ประสบการณ์ปฏิบัติวิปัสสนา ๗ เดือน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย คนมีกิเลส, 17 เมษายน 2008.

  1. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    [​IMG]

    วิปัสสนากัมมัฏฐาน

    ประโยชน์ของการปฏิบัติวิปัสสนาที่พบเห็นจากประสบการณ์ตรง โดยประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมีมากมายยากที่จะอธิบายให้เห็นจริงได้ จนกว่าผู้นั้นได้ลงมือปฏิบัติจนได้เห็นผลจริงด้วยตนเอง แต่พอกล่าวเป็นตัวอย่างได้ดังนี้

    ๑. ทำให้บรรลุโสดาบันได้ภายใน ๓-๔ เดือน (..เท่านั้น) โสดาบัน แปลว่า เข้าถึงกระแสที่จะไหลไปสู่ความไม่เกิดอีกภายใน ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง(1) (เมื่อไม่เกิดอีกก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย และไม่ ต้องเป็นทุกข์อีกแล้ว) เป็นมรรคขั้นต้นของมรรคทั้ง ๔ (โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค) ที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา เป็นเป้าหมายสำคัญที่สัตว์ทั้งมวล ผู้รักสุขเกลียดทุกข์และต้องการ สุขแท้สุขถาวร ควร/ต้องไปให้ถึงให้ได้ภายในชาตินี้ ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานให้วิปัสสนาญาณเกิดไปตามลำดับจนครบ ๑๖ ขั้น ก็จะสำเร็จเป็นพระโสดาบันโดยสมบูรณ์ (2)
    อ้างอิง 1.ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ หน้า ๑๔๑ 2.ดูรายละเอียดใน คัมภีร์อรรถกถา สังยุตนิกาย (บาลี) เล่มที่ ๒ หน้า ๑๔๓

    ๒. เมื่อบรรลุโสดาบันแล้ว ถ้าหากต้องการมีฤทธิ์ มีเดช ก็สามารถฝึกสมถกรรมฐานต่อได้เลย จะสำเร็จได้ในระยะเวลาไม่นาน ในขณะที่การปฏิบัติสมถล้วนๆ ต้องใช้เวลาปฏิบัติกันถึง ๒-๓ปี หรือนานกว่านั้น จึงจะได้ผล

    ๓. เมื่อปฏิบัติวิปัสสนาถึงสังขารุเปกขาญาณ (ญาณที่ ๑๑) จนแก่กล้าแล้ว ทำให้โรคบางอย่างหายได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ต่อมไทรอย โรคเกี่ยวกับลม เส้นเอ็นและกระดูก (..นี้เป็นตัวอย่างจริงที่พบเห็นจากผู้ร่วมปฏิบัติ เป็นต้น

    ๔. ถ้ามีเหตุให้ปฏิบัติไม่สำเร็จ ไปติดอยู่เพียงแค่ญาณ ๑๑ ก็ไม่เสียเวลาเปล่า เพราะจะเกิดปัญญาญาณ ที่จะใช้ในการแก้ปัญหาทุกอย่างในโลกได้ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเป็นปัญหาทางโลกหรือทางธรรม โดยเฉพาะปัญหาครอบครัวระหว่างสามี ภรรยา ลูก หลาน ญาติพี่น้อง (คิดค้นวิธีเอายานไวกิ้งลงบนดาวอังคารได้ ก็ด้วยการนั่งสมาธินี่แหละ)

    ๕. ล้างอาถรรพ์ มนต์ดำได้ ไม่ว่าจะถูกของ หรือโดนยาพิษ ยาสั่งมา เมื่อปฏิบัติจนถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว อาถรรพ์จะหายไปจนเกลี้ยง ( เรื่องนี้ขอท้าให้พิสูจน์)

