๒๑ วิธี ของ สติปัฏฐาน เส้นทางแห่งการบรรลุธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ๑๓อักษร, 11 กันยายน 2021.

  1. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    กัณฑ์ที่ ๓

    คัมภีร์พระวิภังค์

    ว่าด้วยเวทนาขันธนิเทศ

    ตตฺถ กตโม เวทนากฺขนฺโธ ยากาจิ เวทนา อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนา

    อชฺฌตฺตา วา พหิทฺธา วา โอฬาริกา วา สุขุมา วา หีนาติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงพระอภิธรรม คัมภีร์พระวิภังค์ กัณฑ์ที่ ๓

    ว่าด้วยเวทนาขันธนิเทศ สืบต่อไป เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา และ

    พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ตลอดกาลนาน

    บาลี

    ดำเนินความตามวาระพระบาลี ที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นเบื้องต้น
    แห่งเทศนานั้นว่า
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเวทนาขันธนิเทศ
    เป็นปุจฉาว่า

    เวทนาขันธ์ได้แก่สิ่งใด
    แล้วทรงแสดง
    เป็นวิสัชนาว่า ได้แก่ เวทนาทั้งสิ้น

    ไม่ว่าเวทนา ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจบัน
    ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
    เลวหรือประณีต อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ ดังนี้

    ครั้นทรงแสดงอย่างนี้แล้ว
    จึงทรงแก้ไขคำว่า เวทนา ที่เป็นอดีตเป็นต้นนั้นสืบไป
    เป็น คำปุจฉา วิสัชนาว่า
    เวทนาที่เป็นอดีตนั้น ได้แก่สิ่งใด. ทรงแก้ไขว่า

    ได้แก่
    เวทนาที่ล่วงแล้ว
    ที่ดับแล้ว
    ที่ปราศจากไปแล้ว
    ที่แปรปรวนไปแล้ว
    ที่ถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว
    ที่ตกไปแล้ว
    ที่เกิดแล้ว
    หายไปแล้ว
    ที่เป็นอดีต
    ที่สงเคราะห์ด้วยส่วนอดีต
    อันจำแนกออกไป
    เป็น
    สุขเวทนา
    ทุกขเวทนา
    อทุกขมสุขเวทนา ฯ
    เวทนาที่เป็นอนาคตนั้น ได้แก่
    เวทนาที่ยังไม่เกิดขึ้น
    ยังไม่เป็นขึ้น
    ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม
    ยังไม่ปรากฎขึ้น
    ยังไม่ตั้งขึ้น
    ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม
    ยังไม่มาถึง
    เป็นเวทนาสงเคราะห์ด้วยส่วนอนาคต
    แต่เบ็นสุขเวทนาก็มี
    เป็นทุกขเวทนาก็มี
    เป็นอทุกขมสุขเวทมาก็มี ฯ

    เวทนาที่เป็นปัจจุบันนั้น ได้แก่
    เวทนาที่เกิดอยู่แล้ว
    ที่เป็นอยู่แล้ว
    ที่เกิดพร้อมแล้ว
    ที่ปรากฎอยู่แล้ว
    ที่ตั้งขึ้นแล้ว
    ที่ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว
    ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
    ที่สงเคราะห์ ด้วยส่วนปัจจุบัน
    ซึ่งจำแนกเป็น
    สุขเวทนา
    ทุขเวทนา
    อทุกขมสุขเวทมา

    เวทนาที่เป็นภายในนั้นได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่เวทนาที่มีอยู่ในตน
    ที่มีอยู่เฉพาะตน
    ที่จำกัดตน
    ที่เฉพาะบุคคล ที่มีวิญญาณ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น
    เวทนานั้น ได้แก่
    สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ฯ

    เวทนาที่เป็นภายนอกนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่
    เวทนาที่มีอยู่ในตน
    มีอยู่เฉพาะตน
    มีอยู่จำกัดตน
    มีอยู่เฉพาะบุคคลมีจิตวิญญาณของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้น
    เวทนานั้น
    เป็น
    สุขเวทนาก็มี
    ทุกขเวทนาก็มี
    อทุกขมสุขเวทนาก็มี


    เวทนาหยาบ และ ละเอียดนั้น ได้แก่สิ่งไร

    เวทนาหยาบนั้น ได้แก่ อกุศลเวทนา
    เวทนาละเอียดนั้น ได้แก่ กุศลเวทนา อัพยากตเวทนา ๑

    เวทนาหยาบนั้น ได้แก่ กุศลเวทนา อกุศลเวทนา
    เวทนาละเอียดนั้น ได้แก่อัพยากตเวทนา ๑

    เวทนาหยาบนั้น ได้แก่ สุขเวทนา
    เวทนาละเอียดนั้น ได้แก่ อทุกขมสุขเวทนา ๑

    เวทนาหยาบนั้นได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา
    เวทนาละเอียดนั้น ได้แก่ อทุกขมสุขเวทนา ๑

    เวทนาหยาบนั้นได้แก่ เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ
    เวทนาละเอียดนั้นได้แก่ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติ ๑

    เวทนาหยาบนั้น ได้แก่ เวทนาที่มีอาสวะ
    เวทนาละเอียดนั้น ได้แก่ เวทนาที่ไม่มีอาสวะ ๑

    ควรเห็น เวทนาหยาบละเอียดด้วยการเทียบกันเป็นลำดับขึ้นไปดังนี้
    ขอ งดเนื้อความ ในพระบาลีไว้เพียงเท่านี้
     
  2. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    อรรถาธิบาย

    ต่อนี้ไป เป็นเนื้อความในอรรถาธิบายถ้อยคำ ซึ่งได้แสดงมาแล้วตาม

    วาระพระบาลีนั้นว่า ถ้อยคำที่จะกล่าวต่อไปนี้
    มีเฉพาะที่ยังไม่ได้กล่าวมาแล้ว ในรูปขันธนิเทศโนั้น
    กล่าวคือ คำว่า เวทนา ไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น

    กำหนดเอาเวทนาที่มีในภูมิ ๔
    คำว่า สุขเวทนาเป็นต้นนั้น


    สมเด็จพระทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้
    เพื่อทรงแสดงเวทนา ที่พระองค์ได้ทรงชี้ไว้ว่า
    เป็นอดีตเป็นต้น ตามสภาพ ฯ
    ในเวทนาเหล่านั้น
    เวทนาที่เป็นสุขเวทนาก็ดี
    ที่เป็นทุกขเวทนาก็ดี
    มีทั้งทางกายทางใจ ฯ
    ส่วนอทุกขมสุขเวทนา

    เมื่อว่า โดยปริยาย ก็มีทางกายทางใจเหมือนกัน
    โดยหมายเอาปสาทกายมีจักษุเป็นต้น ฯ
    เวทนาที่เป็นทางกายทั้งปวง เป็นกามาวจรทั้งนั้น
    ทุกขเวทนาที่เป็นทางใจก็เหมือนกัน ฯ
    ส่วนสุขเวทนาที่เป็นทางใจ มีอยู่ในภูมิ ๔ ฯ
    อทุกขมสุขเวทนามีอยู่ในภูมิ ๔ ฯ
    ควรทราบความแห่งเวทนาเป็นอดีตเป็นต้น

    ด้วยการสืบต่อและด้วยขณะเป็นต้น แม้ทุกประการ ฯ
    เวทนาที่นับเข้าในวิถี ๑
    ในชวนะ ๑
    ในสมาบัติ ๑
    ด้วยอำนาจการสืบต่อก็ดี
    ที่เป็นไปในการประกอบในวิสัยอันเดียวก็ดี เป็นเวทนาปัจจุบัน ฯ
    เวทนาที่มีก่อนนั้น เป็นเวทนาอดีต
    เวทนาที่มีในภายหลังนั้นเป็นเวทนาอนาคต ฯ
    เวทนาที่นับเข้าในขณะ ๒ ด้วยอำนาจขณะเป็นต้นก็ดี
    ที่ถึงซึ่งส่วนเบื้องต้น
    ส่วนเบื้องปลาย
    ในท่ามกลางก็ดี
    ที่ทำกิจของตนอยู่ก็ดี เป็นเวทนาปัจจุบัน ฯ
    เวทนาที่มีก่อนนั้น เป็นเวทนาอดีต ฯ
    เวทนาที่มีภายหลังเป็นเวทนาอนาคต ฯ
    ควรทราบว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำนิเทศนี้ไว้
    ด้วยทรงหมายเอาความเป็นอดีตเป็นต้น
    ด้วยอำนาจขณะเป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2023
  3. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    ในนิเทศแห่งเวทนาหยาบ เวทนาละเอียดนั้น
    มีคำอธิบายว่า
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ตรัสว่า อกุศลเวทนาเป็นต้น
    เพื่อทรง แสดงเวทนาหยาบ เวทนาละเอียดตามชาติกำเนิด ฯ

    ที่ตรัสว่า
    ทุกขเวทนา ที่เป็นเวทนาหยาบเป็นต้นนั้น
    เพื่อทรงแสดงตามสภาพ ฯ

    ที่ตรัสว่า เวทนาของผู้ไม่ได้เข้าสมาบัติเป็นต้นนั้น
    เพื่อทรงแสดง ตามบุคคล ฯ

    ที่ตรัสว่า เวทนามีอาสวะเป็นต้นนั้น
    เพื่อทรงแสดงซึ่งเวทนาหยาบ เวทนาละเอียดโดยโลกีย์โลกุตระ ฯ

