**ร้านศิวิไลพระเครื่อง** วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เกจิคณาจารย์ภาคเหนือ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิวิไล, 25 พฤษภาคม 2013.

  1. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5989

    ชุดกรรมการเหรียญ ครูบาเจ้าศรีวิไชย รุ่นสิริวิชโย 115 ปี วัดบ้านปาง ปี 2536 เงิน นวะ ฝาบาตร ล็อกเก็ต กล่องเดิม


    เป็นเหรียญครูบาเจ้าฯ อีกรุ่นหนึ่งที่มีความงดงาม สมบรูณ์ ทั้งด้านหน้า และด้าน หลังเหรียญ และยังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากการสร้างของ คุณ นิตย์ พงษ์ลัดดา โดยมีพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์ เจ้าภานุพันธุ์ ยุคล เป็นองค์ประธาน
    มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นทุนบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ และทุนการศึกษาครูบาเจ้าศรีวิไชย วัดบ้านปาง อ. ลี้

    มีแผ่น,ทอง,นาค,เงิน ลงอักขระอธิฐานจิตจากวัด 9 วัดซึ่งมีนามเป็นมงคลดังนี้

    –วัดศรีเกิด

    -วัดดวงดี

    –วัดชัยมงคล

    –วัดชัยพระเกียรติ

    –วัดหม้อคำตวง

    –วัดหมื่นเงินกอง

    –วัดหมื่นล้าน

    –วัดเชียงยืน

    –วัดเชียงมั่น

    พิธีพุทธาภิเษกขึ้น เมื่อ 24 ธันวาคม 2536 โดยพระสุปฎิปันโนศิษย์สุดยอดเกจิแห่งล้านนาสายครูบาเจ้าศรีวิไชย อธิษฐานจิตลงอักขระ แผ่นทอง นาค เงิน เช่น

    1) ครูบาสิงหวิชัย วัดฟ้าฮ่าม จ.เชียงใหม่

    2) ครูบาอินทร์ วัดฟ้าหลั่ง จ.เชียงใหม่

    3) ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี จ.เชียงใหม่

    4) ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง จ.เชียงใหม่

    5) ครูบาชัยวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน

    6) พระครูสังวรญาณ สำนักปฎิบัติธรรมสังวราราม จ.ลำพูน

    7) พระเทพสิทธาจารย์ วัดพระธาตุดอยสุเทพ

    8) พระครูบวรสุขบท(ครูบาสุข) วัดป่าซางน้อย จ.ลำพูน

    9) ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่

    10) ครูบาประเทือง วัดบ้านเด่น จ.เชียงใหม่

    เหรียญยอดนิยม ออกแบบได้งดงาม พิธีสร้างดี เจตนาทำดี

    และออกจากวัดบ้านปาง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของครูบาเจ้าและเหรียญดัง

    อีกหลายรุ่น ทำให้เหรียญรุ่นนี้ไต่ลำดับมาเป็นพระนิยมในเวลารวดเร็ว

    โดยประสบการณ์เป็นที่เล่าว่ามัคคุเทศน์ได้ไปปางช้างและทำพิธีลอด

    ท้องช้างทั่วไป การลอดคือการให้ช้างข้ามตัวผู้คนที่นอนอยู่นั่นเอง

    เป็นที่น่าแปลกใจก็คือ เมื่อไปถึงมัคคุเทศน์ผู้นั้นช้างกลับไม่ยอมข้าม

    มัคคุเทศน์ผู้นี้ก็ไม่มีอะไรนอกจากห้อยเหรียญครูบา115ปี นี้ หลังจาก

    ปลดออกแล้ว ช้างก็ยอมที่จะข้าม จึงเป็นที่มาของครูบาช้างไม่ข้ามโด่งดังมากครับ


    k.jpg g.jpg s.jpg 1.jpg ji.jpg rt.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2020
  2. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5990

    เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อธรรมยะ กะไหล่ทอง หายาก

    หลวงพ่อตะมะยะ มหาสยาดอว์ (อูวินนะยะ ตะมะยะตอง สะยาดอจี) วัดเขาตะมะยะ เมือง พาอัน เมียนมาร์ ผู้เป็น ที่ ศรัทธา ของชาวกะเหรี่ยง ชาวมอญ ชาวพม่า ไทยใหญ่ ในฐานะเป็นพระเถระจารย์ สายกรรมฐาน ผู้นำชาวพุทธศาสนิกชน ร่วมรักษาศีล เจริญจิตภาวนา อยู่ร่วมกันอย่างสันติ หลวงพ่อธรรมมะยะ หรือหลวงพ่อตะมะยะ (ในภาษาเรียกของคนท้องถิ่น) เป็นชาวกะเหรี่ยงปะโอ สมัยเด็กบวชเป็นเณรที่วัดหลวงแม่สอด และเติบโตเป็นประผู้ใหญ่ในรัฐกะเหรี่ยง จากนั้นจัดตั้งสถานอภัยทานที่บ้านธรรมมะยะ ฉันอาหารเจ มีชื่อเสียงทางกรรมฐาน และพัฒนาโรงเรียน ก่อสร้างวัดวาอาราม สร้างถนน สร้างสะพาน จัดตั้งโรงเรียนให้แก่นักเรียนชนบท ถือเป็นพระผู้ใหญ่ในพม่าท่านเป็นพระที่คนพม่านับถือกันทั้งประเทศรวมทั้งคนไทยในเขตชายแดนที่ติดกับพม่า
    ท่านเปี่ยมด้วยเมตตาธรรม โดยไม่เลือกว่าเป็นฝ่ายใคร ฝ่ายไหน จะมีโรงทานบริการข้าวและอาหารมังสวิรัติให้กินทุกๆวัน ท่านเป็นพระที่มีอิทธิฤทธิ์ แม้แต่นางออง ซาน ซูจี ยังให้ความเคารพและนับถือ เป็นอย่างยิ่ง
    สุดยอดเหรียญประสบการณ์แห่งแดนตะวันตก ดังจากประสบการณ์ล้วนๆ เล่ากันปากต่อปาก ไม่ต้องมีใครปั่น เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์เรื่องมหาอุด คลาดแคล้ว คงกระพันสูงมากๆครับ


    บูชาแล้วครับ

    p.jpg o.jpg l.jpg Clip_29.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2020
  3. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5991

    พระร่วงหลังแบบ วัดพระสิงห์ ปี 12


    พระร่วงรุ่นนี้ สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์การสร้างอนุสาวรีย์และพระสถูปเจดีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมืองงาย เมื่อปี ๒๕๑๒

    อนูสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ถูกสร้างขึ้น ตามคำปรารภที่ว่า(จากหนังสือประวัติการสร้าง พระกริ่งสมเด็จพระนเรศวร มหาราช เมื่องงาย ปี ๒๕๑๒-ผู้เขียนขอคัดย่อมา) ดังนี้

    "ชาติไทยได้ดำรงความเป็นอิสระเสรีจนกระทั่งปัจจุบัน โดยมีวีรชนผู้กล้าเสียสละเลือดเนื้อเป็นชาติพลี เพื่อลูกหลานและชนรุ่นหลังโดยตลอดมา

    บรรดาวีรชนที่นับว่าได้เสียสละ ไม่มีใครจะประกอบวีรกรรมอันสูงส่งเทียบเท่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และผุ้ร่วมพระหฤทัย เช่น สมเด็จพระเอกาทศรถ บรรดาแม่ทัพนายกอง และนักรบผู้กล้าหาญของชาวไทย

    ชาวเชียงใหม่ได้ระลึกอยุ่เสมอว่า ที่การพวกเราได้อยู่อย่างเป็นสุขสบายจนกระทั่งทุกวันนี้ ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ได้ทรงมีพระเมตตาต่อชาติไทย จึงได้เห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะได้ร่วมกันจัดสร้างสิ่งอันเป็นอนุสรณ์แด่พระองค์ขึ้น

    หลังจากพิจารณาหารือกันแล้วก็เห็นว่า บริเวณบ้านเมืองงาย ดำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว เป็นสถานที่ที่พระองค์ได้ทรงตั้งทัพตั้งค่าย ขึ้น...จึงสมควรจะได้สร้างพระสถูปเจดีย์ที่ได้สูญเสียหักพังลงไป

    คณะผู้สร้างขณะนั้น อันมีพันตำรวจเอก นิรันดร ชัยนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ขณะนั้นได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติ ดำเนินการก่อสร้างพระสถูปเจดีย์ และพระอนุสาวรีย์ ซึ่งพระองค์ได้มีพระมหากรุณาธิคุณฯโปรดเกล้าฯตามที่ขอพระราชทานไป และคณะรัฐมนตรีก็ได้เห็นชอบในหลักการแล้ว....

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๐๘ ณ.ที่แห่งนี้ และเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๑ ได้ทรงเจิมและทรงสุหร่ายศิลาฤกษ์และแผ่นอิฐซึ่งได้มาจากพระเจดีย์องค์เดิม และ

    นอกจากนั้นพระองค์ในวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๒ ได้เสด็จฯ มาเป็นประธานในพระราชพิธีพุทธาภิเษก ณ.วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เพื่อทรงเททองเป็นปฐมฤกษ์ ด้วยพระบารมีของล้นเกล้าล้นกระหม่อมทั้งสองพระองค์ ประชาชนได้มาร่วมพิธีและเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างล้นหลาม และประชาชนทั่วประเทศได้สั่งจองบูชา พระเครื่อง และสิ่งที่สร้างขึ้นในคราวนี้จนหมด สามารถมีทุนเพียงพอในการที่จะนำไปก่อสร้างพระสถูปเจดีย์และพระอนุสาวรีย์ได้

    วัตถุมงคลที่ได้จัดสร้างในคราวนี้

    ๑.พระกริ่งนเรศวรเมืองงาย บูชา ขณะนั้น ๓๐๐ บาท

    ๒.เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    ๓.พระพุทธสิหิงส์ ขนาดหน้าตัก ๑๒,๙,๗ และ ๕ นิ้ว

    ๔.พระเชียงแสน

    ๕.ขันน้ำพุทธมนต์พระกริ่ง

    ๖.พระร่วงรางปืน

    ในโอกาสนี้จะขอบันทึกเฉพาะพระร่วงรางปืนเท่านั้น คือ มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงรมดำจำนวน ๑๐,๐๐๐ องค์ (ภายหลังได้สร้างเพิ่มเป็นจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ องค์)

    พิมพ์ที่ได้นำมาเป็นหัวข้อนี้เป็นพิมพ์หลังแบบ สร้างต่างหาก ๒,๐๐๐ องค์

    พระดีพิธีใหญ่มากครับปลุกเสกโดยเกจิดังทั่วประเทศ..หลังเสร็จพิธีมีคนนำไปทดลองยิงปรากฎว่ายิงไม่ออกจึงทำให้ผู้คนหลั่งไหลกันมาเช่าบูชา.หมดเพียงไม่กี่วัน..หลังแบบสี้างจำนวน2000องค์..เป็นพระชุดวัพระสิงห์ยอดนิยม


    ราคา 4950 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    y.jpg [.jpg oi.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2020
  4. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5992

    พระแก้วหยก วัดพระแก้ว เชียงราย ปี 34 ในหลวงร 9 เสด็จ ลอยองค์

    .......................................................................................

