...ปกิณกะไทยๆ... ^_^

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ชนินทร, 9 กรกฎาคม 2008.

  1. หญ้าคา

    หญ้าคา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    247
    ค่าพลัง:
    +138
    อนุโมทนาสาธุครับ แล้วผมจะพยามทำให้ได้คุณครับผม
     
  2. ตุ๊กตาแก้ว

    ตุ๊กตาแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    557
    ค่าพลัง:
    +3,265
    จะเข้าพรรษาแล้ว มารู้จักกับ "ดอกเข้าพรรษา"กัน ค่ะ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>[​IMG]

    ดอกเข้าพรรษา งามสง่าในลีลา ‘หงส์เหิน’

    ยามเมื่อฤดูกาลเข้าพรรษาเวียนมาถึง ดอกไม้ชนิดหนึ่งก็เริ่มผลิดอกบานสะพรั่ง ผู้คนต่างพากันเก็บมาถวายพระจนก่อเกิดเป็น ประเพณี “ตักบาตรดอกไม้” ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมของชาวอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

    โดยมีที่มาจากเรื่องราวในพระพุทธศาสนาว่า นายสุมนมาลาการ ได้ถวายดอกมะลิบูชาแด่พระพุทธเจ้า และด้วยอานิสงส์ดังกล่าวทำให้นายสุมนมาลาการมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนจึงได้พร้อมใจกันนำดอกไม้มาถวายเป็นพุทธบูชา

    ดอกไม้ที่ชาวอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี นำมาใช้ตักบาตรในประเพณีนี้ จึงเรียกขานกันว่า ‘ดอกเข้าพรรษา’ หรือ ‘ดอกหงส์เหิน’ เพราะลักษณะของดอกและเกสรประดุจดังตัวหงส์ ที่กำลังเหินบินด้วยท่วงท่าลีลาอันสง่างามนั่นเอง

    [​IMG]

    หงส์เหิน (Globba winiti) เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์ขิง เป็นไม้ดอกเมืองร้อนเกิดในป่าร้อนชื้น พบในประเทศไทย, พม่า และเวียดนาม ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่หรือตามชายป่า มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น กล้วยจ๊ะก่า (ตาก), กล้วยจ๊ะก่าหลวง (ลำพูน), กล้วยเครือคำ (เชียงใหม่), ก้ามปู (พิษณุโลก), ขมิ้นผีหรือกระทือลิง (ภาคกลาง), ว่านดอกเหลือง (เลย), ดอกเข้าพรรษา (สระบุรี) เป็นต้น

    ‘ต้นหงส์เหิน’ หรือ ‘ต้นเข้าพรรษา’ เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นเป็นหัวประเภทเหง้าแบบมีรากสะสมอาหาร คล้ายรากกระชาย ส่วนของลำต้นเหนือดิน คือ กาบใบที่เรียงตัวกันแน่น ทำหน้าที่เป็นต้นเทียมเหนือดิน เกิดเป็นกลุ่มกอ สูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอก ออกเรียงสลับซ้ายขวาเป็นสองแถว

    ส่วนดอกออกเป็นช่อซึ่งแทงออกมาจากยอดของลำต้นเทียม ช่อดอกมีลักษณะอ่อนช้อยสวยงาม ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีก้านดอกย่อยเรียงอยู่โดยรอบ ประกอบด้วยดอกจริง 1-3 ดอก มีสีเหลืองสดใสคล้ายรูปตัวหงส์กำลังเหินบิน มีกลีบประดับขนาดใหญ่ตามช่อโดยรอบจากโคนถึงปลาย และสีของกลีบประดับมีหลายสี เช่น ขาว ม่วง เขียว และแดง

    [​IMG]

    ดอกเข้าพรรษาหรือดอกหงส์เหิน หนึ่งปีจะออกดอกเพียงครั้งเดียว เฉพาะในช่วงเทศกาลวันเข้าพรรษาเท่านั้น ในท้องที่อำเภอพระพุทธบาท พบว่ามี 2 สกุล ได้แก่ สกุลกระเจียว มีดอกสีขาวหรือขาวอมชมพู และสกุลหงส์เหิน ดังกล่าวข้างต้น

    เมื่อถึงวันเข้าพรรษา คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวอำเภอพระพุทธบาทจะพากันไปเก็บดอกเข้าพรรษาตามไหล่เขาโพธิลังกาหรือเขาสุวรรณบรรพต เทือกเขาวง และเขาพุในเขตอำเภอพระพุทธบาท นำมาจัดรวมกับธูปเทียนเพื่อตักบาตรถวายพระ ซึ่งที่จังหวัดสระบุรีนี้ได้จัดพิธีตักบาตรดอกไม้ ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และเป็นสถานที่ประดิษฐาน “รอยพระพุทธบาท” อันศักดิ์สิทธิ์ที่พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพบูชา ซึ่งมีความเชื่อในคติชาวลังกาว่า พระพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ 5 แห่ง และรอยพระพุทธบาทที่วัดพระพุทธบาทฯ แห่งนี้ เป็น 1 ใน 5 แห่ง ต่อมารอยพระพุทธบาทนี้ถูกค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม

    [​IMG]
    รอยพระพุทธบาทสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสระบุรี


    รอยพระพุทธบาทแห่งนี้มีลักษณะเป็นหลุมลึกคล้ายรอยเท้าคน กว้าง 21 นิ้ว ยาว 5 ฟุต ลึก 11นิ้ว จะสังเกตว่ารอบๆ รอยพระพุทธบาทนั้นพุทธศาสนิกชนปิดทองกันเหลืองอร่ามไปทั่ว นั่นเป็นดัชนีชี้วัดแรงศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี ว่ากันว่าหากใครมีโอกาสไปสักการะรอยพระพุทธบาทครบ 7 ครั้ง ผลบุญจะส่งให้ขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    ตลอดจนเชื่อกันว่า เมื่อนำดอกเข้าพรรษามาตักบาตรจะได้บุญกุศลแรง โดยนิยมตักบาตรด้วยดอกเข้าพรรษาสีขาว เพราะหมายถึงความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา และสีเหลือง เพราะหมายถึงสีแห่งพระสงฆ์ สาวกแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าในหนึ่งดอกมีสีเหลืองกับสีขาวอยู่ในดอกเดียวกันจะเป็นการยิ่งดี โดยเฉพาะสีเหลืองแต้มสีขาวจะดียิ่งขึ้น

    พระสงฆ์จะนำดอกไม้ที่รับบิณบาตไปสักการะ “รอยพระพุทธบาท” ในพระมณฑป และสักการะ พระเจดีย์จุฬามณี รวมทั้ง พระเจดีย์มหาธาตุองค์ใหญ่ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แล้วนำเข้าพระอุโบสถประกอบพิธีสวดอธิษฐานเข้าพรรษา ระหว่างพระสงฆ์เดินลงจากพระมณฑป ก่อนที่จะเข้าพระอุโบสถตรงบันได พุทธศาสนิกชนจะนำน้ำสะอาดมาล้างเท้าพระสงฆ์ เชื่อว่าเป็นการชำระบาปของตนเองด้วย

    [​IMG]
    ดอกเข้าพรรษาสีเหลือง


    นอกจากประเพณีการตักบาตรดอกไม้จะมีที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรีแล้ว ในกรุงเทพมหานคร ก็ยังมีที่วัดบวรนิเวศวิหาร, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม และวัดพระรามเก้า กาญจนาภิเษก สำหรับดอกไม้ที่ใช้ในประเพณีนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นดอกเข้าพรรษาเท่านั้น จะเป็นดอกไม้อื่นๆ ที่ใช้บูชาพระก็ได้ เช่น ดอกมะลิ, ดอกบัว, ดอกกล้วยไม้, ดอกดาวเรือง เป็นต้น

    สำหรับคำถวายดอกไม้ ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ ซึ่งสามารถใช้ได้โดยทั่วไป มีดังนี้

    อิมานิ มะยัง ภันเต ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ
    ระตะนัตตะยัสเสวะ อะภิปูเชมะ
    อัมหากัง ระตะนัตตะยัสสะ ปูชา ทีฆะรัตตัง
    หิตะสุขาวะหา โหตุ อาสะวักขะยัปปัตติยา

    คำแปล : ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชา ธูป เทียน และดอกไม้อันประเสริฐเหล่านี้แก่พระรัตนตรัย ขอจงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์สุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เพื่อให้ถึงซึ่งนิพพาน ที่ซึ่งสิ้นอาสวะกิเลสเทอญ

    [​IMG]


    ......................................................

    โดย ผู้จัดการออนไลน์ 29 มิถุนายน 2549 11:24

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. ตุ๊กตาแก้ว

    ตุ๊กตาแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    557
    ค่าพลัง:
    +3,265
    บรรยากาศของงานบุญหรืองานวัดที่คึกคักที่สุด คงไม่มีวันใดที่จะมีกิจกรรมต่างๆมากมายเท่ากับวันเข้าพรรษา



    [​IMG] ตอนที่ผมเป็นเด็กๆ ช่วงวันเข้าพรรษาจะเป็นวันที่มีโอกาสได้เห็นกิจกรรมทั้งในโรงเรียนและที่วัด เด็กๆส่วนใหญ่มักจะชอบ เพราะมีโอกาสได้ดูการแห่แหนด้วยขบวนต่างๆตามท้องถนน เช่น การแห่นาคของพระบวชใหม่ ที่ถือเอาวันเข้าพรรษา เป็นช่วงเวลาถือบวชสำหรับชายไทยที่มีอายุครบ 25 ปี หรือที่เรียก ว่า "วัยเบญจเพศ" คนไทยสมัยก่อนมักนิยมให้ลูกชายบวชเรียนในวัยนี้ เป็นการเพาะบ่มจิตใจตามประเพณีของชาวพุทธ เพื่อนำเอาหลักธรรมที่ศึกษาไปใช้ในการดำรงชีวิต ที่คนสมัยก่อนถือว่าเป็นคนสุก คือได้ผ่านการนุ่งเหลืองห่มเหลืองมาเรียบร้อยแล้ว