    ในเวทนาเหล่านั้น
    มีคำอธิบาย ว่า
    อกุศลเวทนา ที่ชื่อ ว่าเป็นเวทนาหยาบ
    เพราะหมายความ ว่า
    มีความกระวนกระวาย
    และเพราะหมายความว่า มีทุกข์เป็น วิบาก คือ มีทุกข์เป็นผล ฯ

    กุศลเวทนา ที่ชื่อว่าเวทนาละเอียด
    เพราะหมายความว่า
    ไม่กระวนกระวาย
    และเพราะหมายความว่า มีสุขเป็นวิบาก ฯ

    อัพยกตเวทนา ที่ชื่อว่า เป็นเวทนาละเอียด
    เพราะหมายความ ว่า ไม่มีอุตสาหะ ไม่มีวิบาก ฯ

    กุศลเวทนา อกุศลเวทนา ที่ชื่อว่าเป็นเวทนาหยาบ
    เพราะมีอุตสาหะและเพราะมีวิบาก ฯ

    อัพยากตเวทนา ที่ชื่อว่าเวทนาละเอียด ก็โดยนัยตามที่กล่าวแล้ว ฯ

    ทุขกเวทนา ที่ชื่อว่าเป็นเวทนาหยาบ
    เพราะเป็นเวทนาไม่น่ายินดี
    และเพราะเป็นเวทนาที่เป็นทุกข์ ฯ

    สุขเวทนา ที่ชื่อว่าเวทนาละเอียด
    เพราะเป็นเวทนาน่ายินดี
    และเพราะเป็นเวทนาที่มีสุข ฯ

    อทุกขมสุขเวทนา ที่มีชื่อเว่าเป็นเวทนาละเอียด
    เพราะ เป็นเวทนา สงบ และ เพราะเป็นเวทนาปราณีต ฯ

    สุขทุกข์ ชื่อว่าเป็นเวทนาหยาบ
    เพราะเป็นเวทนากำเริบ เพราะเป็นเวทนาแผ่ไป ฯ

    ด้วยเหตุ ว่า
    สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี ก็กำเริบแผ่ไปเหมือนกัน ฯ
    คือ
    เมื่อสุขเกิดขึ้น
    ก็ทำให้ สรีระทั้งสิ้น
    กวนสรีระทั้งสิ้น
    ไหลไปสู่สรีระทั้งสิ้น
    ทำให้ สรีระทั้งสิ้น
    เข้าไปปิดสรีระทั้งสิ้น
    เป็นเหมือนกับน้ำที่เทลงมาจากหม้อน้ำเย็นฉะนั้นฯ

    เมื่อทุกข์เกิดขึ้น
    ย่อมเป็นประหนึ่งว่า
    น้ำที่อยู่ในกะทะร้อน
    หรือเป็นประหนึ่งว่า ถูกเผาด้วยคบเพลิงฉะนั้น ฯ

    ส่วน อทุกขมสุขเวทนา
    ชื่อว่าเป็นเวทนาละเอียด ตามนัยที่กล่าวแล้ว ฯ

    เวทนาของผู้ไม่ได้เข้าสมาบัติ
    จัดว่าเป็นเวทนาหยาบ เพราะฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ฯ

    เวทนาของผู้เข้าสมาบัติ
    จัดว่าเป็นเวทนาละเอียด เพราะมีอยู่ในนิมิตอันเดียวเท่านั้น ฯ

    เวทนาที่มีอาสวะ
    จัดว่าเป็นเวทนาหยาบ เพราะเป็นเหตุ ให้เกิดอาสวะ ฯ
    อันชื่อว่า วาระแห่งอาสวะ ชื่อว่า เป็นวาระหยาบโดยแท้ ฯ

    เวทนาที่ไม่มีอาสวะ จัดว่าเป็นเวทนาละเอียด
    ตามปริยายที่ตรงกันข้าม กับคำที่กล่าวมาแล้วนี้ ฯ
     
  4. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    ในบุคคลเหล่านั้น
    บุคคลผู้หนึ่งไม่ฉลาดในกุสลติกะ คือ
    หมวด ๓ แห่งเวทนาที่เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต ๑

    ไม่ฉลาดในหมวด ๓ แห่งเวทนา คือ
    ไม่ฉลาดในสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ฯ
    ผู้นั้นย่อมทำลายหมวด ๓ แห่งเวทนาด้วยคิดว่า
    เราจักรักษาหมวด ๓ แห่งกุศลไว้ ฯ
    ย่อมทำลายหมวด ๓ แห่งกุศลด้วยคิดว่า
    เราจะรักษาหมวด ๓ แห่งเทศนาไว้ ฯ

    ผู้หนึ่งทำลายลำดับแห่งภูมิด้วยคิดว่า เราจักรักษาหมวด ๓ ไว้
    ผู้หนึ่งไม่ทำลาย ฯ ข้อคืออย่างไร ? คือ
    คำว่า
    สุขเวทนา ทุกขเวทนา เป็นเวทนาหยาบ
    อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาละเอียดนี้

    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในหมวด ๓ แห่งเทศนา ฯ
    ผู้หนึ่งห้าม คำนั้นเสียว่า
    อทุกขมสุขเวทนาทั้งสิ้น ไม่ใช่เวทนาละเอียดทั้งนั้น ฯ
    เพราะ
    อทุกขมสุขเวทนานั้น
    เป็นกุศลก็มี
    เป็นอกุศลก็มี
    เป็นอัพยากฤตก็มี ฯ



    กุศลเวทนา อกุศลเวทนา เป็นเวทนาหยาบ
    อัพยากฤตเวทนา เป็นเวทนาละเอียด ข้อนี้เพราะอะไร
    เพราะมีมาในพระบาลีที่ว่าด้วย หมวด ๓ แห่งกุศล ฯ
    ผู้รักษาหมวด ๓ แห่งกุศล
    ก็เป็นอันทำลายหมวด ๓ แห่งเวทนาอย่างนี้

    คำใดที่ตรัสไว้ ในหมวด ๓ แห่งกุศล ว่า
    กุศลเวทนา อกุศลเวทนา เป็นเวทนาหยาบ
    อัพยากฤตเวทนา เป็นเวทนาละเอียด
    ผู้หนึ่งยอมห้ามคำนั้นเสียว่า
    อัพยากฤตเวทนาทั้งสิ้น ไม่ใช่เวทนาละเอียดทั้งนั้น ฯ
    เพราะ อัพยากฤตเวทนานั้น
    เป็นสุขก็มี
    เป็นทุกข์ก็มี
    ไม่ทุกข์ไม่สุขก็มี ฯ ในคำเหล่านั้น

    มีคำอธิบายว่า
    สุขเวทนา ทุกขเวทนา เป็นเวทนาหยาบ
    อทุกขมสุขเวทนา เป็นเวทนาละเอียด ฯ ข้อนี้เพราะเหตุไร ?
    เพรามีมาในพระบาลีที่ว่าด้วย หมวด ๓ แห่งเวทนา ฯ
    ผู้รักษาหมวด ๓ แห่งเวทนาไว้ ฯ
    ก็ทำลายหมวด ๓ แหงกุศลอย่างนี้ ฯ

    ผู้ที่ไม่แลดูหมวด ๓ แห่งเวทนา ในที่มาแห่งหมวด ๓ แห่งเวทนาเลย
    กล่าวแต่ความหยาบและละเอียดแห่งกุศลเวทนาเป็นต้น
    ในขณะแห่งหมวด ๓ แห่งกุศล
    กล่าวแต่ความหยาบและละเอียดแห่งสุขเวทนาเป็นต้น



    ตามขณะหมวด ๓ แห่งเวทนา ชื่อว่าไม่ทำลาย ฯ
    คำใดที่ตรัสไว้ในหมวด ๓
    แห่ง กุศลเวทนา อกุศลเวทนา เป็นเวทนาหยาบ
    อัพยากฤตเวทนา เป็นเวทนาละเอียด ดังนี้ ฯ
    ในคำนั้น ก็มีผู้หนึ่งกล่าวว่า
    กุศลเวทนาที่เป็นโลกุตตระก็มี ก็ชื่อว่าหยาบ
    เวทนาที่เป็นวิบาก แม้ที่เกิดพร้อมกับทวิปัญจวิญญาณเป็นอย่างต่ำ
    ก็ชื่อว่า เป็นเวทนาละเอียด ดังนี้ ฯ

    ผู้นั้นเมื่อทำโลกุตตระเวทนา ที่
    เป็นของละเอียด
    เป็นของประณีตเช่นนี้ ให้เป็นเวทนาหยาบ
    เมื่อทำเวทนาที่ไม่มีเหตุเลวทรามต่ำช้า
    ที่ประกอบด้วยปัญจวิญญาณ ว่า เป็นเวทนาละเอียด
    ชื่อว่า
    ทำลายลำดับแห่งภูมิ ด้วยคิดว่า เรารักษาหมวด ๓ ไว้ ฯ
    ในบุคคลนั้น ฯ

    ส่วนบุคคลผู้กล่าวประกอบกุศลในภูมิ ๓ เข้ากับวิบากในภูมินั้น ฯ

    ชื่อว่า ไม่ทำลาย ฯ
    มีนัยในคำนั้น ว่า
    กามาวจรกุศล ชื่อว่าหยาบ
    กามาวจรวิบาก ชื่อว่าละเอียด

    รูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุสุล โลกุตตรกุศล ชื่อว่าหยาบ
    รูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก โลกุตตรวิบาก ชื่อว่าละเอียด

    ผู้กล่าวอย่างนี้ ไม่ชื่อว่าทำลาย ฯ

    ส่วนพระติปิฎกจุฬนาคเถรเจ้า ได้กล่าวไว้ว่า ชื่อว่า

    ความหยาบ ความละเอียดในกุศล ไม่ควรที่ใครจะรื้อฟื้นขึ้นมา
    เพราะความหยาบ ความละเอียดในกุศลนั้น
    เป็นความหยาบความละเอียดแท้

    ความหยาบ ความละเอียด ในโลกุตตรกุศลก็ดี
    ไม่ควรที่ใคร ๆ จะรื้อฟื้นขึ้นมา
    เพราะความหยาบความละเอียดในโลกุตตรกุศลนั้น
    เป็นความหยาบความละเอียดแท้ ฯ

    ผู้รู้ทั้งหลาย นำถ้อยคำอันนี้กล่าวแก่พระปิฎกจุฬาภัยเถรเจ้า ว่า
    พระเถรเจ้าได้กล่าวอย่างนี้ ฯ

    ส่วนพระติปิฎกจุฬาภัยเถรเจ้า ได้กล่าวไว้ว่า
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงอภิธรรมไว้
    ไม่ชื่อว่าได้ประทานนัยที่มา แห่งบทเดียว หรือ ๒ บท

    ไว้ในฐานะ อันสมควร เพื่อจะประทานนัยไว้ไม่มี ชื่อว่าไม่ได้ทรงทำนัยไว้
    ในฐานะควรเพื่อทำนัยก็ไม่มี ฯ ก็บางคนในโลกนี้ เมื่อประพฤติตัวว่า

    เรา
    เป็นอาจารย์แล้วรื้อฟื้น ซึ่งความเป็นของหยาบและละเอียดในกุศล
    ก้รู้สึกกลัวผิด ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงรื้อฟื้น
    ซึ่งความหยาบ ความละเอียด ไว้ในโลกุตตระแล้ว ดังนี้ ฯ
    ครั้นท่านกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็นำพระสูตรนี้มาว่า

    ปฏิปทาที่เป็นทุกข์อันใด เป็นทันธาภิญญา
    ปฏิปทาที่เป็นทุกข์อันนี้ ย่อมปรากฏว่าเลวทั้ง ๒ อย่าง
    เพราะเป็นทุกข์ด้วย เพราะชั่วด้วย ดังนี้ ฯ

    ก็ปฏิปทาทั้ง ๔ ในพระสูตรนี้
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงไว้เจือกันทั้งและโลกีย์โลกุตตระ ?
    คำว่า โดยเทียบกัน กับ เวทนานั้นๆ
    ดังนี้นั้น ไม่ควรแลดูนัยที่มีมาแล้วในภายหลัง
    ควรแสดงไปตามนัยที่เทียบกันเป็นชั้น ๆ
    ดังจักแสดงในกัณฑ์ข้างหน้า
    ส่วนในกัณฑ์นี้ ของดไว้เพียงเท่านี้ ฯ
    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2023
  5. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    กัณฑ์ที่ ๔

    คัมภีร์พระวิภังค์

    ว่าด้วย เวทนาขันธนิทเทส

    ทุวิธา หิ อกุสลา โลภสหคตา โทสสหคตา จ ฯ ตตฺถ โทสสหคตา

    โอฬาริกา โลภสหคตา สุขุมาติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงคัมภีร์พระวิภังค์ กัณฑ์ที่ ๔ ว่าด้วยเวทนา

    ขันธนิทเทส สืบต่อไป เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา
    และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดกาลนาน

    อรรถกถา

    ดำเนินความตามอรรถกถา ที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นเบื้องต้นแห่งเทสนานั้นว่า

    อกุศลเวทนามีอยู่ ๒ อย่าง
    คือ
    อย่างที่ประกอบด้วยโลภะ ๑
    อย่างที่ประกอบด้วยโทสะ ๑ ฯ
    อย่างที่ประกอบด้วยโทสะ จัดเป็นอย่างหยาบ
    ที่ประกอบด้วยโลภะจัดเป็นอย่างละเอียด ฯ

    อกุศลเวทนา ๒ อย่าง
    ที่ประกอบด้วยโทสะเป็นเวทนาแน่นอนก็มี
    ไม่แน่นอนก็มี
    ที่แน่นอนเป็นเวหนาหยาบ
    ที่ไม่แน่นอนเป็นเวทนาละเอียด ฯ

    แม้ที่แน่นอน แต่เป็นเวนา ที่ตั้งอยู่ในนรกตลอดกัล์ป เป็นเวทนาหยาบ
    ที่ไม่ตั้งอยู่ในนรกตลอดกัล์ป เป็นเวทนาละเอียด ฯ

    แม้เวทนาที่ประกอบด้วยโลภะก็มี ๒ อย่าง
    คือ
    ประกอบด้วยทิฏฐิ ๑
    ปราศจากทิฏฐิ ๑ ฯ

    ที่ประกอบด้วยทิฏฐิ เป็นเวทนาหยาบ
    ที่ปราศจากทิฏฐิเป็นเวทนาละเอียด

    แม้ที่ประกอบด้วยทิฏฐิที่แน่นอนก็เป็นเวทนาหยาบ
    ที่ไม่แน่นอนก็เป็นเวทนาละเอียด ฯ

    ที่ประกอบด้วยทิฏฐินั้น ถ้าเป็นอสังขาริก ก็เป็นเวทนาหยาบ
    เป็น สสังขาริก ก็เป็นเวทนาละเอียด ฯ


    เมื่อว่าโดยสังเขปแล้ว
    เวทนาใด ถึง อกุศลแล้ว ให้วิบาก เวทนานั้นหยาบ
    เวทนาใด ถึง อกุศลแล้ว ให้วิบากน้อย เวทนานั้นละเอียด ฯ
    ส่วนเวทนา ที่ถึงกุศลแล้วก็มีวิบากน้อย เป็นเวทนาหยาบ
    มีวิบากมากเป็นเวทนาละเอียด ฯ



    เวทนาที่เป็นกามาวจรกุศล ๔ อย่าง เป็นเวทนาหยาบ
    เวทนาที่เป็นรูปาวจรกุศล เป็นเวทนาละเอียด ฯ
    ถึงแม้ว่าเวทนาที่เป็นรูปาวจรกุศลนั้น ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ
    เวทนาที่เป็นอรูปาวจรกุศล เป็นเวทนาละเอียด ?

    แม้ว่าเวทนาที่เป็นอรูปาวจรกุศลนั้น ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ
    ส่วนเวทนาที่เป็นโลกุตตรกุศล เป็นเวทนาละเอียด ฯ



    นัยที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นนัยที่กล่าวในภูมิทั้งหลายโดยไม่แตกต่างกัน

    ส่วนนัยที่กล่าวโดยแตกต่างกันนั้น มีมาว่า
    เวทนาที่เป็น กามาวจรกุศล มีอยู่ ๓ อย่าง
    คือ
    สำเร็จด้วยทาน ๑
    สำเร็จด้วยศีล ๑
    สำเร็จด้วยภาวนา ๑ ?

    เวทนาที่สำเร็จด้วยทาน เป็นเวทนาหยาบ
    ส่วนเวทนาที่สำเร็จด้วยศีล เป็นเวทนาละเอียด ?

    ถึงแม้ว่า เวทนาที่สำเร็จด้วยศีลนั้น ก็ยังเป็นเวทนาหยาบอยู่
    เวทนาที่สำเร็จด้วยภาวนาเป็นเวทนาละเอียด

    ถึงแม้ว่าเวทนาที่สำเร็จด้วยกาวนานั้น ก็ยังมีอีก ๒ อย่าง คือ
    เป็นทุเหตุก็มี
    เป็นไตรเหตุก็มี ฯ

    ที่เป็น ทุเหตุ เป็นเวทนาหยาบ
    ที่เป็น ไตรเหตุ เป็นเวทนาละเอียด ฯ

    ถึงแม้ว่าที่เป็นไตรเหตุ ก็ยังแยกออกไปอีก ๒
    คือ
    เป็น สสังขาริก เกิดโดยมีผู้ชักชวนก็มี
    เป็น อสังขาริกัง เกิดโดยไม่มีผู้ชักชวนก็มี ฯ

    ที่เป็น สสังขาริก เป็นเวทนาหยาบ
    ส่วน
    ที่เป็นอสังขาริก เป็นเวทนาละเอิยด ฯ

    สำหรับในรูปาวจรนั้น
    กุศลเวทนาในปฐมฌานเป็นเวทนาหยาบ
    กุศลเวทนาในทุติยฌานเป็นเวทนาละเอียด ฯ


    กุศลเวทนาในทุติยฌาน เป็นเวทนาหยาบ
    กุศลเวทนาในตติยฌานเป็นเวทนาละเอียดฯ

    กุศลเวทนาในตติยฌานเป็นเวทนาหยาบ
    กุศลเวทนาในจตุตถฌานเป็นเวทนาละเอียด ฯ

    ถึงแม้ว่ากุศลเวทนาในจตุตถฌานนั้น ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ
    ส่วนกุศลเวทนาในอากาสานัญจายตนะเป็นเวทนาละเอียด ฯ

