เพื่อนสี่ขา ผู้ฟื้นฟูจิตใจ + น้องปุกปุย ของน้องแป้ง

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย MBNY, 19 ตุลาคม 2005.

  1. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    เพื่อนสี่ขา ผู้ฟื้นฟูจิตใจ


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​



    เรื่อง บงกชรัตน์ สร้อยทอง ​

    ภาพ พงษ์ไทย วัฒนาวณิชย์วุฒิ
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width=10 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>ปกติสุนัขก็เป็นเพื่อนแสนรู้และซื่อสัตย์ต่อเจ้าของอยู่แล้ว ยิ่งโดยธรรมชาติของบางสายพันธุ์ก็ใจดีกับมนุษย์อย่างใจหาย เพียงแต่ว่าอย่าได้ริไปยุ่งกับของส่วนตัวของพวกมันเข้าล่ะ เพราะปกติสุนัขย่อมหวงของของมัน แต่ทุกอย่างสามารถฝึกนิสัยของมันได้ หากสุนัขได้ผ่านการเลี้ยงดูจากเจ้าของมาตั้งแต่แรกเริ่ม เหมือนกับเด็กแบเบาะที่หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ก็สามารถเป็นเพื่อนรู้ใจต่างสปีชีส์กับเราได้


    บางคนอาจฝึกให้สุนัขรับฟังคำสั่งในการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับเจ้าของอย่างมีความสุขแล้ว ยังมีการฝึกความสามารถพิเศษต่างๆ แต่ถ้าจะให้เกิดประโยชน์สูงสุด เดี๋ยวนี้เขามีการฝึกสุนัขบำบัด (Dog Therapy) กันแล้ว ซึ่งสำหรับเมืองไทยอาจเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่คนรักสุนัขมาแล้ว 2-3 ปี แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายในวงกว้าง และมีการรวมกลุ่มสุนัขเพื่อการบำบัดอย่างชัดเจน





    ** สุนัขบำบัด (Dog Therapy)


    สพ.ญ.วจีรัตน์ กังสะนันทน์ เจ้าของศูนย์ฝึกสุนัขเพ็ท พาราไดซ์ พาร์ค ได้พูดถึงจุดเริ่มต้นการทำสุนัขบำบัดขึ้นมาว่า เดิมทีเปิดโรงพยาบาลสัตว์และศูนย์ฝึกสุนัขอยู่ในเขตเมือง แต่ด้วยสภาพพื้นที่อาจดูคับแคบไป ทำให้ต้องหาสถานที่ใหม่จนทำให้เกิดศูนย์ฝึกสุนัขแบบครบวงจร ฝึกไปฝึกมาจนคิดว่าการฝึกสุนัขสามารถทำประโยชน์ต่อสังคมได้ ด้วยการนำสุนัขไปบำบัดให้กับผู้ป่วย คนชรา และเด็กพิการ ซึ่งช่วยฟื้นฟูและปรับสภาพจิตใจได้


    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width=10 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>“ส่วนใหญ่เป็นการฝึกสุนัขในเมือง ซึ่งเจ้าของอยากมีไว้เป็นเพื่อนแก้เหงา และช่วยคลายเครียดอยู่แล้ว แต่พอมีปัญหาว่าสุนัขดื้อ ยังปรับตัวเข้ากับเจ้าของไม่ได้ จึงพาไปฝึกเพื่อแก้พฤติกรรมที่ไม่ดี ให้เชื่อฟังคำสั่ง ไม่กระโจนเข้าหาเจ้าของ ฝึกนิสัยให้เรียบร้อยตั้งแต่เด็ก แต่เห็นว่าเมื่อเจ้าของเสียเงินฝึกสุนัขแล้ว คิดว่าธรรมชาติและความสามารถของสุนัขพวกนี้ สามารถช่วยสร้างรอยยิ้มและกำลังใจเล็กๆ น้อยๆ ให้กับผู้ป่วย คนชรา หรือเด็กพิการได้บ้าง ด้วยการพาสุนัขไปโชว์ ไปเยี่ยม และร่วมเล่นกับสุนัขไปด้วย ซึ่งที่ผ่านมาได้พาไปเยี่ยมที่บ้านพักคนชราบ้านบางแค เด็กพิการที่บ้านปากเกร็ด บ้านราชาวดี และบ้านนนทภูมิ มาแล้ว ซึ่งผลที่ได้คือ รอยยิ้ม ความเพลิดเพลินใจของผู้คนเหล่านั้น”