    วิธีปฏิบัติวิปัสสนาจากประสบการณ์ตรง
    ๑) เดินจงกรม เดินกลับไปกลับมา ก้มหน้าเล็กน้อย ส่งจิตกำหนดดูอาการของเท้าแต่ละจังหวะที่เคลื่อนไป อย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง รับรู้ถึงความรู้สึกของเท้าที่ค่อยๆ ยกขึ้น ค่อย ๆ ย่างลง และความรู้สึกสัมผัสที่ฝ่าเท้า (อ่อน แข็ง เย็น ร้อน ฯลฯ) ส่งจิตดูอาการแต่ละอาการอย่างจรด แนบสนิทอยู่กับอาการนั้น ไม่วอกแวก จนรู้สึกได้ถึงอาการที่เปลี่ยนไป ดับไปของสภาวนั้น ๆ เช่น ขณะย่างเท้า ก็รู้สึกถึงอาการลอยไปเบา ๆ ของเท้า พอเหยียบลงอาการลอย ๆ เบา ๆ เมื่อ ๒-๓ วินาทีก่อนก็ดับไป มีอาการตึงๆ แข็งเข้าแทนที่ พอยกเท้าขึ้นอาการตึงๆ แข็งๆ ด็ดับไป กลับมีอาการลอยเบาๆ โล่งๆ เข้าแทนที่ เป็นต้น ยิ่งเคลื่อนไหวช้าๆ ยิ่งเห็นอาการชัด และในขณะที่กำลังเดินอยู่นั้น
    หากมีความคิดเกิดขึ้นให้หยุดเดินก่อน แล้วส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า "คิดหนอๆๆๆ" จนกว่าความคิดจะเลือนหายไป จึงกลับไปกำหนดเดินต่อ อย่ามองซ้ายมองขวา พยายามให้ใจอยู่กับเท้าที่ค่อยๆ เคลื่อนไปเท่านั้น ถ้าเผลอหรือหลุดกำหนดให้เอาใหม่ เผลอเริ่มใหม่ๆๆๆ ไม่ต้องหงุดหงิด การปฏิบัติเช่นนี้ เรียกว่า "เดินจงกรม " ต้องเดิน ๑ ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย

    ๒) นั่งสมาธิ นั่งตัวตรง แต่ไม่ต้องตรงมาก ให้พอเหมาะสมกับสรีระของตนเอง นั่งสงบนิ่ง ไม่ขยับเขยื้อนอวัยวะส่วนใดทั้งสิ้น จนสังเกตได้ว่าอวัยวะที่ยังไหวอยู่มีแต่ท้องเท่านั้น ให้ส่งจิตไปดูอาการไหวๆ นั้นอย่างต่อเนื่อง แค่ดูเฉยๆ อย่าไปบังคับท้อง ปล่อยให้ท้องไหวไปเรื่อยๆ ตามธรรมชาติ นั่งกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง ไม่หลุด ไม่เผลอ ถ้ามีเผลอสติบ้างก็ไม่ต้องหงุดหงิด เผลอ..เอาใหม่ ๆ จนเห็นอาการพอง อาการยุบค่อยๆ ชัดขึ้น ขณะเห็นท้องพองกำหนดในใจว่า "พองหนอ " ขณะเห็นท้องยุบกำหนดในใจว่า"ยุบหนอ " บางครั้งท้องนิ่งพอง-ยุบไม่ปรากฏก็ให้กำหนดรู้อาการท้องนิ่งนั่น "รู้หนอ ๆๆ" หรือ "นิ่งหนอ ๆๆ" บางครั้งพอง-ยุบเร็วแรงจนกำหนดไม่ทัน ก็ให้กำหนดรู้อาการนั้น"รู้หนอ ๆๆ"

    ถ้าขณะนั่งกำหนดอยู่มีความคิดเข้ามาให้หยุดกำหนดพองยุบไว้ก่อน ส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า "คิดหนอๆๆ" แรงๆ เร็วๆ โดยไม่ต้องสนใจว่าคิดเรื่องอะไร พออาการคิดจางไปแล้ว หรือหายไปโดยฉับพลัน ให้กำหนดดูอาการที่หายไป "รู้หนอๆๆ" แล้วรีบกลับไปกำหนดพอง-ยุบต่อทันที อย่าปล่อยให้จิตว่างจากการกำหนดเด็ดขาด

