ธรรมะมหัศจรรย์ ตามรอยธรรมสมเด็จโต

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย na_krub, 12 ตุลาคม 2017.

  1. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    BB31AD2E-3F21-46A1-916C-AF944A9641CB.jpeg
     
  2. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    CD3FFFD4-7A1E-4459-A73D-986C1052D7F9.jpeg

    เวลาโยมเดินโยมนั่งมีจุดหมายมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : มีครับ) ไหนมีอย่างไร ลองว่ามาหน่อยซิจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ให้มีสติค่ะ ฝึกสติค่ะ) อ้าว..ฝึกยังไงที่โยมบอก (ลูกศิษย์ : ก็ภาวนาค่ะ เวลาเดินก็ภาวนาให้จิตมันตื่นรู้ค่ะ) แล้วทำไมถึงง่วงอีกล่ะจ๊ะขนาดเดินภาวนาอยู่ การฝึกสติโยมต้องรู้ในจุดมุ่งหมายในหลัก..ว่าที่โยมเดินอยู่นี้เดินไปทำอะไร นั่งนี่นั่งไปทำอะไร การภาวนานี่ถ้าสติมันยังไม่ตั้งมั่นมาก ตัวนิวรณ์ที่มันมีมันก็ไม่สามารถข้ามพ้นไปได้ นั้นจะนั่งจะเดินก็ดีมันต้องมีเป้าหมายว่าเราจะนั่งไปทำอะไร เดินไปทำอะไร

    นั่นก็หมายถึงว่าในขณะนี้เราเดินอยู่ก็รู้ นั่งอยู่ก็รู้อย่างนี้ ถ้าโยมนั่งภาวนาไปเรื่อยๆแล้ว แต่สติโยมไม่เท่าทันในตัวองค์ภาวนา ไม่นานนักความเพียรโยมก็ขาดหายไป ดังนั้นต้องรู้..รู้อะไร เรานั่งอยู่ก็รู้ เราต้องไปรู้ที่กายว่าสังขารเรานั้นเสื่อมไปเพียงไร ถ้าเราไม่พิจารณาอย่างนี้ เรียกว่าจิตนั้นยังไม่เข้าถึงกรรมฐานในการงาน เมื่อจิตไม่มีที่ตั้งของการงานแล้ว ไม่นานนักจิตเรานี้ก็จะมีความเคลิบเคลิ้มใจ เพราะมันมีต้นทุนของนิวรณ์ในความง่วงอยู่แล้ว

    นั้นในการที่เรานี้จะข้ามพ้นนิวรณ์ไปได้ เราต้องรู้เสียก่อนว่าเรานั้นในขณะนี้ เดินอยู่นั่งอยู่ในขณะนี้..เราเดินเรานั่งไปเพื่ออะไร เมื่อเรานั่งแล้วที่ตรงนั้นมันไม่สามารถเจริญโมกขธรรมให้เกิดได้ เราก็อย่าไปฝืนนั่งอีก แสดงว่ามันไม่ใช่ทรัพย์ของเรา เรียกว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของ เราก็ต้องลุกไปเดิน..

    เดินนี้แม้เราจะเดินเราก็รู้ในการเดินของเรา เดินทำอะไรอยู่ แม้จะมีองค์ภาวนาก็ตาม ก็ต้องรู้ว่าในขณะนี้จิตของเรานี้มีอาการอย่างไรเกิดขึ้น นี่ก็หมายถึงว่าดูจิตในจิต เพราะว่าในขณะนั้นเรายังไปดูกายไม่ได้ เพราะว่ากายสังขารเรามันอ่อนล้าแล้ว เราก็ต้องดูจิตของเรา ว่าจิตตอนนี้เสวยอารมณ์ใด อารมณ์ใดมันเข้ามากระทบมาผัสสะ มันให้ผลเป็นอย่างไร

    ดังนั้นแล้วเมื่อจิตเรารู้ว่าอาการของจิตเป็นอย่างไร มันมีความง่วงมีความเคลิบเคลิ้ม..เราก็ต้องเดินให้มาก ดูท้องฟ้า ดึงใบหู ทำอย่างไรก็ได้ทำให้จิตเรานั้นคลาย นี่ก็เรียกว่าสติตั้งมั่นอยู่ในฐานทั้ง ๔ เป็นการเจริญสติอย่างแท้จริง นั้นการดูกายเราจะดูอย่างไรบ้างให้รู้..ดูกายในกายมีอะไร อย่างน้อยก็ให้รู้ว่าระลึกถึงกายทุกครั้งก็ให้รู้ว่ากายนี้เราเสื่อมไปเพียงใดแล้วในขณะนี้ อีกนานเท่าไรว่ากายสังขารนี้จะไม่มีลมหายใจ ไม่ได้ใช้ประโยชน์อีก

    ยิ่งเรามีโรคภัยไข้เจ็บก็ดี สังขารอ่อนล้าอ่อนแรงมากแล้วก็ดีนี้ เราต้องตระหนักให้มาก คือต้องรีบขวนขวายสร้างบุญกุศลให้มากๆ ทางใดทางหนึ่งก็ตามพยายามเจริญความเพียรให้มากๆ ไม่ใช่ว่าร่างกายสังขารเราไม่ไหว เราก็ห่วงแต่พักแต่ผ่อนอยากจะหลับจะนอน ใครที่อยากแต่จะพักจะผ่อนอันนี้ไม่เรียกว่าเป็นผู้เจริญความเพียร เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    การนอนอย่างน้อย ๔-๕ ชั่วโมงนี่ก็ถือว่าสมควร กำลังมันกำลังดีแล้ว ไม่ใช่เป็นการทรมานกายสังขารไม่หลับไม่นอนเลยก็ใช่หาว่าเป็นอย่างนั้นไม่ แต่ถ้าโยมนอนแล้วไม่รู้จักพอไม่รู้จักอิ่ม นี่แหล่ะเค้าเรียกว่ากิเลสมันไม่รู้จักพอไม่รู้จักอิ่ม นอนเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักพอไม่รู้จักอิ่ม เหมือนอาหารที่เราจะบริโภคไปก็เช่นเดียวกันไม่รู้จักพอไม่รู้จักอิ่ม นั้นเราต้องรู้จักกาลรู้จักเวลา ว่าเวลานี้ในขณะนี้เรามาทำอะไร

    เมื่อเรารู้ว่าในขณะนี้เราทำอะไร เราเดินอยู่เราก็ตั้งจิตอธิษฐานแผ่เมตตาออกไปได้ ว่าเราในขณะนี้เราได้สละเรือน สละกายสังขารมาอุทิศ มาเป็นตัวแทนของบรรพชนของบิดามารดา เป็นทายาทแห่งกรรมที่ได้จะมาตอบแทนคุณบิดามารดา บรรพชนวีรบุรุษทั้งหลายผู้มีคุณ ที่ทำให้เรามีจิตวิญญาณมีลมหายใจ มีกายสังขารได้อยู่ทุกวันนี้ ก็ตั้งจิตอธิษฐานแผ่ออกไป ให้ทุกดวงจิตดวงวิญญาณที่เค้ามีบุพกรรมมีวาสนาเค้าได้มาโมทนากับเรา ถ้าโยมทำอย่างนี้อยู่บ่อยๆ เค้าเรียกว่าโยมจะเข้าถึงบารมี..บารมีอะไรที่จะเข้าถึง ก็บารมีทั้ง ๑๐ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าใครเข้าถึงบารมีทั้ง ๑๐ ได้..การตัดสังโยชน์ก็ดี สักกายทิฏฐิก็ดี..มันก็เป็นได้โดยง่าย นั้นโยมพิจารณาดูศีลก็ดี พุทธบารมีทั้ง ๑๐ ก็ดี เรานี้ได้เจริญเข้าถึงบ้างหรือยัง บางคนยังไม่มีสัจจะ เมื่อสัจจะมันบกพร่องแสดงว่าศีลโยมก็บกพร่อง อ้าว..มันผิดตรงข้ออะไร มุสารึเปล่าจ๊ะ..สัจจะนี้ มันไม่มีความจริงใจ แม้กระทั่งตัวเราเองมันยังหลอกได้ แล้วคนอื่นเล่าจะไว้เนื้อเชื่อใจได้อย่างไร ใช่รึเปล่าจ๊ะ

    นั้นการที่ว่าโยมจะทำอะไรเป็นอิสระ หรือว่ากิเลสตัณหาอุปาทานในการประหารหรืออะไรก็ตามที่โยมรู้อยู่แก่ใจแล้ว แต่ในสิ่งที่รู้นั้นการเจริญทำความดีแม้จะเป็นที่ลับหรือที่แจ้งก็ดี เราก็ควรมีความละอายมีสัจจะมีความจริงใจต่อพระรัตนตรัย คือนอบน้อมว่าวันนี้เรานั้นได้มาทำอะไร อย่างนี้แลก็เรียกว่าเทพเทวดาทั้งหลายก็ยังต้องสรรเสริญกับผู้นั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ..นี่คุณของเทวดา เรียกว่าแม้โยมจะเกิดตายมาอีกกี่ภพกี่ชาติโยมก็ได้เกิดเป็นมนุษย์ผู้ที่ได้มาเจริญศีล ละโลกนี้ไปแล้วก็ได้ไปอยู่เสวยเทวโลก พรหมโลก เป็นเทพเทวดาเจ้าก็เพราะว่าโยมมีหิริโอตัปปะ มีความจริงใจ

    แต่สิ่งเหล่านี้มันจะเป็นบันไดเพื่อให้โยมนั้นได้สะสมพุทธบารมีให้มันเต็มขั้นเต็มภูมิ ไปเรียกว่าถึงขั้นที่เรียกว่าปรมัตถ์บารมี บารมีสูงสุดก็คือการทำเจโตวิมุตติให้มันหลุดแจ้งแก่ทุกข์ทั้งหลาย นั่นก็เรียกว่าทำปัญญาให้มันเกิดขึ้น นั้นขันติธรรมที่เรานั้นจะก้าวล่วงก้าวผ่านในวัฏฏะนี้ ในการเวียนว่ายตายเกิดนี้ ถ้าจิตเรายังมีความอ่อนแอ มีความโทมนัสอยู่ อาลัยอาวรณ์ขี้เกียจคร้านอยู่ ก็ไม่มีใครสามารถจะไปบังคับบีฑาได้

    นั้นโยมต้องรู้ว่าเราเข้ากรรมฐานแล้ว เรารับกรรมฐานไปแล้วในเวลาเที่ยงคืนในราตรีนี้ เราจักไม่มีการหลับนอน แม้ร่างกายสังขารเราจะอ่อนล้าอย่างไรก็ตาม ก็เอาโรคภัยไข้เจ็บเวทนาที่เกิดขึ้นแล ให้เราพิจารณาหยิบยกมาเป็นอารมณ์..มันก็เกิดฌาน เมื่อฌานมันบังเกิดไปข่มอารมณ์ไปเพ่งอารมณ์อยู่อย่างนั้น มันก็เรียกว่าทรงอารมณ์นั้นได้ แม้มันจะมีความเมื่อยล้าอ่อนล้าอ่อนแรงหรือปวดท้องอะไรก็ตามที ตัวนี้แลมันจะทำให้โยมนั้นจิตมันตื่นรู้ในเวทนาในทุกข์นั้นได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นแลเรียกว่า"การเจริญสติเจริญปัญญา"

    นั้นการเจริญฌานเพ่งรู้ดูอารมณ์นั้นเห็นอารมณ์นั้นเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป เมื่อเห็นสภาวะความไม่เที่ยงต่ออารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งก็ตามที เหล่านี้แลเมื่อเราเพ่งดูอยู่บ่อยๆก็จะเห็นชัด เมื่อเห็นชัดมันจะเป็นอย่างไร มันก็จะเกิดความเบื่อหน่าย นี่เราต้องเพ่งโทษในกายนี้อยู่บ่อยๆ เมื่อมันเห็นความเบื่อหน่ายก็พิจารณาลงไปว่าให้มันละกายนี้ ให้เห็นโทษเห็นภัยในกายนี้ ก็เรียกว่าเป็น"การเจริญวิปัสสนาญาณ"

