ผ้าห่อศพแห่งตูริน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 11 ตุลาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]


    ผ้าห่อศพแห่งตูริน<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    <O:p></O:p>

    โดยทั่วไปคนเรียกมันว่า "ผ้าห่อศพแห่งตูริน" (Shroud of <?XML:NAMESPACE PREFIX = ST1 /><ST1:CITY><ST1:pLACE>Turin</ST1:pLACE></ST1:CITY>) <O:p></O:p>
    ผ้าห่อศพแห่งตูรินเป็นแถบผ้าลินินซึ่งเป็นสมบัติอันล้ำค่าและมีความเกี่ยวข้องผูกพันกับหลายแผ่นดิน ทั้งพระเจ้าแผ่นดิน ขุนนาง นักรบ และผู้นำทางศาสนาคริสต์ รวมไปถึงพวกนักหลอกลวงหากินด้วย <O:p></O:p>

    ในปัจจุบันการสืบสวนหาความจริงของเรื่องที่มาของผ้าห่อศพแห่งตูรินได้กระทำกันโดยผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่าย ได้แก่ นักประวัติศาสตร์ นักภาษาศาสตร์ นักพยาธิวิทยา นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิล ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการถักทอ นักเคมี นักฟิสิกส์และผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพ <O:p></O:p>

    ร่องรอยที่สำคัญคือรูปร่างอันเด่นชัดที่ปรากฏอยู่บนผ้าห่อศพผืนนั้นที่เป็นภาพเสมือนภาพถ่ายหรือเงา ซึ่งมีรูปร่างคล้ายปิศาจขนาดเท่าคนจริง เป็นเรือนร่างของผู้ชายไม่ได้ใส่เสื้อผ้า มีหนวดเครายาว ผมยาว มีรูปใบหน้าดูเงียบสงบแม้จะเป็นขณะอยู่ในห้วงของความตายก็ตาม ดูเสมือนว่าความสง่างาม แฝงด้วยความเงียบสงบภายใต้ความน่ากลัว ประกอบกันขึ้นโดยผลงานอันพึงมีจากศิลปินยอดเยี่ยมของโลกเลยทีเดียว <O:p></O:p>

    รูปร่างแม้จะถูกต้องตามหลักกายภาพทุกสัดส่วน แต่ก็ยังปรากฏให้เห็นถึงร่องรอยของการถูกทรมานอย่างทารุณด้วยการเฆี่ยนตี การถูก ตรึงไว้บนไม้กางเขน การถูกแทงด้วยหอกหรือของแหลมคม ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับเรื่องราวในตำนานคริสต์ (Gospel) แล้ว ก็ตรงกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์ "พระเยซูเจ้าแห่งนาซาเรท" (Jessus of Nazareth) <O:p></O:p>

    และปัจจุบันก็มีผู้ที่เชื่อว่าผ้าห่อศพสีงาช้างนี้ เป็นผ้าผืนเดียวกับ ที่ โยเซฟแห่งอริมาเธีย (Joseph of Arimathaea) ใช้รองข้างใต้ และคลุมพระวรกายของพระเยซู ในหลุมฝังศพใกล้กับเมืองกอลกอตทา (<ST1:pLACE>Golgotha</ST1:pLACE>) เมื่อประมาณเกือบ 2,000 ปีมาแล้ว <O:p></O:p>

    ผ้าห่อศพนี้ค้นพบครั้งแรกราวกลางคริสตศตวรรษที่ 14 ณ เมืองลิเรย์ (Lirey) ประเทศฝรั่งเศส เจ้าของเดิมเป็นอัศวินผู้มีชื่อเสียง ชื่อ จอฟฟรีย์ เดอ ชาร์นี (Geoffrey de Charny) จากนั้นผ้าห่อศพผืนนี้ก็ได้ถูกเปลี่ยนมือและระเหเร่ร่อนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมาประดิษฐานที่ตูรินหรือโตริโน (<ST1:pLACE>Torino</ST1:pLACE>) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเพียดมองต์ (<ST1:pLACE>Piedmont</ST1:pLACE>) ในประเทศอิตาลี <O:p></O:p>