    สร้างในวโรกาศเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๙๐ พระชันษา วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๓ ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สวณฺณโชตมหาเถระ) เจ้าอาวาส วัดเบญจมบพิตรดุสิตวราราม กรรมการมหาเถระสมาคมและเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ ได้มีบัญชาให้คณะสงฆ์ หนเหนือ (๑๖ จังหวัด ในภาคเหนือ) จัดกิจกรรมบำเพ็ญกุศลทางพระพุทธศาสนาเพื่อ เฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศล คณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายจึงจัดโครงการจัดสร้าง “พระแก้วหยกเชียงราย” ขึ้น เพื่อสนองบัญชาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณฯ) ดังกล่าว และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ดังนั้นคณะ สงฆ์จังหวัดเชียงรายจึงจัดสร้าง “ พระแก้วหยกเชียงราย ” โดยมีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่า วัดพระแก้ว จ.เชียงราย แห่งนี้เคยเป็นที่ค้นพบพระแก้วมรกตมาก่อน จึงได้สร้าง “ พระแก้ว หยกเชียงราย ” ขึ้นเพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้สักการบูชา และเพื่อเป็นการรำลึกว่า “ วัดพระแก้ว จ.เชียงราย แห่งนี้ก็มีความสำคัญคู่พระบารมีแห่งองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ” ๒. เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๙๐ พระชันษา ในวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวเชียงรายเปรียบ พระองค์ดุจดังดวงประทีปยังความสว่างและนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่ จ.เชียงราย ในการนี้ คณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายและคณะกรรมการดำเนินการจัดสร้าง “ พระแก้วหยกเชียงราย ” และ “ วัตถุมงคลเฉลิมพระเกียรติฯ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ” จึงได้ดำเนินการจัดสร้างพระ พุทธรูป “ พระแก้วหยกเชียงราย ” ขนาดหน้าตักกว้าง ๔๗.๙ เซนติเมตร ขนาดความสูง ๖๕.๙ เซนติเมตร ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับองค์ “ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ” หรือ “ พระแก้วมรกต ” องค์ดั้งเดิม โดยนำหยกเนื้อดีที่สุดจากประเทศแคนาดา ซึ่ง “ มิสเตอร์ ฮูเวิร์ดโลว์ ” เป็นผู้นำมาถวายท่านเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย และมอบหมายให้ อาจารย์กนก วิศวะกุล แห่งวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงราย เป็นปฏิมากรผู้ปั้นหุ่นต้นแบบ แล้วส่งมอบให้ “ มิสเตอร์เหยน หวุนหุ้ย ” นายช่างแกะสลักหยกของโรงงานวาลินนานกู แห่งนครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผู้ดำเนินการแกะสลักตามต้นแบบ และในโอกาสนี้ คณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย ได้รับการอุปถัมภ์การจัดสร้างจาก ฯพณฯ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) และ ท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ เป็นประธานอุปถัมภ์และบริจาคเงินเป็นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดสร้าง โดย ท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ เดินทางไปเป็นประธานประกอบพิธีบวงสรวงเทวดาบูชาฤกษ์ในการเริ่มสร้าง เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และเดินทางมาเป็นประธานในพิธีมอบหุ่นต้นแบบ เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ณ วัดพระแก้ว อ.เมือง จ.เชียงราย พิธีพุทธาภิเษก ครั้งที่ 1 ณ วัดกว่างจี้ ประเทศจีน ครั้งที่ 2 ณ พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กทม. เมื่อวันที่20กันยายน พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จมาเป็นประธานในพิธี ครั้งที่ 3 ณ วัดพระแก้วเชียงรายจ.เชียงราย ปี 2534 พระหยก สว.เชียงราย สร้างจากหยกชนิดเดียวกับองค์พระแก้วมรกตบูชา..ด้านหน้าแกะเป็นองค์พระแก้วด้านหลังแกะเป็นพระนามย่อ สว.ของสมเด็จย่า..จำนวนไม่ทราบแน่นอนแต่ไม่มากเพราะแกะจากหยกที่เหลือจากการแกะพระแก้วบูชาครับ หยกชนิดนี้(เนไพร์)ได้นำมาจากประเทศแคนนาดา เป็นหยกที่มีพลังมากกว่าหยกทั่วไปมีพลังวิเศษในตัวเอง...คุณค่าแก่การสะสมยิ่งด้านหลังมีพระนามย่อของสมเด็จย่าด้วย
    องค์นี้แกะได้ สวยมาก พระดีน่าใช้มากครับ

    ราคา 3350 สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    pt.jpg kp.jpg p[.jpg o].jpg Clip_30.jpg Clip_31.jpg Clip_32.jpg Clip_33.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2020
  5. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5993

    เหรียญรุ่นแรกพระธาตุดอยสุเทพ พิมพ์เล็ก กะไหล่ทอง

    เหรียญเก่า ปีลึกพระธาตุประจำปีเกิดปีมะแม

    พระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนดอยสุเทพ ใกล้กับตัวเมืองเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวที่มาเชียงใหม่ครั้งแรกมักจะมาเที่ยวชม และไหว้พระเพื่อเป็นสิริมงคล ภายในวัดมีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น อายุมากกว่า 500 ปี
    ประวัติความเป็นมา
    วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์มังราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น
    ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้โปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ
    ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร
    พระธาตุดอยสุเทพ เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของล้านนาและเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีมะแม กะไหล่ทองสวยเดิมๆไม่ผ่านการใช้
    #เหรียญดีน่าใช้เสริมดวงสำหรับคนเกิดปีมะแม ครับ
    #เหรียญเก่าปีลึกของเมืองเชียงใหม่ น่าใช้ครับ


    บูชาแล้วครับ

    qw.jpg q.jpg w0o.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2020
  6. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5994

    เหรียญหลวงปู่หล้าตาทิพย์ วัดป่าตึง เนื้อเงิน ลงยา ปี 2536
    กล่องเดิม

    ของดีราคาเบาน่าใช้

    บูชาแล้วครับ

    we.jpg ef.jpg ipo.jpg qwo.jpg Clip_36.jpg Clip_34.jpg Clip_35.jpg

    หลวงปู่หล้า จันโทภาโส เกจิชื่อดังแห่งวัดป่าตึง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากปฏิปทาของท่านที่อัศจรรย์เสมือนมี อภิญญา คือ ตาทิพย์-หูทิพย์ ซึ่งทำให้รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ ชื่อเสียงของหลวงปู่หล้า เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปก็เนื่องด้วยท่านเป็นพระที่ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในหลักศีลธรรมอันงดงาม เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น หลวงปู่หล้าท่านได้รับสมญานามจากศรัทธาญาติโยมว่ามีญาณวิเศษที่สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ข้างหน้าได้ จนชาวบ้านทั่วไปเรียกท่านว่า"หลวงปู่หล้าตาทิพย์"
    หลวงปู่หล้า (พระครูจันทสมานคุณ) ท่านเกิดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ ซึ่งอยู่ในช่วงผลัดเปลี่ยนเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สมัยของเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ กับเจ้าอินทวโรรส สุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๘ หลวงปู่หล้าเกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๗ ค่ำเดือน ๑๑ ตรงกับวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๔๔๑ ที่บ้านปง ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โยมพ่อชื่อ นายเงิน โยมแม่ชื่อ นางแก้ว นามสกุล บุญมาคำ เหตุที่มีนามสกุลนี้ หลวงปู่หล้าเล่าว่า
    เพราะพ่ออุ๊ย (ปู่) ชื่อบุญมา แม่อุ้ย (ย่า) ชื่อ คำ เมื่อมีการตั้งนามสกุล กำนันจึงตั้งให้เป็น บุญมาคำ หลวงปู่หล้าเป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัวจากจำนวนพี่น้อง 4 คน เมื่ออายุได้ 1 ขวบ ต้องกำพร้าพ่อ โยมแม่จึงได้เลี้ยงดูลูกทั้งหมดเพียงลำพัง หลวงปู่หล้าเล่าให้ฟังว่า การเลี้ยงลูกสมัยก่อน ต้องช่วยกันทำงาน ช่วยเลี้ยงวัว หากใครทำผิดก็จะถูกเฆี่ยน ทำพลาดก็ถูกเอ็ด
    เมื่อหลวงปู่หล้าอายุได้ ๘ ขวบ โยมแม่ก็นำไปฝากกับครูบาปินตา เจ้าอาวาสวัดป่าตึงให้เป็นเด็กวัด หลวงปู่หล้าจึงได้มีโอกาสเรียนหนังสือเป็นครั้งแรกกับครูบาอินตา ซึ่งสมัยนั้นจะเรียนหนังสือพื้นเมือง จนอายุได้ ๑๑ ขวบก็ได้บวชเป็นสามเณรในช่วงเข้ารุกขมูล เข้ากรรมอยู่ในป่า การเข้ากรรม หรือ อยู่กรรม เรียกว่า ประเพณีเข้าโสสานกรรมซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนาที่พระสงฆ์จะต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งมักจะกระทำกันในบริเวณป่าช้าที่อยู่นอกวัด พระสงฆ์และผู้ที่เข้าบำเพ็ญ โสสานกรรมจะต้องถือปฏิบัติเคร่งครัดเพื่อต้องการบรรเทากิเลสตัณหา
    ขณะที่บวชเป็นสามเณรอยู่นั้น หลวงปู่หล้าไม่ได้เรียนแต่เพียงหนังสือพื้นเมืองเท่านั้น แต่ยังได้เรียนหนังสือไทยไปด้วย โดยเรียนกับพระอุ่นซึ่งเคยไปจำพรรษาที่วัดอู่ทรายคำในเมืองเชียงใหม่ และเรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนประจำมณฑลพายัพ ปัจจุบันคือโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย แต่ครูบาปินตาไม่สนับสนุนให้พระเณรเรียนหนังสือไทย ในที่สุดพระอุ่นจึงต้องเลิกสอน หลวงปู่หล้าศึกษาเล่าเรียนทั้งอักขรวิธีและธรรมปฏิบัติกับครูบา ปินตาเรื่อยมาจนกระทั่งอายุได้ ๑๘ ปี จึงเดินทางเข้าไปจำพรรษาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ เพื่อเรียนนักธรรมที่วัดเชตุพน หลวงปู่หล้าเรียนนักธรรมที่วัดเชตุพนเพียง ๑ ปี ยังไม่ทันสำเร็จก็ต้องเดินทางกลับวัดป่าตึง เพื่อปรนนิบัติครูบาปินตาที่ชราภาพ หลวงปู่หล้าอยู่ปรนนิบัติครูบาปินตาจนกระทั่งล่วงเข้าปี พ.ศ.๒๔๖๗ ครูบาปินตาก็มรณภาพด้วยวัย ๗๔ ปี ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่หล้าอายุ ๒๗ ปีเท่านั้น หลวงปู่หล้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าตึงต่อจากครูบาปินตา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗ และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลออนใต้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗
    นอกจากนี้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ เมื่อครูบาศรีวิชัย ได้สร้างถนนขึ้นสู่ดอยสุเทพ โดยเริ่มสร้างตั้งแต่วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๗ จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๗๘ รวมเป็นเวลา ๕ เดือนกับ ๒๒ วัน ในครั้งนั้นหลวงปู่หล้าได้เดินทางไปร่วมสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพด้วย หลวงปู่หล้าเล่าถึงความยากลำบากในการสร้างถนนไว้ในหนังสือ ประวัติวัดป่าตึงว่า การสร้างถนนมีการแบ่งงานกันตามกำลังของคน ผู้คนที่ไปร่วมเป็นชาวบ้านจากวัดป่าตึงทำได้ ๕ วาใช้เวลา ๑๔ วัน ส่วนพวกที่มาจากเมืองพานทำได้ ๖๐ วา เมื่อปี ๒๕๐๔ หลวงปู่หล้าได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็น พระครูจันทสมานคุณ ซึ่งขณะนั้นท่านอายุ ๖๓ ปี มีคนพากันยกย่องหลวงปู่หล้าว่าท่านสามารถรู้เห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ มีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่งฝนตั้งเค้าจะตกหนัก หลวงปู่บอกให้พระเณรรีบออกจากกุฏิ เพราะกุฏิเก่าและทรุดโทรมมากและมีต้นลานขนาดใหญ่อยู่ข้างกุฏิ ปรากฏว่าวันนั้นฝนตกหนักกิ่งต้นลานก็หักโค่นลงมาทับกุฏิพัง พระเณรที่อยู่ในวัดทุกคนปลอดภัยและพากันสรรเสริญว่า ท่านมีตาทิพย์ นอกจากนั้นยังมีเรื่องเล่าอีกว่า เช้าวันหนึ่งเวลาประมาณตี ๕ หลวงปู่หล้าให้พระเณรรีบทำความสะอาดวิหารเพราะจะมีแขกมาหาที่วัด ครั้นพอถึงเวลา ๖ โมงเช้า พระศรีธรรมนิเทศ เจ้าอาวาสวัดสันป่าข่อยนำญาติโยมมาหา ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงพากันเรียกท่านว่า "หลวงปู่หล้าตาทิพย์"
    กเหตุการณ์หนึ่งคือ ครั้งหนึ่งมีคณะผู้มากราบนมัสการหลวงปู่หล้าเกินจำนวนที่แจ้งความประสงค์จะขอของขลังจากท่าน แต่ท้ายที่สุดก็ได้รับแจกกันครบทุกคนอย่างน่าอัศจรรย์ ... จึงเชื่อกันว่าเป็นเพราะอิทธิฤทธิ์ของท่าน ไม่เพียงเท่านั้น อดีตครูใหญ่ของโรงเรียนบ้านป่าตึงท่านหนึ่งเล่าเพิ่มเติมว่า เช้าวันหนึ่งประมาณตี ๕ หลวงปู่หล้าได้ให้พระเณรรีบทำความสะอาดวิหาร (ราวกับว่าจะมีแขกมาหาที่วัด)ปรากฏว่า พอถึง ๖ โมงเช้า พระศรีธรรมนิเทศ เจ้าอาวาสวัดสันป่าข่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ก็นำคณะญาติโยมมาหาท่านที่วัดจริงๆ หรือเวลาที่มีชาวบ้านทำของหายหรือถูกลักขโมย เมื่อมาถามหลวงปู่หล้า ท่านก็จะบอกให้ไปตามทิศนั้นทิศนี้ จนกระทั่งได้ของคืนมาทุกครั้ง แต่หากท่านห้ามว่า ไม่ต้องไปตามเพราะจะไม่ได้คืน ก็จะเป็นจริงตามนั้น
    ปาฏิหาริย์ครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งก็คือ เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ หัวเมืองเหนือ พระองค์ท่านได้เสด็จนมัสการหลวงปู่หล้าที่วัดจนเป็นที่เอิกเกริก ประชาชนจำนวนมากแห่แหนไปต้อนรับพระองค์อย่างมืดฟ้ามัวดิน เมื่อพระองค์ท่านจะเสด็จกลับ หลวงปู่หล้าก็ได้ถวายพระพรแด่พระองค์ ซึ่งคราวนี้ดูหลวงปู่จะตั้งใจเป็นพิเศษ
    ปรากฏว่า หลังจากล้างรูปขณะที่หลวงปู่หล้าถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่นั้น...มีแสงสีส้มแดงที่หน้าผากของหลวงปู่!! อันแสดงถึงกระแสจิตของหลวงปู่ที่ตั้งใจและอัดอย่างเต็มที่แก่พระราชาผู้เป็นธรรมราชาแห่งแผ่นดินสยาม