    ถ้าเราไม่เห็นโทษเห็นภัยในการเกิด ยังมีความพอใจอยู่ในกายนี้ อย่างนี้เรียกว่าเจริญกรรมฐานทั้งชาติมันก็พ้นทุกข์ไม่ได้ เพราะกรรมฐานหัวใจของเค้าคือการเพียรละ ไม่ได้ยึด ถ้าโยมยังยึดอารมณ์อยู่ ยังยึดกายอยู่ ติดอยู่ในสุขอยู่ ยังไม่ได้ละสุขยังไม่ละความเพลิน แม้มีอาจารย์ดีเป็นร้อยล้านพันล้านแสนพันโกฏิก็ตามที่จะผ่านมาให้ธรรมโยม..โยมก็ไม่สามารถพ้นทุกข์ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  3. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    37B732A3-12A5-4A3D-B455-87334B5280B4.jpeg

    ศีลคือความสงบเป็นปรกติ ถ้าร่างกายโยม วาจาโยม ใจโยมยังคิดอยู่ นั่นเรียกว่าผิดปรกติทั้งนั้น ของเป็นปรกติต้องอยู่สงบนิ่งๆ ไม่หวั่นไหว แม้ลมมากระทบหรืออารมณ์มากระทบ ถ้ามันยังกระทบอยู่แสดงว่าเราไม่ปรกติ อินทรีย์ก็ดียังไม่แกร่งพอ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อมันอ่อนไม่แกร่งพอมันก็เป็นช่องทางให้มารนั้นเข้ามาแทรกได้ตลอด

    จึงได้บอกว่าการภาวนาจิตนี้ปรับธาตุให้มันสมดุล แก้วิกลจริตได้ การสวดมนต์ภาวนาเป็นการชำระล้างมนต์ดำออกจากในกายในจิตของเรา และก็ถอนคำสาปได้ดี จึงเรียกว่า"มนตรา"

    นั้นจึงได้บอกว่าในขณะที่โยมสาธยายมนต์อยู่ สวดมนต์อยู่ด้วยจิตที่เป็นสมาธิ เค้าจึงบอกว่ามีอานิสงส์มาก เมื่อมนต์มันเข้าตัวมากจะเกิดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่อเราสวดอยู่บ่อยๆ อำนาจแห่งการที่เรามีสติศรัทธาในขณะที่เราสวดอยู่นั้น จะทำให้เราเกิดปัญญา รู้เห็นตามความเป็นจริงในบทสวดได้ จะเกิดธรรมนิมิตขึ้นมา คอยบอก คอยสอน คอยเตือนเรา นี่เค้าเรียกว่าปัญญาวิมุตติที่เกิดจากเราสาธยายมนต์..มนต์มันเข้าตัว

    แต่ถ้าโยมสวดแล้วไม่สติ จิตมันไปคิดตรงนั้นตรงนี้..เรียกว่ามนต์มันออก พลังงานจิตโยมมันก็เสื่อม ในขณะที่มันออกนั้น ในขณะที่โยมจิตไม่เท่าทันในสติในขณะที่โยมสวดมนต์อยู่ มันก็เป็นการปลุกมารให้ตื่น มันก็เป็นมนต์ของมาร เห็นมั้ยจ๊ะ

    คาถา"ชินบัญชร"สวดเป็นพุทธคุณก็สวดได้ สวดให้เป็นของมนต์มืด ของมนต์ดำมันก็ทำได้ มันอยู่ที่จิตคนสวด เข้าใจมั้ยจ๊ะ อยู่ที่จิตของคนสวด..ไม่ได้อยู่ที่พระคาถา

    เพราะว่าพระคาถานี้สวดแล้วมีจิตเข้าไปจดจ่อตั้งมั่นนั่นแล ถ้าจิตผู้นั้นเป็นกุศลมันก็เป็นพุทธมนต์ที่เป็นทางที่เป็นคุณ ถ้าจิตเราสวดแล้วจดจ่อมีอาฆาตพยาบาทมาดร้าย จิตนั้นมนต์นั้นก็เป็นไปในทางอาฆาตพยาบาท ดังนั้นขอให้โยมมีจิตที่ตั้งมั่น มีความศรัทธามีเมตตา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  4. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
     
  5. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    D05FD20B-B370-410B-AF98-5236D936BA1F.jpeg

    ทุกอย่างเมื่อเรามีสติแล้ว เราจะรู้อาการของสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เมื่อสิ่งไหนเรารู้เราเห็น..สิ่งนั้นมันจะค่อยๆดับลง เพราะอะไรจ๊ะ ที่เราไม่รู้นั่นคือ"อวิชชา" พอไปรู้อวิชชา..ตัวรู้ที่ไปรู้อวิชชามันจะเริ่มดับลง นิโรธมันก็เลยบังเกิด มันก็เป็นธรรมดาของมัน ปวดหัวตัวร้อนเป็นไข้ ทุกข์กายทุกข์ใจล้วนแต่เกิดจากอวิชชาคือความไม่รู้ เมื่อไปรู้เหตุเพ่งดูมันก็จะค่อยๆดับของมัน

    แต่ถ้าสิ่งไหนที่มันเกิดขึ้นมายาวนานแล้วมากำหนดรู้..มันไม่ได้หายไปในทีเดียว เพราะมันก่อตัวมานานนั่นเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั่นถ้าเราเพ่งดู กำหนดรู้ ละอารมณ์อยู่บ่อยๆ ทีนี้มันจะเท่าทัน เหมือนที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี พระอริยสงฆ์เจ้าก็ดี..โทสะ โมหะ โลภะมีมั้ย..มี แต่ท่านฝึกละอารมณ์จนชินแล้ว เป็นฌานแล้วเป็นญาณแล้ว เมื่อมีโทสะ..กำหนดรู้..ก็หายไปทันทีในบัดดล เห็นมั้ยจ๊ะ ก็เช่นเดียวกัน

    นั้นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มันยังไม่ละไม่ดับไม่หายไปเพราะอะไร มันสะสมก่อตัวมาเป็นภพเป็นชาติ เหมือนมันพอกพูนนั่นเอง มันพอกมาหนา พอโยมจะไปขัดถูมันง่ายๆวันเดียว..สองวัน..สามวันในขณะนั้น แป๊บเดียวเอาตามที่โยมปรารถนา..มันจะออกมั้ยจ๊ะ

    เหมือนทุกข์ตัวนี้ พอมันเกิดเวทนา เหมือนหินก้อนนึงโยมไปทุบมันเป๊กเดียวหินจะแตกมั้ยจ๊ะ มันไม่สามารถที่จะแตกได้ หินมันไม่สะเทือนอะไรเลย อ้าว..ก็ตีแค่ครั้งเดียวเอง แต่หินนี่กว่าจะมาเป็นหินมันเป็นน้ำก่อน เป็นลาวาก่อน กว่ามันจะก่อตัวออกมาดิน น้ำ ลม ไฟมีความผนึกแข็งขึ้นมา มันก่อตัวเป็นร้อยๆปี หรือเรียกว่ามนุษย์เกิดมาเป็นร้อยๆชาติ แล้วโยมมาไล่..มึงออกไป..นี่ของกู มันไปมั้ยจ๊ะ..มันไม่ไป มันฝังชิพไปแล้วว่านี่ตัวกู นี่ลูกหินก้อนนี้กูสร้างมา ลาวานี้คือของกู ธาตุขันธ์นี้ก็ของกู มึงออกไป..จะออกไปได้ยังไง..

    ที่ฉันบอกว่าออกไป ทุกข์ออกไปกูไม่เอา..สลัดไม่ได้ เพราะว่ามันยึด มันเป็นอุปาทานแล้ว สัมปทานแล้วนี่มันของกู เกิดมาแล้วบอกชื่อใคร..ชื่อนายนี่นายนั่นตั้งมาแล้ว พอบอกว่านายนี่มามั้ย..มา ขานหมด รับหมด เอาหมด เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วไอ้หินก้อนนี้จะทุบให้มันแตกพอมันมีทุกข์ พอนั่งแล้วทนจะให้มันแตกให้มันสลาย ให้มันคลายจากทุกข์ มันทำได้มั้ย..ทำได้ แต่ความอดทนในความเพียรขันติโยมมากน้อยเพียงใด

    เพราะว่าหินก้อนนี้ก้อนทุกข์ก้อนชาติมันก่อเกิดมาเป็นร้อยปี แข็งจนเป็นฟอสซิลแล้วนี่ เป็นของวัตถุโบราณไปแล้ว แล้วโยมไปทำลายมันทีเดียวได้มั้ยจ๊ะ..ไม่มีทางหรอกจ้ะ แล้วจะทำยังไงทีนี้ ตีมันทุกวัน เคาะมันทุกวัน ให้มันรู้สติ ปลุกตื่น ตื่น ตื่น ตื่น ตื่น นั้นที่ว่าหินนี้ก็ดี มันเป็นภพเป็นชาติ มันจะตีทีเดียวสลายไปทีเดียวให้มันตายไม่ได้ ไปข่มมันอย่างนั้นตายเลย โง่ตายเลยแบบนั้นน่ะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เค้าให้รู้ว่าทุกข์มันอยู่ที่ไหน เหมือนที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าท่านรู้ทุกข์ว่าทุกข์อยู่ที่กาย ตามหาตั้งนาน พอมานั่งดู..อยู่ในนี้เอง อยู่ในกาย ไปตามหาใต้ต้นนั้นต้นนี้..ไม่มี ต้นชาติที่แท้จริงอยู่ในกาย แล้วหินก้อนนี้มันเกิดขึ้นมา..กองทุกข์มันรัดจนกลมกลืนเลย กลมกลืนคือกลายเป็นตัวเดียวกับเราเลย เราเลยไม่รู้ว่าเขาหรือเรากันแน่ แท้ที่จริงพอทำกรรม..เอ๊ะเราไปทำรึเปล่า หรือใครสั่งให้ทำ เลยมีจิตอยู่สองดวงทีนี้อาศัยอยู่ในตัวเรา ก็คือดวงที่ดีกับไม่ดี

    ทำไมถึงเกิดขึ้นดวงดีกับไม่ดี ไอ้สองตัวมีวิชชากับอวิชชา ก็สิ่งก่อนที่โยมทำมาทำทั้งดีและไม่ดี มันจึงมีอารมณ์สองตัวนี้ พอโยมดับไปตายไปมันก็ตามโยมไปไม่ว่าจะอยู่ภพชาติไหนก็ตามโยมไป มันเป็นเงา เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วทำยังไงล่ะทีนี้ โยมก็ต้องดูว่ากรรมตัวชั่วโยมทำมามากมั้ย ถ้าโยมทำมามากไอ้ตัวชั่วนั่นก็เสวยกรรมให้ผลมากกว่ากรรมดี

    บางคนบอกว่าไม่ค่อยเจอดีเลย เจอแต่แย่ๆทั้งนั้น ก็โยมไปทำแต่สิ่งแย่ๆมา อ้าว..ในเมื่ออดีตมันแก้ไขไม่ได้ก็ทำในปัจจุบันสิ ทำสร้างความดีขึ้นมาใหม่ อย่าไปบอกว่าจะลบรอยกรรมเก่า..ไม่ใช่ แต่ทำให้มันมีมาก พอมีมากแล้วกรรมที่ในอดีตกรรมชั่วมันก็ให้ผลได้ยาก พอมันให้ผลได้ยากทีนี้กรรมดีมันเริ่มมีหน้าที่ มันเริ่มมีบทบาทบ้างแล้วทีนี้..แล้วมันก็มาเสวยทีนี้

    นั้นอย่าได้น้อยใจท้อแท้ในวาสนาว่าเจอแต่สิ่งไม่ดีเลย..ไม่ยาก พอมันเกิดมาแล้วไปแก้ไขในอดีตไม่ได้ ทำสร้างกรรมดีขึ้นมาใหม่ พอทำกรรมดีขึ้นมาใหม่แล้วทีนี้แล้วมันจะไปพยุงกรรมชั่ว พอพยุงกรรมชั่วไอ้กรรมดีที่เราเคยทำมาในอดีตมันจะมาส่งผลแล้วทีนี้..นี่เคล็ดลับมันอยู่ตรงนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  6. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
     
  7. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
     
  8. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    29CB2B6A-FA50-493D-814B-8F9FA812E38F.jpeg

    เมื่อบุคคลใดมีจิตที่นอบน้อมในพระรัตนตรัยแล้ว น้อมนำมาเป็นสรณะ..เพื่อจะเป็นแนวทาง เป็นหลักยึดให้จิตใจ หรือเป็นรอยทางเดินแห่งมรรค เพื่อจะประพฤติปฏิบัติเดินตามออกไปอย่างนี้ ผู้นั้นแลชื่อว่าผู้ที่จะไม่กลับมาเกิด หรือว่าจะไม่ลงไปในอบายภูมิอีกตลอดกัปป์ตลอดกัลป์ เมื่อมีความศรัทธามีความเชื่อมั่นแล้วในพระรัตนตรัย แม้จะเกิดอีกกี่ชาติ ๗ ชาติ ๑ ชาติ ๓ ชาติก็ดีเหล่านี้..ล้วนเป็นไปเพื่อสะสมบารมีให้ถึงการสิ้นทุกข์ในภายภพภาคหน้า