    กุศลเวทนาในอากาสานัญจายตนะเป็นเวทนาหยาบ
    ส่วนกุศลเวทนาในวิญญาณัญจายตนะ เป็นเวทนาละเอียด ฯ

    กุศลเวทนาในวิญญาณัญจายตนะ เป็นเวทนาหยาบ
    ส่วนกุศลเวทนาในอากิญจัญญายตนะ เป็นเวทนาละเอียด ฯ

    กุศลเวทนาในอากิญจัญญายตนะ เป็นเวทนาหยาบ
    ส่วนกุศลเวทนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นเวทนาละเอียด ฯ

    กุศลในเนวสัญญานาสัญญายตนะยังหยาบ
    ส่วนเวทนาที่เกิดพร้อมกับวิปัสสนา เป็นเวทนาละเอียด ฯ

    ถึงแม้ว่า
    เวทนาที่เกิดพร้อมกับวิปัสสนานั้น ก็ดี
    เมื่อเทียบกับเวทนาที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติมรรคแล้ว
    ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ
    ส่วนเวทนาที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติมรรคเป็นเวทนาละเอียด ฯ

    ถึงแม้ว่าเวทนาที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติมรรคนั้นก็ดี 4

    เมื่อเทียบกับ เวทนา ที่เกิดพร้อมกับ สกทาคามิมรรคแล้ว
    ก็ยังเบ็นเวทนาหยาบ
    ส่วนเวทนาที่เกิดพร้อมกับสกทาคามิมรรค เป็นเวทนาละเอียด ฯ

    ถึงแม้ว่าเวทนาที่เกิดพร้อมกับสถทาคามิมรรคนั้นก็ดี
    เมื่อเทียบกับเวทนาที่เกิดพร้อมกับอนาคามิมรรคแล้ว
    ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ
    ส่วนเวทนาที่เกิดพร้อมกับอนาคามิมรรคเป็นเวทนาละเอียด ?

    ถึงแม้ว่าเวทนาที่เกิดพร้อมกับ อนาคามิมรรคนั้นก็ดี
    เทียบกับเวทนาที่เกิดพร้อมกับอรหัตตมรรคแล้ว ก็ยังหยาบ
    ส่วนเวทนาที่เกิดพร้อมกับอรหัตตมรรค เป็นเวทนาละเอียด

    ในวิบาก ๔ อย่าง
    เวทนาที่เป็นกามาวจรวิบาก เป็นเวทนาหยาบ
    ที่เป็น รูปาวจรวิบาก เป็นเวทนาละเอียด ?
    ถึงแม้ว่าที่เป็น รูปาวจรวิบากนั้นก็ดี
    เมื่อเทียบกับเวทนาที่เป็น รูปาวจรวิบากแล้ว
    ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ

    ส่วนเวทนาที่เป็น อรูปาวจรวิบาก เป็นเวทนาละเอียด ?
    ถึงแม้ว่าเวทนาที่เป็นอรูปาวจรวิบากนั้นก็ดี
    เมื่อเทียบกับเวทนาที่เป็นโลกุตตรวิบากแล้ว ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ

    ส่วนเวทนาที่เป็นโลกุตตรวิบาก เป็นเวทนาละเอียด ?
    ที่ว่าแล้วนี้ เป็นนัยที่ว่าโดยความไม่แตกต่างกัน

    ส่วนที่ว่าโดยความแตกต่างกันนั้น คือ
    เวทนาที่เป็นกามารจรวิบาก
    เป็นอเหตุกะก็มี
    เป็นสเหตุกะก็มี ฯ

    ถึงแม้ว่าเป็นสเหตุกะ
    ก็ยังเป็นทุเหตุก็มี เป็นไตรเหตุก็มี ฯ


    ที่เป็นอเหตุกะ เป็นเวทนาหยาบ
    ที่เป็นสเหตุกะ เป็นเวทนาละเอียด ฯ

    ถึงแม้ว่าเวทนาที่เป็นสเหตุกะนั้น
    ถ้าเป็นทุเหตุก็หยาบ
    เป็นไตรเหตุก็ละเอียด ฯ

    ที่เป็น สสังขาริก ก็หยาบ
    ที่เป็น อสังขาริก ก็ละเอียด ฯ

    เวทนาที่เบ็นวิบากแห่ง
    ปฐมฌาน
    ทุติยฌาน
    ตติยฌาน
    จตุตถฌาน
    อากาสานัญจายตนะ
    วิญญาณัญจายตนะ
    อากิญจัญญายตนะ
    เนวสัญญานาสัญญายตนะ

    เมื่อเทียบกันแล้วก็หยาบและละเอียดขึ้นไปกว่ากันเป็นชั้น ๆ ฯ

    ถึงแม้ว่าเวทนาที่เป็น วิบาก แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ

    กับ
    เวทนา ที่เป็น
    โสดาบัตติผล
    สกทาคามิผล
    อนาคามิผล
    อรหัตตผล

    เมื่อเทียบกันแล้วก็หยาบละเอียดกว่ากันขึ้นไปเป็นชั้น ๆ

    เมื่อว่าในกิริยา ๓
    ก็ว่า เวทนาที่เป็นกามาวจรกิริยา เป็นเวทนาหยาบ
    ส่วนเวทนาที่เป็น รูปาวจรกิริยา เป็นเวทนาละเอียด ฯ

    ถึงแม้ว่าเวทนาที่เป็น รูปาวจรกิริยานั้น ก็ยังหยาบ
    ส่วนเวทนาที่เป็น อรูปาวจรกิริยา เป็นเวทนาละเอียด ฯ
    อันนี้ว่าโดยความไม่แตกต่างกัน

    ส่วนที่แตกต่างกันนั้น คือ
    ในกามาวจรกิริยา ที่แตกต่างกัน
    ด้วยอำนาจ อเหตุกะเป็นต้น
    เวทนาที่เป็น อเหตุกะกิริยา เป็นเวทนาหยาบ
    เวทนาที่เป็นสเหตุกกิริยา เป็นเวทนาละเอียด ฯ
    แม้ว่า เวทนาที่เป็นเหตุกกิริยานั้น ก็ยังมีหยาบละเอียด
    คือที่เป็น ทุเหตุ เป็นเวทนาหยาบ
    ส่วนที่เป็น ไตรเหตุ เป็นเวทนาละเอียด
    คือ
    ที่เป็นสสังขาริกเป็นเวทนาทยาบ
    ส่วนที่เป็นอสังขาริกเป็นเวทนาละเอียด ฯ

    กิริยาเวทนาใน
    ปฐมฌาน
    ทุติยฌาน
    ตติยฌาน
    จตุตถฌาน

    ตลอดถึง

    อากาสานัญจายตนะ
    วิญญาณัญจายตนะ
    อากิญอัญญายตนะ
    เนวสัญญานาสัญญายตนะ
    ก็หยาบละเอียดขึ้นไปกว่ากันเป็นชั้น ๆ ดังนี้

    สิ้นเนื้อความในอรรถกถา
    ที่ว่าด้วย เวทนาหยาบ และ ละเอียด เพียงเท่านี้.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2023
  6. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    บาลี

    ต่อนี้ไป เป็นเนื้อความในบาลี
    ที่ว่าด้วยเวทนาเลวทรามและประณีต
    ไกลและใกล้ ว่า เวทนาที่เป็นอกุศล เป็นเวทนาเลว
    เวทนาที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตเป็นเวทนาประณีต ดังนี้ ๑

    เวทนาที่เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นเวทนาเลวทราม
    ส่วนเวทนาที่เป็นอัพยากฤต เป็นเวทนาประณีต ๑

    เวทนาที่เป็นทุกข์ เป็นเวทนาเลวทราม
    เวทนาที่เป็นสุข และ ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข เป็นเวทนาประณีต ๑

    เวทนาที่เป็นสุขเป็นทุกข์ เป็นเวทนาเลวทราม
    ส่วนเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุข เป็นเวทนาประณีต ๑

    เวหนาของผู้ไม่ได้เข้าสมาบัติ เป็นเวทนาเลวทราม
    ส่วนเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เป็นเวทนาประณีต ๑

    เวทนาที่มีอาสวะเป็นเวทนาเลวทราม
    เวทนาที่ไม่มีอาสวะ เป็นเวทนาประณีต ๑

    ควรเห็นว่า เวทนาเป็นของเลวทราม เป็นของประณีต
    โดยเทียบกับเวทนานั้น ๆ

    เวทนาไกลนั้น ได้แก่ เวทนาอย่างไหน
    มีคำแก้ไข ว่า
    เวทนาที่เป็นอกุศล เป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นกุศล
    และเป็นอัพยากฤต ๑

    เวหนาที่เป็นกุศลและเป็นอัพยากฤต
    ก็เป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นอกุศล
    ส่วนเวทนาที่เป็นกุศล ก็เป็นเวทนาที่ไกลจากเวทนาที่เป็นอกุสล
    และเป็นอัพยากฤต ๑

    เวทนาที่เป็นอกุศลและเป็นอัพยากฤตก็เป็นเวทนาไกล
    จากเวทนาที่เป็นกุศล
    ส่วนเวทนาที่เป็นอัพยากฤต ก็เป็นเวทนาไกล
    จากเวทนาที่เป็นกุศลและอกุศล ๑

    เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศล ก็เป็นเวทนาไกลจากเวทนา
    ที่เป็นอัพยากฤต ๑

    เวทนาที่เป็นทุกข์ ก็ไกลจากเวทนาที่เป็นสุข
    และไม่ทุกข์ไม่สุข
    เวทนาที่เป็นสุข ก็ไกลจากเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุข ๑


    เวทนาที่เป็นสุข ไกลจากเวทนาที่เป็นทุกข์ และไม่ทุกข์ไม่สุข
    ส่วนเวทนาที่เป็นทุกข์
    และที่ไม่ทุกข์ ไม่สุข ก็ไกลจากเวทนาที่เป็นสุข
    ส่วนเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็ไกลจากเวทนา ที่เป็นสุขเป็นทุกข์ ๑

    เวทนาที่เป็นสุขเป็นทุกข์ ก็ไกลจากเวทนา ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข ๑

    เวทนาของผู้ไม่ได้เข้าสมาบัติ
    ไกลจากเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ
    เวทนาของผู้เข้าสมาบัติ
    ไกลจากเวทนาของผู้ไม่ได้เข้าสมาบัติ ๑

    เวทนาที่มีอาสวะ ไกลจากเวทนาที่ไม่มีอาสวะ ๑
    เวทนาที่ไม่มีอาสวะ ไกลจากเวทนาที่มีอาสวะ ๑ ดังนี้

    เวทนาอย่างไร เรียก ว่า เวทนาใกล้ ฯ
    เวทนาอย่างนี้ คือ อกุศลเวทนาใกล้กับอกุศลเวทนา ฯ
    กุศลเวทนาใกล้กับกุศลเวทนา ฯ
    อัพยากฤตเวทนาใกล้กับอัพยากฤตเวทนา ฯ
    ทุกขเวทนาใกล้กับทุกขเวทนา ฯ
    สุขเวทนาใกล้กับสุขเวทนา ฯ
    อทุกขมสุขเวทนา ใกล้กับ อทุกขมสุขเวทนา ฯ
    เวทนาของผู้ไม่ได้เข้าสมาบัติ ใกลักับ เวทนาของผู้ไม่ได้เข้าสมาบัติ ฯ
    เวทนาของผู้เข้าสมาบัติ ใกล้กับเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ ฯ
    เวทนาที่มีอาสวะ ใกล้กับเวทนาที่มีอาสวะ ฯ
    เวทนาที่ไม่มีอาสวะ ก็ใกล้กับเวทนาที่ไม่มีอาสวะ ฯ

    ควรเห็นเวทนาไกล เวทนาใกล้ โดยเทียบกันดังนี้
    สิ้นเนื้อความในพระบาลีเพียงเท่านี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2023
  7. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    อรรถกถา

    ต่อนี้ไป เป็นเนื้อความในอรรถกถาว่า
    อกุศลเวทนาชื่อว่าเบ็นเวทนาไกล
    จากกุศลเวทนา จากอัพยากตเวทนา โดยเป็นของไม่เหมือนกันอย่างหนึ่ง
    โดยเป็นของไม่ปะปนกันอย่างหนึ่ง ?
    นักปราชญ์ควรเห็นคำว่า ไกล ในบททั้งปวง ตามนัยนี้ ฯ
    เพราะ ถ้ามีคน ๓ คน ซึ่งมีเวทนาที่เป็นอกุศลเป็นต้น
    และที่มีเวทนาที่เป็นทุกข์เป็นต้น
    นั่งอยู่บนเดียงอันเดียวกัน
    เวทนาของคนทั้ง ๓ นั้น ก็ชื่อว่าไกลกัน
    เพราะไม่เหมือนกันอย่างหนึ่ง
    เพราะไม่ปะปนกันอย่างหนึ่ง ฯ
    แม้ในเวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็นต้น ก็เหมือนนัยนี้ ฯ

    ส่วนอกุศลชื่อว่าเวทนาใกล้ต่อเวหนาที่เป็นอกุศลนั้น
    คือ เป็นของเหมือนกัน เป็นของคล้ายกัน ฯ
    ในบททั้งปวงก็ควรทราบความใกล้กันโดยนัยนี้
    คือ ถ้าในคน ๓ คน ที่มี อกุศลเวทนาเป็นต้น
    คนหนึ่งเกิดในกามภพ
    คนหนึ่งเกิดในรูปภพ
    คนหนึ่งเกิดในอรูปภพก็ตาม
    เวทนาของคนทั้ง 2 นั้น ก็ชื่อว่าใกล้กัน
    เพราะเป็นเวทนาเหมือนกัน คล้ายกัน ฯ
    แม้ว่า
    ในบุคคล ผู้มีกุศลเวทนาเป็นต้น ก็เหมือนนัยนี้ ฯ

    คำว่า ควรเห็นเวทนาไกลและใกล้โดยเทียบกับเวทนานั้น ๆ
    ดังที่แสดงมาแล้วตามพระบาลีนั้น มีคำอธิบาย ว่า

    ไม่ควรหันไปมองดูซึ่งนัยที่แล้ว
    ควรแสดงตามเวทนานั้นๆ ฯ
    เมื่อจะแสดง ไม่ควรยกเวทนาใกล้มาจากเวทนาไกล ฯ
    แต่ ควรยก จากเวทนาไกลมาจากเวทนาใกล้

    ก็เวทนาที่เป็นอกุศลนั้น ยังมีอีก ๒ อย่าง
    คือ
    ประกอบด้วยโลภะ ๑
    ประกอบด้วยโทสะ ๑ ฯ

    ที่ประกอบด้วยโลภะนั้น ชื่อว่า ใกล้ต่อเวทนาที่ประกอบด้วยโลภะ

    ที่ประกอบด้วยโทสะ ก็ชื่อว่า ใกล้ต่อเวทนาที่ประกอบด้วยโทสะ

    แต่ชื่อว่าใกล้ต่อเวทนาที่ประกอบด้วยโลภะ ฯ

    แม้เวทนาที่ประกอบด้วยโทสะแน่นอน
    ก็ชื่อว่าใกล้ต่อที่แน่นอนเหมือนกัน ฯ

    ที่ไม่แน่นอนก็ใกล้ต่อที่ไม่แน่นอน ฯ
    เวทนาที่เป็นเวทนาซึ่งตั้งอยู่ ในนรกตลอดกัลป์ก็ดี
    ที่เป็นอสังขาริกก็ดี
    ที่เป็นสสังขาริกก็ดี
    ที่ประกอบด้วยทิฎฐิเป็นต้น
    ในเวทนาที่ประกอบด้วยโลภะเป็นต้นก็ดี
    ก็มีพิสดารมาแล้วในเวทนาที่ว่าด้วยหยาบละเอียดโน้น
    เป็นอันว่าเวทนาส่วนหนึ่งๆ
    ก็ควรทราบกับเวทนา ที่เป็นส่วนเดียวกัน ว่าเป็นเวทนาใกล้
    ถ้าเทียบกับเวทนาอื่น ก็จัดว่าเป็นเวทนาใกล้ ดังนี้

    สิ้นเนื้อความ ในอรรถกถา ที่ว่าด้วยเวทนาขันธนิเทสเพียงเท่านี้

    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ ฯ
     
  8. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    กัณฑ์ที่ ๕

    คัมภีร์พระวิภังค์

    ว่าด้วยสัญญาขันธ์เป็นต้น

    ตตฺถ กตโม สญฺญากขนฺโธ ยากาจิ สญฺญา อตีตานาคตปจฺจุปปนฺนา

    อชฺฌตฺตา วา พหิทฺธา วา โอฬาริกา วา สุขุมา วา หีนา วา ปณีตา วา

    ยา ทูเร สนฺติเก วา ตเทกชฺฌํ อภิสญญหิตฺวา อภิสงฺขิปิตฺวา อยํ วุจฺจติ

    สญฺญากฺขนฺโธติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงคัมภีร์พระวิภังค์ กัณฑ์ที่ ๕
    ว่าด้วยสัญญาขันธ์เป็นต้น สืบต่อไป
    เพื่อให้เบ็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา และพุทธศาสนิกชน
    ทั้งหลายตลอดกาลนาน

    บาลี

    ดำเนินความตามวาระพระบาลี ที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นเบื้องต้น แห่งเทศนานั้นว่า

    สัญญาขันธ์นั้นได้แก่สิ่งใด ? ได้แก่
    สัญญาไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง
    ไม่ว่า
    สัญญาที่เป็น อดีต อนาคต ปัจจุบัน
    ภายในหรือภายนอก
    หยาบหรือละเอียด
    เลวหรือประณีต
    ไกลหรือใกล้ ทั้งสิ้น รวมเรียกว่าสัญญาทั้งนั้น

    ก็สัญญาที่เป็นอดีตนั้น ได้แก่ สัญญาอย่างไหน?
    ได้แก่
    สัญญาที่ล่วงไปแล้ว
    ดับไปแล้ว
    ปราศจากไปแล้ว
    แปรปรวนไปแล้ว
    ตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว
    ตกไปแล้ว
    เกิดขึ้นหายไปแล้ว
    สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ล่วงแล้ว
    สัญญานั้น มี ๖ คือ
    สัญญา
    เกิดจากจักษุสัมผัส ๑
    เกิดจากโสตสัมผัส ๑
    เกิดจากมานส้มผัส ๑
    เกิดจากชิวหาสัมผัส ๑
    เกิดจากกายสัมผัส ๑
    เกิดจากมโนสัมผัส ๑ ฯ

