ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ขอถามในบอรด์เลยก็แล้วกันนะครับ รบกวนช่วยตอบเป็นวิทยาทานสักนิดครับ

    ถ้าวัตถุมงคล พิธีพุทธาภิเษกเดียวกัน อิทธิคุณจะเหมือนกันรึเปล่าครับ
    สมมุติว่ามี วัตถุมงคล/พระเครื่อง ที่มีพิมพ์ต่าง ๆ กัน (กรณีมีมวลสารเหมือนกัน)
    เช่น ในการเสกครั้งนี้อาจมี พิมพ์ขุนแผน พิมพ์นาคปรก พิมพ์สมเด็จ พิพม์นางพญา ฯ
    (ปกติก็ผมก็จะเคยได้ยินเชียนทั้งหลายเขียนเชียร์เอาไว้ พระขุนแผนนี่สุดยอดเด่นเมตตา พิมพ์สมเด็จเด่นด้านแคล้วคลาด ฯลฯ)

    แล้วถ้าหากวัตถุมงคลนั้นมีมวลสารต่างกัน เช่นเป็นเนื้อดิน เป็นพระกริ่ง เนื้อว่าน เนื้อนวโลหะ
    พลังอิทธิคุณจะเหมือนกันหรือไม่ (จากพิธีเดียวกัน)
    สมมุติว่าพลังของผู้เสกแผ่ถึงทุกองค์/ชิ้น/อัน

    หากข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อ พระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ ไม่ว่ากายก็ดี วาจาก็ดี ใจก็ดี ข้าพเจ้ากราบขอขมา
    โมทนาบุญกับทุก ๆ ท่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2008
  2. runchoo_man

    runchoo_man เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    597
    ค่าพลัง:
    +593
    ร่วมทำบุญด้วย 100 ครับ
     
  3. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +3,886

    น้องโอ๊ตถามเป็นชุดเลยจะตอบให้เป็นข้อๆผิดถูกอย่างไรก็พิจารณาเอาเองนะ ยังไม่ต้องเชื่อทั้งหมด
    1 พระพิธีเดียวกันเสกพร้อมกันก็ไม่เหมือนกันทั้งหมด ไม่ใช่เพราะพิมพ์ต่างกัน แต่เพราะเวลาเททองหล่อหรือกดพิมพ์พระก่อนนำมาเสก พระแต่ละองค์เกิดขึ้นมาในฤกษ์ต่างๆกันไม่สามารถทำพระพร้อมกันมากๆในฤกษ์เดียวกันได้ โดยเฉพาะปัจจุบันโรงงานเททองหรือกดพิมพ์พระที่ละมากๆไม่สนใจฤกษ์ และฤกษ์ที่ตรงจริงๆแต่ละฤกษ์มีเวลาน้อยมาก ไม่กี่นาที(ถ้าท่านใดไปเททองพระ ปิยะบารมี ที่ทุนนิธิฯสร้างก็จะทราบดีครับ) ฉนั้นเมื่อนำมาเสกก็ประจุพลังได้ไม่เท่ากัน ส่วนพิมพ์ต่างๆกันก็อาจมีอิทธิคุณต่างๆกันได้ถ้าผู้อธิษฐานจิตเจตนาให้เป็นไป แต่ถ้าไม่ระบุก็เหมือนๆกันไม่เกี่ยวกับพิมพ์แต่ประการใด

    2. ส่วนเรื่องมวลสารนั้น ผู้รู้บางท่านกล่าวว่า
    -เนื้อโลหะและเนื้อดินมักจะเป็นคงกระพันสูงกว่าเมตตา เพราะผ่านเตโชธาตุ โดยการหลอมละลาย หรือเผาดิน แต่ก็ไม่เสมอไป พระเนื้อดินของหลวงพ่อหลายองค์เมตตาสูง
    -เนื้อผง ว่าน มักเป็นเมตตาแคล้วคลาด เพราะได้รับการกำเนิดจากการลบผงวิเศษต่างๆ มีการผสมน้ำหรือมวลสารที่เป็นของเหลวในการเป็นตัวประสาน แต่ก็ไม่เสมอไปอีกเช่นกัน พระสมเด็จเคยมีประสบการณ์ยิงฟันไม่เข้ามามาก

    สรุปไม่เกี่ยวกับพิมพ์หรือเนื้อมวลสาร จุดสำคัญอยู่ที่เจตนาและจิตของผู้เสกผู้เชิญบารมีพระให้เป็นไปทางใดต่างหากครับ
     
  4. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840

    ขอขอบคุณและโมทนาครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ

    น้องโอ๊ต
     
  5. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ธรรมะจากข่าว : รวยด้วยธรรม...รวยแบบยั่งยืน


    ในช่วงภาวะเศรษฐกิจและปัญหาของประเทศชาติมีความสับสนวุ่นวาย น้ำมันขึ้นราคา น้ำท่วมภาคเหนือ
    ปัญหาความไม่สงบของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
    ทุกครั้งที่ออกไปเทศน์ ญาติโยมมักถามอาตมาเสมอๆ ว่า มีธรรมของพระพุทธเจ้า หรือ ใช้ธรรมข้อใดดี
    จึงจะบริหารธุรกิจให้ดำเนินไปด้วยความราบรื่น เจริญขึ้นอย่างมั่นคง หรือที่เรียกว่า "รวยแบบยั่งยืน"
    เมื่อพูดถึง "ความรวย" ใครๆ ก็อยากรวยด้วยกันทั้งนั้น แต่ไม่มีใครคิดว่า วิธีการปฏิบัติตน ให้นำไปสู่จุดมุ่งหมายของความรวยนั้นมีอะไรบ้าง
    ในหลักของพุทธศาสนานั้น ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักพอ มีเท่าไรก็ถือว่าไม่รวย และหากเรา รู้จักพอ ความรวยก็เกิดขึ้นแล้ว
    คำถามนี้จึงต้อง ยกเรื่องปฏิบัติตามหลักธรรม ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ปัจจุบัน หรือหลักธรรม อันอำนวยประโยชน์สุขขั้นต้น
    ที่เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔ ประการ ประกอบด้วย

    ๑.อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ ขยันหมั่นเพียร ในการปฏิบัติหน้าที่การงาน และการประกอบอาชีพที่สุจริต
    ฝึกฝนให้มีความชำนิชำนาญและรู้จริง รู้จักใช้ปัญญาสอดส่อง ตรวจตรา หาวิธีการที่เหมาะที่ดีจัดการและดำเนินการให้ได้ผลดี

    ๒.อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือ รู้จักคุ้มครอง เก็บ รักษาโภคทรัพย์และผลงานที่ตน ได้ทำไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
    โดยชอบธรรมด้วยกำลังของตน ไม่ให้เป็นอันตรายหรือเสื่อมเสีย

    ๓.กัลยาณมิตตตา คบหาดนดีเป็นมิตร คือ รู้จักเสวนาคบหาคน ไม่คบไม่เอาอย่างผู้ที่ชักจูงไปในทาง เสื่อมเสีย
    เลือกเสวนาศึกษาเยี่ยงอย่างท่านผู้รู้ผู้ทรงคุณ ผู้มีความสามารถ ผู้น่าเคารพนับถือ และมีคุณสมบัต ิเกื้อกูลแก่อาชีพการงาน

    ๔.สมชีวิตา เลี้ยงชีวิตแต่พอดี คือ รู้จักกำหนดรายได้และรายจ่ายเป็นอยู่พอดีสมรายได้ มิให้ฝืดเคือง หรือฟุ่มเฟือย
    ให้รายได้เหนือรายจ่ายมีประหยัดเก็บไว้

    ธรรมะทั้ง ๔ ข้อนี้ องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้เคยตรัสไว้เมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งก็สามารถนำมา ใช้ได้ ณ กาลปัจจุบัน และอนาคต แต่ชาวพุทธจำนวนไม่น้อยไม่เห็นคุณค่าในธรรมะของพระพุทธเจ้า

    ส่วนใหญ่มักคิดว่า สุดยอดของหลักการบริหารธุรกิจต้องยึดหลักทฤษฎีของนักคิดชาวตะวันตกเท่านั้น ใครที่คิดเช่นนี้เรียกว่าพวก "ใกล้เกลือกินด่าง"

    พระราชญาณวิสิฐ (หลวงป๋า)

