เคล็ดลับ วิชาดูจิต

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย wisarn, 15 พฤศจิกายน 2005.

  1. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    ขอขอบคุณที่นำเรื่องดีๆมาให้เพื่อนๆสามชิกได้รับทราบ

    ขอร่วมอนุโมทนาครับ,ธรรมะลึกซึงดีครับขอให้ท่านกระทู้ต่อไปเรือยๆนะครับดีมาก, กับผู้ที่กำลังปฏิษัติธรรมได้แนวทางที่ถูกกับจริตของแต่ละท่านครับ(การให้ธรรมะคือสิ่งประเสิรฐ์ทั้งปวง,ทำให้ผู้ไม่รู้ได้รู้และเกิดปัญญาทางธรรม,ครับ(b-ping)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2007
  2. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    726
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,503
    เครื่องขัดขวางการเรียนรู้ธรรม



    ก่อนที่เราจะพิจารณาว่าต้นทางของเส้นทาง การปฏิบัติธรรมอยู่ที่ตรงไหน ผู้เขียนขอเสนอให้เพื่อนนักปฏิบัติขจัดสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 3 ประการ เรียกว่า ปปัญจธรรม อันเป็นกิเลสเครื่องเนิ่นช้า เป็นตัวการทำให้คิด ปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่ายๆ และเปิดเผย ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริง กิเลส 3 ประการนี้ ได้แก่

    1 มานะ คือความถือตัวว่าเรารู้ดีแล้ว เราเก่งแล้ว หรือผู้แสดงธรรมท่านอื่นก็รู้พอๆ กันกับเรา หรือเรามันโง่เขลาเบาปัญญาไม่มีทางที่จะเรียนรู้ธรรมได้เลย

    2 ทิฏฐิ คือการมีความเชื่อมั่นหรือปักใจเชื่อในแนวทางปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีอยู่เดิม คิดว่าแนวทางของเราที่ทำอยู่นี้เท่านั้นถูกต้อง แนวทางอื่นๆ ไม่ถูกต้อง ความรู้สึกอย่างนี้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างมาก พอได้ฟังสิ่งใดที่ขัดแย้งหรือแตกต่างจากความเชื่อเดิมก็เกิดโทสะเสียแล้ว ทำให้การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ของตนเองทำไม่ได้ หรือพอได้รับฟังสิ่งใหม่ๆ ก็คิดเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมอยู่ตลอดเวลา ทำให้ขาดความตั้งใจมั่นที่จะศึกษาสิ่งใหม่ๆ ด้วยเหตุนี้เองพวกเราจึงควรทำตนให้เป็นเสมือน ถ้วยชาที่ว่างเปล่าเสียก่อน จึงจะเข้าใจในสิ่งที่ ผู้เขียนจะกล่าวต่อไปนี้ได้อย่างง่ายดาย และเมื่อเข้าใจแล้วจะไม่เชื่อถือก็ไม่ว่ากัน อย่าเพิ่งปฏิเสธทั้งที่ยังไม่เข้าใจก็ขอบคุณมากแล้ว

    3 ตัณหา คือความอยาก ในที่นี้หมายถึงความอยากที่จะปฏิบัติธรรม และความอยากที่จะบรรลุธรรม เมื่อมีความอยากก็เกิดการกระทำตาม อำนาจของความอยากต่างๆ นานา ตรงกับคำสอน ของพระพุทธเจ้าที่ว่า "ตัณหาเป็นผู้สร้างภพ" คือสร้างความปรุงแต่งหรือการทำงานทางใจที่เรียกว่า "กรรมภพ' ขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพียรทำอะไรบางอย่างเพื่อละอกุศล และการเพียรทำอะไรบางอย่างเพื่อเจริญกุศล เช่นการพยายามทำสติ สมาธิ ปัญญา และวิมุตติให้เกิดขึ้น โดยเชื่อว่าถ้ามีความเพียรปฏิบัติและสร้างความปรุงแต่งฝ่ายกุศลให้เต็มที่แล้ว จะรู้ธรรมได้ในที่สุด

    แท้จริงการมีความเพียรชอบนั้น ไม่ใช่เพียรโดยเอากำลังเข้าหักหาญกับกิเลสหรือพยายามบังคับให้กุศลเกิดขึ้น เพราะธรรมทั้งปวงทั้งฝ่ายกุศลและอกุศลต่างก็เป็นอนัตตาคือไม่อยู่ในอำนาจ บังคับของใคร ความเพียรเช่นนั้นจึงไม่ใช่สัมมาวายามะหรือความเพียรชอบ เพราะยังประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ว่าเราจะละอกุศลและทำให้ธรรมฝ่ายกุศลเกิดขึ้นได้ตามใจปรารถนา แต่เป็น มิจฉาวายามะอันมีตัณหาอยู่เบื้องหลังการปฏิบัติธรรมและมีความหลงผิดเป็นเครื่องชี้นำ ส่วนความเพียรชอบนั้นเพียงมีสติก็เกิดความเพียรชอบแล้ว คือทันทีที่สัมมาสติเกิดขึ้น อกุศลก็เป็นอันถูกละ ไปแล้ว และกุศลก็เริ่มเจริญขึ้นแล้ว สมดังที่ หลวงปู่ มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านสอนว่า "เมื่อใดมีสติเมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อใดขาดสติเมื่อนั้นขาดความเพียร" ดังนั้นแม้จะพยายามเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิตลอดวันตลอดคืน ถ้าไม่มีสติก็ยังไม่ได้ชื่อว่าทำความเพียรชอบ