    ขณะที่กำหนดอยู่นั้น ถ้าเกิดอาการปวดขา หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นมา ให้ทิ้งพอง-ยุบไปเลย แล้วส่งจิตไปดูอาการปวดนั้น บริกรรมในใจว่า"ปวดหนอ ๆๆ" พยายามกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง แต่อย่าเอาจิตเข้าไปเป็นทุกข์กับอาการปวดนั้น ภายใน ๕ หรือ ๑๐ วันแรกให้กำหนดดูอาการปวดอย่างเดียว ไม่ต้องสนใจอารมณ์อื่นมากนัก จนกว่าอาการปวดจะหาย หรือลดลง วันแรกๆ อาการปวดจะไม่รุนแรงมากนัก นั่งได้ ๑ ชั่วโมงแบบสบายๆ พอเรามีสมาธิมากขึ้น มีญาณปัญญามากขึ้น อาการปวดจะค่อยๆ รุนแรงขึ้น จนทนแทบไม่ไหว จากที่เคยนั่งได้ ๑ ชั่วโมง พอวันที่ ๕-๖ เป็นต้นไป นั่ง ๑๐ หรือ ๒๐ นาทีก็ทนแทบไม่ไหวแล้ว ให้พยายามนั่งกำหนดต่อไปจนกว่าจะครบชั่วโมง (เพื่อจะได้เป็นกำลังใจในการกำหนดบัลลังก์ต่อๆ ไป) ยิ่งปวดมากก็ยิ่งกำหนดถี่ๆ เร็วๆ แรงๆ นั่นแสดงว่าสมาธิของเราก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ภายใน ๑๐-๒๐ วันเวทนาก็จะหายขาดไปเอง หรืออาจจะมีอยู่บ้างเล็กน้อยช่วงท้ายบัลลังก์ ถึงต้อนนี้วิปัสสนาญาณของคุณก้าวเข้าสู่ขั้นที่ ๔ แล้ว ขั้นต่อไป ไม่ควร/ห้ามปฏิบัติด้วยตนเอง (อย่างเด็ดขาด) ต้องมีพระอาจารย์คอยควบคุมอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นแล้วจะเกิดผลเสียมากว่าผลดี ..ขอเตือน.. ที่อธิบายมานี้เป็นเพียงหลักปฏิบัติเบื้องต้น มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายที่จะต้องเรียนรู้ ผู้ต้องการปฏิบัติให้เห็นมรรคเห็นผล พึงแสวงหาสำนักปฏิบัติที่เห็นว่าเหมาะสมกับตนเอาเองเถิด ...

    อ้างอิง http://dharma.thaiware.com/dharma_article.php?id=147
    ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2008
  2. tepamorn

    tepamorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    786
    ค่าพลัง:
    +1,081
    ถามครับคือตอนนี้ผมนั่งสมาธิโดยกำหนดลมหายใจ
    พุทโธ จะสงบง่ายมากแต่ก็เสื่อมง่ายเหมือนกัน
    เคยเฉียดฌาณสี่บ่อยแต่ก็ไม่เกิดเป็นวสีไม่สามารถ
    ควบคุมได้แน่นอนและเมื่อไม่ได้นั่งอย่างต่อเนื่อง
    ก็จะเสื่อมง่ายมากต้องมาเริ่มใหม่ทีนี้ติดอยู่ว่ายังพะวง
    ว่าจะทำวิปัสนาหรือสมถะดีช่วยแนะนำหน่อยครับ...โมทนาครับ
     