    แหล่งที่มา
    http://www.komchadluek.net/column/pra/2006/01/12/01.php
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2008
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,777
    ค่าพลัง:
    +16,086
    ฝากนิดนึงครับ หากใครต้องการทำบุญเพื่อซื้อผ้ามัสสลินสำหรับทำสบง ผ้าอาบฯลฯ ให้พระสงฆ์ที่อาพาธไว้ผัดเปลี่ยนหรือใช้สอยที่ รพ.ศรีนครินทร์ที่ จ.ขอนแก่น ตามที่ได้รับทราบว่า ทาง รพ.ต้องการด่วนแล้ว ช่วยกรุณาแจ้งให้ทราบว่าเป็นการโอนเงินเพื่อซื้อผ้าในพับที่ 2 ด้วย เพราะจะได้แยกออกจากรายการใช้จ่ายตามปกติครับ ขอสรุปยอดในวันจันทร์ ก่อน 21.00 น.ครับ

    ขออนุโมทนากับพวกเราอีกครั้งครับ

    พันวฤทธิ์
    2/8/51
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,777
    ค่าพลัง:
    +16,086
    เมื่อวานได้มีโอกาสคุยในเรื่องนี้กับพี่ใหญ่ พอมาถึงประเด็นนี้ คุยกันนานมาก และถือว่ายากที่สุด เนื่องจากองค์ประกอบของการปลุกเสกขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมายเช่น
    1.พลังจิตของผู้เสก
    2.ฤกษ์ที่ใช้เสก
    3.มวลสารที่นำมาทำ
    4.ประเภทพระหรือเครื่องรางที่นำมา
    และ 5. เจตนาของผู้ขอปกาศิตการสร้างพร้อมความสมบูรณ์ของพิธี

    โดยยกตัวอย่างที่เป็นนามธรรมในรูปของการเสกที่เป็นความสามารถทางจิตให้ทราบดังนี้ เช่นในการเสกพระของหลวงพ่อกัสสปะมุณี จ.ระยอง ซึ่งจิตของท่านรวดเร็วแข็งแกร่งมาก อธิษฐานจิตเป่าพรวดเดียวเป็นลำแสงยาวติดของเท่าทั้งหมด ไม่ต้องใช้ฤกษ์ยามใด เอาแค่จิตเป็นใหญ่จิตเป็นประธาน หรืออย่างกรณีที่พระที่แจกโดยทุนนิธิฯ ไม่มีราชวัตรฉัตรธง พระสิวลี ท่านผ่านลงมา พอนิมนต์ท่านๆ ก็เมตตา วูบเดียวแสงจ้าไปหมดทั้งกองพระ นี่คือพลังทิพย์อันแข็งกล้าตามข้อ 1. ส่วนพระในปัจจุบันก็ย่อหย่อนกันบ้างคือไม่เสมอกัน บางองค์จึงต้องขอเวลาเพิ่ม 1 เดือนบ้าง 1 พรรษาบ้าง 3 ปีบ้าง เพื่อความมั่นใจ ส่วนในข้อ 2. ก็เนื่องมาจากหากพลังในข้อ 1.ไมเพียงพอก็ต้องใช้ฤกษ์ยามช่วยด้วย ส่วนข้อ 3. ก็เช่นกัน เพราะการใช้พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณช่วยกันบรรจงลงเลขยันต์ เพราะหลายท่านการสำเร็จทางจิตอาจต่างกันตามภูมิธรรม เช่นองค์นี้สำเร็จกสิณไฟ องค์นี้กสิณดิน องค์นี้ได้ชั้น อนาคา องค์นี้ได้อรหัตผล ก็นำมาเสริมมาแต่งกัน ถึงต้องมีพระพิธีธรรมมาช่วยสวดคุมธาตุ ตั้งธาตุใหม่เพื่อให้เสมอกัน ส่วนข้อ 4. ก็แล้วแต่องค์ผู้อธิษฐานจิตว่าหากเห็นเป็นพระพุทธเจ้าก็จะเชิญพระปริสุทธิคุณท่านมา แต่หากเห็นเป็นรูปพระสิวลี หรือพระสังกัจจายน์ ก็อาจจะเชิญท่านมาเพิ่มเติมเพื่อให้พระพิมพ์ที่เป็นเสมือนตัวแทนท่านนั้นมีญาณท่านอยู่ด้วยก็ได้ 5. ส่วนข้อสุดท้ายปกาศิตหรือพิธี ก็เพื่อเป็นการเน้นย้ำในคุณวิเศษของพระพิมพ์นั้น เช่นต้องการให้คุ้มครองและคงกระพันก็ต้องปกาศิตเป็นคงกระพัน อาจจะมีเครื่องศาสตราต่างๆ ประกอบในพิธีด้วยเป็นต้นครับ โดยหลักๆ ที่พี่ใหญ่ให้ข้อมูลประกอบเป็นหัวข้อไว้ ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่พอจะตอบคำถามข้างต้นได้ไม่มากก็น้อยครับเพราะถือเป็นคำตอบขั้นสูงที่ผมไม่สามารถตอบเองได้ ต้องให้ผู้มีความสามารถทางจิตอธิบายให้ จึงเข้าใจเช่นกันครับ
     
  8. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ช่วยให้ความกระจ่างครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ

    น้องโอ๊ต
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,777
    ค่าพลัง:
    +16,086

    เอ้า...นึกถึงแต่เรื่องฤทธิ์ ทานะ ปรมี สร้างไว้หรือยัง เมื่อสร้างแล้วเป็นแบบนี้รึเปล่า เมื่อคืนดูดนตรีกวีศิลป์ ทางไทยพีบีเอส เรื่องบทเพลงทางพระศาสนา กล่าวถึงเรื่องการทำบุญ 3 แบบไว้ ลองศึกษาดูตามนี้เด้อ...

    การทำบุญสามแบบ


    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    สัมเพ สังขารา อนิจจา
    สัมเพ สังขารา ทุกขา
    สัมเพ ธัมมา อะนัตตา
    ติยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
    อะถะ นิพพินทะติทุกเข
    เอสะ มัคโค วิสุทธิยาติ
    ธัมโม สัจจะจัง เต ชะ โนติ
    เอตัง ปันยัง เนเทปนาโม ปหิรา ปัญญานิ สุขามหานิ อะถะ โลกาวิฆัง ปาฌเห สันติเบกโข ธัมโม โสคชัง โหนติ.


    ณ บัดนี้จะได้วิปัสนาธรรมเทศนา ในบุญยสถาเพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธา ความเชื่อ และวิริยะความพากเพียร ของท่านทั้งหลาย


    ผู้ที่เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้า ในทางพระศาสนา ของพระบรมศาสดา อันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมเทศนาในวันนี้เป็นธรรมเทศนาอภิเษก ปราศรถให้ท่านทั้งหลาย บำเพ็ญ ทรัพสินาธานเป็น ภิเษกอีกนั้นเอง จะได้วิปัสนาในบุตยสถา คือเรื่องที่เกี่ยวกับบุญ เพราะว่าสิ่งที่เรียกว่าบุญสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ สำหรับพุทธบริษัททั้งหลาย แม้ว่าท่านทั้งหลายที่มาประชุมกันที่นี่ ก็มีมูลเหตุมาจากความต้องการบุญ ในที่สุดคนก็พูดถึงแต่เรื่องบุญ มาทำบุญ ไปทำบุญ คือวิ่งว่อนไปหมด นี่เรียกว่าเกี่ยวกับการทำๆบุญ แล้วนึกถึง ฝันถึงอยู่แต่เรื่องบุญ นี่เป็นที่จะต้องกระทำให้เป็นบุญ กันขึ้นมาจริงๆ จึงเป็นเรื่องที่จะนำเอามาพิจารณาอยู่บ่อยๆ เพื่อให้เป็นบุญยิ่งขึ้น และกว่าจะถึงจุดสิ้นสุด เพราะเหตุฉะนั้นผู้ใดที่ต้องการบุญ จงตั้งใจฟังให้เป็นอย่างดี อย่าฟังพอเป็นพิธีเหมือนคนโดยมาก เป็นคนโง่ ไม่รู้ว่าการทำบุญนั้นคืออะไร ทำอย่างไร เพื่ออะไร การทำบุญ โดยศักดิ์เหมาๆเอาว่าเป็นบุญ เขาทำอย่างไร ก็ทำตามเขาแล้วก็ได้บุญ อย่างนี้มีกันอยู่ทั่วไป เรียกว่าได้บุญตามเขาว่า ได้บุญอย่างละเมอ เพ้อฝันไปเท่านั้นเอง


