ฮือประท้วง วัดธาตุพนมขุดย้ายรูปหล่อโบราณ พระครูขี้หอมอายุเก่าแก่300ปี

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 19 กุมภาพันธ์ 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ได้มีตัวแทนชาวบ้าน กว่า 200 คน ในพื้นที่ อ.ธาตุพนม นำโดย นายธนัตชัย คำป้อง อายุ 47 กำนันตำบลธาตุพนม ประธานกลุ่มข้าโอกาสพระธาตุพนม พร้อมด้วยผู้นำชุมชนต่างๆ ได้ออกมารวมตัวประท้วงคัดค้าน กรณีคณะกรรมการวัดพระธาตุพนม ได้มีการว่าจ้างผู้รับจ้างเอกชน เข้ามาดำเนินการ ขุดย้าย รูปหล่อ และเจดีย์ บรรจุอัฐิธาตุ ของ พระครูหลวงโพนสะเม็ก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อขี้หอม ยาคูขี้หอม นับเป็นสังฆราชแห่งนครจำปาสัก เนื่องจากเป็นพระเถราจารย์ที่มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านช้าง ที่ได้เข้ามาพัฒนาบูรณปฏิสังขรณ์ องค์พระธาตุพนม เมื่อปี 2233 -2235 ทำให้มีความเจริญรุ่งเรือง และมีคนเลื่อมใสศรัทธา ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน จนกระทั่ง พระครูหลวงโพนสะเม็ก ได้มรณภาพลง รวมสิริอายุ 90 ปี ภายหลังศิษยานุศิษย์ ได้นำอัฐิธาตุส่วนหนึ่งได้บรรจุไว้ในเจดีย์ นอกกำแพงแก้วชั้นที่ 2 มีรูปหล่อหน้าเจดีย์เท่าองค์จริง ด้านข้างองค์ พระธาตุพนมด้านทิศเหนือ ให้ชาวพุทธกราบไหว้จวบจนทุกวันนี้

    0b897e0b989e0b8a7e0b887-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b898e0b8b2e0b895e0b8b8e0b89ee0b899e0b8a1e0b882e0b8b8.jpg

    จนกระทั่งได้เกิดปัญหาหลังเคยเกิดความวุ่นวาย เมื่อปี 2552 เนื่องจากทางคณะกรรมการวัดพระธาตุพนม จะมีการขุดย้ายรูปหล่อ และเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ ไปไว้ที่อื่น อ้างว่าเพื่อความเหมาะสม และปรับพื้นที่ให้เกิดความสะดวกในการจัดงานพิธีสำคัญ แต่ชาวบ้านคัดค้านไม่ยินยอม จนกระทั่งเรื่องเงียบไป ต่อมา เมื่อปลายปี 2562 ทางคณะกรรมการวัดพระธาตุพนม จึงได้นำเรื่องเดิมขึ้นมาหารือ เสนอไปยังสำนักศิลปากรที่ 7 อุบลราชธานี ที่ดูแลรับผิดชอบ เพื่อขอดำเนินการ จึงได้มีหนังสือแจ้งมายังคณะ กรรมการวัดพระธาตุพนม ว่าหากจะมีการดำเนินการให้จัดทำประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามขั้นตอน

    ต่อมาล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางวัดพระธาตุพนม และคณะกรรมการวัด ได้มีการว่าจ้างให้ ผู้รับจ้าง เข้ามาดำเนินการเตรียมขุดย้าย รูปหล่อ และเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ พระครูหลวงโพนสะเม็ก ออกจากจุดเดิม ไปไว้ที่ใหม่ ทำให้ชาวบ้านพบเห็นจึงเกิดความไม่พอใจ เนื่องจากพบว่า ส่วนหนึ่ง เป็นการทำลายโบราณสถาน โบราณวัตถุ ภายในวัดพระธาตุพนม สถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง อายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปี โดยไม่มีการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นประชาชน เชื่อว่ามีการแอบแฝงเรื่องอื่น เป็นการทำลายโบราณสถาน และทำร้ายจิตใจชาวพุทธ ชาวธาตุพนม และชาวไทย ชาวลาวที่เคารพศรัทธา จึงออกมารวมตัวกันประกาศจุดยืน แสดงพลัง เรียกร้องคัดค้านผ่านสื่อ ไปยังหน่วยงานเกี่ยวข้อง ให้มีการยุติการดำเนินการ และร่วมกับนำเครื่องมือจอบเสียมมาขุดดินกลบหลุมที่ถูกขุดขึ้นมา ส่วนหนึ่งพบว่า เกิดความเสียหายของซากอิฐปูนโบราณ ภายใต้ฐานรอบๆ รูปหล่อ และเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ พร้อมได้เรียกร้องให้กรมศิลปากร ออกมาตรวจสอบหาแก้ไขเร่งด่วน