    ดังนั้นแล้วถ้าเราตัดสักกายทิฏฐิได้เสียแล้ว เห็นความเบื่อหน่ายในการเกิด เห็นทุกข์ภัยในกายในจิตนี้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปอยู่บ่อยๆจนเป็นนิตย์ เห็นความเบื่อหน่าย เห็นความไม่เที่ยงดังนี้แล เมื่อเห็นกฎเข้าถึงไตรลักษณ์ได้ เห็นตามความเป็นจริง ย่อมเข้าถึงในอริยสัจจ ๔ ได้ นั่นก็คือตัวทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์มากๆแล้วในกายนี้ ก็ไม่เห็นว่าจะมีอะไรที่ดีกว่านี้อีก เมื่อนั้นแลผู้นั้นจะเห็นทางออกคือทางเดิน คือทางสายกลาง คือการดำริออกจากทุกข์ออกจากกามอย่างนี้ ออกจากความเพลิดเพลินได้

    เมื่อนั้นแลสภาวะจิตที่หลุดพ้นเป็นอิสระมันก็บังเกิดขึ้น แต่ความอิสระทั้งหลายก็ขอให้จงจำไว้ว่า การเป็นอิสระ..อย่าคิดว่ามันจะหมดสิ้นทุกข์กันไป เพราะการเป็นอิสระนั้นก็ยังไม่แน่นอน เพราะเรานั้นยังไม่พ้นจากทุกข์ได้ หากเรายังไม่มีความปรารถนาที่จะไปทางใดทางหนึ่ง

    ดังนั้นเราต้องมีความมุ่งมั่นปรารถนาทางใดทางหนึ่งแล้ว ถ้าจิตในขณะนั้นเรามีความอิสระ ไม่ได้ตกเป็นทาสของอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแล้ว เมื่อนั้นแลย่อมมีสติมีกำลังที่จะเห็นทางออกได้อย่างชัดเจน นั้นเมื่อเราทำให้เห็นทางชัดนั้น ทางที่เราเดินนั้นจะเห็นชัดอยู่บ่อยๆ เมื่อเราเดินย่ำมันอยู่บ่อยๆย่อมเห็นชัด ย่อมรู้แจ้งได้ว่าสิ่งที่เรากระทำอยู่นี้..มันเป็นไปเพื่ออะไร เพื่อทางดับทุกข์ก็ดี

    อย่างนี้แล้วนี่จึงเป็นของปัจจัตตังของเฉพาะบุคคล ดังนั้นจะให้เข้าใจได้โดยความละเอียดด้วยการบอกกล่าวก็ดี ด้วยคำพูดศิวิไลซ์ความสวยงามของภาษานั้น..ก็เป็นไปได้ยาก หากเมื่อยังไม่ลงมือประพฤติปฏิบัติแล้วไซร้ ด้วยกาย วาจา ใจแล้ว..ไม่มีทางเลยที่จะเข้าใจได้ในหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือทางเดินแห่งมรรคได้เลย

    ดังนั้นแล้วถ้าต้องการยุติความสงสัยทั้งหลายทั้งปวงในวิชชา ๓ ก็ควรลงมือกระทำ อย่าได้ลังเลสงสัย ความลังเลสงสัยทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมดาของมนุษย์ปุถุชน แต่เมื่อเราอบรมบ่มจิตไปมากๆ เมื่อเรานั้นจิตนั้นเป็นอริยะแล้ว ห่างไกลจากกิเลสตัณหาอุปาทานได้นั่นแล ความสงสัยทั้งหลายที่เราประพฤติปฏิบัติไปด้วยกาย วาจา ใจ..มันจะค่อยละน้อยลงไปเอง จนไม่เหลืออะไรที่สิ้นสงสัยนั่นแล..นี่แลเรียกว่าการเข้าถึงด้วยการเป็นปัจจัตตังของจิต ด้วยการน้อมนำจิตเรานั้นเข้าไปฝึกปฏิบัติค้นหาในกายตน

    กายเรานี้แลคือตู้พระไตรปิฎก จิตเรานี้แลเป็นผู้รู้ อยู่ที่ว่าเรานั้นจะกำหนดจิตรู้ฝึกเป็นผู้ปฏิบัติ เป็นผู้สุปฏิปันโนหรือไม่..มันก็อยู่ที่จิตของเรา จิตนี้แลเป็นมรรค จิตนี้แลเป็นผล จิตนี้แลเป็นทางเดิน จิตนี้แลเป็นทาน จิตนี้แลเป็นศีล จิตเราเป็นสมาธิ ดังนั้นแล้วเมื่อเราฝึกอบรมจิตได้ ทุกอย่างสมบูรณ์แล้ว..ก็ไม่มีอะไรอีกที่เราจะสงสัย ก็เรียกว่ากิจอันที่ควรทำก็จบสิ้นกันในชาตินี้ ชาติต่อๆไปการเกิดก็จักไม่มีอีก เมื่อเรานั้นไม่ปรารถนาที่จะเกิดอีก

    ดังนั้นขอให้พิจารณาดูว่า แม้ขณะจิตเดียวที่เรานั้นเห็นความไม่เที่ยง เห็นทุกข์ในกายตน แม้ขณะจิตเดียวก็ตาม ธรรมที่เราเห็นนั่นแล..เราไม่ได้เห็นด้วยตำรา เราไม่ได้เห็นด้วยการที่ใครมาบอก แต่เราเห็นด้วยปัญญาด้วยจิตของเราเองนั่นแล เห็นด้วยตามสภาพความเป็นจริงของอำนาจแห่งดวงจิตดวงธรรมของเราเอง เมื่อเห็นได้อย่างนี้..นี่แลเค้าเรียกว่าดวงตาที่เห็นธรรมแล้ว

    เมื่อเห็นแล้วแต่ยังเห็นไม่ชัด คราใดที่มันเกิดขึ้นมาเป็นนิมิตอีก..ก็เอานิมิตแห่งธรรมนั้นแลมาพิจารณาละอารมณ์นั้นลงไปอีก ถ้ามันเห็นชัดเห็นแจ้งแล้วในทางเดินนั้น ด้วยอำนาจบารมีวาสนาที่ได้สะสมอบรมมา เมื่อถึงเวลาแล้วผู้นั้นก็จะหันหลังให้โลกนี้ ก็เรียกว่าโลกียะก็จะเข้าสู่โลกุตตรธรรม

    ดังนั้นอันการเป็นมาของมนุษย์ทั้งหลายที่ยังมีทุกข์ มีโศก มีโรคมีภัยอยู่..ก็เพราะด้วยความอยาก ทะยานอยาก อยากได้อยากดี ความอยากทั้งหลายนี้เหตุเพราะว่าเรานั้นยังไม่สิ้นในความสงสัย เมื่อเรายังไม่สิ้นในความสงสัยแล้ว..จะย่อมไม่สิ้นในสังโยชน์ได้ในทางเดินได้ เมื่อเรานั้นสิ้นสงสัย..ก็จะมีการตัดละอารมณ์ลงไป สังโยชน์ทั้งหลายในเส้นทางที่จะไปมันก็สั้นลงๆ จนนั้นไม่มีทางแล้ว ลบรอยทางแล้วนั่นแล..จิตมันก็ว่างได้

    เมื่อจิตมันว่างได้แล้ว จิตมันก็สงบรวมตัวเป็นสมาธิ เป็นปัญญา เป็นฌาน เป็นญาณ ให้เห็นทุกข์เห็นภัยได้ สุดท้ายก็น้อมมาอยู่ที่กายตน คือจิตไม่ส่งออกไปภายนอก คือเรียกว่ามรรค หรือว่าทางเดินออกจากทุกข์ เมื่อเห็นได้อย่างนี้พิจารณาได้อย่างนี้ เราก็เรียกว่าจะมีจิตที่เป็นเกษมตั้งมั่นอยู่ในทาน ศีล ภาวนาที่เราอบรมไว้อยู่อย่างนี้

    อย่างนั้นแล้วชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมเป็นมิตร เป็นผู้มีธรรมเป็นทางเดิน เป็นผู้ที่ไม่ว่าง ว้าเหว่ ไม่มีความเหงา ไม่มีความหดหู่ ไม่มีความเศร้าหมองอีกต่อไป..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  9. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    152DCC1E-E737-442F-A2C5-6A4B0BACD5DE.jpeg

    บุคคลที่มีศีลมีธรรม หากคิดจะทำกรรมชั่วอันใดแล้ว แต่จิตฝ่ายที่ดีย่อมมีการบังคับบัญชา ข่มจิตข่มใจ มีความละอายนั้น เรียกว่ามีบุญวาสนาเก่า มีความละอายต่อบาป นี้แลเรียกว่าเป็นผู้บำเพ็ญจิต บำเพ็ญทานบารมีมาก่อนแล้ว จึงเรียกว่าเป็นวาสนา วาสนาคือสิ่งที่โยมเคยทำมาแล้ว แต่คำว่าดวงคือชะตาเกิด โยมฟังให้ดีนะจ๊ะ ฉันจะบอกเรื่องดวงดาว ชะตาเกิด วาสนาแห่งมนุษย์ว่าทำไมมีดวงดาวชะตาเกิดขึ้นมาแล้วสำคัญอย่างไร

    อันว่าดวงดาวชะตาเกิดหมายถึงการจุติตกฟาก หรือพันธุกรรม อันว่าดวงดาวชะตาเกิดเมื่อโยมเกิดมาแล้วนี้แลเรียกว่ามีผลพวงแห่งกรรมที่โยมทำจึงได้มาเกิด จะเกิดดีหรือไม่ดีก็ตามนั้น มีโชควาสนาบารมี มีทรัพย์สินเงินทอง หรือโยมจะมีความสุขสบายก็ตาม หรือมีความลำบากข้นแค้นก็ตาม ล้วนแล้วเกิดมาจากอำนาจแห่งศีลทั้งนั้น และจงจำเอาไว้ บุคคลใดที่ยึดดวงอยู่ บุคคลนั้นจะพ้นโลกไม่ได้..

    อันว่าดวงยังตกอยู่ในสมมุติบัญญัติของโลกใบนี้ ทำไมฉันจึงกล้ากล่าวเช่นนี้ เพราะในพุทธประวัติมีหลักฐานปรากฏอยู่ ให้เห็นเป็นตัวอย่าง..ว่าดวงไม่ได้กำหนดให้มนุษย์นั้นทุกข์หรือสุข เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ดวงนั้นเป็นเพียงบอกชะตา บอกวาสนาแห่งบาปพระเคราะห์ทั้งปวงที่โยมได้กระทำมาแล้ว

    มีกาลครั้งหนึ่ง องค์สมเด็จพระองคุลีมาลได้มีชะตาเกิดว่าเป็นดาวโจร ใช่มั้ยจ๊ะ หากจับศาสตราวุธอันใดย่อมมีกำลังมหาศาล ใช่มั้ยจ๊ะ แล้วใครจะบอกได้บ้างว่าท่านนั้นจะสามารถสำเร็จธรรมได้..ยังไม่เคยมีใครทำนาย ใช่มั้ยจ๊ะ จนมาเจอพระสัพพัญญู ใช่มั้ยจ๊ะ อ้าว..แล้วดวงนั้นคืออะไร นั้นบ่งบอกไม่ได้เลย แต่คนที่จะเหนือดวงก็คือผู้กำหนดดวง ดวงเกิดจากเวลาเกิดตกฟาก แม้ที่โยมเกิดมาเป็นคู่แฝดกันก็ตาม เวลาผิดไปวินาทีเดียวกรรมก็เปลี่ยน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นถ้าใครอยากกำหนดดวง ให้กำหนดเวลาว่าเวลานี้ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อโยมกำหนดเวลาอยู่บ่อยๆ ว่าเจริญสมาธิก็ดีในขณะนี้เท่านี้เท่านั้น สวดมนต์ภาวนาจิตเท่านี้เท่านั้น เดินจงกรมภาวนาเท่านั้นเท่านี้ นี่เรียกว่า"กำหนดเวลา" ผู้ใดกำหนดเวลาได้อย่างนี้อยู่บ่อยๆ..ผู้นั้นจะเหนือดวง เพราะผู้ที่ยังเดินตามเวลาของโลกสมมุติบัญญัติ ว่าเวลานี้ต้องเป็นเวลาที่ต้องหลับนอนพักผ่อนกายแล้ว นี่เค้าเรียกว่าสมมุติบัญญัติของมายาของโลก