  3. ธรรมดา24

    ธรรมดา24 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +0
    ขออนุญาตบอก..จากที่เคยทำนะครับเพราะเป็นอาการที่คล้าย ๆผมเมื่อก่อน.....ลองเปลี่ยนมาเริ่มเดินจงกรมเพิ่มดูซิครับเพราะสมาธิจากการนั่งเป็นสมาธิที่เกิดในภาวะร่างกายที่อยู่นิ่งแล้วพิจารณา..ซึ่งในความเป็นจริงการทำงานของเราต้องเคลื่อนไหวเปลี่ยนอิริยาบถตลอดเวลา...แต่สมาธิจากการเดินเป็นสมาธิที่เกิดในขณะที่ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่แล้ว สติจะตามจับอยู่กับอาการ ความคิด ตลอดเวลา เมื่อออกจากการเดิน สมาธิจะตั้งอยู่ได้นานกว่ามาก..เจริญสติต่อได้เลยในการทำงาน ถ้าเดินเป็นประจำร่างกายจะแข็งแรง ระบบย่อยอาหารจะดี ระบบประสาทต่าง ๆในร่างกายก็ดีด้วยเพราะทางกายภาพปลายประสาทที่ฝ่าเท้าจะได้รับการบริหารแบบกำหนดสติไปพร้อม ๆ กัน...ช่วงหลัง ๆ ผมเลยหันมาเดินจงกรมเยอะขึ้นสลับกับการนั่งสมาธิ...อ้อ อีกอย่าง หาเวลาทำได้ง่ายด้วยครับเพราะเราต้องเดินตลอดเวลาอยู่แล้ว..เพียงแต่เพิ่มการกำหนดสติเข้าไปเท่านั้นเอง...

    อนุโมทนาบุญล่วงหน้านะครับ
     
  4. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    ขอโอกาสผู้รู้ท่านอื่นนะครับ

    อ้างอิง
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead colSpan=2>
    วันนี้ 11:27 AM

    </TD></TR><TR title="โพส 1120355" vAlign=top><TD class=alt1 align=middle width=125>tepamorn</TD><TD class=alt2>ถามครับคือตอนนี้ผมนั่งสมาธิโดยกำหนดลมหายใจ
    พุทโธ จะสงบง่ายมากแต่ก็เสื่อมง่ายเหมือนกัน
    เคยเฉียดฌาณสี่บ่อยแต่ก็ไม่เกิดเป็นวสีไม่สามารถ
    ควบคุมได้แน่นอนและเมื่อไม่ได้นั่งอย่างต่อเนื่อง
    ก็จะเสื่อมง่ายมากต้องมาเริ่มใหม่ทีนี้ติดอยู่ว่ายังพะวง
    ว่าจะทำวิปัสนาหรือสมถะดีช่วยแนะนำหน่อยครับ...โมทนาครับ






    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ถ้าเราวางกำลังใจให้ตรงเข้าไว้ จะได้ไม่ไขว้เขวครับ

    การทำสมาธิก็ดี การถือศีลก็ดี การเดินจงกรมก็ดี แม้แต่เรื่องหนัก ๆ อย่าการอุปสมบท หรือถือธุดงควัตรก็ดี ต่างล้วนเป็นไปเพื่อระงับ ดับกิเลศตัญหาทั้งสิ้นมิได้เป็นไปเพื่อการอื่น

    เมื่อเรามีหลักที่มั่นคงเป็นสัมมาทิฏฐิดีแล้ว เราจะก้าวต่อไปโดยมีเป้าหมายที่เด่นชัด

    ทีนี้ในคำถามที่ว่าเวลานั่งสมาธิแล้วเข้าไม่ถึงฌาณ ๔ ผมเองมองว่ากำลังของสมถะสมาธิที่ดี มีผลให้ปัญญาว่องไว เห็นธรรมได้โดยง่าย

    แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไปที่เราต้องเข้าให้ถึงสุดทางของสมถะก่อนแล้วจึงวิปัสนา

    ขณะที่เราเข้าสู่อัปปนาสมาธิตั้งแต่ฌาณ ๑ ขึ้นไปนั้น เป็นเสมือนเราได้มายืนอยู่ปากทางแห่งทางเดินแล้ว ความบริสุทธิ์ของจิตมีมาก เหมือนกับเราได้มาสู่ความเป็นปกติของจิตอีกครั้ง

    หลังจากปล่อยให้จิตวนเวียนอยู่ในโลกด้วยความไม่ปกติมาเสียยาวนาน

    ความเป็นปกติของจิตนี้แหละที่สามารถมองเห็นความเป็นไปของรูปนามได้อย่างเป็นจริง ตามจริง เปรียบกับเรามองพื้นราบขณะที่เราอยู่บนยอดเขา

    อารมณ์วิปัสนาก็ไม่ได้มากไปกว่าการพิจารณารูปนามเลย เราก็เพียงให้เห็นชัดถึงอาการ ๓ ของรูปนาม คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเท่านั้น แล้ววิปัสนาญาณจะเกิดขึ้นเองเป็นไปโดยลำดับ