    รอยโลหิตที่ปรากฏมีสีเข้มกว่าส่วนอื่นที่เป็นรอยร่างกาย และมองเห็นได้อย่างเห็นชัด รอยโลหิตที่ไหลลงมาเป็นทางจากส่วนศีรษะ และส่วนของแขนทั้งสอง รอยเปื้นเป็นรอยใหญ่ที่ด้านข้างของร่างกาย ข้อมือและเท้ามีรอยที่เข้าใจว่าเกิดการตอกตะปู บาดแผลนับสิบๆ แผลตามร่างกายอันเกิดจากการเฆี่ยนตี ที่ปลายของรอยแผลแบบนี้จะเป็นรอยชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากแส้ที่ใช้เฆี่ยนตีของชาวโรมัน เรียกว่า "ฟลากรัม" (flagrum) <O:p></O:p>

    ตรงปลายสายแส้ซึ่งทำด้วยเชือกหรือเส้นหนัง จะมีปุ่มหรือก้อนตะกั่วหรือกระดูกผูกติดไว้ด้วย มองเห็นได้ชัดเจนว่าเจ้า ของรูปร่างที่ปรากฏอยู่บนผืนผ้านี้ได้ผ่านการทารุณที่โหดเหี้ยมอย่างไร้มนุษยธรรม <O:p></O:p>

    ในปี ค.ศ.1898 เซคอนโด เปีย (Secondo Pia) ได้ทำการถ่ายภาพผ้าห่อศพผืนนี้ แล้วตรวจสอบภาพเนกาทีฟที่ปรากฏออกมา เขารู้สึกตกใจมากเพราะมันไม่ไช่ภาพเนกาทีฟ แต่มันกลับเป็นภาพโพสิทีฟที่ชัดเจน ส่วนแสงและเงาที่ปรากฏบนผ้านั้นปรากฏออกมาอย่างเด่นชัด และดูเป็นภาพที่เหมือนจริงอย่างยิ่ง และยังแสดงถึงรายละเอียดต่างๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนอีกด้วย นั่นก็แสดงว่าภาพจริงๆ บนผ้าห่อศพเป็นภาพเนกาทีฟอยู่ก่อนแล้วนั่นเอง..... <O:p></O:p>

    จะเป็นไปได้อย่างไรเพราะในสมัยนั้นยังไม่ได้คิดค้นการถ่ายรูป ดังนั้น ยูลีส เชวาเลีย (Ulysse Chevalier) บุรุษผู้มีความรู้ผู้หนึ่งของฝรั่งเศสจึงบอกว่าผ้าห่อศพผืนนี้เป็นของปลอมแน่นอน <O:p></O:p>

    จากนั้นได้มีการศึกษาผ้าห่อศพนี้อีก โดยมีคนพยายามที่จะวาดภาพแบบเนกาทีฟลงบนผืนผ้าโดยใช้สีต่างๆ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จากนั้นจึงได้มีการทดลองใช้ "เมอร์" (Myrrh เป็นยางหอมที่ได้จากต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทำน้ำหอมและธูปบูชา ) ทดลองใช้ "อโลส์" (Aloes เครื่องเทศชนิดหนึ่ง ใช้ผสมกับน้ำมันหอมใช้มากในพิธีศพ ) <O:p></O:p>

    โดยพบว่าถ้านำเมอร์ผสมกับอโลส์ทาตัวศพซึ่งคาดว่าคนในสมัยโบราณใช้วิธีการนี้ในพิธีทางศาสนา อาจจะมีปฏิกิริยากับผ้าที่ใช้ห่อศพก็ได้ และเหงื่อของคนตายที่ตายเพราะถูกรมานอย่างเจ็บปวด จะมียูเรียขับออกมาเป็นจำนวนมาก สารนี้นานไปก็จะสลายเป็นแอมโมเนีย ระเหยออกมา ไอระเหยนี้เข้าใจว่าจะทำปฏิกิริยากับน้ำมันที่ชุ่มอยู่ในผ้าห่อศพ และทำให้เกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลได้ อย่างไรก็ตามการค้นพบนี้ก็ไม่เป็นที่ยอมรับเท่าใดนัก <O:p></O:p>