    แต่ผู้ที่เห็นภัยจากวัฏฏะแห่งโลกนี้ จะมีจิตที่ตื่นรู้ด้วยได้กระแสจากสิ่งที่มองไม่เห็น หรืออำนาจบารมีเก่าที่สะสมมา เมื่อโยมสะสมบ่อยๆ กำหนดรู้บ่อยๆ ดวงดาวโยมจะเปลี่ยน ดังนั้นผู้ใดกำหนดเวลา สร้างความดีบ่อยๆ ผู้นั้นย่อมอยู่เหนือดวง และเมื่อโยมอยู่เหนือดวง..โยมจะอยู่เหนือกรรม และเมื่อโยมอยู่เหนือกรรม..โยมจะกำหนดกรรมได้ จึงบอกว่ากรรมอันใดทำไปเพื่อทางหลุดพ้น เพื่อไปสู่นิโรธ ไปสู่มรรคแห่งทางเดินทางพ้นทุกข์ นั่นแลกรรมอันนั้นแลเรียกว่า"กรรมเหนือกรรม" เข้าใจมั้ยจ๊ะ..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  10. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    044D1C28-B5B3-4C56-98EE-08BF6A8FFAD5.jpeg

    เราต้องเอาชนะตัวเองนั้นแล ถ้าเรายังชนะตัวเองไม่ได้ในโลกนี้..ไม่ต้องไปถามว่าเราจะเป็นผู้ชนะหรือชนะใครได้ เมื่อเราชนะคนทั้งโลกก็ยังเรียกว่ายังเป็นผู้แพ้อยู่ดี..เพราะเมื่อเรายังไม่ได้ชนะใจตน ก็เหมือนที่สุดแห่งโลก..ถ้าเรายังตามโลกอยู่..ไม่มีที่จะหาที่สุดของปลายจุดหมายของโลกได้ แต่เมื่อใดเราหยุดหา เมื่อเราเห็นโลกแล้ว ก็เรียกว่าเห็นที่สุดของโลก คือเห็นทุกข์เห็นภัย..นั่นเรียกว่าที่สุดของโลก

    ถ้าใครยังไม่เห็นภัยในวัฏฏะเรียกว่ายังไม่เห็นที่สุดของโลก ย่อมไม่เห็นฝั่งของทะเลสาบหรือมหาสมุทรได้ แต่ผู้ใดเห็นภัยในวัฏฏะแม้เสี้ยวขณะจิตเดียว และก็ทำให้เห็นอยู่บ่อยๆ เท่ากับผู้นั้นแม้ไม่ได้ไปอีกฝั่งหนึ่งของมหาสมุทรก็เท่ากับว่าผู้นั้นได้เห็นฝั่งของมหาสมุทรเอง..อย่างนี้ถือเป็นที่สุดของโลก ถ้าแบบนั้นแล้วผู้นั้นก็จะไม่ปรารถนาที่อยากจะแสวงหาอะไรอีก หรือเรียกว่าสิ้นสุดสงสัย ก็จะค้นหาอยู่ที่กายตน..เอาใจนั้นเป็นประธาน

    ธรรมทั้งหลายมีใจถืงก่อน มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน นั้นการกระทำสิ่งใดใจนั้นแลเป็นผู้สำเร็จ เราต้องเพียรเอาชนะใจตนเองให้มากๆ คือฝึกจิตขัดเกลาตน สอนตน เตือนตนอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ใดหรือไปที่ใด..ก็หาว่าจะหนีพ้นจากตัวเอง แต่ถ้าเราหยุดที่จะเผชิญต่อมัน สู้ต่อความป็นจริง ต่อคำสรรเสริญนินทา ต่อสิ่งที่ทนไม่ได้อย่างนี้แล..เมื่อเราทนได้ย่อมเป็นผู้ชนะ..คือชนะใจตน

    เมื่อเราชนะเราข้ามมันไปได้อย่างนี้ ถึงแม้เราจะอยู่ที่ไหน ก็เรียกว่าผู้นั้นเป็นผู้ที่มีหลักปลอดภัย เรียกว่าอยู่อย่างสงบ แต่ถ้าเรายังไปอยู่ที่นั่นที่นี่อยู่ แต่ใจเราหาความสงบไม่ได้ ก็ยังไม่ได้ชื่อว่าที่นั่นเป็นที่ปลอดภัย ที่ที่ปลอดภัยคือใจที่เราสงบ เราละ เราวางแล้ว มีสติอยู่กับกาย อยู่กับลมหายใจ อยู่กับอานาปานสติ อยู่กับพุทโธ ธัมโม สังโฆก็ดีอย่างนี้ เรียกว่าการระลึกถึงพระพุทธเจ้า มีเดช มีอำนาจ มีอานิสงส์ทำให้ใจเราสงบอย่างนี้ หากใจเรานั้นขาดหลักเมื่อใด มารมันจึงได้ช่องมันจะเข้ามาแทรก

    นั้นมารนี้มันก็มีทั้งมารภายในและภายนอก ถ้าใจโยมมีความอ่อนแออยู่แล้ว ยังปล่อยให้ข้าศึกภายนอกเข้ามาอีก เราจะเจอศึกทั้งสองด้าน เมื่อเจอศึกทั้งสองด้านอย่างนี้จะเอากำลังบารมีที่ไหนไปต่อต้านประหัตประหารมันได้ ดังนั้นเราควรกำจัด"มารภายนอก"ออกไปเสียก่อน คือละวางอารมณ์ทั้งหลายที่เป็นข้าศึกแห่งใจ คือความคิดก็ดี อดีตที่ผ่านมาก็ดี ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึงก็ดี นี่เค้าเรียกว่าเราวาง นี้เรียกว่าการวางความคิด วางอุปาทานธาตุขันธ์..อะไรทั้งหลายเหล่านี้เราควรละควรวาง

    ถ้าเรายังวางไม่ได้ จิตเรายังฟุ้งซ่านปรุงแต่งอยู่อย่างนี้..ความทุกข์มันก็ดับลงไม่ได้ การอุปาทานปรุงแต่งของขันธ์ ๕ นี้มันก็ยังทำงานอยู่ร่ำไป เค้าจึงให้เรานั้นมีอุบายให้จิตนั้นมีองค์ภาวนากำกับจิต ให้มันกระชับกับลมหายใจก็ดี เมื่อเราเพ่งอยู่กับลมหายใจอยู่กับองค์ภาวนานั่นแล เรียกว่าเป็นการเจริญฌาน เพราะผู้ใดเป็นผู้ที่เจริญฌานอยู่เป็นนิตย์นั้นแล ผู้นั้นจะห่างไกลจากโรคจากภัยได้ ย่อมทำกระแสพระนิพพานให้แจ้งได้

    เพราะเมื่อเราทำฌานให้ตั้งมั่นให้แข็งแรง คือเพ่งดูอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างนี้ ไม่นานฌานมันก็บังเกิด เมื่อฌานมันบังเกิดแล้ว..ญาณมันก็จะบังเกิด สมาธิปัญญามันก็บังเกิด นั้นเมื่อเราเพ่งอยู่แต่อารมณ์อยู่กับกาย อยู่กับลมหายใจ อยู่กับองค์ภาวนาแล้ว..นี่เรียกว่าจิตเราไม่ส่งออกไปภายนอก เมื่อจิตเราไม่ส่งออกไปแล้วนี่แล ย่อมไม่ทำให้ข้าศึกภายนอกนั้นติดตามเข้ามาได้ ทีนี้เราจะเหลืออยู่เพียงแต่"ข้าศึกภายใน"

    เมื่อข้าศึกอยู่ภายใน..ก็ลองดูซิว่า เมื่อจิตเราสงบนิ่งแล้ว จิตเราไม่กระเพื่อมแล้วนั่นแล หากว่าภายในมีอะไรกระเพื่อมอยู่นั้นแล..เราจะเห็น"ไส้ศึก"อยู่ภายใน เมื่อเราเห็นไส้ศึกแล้ว..นั่นแหล่ะคือเหตุแห่งทุกข์แห่งภัยในวัฏฏะ แห่งในบุญกุศลและบารมี..ที่มันบั่นทอนเราอยู่ตลอดเวลา ตัวนี้เรียกว่าอวิชชากิเลสตัณหา สมควรแล้วที่เรานั้นต้องกำจัดออกไป เพราะเมื่อมันมีมากมีกำลังมากเมื่อไหร่มันก็จะเป็นผลร้าย

    ดังนั้นในขณะจิตที่เรายังไม่สงบนี้แล เค้าเรียกว่าจิตยังไม่รวมตัว จิตมันยังฟุ้งอยู่ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมยังไม่เสมอเหมือน ยังไม่เป็นหนึ่งเป็นเอกัคคตา อย่างนี้เค้าจึงบอกให้เรามีวิตกวิจาร เค้าเรียกว่าสมถวิปัสสนา คือกำหนดอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งก็ดี ให้จิตนั้นมันเข้าหาถึงความสงบ ให้จิตมันมีหลัก คือการระลึกถึงองค์ภาวนา นึกถึงกำหนดรู้ลมหายใจอยู่ในกาย ที่เพ่งรู้อยู่ในองค์ภาวนาคือจิต แม้จิตมันจะมีวอกแว่กไปบ้างเราก็ดึงกลับมาอยู่อย่างนี้

    แล้วทำไมเล่าไอ้ที่เราประพฤติปฏิบัติธรรมก็รู้ว่าหลักมันเป็นอย่างนี้ แต่พอเราจะเข้าสมาธิมีองค์ภาวนา ทำไมจิตมันจึงฟุ้งซ่านได้ ก็เพราะว่ากระแสจิตนั้นแต่ละวันหนึ่งๆเราไม่สามารถรักษาได้อยู่ตลอดเวลา คือสภาวะความไม่เที่ยง ขันธ์มันเป็นทุกข์เป็นอนัตตา เมื่อเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นมันแล้ว มันก็ทำให้จิตนั้นเป็นทุกข์ขึ้นมา..ใจมันจึงไม่สบาย

    เมื่อใจมันไม่สบายแล้วลมมันก็ร้อน เค้าเรียกว่าลมมันเสีย ถ้าลมมันดีเค้าเรียกว่าลมมันเย็น ลมเย็นนั้นเค้าเรียกว่าลมมันถึงจะเข้าถึงความสงบได้ ถ้าลมยังร้อนอยู่เค้าเรียกว่าลมมันเสีย เมื่อลมมันเสียแล้วอย่างนี้มันก็ทำให้จิตเรานั้นมีจิตฟุ้งซ่านรำคาญใจ นั้นเราต้องกำหนดลมเข้าลมออก นี่เค้าเรียกว่ากำหนดรู้ลม หรือเรียกว่ากำหนดอานาปานสติ เรียกว่ารู้ลมอยู่ในกาย

    เข้า-ออกก็รู้ ยาว-สั้นก็รู้อย่างนี้ รู้เรียกว่ารู้ลม ถึงลม ทิ้งลม รู้..รู้ลมที่ไหน รู้ลมที่กาย สัมผัสที่ปลายจมูก ถึงลม..ถึงที่ไหน ถึงอยู่ในกาย ถึงลมอยู่ที่เหนือสะดือก็ดี ในศูนย์กลางกายก็ดี ทิ้งลม..ทิ้งไว้ที่ไหน ก็ต้องทิ้งไว้ที่กาย ทิ้งไว้ในกาย อยู่ที่เหนือสะดือก็ดีอย่างนี้

    เค้าเรียกว่าลมเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ลมดับไป เมื่อเราดูอยู่อย่างนี้ จึงเรียกว่าวิตกกับลมหายใจ และมีการละอารมณ์ที่ไม่ดี อารมณ์ที่มันเสีย แต่ถ้าเรามีสติอยู่กับลมหายใจอยู่ในกายนี้ อยู่กับองค์ภาวนาก็ดี เอามากำกับเอามากำชับกับลมหายใจ ให้มันแนบสนิทกับลมหายใจ..มันก็จะเป็นหนึ่งกันอันเดียวกัน มันจึงทำให้จิตเรานั้นตื่นรู้มีกำลัง