    ที่โรงเรียนก็จะมีกิจกรรมทางศาสนา ให้นักเรียนร่วมกันหล่อเทียนพรรษา และประดับตกแต่งให้ดูสวยงาม ก่อนที่จะนำไปถวายวัด ซึ่งปกติก็จะนำไปวัดที่อยู่ใกล้โรงเรียน โดยนักเรียนจะเดินเป็นแถวเป็นระเบียบไปตามท้องถนน เด็กส่วนใหญ่จะชอบวันนี้เพราะถือเป็นวันที่หยุดเรียน หลังเสร็จพิธีแล้วทางโรงเรียนก็มักปล่อยให้กลับบ้าน
    [​IMG]
    ในฤดูเข้าพรรษา จะเห็นการแห่นาคและแห่เทียนพรรษาของโรงเรียนหรือของหน่วยงานต่างๆไปตามท้องถนน ที่จัดกันเป็นประจำทุกปี ระหว่างทางก็จะถือโอกาสเรี่ยไรเงินจากชาวบ้าน ขบวนไหนมีทุนมากหน่อยก็จะตกแต่งริ้วขบวนกันสวยงาม ฉิ่งฉับกลองยาว ก็จะตีกันอึกทึกคึกโครมเป็นที่สนุกสนาน เด็กๆที่ได้ยินเสียงก็วิ่งมาดูด้วยความสนใจ ส่วนที่จะตื่นกลัวก็เป็นพวกสุนัขที่เห่าหอน แข่งกับเสียงกลองยาว บางตัวก็วิ่งหนีแบบไม่คิดชีวิต บางท้องที่อาจสร้างสีสันให้กับขบวนด้วยการทำหัวโต หรือสัตว์ชนิดต่างๆโดยมีคนอยู่ข้างในสัตว์นั้นๆ เด็กๆรุ่นผมตอนนั้นกลัวเจ้าหัวโตค่อนข้างมาก เพราะเค้าทำหัวใหญ่จำนวนหลายหัว เห็นถนัดกันมาแต่ไกล เวลาเดินก็จะโยกหัวส่ายไปตามจังหวะกลองยาว ขบวนนี้ผ่านมาทีไรก็เห็นทีต้องเผ่นเข้าบ้าน แล้วไปแอบดูตามรอยแตกข้างฝา ไม่ต่างอะไรกับคนเห็นผี

    ที่บ้าน ในช่วงเข้าพรรษาจะเป็นเวลาที่ทุกคนในบ้านจะพร้อมหน้าพร้อมตากันเตรียมของไปทำบุญ ผู้ใหญ่ก็จะเตรียมทำขนมทำกับข้าว เด็กๆก็มีหน้าที่ช่วยงานเล็กๆน้อยๆ เช่นตัดใบตองเพื่อนำมาห่อขนม หรืออาจช่วยผู้ใหญ่โม่แป้ง ซึ่งบ้านแต่ละหลังจึงมีแต่ความคึกคักไม่แพ้กัน ตอนบ่ายๆหรือเย็นๆก็จะตลบอบอวลไปด้วยกลิ่นขนมที่หอมลอยมาจากเตา

    [​IMG] [​IMG]

    ซึ่งตามประเพณีมักนิยมทำข้าวต้มมัด หรือขนมประเภทที่ห่อใบตอง เช่นขนมกล้วย ขนมใส่ใส้ ขนมเทียน พวกเด็กๆก็จะมีโอกาสได้ทานขนมกันอย่างเต็มอิ่มในช่วงงานบุญแบบนี้ ในการทำอาหารหวานคาวหรือขนมชนิดต่างๆเพื่อนำไปทำบุญนั้น ผู้หลักผู้ใหญ่จะพิถีพิถันและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เช่นการคัดสรรของที่มีคุณภาพ สะอาด และต้องดี ยังจำคำพูดของคุณย่าที่เคยพูดไว้ว่า

    " ของดีๆเสียๆ เอาไว้กิน ของดีๆเอาไว้ขาย ของวิเศษเอาไว้ถวาย"

    เป็นคำกล่าวที่ถือว่าคนสมัยก่อนให้ความสำคัญกับวัด กับพระสงฆ์ไว้อย่างสูงส่ง โดยถือว่าการทำเช่นนี้จะได้รับบุญอัน ประเสริฐ และสิ่งมีค่าต่างๆก็มักนำมาถวายให้กับวัด วัดจึงเปรียบเสมือนเป็นพิพิธภัณฑ์ของชาวบ้าน

    ในวันรุ่งขึ้นทุกคนจะแต่งตัวสวยงามเพื่อออกไปทำบุญพร้อมกันที่วัด ก่อนออกจากบ้านพวกเด็กๆก็มีหน้าที่ไปเก็บดอกไม้ที่มีอยู่แถวๆบ้านให้ผู้ใหญ่นำไปห่อกับใบตอง รวบรวมกับธูปเทียนและจัดเป็นชุดเป็นกระทงตามจำนวนของสมาชิกที่ไปทำบุญ เมื่อของทุกอย่างนำมาวางรวมกันที่หน้าบ้าน ผู้เป็นพ่อก็ทำพิธีเล็กน้อย คือนำปิ่นโต หรือภาชนะที่ใส่อาหาร ยกขึ้นมาจบเหนือศรีษะแล้วอธิษฐาน ก่อนที่จะนำไปที่วัด
    <TABLE border=3><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    บรรยากาศของงานบุญในฤดูเข้าพรรษาของปัจจุบันอาจมีความแตกต่างไปตามยุคตามสมัย แต่คิดว่าในต่างจังหวัด หลายแห่งก็ยังคงมีบรรยากาศตามที่กล่าวมา และสิ่งที่ดูจะเหมือนๆกันก็คือตามวัดต่างๆก็ยังมีกิจกรรมและจัดงานเนื่อง ในวันเข้าพรรษากันอย่างคึกคัก

    http://www.photoontour.com/Events_HTML/WatPrathum/WatPrathum.htm(ส่วนเนื้อความ)