    สัญญาที่เป็นอนาคตนั้น ได้แก่ สัญญาอย่างไหน ?
    ได้แก่
    สัญญาที่ยังไม่เกิด
    ยังไม่เป็น
    ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม
    ยังไม่ปรากฎขึ้น
    ยังไม่ถึงขึ้น
    ยังไม่ถึงขึ้นพร้อม
    ยังไม่ตังขึ้น
    ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม
    ยังไม่มาถึง
    ยังสงเคราะห์ด้วยส่วนที่ยังไม่มาถึง
    สัญญานั้นมี ๖ ดังที่ว่ามาแล้ว ฯ

    สัญญาที่เป็นบัจจุบันนั้น ได้แก่ สัญญาอย่างไหน ?
    ได้แก่
    สัญญาที่กำลังเกิดอยู่
    กำลังเป็นอยู่
    กำลังตั้งขึ้น
    กำลังเกิดขึ้นพร้อม
    กำลังปรากฎขึ้น
    กำลังถึงขึ้น
    กำลังถึงขึ้นพร้อม
    กำลังตั้งขึ้นพร้อม
    กำลังเกิดขึ้นเฉพาะหน้า
    สงเคราะห์ด้วยส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
    สัญญานั้นมี ๖ ดังที่ว่าแล้วนี้

    สัญญาที่เป็นภายในนั้น ไดแก่ สัญญาอย่างไหน ?
    ได้แก่สัญญา ๖ ที่มีอยู่ในตน
    มีอยู่เฉพาะตน
    มีอยู่จำกัดตน
    มีอยู่เฉพาะบุคคลของสัตว์นั้น ๆ ฯ

    สัญญาที่เป็นภายนอกนั้น ได้แก่ สัญญาอย่างไหน ?
    ได้แก่สัญญา ๖ ที่มีในตน
    มีอยู่เฉพาะตน
    มีอยู่จำกัดตน
    มีอยู่เฉพาะบุคคล
    มีวิญญาณของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้นๆ

    สัญญาหยาบและละเอียดนั้น ได้แก่ สัญญาอย่างไหน ?
    ได้แก่สัญญาที่อย่างนี้ คือ
    สัญญาที่เกิดจากปฎิฆสัมผัส เป็นสัญญาหยาบ
    สัญญาที่เกิดจากอธิวจนสัมผัส เป็นสัญญาละเอียด ฯ

    สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาหยาบ
    สัญญาที่เป็นกุศลและเป็นอัพยากฤต เป็นสัญญาละเอียด ฯ

    สัญญาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสัญญาหยาบ
    สัญญาที่เป็นอัพยากฤตเป็นสัญญาละเอียด ฯ

    สัญญาที่ประกอบกับทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ
    สัญญาที่ประกอบกับสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาละเอียด ฯ

    สัญญาที่ประกอบกับเวทนาที่เป็นสุขเป็นทุกข์เป็นสัญญาหยาบ
    สัญญาที่ประกอบกับเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุขเป็นสัญญาละเอียด ฯ

    สัญญาของผู้ไม่ได้เข้าสมาบัติ เป็นสัญญาหยาบ
    สัญญาของผู้เข้าสมาบัติ เป็นสัญญาละเอียด ฯ

    สัญญาที่มีอาสวะเป็นสัญญาหยาบ
    สัญญาที่ไม่มีอาสวะเป็นสัญญาละเอียด

    ควรเห็นสัญญาหยาบ
    สัญญาละเอียดโดยเทียบกัน กับ สัญญานั้น ๆ

    สัญญาอย่างไหน เป็นสัญญาเลว เป็นสัญญประณีต ฯ
    สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาเลว
    สัญญาที่เป็นกุศลและเป็นอัพยากฤต เป็นสัญญาประณีต

    สัญญาที่เป็นกุศล และเป็นอกุศลเป็นสัญญาเลว
    สัญญาที่เป็นอัพยากฤต เป็นสัญญาปราณีต ฯ

    สัญญาที่ประกอบกับทุกขเวทนาเป็นสัญญาเลว
    สัญญาที่ประกอบกับเวทนา ที่ไม่เป็นทุกข์ เป็นสุข เป็นสัญญาประณีต ฯ


    สัญญาที่ประกอบกับเวทนาที่เป็นทุกข์ เป็นสุข เป็นสัญญาเลว
    สัญญาที่ประกอบกับเวทนาที่ไม่เป็นทุกข์ เป็นสัญญาประณีต ฯ



    สัญญาของผู้ไม่ได้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาเลว
    สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาประณีต ฯ

    สัญญามีอาสวะเป็นสัญญาเลว
    สัญญาไม่มีอาสวะเป็นสัญญาประณีต
    ควรเห็นสัญญาเลว สัญญาประณีต
    โดยเทียบเคียงกัน กับสัญญานั้น ๆ

    สัญญาอย่างไหนเป็นสัญญาไกล
    สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นกุศลเป็นอัพยากฤต ฯ

    สัญญาที่เป็นกุศลเป็นอัพยากฤต เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอกุศล ฯ

    สัญญาที่เป็นกุศล เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอกุศลและเป็นอัพยากฤต ฯ

    สัญญาที่เป็นกุศล และเป็นอัพยากฤต เป็นสัญญาไกล จากสัญญาที่เป็นอกุศล ฯ

    สัญญาที่เป็นอัพยากฤต กับสัญญาที่เป็นอกุศลก็ดี
    สัญญาที่เป็นกุศล อกุศล กับสัญญาที่เป็นอัพยากฤตก็ดี

    สัญญาที่ประกอบกับทุกขเวทนาที่เป็นทุกข์
    กับสัญญาที่ประกอบกับเวทนาซึ่งเป็นสุข และไม่เป็นทุกข์ไม่สุข ก็ดี

    สัญญาที่ประกอบกับเวทนาซึ่งเป็นสุข และไม่ทุกข์ไม่สุข
    กับสัญญาที่ประกอบกับเวทนาที่เป็นทุกข์ ก็ดี

    สัญญาที่ประกอบกับเวทนาที่เป็นสุข
    กับสัญญาที่ประกอบกับเวทนาที่เป็นทุกข์และไม่เป็นทุกข์เป็นสุข ก็ดี

    สัญญาที่ประกอบกับเวทนาที่เป็นทุกข์ และไม่เป็นทุกข์เป็นสุข
    กับสัญญาที่ประกอบกับเวทนาซึ่งเป็นสุขก็ดี


    สัญญาที่ประกอบกับเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุข
    กับสัญญาที่ประกอบกับเวทนา ซึ่งเป็นทุกข์เป็นสุขก็ดี
    สัญญาที่ประกอบกับเวทนาซึ่งเป็นสุขเป็นทุกข์
    กับสัญญาที่ประกอบกับเวทนาซึ่งไม่ทุกข์ไม่สุข ก็ดี

    สัญญาของผู้ไม่ได้เข้าสมาบัติ
    กับสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ ก็ดี

    สัญญาของผู้เข้าสมาบัติ
    กับสัญญาของผู้ไม่ได้เข้าสมาบัติ ก็ดี

    สัญญาที่มีอาสวะกับสัญญาที่ไม่มีอาสวะก็ดี

    สัญญาที่ไม่มีอาสวะกับสัญญาที่มีอาสวะ ก็ดี
    เหล่านี้ทั้งสิ้น เป็นสัญญาไกลกัน เป็นคู่ๆ ทั้งนั้น ฯ

    สัญญาอย่างไหนเป็นสัญญาใกล้ ฯ
    สัญญาที่เป็นกุศลก็ใกล้ต่อสัญญาที่เป็นกุศล ฯ
    สัญญาที่เป็นอกุศลก็ใกล้ต่อสัญญาที่เป็นอกุศล ฯ
    ส่วนสัญญาที่เป็นอัพยากฤต ก็ใกล้ต่อสัญญาที่เป็นอัพยากฤต ฯ

    สัญญาที่ประกอบกับทุกขเวทนา สุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
    สัญญาของผู้ไม่ได้เข้าสมาบัติ
    สัญญาของผู้เข้าสมาบัติ
    สัญญามีอาสวะ
    สัญญาไม่มีอาสวะเหล่านี้ ใกล้กัน เป็นอย่างๆ ทั้งนั้น ฯ
    อีกอย่างหนึ่ง ควรเห็นสัญญาไกล สัญญาใกล้
    โดยยกสัญญานั้น เทียบกับสัญญานั้นๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2023
  9. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    สังขารขันธ์นั้นได้แก่สิ่งใด ?
    ได้แก่สังขาร ไม่ว่าชนิดใด คือ ไม่ว่าเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
    เป็นภายในหรือภายนอก
    หยาบหรือละเอียด
    เลวหรือประณีต
    ไกลหรือใกล้
    รวมเรียก ว่า สังขารขันธ์ทั้งนั้น

    สังขารที่เป็นอดีตนั้น ได้แก่ สังขารอย่างไหน
    ได้แก่
    สังขารที่ล่วงไปแล้ว
    ดับไปแล้ว
    ปราศจากไปแล้ว
    แปรปรวนไปแล้ว
    ถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว
    ถึงซึ่งความทั้งอยู่ไม่ได้อย่างยิ่งแล้ว
    เกิดดับไปแล้ว
    สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ล่วงไปแล้ว
    สังขาร นั้น คือ
    เจตนาอันเกิดจาก
    จักขุสัมผัส
    โสตส้มผัส
    ฆานสัมผัส
    ชิวหาสัมผัส
    กายส้มผัส
    มโนสัมผัส ฯ