    สภาวะจิตตื่นรู้มีกำลังเป็นอย่างไร ก็หมายถึงว่าจิตที่เรานั้นหดหู่เศร้าหมองหรือไม่มีกำลังอยู่..มันก็จะเริ่มฟื้นฟูมีกำลังขึ้นมา เกิดมีปิติขึ้นมามีความสุขขึ้นมา มีความพอใจที่จะเจริญความเพียรอย่างนี้ อย่างนี้แลเรียกว่าจิตมีกำลัง จิตมีความพอใจในอิทธิบาท ๔ ที่จะเจริญพรหมวิหาร ๔ เราก็จะทรงตัวทรงสมาธิได้นาน ยิ่งเราทรงสมาธิได้นาน..กำลังจิตเราก็จะมีกำลังจิตที่ตั้งมั่น เมื่อจิตที่ตั้งมั่นนั้น..จิตจะเข้าถึงความละเอียดมากยิ่งขึ้น เมื่อจิตมีความละเอียดมากขึ้น..การจะไปพิจารณาธรรมอะไรมันย่อมทำให้เห็นชัดได้ง่าย..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  11. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
     
  12. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    87EAF71D-2BD6-417B-8B6A-AEF260FC70FE.jpeg

    การเจริญสมาธิให้มากเป็นอย่างไร คือเมื่อเราระลึกรู้ได้ก็ดี ขอให้ระลึกรู้ในลมหายใจ ระลึกอยู่ที่กาย..อยู่อย่างนี้ ไม่ว่าเราจะทำอะไรในอิริยาบถใดนั่นแล เท่ากับว่าเรานั้นถือเป็นการเจริญสติเจริญสมาธิไปในตัว เมื่อเราทำอย่างนี้อยู่บ่อยๆ จิตก็เป็นผู้เจริญฌานไปในตัวเท่านั้นเอง เมื่อจิตมันทรงฌานอยู่ตลอดเวลา ไม่ห่างเหินจากฌานอยู่ในวิถีนี้..ก็เรียกว่าเมื่อเราอบรมบ่มจิตอยู่บ่อยๆ ไม่ห่างเหินจากฌาน..ญาณวิถีมันก็บังเกิด คือกระแสจิตในตัวปัญญานั้นมันจะเป็นผู้สอนในสิ่งที่เราสงสัย ที่เราประพฤติปฏิบัติในธรรม ในทางเดินแห่งมรรค ในทาน ศีล ภาวนา

    การที่เราอบรมบ่มจิตเจริญมนต์ก็ดีอย่างนี้..เค้าเรียกเป็น"ทานแห่งเสียง" ในขณะที่เรานั้นสวดมนต์อยู่ก็ดี จิตเราจะเกิดสมาธิไปในตัว จะเกิดฌานไปในตัว จะเกิดวิปัสสนาไปในตัว นี่ขนาดว่าเราสวดมนต์อย่างเดียว ถ้าเราสวดแบบมีสติมีความตั้งใจนอบน้อม..ก็จักได้ประโยชน์มหาศาล

    แต่ถ้าเราไม่ได้สวดด้วยใจ อะไรนั้น..ขาด"ใจ"ซึ่งเป็นประธานเสียแล้วก็ย่อมเข้าไม่ถึงในสิ่งนั้น แต่ถ้าเราสวดด้วยความตั้งใจ มีความนอบน้อม มีศรัทธา มีสติ มีสมาธิเสียแล้ว..มันก็จะเกิดมรรคเกิดผลในการสาธยายมนต์ มนต์นั้นก็จะเป็นมนตราที่ขลัง อย่างนี้เค้าเรียกว่า"สวดมนต์เข้าตัว"

    การสวดมนต์เข้าตัวนี้จะมีอานิสงส์อย่างไร ก็จะมีอานิสงส์ว่ามันจะไปปรับสมดุลธาตุ คุณลมคุณไสยอะไรก็ดี ที่เรามีเวรมีกรรม ถูกอาฆาตพยาบาทจองเวรจองกรรมมาก็ดี มันจะขับเอาออกทางรูขนรูทวาร ในลมหายใจก็ดี ในเหงื่อก็ดีอย่างนี้ ในกระหม่อมทวารก็ดี ดังนั้นอย่าเห็นว่าการสาธยายมนต์นั้นไม่มีประโยชน์ แต่มีอานิสงส์ครอบคลุมจักรวาล หากโยมมีจิตที่ตั้งมั่นนอบน้อม

    เพราะคนมนุษย์นั้นเมื่อเราสวดมนต์อยู่บ่อยๆย่อมทำให้มีกำลังจิต มีกำลังสมาธิพิศดาร ดังนั้นแม้เรายังเจริญสมาธิยังไม่ตั้งมั่น ในขณะที่เราได้มีโอกาสเวลาได้เจริญมนต์ ก็ขอให้โยมนั้นมีความตั้งใจนอบน้อมในพระรัตนตรัย จดจ่อตั้งมั่นในบทสวดมนต์ เพราะในขณะที่เราสวดมนต์อยู่ก็ดี อาจจะมีจิตนั้นวอกแว่กส่งออกไปภายนอก มีอดีตแห่งกรรมเข้ามาเกี่ยวพัน มีจิตที่ฟุ้งซ่านไปในอนาคตเหล่านี้ เค้าเรียกวิถีจิตนั้นมาหาความสงบไม่ได้

    นั้นถ้าการที่เราท่องมนต์ท่องด้วยแต่ปาก..แต่ไม่ได้มีสติไม่ได้มีสมาธิ..มนต์เค้าเรียกว่ามนต์มันออก ยิ่งเราสวดไปมากเท่าไหร่ มันก็ทำให้เรานั้นเหนื่อยล้าในกายสังขาร ก็เรียกว่าสวดไปสวดไปแล้วมันก็จะมีความง่วงเข้ามาแทน อันนี้เค้าเรียกว่า"มนต์มันออก" จึงเรียกว่าเสียประโยชน์

    เหมือนเราได้มีอาหารกินแล้วบริโภคแล้ว แต่อาหารนั้นไม่สามารถทำประโยชน์ให้ร่างกายเราได้ อย่างนี้เค้าเรียกว่ามนต์มันก็จะเสีย มันก็จะกลับเป็นโทษ ดังนั้นขอให้จงเห็นค่าในสิ่งที่เราได้ตั้งใจจะทำในการสิ่งใดก็ดี เมื่อเราสาธยายมนต์สวดมนต์ได้จบแล้ว ตั้งจิตอธิษฐานเจริญพระกรรมฐานแล้วก็ดี ก็ขอให้โยมนั้นได้เจริญอานาปานสติ

    "อานาปานสติ"นี้เป็นกรรมฐานแม่บทใหญ่ ไม่ว่าโยมจะเจริญกรรมฐานคือการเพ่งอารมณ์ใดก็ตาม มันต้องมีด้วยบทของการเจริญอานาปานสติคือกำหนดรู้ลมหายใจ ไม่ว่ากองใดในกสิณแห่งธาตุไฟเตโชอันใด ถ้าเรานั้นไม่กำหนดรู้ในลมหายใจ ในอานาปานสติเสียแล้ว กรรมฐานแม่บทนั้นที่เราเจริญทำอยู่..มันจะเกิดมรรคผลได้ช้า

    ดังนั้นปฐมบทปฐมฌานบทแรก ให้เรากำหนดรู้ในลมหายใจในอานาปานสติ รู้เข้ารู้ออก คือเมื่อเรากำหนดรู้ลมแล้ว ก็รู้ว่าลมมันหายใจเข้าหายใจออกก็รู้ เมื่อเรารู้แล้วก็เรียกว่าเมื่อรู้ ถึงรู้ แล้วจงทิ้งรู้ เพราะขณะที่เราทิ้งรู้นั้น..คือการวางเฉยเป็นอุเบกขาฌาน อุเบกขาฌาน..เป็นอย่างไร

    "อุเบกขาฌาน"คือการวางเฉย การวางเฉยคือการมาเพ่งอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งให้เป็นอารมณ์ แล้ววางเฉยต่ออารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงคือไม่สนใจ ไม่ว่าอะไรจะเกิดอะไรขึ้น จะได้ยินเสียงอะไรก็ดี หรือร่างกายสังขารมันจะคัน ก็ขอให้เรานั้นมีขันติธรรม มีความอดทนอดกลั้น มีการที่ว่าข่มจิตข่มใจ นี่แลเค้าเรียกเป็นการข่มนิวรณ์ นี่เรียกว่าเป็นการเจริญฌานทั้งนั้น เรียกว่าอุเบกขาฌาน..อย่างนี้แล

    เมื่ออุเบกขาฌานมันบังเกิด เราต้องทำให้มันชิน เพราะว่าฌานนั้นแปลว่าชิน คือทำให้มันสม่ำเสมอ อย่าได้ห่างเหินจากฌาน นั้นการที่ห่างเหินจากฌาน เมื่อเราไม่ได้ภาวนาอยู่ ไม่ได้มานั่งสมาธิ ไม่ได้มาสวดมนต์นี่ เราจะรักษาอุเบกขาฌานอย่างไร จะทรงฌานอย่างไรให้มันเป็นปรกติ เพื่อไม่ให้มันห่างเหิน..ก็คือกำหนดรู้ในลมหายใจ เมื่อเราระลึกได้ไม่ว่าเราจะทำอะไร ในอิริยาบถใดก็ตามไม่มียกเว้น..อย่างนี้แล

    เมื่อเรายังระลึกถึงลมหายใจอยู่ในกาย ระลึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิก็ดี เรียกว่าสติโยมก็จะกลับมาอยู่ที่ตั้งฐานของมัน หรือเรียกว่าตั้งฐานของจิตอยู่ในกาย..อยู่ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม คือสติปัฏฐาน ไม่ให้พลัดพรากจากไปไหน เอาฐานใดฐานหนึ่งก็ดี แต่ต้องกำหนดรู้ที่กายก่อนคือกำหนดที่ใจ ต้องมีประธานแห่งกรรม แห่งกุศลธรรมให้มันเกิดขึ้น

    เมื่อเราทำได้อย่างนี้แม้เราจะไม่มีเวลาสวดมนต์ ไม่ว่าจะมีสิ่งใดก็ตามที่จะเป็นตัวขัดขวางที่จะทำให้เรานั้นสะดุดได้ แต่เมื่อเรามีโอกาสได้สาธยายมนต์ ได้นั่งเจริญจิตภาวนาก็ดี สิ่งที่โยมได้ทำไว้ ได้ภาวนาอบรมบ่มจิตในการเจริญอุเบกขาฌานนั่นแล..มันจะกลับมารวมตัว เพื่อให้โยมพร้อมสำรวมอยู่ในกาย วาจา ใจ นั่นเค้าเรียกว่าช่วยพยุงในทาน ศีล ภาวนาไม่ให้มันเสื่อม..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  13. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
     
  14. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    885D95A4-133C-40F3-94D8-34335B75F0C3.jpeg

    วันนี้ที่เราได้มาสร้างเจริญกุศลคุณงามความดี ก็เรียกว่าเป็นวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา ของพระองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก ที่ได้เสด็จตามรอยทางแห่งมรรคในทางหลุดพ้น ผู้แสวงหาความสว่างของโลก

    นั้นการที่เราทั้งหลายได้มามีส่วนร่วมน้อมรำลึกถึงนี้ ก็เรียกว่าระลึกถึงในพุทธานุสติ ระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า..ก็เป็นธรรมานุสติ ระลึกถึงพระอรหันต์สาวก..ก็เรียกว่าระลึกถึงพระสังฆานุสติ…

    นั้นการที่เราได้มาสืบสานประเพณีอันดีงามก็ดีในวันสำคัญ ก็เรียกว่าได้น้อมระลึกถึงพระคุณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน เป็นวันสำคัญที่อรหันต์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านนั้นมาประชุมกัน มาทำความนอบน้อมอัญชลีสักการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน

    ก็เหมือนที่โยมทั้งหลายได้มานอบน้อมสักการะพระองค์ท่านเช่นเดียวกัน เรียกว่าระลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านยังคงมีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ผู้อาศัยแสงสว่างผู้อาศัยแสงประทีปนำทางผู้ที่ยังมืดบอดอยู่ ดังนั้นแล้ว..มันก็เหมาะอย่างยิ่งที่มนุษย์ทั้งหลายควรจะมีการนอบน้อมจิตสักการะบูชา..เป็นสิ่งที่ควรบูชาอย่างยิ่ง

    ไม่มีอะไรจะสูงสุดเท่ากับการระลึกถึง มาประพฤติปฏิบัติบูชา มาน้อมระลึก การที่โยมได้ทำการระลึกนอบน้อมด้วยการจุดประทีปโคมไฟเป็นพุทธบูชานี้ เพื่อให้เกิดแสงสว่าง เพื่อให้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่านว่าท่านได้ทิ้งธรรมโอวาทปาติโมกข์นี้ โดยทิ้งแนวทางไว้ให้..ใจความสำคัญให้เราได้ประพฤติปฏิบัติ ได้ดำเนินรอยตาม