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2020
  7. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5996

    เหรียญรุ่นแรกครูบาแก้ว ชยเสโณ วัดน้ำจำ ปี 2508

    ท่านเป็นพระอาจารย์สอนกัมมัฏฐานของ หลวงปู่คำแสน วัดป่าดอนมูล เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2414 บวชตั้งแต่เด็ก จนกระทั้งมรณะภาพเมื่อปีพ.ศ. 2508 ร่วมยุคสมัยกับ ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ครูบาแก้ว หรื่อพระครูแก้ว ชยเสโน ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดน้ำจำ เจ้าคณะตำบลห้วยทราย-ร้องวัวแดง และเป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตปกครองท้องถิ่นอำเภอสันกำแพงเมื่อในอดีต ลูกศิษย์ที่บวชกับท่านจึงมีอยู่มากมาย และท่านยั่งเป็นบูชนียบุคคลอันเป็นที่เคารพนับถือและเลื่อมใสศรัทธาของชาวอำเภอสันกำแพง

    ราคา 3300 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900


    fd.jpg j.jpg h[.jpg Clip_38.jpg Clip_37.jpg

    ประวัติครูบาแก้ว (ครูบาชัยยะเสนา) พระปฐมาจารย์วัดน้ำจำ

    หลวงปู่ครูบาแก้ว ท่านเกิดเมื่อวันอังคาร เดือน ๑๐ เหนือ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีสัน (วอก) จศ.๑๒๓๔ ตรงกับพ.ศ. ๒๔๑๔ ณ.บ้านน้ำจำ ต.ร้องวัวแดง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่ ๖ ในจำนวนพี่น้อง ๑๑ คน ของพ่อหนานนันตา แม่แสงปิน สกุล ปินตาปิน อายุเพียง ๘ ขวบบิดาได้นำไปเป็นศิษย์เรียนหนังสือล้านนา สวดมนต์ กับครูบาคุณะ วัดน้ำจำ หัดสวดมนต์ ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน ฝึกหัดเรียนเขียนอ่านตัวเมืองล้านนาตามสมัยนิยม พออายุได้ ๑๐ ขวบก้ได้บรรพชาเป็นสามเณร ลุถึงเมื่ออายุได้ ๒๑ ปีจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๙ เดือนกรกฏาคม พ.ศ.๒๔๒๔ โดยมี ครูบาพระศรีวิไชย วัดป่าเป้า เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ.พัทสีมาวัดดอนมูล ต.สันทรายมูล สันกำแพง มี พระทาริยะ วัดร้องวัวแดง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระพรหม วัดม่วงเขียว เป็นพระอนุสาวนาจารย์


    หลังจากอุปสมบทแล้ว ได้กลับไปจำพรรษาที่วัดน้ำจำ จากนั้นไปศึกษาวิชาที่สำนักของพระครูรัตนปัญญาญาณ เจ้าคณะแขวงดอยสะเก็ด ซึ่งเป็นแหล่งธรรมศึกษาที่มีชื่อเสียง อยู่ศึกษาที่สำนักนี้ ๗ พรรษาด้วยกัน จากนั้นจึงต้องกลับมาจำพรรษาที่วัดน้ำจำ ตามนิมนต์ของชาวบ้านเพราะเจ้าอาวาสครูบาคุณะออกธุดงค์และไม่กลับมา ท่านทำหน้าที่ดูแลวัดน้ำจำแป็นเวลา ๔ พรรษา ครั้นเมื่ออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ท่านครุบาหลวงวัดฝายหิน พระราชครูนครเชียงใหม่ พระอภัยสารทะสังฆปาโมก เจ้าคณะนครเชียงใหม่ได้เรียกท่านครูบาแก้วเข้าพบเพื่อแต่งตั้งให้เป็นเจ้า อาวาสต่อไป จนถึงปี พ.ศ.๒๔๕๓ ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะหมวด (ตำบล) ห้วยทราย และตำบลร้องวัวแดง และต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๓ เป็นได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ บวชพระภิกษุสามเณร ทั้งหลาย จนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๙ จึงได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ด้วยเวลาที่อยู่ในร่มกาสาวพัตร์เป็นเวลาอันยาวนานและมีลูกศิษย์มากมาย อีกทั้งท่านเป็นพระอาจารย์ที่ทรงภูมิ ได้ศีกษาวิชามามากมาย เป็นที่เคารพและศรัทธาแก่คนทั้งหลายมาเป็นเวลานาน
    จนเวลาล่วงถึงวันที่ ๑๖ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ ครูบาแก้ว ชยเสโน ท่านก็ละสังขารไปโดยสงบ รวมสิริอายุได้ ๙๔ ปี พรรษา ๗๔ ศิษยานุศิษย์ได้จัดการทำบุญฌาปนกิจศพของท่าน เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๙
    บารมีครูบาชัยยะเสนา วัดน้ำจำ สันกำแพง เชียงใหม่
    ท่านครูบาวัดน้ำจำ ท่านนี้เป็นพระปรมาจารย์แห่งล้านนาในอดีตอย่างแท้จริง เป็นผู้ที่มีอาคมแข็งกล้า มีอำนาจจิตบารมีสูง เชี่ยวชาญศาสตร์วิชาหลายแขนง เชี่ยวชาญวิปัสสนาธุระเป้ยอย่างยิ่ง เป็นที่เคารพแก่คนทั้งหลาย แม้กระทั่งครูบาเจ้าศรีวิชัยยังสรรเสริญในความรู้ และปฏิปทาในวัตรปฏิบัติของท่าน
    ครูบาแก้วท่านเป็นพระที่มักน้อย สันโดษ สงบ และเป็นครูผู้ยิ่งใหญ่ในเชียงใหม่เมื่อกาลนั้น ลูกศิษย์ลูกหามากมายที่มาเรียนวิชาจากท่าน ท่านมีมากจนต้องศึกษากันหลายๆปี จึงจะสำเร็จ ในบรรดาลูกศิษย์ที่เราๆรู้จักกันดีในสมัยต่อมาก็คือ หลวงปู่ครูบาคำแสน คุณาลงฺกาโร วัดป่าดอนมูล นั่นเอง ซึ่งหลวงปุ่ครูบาแก้วท่านเป็นพระจตุกรรมวาจาจารย์แก่หลวงปู่คำแสน ตอนที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ลำพังหลวงปู่คำแสนเองต้องไปเรียนวิชาต่างๆ กับครุบาแก้วหลายปีด้วยกันหลังจากที่อุปสมบทแล้ว
    สำหรับวัตถุมงคลของครูบาแก้วท่านนั้นมีไม่มากมายนัก ส่วนมากท่านไม่มีเจตนาที่จะสร้างด้วยเจตนาของท่านเอง นอกจากบางครั้งที่ชาวบ้านมาขอบารมีท่านสร้าง แต่มีจำนวนน้อยมาก วัตถุมงคลยุคนั้นได้แก่ ผ้ายันต์ ผ้ายันต์นกคุ่มเขียนมือ เสื้อยันต์ พระเนื้อตะกั่วผสมฟันของท่าน และพระผงพิมพ์รูปเหมือน 108 พิมพ์หลังอึ่งผสมผงใบลาน ซึ่งวัตถุมงคลแต่ละรุ่นล้วนเป็นที่เสาะแสวงหาของคนทั้งหลาย โดยเฉพาะวัตถุมงคลยุคแรกๆ นั้นหายากยิ่ง
    นอกจากนั้นก็มีพระผงรูปเหมือนเนื้อผงใบลานผสมเส้นเกศา ผงพลอย และเถ้าอัฐิของครูบาท่าน จากนั้นก้มีเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก พระรอด และพระผงรุ่นหลังที่ทางวัดสร้างขึ้น ซึ่งแต่ละรุ่นก็ได้รับความนิยมจากพุทธศาสนิกชนเป็นอย่างยิ่ง เพราะเชื่อในบารมี และศรัทธาในตัวครูบาแก้วท่าน

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2020
  8. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5997

    เหรียญรุ่นแรกพระอาจารย์จันทร์ วัดม่วงใหม่ จ.น่าน

    เหรียญดังเมืองน่าน


    ราคา 1300 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    เหรียญอ.จันทร์ 300 a.jpg เหรียญอ.จันทร์ 300 b.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2020
  9. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5998

    พระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย พิมพ์พระเลี่ยง เกศาลอย


    พระเกศาครูบาศรีวิชัย สร้างขึ้นสร้างจากผงดอกบูชาพระที่ชาวบ้านมาทำบุญกับครูบาเจ้าศรีวิชัย เผาให้เป็นผงสมุก ผสมกับผงใบลานคลุกรัก ผสมเกศา ปั้นและนำไปกดพิมพ์แจกจ่ายให้แก่บรรดาผู้เลื่อมใสศรัทธาในองค์ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้สักการะบูชาเป็นสิริมงคล

    #องค์นี้พิมพ์พระเลี่ยง ครูบาขาวปีจัดสร้างเนื้อหาจัดจ้านเก่าแห้งดูง่ายมาก เห็นเส้นเกศาชัดเจนครับ


    ราคา 2650 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    oo.jpg p].jpg w.jpg Clip_39.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2020
  10. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 5999

    พระรอด กรุวัดป่ากล้วย จ.ลำปาง


    สร้างโดยครูบาแก้ว มณีวัณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่ากล้วย เมื่อประมาณปี ๒๔๗๐กว่าๆ เนื้อใบลานเผาผสมดินในสังเวชสถาน 4 ตำบล
    เกี่ยวเนื่องกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในประเทศอินเดีย...