    ต่อมาได้มีการศึกษาด้านสรีรวิทยา โดยทดลองกับศพจริงๆ หลายศพ พบว่าตะปูที่ตอกอุ้งมือนั้นไม่สามารถยึดร่างคนไว้บนไม้กางเขนได้ เพราะเนื้อ เอ็น กระดูกบริเวณอุ้งมือจะฉีกขาด ทานน้ำหนักตัวไม่อยู่ การตอกตะปูจึงต้องตอกที่ข้อมือ หรือส่วนแขนตั้งแต่ข้อมือไป จนถึงข้อศอกเท่านั้น......... <O:p></O:p>

    จากความจริงนี้ทำให้เชื่อได้ว่าผ้าห่อศพนี้เป็นของจริง เพราะรอยที่เกิดบนผ้านั้นปรากฏอย่างชัดเจนว่า การตอก ตะปูยึดกระทำที่แขน ไม่ใช่อุ้งมือเหมือนภาพวาดศิลปะที่นิยมวาดกันทั่วไป ในปี ค.ศ.1973 ได้มีการค้นพบสิ่งน่าประหลาดอย่างหนึ่ง คือภาพที่ปรากฎอยู่บนผ้านั้นเป็นภาพที่อยู่ส่วนบนของผิวของเส้นด้าย ไม่ได้แทรกซึมลงไปในเนื้อเส้นด้ายเลย และส่วนที่ทำให้เกิดภาพก็ไม่ใช่องค์ประกอบของสีด้วย นอกจากนี้ได้มีการนำตัวอย่างเศษผ้าชิ้นเล็กๆ ไปตรวจสอบ พบว่า เนื้อผ้าเป็นผ้าลินินและใช้กันทั่วไปในปาเลสไตน์สมัยโบราณ เส้นใยทำจากฝ้าย ซึ่งมาจากตะวันออกกลาง ถักทอแบบ "Doubled Thread" ลายก้างปลา เป็นแบบฉบับการทอที่โบราณที่สุด เส้นด้ายนั้นปั่นด้วยมือเป็นวิธีโบราณเช่นกัน <O:p></O:p>

    ในปี ค.ศ. 1978 ได้มีการจัดตั้งโครงการเพื่อทดสอบผ้าห่อศพทางด้านวิทยาศาสตร์ขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการฉายแสง UV และ เอกซเรย์ มีการถ่ายรูปอย่างละเอียดทุกๆ ตารางมิลลิเมตร ประมาณ 5,000 รูป โดยใช้คลื่นแสงที่มีความถี่ต่างๆ กัน นอกจากนี้ยังมีการใช้เทปเหนียว และเครื่องดูด เพื่อดักจับเอาบางส่วนของเส้นใยเล็กๆ ฝุ่นผง ละอองเกสร และอณูอื่นๆ ไปวิเคราะห์ การดำเนินการตรวจสอบเป็น ไปอย่างช้าๆ โดยอาศัยเวลาว่างเท่านั้น.......เวลาล่วงเลยไปถึงปีครึ่ง <O:p></O:p>

    ผลที่ได้ก็มีทั้งที่สร้างความผิดหวังและข้อขัดแย้ง แต่ส่วนใหญ่ของผลงานที่ได้รับก็นำมาซึ่งคำตอบ <O:p></O:p>

    ผลการวิเคราะห์จากโครงการนี้พบว่า สีเหลืองอ่อนที่เป็นภาพ จะปรากฏอยู่บนสุดของเส้นด้าย สีนั้นไม่ได้กระจายหรือซึมลงไปในเนื้อ เส้นด้าย ไม่ได้ไหลลงไปข้างๆ และก็ไม่ได้มีสีปรากฏระหว่างช่องว่างของเส้นด้าย แสดงว่าสีนั้นจับอยู่บนเส้นด้าย ไม่ใช่ด้วยวิธีวาดหรือถูสีไปบนผ้า <O:p></O:p>