    ** สิ่งที่ได้จากการฝึกสุนัขบำบัด


    จากผลตอบรับเป็นอย่างดีที่ทางเพ็ท พาราไดซ์ ร่วมกับลูกค้าผู้เป็นเจ้าของเจ้าตูบหลายตัว นำสุนัขไปบำบัดให้กับคนชราที่บ้านบางแค บ้างก็ช่วยไปฟื้นฟูสภาพร่างกายด้วยการไปเล่นกับคนชราที่อาคารผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ทำให้รู้สึกสนุกสนานไปกับการทำกายภาพบำบัด ที่เดิมจะมีแค่ผู้ป่วยกับเครื่องมือช่วยทำกายภาพบำบัดเท่านั้น


    สพ.ญ.วจีรัตน์ พูดถึงการฝึกสุนัขบำบัดว่า สามารถช่วยเหลือคนป่วยได้ 2 กรณี คือ


    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width=10 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>- ฟื้นฟูสภาพร่างกาย กรณีนี้ใช้สำหรับคนไข้ที่ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ดี เพราะผู้ป่วยจะไม่มีแรงเคลื่อนไหวอวัยวะบางส่วน และปกติการทำกายภาพบำบัดอาจต้องใช้เครื่องนวดหรืออุปกรณ์อื่น ถ้านำสุนัขเข้ามาช่วยบำบัดทำให้ผู้ป่วยได้ยืดเส้นยืดสาย และรู้สึกไม่จำเจกับวิธีการเดิมๆ มากนักกับการออกกำลังบริเวณกล้ามเนื้อมือด้วยการยกของ การขว้างลูกบอลหรือเชือกให้สุนัขวิ่งไปเก็บมาให้ผู้ป่วย หรือถ้าเป็นสุนัขผมยาวให้คนไข้ได้ถือหวีแปรงขนสุนัข แค่นี้ก็ได้ออกกำลังแล้ว หรือถ้าผู้ป่วยรู้สึกไม่มีแรงส่วนขาด้วยการผ่าตัด หรือมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้ออ่อนแรง ก็สามารถให้พี่เลี้ยงจูงสุนัขและเดินไปกับผู้ป่วยได้ หรืออาจจะให้ผู้ป่วยจูงเอง ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยไม่เบื่อหน่ายกับการออกกำลังได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ การออกกำลังกายแต่ละวิธีนั้นต้องขึ้นอยู่กับสภาพของคนไข้แต่ละคนด้วย เพราะต้องเลือกสุนัขที่เหมาะสม และความชอบของคนไข้ด้วย แต่การบำบัดด้วยวิธีดังกล่าวจะไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้ออักเสบ เพราะยังมีอาการเจ็บปวด


    - ฟื้นฟูสภาพจิตใจ เหมาะกับการรักษาคนไข้ที่มีสภาพจิตใจที่เป็นทุกข์ มีความกังวลในจิตใจ จากความเป็นธรรมชาติของสุนัขที่มักเป็นมิตรกับคน หรือจากการได้โชว์ความสามารถพิเศษ เขาเห็นแล้วปรบมือแล้วมีรอยยิ้มขึ้นมา หรืออย่างน้อยการพาสุนัขให้เขาได้อุ้มหรือได้ลูบไล้เล่น ช่วงเวลาขณะนั้นทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้ยิ้ม ได้หัวเราะบ้าง และเท่าที่มีการศึกษาพบว่า ความสุขเหล่านั้นสามารถอยู่กับคนป่วยหรือผู้ที่ได้รับการบำบัดได้ ผู้ป่วยก็จะรู้สึกคิดถึงสุนัขแล้ว





    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width=10 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>** ขั้นตอนการบำบัด