    ...ประวัติ ท่านครูบาแก้ว มณิวณฺโณ ...ท่านเป็นบุตรของ พ่อเฒ่าหน้อยธิ นาเทพ แม่เฒ่าผัน ทิพย์อินทร์
    เกิดที่บ้านป่ากล้วย เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑ บิดาท่านเป็นชาวแพร่ ท่านเป็นผู้แตกฉานในภาษาบาลี ภาษาล้านนา
    ภาษาไทยกลาง ..ท่านเดินทางไปศึกษาตำรายาโบราณที่เชียงใหม่ เป็นสหธรรมิกชาติกับ ท่านครูบากลิ่นกู้ วัดข่วงเปา

    ...ครูบาแก้ว ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่ากล้วยเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ - ๒๕๑๓ รวม ๔๑ ปี...ท่านได้ทิ้งมรดกตกทอดเป็นพระผงวัดป่ากล้วยอันโด่งดังจำนวนหลายพิมพ์
    แต่ส่วนมากเซียนใหญ่ างภาคกลาง มักจะนำไปเล่นหากันเป็น พระกริ่งคลองตะเคียน อยุธยา พิมพ์เล็ก นั่นเพราะเนื้อหาพระรอดวัดป่ากล้วย หนึกมันจัดไปทางพระกริ่งคลองตะเคียน ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื้อหาไม่หนีกันเลย ... ด้านความเหนียว คงกระพัน เชื่อใจได้เช่นกันครับ ปัจจุบันหาของแท้สะสมได้ยากมาก...

    องค์นี้เลี่ยมโบราณเปิดหลังมาแท้ดูง่าย ครับ


    บูชาแล้วครับ

    IMG_0193.JPG
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0194.JPG
      IMG_0194.JPG
      ขนาดไฟล์:
      80.2 KB
      เปิดดู:
      663
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2020
  11. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6000

    เหรียญรุ่นแรกครูบาคำปัน ปภากโร วัดนาแส่ง จ.ลำปาง


    บล็อกหน้าหนุ่ม นิยม

    สุดยอดเหรียญประสบการณ์กระสุ่น M 16 ไม่ระคายผิว

    เหรียญดีน่าใช้ครับ


    บูชาแล้วครับ

    IMG_0187.JPG IMG_0188.JPG Clip_41.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2020
  12. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6001

    เหรียญรุ่นแรกครูบาอินถา วัดยั้งเมิน เนื้อทองแดง

    สวยเดิมๆไม่ผ่านการใช้

    คุณ j999 บูชาแล้วครับ

    fdgd.jpg op.jpg o.jpg Clip_6.jpg Clip_7.jpg


    เหรียญรุ่นแรกครูบาอินถา วัดยั้งเมิน สวยเดิมๆ สุดยอดประสบการณ์
    ข่าวดังฮือฮาไปทั่วอำเภอสะเมิง ชาวบ้านหลั่งไหลกันไปบูชาเหรียญรุ่นแรก ครูบาอินถา ฐิตธมฺโม วัดยั้งเมิน ต.ยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ หลังจากรู้ข่าว นายวิชัย ดวงป้อ บ้านยั้งเมินถูกยิงทำให้เหรียญหมดไปจากวัดในเวลาอันรวดเร็ว
    ข้อมูลจากผู้ถูกยิง นายวิชัย ดวงป้อ หรือ นายใส อายุ ๔๕ ปี คนบ้านยั้งเมิน เล่าว่า เมื่อเย็นวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔ ตนกับเพื่อนชื่อ นายเรือน คนบ้านยั้งเมินเหมือนกัน ได้ชวนกันไปดื่มเหล้าที่ร้านอาหารในตัวอำเภอสะเมิง ขณะขับรถมอเตอร์ไซค์ออกจากบ้านมา เหมือนมีอะไรมาดลใจให้แวะที่วัด(วัดยั้งเมิน) ก็เลยแวะพูดคุยกับ ครูบาอินถา สักครู่หนึ่ง ก่อนไปครูบาได้มอบเหรียญรุ่นแรกของท่าน ให้คนละหนึ่งเหรียญ ก็เลยเอาใส่กระเป๋าเสื้อไว้ ขากลับประมาณ ๕ ทุ่มเศษได้ขับรถมอเตอร์ไซค์กลับมาบ้านคนเดียว เพราะนายเรือน ได้ขอตัวกลับก่อนตอนที่อยู่ร้านอาหารแล้ว พอขับมาถึงบ้านแม่สาบ ตรงศาลาใกล้ๆทางเข้าวัดพระธาตุดอยนก ต.สะเมิงใต้ ก็ถูกคนลอบยิงกระสุนเข้าเต็มหน้าอกด้านขวา แต่ยังสามารถขับรถไปต่อได้ ก็เลยรีบกลับให้ถึงบ้านอย่างรวดเร็ว พอถึงบ้านก็ตรวจดูร่างกาย ปรากฏว่ากระสุนถูกที่หน้าอกขวา ๓ นัดแต่ไม่มีเลือดตกยางออกมีแต่รอยช้ำเป็นจุดแดงๆ เสื้อที่สวมใส่เป็นรู ๓ รู รุ่งเช้าตื่นขึ้นมารีบไปกราบขอบพระคุณ ครูบาอินถา ที่ได้ให้เหรียญไว้คุ้มครอง ทำให้ตนรอดตายมาได้ ครับ​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • fdgd.jpg
      fdgd.jpg
      ขนาดไฟล์:
      148.2 KB
      เปิดดู:
      39
    • op.jpg
      op.jpg
      ขนาดไฟล์:
      147.8 KB
      เปิดดู:
      30
    • o.jpg
      o.jpg
      ขนาดไฟล์:
      146.6 KB
      เปิดดู:
      28
    • Clip_5.jpg
      Clip_5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95.5 KB
      เปิดดู:
      36
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2020
  13. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6002

    สมเด็จครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง ฝังพลอยเส้นเกศา สวยกล่องเดิมครับ


    มวลสารผงหลวงพ่อพรหมวัดช่องแค เพิ่มผงพุทธคุณแก้วสามดวงครูบาชุ่ม ครูบาขันแก้ว น้ำมนต์5วัด วัดช่องแค วัดน้ำบ่อหลวง วัดพระพุทธบาทตากผ้า วัดวังมุย วัดสันพระเจ้าแดง ผงไม้งิ้วดำ -พลอยเสกหลวงพ่อพรหม+ครูบาขันแก้ว คุณหมอสมสุข คงอุไร ท่านได้นำไปให้ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า ปลุกเสก ในวันที่ 13 ตุลาคม 2523 ก่อนจะนำมาให้ครูบาขันแก้ว ปลุกเสกตลอด ก่อนนำพระสมเด็จทั้งหมดออกมาทำบุญในงานทอดผ้ากฐินในปี 2524 #ใช้เเทนสมเด็จหลวงพ่อพรหมได้เลย