    [​IMG] บางทีไม่คุ้มกับบุญด้วยซ้ำไป เพราะจะเปรียบเทียบกับบุญชนิดนั้นได้ กับสิ่งที่เป็นเปลือก เท่านั้นเอง บางคนยังยิ่งไปกว่านั้นเสียอีก คือว่าศักดิ์แต่ว่าจะทำบุญก็แล้วกัน ไม่รู้ว่าเอาบุญไปทำอะไรนี้ เป็นคนโง่มาก น่าสงสารที่สุด คือว่าทำบุญก็แล้วกัน ไม่รู้ว่าเอาบุญนั้นไปทำอะไร ข้อนี้เปรียบเหมือนกันกับคนที่เลี้ยงไก่ เป็นคนโง่เลี้ยงไก่ อุตส่าห์เลี้ยงไก่ด้วยความยากลำบาก หมดเปลืองสิ่งของ หมดเปลืองเวลา ครั้นไข่โตออกมา ก็หารู้ไม่ว่าไข่นั้นมีประโยชน์ ก็ปล่อยให้ไข่นั้นเรี่ยราดอยู่นั่นเอง หาได้เก็บไว้ไม่ ปล่อยให้หมามันกิน คนเหล่านี้จะโง่เขลาเท่าใดท่านทั้งหลายลองคิดดูเถิด ก็จะเรียกได้สั้นๆว่า คนที่เลี้ยงไก่ มีไข่ไว้ให้หมากิน ตัวเองไม่ได้สนใจ เพราะไม่เข้าใจว่าไข่นั้นคืออะไรนี้ เหมือนกับทายก ทาริกาทั้งหลาย ที่มัวแต่ทำบุญแต่ไม่รู้ว่าบุญคืออะไร จะเอาไปทำอะไร ก็หาได้สนใจ


    ในส่วนที่เป็นบุญจริงๆไม่ สนใจแต่เรื่องทำบุญเท่านั้น ก็เหมือนคนโง่ที่เอาแต่เลี้ยงไก่ ก็หาได้สนใจไม่ ลองพิจารณาดูเอาเถิดว่าคนชนิดไหน ทายกทายิกาพวกไหน ที่เป็นคนโง่เลี้ยงไก่ มีไข่ไว้ให้หมากิน คือทายกทายิกา ทำบุญเลี้ยงพระ บำรุงสัตว์ บำรุงศาสนา แล้วก็หาได้เอาตัวรับศาสนาไปปฎิบัติไม่ มีแต่ทำบุญเลี้ยงพระ ให้ทานบำรุงสัตว์ ศาสนาอย่างเดียว ไม่รู้จักรับศาสนามาศึกษาและปฎิบัติ และให้รับประโยชน์เต็มแต่ตามควรที่จะได้รับ คนชนิดนี้แหละที่ทำบุญ เหมือนกับเลี้ยงไก่ มีไข่ไว้ให้หมากิน ทำบุญมากมายจนตลอดชีวิตจนเป็นอย่างนั้นอยู่นั้นเอง เพราะว่าจิตใจไม่ได้ดีขึ้น กิเลสไม่ได้เบาบางลง


    ไม่รู้ว่าพระพุทธศาสนาคืออะไร ไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่รู้ว่าหัวใจของพระพุทธศาสนาคืออะไร เพียงแต่ไม่รู้ก็ไม่รู้ซะแล้ว แล้วจะปฎิบัติอย่างไร ก็เลยไม่ได้มรรคผลประการใดนี้ เรียกว่าทายกทายิกา ที่เลี้ยงไก่ มีไข่ไว้ให้หมากิน ขออภัยที่ต้องใช้คำตรงๆ แบบนี้เพราะว่าเป็นการช่วยความจำได้ ว่าทายกทายิกาทั้งหลาย จงหยุดการบำเพ็ญบุญชนิดเลี้ยงไก่ มีไข่ไว้ให้หมากิน เสียเถิด จงได้ขยายเลี้ยงไก่ไปในที่ว่ารู้จัก หรือเอาไข่จากไก่ไปเป็นประโยชน์ ให้ได้ให้มากถึงที่สุดเถิด ขอให้บำรุงศาสนาแล้วให้ได้รับประโยชน์ศาสนา เป็นผู้เรียนรู้ศาสนา ปฎิบัติตัวศาสนา เป็นผู้มีจิตใจที่สะอาด มีจิตใจที่สว่าง และมีจิตใจที่สงบ ความที่มีจิตใจสะอาด สว่าง สงบนี้แหละ คือตัวแท้ของศาสนา คือเยื่อเนื้อของศาสนา เหมือนกับไข่ไก่ที่มีประโยชน์ ส่วนอาการที่ศักดิ์แต่เลี้ยงทำบุญนั้นไม่สำเร็จประโยชน์ก่อน เป็นแต่เพียงได้บุญเหมาๆเอาเท่านั้นเอง ยังไม่แน่นอน ถ้าแน่นอนต้องรู้จริงว่าพระพุทธเจ้าสอนอย่างไร เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา แล้วก็ปฎิบัติ แล้วก็ได้รับผลของการปฎิบัติจริงๆ เช่นพระพุทธศาสนาสอนให้ยึดมั่นถือมั่น


    ก็สามารถนำมาปฎิบัติได้ในชีวิตประจำวัน อยู่ทุกเวลานาที เป็นผู้มีสุขสบายดี ตลอดเวลาเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเวลาทำการงาน หรือเวลาพักผ่อน ล้วนแต่มีความสุข สงบไปทั้งนั้น อย่างนี้เรียกว่าผู้ที่เลี้ยงไก่แล้ว ได้กินไข่ คือผู้ที่บำรุงศาสนาแล้ว ได้รับประโยชน์จากศาสนา เรียกว่าเป็นผู้ทำบุญด้วยความรู้จากบุญ แล้วก็ได้บุญนั้นมาจริงๆ ทีนี้เพื่อจะให้เข้าใจความข้อนี้ยิ่งขึ้น ในคำว่าบุญโดยละเอียดออกไป


    คำว่าบุญนี้แปลว่าเครื่องปูใจก็มี แปลว่าเครื่องชำระล้างบาปก็มี เรามาเอาความสำคัญกันดีกว่า ความหมายสำคัญอยู่ที่ว่า เป็นเครื่องชะล้างซึ่งบาปนั้นเอง ดังนั้นจึงขอให้ทุกคนจำไว้ว่า คำว่าบุญ มีความหมายชั้นสูงสุดว่า เป็นเครื่องชะล้างซึ่งบาป อย่าเอาแต่ว่าเป็นเครื่องฟูใจ อิ่มใจ สบายใจเลย เพราะว่าอาจจะเป็นเรื่องผิด ขึ้นมาไม่ทันรู้ตัวก็ได้ ถ้าเแาเป็นว่าบุญเป็นเครื่องชะล้างซึ่งบาปแล้ว ไม่มีทางที่จะผิด ถึงจะผิดก็มีผิดน้อย ยังมีส่วนถูกอยู่นั้นเอง ถ้ามุ่งหมายจะให้เป็นเครื่องชะล้างชะบาป ถือว่าเราเอาใจความของบุญเป็นเครื่องชะล้างซึ่งบาป ทีนี้จะพิจารณาบุญนั้นอีกต่อไป ฐานะเป็นเครื่องชะล้างซึ่งบาป เราเปรียบเหมือนกับว่าเราใช้น้ำ อาบน้ำตัวเราให้สะอาด บางคนไม่ค่อยจะมีพิถีพิถันอะไร ใช้น้ำโคลนอาบ เพราะไม่มีน้ำสะอาดอาบ ใช้น้ำโคลนขุ่นๆอาบนี้ก็มีอยู่พวกหนึ่ง