    การทำวิปัสนานั้นไม่ว่าเราจะเข้าฌาณเพื่อทำความสะอาดสิ่งรกรุงรังให้จิตก่อนก็ดี หรือ ทำสมาธิมาถึงเพียงอุปจาระก็ดี หรือบางท่านอาจทำวิปัสนาที่ขณิกะก็ดี

    ครั้นเมื่อวิปัสนาเดินไปตามกำลังของสติสมาธิปัญญาแล้ว สมาธิจะมาอยู่ที่อุปจาระ เป็นอุปกรณ์ให้การเดินวิปัสนาฌาณให้ต่อเนื่องจนถึงที่สุดแห่งญาณ

    ซึ่งเมื่อผ่านมรรค ๘ จะมีโพชฌงค์ ๗ มารองรับทันที โดยผู้ที่ผ่านวิปัสนาญาณจะพบด้วยตัวเองทำให้ไม่ต้องไปถามใคร เพราะหมดสงสังลงในทันที

    ดังนั้นที่ท่านถามว่าจะต้องให้ถึงฌาณ ๔ ก่อนหรือไม่ คำตอบก็คือไม่จำเป็นครับ ท่านสามารถถอยจากฌาณที่ท่านได้เข้าไปถึงแล้วออกมาพิจารณาธรรมที่อุปจาระได้เลยครับ

    แม้ในบางครั้งอาจมีเรื่องรบกวนเป็นนิวรณ์เกิดขึ้นมามาก อาจทำสมาธิได้ไม่ดี ถ้าขืนนั่งสมาธิต่อไปอาจฟุ้นซ่านมากขึ้น ท่านก็สามารถยกธรรมขึ้นมาพิจารณาได้เลย

    เพราะแม้แต่ขณิกสมาธิเองเมื่อนำมาพิจารณาธรรมนั้น ถ้าเราเห็นธรรมชัดขึ้นเรื่อย ๆ สติจะเดินให้เกิดอุปจาระโดยอัตโนมัติในขณะพิจารณาเห็นธรรมนั้น ๆ ครับ

    ขออนุโมทนาในการใฝ่รู้ทางธรรมนะครับ

    ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นทางนำไปสู่สหายแห่งธรรมทั้งปวง[​IMG]
     
  5. บัวตะวัน

    บัวตะวัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +574
    ขอคำแนะนำค่ะ
    สมถะ กับวิปัสสนา ต่างกันอย่างไร คะ ในทางปฏิบัติเมื่อเริ่มต้นนะคะ
     
  6. บัวตะวัน

    บัวตะวัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +574
    ขอคำแนะนำค่ะ
    สมถะ กับวิปัสสนา ต่างกันอย่างไร คะ ในทางปฏิบัติเมื่อเริ่มต้นนะคะ
     
  7. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    ตอบเป็นเบื้องต้นโดยย่อพอเข้าใจนะครับ

    สมถะคือการทำสมาธิ แบบที่เค้านั่งสมาธินั่นแหละครับ เป็นไปเพื่อให้เกิดความสงบ

    ส่วนวิปัสสนาคือการพิจารณาให้รู้ธรรม ให้เห็นธรรม และให้เป็นธรรม คือทำให้ปัญญาเกิดนั่นแหละครับ

    ทั้งวิปัสสนาและสมถะต่างก็เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน บางท่านอาจใช้สมถะนำวิปัสสนา บางท่านอาจใช้วิปัสสนานำสมถะ บางท่านก็ควบคู่กันไปแบบเสมอกันก็ได้ครับ

    แซวนิดนึง เล่นเขียนถามตั้ง ๒ ครั้งติด ๆ กัน ไม่ตอบคงไม่ได้นะครับ[​IMG]
     
  8. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    ขออนุโมทนาสาธุครับ

    ในเรื่องการปฏิบัติกรรมฐาน ทั้งสมถะและวิปัสนากรรมฐาน
    หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโตท่านแสดงพระธรรมเทศนา
    สรุปหลักสมถะ สรุปหลักวิปัสนา สรุปกรรมฐานทั้ง 40 ฐาน
    สรุปอวิชชา สรุปวิชชา
    สรุปมรรค สรุปผล
    สรุปการปฏิบัติ
    สรุปสังสารวัฏ