    897e0b989e0b8a7e0b887-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b898e0b8b2e0b895e0b8b8e0b89ee0b899e0b8a1e0b882e0b8b8-1.jpg

    ทั้งนี้ ทางด้าน นายสามารถ สุวรรณมณี นายอำเภอธาตุพนม ได้มอบหมายให้ นายสุพจน์ ผิวดำ ปลึดอาวุโส พร้อมด้วย นายขจรศักดิ์ นิตชิน นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลธาตุพนม และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกี่ยวข้อง เข้าไปตรวจสอบ รับทราบปัญหา ร่วมกับชาวบ้าน และทางตัวแทนคณะกรรมการวัด เพื่อขอให้ยุติการดำเนินการ และเสนอไปยังหน่วยงานเกี่ยวข้อง ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

    ด้านนายธนัตชัย คำป้อง อายุ 47 ปี กำนันตำบลธาตุพนม ประธานกลุ่มข้าโอกาสพระธาตุพนม เปิดเผยว่า การดำเนินการดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับ ข้าโอกาสพระธาตุพนม เป็นอย่างมทาก รวมถึงพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทย ชาวลาว ที่เคารพศรัทธา เนื่องจากการดำเนินการครั้งนี้ ทางวัดไม่ได้หารือกับชาวบ้าน ถึงความเหมาะสม อีกทั้งยังไม่ดำเนินการตามขั้นตอนที่กรมศิลปากร แจ้งมา มีการลักไก่ ว่าจ้างผู้รับจ้างเข้าไปขุดดินโดยพละการ สำคัญที่สุดไม่เพียงทำร้ายจิตใจชาว อ.ธาตุพนม ข้าโอกาสพระธาตุพนม ยังทำลายโบราณสถาน โบราณวัตถุ ในจุดดังกล่าว เพราะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญ ทำให้ร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์เสียหาย อย่างไรก็ตาม ตนรวมถึงข้าโอกาสพระธาตุพนม ไม่ยินยอม และประกาศจุดยืนขอคัดค้านให้ถึงที่สุดไม่ให้มีการเคลื่อนย้าย เนื่องจากจุดเดิมถือเป็นประวัติศาสตร์ที่จารึกไว้ ก่อสร้างไว้ ไม่มีความจำเป็นที่จะย้าย เชื่อว่าหากใครย้ายออกไปจะเกิดอาเพศ และสิ่งไม่ดีจะเกิดขึ้นกับคนที่รู้เห็นดำเนินการแน่นอน เพราะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์

    897e0b989e0b8a7e0b887-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b898e0b8b2e0b895e0b8b8e0b89ee0b899e0b8a1e0b882e0b8b8-2.jpg