    อีกพวกนึงก็ใช้น้ำที่ละลายด้วยน้ำหอม เครื่องหอมต่างๆอาบ นี่ก็พวกนึง ทีนี้อีกพวกนึงเป็นพวกสุดท้ายที่อาบด้วยน้ำที่สะอาด ใช้สบู่และน้ำที่สะอาดรวมกัน ลองคิดดูเถิดว่า คนนึงอาบน้ำโคลนจะสะอาดได้ซักเท่าไหร่ คนนึงอาบน้ำแป้งหอมจะสะอาดได้ซักเท่าไหร่ อีกคนนึงก็อาบด้วยน้ำที่ใสสะอาด ใช้สบู่ที่ถูกต้อง แล้วจะใสได้ซักเท่าไหร่ มันต่างกันอยู่ 3 อย่าง อย่างนี้ คนที่อาบน้ำโคลนเพราะไม่มีน้ำอื่นจะอาบ อาบเสร็จแล้วก็ยังมีน้ำโคลนติดอยู่ที่ตัว แม้จะเอาน้ำโคลนล้างเท้าก็ยังมีน้ำโคลน ติดอยู่นั้นเอง ถ้าอาบด้วยน้ำที่ปนด้วยเครื่องหอม เมื่ออาบเสร็จแล้วก็มีเยื่อของเยื่อหอมนั่นเอง อยู่ที่เนื้อ ที่ตัว นี่ถ้าอาบด้วยน้ำสะอาด ลูบ ไล้ ตัวแล้วก็ใสสะอาดก็ไม่มีอะไรติดอยู่ที่เนื้อ ที่ตัว เป็นเนื้อ เป็นตัวที่สะอาด เราจึงเห็นได้ว่าในตัวอย่าง 3 อย่างนี้ เป็นการล้าง การอาบที่ไม่เหมือนกัน ก็ต้องระวังให้ดีๆ ว่ามันไม่เหมือนกัน อาบน้ำโคลนเสร็จแล้วก็มีโคลนติดตัว อาบน้ำแป้งอาบเสร็จแล้วมันก็มีแป้งติดตัว อาบน้ำที่สะอาดเสร็จแล้วมันก็ไม่มีอะไรติดตัว


    เมื่อเปรียบอาบน้ำการล้างตัวกับการทำบุญแล้ว การทำบุญก็มี 3 อย่าง เช่นเดียวกัน ทำบุญเช่นเดียวกับการอาบน้ำโคลน ก็คือพวกที่ฆ่าสัตส์ตัดชีวิต มาทำบุญให้ทาน การฆ่าไก่ เลี้ยงสุรายาเมา ทำการตามประสาคนที่เห็นแก่ปาก แก่ท้อง เห็นเรื่องกินเป็นใหญ่ ฆ่าสัตว์ทำบุญ หรือว่าทำบุญอวดคน คือทำบุญเอาหน้า ทำบุญโดยการต้องทำบาป ทำบุญเอาหน้า เป็นการค้ากำไรอย่างนี้ มันหมือนกับว่าบุญนี้เหมือนน้ำโคลน คนนั้นจงได้ผลเหมือนกับการอาบน้ำโคลน มีคนอยู่พวกนึงทำบุญด้วยการอุปาทาน ยึดมั่นในบุญ เมาบุญ เมาสวรรค์วิมานเป็นต้น เขาทำบุญด้วยความคิดอย่างนั้น อย่างนั้นเรียกว่าอาบน้ำด้วยน้ำที่ เกี่ยวกับแป้ง ปูนต่างๆที่เป็นของหอม มาถึงคนประเภทที่ 3 คือคนที่จะละจากความยึดมั่น ถือมั่น ไม่ให้มีความยึดมั่น ถือมั่นสิ่งใด ว่าเป็นตัวเราหรือว่าของเรา ให้กิเลสหมด ออกไปจากสันดานอย่างนี้เหมือนกับคนที่อาบน้ำสะอาด มันก็อาบกับน้ำที่สะอาด มันก็เป็นตัวที่สะอาด บุญนั้นจึงเป็นบุญที่เหมือนกับน้ำที่สะอาด


    ทบทวนใหม่อีกครั้งนึงว่า บุญชนิดหนึ่งเหมือนกับน้ำโคลน บุญชนิดที่ 2 เหมือนกับน้ำแป้งหอม ส่วนบุญที่ 3 นั้นเหมือนกับน้ำที่สะอาด ใครอาบน้ำอย่างไหนก็ย่อมจะได้ผลที่ต่างกัน ไม่เหมือนกันเลย ทั้งที่เรียกว่าน้ำเหมือนกัน แต่อาบเหมือนกัน แต่อาบแล้วได้ผลไม่เหมือนกันเลย ก็คนนึงอาบน้ำโคลน คนนึงอาบน้ำแป้งหอม คนนึงอาบน้ำที่ใสสะอาด คนนึงทำบุญเหมือนโคลน คนนึงทำบุญเหมือนแป้งหอม คนนึงทำบุญเหมือนน้ำที่สะอาด เพราะฉะนั้นบุญนั้นจึงไม่เหมือนกัน เพื่อให้เรื่องนี้เข้าใจมากขึ้น ควรจะยึดถือพระพุทธภาษิตที่จะยกไปในข้างต้นนั้น วะเอตังพนังเน มะราเนเภก คะนาโน เมื่อเพ่งเห็นภัยในความตาย คะหิราคะปิณญามานิ สิขามาหานิ ท่านทั้งหลายจงจะทำบุญ อันจะนำความสุขมา นี้อย่างหนึ่งเป็นคำกล่าวของพวกเทวดา โลกาสันภิเห สังภิเภกสุโข[​IMG]


    ท่านทั้งหลายจงละเรื่องโลกามิด หวังต่อสันติเถิด นี้เป็นคำกล่าวของพระพุทธเจ้า ฟังแล้วจะฟั่นเฟือนก็ได้ ขอทบทวนใหม่ว่า พวกเทวดามาเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วทูลว่า เขามีความเห็นว่า ถ้ามีภัย มีอันตราย ความตายแล้วรีบทำบุญ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าถูก แต่เราไม่ว่าอย่างนั้น เมื่อเทวดาขออะไรพระพุทธเจ้าก็ตรัสมาว่าอย่างนั้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า เมื่อเพ่งเห็นภัยในความตาย จงละเหยื่อแล้วเพ่งเล่งในความหวัง และสันติเถิด เทวดาต้องการให้ทำบุญ พระพุทธเจ้าบอกให้ละเหยื่อในโลกเสีย คำข้อนี้มันจะค้านกัน ถ้าผู้ใดมีสติปัญญา รอบคอบ ละเอียดละออ สุขุม จะเห็นได้ว่ามันไม่ถึงกับค้านกันเสียทีเดียว เพราะเทวดานั้นว่าให้ทำบุญ บุญก็มี 3 อย่าง ทำบุยเหมือนกับโคลน ทำบุญเหมือนกับแป้งหอม ทำบุญเหมือนกับน้ำที่สะอาด ทำบุญเหมือนกับน้ำที่สะอาดก็เป็นการชำระชะกิเลสอยู่แล้ว แต่ว่าเทวดาจะรู้ถึงข้อนี้หรือหาไม่ ก็ไม่ทราบ แต่ก็ได้ใช้คำว่าบุญ ซึ่งเป็นชื่อของสิ่งที่ล้างบาปด้วยเหมือนกัน จนพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าให้ละเหยื่อในโลกเสีย แล้วเพ่งหาแต่สันติเถิด


    นี้ก็หมายความว่า ทำจิตให้สะอาดอย่าไปเกี่ยวข้องกันกับเหยื่อในโลก และอยู่ด้วยความสงบเถิด มันก็เป็นบุญประเภทที่เหมือนกับน้ำที่สะอาด อยู่แล้วนั่นเอง เพราะบุญประเภทที่เหมือนกับอาบน้ำ ล้างสบู่ด้วยน้ำที่สะอาด นี้ก็คือ ทำบุญเพื่อละความยึดมั่น ถือมั่นนั่นเอง การทำบุญเพื่อละความยึดมั่น ถือมั่นนั่นก็มี ความหมายอย่างเดียวกัน กับข้อที่ว่า ละเหยื่อในโลกเสีย แล้วเพ่งหาแต่สันติเถิด แต่พระพุทธองค์ไม่ได้เอ่ยถึงบุญ ไปเอ่ยถึงว่าให้ละเหยื่อในโลก นี้ก็เพื่อให้ชัดเจน เพื่อไม่ใหกำกวม เพื่อไม่ให้ดิ้นได้ ไปในคำว่าบุญ ซึ่งมักจะเข้าใจผิดแล้วหลงใหลในทางที่ผิด เหมือนน้ำโคลนทางนึง อีกทางนึงก็ทำบุญเหมือนกับแป้งหอม ไม่มีใครทำบุญด้วยน้ำที่สะอาด ที่ใสสะอาด ที่ล้างให้สะอาดอย่างเดียว ทายกทายิกาทั้งหลาย ที่เที่ยวแห่กันไปแห่กันมา ทำบุญบ้านนั้น เมืองนี้ วิ่งไปวิ่งมา ขึ้นรถลงเรือนี้ คิดดูเหอะว่าเราทำบุญเพื่อประเภทไหน ด้วยความหวังประเภทไหน ส่วนใหญ่ก็คงจะทำบุญเพื่อความหวังว่าจะได้บุญ เพื่อได้สวรรค์วิมาน แล้วก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ที่ทำบุญเอาหน้า อุตส่าห์เที่ยวทำบุญอวดคน เที่ยวเมืองนั้น เมืองนี้ ที่เมืองโน่น เที่ยวทำบุญเอาหน้าอย่างนี้ก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน บางคนถึงกับลงทุนทำบาป หลอกลวงเอามา ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเพื่อเอามาทำบุญ นี้มันก็เหมือนกับการทำบุญน้ำโคลน ที่ทำไปเพื่อเอาหน้า หรืออวดคน หรือต้องลงทุนที่เป็นบาปนี้ก็เหมือนทำบุญเหมือนน้ำโคลน ถ้าบุคคลใดที่เชื่อในบุญล้วนๆ ทำบุญไปตามวิธีที่ถูก มันก็เหมือนทำบุญเหมือนแป้งหอม ทำให้ชื่นใจได้ แต่ก็ไม่ใช่ความสะอาด