    เจ้าของเพ็ท พาราไดซ์ พาร์ค พูดถึงการบำบัดผู้ป่วยของที่นี่ที่จะเริ่มทำอย่างต่อเนื่องและอย่างจริงจังมากขึ้น ว่า การที่ญาติจะนำผู้ป่วยมาบำบัดนั้น ต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของญาติและตัวคนไข้เป็นหลักด้วย ญาติเป็นคนที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากกว่าใคร ว่าคนไข้อยากที่จะออกไปนอกบ้านที่ไหน ไปต่างตังหวัด ไปห้าง หรืออยู่บ้านเฉยๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ดูเหมือนเป็นเรื่องไม่สำคัญกับผู้ป่วยหรือคนชรา แต่ความจริงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ซึ่งวิธีการฝึกก็จะนำเอาจุดเด่นในธรรมชาติของสุนัขที่มีอยู่แล้วนำมาปรับเข้ากับลักษณะอาการของผู้ที่ได้รับการบำบัด เช่น การที่สุนัขชอบคาบของ ชอบเล่นน้ำ


    “สำหรับที่นี่จะเริ่มการบำบัดตั้งแต่ใครไม่สะดวกพาคนไข้เดินทางมาเอง ทางเพ็ท พาราไดซ์ฯ จะมีรถไปรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยจากบ้านโดยตรง โดยเฉลี่ยแล้วจะใช้เวลาในการบำบัดทั้งหมด 4 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่การพาไปดูโชว์ความสามารถพิเศษของสุนัขจากหลายๆ พันธุ์ หลายๆ ความสามารถ เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รับความสนุกสนาน ตื่นเต้นไปกับความแสนรู้ของสุนัข ก่อนที่จะเปิดโอกาสให้เล่นกับสุนัขด้วยการลูบไล้ อุ้ม และเข้ารับการบำบัดตามอาการของโรค ตั้งแต่การโยนลูกบอลหรือเชือกเพื่อออกกำลังกายกล้ามเนื้อแขนให้สุนัขไปหยิบมาคืนให้ การใช้หวีแปรงขนสุนัข หรือการออกกำลังกายกล้ามเนื้อส่วนขาด้วยการจูงสุนัขเดิน


    รวมถึงการลงสระน้ำด้วยกัน ในส่วนของผู้ป่วยจะมีหัวฉีดแบบไฮโดรโธราปีให้ผู้สูงอายุได้คลายกล้ามเนื้อพร้อมกับมีสุนัขอยู่ข้างกายตลอดเวลา อาจขว้างของให้สุนัขกระโดดไปเก็บมาให้ ช่วงเวลานี้ควรให้ผู้ป่วยอยู่ได้ไม่เกิน 15-20 นาที ต่อด้วยการนวดคลายกล้ามเนื้อบนบก พร้อมกับมีลูกสุนัขคลอเคลียอยู่รอบกาย หรือไม่ก็มีบริการนวดคลายกล้ามเนื้อให้กับสุนัขตัวโปรดด้วย และทิ้งท้ายด้วยการได้รับประทานอาหารด้วยกันระหว่างผู้ป่วย โดยสุนัขก็จะได้อิ่มท้องไปด้วยในเวลาเดียวกัน แต่ทุกขั้นตอนของการบำบัดนั้น จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ช่วยดูแลประกบข้างตลอดเวลา” สัตวแพทย์อธิบายขั้นตอนการบำบัดให้ฟัง





    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width=10 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>** การฝึกฝนสุนัขเพื่อบำบัด


    จากเดิมที่นี่มีการฝึกให้ลูกสุนัขมีความประพฤติอยู่ในระเบียบที่ดีแล้ว เช่น การฝึกฉี่ให้เป็นที่ ยังมีการฝึกการเข้าสังคม เวลาออกนอกบ้านจะได้ป้องกันตัวเองด้วยการเห่ายามเห็นคนแปลกหน้า หรือการฝึกคำสั่งง่ายๆ อย่างสั่งให้นอนหงายเพื่อตรวจเห็บหรือหมัด หรือการฝึกในขั้นพื้นฐานด้วยการสั่งให้ยืน นั่ง หมอบ คอย หรือสวัสดี และรวมไปถึงฝึกในความสามารถพิเศษกับอุปกรณ์ต่างๆ