    ดังนั้นพวกนักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อว่าผ้าห่อศพแห่งตูรินไม่ใช่ภาพเขียน เพราะไม่พบเม็ดสี หรือรงค์ของสีแต่อย่างใดนอกจากเหล็ก ออกไซด์ปริมาณน้อยเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามก็มีนักวิทยาศาสตร์ผู้ร่วมทีมบางคนมีความคิดที่แปลกแตกต่างออกไป ดังนั้นจึงไม่สามารถสรุป แน่นอนถึงที่มาของภาพบนผ้าห่อศพได้ <O:p></O:p>
    สำหรับรอยเปื้อนเลือดที่ปรากฏอยู่บนผ้านั้น เมื่อตรวจสอบจากภาพถ่ายของ เซคอนโด เปีย ( Secondo Pia ) แล้ว พบว่าส่วนที่เป็นเลือดจะปรากฏเป็นโพสิทีฟ ซึ่งต่างกับภาพบนผ้าที่ปรากฏเป็นเนกาทีฟ และเมื่อลองเลาะรอยเย็บข้างหลังผ้าออก ก็พบรอยเลือดที่ไหลผ่านทะลุผ้าลงมา ตรงข้ามกับภาพที่จะเห็นเฉพาะเพียงด้านหน้าของภาพเท่านั้น ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดว่า รอยเปื้อนเลือดกับรอยที่เกิดเป็นภาพนั้น <O:p></O:p>

    เกิดขึ้นด้วยวิธีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผลการตรวจสอบก็ปรากฏออกมาว่า รอยเลือดนั้นเกิดจากเลือดจริงๆ โดยผลจากการเอกซเรย์ แสดงให้เห็นเปอร์เซนต์ของธาตุเหล็กในเลือดมนุษย์อย่างถูกต้อง และได้มีนักวิทยาศาสตร์พบร่องรอยผลึกเล็กๆ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นผลึกของ เฮโมโกลบิน <O:p></O:p>

    แม้ว่าการวิจัยต่างๆ ทั้งหมด จะเห็นพ้องต้องกันว่าผ้าห่อศพนี้เป็นของเก่าแก่โบราณแน่ แต่ก็ยังไม่อาจสรุปผลได้ว่าภาพปริศนาบนผ้าผืนนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ผ้าห่อศพแห่งตูรินยังคงเป็นสิ่งปริศนาอยู่เหนือข้อพิสูจน์ใดๆ ตราบจนวันนี้

    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ย้อนรอยการค้นพบโลกตะลึงผ้าห่อศพตูริน
    <O:p></O:p>
    [​IMG]

    ในวันที่ 28 พฤษภาคม ปี1898 นักถ่ายรูปสมัครเล่นชาวอิตาลี Secondo Pia ได้ถ่ายรูปผ้าห่อศพนี้เป็นครั้งแรก และทำให้เราต้องตกใจกับ ผลที่ได้จาก ภาพเนกกาทีฟ(ได้จากฟิล์ม ขณะล่างฟิล์ม) ดูเหมือนว่า จะมีบ้างอย่างซ่อนอยู่ แต่ ภาพที่ได้ไม่ได้แตกต่างกันมากนักระหว่าง ภาพปกติ และ ภาพเนกกาทีฟ แต่ เขาสังเกตุเห็นว่ามีภาพผู้ชายซ่อนอยู่ Piaจึง เริ่มที่จะสนใจในผ้าห่อศพนี้มากขึ้น เขาพยายามปรับภาพและ พยายามที่จะ ล้างภาพออกมาให้เห็นชัดมากขึ้นด้วยเทคนิคของการล้างรูป เพื่อค้นหาความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้<O:p></O:p>