    แม้ว่าเราจะเอาแป้งหอมมาทาที่เนื้อที่ตัว ให้มันหอมมันก็ไม่ใช่ความสะอาด มันสกปรกอยู่ที่เยื่อของ ของหอมนั่นเอง แต่มันเป็นเยื่อที่มีกลิ่นหอม เป็นความสะอาดที่มีกลิ่นหอม ใครเคยทำบุญด้วยความบริสุทธิ์ใจ ว่าจะละความถือมั่น ยึดมั่น ว่าตัวกู ของกู ดูจะหายากเต็มที ก็ปรากฎว่า แม้ที่นั่งอยู่ที่นี่ก็ ดูเหมือนจะมีใครจะสมัครใจปิดทองหลังพระ อยากจะปิดทองหน้าพระ อยากจะให้เขาเห็นนั้น ถ้าใครปิดทองหลังพระ ก็จะหาว่าเป็นคนโง่ ไปปิดตรงที่ใครไม่เห็น นี่ก็เพราะว่าคนเหล่านั้นยึดมั่นในบุญ ไม่ได้ทำบุญเพื่อละความยึดมั่น ถือมั่น แต่มีความยึดมั่น ถือมั่นในการทำบุญ ไม่ได้ทำบุญเพื่อละความยึดมั่น ถือมั่นจึงไม่ยอมปิดทองหลังพระ ปล่อยให้หลังพระไม่ได้ปิดทองสกปรกอยู่อย่างนั้นเอง ไม่มีใครเอาใจใส่ บรรดาที่นั่งอยู่ที่นี่ ใครบ้างที่จะแน่ใจ สมัครใจที่จะปิดทองตรงนี้หลังพระ แล้วก็ขอให้รู้ว่าคนนั้นแหละเป็นคนที่กำลังพยายามที่จะละ ความยึดมั่น ถือมั่นเสีย ไม่ต้องการจะเอาหน้าเอาเกียรติอะไร ถึงสมัครที่จะปิดทองให้ครบ ให้ถึงที่สุด อยู่ตรงที่เขาไม่ติดกัน ที่ตรงที่หลังพระนั่นเอง ก็มีความเข้าใจถูกต้องเพราะเราไม่ได้ทำบุญเอาหน้า


    จึงสามารถที่จะปิดทองหลังพระได้ ด้วยเหตุฉะนี้พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสไว้ว่า จงละเสียซึ่งเหยื่อในโลก และมุ่งหวังแต่สันติเถิด เหยื่อในโลกนี้คือ ความสวย ความรวย ความเอร็ดอร่อย ความหรูหรา ความมีเกียรติ ความมีหน้ามีตา นี่ก็คือเหยื่อในโลกนี้ หรือว่าตายแล้ว เกิดในสวรรค์มีนางฟ้ามาคอยบำรุง บำเรออย่างนี้ก็เป็นเหยื่อในโลกนี้ ให้ละเหยื่อชนิดนี้เสีย อย่าให้เห็นว่าเป็นของประเสริฐ วิเศษอะไร แล้วถ้าไปหวังในสันติคือ ความสงบ คือมีจิตใจสว่าง สงบ สะอาด นั้นก็สันติให้ไปหวังในข้อนั้น อย่าได้ไปหวังในเรื่องความสวย รวย เรื่องเอร็ดอร่อยทางเนื้อ ทางหนัง ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ในสวรรค์วิมานอะไรที่ไหน ไม่เมาบุญ ไม่เมาสวรรค์แล้ว นี้เรียกว่า เป็นผู้ละเหยื่อในโลกได้แล้ว เป็นผู้หวังแต่ในสันติ คือความสงบ พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้อย่างนี้ ว่าถ้าเห็นว่าชีวิตนี้เป็นอันตราย ไม่เท่าไหร่ก็จะต้องแตกตายลงไปแล้ว ก็ให้รีบละเหยื่อในโลกนี้เสีย แล้วเพ่งหวังแต่สันติเถิด


    จนพวกเทวดาบอกให้รีบทำบุญเข้าๆ แล้วจะนำความสุขมาให้ ถ้าใครไม่เข้าใจในคำพูดเหล่านั้นแล้ว ก็คงจะทำบุญชนิดที่เป็นน้ำโคลนเข้าก็ได้ หรือคงจะไปทำบุญชนิดเอาหน้าเอาตามากกว่า เพราะว่าต้องการจะสวย จะรวย จะดี จะเด่น จะไปเกิดในสวรรค์วิมาน ด้วยเหตุฉะนี้แหละจึงได้กล่าวว่า คำว่าบุญ นั้นฟังยากกำกวม หรือเข้าเป็นเรื่องที่น่าเวทนา สงสารใครก็มี แต่ถ้าต้องละเหยื่อในโลกเสีย แล้วเพ่งหาสันติเถิด อย่างนี้ไม่มีทางที่จะผิดได้ ไม่มีทางที่เข้าใจผิดได้ ดังนั้นจึงกล่าวให้เป็นที่เข้าใจกันว่า ให้ฟังให้ดีๆ สำหรับคำว่าบุญ บุญนี้มีทางที่จะผิดได้ ส่วนคำว่าไม่ยึดมั่น ถือมั่นนี้ ไม่มีทางที่จะผิดได้ แต่ถ้าเราจะใช้คำว่าบุญกันต่อไป ก็ขอให้เข้าใจไว้เสมอว่า บุญนี้อย่างน้อยก็มี 3 ชนิด หรือ 3ชั้น 3 ระดับ บุญที่เหมือนน้ำโคลนนี้ก็อย่างนึง อาบแล้วก็ยังเปื้อนโคลน บุญที่เหมือนกับน้ำแป้งหอมนี้อย่างหนึ่ง อาบแล้วตัวก็ยังเปื้อนด้วยเครื่องหอมเหล่านั้น อีกอย่างนึงบุญเหมือนกับน้ำที่สะอาด ใช้สบู่ที่ดีเข้าช่วย


    แล้วล้างด้วยน้ำที่สะอาด อย่างนี้อาบแล้วก็ไม่มีอะไรติดอยู่ที่เนื้อ อยู่ที่ตัว คำว่าบุญเป็นชื่อของการล้างบาป เครื่องล้างบาปมีความหมายอยู่กันเป็น 3 ชั้นดังนี้ บุญมีความหมายอยู่เป็น 3 ชั้นอยู่อย่างนี้ จงระวังให้ดี อย่าเสียที่ ที่ว่าเหนื่อยมาก แล้วเปลืองมาก เสียเวลามากแล้วไปได้บุญ ชนิดน้ำโคลนบ้างก็มี ได้บุญชนิดที่ทาน้ำแป้งน้ำปูน น้ำอบ ศักดิ์ว่าให้หอมๆหลอกคนอื่น หลอกตัวเองอย่างนี้ก็มี ควรจำบุญชนิดที่เป็นเครื่องล้างบาปโดยแท้จริง คือการอาบน้ำที่สะอาด แล้วชำระชะล้าง ความเข้าใจผิด ความมัวเมา ความหลงใหลเหล่านั้นออกเสียได้ นั่นแหละจึงจะเป็นบุญ ที่ถูกตรงตามความหมายในพระพุทธศาสนา ถ้าในพระพุทธศาสนานี้มีคำสอนข้อไหน ประโยชน์ ที่ไหน ว่าให้ทำบุญ แล้วก็จงหมายความว่า ทำบุญชนิดที่ล้างบาปได้จริง อย่าให้เหมือนที่พวกเทวดาพูด แล้วอะไรก็ยังไม่รู้ อาจจะเป็นเรื่องสวย เรื่องรวย เรื่องหอม เรื่องเหย้ายวน เรื่องหลุ่มหลงไปก็ได้ อย่างนั้นมันเป็นเรื่องของพวกเทวดา ซึ่งมักจะชอบอย่างนั้น