    สังขารที่เป็นอนาคตนั้น ได้แก่สังขารอย่างไหน ?
    ได้แก่
    สังขารที่ยังไม่เกิด
    ยังไม่เป็น
    ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม
    ยังไม่ปรากฎขึ้น
    ยังไม่ถึงขึ้น
    ยังไม่ถึงขึ้นพร้อม
    ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม
    ยังไม่มาถึง
    ยังสงเคราะห์ด้วยส่วนที่ยังไม่มาถึง ฯ

    คำว่า สังขาร นั้น คือ
    เจตนาที่เกิดจากสัมผัส ๖ ดังที่ว่าแล้วนั้น ฯ

    สังขารที่เป็นบัจจุบันนั้น ได้แก่ สังขารอย่างไหน
    ได้แก่สังขาร
    ที่กำลังเกิดอยู่
    กำลังเป็นอยู่
    กำลังเกิดขึ้นพร้อม
    กำลังปรากฎขึ้น
    กำลังถึงขึ้น
    กำลังถึงขึ้นพร้อม
    กำลังตั้งขึ้น
    กำลังตั้งขึ้นพร้อม
    กำลังเกิดขึ้นเฉพาะหน้า
    สงเคราะห์ด้วยส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
    สังขารนั้น คือ
    เจตนาที่เกิดจากสัมผัส ๖

    สังขารที่เป็นภายในนั้น ได้แก่ สังขารอย่างไหน ?
    ได้แก่
    สังขาร
    ที่มีอยู่ภายในตน
    มีอยู่เฉพาะตน
    มีอยู่จำกัดตน
    มีอยู่เฉพาะบุคคล
    มีจิตวิญญาณของ สัตว์นั้นๆ
    สังขารนั้น คือ เจตนาที่เกิดจากสัมผัส ๖ ฯ

    สังขารที่เป็นภายนอกนั้น ได้แก่สังขารไหน
    ได้แก่
    สังขาร
    ที่มีอยู่ในตน
    มีอยู่เฉพาะในตน
    มีอยู่จำกัดตน
    มีอยู่เฉพาะบุคคล
    มีจิตวิญญาณของสัตว์อื่น ๆ ของบุคคลอื่น ๆ
    สังขารนั้น ก็คือ เจตนา อันเกิดจากสัมผัส ๖
    มีจักขุสัมผัสเป็นต้น

    สังขารอย่างหยาบ อย่างละเอียดนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่
    สังขารที่เป็น อกุศล กับที่เป็นกุศล และอัพยากฤตคู่หนึ่ง

    ที่เป็นกุศล และ อกุศล กับอัพยากฤต คู่หนึ่ง
    ที่ประกอบกับทุกขเวทนา กับที่ประกอบกับสุขเวทนา
    และอทุกขมสุขเวทนา คู่หนึ่ง
    ที่ประกอบด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา
    กับที่ประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนาคู่หนึ่ง
    สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ
    กับของผู้เข้าสมาบัติคู่หนึ่ง

    สังขารที่มีอาสวะกับที่ไม่มีอาสวะคู่หนึ่ง

    มีหยาบและละเอียดเป็นคู่ๆ ไป

    อีกอย่างหนึ่ง
    ควรเห็นสังขารหยาบ สังขารละเอียด
    โดยยกสังขารนั้นเทียบกันกับสังขารนั้น ๆ

    สังขารอย่างไหนเป็นสังขารเลว เป็นสังขารประณีต ฯ
    สังขารที่เป็นเป็นอกุศล กับสังขารที่เป็นกุศลและเป็นอัพยากฤตคู่ ๑
    สังขารที่เบ็นกุศล เป็นอกุศล กับสังขารที่เป็นอัพยากฤตคู่ ๑
    สังขารที่ประกอบกับทุกขเวทนา
    กับสังขารที่ประกอบด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา ๑

    สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติกับผู้เข้าสมาบัติคู่ ๑
    สังขารที่มีอาสวะกับที่ไม่มีอาสวะคู่ ๑
    เป็นสังขารเลว และประณีตเป็นคู่ ๆ กันไป

    อีกอย่างหนึ่ง
    ควรเห็นสังขารเลว สังขารประณีต
    โดยเทียบเคียงกันเป็นชั้น ๆ กันขึ้นไป ๆ ในพระบาลีกล่าวไว้เพียงเท่านี้


    อรรถกถา

    ส่วนเนื้อความในอรรถกถา มีอยู่เพียง ว่า
    สัญญาที่ทรงแสดงนั้น เป็นสัญญาในภูมิ ๔ ทั้งนั้น

    ปฏิฆสัญญานั้น ได้แก่ ความจดจำที่เกิดขึ้น
    เพราะอาศัยความขัดใจ ที่ว่า อธิวจนสัมผัสนั้น ได้แก่ มโนทวาร ดังนี้

    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้
     
  10. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    กัณฑ์ที่ ๖

    คัมภีร์พระวิภังค์

    ว่าด้วยสังขาร วิญญาณ ตามสุตตันตภาชนีย์

    ตตฺถ กตเม สงฺขารา อตีตา เย สงฺขารา อดีตา นิรุทฺธา วิคตา

    วิปริณตา อตฺถงฺคตา อพฺภตฺถงฺคตา อุปฺปชฺชิตฺวา วิคตา อตีตา อตีตํเสน สงฺคหิตา

    จกฺขุสมฺผสฺสชา เจตนาติ

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงคัมภีร์พระวิภังค์
    กัณฑ์ที่ ว่าด้วยสังขาร และวิญญาณตาม สุตตันตภาชนีย์ สืบต่อไป
    เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดกาลนาน

    บาลี

    ดำเนินความ ตามวาระพระบาลี ที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นเบื้องต้นแห่งเทศนานั้นว่า

    สังขารที่เป็นอดีตนั้นได้แก่สิ่งใด ?
    ได้แก่
    สังขารที่ล่วงไปแล้ว
    ดับไปแล้ว
    ปราศจากไปแล้ว
    แปรปรวนไปแล้ว
    ถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว
    ถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้อย่างยิ่งแล้ว
    เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว
    สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ล่วงไปแล้ว
    สังขารนั้น คือ เจตนาที่เกิดจาก
    จักขุสัมผัส
    โสตสัมผัส
    ฆานสัมผัส
    ชิวหาสัมผัส
    กายสัมผัส
    มโนสัมผัส ฯ

    สังขารที่เป็นอนาคตนั้น ได้แก่สิ่งใด ?
    ได้แก่
    สังขารที่ยังไม่เกิด
    ยังไม่เป็น
    ยังไม่เกิดพร้อม
    ยังไม่ปรากฎ
    ยังไม่ถึงขึ้น
    ยังไม่ถึงขึ้นพร้อม
    ยังไม่ตั้งขึ้น
    ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม
    ยังไม่มาถึง
    ยังสงเคราะห์ด้วยส่วนที่ยังไม่มาถึง
    สังขารนั้น คือ เจตนาที่เกิดจาก
    จักขุสัมผัส เป็นต้น ดังที่ว่าแล้ว ฯ

    สังขารที่เป็นบัจจุบันนั้น ได้แก่สิ่งใด ?
    ได้แก่
    สังขารที่กำลังเกิด
    กำลังเป็น
    กำลังเกิดขึ้นพร้อม
    กำลังเกิดขึ้นเฉพาะหน้า
    สงเคราะห์ด้วยที่เกิดขึ้นเฉพวะหน้า
    สังขารนั้น คือ เจตนาที่เกิดจาก
    จักขุสัมผัสเป็นต้น
     
  11. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    สังขารที่เป็นภายในนั้น ได้แก่สิ่งไร ?
    ได้แก่
    สังขารที่อยู่ในตน
    มีอยู่เฉพาะตน
    มีอยู่จำกัดตน
    มีอยู่เฉพาะบุคคล มีจิตวิญญาณของสัตว์นั้น ๆ ฯ

    สังขารที่เป็นภายนอกนั้น ได้แก่สิ่งไร ?
    ได้แก่
    สังขารที่มีในตน
    มีเฉพาะตน
    มีจำกัดตน
    มีเฉพาะบุคคล
    มีจิตวิญญาณของสัตว์อื่นๆ ของบุคคลอื่นๆ

    สังขารหยาบ สังขารละเอียดนั้น ได้แก่สิ่งไร ?
    สังขารที่เป็นอกุศล เป็นสังขารหยาบ

    สังขารที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นสังขารละเอียด ฯ
    สังขารที่เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นสังขารหยาบ
    สังขารที่เป็นอัพยากฤต เป็นสังขารละเอียด ฯ

    สังขารที่ประกอบกับทุกขเวหนาเป็นสังขารหยาบ
    สังขารที่ประกอบกับสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา เป็นสังขารละเอียด ฯ

    สังขารที่ประกอบกับเวทนาที่เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นสังขารหยาบ
    สังขารที่ประกอบกับเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุข เป็นสังขารละเอียด
    สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัต เป็นสังขารหยาบ
    สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารละเอียด ฯ
    สังขารที่มีอาสวะเป็นสังขารหยาบ
    สังขารของผู้ไม่มีอาสวะเป็นสังขารละเอียด ฯ

