การใช้อภิญญา กับเวทมนต์ วิธีใช้ต่างกันอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย porn, 15 พฤษภาคม 2008.

  1. porn

    porn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +78
    การใช้อภิญญา กับเวทมนต์ ต่างกันอย่างไรคะ
    คือสงสัยค่ะ ว่าจอมขมังเวทย์ กับผู้สำเร็จอภิญญา มีความแตกต่างกันอย่างไร แล้ววิธีใช้แตกต่างกันมั้ยคะ ข้อถามในกรณีที่อาจไม่ใช่ไสยศาสตร์

    ข้อความคิดเห็นส่วนตัวด้วยก็ดีค่ะ
     
  2. เด็กโชว์พาว

    เด็กโชว์พาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,082
    ค่าพลัง:
    +470
    อภิญญาคือได้ในสมาธิ
    จอมขมังเวท = เก่งเรื่องคาถาอาคม
    ประมาณนั้นมั้ง แต่พลังจิตกับพลังเวทมันแยกกันไม่ค่อยออกหรอกนะ คนส่วนใหญ่ที่เก่งเวทก็มักจะฝึกจิตด้วย
     
  3. /_สายฟ้า_/

    /_สายฟ้า_/ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +999

    ครูบาอาจารย์ของผมท่านกล่าวว่า คาถาเป็นเพียงตัวน้อมนำจิตครับ ขอเพียงแค่จิตมีสมาธิอย่างเดียว จะทำอะไรก็ทำได้ ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยจิตครับผม

    ยกตัวอย่างเช่น คาถาสะเดาะกลอน ตามสูตรโบราณเขาต้องท่องอิติปิโสถอยหลัง จากนั้นให้เป่าลงไปที่กลอนประตู จะสามารถสะเดาะกลอนได้ แต่หากผู้ใดที่ฝึกกรรมฐานหรือมีกำลังจิตดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องท่องอิติปิโสถอยหลังก็ได้ครับ เพียงเข้าสมาธิ แล้วอธิษฐานให้กลอนมันสะเดาะออก แค่นั้นก็เรียบร้อยแล้ว

    ฉะนั้นคาถาจะศักดิ์สิทธิ์เพียงใด ขึ้นอยู่กับศรัทธาและสมาธิของผู้สวดหรือผู้ใช้ครับ
     
  4. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
     
  5. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,631
    ไสยศาสตร์ใช้เวทย์มนต์คาถาอาคมและแรงครูหนุนจึงจะสำเร็จ โดยใช้กำลังสมาธิแค่อุปจารสมาธิบวกกับความศรัทธา

    อภิญญาใช้กำลังของฌาณสมาบัติ ใช้กสิณและกำลังสมาธิล้วนๆถึงฌาณ ๔ ชำนาญวสีเข้าฌาณออกฌาณอย่างเฉียบพลันอธิษฐานจิตให้บังเกิดผลตามต้องการ

    ดังนั้นอานุภาพและผลสำเร็จจึงแตกต่างกัน

    ในบางครั้งเข้าฌาณไม่ทันเพราะจิตติดนิวรณ์ก่อนก็เปลี่ยนไปใช้เวทย์มนต์และแรงครูแทน ดังนั้นครูบาอาจารย์ในสมัยก่อนจึงฝึกจิตทั้งสองแบบเมื่อถึงระยะหนึ่งก็ทิ้งไสยศาสตร์ทำวิปัสสนาล้วนๆ เพื่อความหลุดพ้น
     
  6. นาๆจิตตัง

    นาๆจิตตัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    220
    ค่าพลัง:
    +412
    ว่ากันตามเข้าใจนะ.....สัพเพเหระ.....
    หรือเป็นความคิดเห็นส่วนตัว
    ผิดพลาดหรือล่วงเกินไป ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และโปรดใช้วิจารณญาณ.ในการพิจารณา

    อภิญญาก็เป็นเรื่องของการฝึกจิตเป็นหลักหรือจะเกี่ยวข้องกับ การฝึกกสิณฯหรือผู้ที่มีวาสนา
    บุญญาธิการมาแต่หนหลัง..อดีตชาติ...ซึ่งก็จะต้องมีสมาธิที่สูงฯตั้งแต่อัปปนาสมาธิหรือฌานขึ้นไป
    สามารถยั้งตัว...ในสมาธิหรือคล่องในฌานให้เป็นวสีนึกเข้าก็เข้านึกจะออกก็ออกได้...ส่วนที่จะสามารถ
    ใช้ฤทธิ์ใช้เดชได้นั้น ก็ต้องเข้าฌาน ๔ ได้จนคล่อง (ความสามารถก็จะ...ตามแต่ของกำลังสมาธินั้นๆ)
    แล้วพึงอธิษฐานตามแต่..ต้องประสงค์ ! ก็มักจะเป็นไปตามนั้น ถ้าสมาธิ..จิต ฝึกได้ในระดับนี้จริงๆ
    และผู้ที่ใช้ฤทธิ์ใช้เดชฯ ได้จริงๆ ตามที่ศึกษามานั้น ก็จะต้องสำเร็จกสิณได้ครบทุกกองคือฝึกจนถึง
    ระดับของฌาน ๔ (หรือสูงยิ่งขึ้นไป...หรือเป็นอรูป) เข้าฌานสลับฌาน...สลับกองกสิณฯ.....
    จึงจะสามารถใช้งานได้ผลดีจริง