    แต่พวกพุทธบริษัทนั้นต้องการบุญ ชนิดที่ล้างบาปได้ บาปคือสิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง เพราะฉะนั้นบุญต้องเป็นเครื่องช่วยชำระชะล้างใจ อย่าให้เศร้าหมอง ถ้าทำบุญเพื่อเอาหน้า มันก็เศร้าหมองโดยฐิติ กิเลส ตัณหาขึ้นมาอีก ทำบุญอวดคนอย่างนี้มันก็มีกิเลส อวดคนนั้นแหละเป็นเรื่องเศร้าหมอง เกิดขึ้นมาใหม่ อย่าได้ทำบุญเอาหน้า อย่าได้ทำบุญอวดคนเลย ถ้าถึงกับฆ่าสัตว์ทำบุญ ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมาทำบุญอย่างนี้ ด้วยแล้วมันก็ยิ่งร้ายกาจลงไปอีก คือจะยิ่งกว่าน้ำโคลน คือเป็นโคลนแท้ๆ คนที่อาบน้ำโคลนแท้ๆนั้นจะสะอาดได้ อย่างไร ก็ลองคิดดู อยู่เฉยๆยังสะอาดกว่า เอาโคลนมาอาบก็สกปรกมากกว่าเดิม เหมือนกับคนธรรมดาไม่ฆ่าสัตว์ชีวิต มันก็ยังไม่บาปอะไร


    แต่พออยากจะเอาหน้าขึ้นมา ก็ไปฆ่าวัวฆ่าควาย ฆ่าหมู ฆ่าไก่มาทำบุญ อย่างนี้มันก็เท่ากับไปเอาโคลนมาอาบ แล้วมันจะสะอาดอย่างไร มันจะสวยที่ตรงไหน มันจะสวย มันจะสะอาดก็แต่บางพวกที่เห็นการผลิตนั้นด้วยกัน คือพวกที่เห็นแก่กิน แก่ปาก แก่ท้อง ความสนุกสนาน เอร็ดอร่อย กันเท่านั้นจึงจะเห็นว่าอันนี้ดี ส่วนผู้มีปัญญาเมื่อพิจารณาก็เห็นว่า ไม่ไหวนี้ไม่ใช่ทำบุญเลย แต่เรายังเรียกว่าบุญ คือเป็นบุญปลอม เป็นบุญที่เหมือนกับน้ำโคลน ที่เอามาอาบเข้าแล้วมันก็เปื้อนโคลน หรือแม้แต่บุญที่อาบน้ำหอม อาบแล้วมันก็ยังมีเยื่อแป้งหอม เยื่อน้ำหอมติดอยู่ที่เนื้อ ที่ตัว หาได้สะอาดแท้จริงไม่ ต่อเมื่อทำบุญล้างด้วยน้ำชนิดที่สะอาด ใช้เครื่องซักฟอกที่ถูกต้องแล้วล้างด้วยน้ำสะอาดแล้ว มีร่างกายที่สะอาดแล้ว จึงจะเรียกว่าบุญเหมือนกับน้ำที่ใสสะอาด เหมือนกับที่ท่านตรัสไว้ว่า ธรรมะนั้นเหมือนกับน้ำที่ไม่มีตม ธัมโม ระหะโต อกะตะโม ช่วยให้จำไว้กันให้ดีๆว่า ธรรมะนั้นเหมือนกับน้ำที่ไม่มีตม ธรรมะแท้ๆของพระพุทธเจ้านั้น เหมือนกับน้ำที่ไม่มีโคลน ไม่มีตะกอน มีเปลือกตม ลองมาอาบเข้าทำให้ตัวสะอาดได้ อาบชนิดนั้นแหละจึงจะเป็นบุญที่แท้จริง


    ทำบุญชนิดนั้นเป็นบุญชนิดเดียวกับพระพุทธเจ้า ตรัสว่าละเหยื่อในโลกนี้เสีย แล้วเพ่งหาแต่ความสงบเถิด เดี๋ยวนี้มัวแต่ทำบุญเอาหน้ากันบ้างทำบุญหลอกลวงเอาเงินเขาบ้าง ก็มี อย่างดีที่สุดทำบุญเพื่อจะผูกพันกันไว้ เป็นมิตรกันไว้เอาประโยชน์กันก็มี อย่างนี้มันไม่ใช่บุญอะไร มันเป็นเรื่องลงทุนชนิดนึง ถ้าเป็นเรื่องที่สมส่วนแล้ว มันก็เป็นเรื่องล้างบาป ต้องเป็นเรื่องบรรเทาเสียซึ่งความยึดมั่น ถือมั่น ดังคำสุภาษิตที่ว่า ภานันจะ สมานัน สมานะมาหุ การให้ทานกับการรบนี้ เป็นของเสมอกัน การให้ทานกับการรบสงครามเสมอกันอย่างไร การให้ทานนั้นคือการรบกับกิเลส รบกับความยึดมั่น ถือมั่น การให้ทานที่แท้จริงนั้น คือการให้รบกับสวรรค์ ไม่ใช่แลกเอาความสวย ความรวย การจะให้ทานที่แท้จริงนั้น เป็นการรบพุ่งกับกิเลส รบกับความเห็นแก่ตัว รบกับความยึดมั่น ถือมั่นว่าตัวกู ของกู รบให้กิเลสเหล่านั้นให้หายไป นั้นแหละเรียกว่าการให้ทาน ดังนั้นจึงกล่าวว่าการให้ทาน กับการรบนี้เสมอกัน หรือเป็นสิ่งเดียวกันอย่างนี้ก็ได้ หรือจะพูดให้ยืดยื้อออกไป ก็จะพูดได้เหมือนกันว่า การให้ทานนั้นก็มีฆ่าศึก ต้องมีการตระเตรียม ต้องมีการฝึกฝน ต้องมีการสะสมอาวุธ สะสมเครื่องปัจจัยในการรบพุ่ง แล้วจึงจะไปรบกัน การให้ทานนี้ก็เหมือนกัน ต้องมีการตระเตรียมที่ถูกต้อง ถึงจะเป็นการให้ทานที่ดี เมื่อให้ไปได้เท่าไหร่ ก็ได้ทานมามากเท่านั้น เหมือนกับการรบที่ชนะเท่าไหร่ ก็คือชนะได้เท่านั้น ถ้าให้ไม่ดีรบไม่ดี มันก็เป็นการพ่ายแพ้ ต้องการถอยหลังเป็นการเห็นแก่ตัว


    สรุปก็คือ

    1. เวลาทำบุญอย่าฆ่าสัตว์ทำบุญ หรือทำบุญเพื่อเอาหน้าว่ากูรวยกว่าคนอื่น
    2. อย่าทำบุญเพื่อหวังผล หวังสวรรค์วิมาน แทนที่จะหวังช่วยเพื่อนมนุษย์หรือพระศาสนา
    3. สุดท้ายคือทำบุญที่ดีพร้อมด้วยบุญกิริยาวัตถุ คือไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทน หวังช่วยเขาตามหลักพรหมวิหาร 4 หรือเพื่อสืบต่อพระศาสนา หรือพูดง่ายๆ ทำบุญแล้วใจใส ใจสบาย...ดุจดังยืนอยู่ชายเขาหรือชายทะเลที่มีลมเย็นๆ

    ทำบุญทำทานเด้อ...น้องโอ๊ต
    พี่เสือ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 สิงหาคม 2008
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,777
    ค่าพลัง:
    +16,086
    นี่คือที่มาแห่งเราชาวทุนนิธิฯ......