    ก็เรียกว่า การทำความดีให้ถึงพร้อม ถึงพร้อมด้วยอะไร ถึงพร้อมด้วยศีล..คือการเป็นปรกติของจิตของใจเรา ถึงพร้อมด้วยสมาธิ..คือการที่มีจิตใจที่ตั้งมั่น ถึงพร้อมด้วยปัญญา..เพื่อจะให้เข้าถึงความศรัทธา หากความศรัทธานั้นขาดจากปัญญาเสียแล้วมันก็จะกลายเป็นงมงายไป

    ดังนั้นก็เรียกว่าการทำความดีให้ถึงพร้อม คนจะสร้างความดีได้มันต้องมีการเจริญปัญญา คนจะเข้าถึงความดีได้คนนั้นต้องมีศีลที่เป็นปรกติ อย่างน้อยก็คือศีล ๕ คนจะเข้าถึงความดีเข้าถึงศีลได้มันต้องมีสมาธิ ใจที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่ง ไม่มีอกุศลนั้นเข้ามาปนเปื้อนแล้ว นี้เรียกว่าการทำความดีให้ถึงพร้อม

    การไม่ทำบาปทั้งปวงเป็นอย่างไร การไม่ทำบาปทั้งปวง เค้าเรียกว่าไม่ทำบาปด้วยทางกาย ไม่ทำบาปด้วยวาจา ไม่ทำบาปด้วยใจ ก็รวมเป็นกายทุจริต มโนทุจริต วจีทุจริต อันว่ากายทุจริตเป็นอย่างไร ไม่เอากายนั้นไปทำความชั่ว ไม่เอากายไปเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอากายนั้นไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เหล่านี้เรียกว่ากายทุจริต

    วาจาทุจริตเป็นอย่างไร วาจาที่ไม่ชอบด้วยศีลด้วยธรรม พูดจาเสียดแทงใส่ร้ายป้ายสีเหล่านี้ พูดจาเพ้อเจ้อเหล่านี้เป็นต้น ก็เรียกว่าวาจาทุจริต ใจทุจริตเป็นอย่างไร ใจที่ทุจริตก็หมายถึงใจที่มีความอยากได้ ละโมบของคนอื่นเหล่านี้ ใจคิดอิจฉาริษยาอาฆาตพยาบาทเหล่านี้ เรียกว่าใจทุจริต..เหล่านี้หรือเรียกว่ากรรมบถ ๑๐

    นั้นก็เรียกว่าการทำความดีให้ถึงพร้อม การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำจิตให้ขาวรอบให้บริสุทธิ์ การทำจิตให้ขาวรอบให้บริสุทธิ์นั้นเป็นอย่างไร เมื่อบุคคลทั้งหลายเจริญศีลเจริญภาวนา จนจิตตั้งมั่นเข้าถึงปัญญาเสียแล้ว จิตของผู้นั้นย่อมเข้าถึงความบริสุทธิ์ของพรหมจรรย์

    อันว่าความบริสุทธิ์ของพรหมจรรย์เป็นอย่างไร คือจิตขณะนั้นไม่มีอาฆาตพยาบาทต่อผู้ใดเสียแล้ว จิตนั้นแลก็เรียกว่าเข้าถึงคุณงามความดีได้ ก็จะเป็นไปตามที่พระองค์นั้นได้ตรัสบอกในทางของพระศาสนา หัวใจของพระศาสนา ของโอวาทปาติโมกข์..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  15. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
     
  16. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
     
  17. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    ๕ ใจ ๔ เพียร

    มีอะไรบ้างจ๊ะ.. ใจแรกมันต้องมี"ศีล"คือใจที่สะอาดแล้ว อย่างน้อยก็คือศีล ๕ เมื่อโยมมีศีลแล้วโยมต้องมี"สมาธิ"คือใจตั้งมั่น แล้วเมื่อใจตั้งมั่นแล้วต้องมีใจอะไรอีก (ลูกศิษย์ : ใจหนัก) ทำไมถึงต้อง"หนักแน่น" คือไม่คลอนแคลนสงสัยในพระรัตนตรัย ในศีลในธรรม อ้าว..พอใจหนักแล้วใจอะไรอีกจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ใจกว้าง) ใจ"กว้าง"กว้างยังไง คือใจที่มีเมตตา ไม่คับแคบ ไม่คิดน้อยอกน้อยใจ ไม่หดหู่ใจ ไม่เศร้าหมองใจ นี่เรียกว่าใจ"กว้าง"หรือใจใหญ่ ใจไม่คิดเล็กคิดน้อย คือใจที่มีแต่ให้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อใจโยมกว้างแล้วใจสุดท้ายคือต้องใจอะไร (ลูกศิษย์ : ใจถึงค่ะ) ใจถึงนี้คือใจเด็ดเดี่ยว คือไม่กลัวต่อภัยข้างหน้าหรือทุกข์ข้างหน้า

    ดังนั้นโยมจงรักษาใจคือ ๕ ใจนี้ให้ดี ทำใจให้มันสะอาด เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อใจโยมสะอาดแล้วใจโยมตั้งมั่นน่ะสมาธิก็บังเกิด เมื่อบังเกิดใจโยมก็ต้องหนักแน่นคือรักษาอารมณ์แห่งบุญหรือกุศล หรือใจโยมที่มันดีๆนั้นน่ะ..รักษาไว้อย่าให้มันเสีย ถ้าใจโยมมันไม่เสียซะแล้วโยมเดินทางไปไหนน่ะมันก็ปลอดภัย ไม่ต้องเสียเวลาคอยซ่อมคอยแซมมัน คือโยมต้องมีใจหนักแน่นคือเชื่อมั่นในบุญกุศลบารมึที่โยมกระทำ หรือเชื่อมั่นในทางเดินแห่งมรรคนี้..นี้เรียกว่าใจหนัก ใจใหญ่คือใจกว้างไม่คิดเล็กคิดน้อย ไม่ลังเลสงสัยประการใด เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้น ๕ ใจนี้ก็คือกำลังใจที่จะประพฤติปฏิบัติ สร้างบุญกุศลบารมี

    คำว่า ๔ เพียร

    สี่เพียรก็คือความอดทนอดกลั้นที่เอามาประพฤติพรหมจรรย์ มีอะไรบ้างจ๊ะ..เพียรแรก (ลูกศิษย์ : เพียรกระทำก่อน) เพียรแรกต้องเพียร"กระทำ"ก่อนสิจ๊ะ ถ้าโยมไม่กระทำโยมจะรู้ได้อย่างไร พอเพียรกระทำแล้วต้องเพียรอะไรอีกจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เพียรละ) อ้าว..พอเพียรกระทำก็เรียกว่าที่เรามาสร้างความเพียร..นี่เขาเรียกว่าหัวใจของกรรมฐานคือเพียรละใช่มั้ยจ๊ะ กระทำขึ้นมาก่อนคือต้นทุนบุญกุศลบารมีเรามีเท่าไหร่เราถึงจะไปละได้มากน้อยแค่ไหน ก็อยู่ที่กำลังต้นทุนของเราตั้งแต่แรก อันที่สองเขาเรียกเพียร"ละ" ละอะไรบ้าง ก็ละอกุศลมูลทั้งหลายที่มันหมักดองในดวงจิตในดวงใจให้เหลือน้อย หรือให้มันเบาบางลง นั่นเขาเรียกว่าเพียรละ..กรรมชั่วหรืออกุศลมูลทั้งหลายที่เป็นต้นเหตุต้นตอให้เรานั้นติดบ่วงแห่งกรรมนี้ สลัดออกไปไม่ได้สักที เมื่อมีเพียรละแล้วต่อไปต้องทำอะไรจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เพียรระวัง) ทำไมถึงต้องเพียร"ระวัง"เล่าจ๊ะ เหมือนที่โยมได้รักษาคุณงามความดีและหาทรัพย์มาได้แล้วน่ะ โยมก็ต้องมีระวังว่าทรัพย์เหล่านั้นจะหายจะหมดไปไหน หรือมีใครขโมยเอาไป ใช่มั้ยจ๊ะ คือเพียรระวัง..ระวังอะไร..ไประวังที่ไหน ก็ไประวังที่กายวาจาใจ คือระวังศีลของตัวเอง ไปถึง ๕ ใจคือใจสะอาด

    ๕ ใจ ๔ เพียรนี้มันต้องสัมพันธ์กัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ อ้าว..เมื่อเพียรละแล้ว เพียรระวังแล้ว ต้องเป็นเพียรอะไรอีกจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เพียรรักษา) ทำไมถึงต้อง"รักษา"ไว้ล่ะจ๊ะ บุญกุศลน่ะ..เหมือนทุกวันนี้ที่โยมมีน่ะ โยมมีบุญทุกวันแต่โยมก็หมดทุกวัน ถ้าโยมไม่รักษากายวาจาใจ ไม่รักษาทานศีลภาวนา การว่าหมดบุญดูอย่างไร หนึ่งเริ่มหมดบารมีคนไม่นับถือ สองการอยู่ทางโลกอัตคัต สามโรคภัยเบียดเบียน เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่เขาเรียกว่าบุญเริ่มหมดบารมีเริ่มหด ดังนั้นโยมจะไม่มีการปฏิเสธได้เลยว่าโยมทำไมต้องสร้างบุญกุศล..ไม่มีข้อแม้ เพราะเหตุนี้โยมจักได้ประโยชน์โดยตรง เข้าใจมั้ยจ๊ะ ทานศีลภาวนานี้ทำให้มาก กรรมฐานเจริญให้มาก เมื่อเจริญมากแล้วก็ละให้มาก

    ๕ ใจมันมาอย่างไร ๔ เพียรมันมาอย่างไร นั้นแหล่ะจ้ะ..นี่คือหัวใจของกรรมฐาน จะได้หัวใจของมรรคคือทางเดิน..นี่แหล่ะ"หัวใจแห่งนิพพาน"

    ธรรมะมหัศจรรย์ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๙
    ณ สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๙๗ ๑๙๕๕๕๔๕ (เพชรบุรี)
    ๐๘๔ ๘๙๓๖๙๖๑ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒ (กรุงเทพ)

    ๕ ใจ
    ๑ ใจสะอาดหรือใจมีศีล
    ๒ ใจตั้งมั่น
    ๓ ใจหนัก
    ๔ ใจกว้างหรือใจใหญ่
    ๕ ใจถึง
    ------------------------------------------------------
    ๔ เพียร
    ๑ เพียรกระทำก่อน
    ๒ เพียรละ
    ๓ เพียรระวัง
    ๔ เพียรรักษา
    ------------------------------------------------------
     
  18. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    C6DD8B57-02E6-4E53-A829-1A20C537A237.jpeg

    สมาธิมันทำได้ไม่ยาก แต่ว่าเมื่อมันทำสมาธิได้แล้ว..การจะรักษาสมาธิจะรักษาความสงบให้มันคงที่ ให้มันทรงอยู่ได้นาน อันนี้เรียกว่าทำได้ยาก แล้วจะทำอย่างไร นั้นการจะทำอย่างไรให้มันคงที่ ให้มันทรงได้นาน คือการอย่าไปยึดมั่นถือมั่นมัน คือมันไม่สงบ..เราก็รู้ มันสงบ..เราก็รู้ เมื่อเราไปยึดในความสงบเมื่อไหร่ คราใดในขณะจิตนั้นมันไม่สงบจิตมันก็จะฟุ้งซ่านได้

    นั้นการฝึกสตินั้น ฝึกสมาธิมันเป็นอย่างไร คือให้กำหนดรู้ในอารมณ์ในปัจจุบันของจิต ว่าจิตในขณะนี้มันเป็นอย่างไร ก็เรียกว่าเจริญสติปัฏฐานก็คือเรียกว่ากำหนดรู้ที่กาย รู้ที่เวทนาคืออารมณ์ความรู้สึก หรือเรียกว่าจิตในขณะนี้เสวยอารมณ์อะไรอยู่ อะไรมาผัสสะมากระทบ..นั่นแลทำให้เกิดภพเกิดชาติ สภาวะธรรมอะไรที่มันเกิดขึ้นนั่นแล..นั่นเค้าเรียกว่าเหตุ ก็ให้พิจารณาไปตามนั้น

    หมายถึงว่าเมื่ออะไรมันเกิดขึ้นก็ให้รู้..จิตมันเป็นสภาวะใด เค้าไม่ได้ให้ยึดว่าจิตมันต้องนิ่งต้องสงบอยู่ตลอดเวลา มันจะทำให้จิตเรานั้นเสียได้ หรือจะทำให้เราเป็นบ้าได้ ดังนั้นไม่ต้องไปสนใจอะไรมันเลย เพียงเรามีสติตั้งมั่นอยู่..อยู่ในกาย อยู่ในสติปัฏฐาน ทำอยู่อย่างนี้อยู่บ่อยๆ เมื่อเราทำอยู่บ่อยๆ เค้าเรียกว่ามันเกิดความชิน เมื่อเราชินแล้วในสมาธิชินแล้วในฌาน เข้าออกในฌาน เข้าออกในสมาธิจนชินแล้วนั่นแล มันจะทำให้เรานั้นมีความพัฒนาจิตก้าวกระโดด ทำให้เกิดญาณทัศนะ

    "ญาณทัศนะ"นี้เค้าเรียกว่ารู้เห็นตามความเป็นจริงของจิตว่าอาการจิตมันเป็นอย่างนี้ มันมีมายาของจิตซ่อนอยู่ ดังนั้นเมื่อสภาวะใดที่จิตนั้นเกิดอาการใด เกิดสภาวะอารมณ์ใดก็ให้รู้ จิตมีโทสะก็รู้ จิตมีโมหะก็รู้ จิตมีราคะก็รู้ คำว่า"รู้"ตัวนี้คืออะไร..นี่แหล่ะคือรู้คือตัวระลึกได้คือตัวสติ เมื่อเราเจริญสติมากๆ มันก็จะน้อมเข้าไปถึงตัวปัญญา ก็คือการเจริญวิปัสสนา คือการพิจารณาละอารมณ์นั่นเอง..