    กำนัน นายธนัตชัย คำป้อง กล่าวอีกว่า สำหรับ เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก หรือ พระครูขี้หอม ถือเป็น พระสงฆ์รูปหนึ่งที่มีบทบาท ในการเป็นผู้นำชุมชนและการเมืองฝั่งโขง ในยุคอาณาจักรลาวแผ่ขยายครอบคลุมสองฝั่งแม่น้ำโขง นับเป็นสังฆราชแห่งนครจำปาสัก เนื่องจากเป็นพระเถราจารย์ที่มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านช้าง ที่ได้เข้ามาพัฒนาบูรณปฏิสังขรณ์ องค์พระธาตุพนม เมื่อปี 2233 -2235 ส่วน เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก เกิดเมื่อจุลศักราช 993 ปีมะแม ตรงกับ พ.ศ.2174 สมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช แห่งล้านช้าง เวียงจันทน์ ที่เมืองโพพันลำ เทือกเขาภูพาน (ปัจจุบันคือบ้านกะลืม หมู่ 5 เทือกเขาภูพาน เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี) พ.ศ.2233 เหตุการณ์ในเวียงจันทน์วุ่นวาย แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย จึงได้อพยพบริวารและผู้ติดตาม 3,000 คน เดินทางไปถึงชายแดนเขมร ระหว่างทางท่านและลูกศิษย์ได้สร้างเมือง ก่อตั้งวัดวาอารามหลายแห่ง จึงเกิดชุมชนลาวตั้งขึ้นสองฝั่งแม่น้ำโขง และลำน้ำสาขา ด้วยแรงศรัทธาและบารมีที่มีต่อเจ้าราชครูโพนสะเม็กมากขึ้น จึงได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นพระราชา ปกครองเมืองนครจำบากนาคบุรีศรี ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น นครจำปาสัก ในเวลาต่อมาอาณาจักรดังกล่าวแผ่ขยายไปอย่างรวดเร็ว ลูกศิษย์ท่านได้ไปสร้างเมืองใหม่ สองฝั่งน้ำโขง มีสัมพันธไมตรีกับเขมร ขณะที่เจ้าราชครูดำรงตำแหน่งฝ่ายสงฆ์ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยการสร้างพระพุทธรูป สร้างวัดวาอารามหลายแห่ง

    897e0b989e0b8a7e0b887-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b898e0b8b2e0b895e0b8b8e0b89ee0b899e0b8a1e0b882e0b8b8-3.jpg

    ที่สำคัญตามตำนานพระธาตุพนม ระบุว่า ช่วงปลายศตวรรษที่ 22 ประมาณ พ.ศ.2233 – 2235 พระครูขี้หอม หรือ เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ได้มาบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม ครั้งที่ 5 เป็นเวลานานถึง 3 ปีจึงแล้วเสร็จ หลังพระครูหลวงโพนสะเม็ก ได้มรณภาพลง รวมสิริอายุ 90 ปี หรือประมาณปี 2263 ศิษยานุศิษย์ ได้นำอัฐิธาตุส่วนหนึ่งได้บรรจุไว้ในเจดีย์ นอกกำแพงแก้วชั้นที่ 2 มีรูปหล่อหน้าเจดีย์เท่าองค์จริง ด้านข้างองค์ พระธาตุพนมด้านทิศเหนือ คือจุดเดิมที่เห็นในปัจจุบัน อายุเก่าแก่ ราว 300 ปี

    ขอขอบคุณที่มา
    https://siamrath.co.th/n/133886
     
  2. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    วันพุธ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 21.46 น.


    วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 16.00 น. บริเวณรอบวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ได้มีตัวแทนชาวบ้านกว่า 1,000 คน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลธาตุพนม นำโดย นายธนัตชัย คำป้อง กำนันตำบลธาตุพนม ประธานกลุ่มข้าโอกาสพระธาตุพนม และ นางสาวภารดี ทามนตรี ผู้ใหญ่บ้านธาตุพนมใต้ หมู่ 11 พร้อมด้วยผู้นำชุมชนต่างๆ ได้ออกมารวมตัวประท้วงเพื่อคัดค้านการย้ายสถูปของพระครูหลวงโพนสะเม็ก โดยก่อนหน้านี้คณะกรรมการวัดพระธาตุพนม มติว่าจ้างผู้รับจ้างเอกชนเข้ามาดำเนินการ เพื่อเตรียมขุดย้ายรูปหล่อ และเจดีย์ ซึ่งภายในบรรจุอัฐิธาตุ ของพระครูหลวงโพนสะเม็ก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อขี้หอม ยาคูขี้หอม สังฆราชแห่งนครจำปาสัก ประเทศลาว เนื่องจากเป็นพระเถราจารย์ที่มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านช้าง ที่ได้เข้ามาพัฒนาบูรณะปฏิสังขรณ์ องค์พระธาตุพนม เมื่อปี พ.ศ.2233 -2235 (330 ปี)ทำให้มีความเจริญรุ่งเรือง และมีคนเลื่อมใสศรัทธาต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน กระทั่งพระครูหลวงโพนสะเม็กได้มรณภาพลง รวมสิริอายุ 90 ปี ภายหลังศิษยานุศิษย์ในสมัยนั้น ได้นำอัฐิธาตุออกเป็น 4 ส่วน โดยส่วนหนึ่งได้นำมาบรรจุไว้ในเจดีย์นอกกำแพงแก้วชั้นที่ 2 ด้านทิศเหนือ ซึ่งมีรูปหล่อขนาดเท่าตัวจริงประดิษฐานอยู่หน้าเจดีย์ สถิตไว้ด้านข้างองค์พระธาตุพนม เพื่อให้ชาวพุทธศาสนากราบไหว้จวบจนทุกวันนี้