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กรกฎาคม 2008
  4. ตุ๊กตาแก้ว

    ตุ๊กตาแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    557
    ค่าพลัง:
    +3,265
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=middle width="98%" background=/images007/gu_07.jpg>เทียนโบราณ

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD>
    ความเป็นมาเรื่องเทียนโบราณ อุบลราชธานี ถือว่าเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในดงอู่ผึ้ง ซึ่งคนเฒ่าคนแก่ได้เล่าให้ลูกหลาน เหลนโหลน ได้ฟังสืบทอดกันมา ความว่า........ เทียนได้มาจากน้ำผึ้ง ประกอบกับอุบลราชธานี ตั้งอยู่ในแหล่งหรือพื้นที่เป็นป่าไม้ มีผึ้งมาอาศัยทำรวงรังอยู่มากมาย จนได้เรียกว่า "ดงอู่ผึ้ง" ผึ้งเกี่ยวข้องและเกี่ยวเนื่องในเรื่องพุทธศานา ดังนิทานในชาดกที่เราท่านทั้งหลายได้ยินได้ฟังมา คือ เมื่อครั้งพุทธกาลตามหนังสือ พระธัมปทัฏฐกถา แปล ภาค 1 ในเรื่องลำดับที่ 5 คือ เรื่องพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ซึ่งมีความตอนหนึ่ง กล่าวถึงวานรถวายรวงน้ำผึ้ง ขณะนั้นมีช้างชื่อ ปาริเลยยกะ อุปัฏฐากพระศานา มีวานรตนหนึ่งเห็นการกระทำนั้น ถือนำน้ำใส่เต้าถวายพระศาสดา จึงคิดอยากจะทำอะไรสักอย่างถวายพระตถาคตเจ้าบ้าง วานรตัวนั้นจึงเที่ยวไป วันหนึ่งวานรเห็นรวงผึ้งที่กิ่งไม้ แต่หาตัวผึ้งไม่มี จึงหักเอากิ่งไม้ที่มีรวงผึ้งนั้น แล้วนำรวงผึ้งทั้งกิ่งไม้ไปสู่สำนักพระศาสดา
    พระศาสดาทรงรับไว้ วานรเฝ้าดูอยู่ เพื่อจะได้ทราบว่า พระศาสดาจะบริโภคหรือไม่พระศาสดาทรงนิ่งเฉยอยู่ วานรเกิดความสงสัย จึงนำกิ่งไม้พิจารณาดูเห็นตัวอ่อนของผึ้ง จึงค่อยๆ นำตัวอ่อนนั้นออกเสีย แล้วถวายใหม่ พระศาสดาทรงบริโภค วานรนั้นมีใจยินดี กระโดดโลดเต้นไปตามประสา ไปตามกิ่งไม้ จนพลัดตกลงมาที่ปลายตอไม้ ทำให้วานรถึงแก่ความตาย แต่อานิสงส์ที่ทำไว้ ถือเป็นผู้หารวงผึ้งมาถวายพระพุทธเจ้าผู้ทรงศีล จึงได้เกิดในวิมานทอง สูง 30 โยชน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนางอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร
    จากเรื่องที่ปรากฎในสมัยพุทธกาลที่กล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ในสมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่นั้น มนุษย์เพียงแต่รู้จักบริโภคน้ำผึ้ง แต่ยังคงไม่รู้จักนำขี้ผึ้งมาใช้ให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นำมาทำเป็นเทียนขี้ผึ้ง
    แต่อย่างไรก็ตาม การให้แสงสว่างเป็นทานนับว่ามีประโยชน์ ทั้งให้แสงสว่างที่เป็นแสงสว่างจริงๆ และการให้แสงสว่างทางด้านปัญญา ทั้งยังมีเรื่องเล่าอีกว่า พระอนุรุทธะ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม เฉลียวฉลาดรู้อรรถ รู้พระธรรมวินัยแตกฉาน จนเป็นที่เรื่องลือเกี่ยวกับเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ในชาติปางก่อน พระอนุรุทธะเคยได้ให้แสงสว่างเป็นทาน จึงมีปัญญาเฉลียวฉลาด
    เรื่องราวทั้งหลาย จึงได้สืบทอดมาจนยุคปัจจุบัน และข้อความที่ว่า การนำขี้ผึ้งมาทำเป็นเทียนถวายพระสงฆ์ย่อมได้บุญกุศล จึงมีผู้คนได้คิดทำเทียนประเภทต่างๆ ขึ้นเพือนำถวาย
    ชาวอุบลได้คิดค้นทำต้นเทียนและตั้งชื่อมาหลายรูปแบบตามชื่อเมืองนักปราชญ์ ดังนี้
    [​IMG]