    บูชาแล้วครับ

    jo.jpg i.jpg opo.jpg c.jpg Clip_8.jpg Clip_12.jpg
    ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง)ถือเป็นพระเกจิล้านนาอีกท่านหนึ่งที่เป็นทั้งนักพัฒนา นักเทศน์ และยังมีฝีมือทางด้านศิลปะ ขณะครูบาขันแก้ว พรรษาที่ ๘ อายุ ๓๐ ปีตรงกับพ.ศ. ๒๔๗๑ ครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาจาริกธุดงค์มาบูรณะพระเจดีย์ และพระวิหารที่ “ดอยห้างบาตร” ครูบาศรีวิชัยได้เห็นฝีมือความสามารถทางช่างและอินทรีย์ที่ผ่องใสจากการปฏิบัติธรรม จึงได้มอบหมายให้ดูแลการบูรณะพระเจดีย์และพระวิหารแทน ก่อนที่ครูบาศรีวิชัยจะได้จาริกธุดงค์ต่อไป ได้ให้พรครูบาขันแก้ว อุตตโม ว่า
    “ให้ตุ๊น้องจงปฏิบัติธรรมจนไม่หวั่น ไหวในโลกธรรม ๘”
    พระครูอุดมขันติธรรม (ครูบาขันแก้วอุตตโม) อดีตเจ้าอาวาส วัดสันป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) เกิดเมื่อวันอังคาร ที่ ๑๔ พ.ย.๒๔๔๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำเดือน ๑๒ (เดือนยี่เหนือ) ปีกุนที่ ต.ห้วยยาบ อ.เมือง จ.ลำพูน มีนามเดิมว่า ขันแก้ว นามสกุล อิกำเหนิด บิดาชื่อ นายอินตา อิกำเหนิด มารดาชื่อ นางสม อิกำเหนิด ท่านครูบามีพี่น้องเกิดท้องเดียวกัน ๕ คน เป็นน้องหญิง ๓ คน น้องชาย ๑ คน คือ
    ๑. พระครูอุดมขันติธรรม(ครูบาขันแก้ว อุตตโม)
    ๒. ด.ญ.อุ่น อิกำเหนิด (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเยาว์)
    ๓. นางบัวเขียว อิกำเหนิด (ถึงแก่กรรม)
    ๔. นายก๋อง อิกำเหนิด (ถึงแก่กรรมแต่มีบุตรหลานสืบสกุลอยู่ในปัจจุบันนี้)
    ๕. นางทา อิกำเหนิด (ถึงแก่กรรม)
    โยมปู่ครูบาขันแก้ว ได้อพยพครอบครัวมาจาก ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูนมาอยู่ ต.ห้วยไซก่อน แล้วจึงได้อพยพย้ายครอบครัวลงมาอยู่ที่ ต.ห้วยยาบ ตั้งรกรากใกล้กับวัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง) ซึ่งเป็นวัดร้าง และได้เป็นหัวหน้าบูรณะ ซ่อมแซมก่อสร้างจนเป็นวัดขึ้นมาตราบจนทุกวันนี้
    พระครูอุดมขันติธรรม (ครูบาขันแก้ว อุตตโม) ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๓ ปี ณ วัดป่ายาง อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ ๒๑ ปี ณ วัดต้นปิน ต.บ้านธิ อ.เมือง จ.ลำพูน โดยมีพระอธิการแก้ว (ครูบาอินทจักโก) วัดป่าลานเป็นพระอุปัชณาย์ ได้ฉายาว่า “อุตตโม” พรรษาที่ ๔ อายุได้ ๒๕ ปี ได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ จ.ลำพูนให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่ายาง เมื่อพ.ศ.๒๔๖๘
    พรรษาที่ ๖ อายุได้ ๒๗ ปี ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลห้วยยาบและเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะตำบลบ้านธิอีกตำแหน่ง ปกครองดูแลวัดทั้ง ๒ ตำบลถึง ๖๘ วัด พรรษาที่ ๓๒ อายุได้ ๕๓ ปี ได้รับสมณศักดิ์พระครูชั้นประทวนและในพรรษานี้ได้ไปบำเพ็ญมหากุศล มหาวิบากญาณรัมปยุต ๑๓ และมหากิริยาจิตเข้า “อภิสัญญาณโรธ”กับครูบาชุ่มโพธิโก ณ “ดอยห้างบาตร” เมื่อบำเพ็ญทุกข์กิริยาเพื่อให้เกิด “วิปัสสนาญาณ” ได้ “ธรรมจักษุ” (ดวงตาเห็นธรรม) ๗ วัน ๗ คืน ใน ๔ อิริยาบถ พรรษาที่ ๔๙ อายุได้ ๗๐ ปี ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอุดมขันติธรรม”
    ในปีพ.ศ.๒๕๒๑ และปีพ.ศ.๒๕๒๓ ครูบาขันแก้วได้เมตตาต่อคณะศิษย์วัดมีพรหมโพธิโก แสดงมหากิริยาจิต กำหนด “สุขวิปัสสก” ด้วยโสมนัสสหคตังญาณ สมปยุตตัง อสังขาริกัง ให้เกิด ”ปัญญาวิมุตติ” ได้”ธรรมจักษ์” ประหารกิเลสด้วย “สมุทจเฉทประหาร” และกำหนดมหากิริยาจิตแสดง “นิพพานัสส รจังฉิกิริยา” (การทำให้แจ้งในพระนิพพาน) ด้วยอารมณ์การได้ “มงกฎพระเจ้า” ดวงตาของครูบาขันแก้ว อุตตโม ได้เปลี่ยนสีจากสีเนื้อลูกลำไย เป็น “สีฟ้าเข้มทั้งดวงตา” แสดงถึงกิริยาของผู้หมดกิเลสเป็นการเปิดภูมิปัญญาในโลกุตรภูมิ เบื้องต้นและโลกุตระภูมิสูงสุด พระเมตตาคุณที่ได้แสดงมหากิริยาจิตในการโปรดสัตว์ทั้งสองครั้งนี้ ยากที่จะลืมเลือนได้
    หลวงปู่ขันแก้ว เป็นเพื่อนรักของหลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย และก็ได้มาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการบำเพ็ญกุศลช่วยงานศพอยู่ทุกคืนน่าจะนิมนต์มาท่านมาร่วมด้วย จะเคยปลุกเสกหรือไม่เคยปลุกเสกไม่สำคัญ คณะกรรมการวัดก็เลยนิมนต์ หลวงปู่ครูบาขันแก้ว มาร่วมพิธีด้วยแสดงความมหัศจรรย์นั่งเคี้ยวเมี่ยงในงานพุทธาภิเษก
    พิธีปลุกเสกได้เริ่มในตอนกลางคืนวันที่ 18 ก.พ. 2520 เวลา19.50น หลวงปู่ขันแก้ว ได้นั่งอยู่ในตำแหน่งที่หันหน้าเข้าหาพระประธาน หลวงปู่อีก3 องค์คือ หลวงปู่อินทรจักร วัดน้ำบ่อหลวง ท่านเจ้าคุณญาณ วัดมหาวัน หลวงปู่ท่านเจ้าคุณพระธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญไชย นั่งหลับตาแผ่อำนาจจิตปลุกเสก แต่หลวงปู่ขันแก้วกับนั่งลืมตาเคี้ยวเมี่ยงอยู่เบิกตากว้างมองดูเฉยๆๆ ชาวบ้านวัดวังมุ่ยเริ่มมีปฎิกริยาพึมพำพูดกันว่าใครหนอนิมนต์ตุ๊เจ้าที่ปลุกเสกไม่เป็นมาร่วมพีธี ทำเอาเจ้าคณะตำบลประตูป่าเข้ามาพูดกับคุณพ่อสมสุขว่า โยมหมอใครไปนิมนต์ตุ๊ลุงองค์นี้มา พวกที่ชมและชาวบ้านในพีธีบ่นว่าไปเอาพระที่ไหนมา ดูซินั่งลืมตาเคี้ยวเมี่ยงไม่เห็นปลุกเสกอะไรเลย คุณพ่อบอกว่าผมนิมนต์มาเองขอให้รอดูประเดี๋ยว
    คุณพ่อยังนึกอยู่ว่านั่งเบิกตาอย่างนี้เคยเห็นที่ไหน หลวงปู่ขันแก้วนั่งลืมตาอยู่เกือบ15 นาที่ ประกายตากร้าวแข็ง ส่วนองค์อื่นท่านนั่งหลับตาตามความถนัดของท่าน ส่งกระแสจิตออกมาปลุกเสก หลวงปู่ขันแก้ว ปลุกเสกด้วย เมตตาเจโตวิมุติ หลวงปู่เริ่มเปลี่ยนอิริยาบถ โดยนั่งห้อยเท้า ตาของท่านเริ่มเป็นประกายกล้า ขณะนั้นช่างภาพก็ถ่ายรูปในอิริยาบถนั้น ทันที่ที่แสงไฟแฟลชสว่างจ้านัยน์ตาของหลวงปู่ขันแก้วก็มิได้กระพริบ ช่างภาพอีกหลายคนก็เข้าไปถ่ายแสงไฟสว่างจ้าแต่นัยต์ตาของหลวงปู่ก็อยู่อย่างปกติคือลืมตาอย่างนั้นไม่กระพริบเลย หลังจากนั้นช่างภาพหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นก็เข้าไปถ่ายซึ่งไฟแฟล็ชแรงกว่ามากก็เข้าไปถ่ายผลปรากฎ ตาของหลวงปู่ขันแก้วก็ไม่กระพริบเป็นเวลานาน คนธรรมดาไม่สามารถทำได้อย่างแน่ เปิดภูมิปัญญาโลกุตระด้วยมหากริยาจิต
    คุณพ่อเข้าใจทันที ที่นึกว่าเคยเห็นที่ไหนก็นึกออกว่าเคยเห็น หลวงปู่พรหม ถาวโร แห่งวัดช่องแค ท่านปลุกเสก พระแสงแฟล็ช ถ่ายรูปไม่ทำให้ นัยน์ตา ท่านกระพริบและท่านก็นั่งลืมตาปลุกเสกความจริงแล้วหลวงปู่ขันแก้วไม่ได้มีเจตนาจะแสดงอภินิหารหรืออวดเป็นเพียงการนั่งปลุกเสกของผู้สำเร็จอานาปานสติกรรมฐาน คือสมาธิแบบลืมตาและนั่งหายใจออก หายใจเข้าจนได้ดวงตาเห็นธรรมและใจหมดอาสวะกิเลสเป็นแบบสมาธิที่ถูกต้องของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลักฐานแสดงในอานาปาสติสูตรจากหนังสืองานพระศพของหลวงปู่ขันแก้วที่คุณพ่อสมสุข
    พระอริยะสงฆ์ผู้ที่จารึกว่า พระผู้อุดมด้วยวิชชา และวิมุตฺติ มีไว้บูชาติดตัว ติดบ้านร่มเย็นเป็นสุข กันภัยที่จะเกิดขึ้นทั้งปวงครับ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2020
  14. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    5,129
    ค่าพลัง:
    +5,418
    ขอจองครับ
     
  15. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รับทราบการจอง ขอบคุณครับ
     
  16. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6003

    ตะกรุด 108 ครูบาอินตา วัดห้วยไซ


    พระครูถาวรวัยวุฒิ (หลวงปู่ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ)พระเกจิผู้ทรงวิยาคมเเห่งเมืองลำพูนพระอาจารย์ของท่านครูบากฤษดาวัดสันพระเจ้าแดง

    วัตถุมงคลของท่านเด่นด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดมหาอำนาจ และเมตตา
    ตะกรุด 108 ดอก เชือกคาดเอว ตำหรับครูบาอินตา
    ครูบาขั้นตอนการทำตะกรุดต้องพิถีพิถันเป็นอย่างมากจะต้องจารหัวใจพุทธคุณ ลงด้วยอักขระตัวเมืองล้านนา ดอกละสี่อักขระ การถักเชือกการม้วนตัดขอบแบบนี้เป็นเอกลักษณ์ของท่าน
    #พุทธคุณครอบจักรวาล ทั้งแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี กันสัตว์เขี้ยวงา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเมตตามหานิยม

    สวยสมบูรณ์หายากมากครับ

    บูชาแล้วครับ

    r.jpg uuy.jpg jk.jpg kj - Copy.jpg iiu8u.jpg Clip_13.jpg

    #อัตโนประวัติของหลวงปู่ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ วัดห้วยไซ ท่านเกิดเมื่อวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ปี มะเส็ง(งูเล็ก) ตรงกับ วันเสาร์ ที่ ๖ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ ณ บ้านห้วยไซ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน มีนามเดิมว่า อินตา นามสกุล ปาลี เป็นบุตรของ นายก๋อง นางก๋ำ นามสกุล ปาลี เป็นคนที่มีเชื้อสายยอง มารดาของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเด็กไม่รู้ความ ท่านจึงได้รับการเลี้ยงดูจากบิดาจนอายุท่านได้ ๙ ขวบ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์วัด(ขะโยม)ที่วัดห้วยไซเพื่อจะได้รับการศึกษาเล่า เรียน ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนเช่นปัจจุบัน เด็กชายอินตา จึงได้เรียนภาษาพื้นเมืองตามแบบสมัยนิยม และได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรขณะอายุได้ ๑๓ ปี พ.ศ.๒๔๖๑ ณ วัดห้วยไซ โดยมีพระภิกษุพุธเป็นผู้บวชให้ หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้วจึงได้ไปศึกษาภาษาไทยกลางเพิ่มเติมที่สำนักวัด สันก้างปลา(วัดทรายมูลในปัจจุบัน) อำเภอสันกำแพง โดยมีพระครูอินทนนท์ เจ้าอาวาส (ท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่เก่งกล้ามากได้ปรมัติสูญสตาอรรถพยัญชนะทรงอภิ ญาชั้นสูง)เป็นอาจารย์ผู้สอนให้ ด้วยความเป็นผู้ไผ่เรียนท่านยังมีความสนใจเรื่องของภาษาอื่นๆด้วยเช่น อักษรขอมโบราณ ภาษาอังกฤษ และจีนเพิ่มเติม ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากในสมัยนั้น เมื่อพออายุครบบวชจึงได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดห้วยไซ พ.ศ.๒๔๖๙ โดยมีครูบาอินทจักร วัดป่าลาน เป็นพระอุปัชฌาย์(เป็นศิษย์ครูบาหลวงวัดฝายหิน จบสตาปรมัติรู้ภาษานกกาได้ เจนจบ 9 มัด) พระอธิการชื่น สันกอแงะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “อินฺทปัญฺโญภิกขุ”
    หลัง จากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วจึงได้ตั้งใจที่จะศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชา ตามจริตวิสัยที่ชอบศึกษาหาความรู้อันเป็นทุนเดิมของท่าน ทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับนับถือของผู้คนในเรื่องของวิชาพลังจิตที่สูงมากตลอด ถึงในวิชาอาคมแขนงต่างๆ ประกอบกับการปฏิบัติสมถะวิปัสสนาธุระควบคู่กันไประหว่างปีพ.ศ.๒๔๗๑ ครูบาศรีวิชัยท่านได้มาเป็นประธานในการบูรณะพระธาตุดอยห้างบาตร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดห้วยไซมากนัก หลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้ไปร่วมในการบุญครั้งนั้นด้วยและได้พบกับครูบาศรี วิชัยและถือโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ หลังจากนั้นขณะที่ครูบาศรีวิชัยท่านเป็นประธานในการสร้างทางขึ้นดอยสุ เทพหลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้มีโอกาสไปร่วมในการสร้างทางด้วยเช่นกัน เมื่อครูบาศรีวิชัยมรณภาพไปหลังเสร็จสิ้นงานพระราชทานเพลิงศพ ผ้าขาวดวงต๋า ได้นำอัฐิธาตุของครูบาศรีวิชัยมาบรรจุและสร้างกู่อัฐิขึ้นที่บนดอยง้ม เขตติดต่อระหว่างอำเภอสันกำแพงกับอำเภอบ้านธิ หลวงปู่ครูบาอินตาท่านก็ถือว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการนำสร้างด้วย ที่วัดห้วยไซเองท่านถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนร่วมกับอดีตเจ้าอาวาส ของวัดห้วยไซองค์ก่อนๆในการนำสร้างถาวรวัตถุต่างๆภายในวัด โดยเฉพาะสมัยของพระครูดวงดี จนกระทั้งครูบาดวงดีท่านมรณภาพไป หลวงปู่ครูบาอินตาท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยไซ เมื่อพ.ศ.๒๕๑๙ และได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็น พระครูถาวรวัยวุฒิ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๖ ระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นได้ได้ฝากผลงานทางด้านพระพุทธศาสนาและ สาธารณประโยชน์มากมาย อาทิ พัฒนาถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้างต่างๆของวัดห้วยไซจนเป็นที่เจริญรุ่งเรือง สาธารณะประโยชน์เช่นโรงเรียน สถานีอนามัย โรงพยาบาล ห้องสมุด ที่อ่านหนังสือพิมพ์ ตลอดจนฌาปนกิจสถานประจำหมูบ้าน นอกจากนั้นท่านยังทำนุบำรุงพระศาสนาไปยังวัดวาอารามต่างๆที่มาของความเมตตา อนุเคราะห์จากท่าน เช่น ถาวรวัตถุต่างที่วัดเปาสามขา วัดวังธาน อำเภอแม่ออน วัดโป่งช้างคต อำสันเภอกำแพง วัดเวียงแห่ง อำเภอเวียงแห่ง จังหวัดเชียงใหม่ วัดศรีชัยชุม บ้านห้วยไซเหนือ
    พระพุทธรูปยืนวัด ศรีดอนชัย อำเภอบ้านธิ ประธานสร้างตึกสงฆ์อาพาสโรงพยาบาลบ้านธิ และผลงานชิ้นสุดท้ายที่ทิ้งไว้ให้ศิษย์ได้สารงานต่อคือพระวิหารของวัดห้วยไซ ก่อนที่ท่านจะมรณภาพด้วยชราภาพ เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๕ สิริรวมอายุได้ ๙๘ ปี ๗๗ พรรษา พระเถระที่หลวงปู่ครูบาอินตาท่านสนิทสนมไปมาหาสู่กันเป็นประจำก็มี ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง)ครูบาธรรมชัย วัดประตูป่า ครูบาสิริ วัดปากกองสารภี(ครูบาผีกลัว)ครูบาแก้ว สันกำแพงครูบาดวงทิพย์ วัดสันคะยอม(เป็นพระที่ครูบาพรหมาจักรนับถือมากๆ) ครูบาชุ่ม วัดวังมุย ครูบาหล้าตาทิพย์ วัดป่าตึง ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ครูบาดวงจันทร์ วัดป่าเส้า ครูบาน้อย วัดบ้านปง ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม ครูบาอินตา วัดวังทอง สำหรับพิธีพระราชทานเพลิงศพ หลังจากศิษยานุศิษย์ได้เก็บรักษาสรีระของหลวงปู่ครูบาอินตาไว้เป็นเวลาหลาย ปีแต่รางของท่านก็มิได้มีการเน่าเปื่อยแต่อย่างใด เมื่อก่อสร้างวิหารแล้วเสร็จจึงได้ของไฟพระราชทานและประกอบพิธีพระราชทาน เพลิงศพ เมื่อวันที่ ๔ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐
    สำหรับวัตถุมงคล ของหลวงปู่ครูบาอินตา ท่านได้สร้างขึ้นในยุคแรกๆก็จะมีเพียงยันต์และตระกุดเพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหา ไว้ใช้ป้องกันตัวอิทธิวัตถุมงคลต่างๆก็มีประสิทธิผลจนเป็นที่ลำลือ
    หลวงปู่ครูบาอินตา อินทปัญโญ เอกองค์พระอาจารย์ที่ให้ดวงกรรมฐานกับครูบากฤษดา ตั้งแต่เป็นสามเณร ที่ท่านสามารถปราบความคิดที่อยากรู้อยากเห็น ซุกซนโลดเเล่นแก่นแก้วสามารถดักทางความคิดจิตของครูบากฤษดา ได้ทั้งหมดตั้งแต่เป็นสามเณรร่ำเรียนอยู่ในสำนักวัดห้วยไซใต้ ถือว่าเป็นพระอาจารย์องค์แรกครับ และก็มีครูบาชัยวงค์ได้ไปกราบคารวะสนทนาเป็นบางครั้งคราว และมีพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ครูบากฤษดาเทิดเหนือหัวคือหลวงปู่พิสดู ธัมมจารี เป็นที่สุดครับ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2020
  17. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6003

    พระกริ่งเชียงแสน วัดพระธาตุดอยสุเทพ ปี 2515 กะไหล่ทอง กล่องเดิม


    (พระเกจิระดับสุยอดเมืองไทยร่วมปลุกเสก..ลป.แหวน,ลป.โต๊ะ,ลพ.เงิน,ลพ.เกษม,ลพ.กวย )

    พระกริ่งเชียงแสน วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ปี2515....พิธีพุทธาภิเษกพระพุทธสิหิงค์จำลอง 9 เมษายน 2515โดยคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ พระเกจิอาจารย์108รูป ร่วมปลุกเสกในพิธี อาทิเช่น

    ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    ลป.แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง
    ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม
    หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
    หลวงพ่อเกษม เขมโก
    หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    ลป.สิม วัดถ้ำผาปล่อง
    อาจารย์นำ แก้วจันทร์
    อาจารย์ชุม ไชยคีรี ฯลฯ เป็นต้น


    ราคา 800 บาท พร้อมจัดส่ง EMS ครับ

    IMG_0258.JPG IMG_0259.JPG IMG_0260.JPG IMG_0261.JPG
     
  18. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6004

    สีผึ้งพยองคำครูบาวิชัยยะ สิริวิชชโย (ครูบาวัดไม้ฮุง) จ.แม่ฮ่องสอน

    สีผึ้งพะยองคำครูบาไม้ฮุงนี้ถือเป็นอีก ๑ ตำนานของสีผึ้งพยองคำที่หายากและแพงค่ามากที่สุดของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเลยก็ว่าได้ อีกทั้งต่างก็เป็นที่หวงแหนของผู้ที่ได้ครอบครอง เพราะประสบการณ์ที่มากล้นเหลือคณานับนั้นเองครับ สีผึ้งพยองคำท่านนั้นมีกรรมวิธีการสร้างกว่าจะสำเร็จต้องอาศัยสถานที่ถึงสามที่ หุงกันถึงสามครั้งเลย เมื่อแรกเริ่มท่านทำพิธีหุงต่อหน้าพระประธานในพระอุโบสถนัยว่าเป็นสถานที่ทำสังฆกรรมและเป็นสถานที่เกิดใหม่ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจนสำเร็จหนึ่งครั้ง จากนั้นนำไปหุงตรงทางสามแพร่ง นัยว่าเป็นสถานที่คนมารวมกัน พูดคุยหัวเราะกัน เป็นสถานที่นัดพบกัน หุงจนกว่าจะมีคนมาถามว่า “ครูบาทำอะไร” ท่านก็จะตอบว่า “ทำยาวิเศษโอสถทิพย์” ที่บันดาลให้คนที่พกพามีความร่ำรวย เป็นมหาเสน่ห์อย่างยิ่ง ถึงจะสำเร็จอีกหนึ่งครั้ง พิธีสุดท้ายที่ท่านทำพิธีคือท่านให้ลูกศิษย์ท่านสืบเสาะฟังข่าวว่ามีผู้หญิงตายท้องกลม ที่เป็นลูกหัวสาวผู้ชาย(ลูกคนแรกผู้ชาย)ฝังไว้ป่าช้าไหนบ้าง เมื่อทราบแล้วท่านก็จะไปทำพิธีเซ่นสรวงบัดพลีแล้วให้ลูกศิษย์ท่านขุดนำศพผีตายท้องกลมนั้นลุกขึ้นนั่งแล้วเปลี่ยนชุดเสื้อผ้าใหม่ให้พร้อมทั้งผัดหน้าทาแป้งให้ศพนั้น แล้วให้ลูกศิษย์ท่านผู้เป็นชายพรหมจรรย์ มีหน้าตาหล่อเหลาดูดี มีอายุไม่เกิน20ปี เข้าไปโอบกอดศพนั้นจากข้างหลังแล้วนำขันสำริดที่บรรจุสีผึ้งนั้นวางบนมือผีนั้นโดยมีมือของผู้ชายคนนั้นซ้อนอยู่ อีกข้างก็ให้ถือไม้คนสีผึ้งโดยมีมือของผู้ชายนั้นซ้อนอยู่เช่นกัน เมื่อเริ่มพิธีก็ให้ชายนั้นประคองมือศพนั้นคนสีผึ้งโดยมีท่านครูบายืนบริกรรมคาถาอยู่ข้างๆ สักพักก็ให้ชายคนนั้นปล่อยมือจากศพผีตายท้องกลมนั้น ปล่อยให้ผีนั้นคนสีผึ้งเองอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง เมื่อผีนั้นคนสีผึ้งไปพลางก็จะยกขึ้นพลาง นัยว่าจะซดสีผึ้งนั้นซึ่งเชื่อว่าเป็นยาโอสถทิพย์สุดวิเศษซึ่งถ้าผีนั้นซดสีผึ้งนั้นได้ก็จะกลายเป็นผีดิบอมตะยากแก่การปราบปราม เมื่อผีนั้นยกขึ้นจนใกล้ปากที่สุดก็จะแย่งเอาขันสีผึ้งจากมือผีนั้น แล้วก็สะกดให้กลับลงไปนอนในโลงอย่างเดิม เป็นอันเสร็จพิธีการสร้างสีผึ้งพะยองคำอันวิเศษสุดตามกรรมวิธีของท่าน

    #เครดิตข้อมูลจากพระอาจารย์อภิวัฒน์ วัดทุ่งโป่ง เมืองปาย จ.แม่ฮ่องสอนครับ


    ราคา 2500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    qw.jpg
    Clip_5.jpg
    v.jpg
    pp.jpg
    oop.jpg
    jj.jpg
    g.jpg

     
  19. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6005

    เหรียญรุ่นแรก ครูบาสุรินทร์ สุรินโท วัดหลวงศรีเตี้ย จ.ลำพูน
    ปี 2521

    พระเกจิทรงอาคม เจ้าตำหรับน้ำมันมนต์ อันโด่งดัง
    สวยเดิม ๆ หายากมากครับ


    ราคา1550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    i.jpg hg.jpg uuiy.jpg Clip_6.jpg Clip_18.jpg Clip_17.jpg