    e0b881e0b8aee0b8b7e0b8ade0b884e0b989e0b8b2e0b899e0b8a2e0b989e0b8b2e0b8a2e0b980e0b888e0b894e0b8b5.jpg

    b881e0b8aee0b8b7e0b8ade0b884e0b989e0b8b2e0b899e0b8a2e0b989e0b8b2e0b8a2e0b980e0b888e0b894e0b8b5-1.jpg

    ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2552 ได้เกิดความวุ่นวายขึ้น เนื่องจากทางคณะกรรมการวัดพระธาตุพนมฯ จะขุดย้ายรูปหล่อและเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุไปไว้ที่อื่น ครั้งนั้นอ้างว่าเพื่อความเหมาะสม และจะปรับพื้นที่ให้เกิดความสะดวกในการจัดงานพิธีสำคัญ แต่ชาวบ้านคัดค้านไม่ยินยอม เรื่องดังกล่าวจึงเงียบหายไป

    ถึงปลายปี พ.ศ.2562 ทางคณะกรรมการวัดพระธาตุพนม จึงได้รื้อเรื่องเดิมขึ้นมาหารือใหม่ แล้วเสนอไปยังสำนักศิลปากรที่ 7 อุบลราชธานี ที่ดูแลรับผิดชอบวัดพระธาตุพนมฯ เพื่อขอดำเนินการเคลื่อนย้าย ซึ่งสำนักศิลปากรมีหนังสือแจ้งกลับมายังคณะกรรมการวัดพระธาตุพนม ว่าหากจะมีการดำเนินการต้องมีการจัดทำประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามขั้นตอน

    b881e0b8aee0b8b7e0b8ade0b884e0b989e0b8b2e0b899e0b8a2e0b989e0b8b2e0b8a2e0b980e0b888e0b894e0b8b5-2.jpg

    b881e0b8aee0b8b7e0b8ade0b884e0b989e0b8b2e0b899e0b8a2e0b989e0b8b2e0b8a2e0b980e0b888e0b894e0b8b5-3.jpg