    [​IMG]

    หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต โปรดพญานาค ณ. เขื่อนน้ำหมาน จ.เลย

    กระผมขอแนะนำเป็นธรรมทานแก่ท่านผู้สนใจ
    โดยท่านสามารถดาวน์โหลดได้ตามลิงค์ข้างล่างครับ



    ท่านสามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติได้ที่
    http://www.rombodhidharma.com/Pg-04-Dharma.htm

    ท่านสามารถขอรับธรรมทานซีดีได้ที่
    [​IMG] เชิญดาวน์โหลดและแจกธรรมทานซีดีธรรมะบรรลุฉับพลัน โดย หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต

    ขออนุโมทนา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2008
  9. matakalee

    matakalee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +367
    โมทนา สาธุ ด้วยคะ ดิฉันได้ใช้เวลากว่า 3 ปี ในการปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้การดูแลของคณะวิปัสนาจารย์ จนเดินครบ 6 ระยะ และกำหนดจุดครบ 28 จุดของการนั่ง และได้เข้าอธิษฐานจิต 3 วัน 3 คืน โดยไม่มีการนอน จนผ่านญาณทั้ง 16 ญาณ ซึ่งต้องใช้ความวิริยะอดทนอดกลั้นเป็นอย่างมาก มาถึงวันนี้ ชีวิตของดิฉันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมากมาย จากหน้ามือเป็นหลังมือ เหมือนกับการกราบสติ ที่ต้องต้อนสติไว้ที่มือว่าพลิกหนอ พลิกหนอ ชีวิตได้พลิกผันเป็นอย่างมาก จากการที่ได้นำการปฏิบัติมาใช้กับชีวิตประจำวัน ที่ใช้สติชี้นำ อยากให้ทุกคนได้นำการปฏิบัติธรรมมาใช้กับชีวิตประจำวันและการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติแบบไหนก็ได้ ได้ประโยชน์เหมือนกันหมด อย่าปฏิบัติมุ่งมรรคผลนิพานจนเกินไป ตราบใดเรายังมีชีวิตอยู่ทำให้ดีที่สุด อดีตอย่าไปคิด อนาคตจะเป็นอย่างไรไม่สนใจ ปัจจุบันทำให้ดีที่สุด
     
  10. kaenlukson

    kaenlukson เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +2,126
    อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ สำหรับธรรมทาน

    ________________________________________________

    ทาน ศีล สมาธิ
     
  11. countdown

    countdown เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,018
    ค่าพลัง:
    +3,165
    สักวันเราคงได้อยู่อย่างท่าน ได้วิปัสนากรรมฐาน และพ้นจากอบายมุขรอบกาย พ้นจากการห่วงใด ๆ ทั้งปวง เราจะสำเร็จในชาตินี้ เราจะรู้ในชาตินี้ พระพุทธเจ้าเอายังไง เราเอาอย่างงั้น
     
  12. อิทธิปาฏิหาริย์

    อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,834
    ค่าพลัง:
    +1,472
  13. นักรบธรรม

    นักรบธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    969
    ค่าพลัง:
    +1,174
    เห็นเพื่อนผมนั่งสมาธิเพื่อแผ่กุศลให้พม่ากับจีนที่เสียชีวิต แต่เขาบอกว่ารู้สึกว่าตัวเองลอย บางครั้งติดผนังเลยก็มี พึ่งทำมา 3 วันเอง เกิดจากอะไรครับ
     
  14. kitokung

    kitokung Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    349
    ค่าพลัง:
    +84
    อนุโมทนาครับ อยากทำเหมือนกันครับ แต่เวลาว่างไม่ค่อยมีครับ
     
  15. ปิยธรรมโม

    ปิยธรรมโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    473
    ค่าพลัง:
    +349
    อนุโมทนาสาธุกับท่านเจ้าของกระทู้และทุกๆท่านที่ตอบ/อ่านกระทู้ครับ
    "ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากเลย" สาธุ
    ...อนุโมทามิ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...