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    [​IMG]<!--endemo-->พระศาสดาทรงพยาบาลภิกษุผู้อาพาธ

    โย ภิกฺขเว มํ อุปฏฐเหยฺย
    โส คิลานํ อุปฏฺฐเหยฺย

    ผู้ใดปรารถนาอุปัฏฐากเราตถาคต
    ผู้นั้นพึงอุปัฏฐากภิกษุไข้เถิด

    พระภิกษุนามว่า "ติสสะ" นอนแซ่วอยู่บนเตียง
    ภายในกุฏิที่อุดอู้อย่างเดียวดาย
    ร่างกายทั้งหมดเต็มไปด้วยบาดแผล
    น้ำเลือดน้ำเหลืองจับเกรอะกรังอยู่บนสบงและจีวรที่พันกาย
    ไร้ซึ่งเพื่อนภิกษุและสัทธิวิหาริกจะเหลียวแล

    (* สัทธิวิหาริก = ศิษย์ ผู้อยู่ด้วย เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท
    ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌายะองค์ใด ก็เป็นสัทธิวิหาริกของอุปัชฌายะองค์นั้น)

    เมื่อเวลาล่วงไป เกิดโรคชนิดหนึ่งขึ้นในร่างกายของท่าน
    โดยปรากฏเป็นเม็ดผื่นคันขึ้นทั่วตัว มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว
    ต่อมาขยายขนาดเท่ากับเมล็ดถั่วดำ เท่าผลมะขามป้อม
    ในที่สุด ใหญ่ถึงผลมะตูมขนาดย่อม ๆ เบียดกันอยู่ทั่วร่าง
    แล้วก็เริ่มแตก ร่างกายเหวอะหวะเป็นแผลเล็กแผลใหญ่ทั่วไปหมด
    เมื่อแผลเริ่มเน่าจึงส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งไปทั้งกุฏิ
    ภิกษุด้วยกันรังเกียจที่จะปฏิบัติดูแล จึงพากันทอดทิ้งไป
    พระภิกษุผู้น่าเวทนานี้ ไร้ซึ่งที่พึ่งพิงใด ๆ ทั้งสิ้น

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
    ทรงตรวจดูโลกด้วยพระญาณใน ๒ วาระ คือในเวลาใกล้รุ่งและในเวลาเย็น
    ในคราวนั้น พระติสสเถระผู้มีกายเน่า ได้ปรากฎขึ้นในข่ายพระญาณของพระองค์
    พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของพระภิกษุรูปนี้ ทรงดำริว่า

    "ภิกษุผู้นี้ ถูกพวกสัทธิวิหาริกทอดทิ้ง
    ยกเว้นจากเราเสียแล้ว จะไม่มีที่พึ่งอื่นใด"

    พระองค์จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎิ พร้อมด้วยพระอานนท์
    ทรงทำดังเสด็จเที่ยวจาริกในพระวิหาร ตรงไปสู่โรงไฟ
    ทรงล้างหม้อน้ำด้วยพระองค์เอง พระอานนท์ใส่น้ำจนเต็ม แล้วยกขึ้นตั้งบนเตา
    เมื่อน้ำเดือดแล้ว จึงเสด็จไปยังกุฏิของพระภิกษุผู้น่าสงสาร
    ทรงโน้มพระวรกายจับปลายเตียงที่พระติสสะนอนคนละด้านกับพระอานนท์

    ขณะนั้น พวกภิกษุทั้งหลายที่เห็นเหตุการณ์ จึงเข้ามากราบทูลว่า
    "ขอให้พระองค์เสด็จหลีกไปเถิดพระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์จักยกเอง"

    แล้วจึงช่วยกันยกเตียงนั้นพร้อมทั้งพระติสสเถระไปที่โรงไฟ
    พระบรมศาสดาทรงสั่งให้พระภิกษุเหล่านั้น เปลื้องเอาผ้าห่มกายของพระติสสะออก
    นำมาซักในน้ำเดือดจนสะอาด แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง
    ส่วนพระองค์เองทรงผสมน้ำอุ่น ประทับยืนอยู่ใกล้ ๆ พระเถระ
    ทรงรดร่างกายที่เน่าเปื่อยด้วยน้ำอุ่นนั้น
    ถูสรีระของพระเถระด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง โดยมิได้ทรงรังเกียจ
    ชำระล้างร่างกายและบาดแผลอย่างละเอียดแผ่วเบา
    ใช้เวลาในการอาบและชำระล้างนานจนกระทั่งผ้าที่ตากไว้แห้งพอดี
    ทรงช่วยพระเถระนุ่งห่มผ้านั้น แล้วให้ขยำผ้าอีกผืนที่เหลือกับน้ำเดือดแล้วนำไปผึ่งแดด
    เมื่อผ้าผืนนั้นแห้งแล้ว ทรงนำมาห่มให้พระเถระด้วยพระเมตตากรุณา

    พระติสสเถระได้เป็นผู้มีกายอันโปร่งเบา นอนพนมมืออยู่บนเตียง
    กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยเสียงอันแผ่วเบาว่า

    "โอ้พระบรมโลกนาถ
    พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อข้าพระองค์เหลือเกิน"
    น้ำตาแห่งความปีติและความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณไหลพรากเป็นสาย

    เมื่อพระติสสเถระมีจิตและอารมณ์เป็นหนึ่งแล้ว
    พระผู้มีพระภาคจึงตรัสด้วยพระสุรเสียงที่อ่อนโยนยิ่งนักว่า

    "ดูก่อนภิกษุ กายของเธอนี้ เมื่อปราศจากวิญญาณแล้ว
    จักนอนบนแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้หาประโยชน์มิได้"

    แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

    "ไม่นานหนอ ร่างกายนี้จักนอนทับแผ่นดิน
    ปราศจากวิญญาณ อันบุคคลทิ้งแล้ว
    ราวกับท่อนไม้ไร้ค่าที่เขาไม่ไยดีฉะนั้น"

    ในเวลาจบพระธรรมเทศนา
    พระปูติคัตตติสสเถระ ได้บรรลุพระอรหันต์
    พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา แล้วก็ปรินิพพานในทันที

    พระผู้มีพระภาคทรงหันมายังภิกษุทั้งหลายที่อยู่ ณ ที่นั้น
    ตรัสสอนว่า

    "ดูก่อนภิกษุ พวกเธอจากบ้านเรือนมา
    ไม่มีมารดา-บิดา และญาติพี่น้อง
    พวกเธอพึงดูแลกันและกัน
    ถ้าพวกเธอไม่ดูแลกันเอง แล้วใครเล่าจะมาดูแล"

    พระองค์ตรัสต่อไปว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย หากใครมีความประสงค์จะอุปัฏฐากตถาคต
    ก็พึงอุปัฏฐากดูแลภิกษุผู้อาพาธเถิด จะเสมือนกับได้อุปัฏฐากดูแลเรา"

    ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงกระทำให้ดูเป็นแบบอย่าง
    ทำให้พระติสสเถระผู้นอนจมอยู่ด้วยความอาดูรในเบื้องต้น
    ได้พลิกฟื้นคืนกลับมามีจิตใจที่แจ่มใส ตื่นรู้
    เกิดปัญญาในการพิจารณาร่างกายและเวทนาอันไม่เที่ยง
    ตามคำตรัสสอนของพระบรมศาสดา
    จนกระทั่งบรรลุซึ่งพระนิพพานในที่สุด <!--emo&:09:-->[​IMG]<!--endemo-->

    คัดจาก หนังสือ "ก่อนอาทิตย์อัสดง"
    โดย พระไพศาล วิสาโล และอาทิตย์ยามเช้า
    . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