    แต่สำหรับการที่จะฝึกสุนัขเพื่อการบำบัดได้นั้น ต้องให้สุนัขผ่านการฝึกระดับขั้นพื้นฐานก่อนแล้ว และก็ต้องมีการทดสอบคุณสมบัติของสุนัขก่อนว่ามีความเหมาะสมที่จะนำไปฝึกเพื่อการบำบัดหรือไม่


    โดยสุนัขที่เหมาะที่จะได้รับการฝึกควรเริ่มตั้งแต่ 6 เดือน จนถึง 3 ปี เพราะหลังจากนั้นทำการฝึกฝนได้ยาก สำหรับการฝึกสุนัขที่นี่จะใช้เวลาในการฝึกจำนวน 3 เดือน โดยฝึกขั้นพื้นฐานประมาณ 8 สัปดาห์ก่อน แล้วฝึกเพื่อการบำบัดอีก 4 สัปดาห์ ตั้งแต่การฝึกเชื่อฟังคำสั่งง่ายๆ ให้เขารู้จักเข้าสังคม ชินกับการได้เจอกับคนแปลกหน้าและสุนัขตัวอื่นเป็นสำคัญ ซึ่งที่นี่มีการฝึกในเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ จากผู้ฝึกมืออาชีพอย่างทหาร จากกรมการสัตว์ทหารบกจากนครราชสีมา ที่มีการฝึกสุนัขเพื่อการค้นหาโดยเฉพาะ ซึ่งจะเข้ามาฝึกให้อาทิตย์ละ 3 คน สอนสุนัขแบบตัวต่อตัวในระยะเวลา 15 นาที แล้วค่อยวนมาสอนใหม่ เพราะสุนัขจะใช้เวลาสอนได้เพียงแค่ระยะสั้นๆ เท่านั้น แต่ถ้ารู้คำสั่งแล้วก็สามารถสอนพร้อมกันได้ครั้งละ 3 ตัวได้ โดยช่วงเดือนสุดท้ายเจ้าของสุนัขจะต้องเข้ามาเรียนด้วยพร้อมกับครูสอน เพราะจะได้ฝึกในการออกคำสั่งกับเจ้าตูบของคุณ





    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width=10 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>** การคัดเลือกสุนัขในการฝึก


    สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ทาง สพ.ญ.วจีรัตน์ อธิบายถึงคุณสมบัติของสุนัขที่จะเข้ารับการฝึกสุนัขเพื่อการบำบัดได้นั้นคือ จะต้องเป็นสุนัขนิสัยดี เนื่องจากบางตัวแม้จะมีความสามารถในการทำอะไรได้สารพัดอย่าง แต่ถ้ามีนิสัยก้าวร้าว ไม่ชอบคนแปลกหน้าเข้าจะเป็นเรื่องยากในการฝึกฝน


    “พันธุ์ของสุนัขอาจมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย เช่น พันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ดาร์เมเชี่ยน ลาบาดอร์ พูเดิล ไซเทอร์เลีย หรือพันธุ์ไทยนี่ยิ่งนิสัยดีมาก นอกจากนั้นขนาดของสุนัขที่ฝึกต้องมีขนาดตัวที่ไม่โตมากนัก และที่สำคัญคือมีนิสัยไม่ดุ ไม่ก้าวร้าว ซึ่งนั่นจำเป็นต้องอยู่ในข่ายสุนัขนิสัยดีตามที่คณะสัตวแพทย์ของมหาวิทยาลัยมหิดลได้ระบุไว้ คือ ไม่กัดคน ไม่กัดหมา แล้วพาจูงได้ ทว่า เวลาบำบัดให้กับคนชราก็ต้องง่ายต่อการที่คนป่วยหรือพี่เลี้ยงช่วยควบคุม แต่ที่จำเป็นมากคือต้องฝึกให้เขาได้เจอกับสุนัขตัวอื่นและคุ้นเคยกับคนแปลกหน้า