    <O:p>[​IMG] </O:p>​

    ภาพ: ด้านหน้า<O:p></O:p>​

    <O:p>

    [​IMG] </O:p>​



    ภาพ: ด้านหลัง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ปัจจุบันเป็นเจ้าของ ผ้าห่อศพแห่งตูรินนี้คือ คริสตจักรโรมันแคทอลิก มันถูกส่งมอบให้กับ คริสตจักรโดย House of Savoy และเป็นเจ้าของมาตั้งแต ปี 1453 และในปี 1983 มีผู้เสนอแนะถึงการพิสูจน์ ผ้าห่อศพนี้ และถูกต่อว่า ถึงความไม่เหมาะสมที่คริสตจักรจะเก็บ ผ้าห่อพระศพไว้โดยไม่พิสูจน์ มีการทวง มันกลับคืน ให้มาที่ Ecumenical Patriarch หรือที่ Eastern Orthodox จนกระทั่งมันเป็นกรณีขึ่นมา ว่ามันถูกขโมยหายไป จาก Orthodox ในช่วง สงครามครูเซด (คริสตจักรโรมันแคทอลิก ถูกกล่าวหา ว่าขโมยผ้าห่อศพนี้ไป)<O:p></O:p>
    ชาวรัสเซียOrthodox บอกว่า มันเป็นสิ่งที่ เกี่ยวกับ อาณาจักร Byzantine (เป็นอาณาจักรเก่าของรัสเซีย) และมันควรจะกลับไปที่รัสเซีย<O:p></O:p>
    ผ้าห่อศพจะไม่ถูกนำให้ ประชาชนได้เห็นอีก นอกจากโอกาศพิเศษเท่านั้น และครั้งต่อไปที่เราจะชมผ้าห่อศพนี้ อีกครั้ง ก็ปี 2025 โดย คริสตจักรคาทอลิก <O:p></O:p>

    <O:p><ST1:CITY><ST1:pLACE></ST1:pLACE></ST1:CITY></O:p>​

    <O:p></O:p>

    <O:p>[​IMG]</O:p>​


    ภาพ: ในศตวรรษที่10 ภาพแสดง ให้เห็นภาพแห่ง <ST1:CITY><ST1:pLACE>Edessa</ST1:pLACE></ST1:CITY><O:p></O:p>​


    <O:p></O:p>​


    ศตวรรษที่6รายงานครั้งแรก ถึงการค้นพบ ภาพพระคริสต์ ที่กำแพงเมืองEdessa ประเทศตุรกี และมันถูกเรียกว่า ภาพแห่ง <ST1:CITY><ST1:pLACE>Edessa</ST1:pLACE></ST1:CITY> และ ปี944 ภาพแห่งEdessa ถูกส่งไปที่ <ST1:pLACE>Constantinople</ST1:pLACE> มีการเทศนา เรื่องเกี่ยวกับผ้าห่อพระศพ และมีการพูดถึงรอยเลือดในภาพปี 1203 <O:p></O:p>
    อัสวินครูเซด ชื่อว่า Robert de Clari อ้างว่าได้เห็นผ้าห่อศพนั้น ที่Constantinople<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>​


    <O:p>[​IMG]</O:p>​


    ภาพ: ในปี 1192-1195<O:p></O:p>​


    <O:p></O:p>​


    ปี 1205 จดหมายจาก <ST1:pLACE>Constantinople</ST1:pLACE> ถึง โป๊ป หลังจากที่ ทหารจากสงครามครูเซด 4 คน บอกว่า เมืองเวนิส ถูกบุก และถูกขโมยของสำคัญจำนวนมาก รวมทั้ง ผ้าลินิน ที่องค์พระยซูใช้หลังจากที่ สิ้นพระชนม์ที่ไม้กางเขน และพื้นขึ้น นี้เป็นข่าวสุดท้าย ที่พูดถึง ภาพแห่งEdessa<O:p></O:p>
    1418 Humbert แห่ง Villersexel ย้าย ผ้าห่อพระศพ มาที่คฤหาสน์ของเข้า ที่ Montfort ประเทศฟรั่งเศส เพื่อดูแลปกป้อง จากผู้ต่อต้าน หลังจากที่เขาแต่งงานกับ ลูกสาวของ Geoffroi de Charney <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>1357 หน้าต่างประดับกระจก เป็นรูปอัศวิน ที่โบสถ์ ในเมืองLirey ประเทศฟรั่งเศส แสดงให้เห็น ถึงผ้าห่อพระศพ <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>