    เรื่องนี้เอง ที่เป็นที่มาของประโยคที่เราได้ยินกันคุ้นหูที่ว่า

    โย ภิกฺขเว มํ อุปฏฐเหยฺย
    โส คิลานํ อุปฏฺฐเหยฺย

    ผู้ใดปรารถนาอุปัฏฐากเราตถาคต
    ผู้นั้นพึงอุปัฏฐากภิกษุไข้เถิด

    ขออนุโมทนากับทุกท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 สิงหาคม 2008
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,777
    ค่าพลัง:
    +16,086
    สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าพิมพ์ใหญ่และสมเด็จปัญจสิริรุ่นแรกเนื้อเก่าสวยๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PB010254.JPG
      PB010254.JPG
      ขนาดไฟล์:
      499.2 KB
      เปิดดู:
      1,519
    • PB010243.JPG
      PB010243.JPG
      ขนาดไฟล์:
      594.9 KB
      เปิดดู:
      509
    • PB010244.JPG
      PB010244.JPG
      ขนาดไฟล์:
      710 KB
      เปิดดู:
      686
    • PB010245.JPG
      PB010245.JPG
      ขนาดไฟล์:
      620.6 KB
      เปิดดู:
      357
    • PB010247.JPG
      PB010247.JPG
      ขนาดไฟล์:
      639.9 KB
      เปิดดู:
      6,275
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 สิงหาคม 2008
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,777
    ค่าพลัง:
    +16,086
    วันนี้ผมได้รับเงินบริจาคสำหรับซื้อผ้ามัสสลินพับที่ 2 ถวายเพื่อใช้เป็นเครื่องบริขารให้แก่พระสงฆ์อาพาธ ณ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่นแล้ว (เป็นเงินสด) ดังนี้
    1. จากคุณโสระ 1,000.-
    2. จากนายสติ หรือ อ.ปุ๊ 200.-
    ส่วนที่แจ้งการโอนผ่านกระทู้ของคุณชาญณรงค์ 500.-กับน้องเอ 100.-บาทนั้น เดี๋ยวขอดูยอดในสมุดบัญชีก่อนครับถึงจะแจ้งยอดที่แท้จริงให้ แต่หากดูตัวเลขข้างต้นยังขาดอยู่อีกราว 4,000.-ขอเชิญชวนอีกครั้งหนึ่งครับ ผ้าพับละประมาณ 5,800.-ครับ โดยเช้าวันอังคารจะโทรสั่งที่ร้านให้ไปส่งในอาทิตย์นี้ทั้ง 2 พับเลยครับ เพื่อให้ทันกับการตัดเย็บและใช้งาน ขาดเหลือเท่าไรอย่างที่ผมบอกไว้แต่แรก ผมออกให้ครับเพราะช่วงกลางเดือนนี้เป็นวันเกิดผมพอดี จึงขอร่วมทำบุญแบบด่วนล่วงหน้าให้ทันการใช้ตามที่ คุณวรารัตน์ หัวหน้าหอสงฆ์แจ้งมาครับ

    อานิสงส์แห่งทานะ ปรมี ทั้งในทุนนิธิฯ และบริจาคผ้าเพื่อการนี้

    http://www.84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 สิงหาคม 2008
  13. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ผมและแฟนให้ อ. ปุ๊ แล้วครับสำหรับผ้ามัสสลิน จำนวน 100.- บาทครับ

    สาธุครับ
     
  14. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    เมื่อตอนหัวค่ำวันอาทิตย์ผมและภรรยาได้โอนปัจจัยไปร่วมทำบุญถวายผ้ามัสลิน เป็นจำนวนเงินหนึ่งร้อยบาทถ้วนครับ

    โมทนาบุญกับทุก ๆ ท่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ
    น้องโอ๊ต
     
  15. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    เมื่อเช้าเวลา 7.56น.ผมได้ฝากเงินจำนวน 200บาท เพื่อร่วมซื้อผ้า เข้าบัญชี 3481232459 กรุงศรี ครับ
    ขอบคุณและโมทนาสาธุครับ
     
  16. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    908
    ค่าพลัง:
    +4,280
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=big2 vAlign=bottom height=35>หลวงปู่ดูลย์พูดถึงไอสไตน์

    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช สวนสันติธรรม ชลบุรีเล่าถึงเรื่องที่หลวงปู่ดูลย์เคยพูดถึงไอสไตน์ไว้ว่า...

     
  17. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    908
    ค่าพลัง:
    +4,280
    เมื่อ"เจ้าคุณนรรัตน์"รับรอง"สุญญตา"ของ"พุทธทาสภิกขุ"

    "เซ็นเป็นสายสุญญตาโดยเฉพาะ เฉพาะ มหาสุญญตาสูตรนี้ เป็นปัญญาวิมุติล้วน แทบจะไม่มีเรื่องอภินิหาร (ขอโทษ) เรื่องงมงายแทบไม่มี สติปัฏฐานสี่ มรรคแปด โพธิปักขิยธรรม อยู่ในนั้นครบ

    ที่ถูกใจท่านพุทธทาสมากที่สุดคือ มหาสติปัฏฐานสี่ของไทยเรามี กาย เวทนา จิต ธรรม เขาบอกว่า พิจารณาเห็นกายในกาย เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ครบ แต่ไทยเน้นแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สุญญตาแทบไม่เคยได้พูด ยกเว้นแต่ที่เจ้าคุณพุทธทาส ยกมา ท่านเป็นคนบุกเบิกสุญญตา อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เราได้ยินกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ตามหลักเซ็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และสุดท้ายเป็นสุญญตา สามอย่างแรกแปลเหมือนกันคือ อนิจจังแปลว่าไม่ เที่ยง ทุกขังคือทนอยู่ไม่ได้ แต่เซ็นเติมไปอีกนิดว่า "ยึดมั่นเป็นทุกข์" ไทยไม่พูดคำนี้ ใช้แต่ว่า "ทนอยู่ไม่ได้" แล้วอนัตตา "ใช่ตัวใช่ตน ไม่มีตัวตน" แปลความหมายตรงกันทั้งสามคำ แต่เซ็นเติมว่า ถ้าเอามหาสุญญตาสูตร เป็นหลัก สามอย่างนี้ยังเป็นโลกีย ธรรม ไม่ใช่โลกุตตระ เพราะอนิจจัง จิตยังปรุงแต่ง ทุกขังก็ยังปรุงแต่ง อนัตตาก็ยังปรุงแต่ง ต้องจิตหลุดพ้นจากความคิดปรุงแต่ง นั่นถึงจะเป็นสุญญตาเป็นนิพพาน ตราบใดยังอยู่ที่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตเธอยังปรุงแต่ง จิตยังวนเวียนเกิดดับ ยังเป็นโลกีย์ ไม่เป็นโลกุตตระ จิตต้องหลุดพ้นจากกระแสดึงดูดของโลกีย์ จึงจะเป็นสุญญตา อันนี้เป็นสิ่งที่เร้าใจให้ท่านศึกษาเซ็น



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    "..เซ็นนี่ท่าน(พุทธทาสภิกขุ)สนใจ เพราะเซ็นเข้ากับเถรวาทได้ โดยเฉพาะเรื่อง "สุญญตา" ของเราก็มีในหลักสูตรนักธรรมโท "วิโมกข์สาม" แต่ไม่มีอาจารย์สอนขยายความ
    ตอนที่คนโจมตีท่านพุทธทาสว่า สุญญตาไม่มีในพระไตรปิฎก เจ้าคุณนรฯ (เจ้าคุณนรรัตน์) บอกเลยว่า
    "ผิด....เจ้าคุณฯ (หมายถึง ท่านพุทธทาส) ถูก...!!!???!!!!"
    คือ มีวิโมกข์สามอยู่ เพียงแต่ไม่มีคนอธิบายเอง รุ่นก่อนก็ไม่มีคนอธิบาย เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์เป็นคนยืนยันว่ามี หาคนสอนไม่ได้ สุญญตาจึงขาดตอน เจ้าคุณฯ (ท่านพุทธทาส) พูดถูกแล้ว..."

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    สุญญตา เป็นคำศัพท์ภาษาบาลี แปลว่า ความว่างเปล่า, ความเป็นของสูญ คือความไม่มีสาระ ถือเอาเป็นสาระไม่ได้ เขียนว่า สุญตา ก็มี ภาษาสันสกฤตใช้ว่า "ศูนยตา"
    สุญญตาหมายถึงสภาวะที่ว่างจากความเป็นตัวตนหรืออัตตา ได้แก่เบญจขันธ์ธาตุอายตนะ ซึ่งเป็นอนัตตา ไม่มีสาระที่พึงยึดถือว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล, สภาวะที่ว่างหรือปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง คือราคะโทสะโมหะ เป็นต้น ได้แก่พระนิพพาน

    ที่มา , เว็บไซต์เครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย (ธรรมานุรักษ์)
    สัมภาษณ์ ธีรทาส ตีพิมพ์บางส่วนใน เสขิยธรรม ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑๘ เดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๓๖
    ภาคสมบูรณ์ ตีพิมพ์ที่ สารสยาม ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๘, ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๓


    <!-- start content -->
    [​IMG]





    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. MEA

    MEA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +660
    วันนี้ 4/8/2551 เวลา10.36น.โอนเงินร่วมบุญพระภิกษุสงฆ์อาพาธและร่วมทำบุญถวายผ้ามัสลินด้วยจำนวน 500 บาท (แยกเป็นทำบุญถวายผ้ามัสลิน จำนวน 300 บาท)
    ขอโมทนาบุญครั้งนี้ด้วยครับ
     
  19. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    ผมขอโอนวันนี้นะครับ
    พอดีเพิ่งกลับจากเรียนครับ
    โมทนาบุญด้วยครับ
    น้องเอ
     
  20. tg22070

    tg22070 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +601
    เมื่อตอนเที่ยงโอนเงินค่าพระที่จองไว้ 500 บาทครับ แล้วโอนเพิ่มอีก 500 บาท ร่วมทำบุญถวายผ้าด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...