    #พระครูวิมลศรีลาภรณ์ (ครูบาสุรินทร์ สุรินโท) เดิมเมื่อยังเป็นฆราวาสมีชื่อว่าเด็กชายสุจา เสมอใจ เกิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2441 ตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำเดือนเกี๋ยงเมือง ปีเส็ด จุลศักราช 1260 ณ บ้านศรีเตี้ย แขวงป่าซาง เมืองลำพูน มณฑลพายัพ บิดาชื่อ พ่อทิพย์ มารดาชื่อ แม่จันตา มีพี่น้องร่วมครรภ์เดียวกัน 7 คน เด็กชายสุจาเป็นคนที่ 5 มีพี่ชาย 3 คน พี่สาว 1 คน และมีน้องสาว 2 คน
    เมื่อยังเป็นเด็กชายสุจา ท่านมีสุขภาพสมบูรณ์ และมีความจำเป็นเลิศ ตอนอายุ 7 ? 8 ขวบ ได้ออกเลี้ยงควายตามประสาลูกชาวนา ฝูงควายในท้องทุ่งจำนวนมาก ท่านสามารถแยกแยะออกและบอกได้ว่าควายตัวใดมีใครเป็นเจ้าของ และควายตัวใดเป็นลูกของแม่ควายตัวไหนด้วย ข่าวนี้ทราบถึงครูบาตุ้ย ญาณวิชโย เจ้าอาวาสวัดศรีเตี้ย ท่านครูบาคิดเห็นว่า เด็กน้อยสุจานี้เติบโตขึ้นจะเป็นบุรุษที่จะช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาได้ จึงเรียกหาตัวและชักชวนให้เข้าวัด เป็นเด็กวัดศรีเตี้ยเมื่ออายุได้ 9 ขวบตั้งแต่นั้นมา เด็กชายสุจาได้เล่าเรียนอักขระล้านนา (ตั๋วเมือง) จนสามารถจำและอ่านพระธรรมคัมภีร์ต่างๆ ได้ดี เมื่ออายุครบ 13 ปี ในปี พ.ศ.2453 ก็ได้บรรพชาในสำนักครูบาตุ้ย ญาณวิชโย วัดศรีเตี้ย สามเณรสุจาตั้งใจอุตสาหะพากเพียรท่องจำ และทำความเข้าใจ สามเณรสิกขา เสขิยวัตร และปฏิบัติเคร่งในศีลสามเณร 10 ประการ ทั้งท่องจำสวดมนต์สิบสองตำนานได้ด้วย
    ครูบาตุ้ย ญาณวิชโย เจ้าอาวาสวัดศรีเตี้ย มีความคิดเห็นว่าสามเณรสุจาสนใจในการเล่าเรียน และพากเพียรปฏิบัติศีลธรรมกรรมฐาน จึงส่งเสริมเสริมศิษย์โปรดให้ไปเรียนในสำนักครูบาไชยลังกา วัดศรีชุมผามงัว เมืองลำพูน ซึ่งสามเณรสุจาก็ได้เรียนภาษาสยาม จากครูบาอาจารย์ในสำนักเรียนนี้ และได้ร่ำเรียนมูลกัจจายนะ สัททาสนธิ อันเป็นหลักสูตรภาษาบาลีระบบการศึกษาล้านนาในอดีตด้วย แต่การเรียนภาษาสยาม และบาลีมูลกัจจายนะของสามเณรไม่ก้าวหน้า เพราะท่านสนใจวิชชาวิปัสสนามากกว่า ท่านจึงลาออกจากสำนักครูบาไชยลังกา ไปศึกษาเล่าเรียนวิชชาวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในสำนักครูบากันธา คนธวํโส วัดต้นผึ้ง แขวงป่าซาง เมืองลำพูน
    ถึงปี พ.ศ.2462 สามเณรสุจาอายุได้ 21 ปี ครบปีบวชเป็นพระภิกษุ ท่านก็กลับมาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดศรีเตี้ย ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน (ตำบลบ้านโฮ่งได้ยกฐานะเป็นอำเภอบ้านโฮ่ง เมื่อ พ.ศ.2499) ครูบาตุ้ย ญาณวิชโย เจ้าอาวาสวัดศรีเตี้ย เป็นพระอุปัชฌายะ พระอธิการคำ คมภีโร วัดร้องธาร อำเภอป่าซาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการกันธา คนธวํโส วัดต้นผึ้ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้นามฉายาที่พระอุปัชฌาอาจารย์ตั้งให้ว่า พระภิกษุสุรินทร์ สุรินโท เมื่อบวชอยู่ได้ 5 พรรษา ท่านก็ได้นิสสัยมุตตกะ จึงได้พร้อมกับกัลยาณมิตรขอท่าน ได้แก่ พระปันแก้ว รตนปญโญ (ครูบาปันแก้ว วัดปทุมสราราม) พระพรหมมา พรหมจกโก (ครูบาพรหมจักร วักพระบาทตากผ้า) พระจันโต กาวิชโย (ครูบากาวิชัย วัดวังสะแกง) พระคำ คนธิโย (ครูบากันธิยะ วัดดงหลวง) และพระอุ่นเรือน สิริวิชโย (ครูบาอุ่นเรือน วัดสันเจดีย์ริมปิง) เป็นสหธรรมมิกภิกขุปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ธุดงค -วัตร ออกจาริกไปบำเพ็ญเพียร และอนุสาสน์สั่งสอนหลักการปฏิบัติ พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแก่พุทธบริษัทในแขวงต่างๆ ของเมืองลำพูน และหัวเมืองใกล้เคียงเป็นเวลา 3 ปี
    ถึงปี พ.ศ.2470 เมื่อครูบาตุ้ย ญาณวิชโย เจ้าอาวาสวัดศรีเตี้ย ถึงแก่มรณภาพ ในปีที่พระสุรินทร์ สุรินโท มีอายุได้ 29 ปี 8 พรรษา ท่านก็ทำหน้าที่ผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดศรีเตี้ย และได้จัดงานทำบุญถวายเพลิงศพครูบาตุ้ย ญาณวิชโย พระอุปัชฌายะ เสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2474 แล้ว เจ้าคณะเมืองลำพูน กับผู้สำเร็จราชการเมืองลำพูน ได้ออกตราตั้งให้พระสุรินทร์ สุรินโท ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระอธิการสุรินทร์ สุรินโท ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีเตี้ย ให้มีหน้าที่เจ้าอาวาสตามมาตรา 13 และมีอำนาจปกครองวัดตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ.121 และท่านก็สืบทอดแบบอย่างขนบธรรมเนียมปกครองวัดตามอย่างครูบาตุ้ย ญาณวิชโย ผู้เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่านด้วย ตลอดเวลาที่เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีเตี้ย ก็สั่งสอนพระภิกษุสามเณร เน้นหนักอบรมทางวิปัสสนาธุระ และสั่งสอนอบรมศรัทธาชาวพุทธของวัด ทางสมถกัมมัฏฐานพอเป็นทางสงบใจ ทั้งเป็นผู้อำนวยการทางคันถธุระแผนกปริยัติธรรมนักธรรมและบาลี ส่วนด้านสาธารณูปการท่านเพียงแต่บูรณะปฏิสังขรณ์และก่อสร้างเสนาสนะสงฆ์ สถานพุทธาวาสที่สำคัญและจำเป็นเท่านั้น เพราะอัธยาศัยของท่าน เป็นพระสมณที่ดำรงตนสมถะเรียบง่าย ฉันน้อย ใช้น้อย แต่ทำประโยชน์ใหญ่
    ครูบาสุรินทร์ สุรินทเถระ ได้อุทิศตนบูชาพระพุทธศาสนา โดยมั่นอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์และศรัทธาชาวพุทธให้ดำรงตนในศีลธรรมคำสั่ง สอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้เป็นศาสนิกชนที่ดีของพระศาสนา เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ ท่านเทศนาสั่งสอนปลูกฝังความรักซึ่งกันและกัน ในยามตกทุกข์ได้ยาก เจ็บไข้ได้ป่วย ยามแก่เฒ่าชรา และให้รักกันแม้จะมีใส่ร้ายยุแหย่ให้แตกสามัคคีก็ไม่มีแหนงหน่ายกัน ความรักอันนี้เป็นรากฐานศิลา แห่งเมตตาของมนุษย์ อันภาระพระพุทธศาสนาทั้งสองประการที่ท่านได้กระทำบำเพ็ญมาถึงขีดจรรโลงพระ พุทธศาสนา เป็นผลให้พระพุทธศาสนาตั้งอยู่สืบต่อจิระฐิติกาล ทราบถึงพระคณาธิการฝ่ายปกครองคณะสงฆ์ระดับแขวง เมือง มณฑล ฉะนั้นในปี พ.ศ.2481 ขณะที่ท่านสุรินทร์อายุได้ 40 ปี 19 พรรษา จึงได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสมณศักดิ์ชั้นประทวน (จปร.) นามว่า พระครูสุรินทร์ สุรินโท และพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี เจ้าคณะมลฑลพายัพ ได้นำพัดยศประทวน (จปร.) มามอบให้ท่านท่ามกลางสังฆสันนิบาต ณ พระวิหารหลวงวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ซึ่งพร้อมกับนำ พระมหาสำรี (อมร) (พระสุเมธมังคลาจารย์) มาเป็นพระคณาจารย์ประจำสำนักเรียนเมืองลำพูน กาลเวลาล่วงไปอีก 40 ปี ถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จฯพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า รัชกาลที่ 9 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2521 พระครูสุรินทร์ สุรินโท ก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรพัดยศชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาที่ พระครูวิมลศรีลาภรณ์ ในขณะที่ครูบามีอายุได้ 80 ปี 59 พรรษา
    พระครูวิมลศรีลาภรณ์ เป็นพระเถระที่มีความเจริญพร้อมด้วยชนมายุ ด้วยคุณธรรม ความรู้ ความสามารถเป็นเถรัตตัญญู ทรงไว้ซึ่งศีลาธุคุณ สมาธิคุณ และวิปัสสนาคุณ รอบรู้แตกฉานในกิจพระศาสนา แบบแผนประเพณี เปี่ยมด้วยเมตตาพรหมวิหาร จึงมีกิตติศัพท์ปรากฏไกล เป็นครูฐานิยบุคคลที่พึ่งที่เคารพของอเนกศิษย์ศรัทธาสาธุชนทั่วไป ทั้งในจังหวัดลำพูนและต่างจังหวัดทั่วประเทศ
    พระครูวิมลศรีลาภรณ์ได้มรณภาพลงตามสภาพหลักธรรมสังขารอันปรุงแต่งด้วย โรคชราเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2532 เวลา 01.40 น. ณ วัดศรีเตี้ย และได้จัดงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุฌาปนสถานชั่วคราว สนามสุรินโท วัดศรีเตี้ย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มีนายสว่าง อินทรนาค ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนเป็นประธานในพิธี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2020
  20. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,865
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6006


    สมเด็จครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง เนื้อดำหายาก ฝังพลอยเส้นเกศา สวยกล่องเดิมครับ