    1. เทียนมณฑป ถือว่าทำมาตั้งแต่สมัยก่อนๆ ซึ่งเรียกว่าสมัยโบราณ ได้คิดค้นมา ความหมายคือ ทำเป็นที่วางเครื่องบริขารในการทอดกฐิน มณฑปนี้ถ้าจะเรียกชื่ออีกอย่าง ก็ดูเหมือนว่าบุษบก เพราะรูปแบบคล้ายคลึงกัน ไม่มีแตกต่างกันเลย มณฑปนี้ ทำแทนหอ คือ ที่ตั้งที่วาง เพื่อให้เครื่องบริขารและบริวารที่จะนำไปทอดถวายพระสงฆ์ อยู่เป็นที่มีขอบเขตเป็นสัดส่วน เป็นเอกเทศ ไม่กระจัดกระจาย ส่วนเทียนนั้น จะตั้งไว้บนแผ่นโลหะที่เป็นจาน เป็นถาด หรือพาน เทียนนี้จะไม่จุดไฟ ทำตั้งไว้เพื่อบูชาเป็นเครื่องบริขาร ที่ทำเป็นรูปมณฑปนั้น เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ เกิดความสวยงาม รวมความหมายถึงฐานะของเจ้าของศรัทธาผู้ทำบุญกฐินด้วย แต่บางครั้งก็ใช้ในการทอดผ้าป่า ส่วนมณฑปนี้ เจ้าศรัทธาก็ได้นำถวายให้วัด จะไม่นำกลับคืนมา
    2. เทียนปราสาทผึ้ง ถือว่าเป็นเทียนโบราณอีกแบบหนึ่ง ความหมาย ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ส่วนความหมายอีกอย่าง ทำเพื่อแก้บน ซึ่งผู้ทำได้บนบานไว้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น เรื่องเจ็บป่วย มีเรื่องไม่ดีไม่งาม เรื่องการไปทางไกล ฯลฯ พอสิ้นเรื่องราวแล้ว เจ้าตัวก็จะทำต้นดอกผึ้งไปเส้นสรวงถวายเทพเจ้าเพื่อเป็นการแก้บนไว้ แต่การทำเทียนแบบนี้ เขาจะใช้กาบกล้วย ซึ่งแกะแคะออกจากลำต้นมาทำ หักพับเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือเอาต้นกล้วยยังเล็กอยู่มาทำ โดยใช้ดอกพิมพ์จากแบบพิมพ์ แม่พิมพ์ก็อาศัยแบบจากตัดเอาก้านกล้วยบ้าง เผือกบ้าง มันแกว มันเทศบ้าง มาแกะเป็นรูปดอกไม้ ใช้ไม้เสียบ จุ่มลงในขี้ผึ้งที่ต้มให้ละลาย แล้วนำมาจุ่มลงในน้ำเย็น ดอกจะหลุดลงอยู่ในน้ำเย็น เมื่อแข้งตัวแล้ว นำดอกไปกลัดติดกับลำต้นกล้วยที่นำมาเตรียมไว้ หรือกาบกล้วย ให้เกิดความสวยงาม ปัจจุบัน เจ้าศรัทธาที่ร่ำรวย ก็พัฒนาทำเป็นเค้าโครงด้วยไม้ เป็นรูปร่างเหมือนปราสาทจริงๆ ก็มี
    เทียนปราสาทผึ้ง หรือต้นดอกผึ้ง (ชาวบ้านเรียก เผิ่ง) ยังทำให้เห็นอยู่โดยตลอดปัจจุบัน โดยเฉพาะในท้องถิ่นชนบท
    3. เทียนพุ่ม ความมุ่งหมาย จัดทำเพื่อให้เกิดความสวยงาม ประกอบกับเป็นเทียนที่มีขนาดเล็กและสั้น เจ้าศรัทธาจะนำเทียนก่อนจะถวายมัดรวมไว้ ส่วนมากเป้นเทียนที่ฝั้นเสร็จตั้งในขันหรือพานไม้ที่มีอยู่ ให้ไส้เทียนอยู่เบื้องบน ดูๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่สมัยโบราณ คงยกย่องและสรรเสริญในแนวความคิดที่จัดทำแบบแปลกๆ ความมุ่งหมายที่แท้จริง ก็เพื่อถวายพระสงฆ์เท่านั้น ถือว่าได้กุศล
    4. เทียนมัดรวม ความมุ่งหมายที่แท้จริง ก็หมายถึง เอาไปถวายพระสงฆ์ในสำนักสงฆ์ หรือวัด
    เทียนมัดรวม ก็เหมือนเทียนพุ่ม แต่ในกาลต่อมา ได้มีการประดิดประดอย ตกแต่งต้นเทียนสั้น ยาว ปานกลาง ตั้งขึ้น นำเชือกปอ ตัดกระดาษสีมารัดเป็นเปลาะๆ ให้แปลกตาเกิดความสวยงาม ถึงกับระยะเวลาต่อมา ได้มีการท้าทายของชาวคุ้มวัดต่างๆ เพื่อประกวดประชันว่า ของใครจะทำดี ทำสวย ทำแปลก มีการแห่แหนด้วยหมอลำ หมอขับ หมอร้อง มีเครื่องดนตรี ดีดสีตีเป่า ตามแต่จะหาได้​
    เทียนทั้งสี่ชนิด สี่ประเภท ล้วนเป็นเรื่องราวที่มาของคำบอกเล่าว่า เป้นเทียนโบราณ อนุชนรุ่นหลังรุ่นปัจจุบัน ไม่รู้ ไม่เห็น จึงได้มีการสืบเสาะแสวงหา ดังปรากฏขณะนี้
    ผู้เป็นต้นคิดคือ ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
    ผู้นำมาเสนอเรียยบเรียง คือ นายประดับ ก้อนแก้ว อดีตผู้อำนวยการ โรงเรียนอุบลวิทยาคม
    ที่ปรึกษา นายบำเพ็ญ ณ อุบล อดีตอัยการ และนายสุวิชช คูณผล อดีตปลัดเทศบาล
    http://guideubon.com/news/view.php?t=27&s_id=6&d_id=2
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  5. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    พระในบ้านคือพ่อแม่

