8b2e0b895e0b8b4-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8ade0b8a1e0b8a3e0b8b4-4.jpg
    คุณส่งศรี เมืองทอง

    ด้าน พระครูสมุห์ภักดี กล่าวว่า โครงการเริ่มรับผู้ป่วย และญาติเข้ามาพักในเดือนตุลาคม 2559 โดยปรับปรุงต่อเติมบริเวณพื้นที่ด้านข้างกุฏิ และปรับพื้นที่บริเวณชั้นล่างกุฏิของอาตมาเป็นที่ดำเนินการโครงการ

    พระครูสมุห์ภักดีกล่าวต่อไปว่า พุทธศาสนาเถรวาทสอน ว่า วาระจิตสุดท้ายที่ดับไปเป็นวาระจิตที่สำคัญที่สุด ถ้าจิตสุดท้ายสงบ จะไปเกิดภพภูมิที่ดี ในฐานะบัณฑิตอาสา วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล อาตมาจึงเชื่อว่า การช่วยดูแลจิตใจ ผู้ป่วยระยะท้าย (Palliative Care) หรือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง จะช่วยให้ ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ

    8aae0b8a1e0b8b7e0b8ade0b899e0b88de0b8b2e0b895e0b8b4-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8ade0b8a1e0b8a3e0b8b4-5.jpg
    พระครูสมุห์ภักดี ยตินฺธโร

    “ที่ผ่านมา อาตมาได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมตามเตียงที่ผู้ป่วยและญาติร้องขอมา โดยนำพระพุทธศาสนาไปช่วยดูแลผู้ป่วย ด้วยการใช้ศิลปะในการพูดคุยด้วยความจริงใจ เมตตา กรุณา พร้อมกับแนะนำให้ญาติปรับบรรยา กาศในห้องพักให้มีความสงบเย็น เปิดเพลงบรรเลง และบทสวดมนต์เบาๆ คลอตลอดเวลา นอกจากนี้ได้แนะให้ญาติหารูปภาพพระพุทธรูปมาแขวนไว้ในระดับสายตา เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถลืมตาขึ้นมามองเห็น ที่สำคัญ คือ จะต้องพูดคุยด้วยความระมัดระวัง”

    “ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่กำลัง หรือใกล้จะจากไป จะสวดบทพุทธคุณซ้ำไปมา เพื่อเป็นการช่วยย้ำให้จิตของผู้ป่วยจับเสียงนั้นได้ง่าย จะได้จากไปอย่างสงบพร้อมกับเสียงสวดมนต์ และหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต อาตมาจะให้ญาติมากราบศพ และพูดคุยธรรมะเกี่ยวกับการเกิด แก่ เจ็บ ตายให้ฟัง เพื่อให้ญาติยอมรับการจากไปได้ และเข้าใจสัจธรรมของชีวิต ส่งผลให้ญาติผู้ป่วยแม้จะเสียใจต่อการจากไปของผู้ป่วย แต่ก็ทำใจยอมรับได้ดีกว่าเดิม ทั้งยังมีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนามากขึ้น” พระครูสมุห์ภักดีกล่าว

    “ในช่วงแรกเรือนเสมือนญาติสามารถรับ ผู้ป่วย และญาติได้ประมาณวันละไม่เกิน 17 คน โดยที่ผ่านมานับจากเดือน ต.ค.2559 – ก.ย.2562 มีผู้ป่วยเข้าพักรวมทั้งสิ้น 206 ราย แต่เนื่องจากจำนวนผู้ป่วย และญาติเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับสถานที่คับแคบ ไม่สะดวก ในเดือนตุลาคม 2562 เรือนเสมือนญาติ จึงได้ปิดปรับปรุงเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือน โดยคณะนักศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 28 ซึ่งมีจิตสาธารณะร่วมบริจาคเงิน เพื่อปรับปรุงให้สามารถรับผู้ป่วยได้มากขึ้นประมาณ 30 คนต่อวัน พร้อมบริจาคสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น เตียงนอน พัดลม โคมไฟ เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เป็นต้น

    ผู้มีจิตศรัทธาสามารถติดต่อเพื่อร่วมบริจาคได้ที่ ศิริราชมูลนิธิ

    สอบถามรายละเอียดได้ที่ งานสังคม สงเคราะห์ ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศิริราช โทร.0-2419-8759

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/amulets/news_3040805
     

แชร์หน้านี้

Loading...