    <O:p>[​IMG]</O:p>​


    ภาพ: ภาพวาดที่แสดงถึง ผ้าห่อพระศพของพระเยซ<O:p></O:p>​

    <O:p></O:p>

    1389 ผ้าห่อพระศพ ออกแสดงเป็นครั้งแรกที่ <ST1:CITY><ST1:pLACE>Troyes</ST1:pLACE></ST1:CITY> บิชอพแห่งTroyes คือ Pierre d'Arcis ออกมาพูดตำหนิ ถึงตัวอักษรเล็ก ที่โกหก อย่างแรง เขียนถึงโป๊ป ที่ผ้าห่อศพ บิชอพกล่าวว่า ใครเป็นผู้เขียน ผ้าห่อศพนี้ ทำไมถึงมีชื่อของศิลปินได้ล่ะ<O:p></O:p>

    ปี 1390 Antipope Clement ที่ ช่วงปี 137894) เปิดเผยถึง ผ้าห่อพระศพว่า เป็นของจริงหรือไม่ แต่ Julius ที่2 และโป๊ป บอกว่ามันเป็นของจริง<O:p></O:p>
    1418 Humbert แห่ง Villersexel ย้าย ผ้าห่อพระศพ มาที่คฤหาสน์ของเข้า ที่ Montfort ประเทศฟรั่งเศส เพื่อดูแลปกป้อง จากผู้ต่อต้าน หลังจากที่เขาแต่งงานกับ ลูกสาวของ Geoffroi de Charney
    1453 ผ้าห่อพระศพ ถูกขาย ให้กับ Louis of Savoy <O:p></O:p>
    ปี 1532 ผ้าห่อพระศพเสียหาย จากไฟ และน้ำ ที่บ้านของ <ST1:STATE><ST1:pLACE>Savoy</ST1:pLACE></ST1:STATE> และ Poor Clareพยายามที่จะซ่อมแซม ความเสียหาย ด้วยการปะ<O:p></O:p>
    [​IMG]

    ปี 1578 ถูกย้ายไปที่ โบสถ์หลวงที่ ตูริน และ วันที่ 5/28/ 1898 นักถ่ายภาพสมัครเล่น ชาวอิตาลี ชื่อ Secondo Pia ก็ได้ถ่ายภาพ ผ้าห่อศพนี้เป็นครั้งแรก <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>

    <O:p>[​IMG] </O:p>​


    [​IMG]

    ภาพ: โปสเตอร์ โฆษณางานแสดงผ้าห่อพระศพ ในปี 1898<O:p></O:p>​




    ปี 1931 ผ้าห่อพระศพ ถูกนำมาแสดงในงานแต่งงานของ เจ้าชาย Umberto <O:p></O:p>

    ปี 1970 มันถูกตรวจสอบอย่างจริงจัง ถึงเหตุผลของภาพ ที่ปรากฏ สี และอื่นๆ แต่ก็ยังไม่มีผลสรุปที่แน่ชัด<O:p></O:p>

    ปี 1978 ผ้าห่อพระศพ ถูกแสดง ที่ งานฉลองครบรอบ 400 ปี ที่มาถึงเมืองตูริน(<ST1:CITY><ST1:pLACE>Turin</ST1:pLACE></ST1:CITY>)<O:p></O:p>

    ปี 1978 ห้าวันหลังจากนั้น โครงการวิจับผ้าห่อพระศพแห่งตูริน (STURP : Shroud of Turin Research Project) ก็แสดงต่อหน้าสาธารณชน ในสื่อต่างๆ ถึงงานวิจัยที่จัดให้มีขึ้น<O:p></O:p>

    ปี 1979 Walter McCrone สมาชิกของ โครงการวิจัย STURP รายงาน เกี่ยวกับร่องรอย ของภาพ ประกาศเลิกวิจัย โดยบอกว่าผ้าห่อพระศพ เป็นของหลอกลวง หลังจากนั้น เขาพิมพ์รายงาน ถึงสิ่งที่เขาค้นพบ โครงการวิจัยดำเนินต่อไป และแทนที่เขาด้วยนักวิทยาศาสตร์คนอื่น<O:p></O:p>