    ความเป็นพระในบ้านของพ่อแม่นั้นจะมีสักกี่คนกันที่รู้ เพราะเรามักจะมุ่งหากันแต่พระนอกบ้าน หากันแต่พระที่ไม่มีลมหายใจ แม้จะต้องซื้อหามาด้วยราคาแพง แม้จะต้องลงทุนลงแรงมากมายกว่าจะได้มา และก็มักจะเฝ้าปรนเปรอหรือบูชาแต่พระนอกบ้านเช่นนั้นเท่านั้น แต่พระในบ้านซึ่งมีลมหายใจอยู่หรือใกล้ชิดอยู่กับตัวเราตลอดเวลา เรากลับมองข้ามไปเสีย เรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นคนอยู่วัยไหนฐานะอย่างไร ย่อมเป็นเหมือนกันได้ทุกที่

    เหมือนกันในข้อที่ไม่รู้จักว่าพระในบ้านคือใคร
    มีเรื่องที่เล่ากันสืบมาว่า มีคุณนายคนหนึ่งเป็นคนใจบุญพอควรทีเดียว ดูได้จากการที่ตักบาตรทุกเช้า และหลังจากนั้นก็จะถือสำรับกับข้าวที่บรรจงจัดอย่างประณีตแล้วนำไปวัดแห่งหนึ่งทางฝั่งพระนคร เพื่อถวายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯผู้เป็นเจ้าอาวาส เพราะมีความเคารพนับถือในจริยาวัตรของท่าน และชอบฟังท่านคุยหรือเล่าเรื่องอะไรต่อมิอะไรให้ฟัง เรียกว่ามีเวลาว่างหลังจากตักบาตรตอนเช้าแล้ว คุณนายคนนั้นเป็นต้องมาวัดให้ได้ทุกวัน อาหารที่จัดมาก็ประณีตทุกอย่างเพื่อให้สมกับนำมาถวายสมเด็จฯ อยู่คุยกับท่านพอสมควรแล้วก็กราบลากลับ ทำอยู่เช่นนี้เป็นประจำ
    วันหนึ่งหลังจากคุณนายกลับแล้ว พระหนุ่มรูปหนึ่งซึ่งเป็นศิษย์ก้นกุฏิของสมเด็จฯได้กราบเรียนว่า คุณนายคนนี้เป็นคนใจบุญสุนทานจริง แต่เคยได้ยินว่าเป็นคนใจแคบ มีแม่อยู่ที่บ้านด้วยก็ปล่อยให้อดๆอยากๆ ไม่ค่อยเอาใจใส่ปล่อยให้อยู่ในห้องแคบๆ ที่เรือนคนใช้หลังบ้าน ส่วนตัวเองพร้อมลูกๆอยู่บนตึกใหญ่สะดวกสบายทุกอย่าง เขาว่าตอนอยู่บ้านนั้นพูดจากับแม่ ฟังไม่ค่อยได้เลย ผิดกับที่มาพูดอยู่ที่วัดอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ แม่จะเดินออกมาหน้าบ้านบ้างก็ไม่ได้ กลัวเขาจะเห็นว่ายังมีแม่แก่อยู่ในบ้านอายเขา มีคนมาเล่าให้ฟังเช่นนี้หลายรายแล้ว เท็จจริงอย่างไรไม่ทราบได้