    ส่วนเวทย์มนต์ ฯ ใช้การบริกรรมน้อมนำจิตแลใจ เพื่อให้เป็นไปตามแต่เหตุพึงประสงค์! โดยมากแล้ว
    ก็จะมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางโลก....ยังไม่น้อมนำไปสู่การหลุดพ้นทางโลก ก็ใช้สมาธิแลให้เข้าถึง
    ฌานเหมือนกัน เพื่อนำประโยชน์ของสมาธิไปใช้งาน...! ตามพึงประสงค์ ซึ่งก็ต้องพยายามฝึกให้เข้าถึง
    หรือเพื่อได้อภิญญาเหมือนกัน (อภิญญาเป็นของที่อยู่สูงหรือเหนือกว่า...ซึ่งโดยมากก็ฝึกเพื่อน้อมให้ไปสู่
    การบรรลุอภิญญานั้นเอง) แต่เวทมนต์ ฯ มักจะมีความอยากจะให้มี ให้เป็น หวังประโยชน์ฯ อยู่ !
    ทำให้การฝึก..ฝน นั้นสู้การฝึกกสิณฯ..ตามแนวกรรมฐาน ๔๐ ไม่ได้เลย (บางผู้บางคนก็ใช้การฝึกกสิณ
    ตามกรรมฐาน ๔๐ประยุกต์หรือควบคู่ไปด้วย ทำให้ผลที่ได้....ก็สูงตาม...ไปด้วยแล เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ ฯ)
    ส่วนกรณีที่เป็นหรือเกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์นั้น..ก็จะลดหลั่นระดับลงไปอีก เพราะจะฝึกจนเทียบขั้นดังที่
    กล่าวมาแล้วข้างต้นไม่ได้ ยิ่งมุ่งประเด็นไปในทางมิจฉาทิฏฐิ มุ่งร้าย ก่อกรรม ทำเวรแก่ผู้อื่นด้วยแล้ว
    (คนที่ประสบหรือโดนเกี่ยวกับ..สิ่งเหล่านี้ โดยมากมักจะมีกรรมมีเวร หรือไปสร้างเวรไว้แต่อดีตชาติ จึง
    ทำให้มีเชื้อ...ทำให้สามารถดึงดูด เป็นพิษเป็นภัยแก่ตนเองได้) ก็จะเป็นผลของสมาธิที่ไม่บริสุทธิ์
    ผลที่ได้ก็จะมีแต่โทษแต่ภัย และโดนผลของวิบากกรรมเล่นงานเอา

    บ้างบางทีก็มีการเข้าสิงเข้าทรง อัญเชิญเทพ เทวดา คุณครู ครูบา อาจารย์ พ่อปู่ ฤาษี ฯมาช่วยมาเสริม
    เติมแต่ง....ในฤทธิ์วิธีต่างๆ ตามแต่วิชชาที่ร่ำที่เรียนมา หรืออ้อนวอน ขอ บนบาน ศาลกล่าว ให้ท่านมา
    ช่วยสงเคราะห์ให้....ซึ่งบางทีผลที่เกิดก็มาจากปัจจัยเสริม..ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น! เป็นผู้ดลบันดาลให้
    แทบทั้งหมดเลยทีเดียว (แต่โดยมากก็มักจะแอบอ้าง..เสริมเติมแต่ง ทั้งอมนุษย์หรือผู้กระทำเสียมากกว่า)

    วิธีใช้พอเล่าสู่กันฟังได้ดังนี้
    อภิญญาต้องฝึกจนถึงระดับสมาธิของฌาน ๔ ขึ้นไป จึงจะพึงอธิษฐานฤทธิ์วิธี....บังเกิดผล ซึ่งผลที่เกิด
    ที่ได้ ก็เป็นไปตามกำลังของสมาธินั้นๆ ตามแต่......กำลังของผู้ฝึกสมาธิเอง (เป็นปัจจัตตัง)

    ส่วนของเวทย์มนต์ฯ คาถา ก็มักจะเป็นไปตามกำลังของสมาธิ ของผู้ที่ใช้เวทย์มนต์ คาถาฯ นั้นๆ
    โดยมากมักจะเป็นไปในด้าน...น้อมนำเพื่อเป็นกำลังใจเสียมากกว่าเพราะผลของสมาธิที่ฝึกฯ
    หรือที่ได้นั้นมักจะไม่บริสุทธิ์? และบางส่วนยังเป็นการบริกรรมภาวนาฯ หรือ ขอถึง อ้อนวอน ฯ
    ยังไม่เป็นการเข้าถึงสมาธิ ในระดับของฌานหรือฌานที่สูงขึ้น ฯ...ในระดับที่สามารถใช้งานได้แต่อย่างใด
    ผลที่เกิดก็ยังไม่ค่อยมีผลนัก ยกเว้นผู้ที่ฝึกจนถึงระดับของฌาน สมาธิที่ลึกยิ่งเข้าไปก็ยังพอมีผลบ้าง!
    (แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย) เท่าที่พอ...สังเกตุ ศึกษา ค้นคว้า ผลที่เกิดที่ได้นั้น มักมาจากปัจจัยภายนอก
    เสียมากกว่า (อมนุษย์หรือภูมิของเทพ เทวา.....ฯ ดลบันดาลให้...มี ให้เป็น หรือบังเกิดขึ้น )
    ซึ่งก็ส่งผลหรือมาจากผลของ.....กฏแห่งกรรม เข้ามาเกี่ยวข้องแทบทั้งสิ้น