    ปี 1983 The House of <ST1:STATE><ST1:pLACE>Savoy</ST1:pLACE></ST1:STATE> ส่งผ้าห่อพระศพให้กับ The Holy
    <O:p></O:p>
    [​IMG]

    ปี 1988 ชิ้นส่วน ผ้าห่อพระศพขนาดเท่า ตราไปรษณีย์ ถูกส่งไปยัง ห้องทดลอง ที่แตกต่างกัน 3 แห่ง สำหรับพิสูจน์ อายุของมัน ทั้งสามแห่งรายงานถึงผ้าห่อพระศพว่ามีอายุ อยู่ระหว่างปี1260 และ 1390 คริสตจักร โรมันแคทอลิก ยอมรับเรื่องนี้ และแจ้งให้ ทราบว่ามันไม่ใช้ของเก่า แต่ ทุกอย่างยังดำเนินต่อไป ผ้าห่อพรระศพกลายเป็นสิ่งที่พูดกันอย่างกว้างขวาง ว่าอาจจะเป็นของปลอมที่ทำขึ้นในยุคกลาง <O:p></O:p>

    ปี 1997 เกิดไฟไหม้ ผ้าห่อพระศพ แต่ มันได้รับการช่วยไว้โดยนักดับเพลิง <O:p></O:p>

    ปี 1997 ชาวอิสราเอล สองคน บอกว่า ผ้าห่อพระศพ ไม่ได้มาจาก พระเยซู เพราะว่า ไม่น่าจะมีผ้าอะไร ที่อยู่มาได้ตั้ง 2,000 ปี <O:p></O:p>

    ปี 1998 โป๊ป จอห์น ปอล์น ที่สอง พูดถึงผ้าห่อศพว่า " จนถึงเดี๋ยวนี้ เราก็ไม่ได้จัดการ สิ่งที่แสดงความเชื่อนี้ คริสตจักรไม่สามารถที่จะชี้แจงได้ หรือตอบคำถามได้ กลายเป็นงานของนักวิทยาศาสตร์ ที่จะพิสูจน์ความจริง ในการตอบคำถามถึงผ้าห่อพระศพ"<O:p></O:p>

    ปี 2000 ผ้าห่อพระศพถูกนำออกแสดงในงาน ฉลองครบรอบปี 2000 <O:p></O:p>

    ปี 2000 นักโบราณคดี ค้นพบ ผ้าห่อศพ ที่หลุมฝั่งศพในเยรูซาเล็ม และเป็นผ้าห่อศพในช่วง ศควรรษที่1 <O:p></O:p>

    ปี 2002 The Holy เริ่มนำ ผ้าห่อศพออกมาซ่อมแซมรอยปะกว่า30 แห่งให้เรียบร้อย

    ปี 4/9/ 2004 เนชั่นเนล จีโอกราฟฟิก ลงบทความเกี่ยวกับ การตรวจสอบผ้าห่อศพอย่างง่ายๆ ในปี 1988 จากที่ได้รับมาจากยุคกลาง
    <O:p></O:p>
    <O:p>[​IMG]
    </O:p>
    [​IMG]



    http://www.weareimpact.com



    --------------------------------------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2008
  2. ศิษย์โง่

    ศิษย์โง่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +109
    อืม...เรื่องผ้าห่อศพแห่งตูริน เราก็เคยอ่านเจอมานานหลายปีแล้ว ก็ต้องพิสูจน์กันต่อไปอยู่ที่ข้อมูลและเหตุผลมาสนับสนุนอ่ะนะ แต่เราว่าทุกศาสนาย่อมจะมีเรื่องอัศจรรย์เหลือเชื่อเพื่อยืนยันความศักดิ์สิทธิ์และพลังศรัทธาของผู้ที่นับถือในศาสนานั้นๆ นะ เป็นความเห็นส่วนตัวนะคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...