    ฝ่ายสมเด็จฯท่านได้ฟังพระว่าก็ไม่พูดอะไร นั่งฟังเฉยอยู่ ต่อมาอีกหลายวันท่านไปกิจนิมนต์นอกวัด และบังเอิญขา
    กลับต้องผ่านทางบ้านคุณนายด้วย ท่านจึงแวะบ้านคุณนายก่อน คุณนายดีใจมากที่สมเด็จฯ มาถึงที่บ้าน เพราะไม่เคยมีพระมาที่บ้านเลยในยามปกติ นอกจากเวลาทำบุญเท่านั้น จึงถือว่าเป็นนิมิตมงคลอย่างสูงสุดที่พระขั้นสมเด็จฯ มาเหยียบบ้าน จึงเรียกลูกหลานเข้ามากราบไหวท่านเป็นการใหญ่ ให้ท่านอวยชัยให้พรลูกหลาน แล้วชวนท่านคุยเรื่องต่างๆมากมาย สมเด็จฯ ท่านก็คุยบ้างถามสุขทุกข์บ้างตามธรรมเนียม
    ตอนหนึ่งสมเด็จฯ ท่านถามคุณนายว่า "พระในบ้านของคุณนายมีบ้างไหม ?"
    คุณนายได้ยินเข้าก็รีบตอบว่าพระในบ้านของตนมีมากมายเป็นพระเก่าๆทั้งนั้น สมัยสุโขทัยก็มี สมัยเชียงแสนก็มี พร้อมกับพูดอวดใหญ่ และชวนสมเด็จ ขึ้นไปดูห้องพระข้างบน
    สมเด็จฯ ท่านทราบว่าคุณนายยังเข้าใจผิดอยู่ จึงถามขึ้นว่า
    " ได้ทราบว่าคุณนายยังมีแม่อยู่มิใช่หรือ เดี๋ยวนี้ท่านอยู่ไหนเล่า?"
    คุณนายได้ยินเข้าถึงกับเสียวแปลบเข้าไปในหัวใจ ไม่นึกว่าจะถูกจู่โจมด้วยคำถามชนิดฟ้าแลบอย่างนี้จากสมเด็จฯ จะตอบไปตามตรงว่าแม่อยู่หลังบ้าน ก็กลัวสมเด็จฯ จะเดินไปดู และจะเห็นสภาพความเป็นอยู่ของแม่แล้วท่านจะตำหนิเอาได้ ก็เลยอึกๆอักๆ ตอบส่งๆไปว่า ตอนนี้แม่ไม่อยู่ออกไปเยี่ยมญาติคงอีกนานกว่าจะกลับ
    สมเด็จฯ ท่านก็ไม่ต่อความอีก เพราะเริ่มจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไรแล้ว พอสมควรแก่เวลาท่านก็ลากลับ หลังจากนั้นก็พบกับคุณนายอีกเป็นประจำเหมือนเคย จนวันหนึ่งท่านเห็นคุณนายยิ้มแย้มแจ่มใสดี พูดคุยรื่นเริงการทำบุญสุนทานและยังมีเวลาอีกพอควรที่จะถึงเวลาเพล ท่านจึงถามขึ้นว่า
    " พระในบ้านของโยม โยมดูแลเรียบร้อยดีแล้วหรือ?"
    คุณนายก็ตอบอย่างยิ้มย่อง ด้วยความเข้าใจผิดเช่นเคยว่า
    " เจ้าค่า อิฉันจัดถวายท่านเรียบร้อยทุกวันแหละค่ะ ก่อนจัดมาถวายท่านนี่ อิฉันต้องจัดถวายในห้องพระก่อน จุดธูปเทียนบูชาถวายข้าวพระเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงนำมาถวายที่วัดนี่แหละ พระเดชพระคุณไม่ต้องห่วงหรอก อิฉันทราบดีว่าอะไรเป็นอะไร "
    อวดสรรพคุณของตัวไปโน่นเลย
    " อาตมามิได้หมายถึงพระพุทธรูปนะโยม พระในบ้านที่อาตมาหมายถึง พระที่มีลมหายใจ คือแม่ผู้มีพระคุณของโยมน่ะ "
    ถึงตอนนี้คุณนายเลยนิ่งเป็นรูปปั้นไปโดยอัตโนมัติ ส่วนสมเด็จฯท่านก็พูดต่อไปเรื่อยๆ
    " คนเราน่ะมีพระอยู่ในบ้านกันทุกคน พระที่มีลมหายใจนะ บางคนมีพ่อ บางคนเหลือแม่ บางคนโชคดีเหลือทั้งพ่อทั้งแม่อยู่ในบ้าน นับเป็นบุญมหาศาล ใครเหลือเท่าไหร่ก็ควรจะได้เอาตาดูเอาหูใส่ท่านบ้าง ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่ ปล่อยให้ท่านอดๆอยากๆ เจ็บไข้ได้ป่วยอย่างไรก็ดูแลท่านบ้าง ท่านแก่แล้ว ท่านกินท่านใช้จะหมดเปลืองไปสักเท่าไรเชียว ใช่ไหมโยม?"
    " เจ้าค่ะ ใช่ "
    จำใจเงยหน้ามองตาสมเด็จฯ แล้วตอบ
    " โยมก็เหมือนกัน " สมเด็จฯพูดตรงๆเลยคราวนี้เรียกว่าหลังจากขึ้นสายมานานแล้ว ตอนนี้ก็ปล่อยธนูออกไปเลยทีเดียว เพราะท่านทราบดีว่า คนเราบางคนนั้นต้องว่าต้องสอนกันแบบตรงๆจึงจะรู้สึก