    ถ้ากำลังจิตเรายังไปพิจารณาธรรมยังไม่ได้ เราก็ทรงกายทรงฌาน ดูในกายในลมหายใจอยู่อย่างนี้ไป สลับสับเปลี่ยนกันไปอยู่อย่างนี้ คืออยู่อย่างนี้แล้ว..คือไม่ต้องทำอะไรมาก จริงๆแล้วการเจริญสมาธิไม่มีอะไรซับซ้อน แต่เราอย่าไปทำให้มันซับซ้อน สมาธิ..คือความสงบความตั้งมั่นของใจ อย่างนี้ชื่อว่าสมาธิ..คือความตั้งมั่น

    ใจที่ไม่ตั้งมั่น ใจที่มันสับสน จิตมันยังฟุ้งซ่านรำคาญใจอยู่อย่างนี้ นั่นเค้าเรียกว่ายังมีเหตุอยู่ ไฟมันยังไม่สงบ เราจะต้องทำยังไงให้ไฟมันสงบ คือเราต้องดับไฟเสียก่อน คือเข้านิโรธก่อน เค้าเรียกว่านิโรธคือการดับทุกข์ เราจะรู้เห็นนิโรธดับทุกข์ได้อย่างไร เราก็ต้องเพ่งอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง เค้าเรียกว่าเมื่อจิตเห็นจิต เห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..และดับไปนั่นแล

    อารมณ์ที่ตั้งอยู่ ก่อนที่มันจะตั้งอยู่มันต้องเกิดก่อน ถ้าเรายังไม่รู้สภาวะที่เกิดมันเป็นอย่างไร แล้วมันตั้งอยู่ตอนไหน มันดับไปตอนไหนเราก็ยังไม่รู้ ไอ้ความไม่รู้นี้คือยังไม่รู้เท่าทันของอวิชชาของอารมณ์ เพราะเรายังมีจิตที่เคลิบเคลิ้มอยู่ นั้นขณะใดที่จิตเรายังเคลิบเคลิ้ม..มันก็ยังมีตัวสติอยู่..คือขอให้รู้ ฝึกรู้ให้มาก เมื่อรู้มากแล้วสติมันจะระลึกได้เท่าทัน ก็เรียกว่าปัญญามันจะแก่กล้าแววไวเท่าทันในอารมณ์

    เพราะอารมณ์หนึ่งนี้เมื่อมันเสวยขึ้นมาแล้ว มันเกิดดับเร็วมาก เร็วมากเป็นอย่างไร เร็วมาก..เทียบเท่าว่าบอกไม่ได้เลยว่ามันเร็วแบบไหนของจิต เค้าเรียกมันเคลื่อนที่เร็วมากนั่นเอง
    นั้นเราไม่ต้องไปสนใจว่ามันจะเร็วไปทางไหน มันจะยังไงเราไม่ต้องสนใจ การไม่สน.นั่นคือการวางเฉย รู้อารมณ์เฉพาะหน้าของจิตอย่างเดียว อารมณ์ที่ล่วงไปแล้วเราอย่ามาทำใส่ใจ อย่ามาทำความผูกพันกับมัน เรารู้แต่อารมณ์เฉพาะหน้า คือระลึกได้เฉพาะหน้า รู้อยู่อย่างนั้น เค้าเรียกว่าเมื่อจิตเห็นจิต เห็นอารมณ์เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..แล้วดับไป เห็นสภาวะความไม่เที่ยงนั่นแล

    เมื่อเราเห็นมันอยู่บ่อยๆอย่างนั้น อย่างนี้เค้าเรียกว่าเห็นมันเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..แล้วมันดับไป เค้าเรียกว่าสภาวะนิโรธมันก็บังเกิด ก็ให้เราเพ่งอยู่แต่อารมณ์นั้น เค้าเรียกว่าอารมณ์แห่งฌาน เอาฌานนั้นเป็นเบื้องบาทแห่งวิปัสสนาญาณ เมื่อใจเราแข็งแรงแล้วนั่นแล..วิปัสสนาญาณมันก็จะบังเกิด คือเอาไปพิจารณา..
    เมื่อเราเห็นแล้ว เห็นอารมณ์ของจิตเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป ขอให้เราเห็นเพ่งรู้ให้เห็นชัด เห็นอยู่บ่อยๆ คือทำนิโรธให้มันแจ้ง ทำนิโรธให้มันแจ้ง..แจ้งอย่างไร คือทำให้มันสว่าง คือมันหายสงสัย แจ้งในทุกข์ มันก็อยู่อย่างนี้..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  19. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    6E5AAE60-6F40-4108-BAC2-CD31FAD7C795.jpeg

    เค้าบอกว่าเคล็ดลับแห่งการเจริญกรรมฐาน เจริญวิปัสนนาญาณ ถ้าจะได้ญาณรู้แจ้งเห็นจริง พัฒนาได้ไว ก้าวกระโดดของจิต เค้าบอกให้เจริญสมถวิปัสสนาหรือสมถกรรมฐาน ให้พิจารณาละสังขารเพ่งโทษให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นั่นเค้าเรียกการเผากิเลส เผามันอยู่ในกายนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เผาจนจิตโยมตื่น สว่าง โยมจะเห็นโลกธาตุทั้งปวง

    ธรรมทั้งหลายมันอยู่ในกายนี้ที่มันซ่อนอยู่ เมื่อโยมกำจัดอวิชชาให้มันแห้งเหือดได้เมื่อไหร่ มันก็จะแปรเปลี่ยนเป็นปัญญาขึ้นมา และแปรเปลี่ยนเป็นวิชชาขึ้นมา ถ้าโยมนั่งแล้วได้แต่เจริญภาวนา แต่ไม่ได้เพ่งโทษในกาย ไม่ได้พิจารณาในกายเลย มันได้แค่สมถะหรือความสงบ หมดจากความสงบแล้วเป็นอย่างไร..โยมก็จะสลบ

    แต่ถ้าโยมพิจารณาในกายเพ่งโทษ..มันได้ในความสงบ มันได้ในการเป็นปัญญา มันได้ด้วยวิชชา เมื่อโยมมีวิชชาโยมจะไปที่ไหนมันก็ติดตัวมั้ยจ๊ะ ถ้าโยมจะนั่งหรือจะนอนอย่างใดมันก็ติด มันเป็นวิชชามันติด..นี่มันเป็นทรัพย์ เรียกว่าทรัพย์ภายใน โยมระลึกถึง..ปัญญามันก็บังเกิด ระลึกถึงสมาธิ..สมาธิมันก็บังเกิด วิชชามันก็บังเกิด

    เค้าถึงบอกว่าภูมิธรรมเมื่อได้แล้ว..จะไม่มีวันเสื่อม ดังนั้นถ้าโยมต้องการให้มันเจริญก้าวหน้า โยมต้องเพ่งโทษในกายให้มากๆ แล้วเพ่งตอนไหน ตอนไหนที่เราอยู่กับกายมากที่สุด เคยได้พิจารณารึเปล่าจ๊ะ ตอนไหนที่เราอยู่กับกายมากที่สุด..ตอนที่โยมอยู่คนเดียว เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่ล่ะจ้ะธรรมอกุศล ธรรมกุศล ธรรมที่เป็นกุศล ธรรมทั้งหลายมันจะเข้ามาในขณะนั้น ตอนที่โยมอยู่คนเดียว เค้าบอกว่าน่ากลัวที่สุด เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นตอนไหนที่มันน่ากลัว..ก็ตอนที่เราอยู่คนเดียว ใช่มั้ยจ๊ะ ให้ไปพิจารณาให้มาก นั่นแหล่ะจ้ะ โยมว่ามันจริงมั้ยจ๊ะ ถ้าอยู่ ๒ คนมันไม่ค่อยพิจารณาตัวเองหรอก มันพิจารณาคนอื่นเค้า ใช่มั้ยจ๊ะ พออยู่หลายๆคนจิตฟุ้งแล้ว อยู่กับตัวเอง..ไม่ว่าโยมจะเดิน นั่ง หรือนอน ถ้าโยมมีภูมิธรรมเก่า ฉันขอฝากเอาไว้ถ้าอยู่กับตัวเอง..น่ากลัวมากที่สุด เพราะผีมันชอบสิง จำเอาไว้

    อยู่กับคนมากๆผีมันไม่ค่อยสิง ผีมันกลัว เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะว่าเราอยู่กับคนอื่นกำลังใจเราจะดี ถ้าอยู่คนเดียวเริ่มรู้สึกหันไปซ้าย หันไปขวา หันไปหน้าจะไปหลัง เริ่มวังเวง ถ้าโยมขาดหลักขาดที่พึ่งที่เป็นสรณะเมื่อไหร่..ผีมันชอบสิง ที่แท้ผีไม่ได้สิง ผีมันจะออก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    พอมันออก โยมว่าผีตัวใหม่หรือตัวเก่ามันเข้า ถ้าโยมไม่รู้ว่าตัวเดิมหรือตัวเก่าโยมก็จับมันไม่ได้หรอกจ้ะ เพราะโยมไม่เห็นตัวมันไม่ใช่เหรอจ๊ะ เค้าถึงบอกว่าถ้าเราอยู่คนเดียวมันเป็นช่วงอันตราย เข้าใจมั้ยจ๊ะ เค้าบอกว่าถ้าเราอยู่คนเดียวให้ทำอย่างไรบ้าง มีขั้นตอน..

    ถ้าอยู่คนเดียวให้ทำอย่างนี้..ให้เรามีที่พึ่งที่เป็นสรณะเสีย ให้เรามี"องค์ภาวนา"จำไว้นะจ๊ะ ถ้าเราอยู่คนเดียว พอเราภาวนาไปจะเริ่มมีเพื่อนเข้ามาอยู่แล้ว แต่ว่าเพื่อนที่เข้ามาอยู่มันจะเป็นมิตรหรือไม่เป็นมิตรก็ตาม อย่างน้อยตัวสติเรามีแล้ว เราจะเห็นเราจะเลือกได้ เลือกคบได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นตอนที่เราอยู่คนเดียวให้เรามีองค์ภาวนาไว้ ระลึกอยู่ที่ลมหายใจอยู่ในกาย เรียกว่าเจริญอานาปานสติอยู่บ่อยๆ โยมจะเป็น"ที่หลบภัย" เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าโยมอยู่กับใครอยู่อย่างนี้อยู่หมู่มาก โยมก็ยังไม่กลัว เค้าเรียกว่าโยมกำลังใจดี โยมจะนอนหลับจะเล่นก็ได้ ไม่เป็นไร เพราะมีคนมองให้ ยังรู้สึกว่ายังมีคนอยู่ แต่ถ้าโยมอยู่คนเดียวโยมจะรู้สึกว่าโยมเริ่มมีสิ่งที่น่ากลัว ใช่มั้ยจ๊ะ เพราะว่าเมื่ออยู่คนเดียวแล้วมันจะมีวิญญาณ..