    ส่วนคำว่าจอมขมังเวทย์นั้นเป็นคำนิยมยกย่อง...ของผู้คน ให้แก่ผู้ที่ดูขึงดูขลังในด้านวิชชา...หรือไสยศาสตร์
    อย่างนี้เป็นต้น ส่วนจะได้จริงหรือเก่งจริงแค่ไหนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง...ก็ว่ากันตามเข้าใจหรือที่มองเห็น !
    (ส่วนในหนังในภาพยนตร์ก็ว่ากันไปเป็นอีกเรื่องหนึ่ง.....ตามถนัดชอบพอ) ซึ่งก็มีทั้งผู้ดีและผู้ร้าย
    สามารถที่จะเป็นจอมขมังเวทย์ได้หมด......แม้กระทั่งข้าพเจ้าสมัยยังบวชเป็นพระ ยังโดนล้อหรือไม่ล้อ..ก็ไม่รู้!
    ว่าเป็น หลวงพี่ " จอมขมังเวทย์ " ก็เพียงแค่จารอักขระเลขยันต์ ลงตะกรุด...ว่าคาถาเพื่อสมาธิ! ซึ่งก็ฝึกมาตั้งแต่
    ตอนยังไม่บวช...........ก็ว่ากันไป ! ซึ่งตอนนี้ก็ปล่อยวาง...! ส่วนผู้สำเร็จอภิญญานั้นโดยมากมักจะเป็น
    พระภิกษุสงฆ์...ฆราวาสก็มี แต่ก็น้อยมากฯ เพราะการฝึก ต้องเข้าถึงจริงๆ..ไม่ได้ขอถึงหรืออ้อนวอนเพื่อถึง
    แล้วจะถึงได้..... ต้องปฏิบัติจริง ทำจริง ! ก็เป็นคนละเรื่องกับจอมขมังเวทย์ แต่......จอมขมังเวทย์ก็ต้องฝึกสมาธิ
    แลจิตเพื่อให้เกิดอิทธิฤทธิ์วิธีต่างๆ...ก็ต้องมาเดินแนวสมาธิของการฝึกอภิญญาหรือประยุกต์ผสมผสานเพื่อให้ได้
    ซึ่งผลของสมาธิ...เป็นการเบี่ยงเบนหรือเอาผลนั้นไปใช้ผิดวิธี วัตถุประสงค์ ทำให้แลดูหรือแยกกันไม่ค่อยออกไป

    อปฺปมาเท ปโมทนฺติ.
    บัณฑิตย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท
    (ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2008
  7. atomdekst

    atomdekst Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    406
    ค่าพลัง:
    +79
    มันก็ต้องมีสมาธิเป็นที่เริ่มทั้งนั้นหละครับ
    อนุโมทนาครับ
     
  8. a_sitt

    a_sitt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +189
    อนุโมทนาบุญครับ
    สมาธิ คือ ที่ตั้งแห่งจิตว่าง สว่าง แลสงบ
     
  9. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ฤทธิ์ที่เกิดจากการใช้คาถาอาคมเรียกว่า "วิชชามัยฤทธิ์" น่ะครับ ผู้ที่เชี่ยวชาญในฤทธิ์ประเภทนี้ก็คือ เหล่าฤาษีและคนธรรพ์ทั้งหลาย

    ส่วนฤทธิ์ที่ควบคุมธาตุทั้ง 4 ในกรณีที่ใช้ในการ เหาะ เดินบนอากาศ ดำดิน ทะลุกำแพง ฯลฯ ฤทธิ์จำพวกนี้ เรียกว่า "อธิษฐานฤทธิ์" ครับ

    ถ้าสนใจรายละเอียดสามารถอ่านได้จากหนังสือ "ทิพย์อำนาจ" ของพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) น่ะครับ รู้สึกว่าท่านจะจำแนกอธิบายเรื่องฤทธิ์ออกมา 10 ประเภทตามลักษณะหรือวิธีการใช้ฤทธิ์น่ะครับ

    หรือหนังสือ "พระไตรปิฎกฉบับพิเศษ ธรรมธาตุ ธรรมชาติแห่งสรรพสิ่ง" ของ ไชย ณ พล อัครศุภเศรษฐ์ ก็ได้น่ะครับ ในหนังสือเล่มนี้มีคำอธิบายและมีเรื่องราวที่น่าสนใจทีเดียวครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...