    " ทราบว่าเหลือแม่อยู่คนเดียวเท่านั้น แต่โยมไม่ค่อยสนใจในความเป็นอยู่ของท่านเท่าไรนัก ปล่อยให้อยู่ในห้องแคบๆ อับทึบแทบไม่มีอากาศหายใจอยู่หลังบ้าน ทั้งๆที่ความจริงแล้วท่านเป็นเจ้าของบ้านและที่ดินทั้งหมดที่โยมอยู่โยมอยู่อย่างสบาย แต่ปล่อยให้ท่านลำบาก ไม่สงสารท่านบ้างหรือ?"
    ตอนนี้คุณนายนิ่งเงียบจริงๆ ตอบไม่ได้เพราะก้อนสะอื้นกำลังแล่นขึ้นมาจุกคอ
    " โยมจัดอาหารถวายพระในห้องได้ทุกวัน แต่พระในบ้านอีกองค์หนึ่ง คือ แม่ โยมไม่เคยจัดหาให้ และตอนที่จัดหามาให้อาตมานี่ อาตมาสังเกตดู โยมจัดมาอย่างดีทีเดียว ทำก็ประณตบรรจง เมื่อก่อนอาตมายังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ก็ฉันของโยมไปตามปกติ แต่ตอนนี้บอกตามตรงว่ามันกลืนไม่ค่อยลงมาหลายวันแล้ว เพราะอาตมารู้ว่าอาตมานี่เป็นพระในวัดดูจะเอาเปรียบพระในบ้านของโยมเกินไปเลยกลืนไม่ลง อาตมาน่ะอย่างไรก็ได้ พระเราจะเลือกฉันแต่ที่ดีๆไม่ได้ โยมลองคิดดู..."
    ท่านเว้นระยะนิดหนึ่งแล้วพูดต่อ
    " อาตมาคิดมาหลายวันแล้วว่าจะพูดดี หรือไม่พูดดีสุดท้ายตกลงใจว่าพูด เพราะเห็นใจแม่ของโยม สงสารโยมแกเพราะผลการกระทำของโยมจะตกแก่ตัวโยมต่อไป ลูกหลานของโยมเองก็เห็นโยมทำกับแม่เช่นนี้ มันก็จะจำเอาไป แล้วทำกับโยมบ้าง และทำกันต่อๆไป ไม่สิ้นสุดสักที เพราะเห็นว่าแม่ทำได้ ยายทำได้ เราก็ทำได้เหมือนกัน อาตมาพูดแล้วโยมจะโกรธเคืองอาตมาก็ตามใจเถอะ อาตมาพูดด้วยความหวังดีต่อโยม โยมลองคิดดูให้ดีก็แล้วกันนะโยมนะ "
    น้ำตาเจ้ากรรมมันพังลงจากทำนบตาของคุณนายเมื่อไรไม่ทราบ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีแล่นเข้าจับหัวใจตามวิสัยของคนผิดที่กลับตัวกลับใจได้ทันเวลา สะอื้นพลางกราบลาสมเด็จฯโดยไม่กล่าวคำอำลาสักน้อยหนึ่ง จะโกรธสมเด็จฯที่พูดจี้ใจดำหรือไม่ ไม่ทราบได้
    แต่หลังจากนั้น สมเด็จฯท่านก็ได้ทราบข่าวมาว่าคุณนายเงียบเหงาไปไม่ร่าเริงเหมือนแต่ก่อน และจัดการย้ายห้องแม่ให้ไปอยู่ติดๆกับห้องตนบนตึกใหญ่ชั้นล่าง ดูแลปรนนิบัติท่านอย่างดี ไม่ค่อยออกนอกบ้านเช่นแต่ก่อน และกว่าจะเข้ามาหาสมเด็จฯ อีกก็ต่อเมื่อเวลาล่วงไปแล้วได้หลายเดือน
    ไม่กล้าเข้าหน้าสมเด็จฯ เพราะความละอายใจนั่นเอง
    สาธุ
    ! นับเป็นบุญของคุณนายคนนั้น ที่ได้พบพระเช่นสมเด็จฯองค์นั้นเสียก่อน และเป็นบุญยิ่งนักที่กลับนื้อกลับใจเสียใหม่ได้เมื่อยังไม่สายเกินไป เวลาที่สนองพระคุณแม่นั้นยังพอมีอยู่บ้าง แม้ว่าจะเพียงเล็กน้อยก็ยังดี ผิดกับบางคน กว่าจะรู้ว่าพ่อแม่เป็นพระในบ้านผู้ประเสริฐ ก็สายเสียแล้ว คือกว่าจะรู้ก็ต่อเมื่อท่านทั้งสองไม่มีตัวตนอยู่ในโลกนี้แล้ว หรือบางคนแม้จะมีผู้พูดกรอกหูให้ฟังอยู่ทุกวัน ก็ยังไม่รู้สึก ปล่อยให้พระในบ้านของตนลำบากลำบนอยู่เหมือนเดิม
    ก็แล้วมาถึงตัวท่านบ้างละ ขอถามว่าพระในบ้านของท่านยังสบายดีอยู่หรือ?
    จากหนังสือพระในบ้าน พระธรรมกิตติวงศ์ ( ทองดี สุรเตโช ) ป.ธ.๙.ราชบัณฑิต
     
  6. หญ้าคา

    หญ้าคา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    247
    ค่าพลัง:
    +138
    เล่นเอาน้ำตาไหลคิดได้ขึ้นมาทันที่ ความโง่ของผมมันเยอะ มีพระในบ้านไม่ค่อยได้ดูแลเท่าที่ควร อนุโมทนาสาธุครับผม
     

แชร์หน้านี้

Loading...