    อันดับต่อไปเมื่อเราภาวนาจิตอยู่คนเดียวแล้ว พอจิตเราสงบเค้าบอกให้"แผ่เมตตา" ถ้าโยมทำได้โยมจะไปอยู่ไหนโยมก็อยู่ได้ เพราะในขณะที่เราอยู่คนเดียว จำไว้นะจ๊ะ นั่นหมายถึงว่าในขณะที่เรานั่งที่ใด เดินที่ใด นอนที่ใด เราจะนั่งในอิริยาบถใดก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีวิญญาณทั้งนั้น ถ้าว่าธาตุเราอ่อนสิ่งพวกนี้มันก็มากระทบเราได้ จำไว้นะจ๊ะ เค้าถึงบอกคนที่มีจิตหดหู่เศร้าหมองในดวงจิตอยู่ทำไมเค้าถึงฆ่าตัวตายได้เพราะเหตุใด เพราะเหตุแบบนี้..

    ดวงจิตวิญญาณที่มีความเศร้าหมอง แล้วเคยมีวิบากกรรมกันมา มันก็ต้องเจอวิญญาณพวกนี้มาตาม เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วยิ่งยุคนี้ตอนนี้ก็ขอให้โยมมีสติให้มาก ภัยพิบัติมีหลายทางที่จะมา มีทางน้ำ ทางบก ทางอากาศ ทางวิญญาณ ทางเชื้อโรค สรุปแล้วมาหลายทางมั้ยจ๊ะ อะไรแม้จะมีมาหลายทาง มาทั้ง ๑๐๘ ทิศอะไรก็ตาม ขอให้โยมมีสติมีองค์ภาวนาเป็นที่หลบภัย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แล้วเมื่อโยมแผ่เมตตาออกไปนี่แหล่ะจ้ะ คำว่าออกไป..มันเป็นยังไง แผ่เมตตาออกไปมันเป็นยังไง คือเอาจิตที่โยมเจริญจิตที่เป็นกุศล โยมแผ่บุญออกไป โยมแผ่ด้วยกำลังจิตที่มีอานุภาพ มีกำลังมากเท่าไหร่ มันไปได้ไกลมากเท่าไหร่ โยมก็ปลอดภัยมากเท่านั้น คือวันๆนั้นโยมจะรักษาใจให้ปลอดโปร่งโล่งสบาย ไม่หดหู่ ไม่เศร้าหมอง

    ถ้าขณะจิตในวันใดที่จิตโยมหดหู่เศร้าหมอง หรือมีเรื่องอะไรมากระทบจิตให้ดวงจิตนั้นรู้สึกขุ่นเมื่อไหร่ ขอให้โยมระลึกถึงองค์ภาวนา เข้าใจมั้ยจ๊ะ แรกๆมันอาจจะไม่ทัน แต่เมื่อโยมฟังที่ฉันบอก ฝึกไว้แล้วโยมจะทัน จำไว้นะจ๊ะ..นี่คือเคล็ดลับที่โยมจะรอดพ้น

    แล้วโรคภัยไวรัสที่มาตอนนี้..มันไม่ใช่ไวรัสธรรมดา มันเป็นพิเศษ มันไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นแล้วไม่ว่ามันจะมาในรูปแบบใดในรูปของมารก็ดี เหมือนอย่างที่บอกเมื่อโยมอยู่ผู้เดียว ถ้าโยมอยู่มากๆมันไม่เท่าไหร่ คนที่อยู่ผู้เดียวแล้วที่ฉันบอกว่าน่าอันตรายคืออะไร แม้โยมจะอยู่ในคนหมู่มากก็ตาม แต่ถ้าจิตโยมหดหู่เศร้าหมอง หมดอาลัยตายอยากนี่เค้าเรียกว่า..โยมอยู่ผู้เดียว คือขาดที่พึ่งเป็นสรณะ คือไม่มีหลัก

    เค้าถึงบอกว่าแม้คนจะอยู่ในที่ที่ประชุมเดียวกัน แต่เมื่อมีโทษมีเภทมีภัยมันถึงไม่โดนทั้งหมดเพราะอะไร มันโดนเป็นรายบุคคลก็ดี เพราะวิบากรรมคนนี้ทำมาอย่างนี้ เพราะบุคคลนั้นเค้าเจริญภาวนามีสติอยู่ เค้าก็รอด เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นให้โยมฝึกไว้ให้มันชินให้เป็นนิสัย เป็นวาสนาบารมีไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  20. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    9426AAEE-5B96-418A-B7AF-EDBB30944C8E.jpeg

    คู่มันมีคู่สร้างคู่สมคู่เสพ คู่สร้าง..คือมาสร้างฐานะด้วยกันก็ดี คู่เสพคู่สม..คือมาสมสู่ให้มีพยานรักเกิดขึ้นมา ดังนั้นเหล่านี้เรียกว่าคู่เสพคู่สมคู่สร้าง แต่เมื่อถึงเวลาแล้ว เราก็เรียนรู้ทุกข์มาพอแล้ว ให้มาเป็นคู่บารมีกัน "คู่บารมี"มันคืออะไร คือเดินไปทางเดียวกัน เมื่อเราเห็นว่าทางเส้นนี้มันเป็นทางที่สามารถจะพ้นทุกข์พ้นภัยได้ ก็ให้กำลังใจกัน มีเวลาก็มาประพฤติปฏิบัติ เห็นไปทางเดียวกัน นี่เรียกว่าคู่บารมี เค้าเรียกว่าศีลเสมอกัน เมื่อมันเสมอกันมันก็ไปทางเดียวกันได้ มันไม่ขัดกัน

    คู่บารมีนี่ก็ยังเรียกว่าเป็นพระโสดาบัน กระแสพระโสดาบันก็เรียกว่ายังมีคู่มีครอง ยังมีเสพมีสมเป็นธรรมดา ต่อไปเค้าเรียกว่าคู่พรหม คู่แห่งพรหมคือการมีพรหมจรรย์ เมื่อจิตเข้าถึงความบริสุทธิ์แล้ว เค้าจะไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เหล่านี้จะเบาบาง จนเห็นความเบื่อหน่ายในวัฏฏะ ก็จะอยู่คู่กันไป และต่างคนต่างสร้างบารมีซึ่งกันและกัน

    แต่ถ้าโยมยังจมปลักอยู่ในคู่ในครอง อยู่อย่างนั้น หาคู่แล้วหาคู่อีกอยู่อย่างนั้น จะเอาให้ดีให้ดี แต่ตัวเองก็ยังไม่ดีก็ไม่ต้องไปหาแล้ว เค้าให้เรียนรู้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นเป็นทุกข์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นการคนที่มีคู่ที่มีศีลเสมอกันก็ดี ไปในทางเดียวกันก็ดี หมั่นสร้างบารมีก็ดี นั้นเค้าเรียกว่าได้อธิษฐานกันมา เรียกว่าด้วย"แรงอธิษฐาน"

    คราวนี้เมื่อเราอธิษฐาน เราประพฤติปฏิบัติในเส้นทางแห่งมรรค เพื่อจะให้หลุดพ้น อย่างนี้เรียกว่าไม่มีการพลัดพรากเลย เพราะมันปฏิบัติไปทางเดียวกัน ทางเดียวกันมันจะไปพลัดพรากได้ยังไง ใช่มั้ยจ๊ะ มันเป็นเส้นทางเดียวกัน มันก็ไปจุดจบที่เดียวกัน..

    นี้คู่แห่งบุรุษมี ๘ คู่ โยมก็พิจารณาเอา ถ้าเรายังเดินทางอยู่ ก็เรียกว่าทางแห่งมรรค เมื่อเราเห็นผลแล้วเราจะเข้าถึงอริยมรรค อริยมรรคผลนี้ ดังนั้นกระแสพระโสดาบันนี้แลก็ยังมีคู่มีครองเรือนได้ แต่พวกนี้เค้าจะมีความศรัทธาความเชื่อในพระพุทธ ในพระธรรม พระสงฆ์ เรียกว่าละอายจากบาป หรือไม่กล้าทำกรรมชั่วหนัก ไม่กล้าฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเหล่านี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    พระโสดาบันก็ยังมีคู่มีครองได้ เค้าเรียกว่ายังมีเชื้อมนุษย์อยู่ แต่เมื่อโยมเรียนรู้จากมนุษย์จนหมดความอยากลงไปลงไปแล้ว ก็เรียกว่าเชื้อแห่งมนุษย์มันก็จะหมดไป โยมก็รู้สึกว่าจะเบื่อหน่ายในกามคุณ นั่นแหล่ะจ้ะเค้าเรียกว่า บ่งบอกเลยได้ว่าการเกิดจักไม่มีอีกต่อไป ถ้าคนยังไม่หมดในความอยากในกามคุณ ภพชาติย่อมบังเกิดต่อไปในวัฏฏะ เข้าใจมั้ยจ๊ะแต่เมื่อโยมหมดอยากนั้นแล โยมประกาศด้วยตัวเองได้เลยว่า แจ้งกับจิตได้เลยว่า การเกิดจักไม่มีอีกต่อไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นเมื่อโยมมีคู่มีครองในทางโลกเป็นของธรรมดา ๑.เพื่อให้โยมเกิดมาได้ชดใช้กรรมกัน ๒.เพื่อทำสัจจะอธิษฐาน เพราะบางคนอธิษฐานจะมาเจอกัน บางคนอธิษฐานจะมาสร้างบารมีกัน บางคนอธิษฐานจะมาตีหัวกัน ใช่มั้ยจ๊ะ บางคนอธิษฐานจะมาผลิตลูกกัน บางคนอธิษฐานจะมาชดใช้กัน แต่เมื่อโยมอธิษฐานมาอย่างไร นั่นก็เป็นกรรมเป็นวาสนา ขอให้จงทำตามเจตนาจิตให้มันดี

    คู่ครองก็หาใช่ว่าต้องมาอยู่สมสู่กันอย่างเดียว เพราะเค้าเรียกว่าเป็นคู่บารมี คู่บุญ ดังนั้นจงจำไว้ให้หนักว่า ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์ สิ่งนี้คำนี้เป็นของต้องห้าม เพราะอะไร เพราะว่าเป็นของจริง เพราะความรักนี้แลจึงทำให้หวง จึงทำให้ยึด จึงทำให้พยาบาท จึงทำให้คับแค้นใจ เกิดความพอใจไม่พอใจ

    ดังนั้นถ้าโยมมีความรักที่เป็นเมตตา..โยมจะไม่ทุกข์เลย เพราะความรักที่แท้จริงก็คือการให้ผู้ที่เรารักให้เขามีความสุข นั่นแหล่ะจ้ะจึงเรียกว่า"รักด้วยความบริสุทธิ์" ถ้านอกเหนือจากนั้นมีแต่ทุกข์ถ่ายเดียว องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าท่านให้นิยามความรักไว้อยู่แล้ว "ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์" จึงเป็นอมตะแห่งความเป็นจริง

    แต่สิ่งที่ฉันกล่าวมานี้ ถ้าโยมให้ด้วยความรักด้วยความเมตตา ด้วยความบริสุทธิ์ใจที่จะให้แล้ว เห็นยินดีมีความพอใจที่คนที่เรารักนั้นเค้ามีความสุข นั่นแหล่ะจ้ะจงจำไว้ให้ดีเถิดว่า สิ่งที่โยมมอบให้นั้นจะกลับไปหาตัวบุคคลที่ให้

    นั้นการที่จะเข้าถึงธรรม..ไม่ยากเลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ เค้าถึงบอกว่าถ้ามนุษย์ได้รู้ซึ้งแห่งธรรมแล้ว เค้าจะละออกจากรักโลภโกรธหลง ถ้าโยมออกจากสิ่งเหล่านี้ได้ บ่วงทั้งหลายก็ถูกสลัดออก จิตโยมย่อมเป็นอิสระ แต่ถ้าใครยังไม่เป็นอิสระ โยมก็ต้องชดใช้ไปจนว่าโยมนั้นพอแล้ว กรรมมันอยู่ที่โยมกำหนด ไม่ใช่อยู่ที่ใครมาบอก โยมพอใจหรือยัง ถ้าโยมยังพอใจที่แสวงที่อยากจะมีความสุขเสวยอยู่ กรรมจะหมดไปไม่ได้ แต่ถ้าโยมเห็นโทษเห็นภัยในทุกข์และสุขนั้นว่ามันไม่ใช่ของจีรังยั่งยืน บุคคลผู้นั้นย่อมตัดกรรมได้ คือตัดใจได้ ไม่อาลัยอาวรณ์อีกต่อไป..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...