    ซึ่งไม่ปรากฏว่าจะมีการทำประชาพิจารณ์ กระทั่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางวัดพระธาตุพนมและคณะกรรมการวัด ได้มีการลักไก่ว่าจ้างให้ผู้รับจ้างเข้ามาดำเนินการเตรียมขุดย้ายรูปหล่อ และเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุพระครูหลวงโพนสะเม็ก ออกไปไว้ที่ใหม่ ห่างจากจุดเดิมไม่ถึง 10 เมตร อ้างว่าเพื่อความเหมาะสมเพิ่มสวยงามของภูมิทัศน์ ทำให้ชาวบ้านเกิดความไม่พอใจ เนื่องจากพบว่าเป็นการทำลายโบราณสถาน โบราณวัตถุ ภายในวัดพระธาตุพนม อันสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง มีอายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปี ซึ่งคณะกรรมการไม่มีการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน จึงเชื่อว่ามีการแอบแฝงเรื่องอื่น นอกจากทำลายโบราณสถานอายุกว่า 300 ปีแล้ว ยังทำร้ายจิตใจชาวพุทธ ชาวอำเภอธาตุพนม ชาวไทยและลาวที่เคารพศรัทธา จึงนัดออกมารวมตัวกันประกาศจุดยืน แสดงพลังเรียกร้องคัดค้านผ่านสื่อ ส่งไปยังหน่วยงานเกี่ยวข้อง ให้มีการยุติการดำเนินการ และร่วมกันนำเครื่องมือจอบเสียมมาขุดดินกลบหลุมที่ถูกขุดขึ้นมา ส่วนหนึ่งพบว่าเกิดความเสียหายของซากอิฐปูนโบราณ ภายใต้ฐานรอบๆ รูปหล่อ และเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ พร้อมได้เรียกร้องให้กรมศิลปากร ออกมาตรวจสอบหาแก้ไขเร่งด่วน

    b881e0b8aee0b8b7e0b8ade0b884e0b989e0b8b2e0b899e0b8a2e0b989e0b8b2e0b8a2e0b980e0b888e0b894e0b8b5-4.jpg

    ทางด้าน นายสามารถ สุวรรณมณี นายอำเภอธาตุพนม ได้มอบหมายให้ นายสุพจน์ ผิวดำ ปลัดอาวุโส พร้อมด้วย นายขจรศักดิ์ นิตชิน นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลธาตุพนม และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกี่ยวข้อง เข้าไปตรวจสอบ เพื่อรับทราบปัญหา ร่วมกับชาวบ้าน และทางตัวแทนคณะกรรมการวัด เพื่อขอให้ยุติการดำเนินการ พร้อมเสนอไปยังหน่วยงานเกี่ยวข้อง ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

    b881e0b8aee0b8b7e0b8ade0b884e0b989e0b8b2e0b899e0b8a2e0b989e0b8b2e0b8a2e0b980e0b888e0b894e0b8b5-5.jpg

    นายธนัตชัย คำป้อง กำนันตำบลธาตุพนม ประธานกลุ่มข้าโอกาสพระธาตุพนม เปิดเผยว่า การดำเนินการดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับข้าโอกาสพระธาตุพนม เป็นอย่างมาก รวมถึงพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและลาว ที่เคารพศรัทธา เนื่องจากการดำเนินการครั้งนี้ ทางวัดไม่ได้หารือกับชาวบ้าน ถึงความเหมาะสม อีกทั้งยังไม่ดำเนินการตามขั้นตอนที่กรมศิลปากรแจ้งมา มีการลักไก่ว่าจ้างผู้รับจ้างเข้าไปขุดดินโดยพละการ สำคัญที่สุดไม่เพียงทำร้ายจิตใจชาวอำเภอธาตุพนม และข้าโอกาสพระธาตุพนม ยังทำลายโบราณสถาน โบราณวัตถุในจุดดังกล่าว เพราะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์เสียหาย อย่างไรก็ตาม ตนรวมถึงข้าโอกาสพระธาตุพนมไม่ยินยอมให้มีการเคลื่อนย้ายสถูปพระครูโพนสะเม็กแน่นอน และยังทราบอีกว่าระหว่างมีการขุดหลุมนั้น คนงานพบวัตถุโบราณจำนวน 2 ชิ้น ซึ่งอาจจะเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ แต่ไม่รู้ว่าวัตถุโบราณนั้นอยู่ที่ไหน จึงขอประกาศจุดยืนคัดค้านให้ถึงที่สุดไม่ให้มีการเคลื่อนย้าย เนื่องจากจุดเดิมถือเป็นประวัติศาสตร์ที่จารึกไว้ ไม่มีความจำเป็นที่จะย้าย เชื่อว่าหากใครย้ายออกไปจะเกิดอาเพศ และมีสิ่งไม่ดีจะเกิดขึ้นกับคนที่รู้เห็นดำเนินการแน่นอน

    b881e0b8aee0b8b7e0b8ade0b884e0b989e0b8b2e0b899e0b8a2e0b989e0b8b2e0b8a2e0b980e0b888e0b894e0b8b5-6.jpg