    อีกอย่างหนึ่ง ควรเห็นสังขารหยาบ เป็นสังขารเลว
    โดยเทียบเคียงกับสังขารนั้น ๆ

    สังขารอย่างไหน เป็นสังขารเลว เป็นสังขารประณีต ฯ
    สังขารที่เป็นอกุศล เป็นสังขารเลว
    สังขารที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นสังขารประณีต ฯ

    สังขารที่เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นสังขารเลว
    สังขารที่เป็นอัพยากฤตเป็นสังขารประณีต ฯ

    สังขารที่ประกอบกับทุกขเวทนา เป็นสังขารเลว
    สังขารที่ประกอบกับสุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา เป็นสังขารประณีต ฯ

    สังขารที่ประกอบกับสุขเวทนา ทุกขเวทนา เป็นสังขารเลว
    สังขารที่ประกอบกับอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารประณีต ๆ

    สังขารที่มีอาสวะเป็นสังขารเลว
    สังขารที่ไม่มีอาสวะเป็นสังขารประณีต ฯ

    อีกอย่างหนึ่ง ควรเห็นสังขารเลว สังขารประณีต
    โดยเทียบเคียงกับสังขารนั้นๆ

    สังขารเหล่าไหน เป็นสังขารไกล ฯ
    สังขารที่เป็นอกุศล เป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นกุศล
    และที่เป็นอัพยากฤต ฯ

    สังขารที่เป็นกุศลก็เป็นสังขารที่ไกลจากสังขารที่เป็นอกุศล
    ที่เป็นอัพยากฤต
    สังขารที่เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤตก็ไกลจากสังขารที่เป็นกุศล ฯ

    สังขารที่เป็นอัพยากฤต ก็ไกลจากสังขารที่เป็นกุศลเป็นอกุศล ฯ
    สังขารที่เป็นกุศลเป็นอกุสล ก็ไกลจากสังขารที่เป็นอัพยากฤต ฯ

    สังขารที่ประกอบกับทุกขเวทนา
    ก็ไกลจากสังขารที่ประกอบกับสุขเวทนา
    และอทุกขมสุขเวทนา
    ส่วนสังขารที่ประกอบกับสุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา
    ก็ไกลจากสังขารที่ประกอบกับทุกขเวทนา ฯ

    สังขารที่ประกอบกับสุขเวทนา
    ก็ไกลจากสังขารที่ประกอบกับทุกขเวทนา
    และที่ประกอบกับอทุกขมสุขเวทนา ฯ

    สังขารที่ประกอบกับทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา
    ก็ไกลจากสังขารที่ประกอบกับสุขเวทนา ฯ

    สังขารที่ประกอบกับอทุกขมสุขเวทนา ก็ไกลจาก
    สังขารที่ประกอบกับสุขเวทนา ทุกขเวทนา ฯ

    สังขารที่ประกอบกับสุขเวทนา ทุกขเวทนา
    ก็ไกลจากสังขารที่ประกอบกับอทุกขมสุขเวทนา ฯ

    สังขารของผู้ไม่ได้เข้าสมาบัติ
    ก็ไกลจากสังขารของผู้เข้าสมาบัติ ฯ

    สังขารของผู้เข้าสมาบัติ
    ก็ไกลจากสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ ฯ

    สังขารที่มีอาสวะ ก็ไกลจากสังขารที่ไม่มีอาสวะ
    สังขารที่ไม่มีอาสวะ ก็ไกลจากสั่งขารที่มีอาสวะ ฯ

    สังขารอย่างไหนเป็นสังขารใกล้ ฯ

    สังขารที่เป็นอกุศล เป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอกุศล ฯ

    สังขารที่เป็นกุศลก็เป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นกุศล ฯ

    สังขารที่เป็นอัพยากฤต ก็เป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอัพยากฤต

    สังขารที่ประกอบกับทุกขเวทนา
    เป็นสังขารใกล้กับสังขารที่ประกอบกับทุกขเวทนา ฯ
    สังสารที่ประกอบกับสุขเวทนา
    ก็เป็นสังขารใกล้กับสังขารที่ประกอบกับสุขเวทนา ฯ
    สังขารที่ประกอบกับอทุกขมเวทนา
    ก็เป็นสังขารใกล้กับสังขารที่ประกอบกับอทุกขมสุขเวทนา ฯ

    สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ
    ก็เป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ ฯ

    สังขารของผู้เข้าสมาบัติ
    ก็เป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้เข้าสมาบัติ ฯ

    สังขารที่มีอาสวะ
    ก็เป็นสังขารใกล้กับสังขารที่มีอาสวะ ฯ

    ส่วนสังขารที่ไม่มีอาสวะ
    ก็เป็นสังขารใกล้กับสังขารที่ไม่มีอาสวะ ฯ

    อีกอย่างหนึ่ง ควรเห็นสังขารไกล สังขารใกล้
    โดยเทียบกับสังขารนั้น ๆ

    วิญญาณขันธ์ นั้น ได้แก่สิ่งไร ?
    ได้แก่
    วิญญาณ ไม่ว่า ชนิดใด

    เป็นอดีต บัจจุบัน อนาคต
    เป็นภายใน หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
    เลวหรือประณีต
    อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ รวมเรียกว่า วิญญาณขันธ์ทั้งนั้น
     
  12. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    วิญญาณที่เป็นอดีดนั้นได้แก่สิ่งไร ?
    ได้แก่
    วิญญาณที่ล่วงไปแล้ว
    ดับไปแล้ว
    ปราศจากไปแล้ว
    แปรปรวนไปแล้ว
    ถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว
    ถึงซึ่งความทั้งอยู่ไม่ได้อย่างยิ่งแล้ว
    เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว
    สงเคราะห์ส่วนที่ล่วงไปแล้ว วิญญาณ นั้น คือ
    จักขุวิญญาณ
    โสตวิญญาณ
    ฆานวิญญาณ
    ชิวหาวิญญาณ
    กายวิญญาณ
    มโนวิญญาณ ฯ

    วิญญาณที่เป็นอนาคตนั้นได้แก่สิ่งไร ?
    ได้แก่
    วิญญาณที่ยังไม่เกิด
    ยังไม่เป็น
    ยังไม่เป็นขึ้นพร้อม
    ยังไม่โผล่ขึ้น
    ยังไม่ปรากฏขึ้น
    ยังไม่ถึงขึ้น
    ยังไม่ถึงขึ้นพร้อม
    ยังไม่ตั้งขึ้น
    ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม
    ยังไม่มาถึง
    ยังสงเคราะห์ด้วยส่วนที่ไม่มาถึง

    วิญญาณที่เป็นปัจจุบันนั้นได้แก่สิ่งไร ?
    ได้แก่
    วิญญาณที่กำลังเกิด
    กำลังเป็น
    กำลังเกิดขึ้นพร้อม
    กำลังโผล่ขึ้น
    กำลังปรากฎขึ้น
    กำลังถึงขึ้น
    กำลังถึงขึ้นพร้อม
    กำลังตั้งขึ้น
    กำลังตั้งขึ้นพร้อม
    กำลังขึ้นถึงเฉพาะหน้า
    สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ถึงขึ้นเฉพาะหน้า

    วิญญาณที่เป็นภายในนั้นได้แก่สิ่งไร ?
    ได้แก่
    วิญญาณที่มีในตน
    มีเฉพาะตน

    ภายนอกนั้นได้แก่สิ่งไร ?
    ได้แก่
    วิญญาณที่มีในตน
    มีเฉพาะตน
    มีจำกัดตน
    มีเฉพาะบุคคล
    มีจิตวิญญาณของสัตว์นั้น ๆ ฯ

    วิญญาณที่เป็นภายนอกนั้นได้แก่สิ่งไร ?
    ได้แก่
    วิญญาณที่มีในตน
    มีเฉพาะตน
    มีจำกัดตน
    มีบุคคล
    มีจิตวิญญาณของสัตว์อื่นๆ ของบุคคลอื่น ๆ

    วิญญาณอย่างไหน เป็นวิญญาณหยาบวิญญาณละเอียด ?
    วิญญาณที่เป็นอกุศล เป็นวิญญาณหยาบ
    วิญญาณที่เป็นกุศล ที่เป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณละเอียด ฯ

    วิญญาณที่เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นวิญญาณหยาบ
    วิญญาณที่เป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณละเอียด ฯ

    วิญญาณที่ประกอบกับทุกขเวทนา เป็นวิญญาณหยาบ
    วิญญาณที่ประกอบกับสุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา
    เป็นวิญญาณละเอียด ฯ

    วิญญาณที่ประกอบกับสุขเวทนา ทุกขเวทนา เป็นวิญญาณหยาบ
    วิญญาณที่ประกอบกับอทุกขมสุขเวทนา เป็นวิญญาณละเอียด ฯ

    วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เป็นวิญญาณหยาบ
    วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติ เป็นวิญญาณละเอียด ฯ

    วิญญาณที่มีอาสวะเป็นวิญญาณหยาบ
    วิญญาณที่ไม่มีอาสวะเป็นวิญญาณละเอียด ฯ

    อีกอย่างหนึ่ง ควรทราบวิญญาณหยาบวิญญาณละเอียด
    โดยเทียบเคียงกับวิญญาณนั้น ๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...