    มวลสารผงหลวงพ่อพรหมวัดช่องแค เพิ่มผงพุทธคุณแก้วสามดวงครูบาชุ่ม ครูบาขันแก้ว น้ำมนต์5วัด วัดช่องแค วัดน้ำบ่อหลวง วัดพระพุทธบาทตากผ้า วัดวังมุย วัดสันพระเจ้าแดง ผงไม้งิ้วดำ -พลอยเสกหลวงพ่อพรหม+ครูบาขันแก้ว คุณหมอสมสุข คงอุไร ท่านได้นำไปให้ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า ปลุกเสก ในวันที่ 13 ตุลาคม 2523 ก่อนจะนำมาให้ครูบาขันแก้ว ปลุกเสกตลอด ก่อนนำพระสมเด็จทั้งหมดออกมาทำบุญในงานทอดผ้ากฐินในปี 2524 #ใช้เเทนสมเด็จหลวงพ่อพรหมได้เลย


    ราคา 2700 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_19.jpg Clip_20.jpg Clip_21.jpg Clip_23.jpg Clip_24.jpg Clip_25.jpg


    ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง)ถือเป็นพระเกจิล้านนาอีกท่านหนึ่งที่เป็นทั้งนักพัฒนา นักเทศน์ และยังมีฝีมือทางด้านศิลปะ ขณะครูบาขันแก้ว พรรษาที่ ๘ อายุ ๓๐ ปีตรงกับพ.ศ. ๒๔๗๑ ครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาจาริกธุดงค์มาบูรณะพระเจดีย์ และพระวิหารที่ “ดอยห้างบาตร” ครูบาศรีวิชัยได้เห็นฝีมือความสามารถทางช่างและอินทรีย์ที่ผ่องใสจากการปฏิบัติธรรม จึงได้มอบหมายให้ดูแลการบูรณะพระเจดีย์และพระวิหารแทน ก่อนที่ครูบาศรีวิชัยจะได้จาริกธุดงค์ต่อไป ได้ให้พรครูบาขันแก้ว อุตตโม ว่า

    “ให้ตุ๊น้องจงปฏิบัติธรรมจนไม่หวั่น ไหวในโลกธรรม ๘”

    พระครูอุดมขันติธรรม (ครูบาขันแก้วอุตตโม) อดีตเจ้าอาวาส วัดสันป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) เกิดเมื่อวันอังคาร ที่ ๑๔ พ.ย.๒๔๔๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำเดือน ๑๒ (เดือนยี่เหนือ) ปีกุนที่ ต.ห้วยยาบ อ.เมือง จ.ลำพูน มีนามเดิมว่า ขันแก้ว นามสกุล อิกำเหนิด บิดาชื่อ นายอินตา อิกำเหนิด มารดาชื่อ นางสม อิกำเหนิด ท่านครูบามีพี่น้องเกิดท้องเดียวกัน ๕ คน เป็นน้องหญิง ๓ คน น้องชาย ๑ คน คือ

    ๑. พระครูอุดมขันติธรรม(ครูบาขันแก้ว อุตตโม)

    ๒. ด.ญ.อุ่น อิกำเหนิด (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเยาว์)

    ๓. นางบัวเขียว อิกำเหนิด (ถึงแก่กรรม)

    ๔. นายก๋อง อิกำเหนิด (ถึงแก่กรรมแต่มีบุตรหลานสืบสกุลอยู่ในปัจจุบันนี้)

    ๕. นางทา อิกำเหนิด (ถึงแก่กรรม)

    โยมปู่ครูบาขันแก้ว ได้อพยพครอบครัวมาจาก ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูนมาอยู่ ต.ห้วยไซก่อน แล้วจึงได้อพยพย้ายครอบครัวลงมาอยู่ที่ ต.ห้วยยาบ ตั้งรกรากใกล้กับวัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง) ซึ่งเป็นวัดร้าง และได้เป็นหัวหน้าบูรณะ ซ่อมแซมก่อสร้างจนเป็นวัดขึ้นมาตราบจนทุกวันนี้

    พระครูอุดมขันติธรรม (ครูบาขันแก้ว อุตตโม) ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๓ ปี ณ วัดป่ายาง อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ ๒๑ ปี ณ วัดต้นปิน ต.บ้านธิ อ.เมือง จ.ลำพูน โดยมีพระอธิการแก้ว (ครูบาอินทจักโก) วัดป่าลานเป็นพระอุปัชณาย์ ได้ฉายาว่า “อุตตโม” พรรษาที่ ๔ อายุได้ ๒๕ ปี ได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ จ.ลำพูนให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่ายาง เมื่อพ.ศ.๒๔๖๘

    พรรษาที่ ๖ อายุได้ ๒๗ ปี ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลห้วยยาบและเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะตำบลบ้านธิอีกตำแหน่ง ปกครองดูแลวัดทั้ง ๒ ตำบลถึง ๖๘ วัด พรรษาที่ ๓๒ อายุได้ ๕๓ ปี ได้รับสมณศักดิ์พระครูชั้นประทวนและในพรรษานี้ได้ไปบำเพ็ญมหากุศล มหาวิบากญาณรัมปยุต ๑๓ และมหากิริยาจิตเข้า “อภิสัญญาณโรธ”กับครูบาชุ่มโพธิโก ณ “ดอยห้างบาตร” เมื่อบำเพ็ญทุกข์กิริยาเพื่อให้เกิด “วิปัสสนาญาณ” ได้ “ธรรมจักษุ” (ดวงตาเห็นธรรม) ๗ วัน ๗ คืน ใน ๔ อิริยาบถ พรรษาที่ ๔๙ อายุได้ ๗๐ ปี ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอุดมขันติธรรม”

    ในปีพ.ศ.๒๕๒๑ และปีพ.ศ.๒๕๒๓ ครูบาขันแก้วได้เมตตาต่อคณะศิษย์วัดมีพรหมโพธิโก แสดงมหากิริยาจิต กำหนด “สุขวิปัสสก” ด้วยโสมนัสสหคตังญาณ สมปยุตตัง อสังขาริกัง ให้เกิด ”ปัญญาวิมุตติ” ได้”ธรรมจักษ์” ประหารกิเลสด้วย “สมุทจเฉทประหาร” และกำหนดมหากิริยาจิตแสดง “นิพพานัสส รจังฉิกิริยา” (การทำให้แจ้งในพระนิพพาน) ด้วยอารมณ์การได้ “มงกฎพระเจ้า” ดวงตาของครูบาขันแก้ว อุตตโม ได้เปลี่ยนสีจากสีเนื้อลูกลำไย เป็น “สีฟ้าเข้มทั้งดวงตา” แสดงถึงกิริยาของผู้หมดกิเลสเป็นการเปิดภูมิปัญญาในโลกุตรภูมิ เบื้องต้นและโลกุตระภูมิสูงสุด พระเมตตาคุณที่ได้แสดงมหากิริยาจิตในการโปรดสัตว์ทั้งสองครั้งนี้ ยากที่จะลืมเลือนได้

    หลวงปู่ขันแก้ว เป็นเพื่อนรักของหลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย และก็ได้มาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการบำเพ็ญกุศลช่วยงานศพอยู่ทุกคืนน่าจะนิมนต์มาท่านมาร่วมด้วย จะเคยปลุกเสกหรือไม่เคยปลุกเสกไม่สำคัญ คณะกรรมการวัดก็เลยนิมนต์ หลวงปู่ครูบาขันแก้ว มาร่วมพิธีด้วยแสดงความมหัศจรรย์นั่งเคี้ยวเมี่ยงในงานพุทธาภิเษก

    พิธีปลุกเสกได้เริ่มในตอนกลางคืนวันที่ 18 ก.พ. 2520 เวลา19.50น หลวงปู่ขันแก้ว ได้นั่งอยู่ในตำแหน่งที่หันหน้าเข้าหาพระประธาน หลวงปู่อีก3 องค์คือ หลวงปู่อินทรจักร วัดน้ำบ่อหลวง ท่านเจ้าคุณญาณ วัดมหาวัน หลวงปู่ท่านเจ้าคุณพระธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญไชย นั่งหลับตาแผ่อำนาจจิตปลุกเสก แต่หลวงปู่ขันแก้วกับนั่งลืมตาเคี้ยวเมี่ยงอยู่เบิกตากว้างมองดูเฉยๆๆ ชาวบ้านวัดวังมุ่ยเริ่มมีปฎิกริยาพึมพำพูดกันว่าใครหนอนิมนต์ตุ๊เจ้าที่ปลุกเสกไม่เป็นมาร่วมพีธี ทำเอาเจ้าคณะตำบลประตูป่าเข้ามาพูดกับคุณพ่อสมสุขว่า โยมหมอใครไปนิมนต์ตุ๊ลุงองค์นี้มา พวกที่ชมและชาวบ้านในพีธีบ่นว่าไปเอาพระที่ไหนมา ดูซินั่งลืมตาเคี้ยวเมี่ยงไม่เห็นปลุกเสกอะไรเลย คุณพ่อบอกว่าผมนิมนต์มาเองขอให้รอดูประเดี๋ยว

    คุณพ่อยังนึกอยู่ว่านั่งเบิกตาอย่างนี้เคยเห็นที่ไหน หลวงปู่ขันแก้วนั่งลืมตาอยู่เกือบ15 นาที่ ประกายตากร้าวแข็ง ส่วนองค์อื่นท่านนั่งหลับตาตามความถนัดของท่าน ส่งกระแสจิตออกมาปลุกเสก หลวงปู่ขันแก้ว ปลุกเสกด้วย เมตตาเจโตวิมุติ หลวงปู่เริ่มเปลี่ยนอิริยาบถ โดยนั่งห้อยเท้า ตาของท่านเริ่มเป็นประกายกล้า ขณะนั้นช่างภาพก็ถ่ายรูปในอิริยาบถนั้น ทันที่ที่แสงไฟแฟลชสว่างจ้านัยน์ตาของหลวงปู่ขันแก้วก็มิได้กระพริบ ช่างภาพอีกหลายคนก็เข้าไปถ่ายแสงไฟสว่างจ้าแต่นัยต์ตาของหลวงปู่ก็อยู่อย่างปกติคือลืมตาอย่างนั้นไม่กระพริบเลย หลังจากนั้นช่างภาพหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นก็เข้าไปถ่ายซึ่งไฟแฟล็ชแรงกว่ามากก็เข้าไปถ่ายผลปรากฎ ตาของหลวงปู่ขันแก้วก็ไม่กระพริบเป็นเวลานาน คนธรรมดาไม่สามารถทำได้อย่างแน่ เปิดภูมิปัญญาโลกุตระด้วยมหากริยาจิต

    คุณพ่อเข้าใจทันที ที่นึกว่าเคยเห็นที่ไหนก็นึกออกว่าเคยเห็น หลวงปู่พรหม ถาวโร แห่งวัดช่องแค ท่านปลุกเสก พระแสงแฟล็ช ถ่ายรูปไม่ทำให้ นัยน์ตา ท่านกระพริบและท่านก็นั่งลืมตาปลุกเสกความจริงแล้วหลวงปู่ขันแก้วไม่ได้มีเจตนาจะแสดงอภินิหารหรืออวดเป็นเพียงการนั่งปลุกเสกของผู้สำเร็จอานาปานสติกรรมฐาน คือสมาธิแบบลืมตาและนั่งหายใจออก หายใจเข้าจนได้ดวงตาเห็นธรรมและใจหมดอาสวะกิเลสเป็นแบบสมาธิที่ถูกต้องของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลักฐานแสดงในอานาปาสติสูตรจากหนังสืองานพระศพของหลวงปู่ขันแก้วที่คุณพ่อสมสุข

    พระอริยะสงฆ์ผู้ที่จารึกว่า พระผู้อุดมด้วยวิชชา และวิมุตฺติ มีไว้บูชาติดตัว ติดบ้านร่มเย็นเป็นสุข กันภัยที่จะเกิดขึ้นทั้งปวงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2020

แชร์หน้านี้

Loading...