    นายธนัตชัย คำป้อง กล่าวต่ออีกว่า เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก หรือ พระครูขี้หอม ฯลฯ เป็นพระสงฆ์รูปหนึ่งที่มีบทบาท ในการเป็นผู้นำชุมชนและการเมืองฝั่งโขง ในยุคอาณาจักรลาวแผ่ขยายครอบคลุมสองฝั่งแม่น้ำโขง นับเป็นสังฆราชแห่งนครจำปาสัก เนื่องจากเป็นพระเถราจารย์ที่มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านช้าง ที่ได้นำชาวบ้าน 3,000 คน เข้ามาพัฒนาบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม

    b881e0b8aee0b8b7e0b8ade0b884e0b989e0b8b2e0b899e0b8a2e0b989e0b8b2e0b8a2e0b980e0b888e0b894e0b8b5-7.jpg

    โดยมีประวัติกล่าวว่าเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก เกิดเมื่อจุลศักราช 993 ปีมะแม (ตรงกับ พ.ศ.2174) สมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช แห่งล้านช้างเวียงจันทน์ ที่เมืองโพพันลำ เทือกเขาภูพาน (ปัจจุบันคือบ้านกะลืม หมู่ 5 ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี) ล่วงถึง พ.ศ.2233 เกิดเหตุการณ์วุ่นวายในเวียงจันทน์ แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย ท่านจึงอพยพบริวารและผู้ติดตาม 3,000 คน เดินทางไปถึงชายแดนเขมร ระหว่างทางท่านและลูกศิษย์ได้สร้างเมือง ก่อตั้งวัดวาอารามหลายแห่ง จึงเกิดชุมชนลาวตั้งขึ้นสองฝั่งแม่น้ำโขง และลำน้ำสาขา

    b881e0b8aee0b8b7e0b8ade0b884e0b989e0b8b2e0b899e0b8a2e0b989e0b8b2e0b8a2e0b980e0b888e0b894e0b8b5-8.jpg

    ด้วยแรงศรัทธาและบารมีที่มีต่อเจ้าราชครูโพนสะเม็กมากขึ้น จึงได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นพระราชา ปกครองเมืองนครจำบากนาคบุรีศรี ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นนครจำปาสัก ในเวลาต่อมาอาณาจักรดังกล่าวแผ่ขยายไปอย่างรวดเร็ว ลูกศิษย์ท่านได้ไปสร้างเมืองใหม่แถบสองฝั่งน้ำโขง มีสัมพันธไมตรีกับเขมร ขณะที่เจ้าราชครูดำรงตำแหน่งฝ่ายสงฆ์ ก็ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยการสร้างพระพุทธรูป วัดวาอารามหลายแห่ง

    b881e0b8aee0b8b7e0b8ade0b884e0b989e0b8b2e0b899e0b8a2e0b989e0b8b2e0b8a2e0b980e0b888e0b894e0b8b5-9.jpg

    ตำนานพระธาตุพนม ระบุว่าช่วงปลายศตวรรษที่ 22 ประมาณ พ.ศ.2233 – 2235 พระครูขี้หอม หรือ เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ได้มาบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม เป็นเวลานานถึง 3 ปีจึงแล้วเสร็จ และหลังพระครูหลวงโพนสะเม็กมรณภาพลง ลูกศิษย์ได้แบ่งอัฐิธาตุส่วนหนึ่งบรรจุไว้ในเจดีย์ ข้างองค์พระธาตุพนม นอกกำแพงแก้วชั้นที่ 2 แม้ปี พ.ศ.2518 พระธาตุพนมองค์เดิมล้ม ก็ไม่มีผู้ใดแตะต้องเจดีย์ของพระครูโพนสะเม็กแต่อย่างใด จึงอยู่เคียงข้างพระธาตุพนมองค์ใหม่จนถึงปัจจุบัน


    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.banmuang.co.th/news/region/180967
     

แชร์หน้านี้

Loading...