    ** อนาคตสำหรับสุนัขบำบัด


    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width=10 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>สพ.ญ.วจีรัตน์ ได้แสดงทัศนะส่วนตัว ว่า การบำบัดด้วยวิธีนี้ถือเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยมีความสุขได้ แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง ดีกว่าที่จะปล่อยให้พวกเขาอยู่อย่างรอคอยเวลา และมีความสุขกับชีวิตที่เหลืออยู่ไม่ดีกว่าเหรอ และจากผลตอบรับในหลายครั้ง เมื่อเจ้าตูบที่ได้ผ่านการฝึกเพื่อเป็นสุนัขบำบัด ทำให้ทางศูนย์ฯ เริ่มจะสานต่อโครงการสุนัขบำบัดขึ้นอย่างจริงจัง โดยจะเข้าร่วมกับชมรมชีวันตรักษ์ ซึ่งจะเป็นการรวบรวมวิธีการบำบัดต่างๆ เพื่อตั้งเป็นศูนย์กลางนำวิธีการบำบัดต่างๆ ไปช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจกับคนชรา เด็กพิการ เด็กในสถานพินิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยที่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้อีกไม่นาน


    “ในชมรมจะมองโดยรวมเป็นสัตว์เลี้ยงบำบัดมากกว่า ซึ่งเราจะเป็นสาขาหนึ่งในนั้น คือ สุนัขบำบัด ที่คอยฝึกฝนให้กับผู้สนใจและคอยเป็นศูนย์กลางให้ โดยจะได้เริ่มทำโครงการร่วมกับชมรมที่จะนำสัตว์ต่างๆ ไปช่วยบำบัดคนป่วย เด็กพิการ ผู้สูงอายุที่ต่างๆ ทั้งนี้ เพราะคนไข้จะมีความชอบในสัตว์เลี้ยงแต่ละชนิดแตกต่างกัน เพราะจากทีมศึกษาของชมรมระบุว่า ผู้ป่วย 70 เปอร์เซ็นต์ ต้องการอยู่ที่บ้านกับครอบครัวจริง แต่การนำสุนัขไปช่วยบำบัด ช่วยให้กำลังใจ ก็น่าจะช่วยลดภาวะตึงเครียด ความกังวลของผู้ป่วยลงได้เยอะ และที่ผ่านมามีการนำสุนัขบำบัดไปใช้ตามลักษณะเหตุการณ์มากกว่า เช่น ครั้งตอนเกิดสึนามิ มีหลายองค์กรนำสุนัขไปบำบัดให้แก่ผู้ประสบภัย แต่กระบวนการทำสุนัขบำบัดในไทยยังไม่ได้ทำขึ้นเป็นรูปเป็นร่างเช่นต่างประเทศ ที่วิธีการรักษาแบบนี้ได้รับความนิยมมาก”


    นอกจากนั้น ในฐานะที่เป็นคนรักสุนัข และเป็นสัตวแพทย์คนหนึ่ง สพ.ญ.วจีรัตน์ บอกว่า อยากให้คนไทยมีทัศนคติที่ดีกับสุนัขมากขึ้นกว่านี้ “ตอนนี้คนไทยส่วนใหญ่ยังมองสุนัขไปในแง่ลบอยู่ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสุนัข กลัวว่ามีเชื้อโรค เป็นอันตราย กลัวความดุร้าย กลัวเป็นภูมิแพ้ ซึ่งแท้จริงโรคต่างๆ หรือการเกิดสาเหตุดังกล่าวก็มีบุคลากรและหน่วยงานต่างๆ ให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือเกี่ยวกับสุนัขอยู่มากมาย อีกทั้งสุนัขจะเป็นอย่างไร ทั้งเรื่องสายพันธุ์และสิ่งแวดล้อมที่มันอยู่ก็มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งนั้น แม้จะเป็นสายพันธุ์ที่ดุ แต่ถ้าเจ้าของดูแลเป็นย่างดี สุนัขพันธุ์นั้นก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด”




    ...แต่อย่าลืมว่าก่อนที่จะให้เจ้าตูบแสนรู้ทั้งหลายเป็นตัวช่วยในการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจมนุษย์ มนุษย์เองก็อย่าลืมควรให้ความเมตตา รัก และดูแลพวกมันอย่างจริงจัง ไม่ใช่นำมาเลี้ยงเพราะเทรนด์แฟชั่น แต่ปราศจากความรักความเอาใจใส่พวกมันอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม สุนัขก็มีหัวใจเหมือนมนุษย์เราๆ นี่แหละ...


    ที่มา : โพสต์ทูเดย์

    ขอบคุณ : น้องปุกปุย [​IMG]
     
  2. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    น้องปุกปุย และเพื่อนๆ (แกงค์ขน) [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]<TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. เบื้องล่าง

    เบื้องล่าง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +116
    ดีมากเลย ขอบคุณนะที่นำบทความดีๆๆๆๆๆๆ มาให้เพื่อนสมาชิกอ่าน
    ใช่แล้วก่อนที่จะให้ใครรักเรา เราต้องมอบความรักให้เขาอ่าน
    ที่บ้านมีลูกชายหมา 2 ตัว ช่วยเราได้มากเลย เวลาเหนื่อย ท้อแท้ ได้เล่นกับเขา หอมเขา กอดเขา รู้สึกดีมาก ๆๆเลย
    ความรักที่บริสุทธิ์ต่อทุกสรรพสิ่งย่อมนำสันติสุขมาให้เสมอ
     
  4. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    ฮ่าๆ ๆ.....คิดกันได้ ไอเดียดีจริง ๆ ของผมทำหนูแฮมสเตอร์บำบัดครับ
     
  5. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    บทความก้อเยี่ยมยอด..รูปประกอบก้อน่ารัก..อยากกอด..(แรงๆ)..น้องปุกปุย..ของแป้งจังอ่ะ..
     
  6. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325

    ปุกปุยน่ารักมากเลยล่ะ แสนรู้ที่สุดเลย
    แต่จริง ๆเราว่าน้องหมาทุกตัวน่ารัก
    และมีเสน่ห์ตรงความใสซื่อ บริสุทธิ์
    จงรักภักดีต่อเจ้าของมาก เลย น่ารักทุกตัวแหละตา
    ใครเลี้ยงเค้าต้องหลงรักเค้าทุกคนเลยนะเราว่า
     
  7. hexidecimal

    hexidecimal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,026
    ค่าพลัง:
    +1,637
    น่ารักดีแฮะ
     
  8. skylibrary

    skylibrary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +175
    เป็นกระทู้ที่ดีมากจ้า
     
  9. bridge

    bridge เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,252
    ค่าพลัง:
    +1,814
    อ่านแล้วรู้สึกรักเจ้าซูโม้ที่บ้านขึ้นเยอะ เลยถึงแม้ว่ามันจะชอบไปวิ่งเหยียบแปลงผักคะเจ้า ทุกวันจนเราต้องเสียคน ก็ตาม ก็มันเป็นสัตว์นี้เนอะ ใครถือซามันก็แย่อยู่ ฮุๆๆๆๆ
     
  10. Sue

    Sue สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +4
    รูปหมาน่ารักมากเลย เป็นพันธุ์ชิสุเหมือนของเราเลย หมาเราชื่อ girlie อายุจะสามขวบแล้ว หนักห้าโลฝ่า อ้วนสุดๆ กินทุกอย่างที่ขวางหน้า แม้กระทั่งผักต้ม มะละกอสุก ยังกินเลย เป็นหมาประชาสัมพันธ์ เวลาเรากลับบ้านมา จะวิ่งมารับเหมือนไม่เจอกันมาเป็นสิบปี ทั้งๆที่เก๊าะเพิ่งสี่ห้าชั่วโมง ขี้อ้อนสุดๆ
     
  11. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    ใช่ค่ะ ใช่ น้องปุกปุยน่ารัก แต่เรียบร้อยมาก
    กินยากมากเลย วันไหนอาหารไม่ถูกใจเดินหนีเลยล่ะค่ะ
    เค้ายังเล็ก อายุ 5 เดือนกว่าเองค่ะ แต่ไม่ค่อยซน เป็นเด็กดี
    ขี้อ้อนเหมือนกันค่ะ จับอาบน้ำแต่ละที วิ่งหนีอุตลุต
    ไม่ชอบอาบน้ำ อย่างอื่นทนได้หมดค่ะ
    นอ้งคุณ sue ชื่ออะไรคะ??
     
  12. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    น้องปุกปุย แลบลิ้น รูปนี้น่ารักจัง


    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...