    พวกเราควรสลัดภาพลวงตา ที่ว่าการปฏิบัติธรรมคือการที่ต้องเพียรพยายามทำอะไรที่ยากๆ ตั้งมากมายหลายอย่าง อันเป็นความปรุงแต่งฝ่ายดีหรือปุญญาภิสังขารหรือกุสลาภิสังขารซึ่งมีรากเหง้ามาจากอวิชชา เพราะแท้ที่จริงแล้วความเพียรพยายามปรุงแต่งฝ่ายดีนั้นแหละเป็นเครื่องขัดขวางการบรรลุธรรมในขณะที่การบรรลุธรรมเกิดจากการรู้ทันและก้าวข้ามความปรุงแต่งทั้งปวงได้ต่างหาก ถ้าไม่ปรับทัศนคติเสียก่อน พวกเราจะเข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียนบอกเล่าให้ฟังได้ยากเหลือเกิน เพราะแม้ผู้เขียนจะกล่าวว่า "จงอย่าปรุงแต่งการปฏิบัติขึ้นมา แต่ให้ รู้ ทันความปรุงแต่ง คือรูปนามโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานทางใจที่กำลังปรากฏอยู่" พวกเราก็จะต้องคิดว่า "ทำอย่างไรจึงจะไม่ปรุงแต่ง และทำอย่างไรจึงจะรู้ทันความปรุงแต่งได้" อันจะนำพวกเราให้ถลำเข้าไปในโลกของความคิดนึกปรุงแต่งต่อไปอีก แทนที่จะรู้ ตื่น และเบิกบานขึ้นในฉับพลัน เพราะพวกเรามุ่งแต่จะ "ทำ" โดยละเลยการ "รู้"

    เมื่อผู้เขียนกล่าวว่า "การปฏิบัติธรรมเป็นสิ่ง ที่ไม่ต้องใช้ความเพียรทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แม้กระทั่งการ ทำกุศล" ก็อาจทำให้เพื่อนนักปฏิบัติจำนวนมากไม่เชื่อถือ เพราะขนาดเพียรพยายามปฏิบัติธรรมกันแทบตาย ก็ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จในทาง ธรรมเลย คือยังไม่เห็นวี่แววว่าจะพ้นทุกข์ได้ที่ตรงไหน ส่วนมากพอเริ่มปฏิบัติก็มักจะมีความทุกข์ เพิ่มมากยิ่งขึ้น แล้วผู้เขียนยังมีหน้ามาเสนอได้ว่าไม่ต้องเพียร คำกล่าวนี้จะใช้ได้อย่างไรกัน เพราะใครๆก็สอนให้เพียรให้มากทั้งนั้น เพิ่งจะเคยได้ยิน จากผู้เขียนนี่แหละที่บอกว่าไม่ต้องเพียร เพราะถึงเพียรก็ไม่สำเร็จ

    ความจริงผู้เขียนไม่ได้พูดเอาเอง แต่เรื่องเคย มีมาแล้ว ดังที่ท่านพระอานันทเถระ (พระอานนท์) ได้เล่าถวายคณะสงฆ์อันมีท่านพระมหากัสสป-เถระเป็นประธานในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก ดังนี้

    (1) ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้วเทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งฯ

    (2) เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำนี้กับพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ข้าพระองค์ขอทูลถาม พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้วฯ

    ท.ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะได้อย่างไรเล่าฯ

    พ. ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดเรายังพักอยู่ เมื่อนั้นเรายังจมอยู่โดยแท้ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้นเรายังลอยอยู่โดยแท้ ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เราไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แลฯ

    เทวดานั้นกล่าวคาถานี้ว่า นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะเห็นขีณาสวพราหมณ์ผู้ดับรอบแล้ว ไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลกฯ

    (3) เทวดานั้นกล่าวคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงอนุโมทนา ครั้งนั้นแล เทวดานั้นดำริว่า พระศาสดาทรงอนุโมทนาคำของเรา จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วก็หายไป ณ ที่นั้นแลฯ

    (โอฆตรณสูตรที่ 1 ว่าด้วยการข้ามโอฆะ พระไตรปิฎกเล่ม 15 พระสุตตันตปิฎกเล่ม 7 สัง-ยุตตนิกาย สคาถวรรค)

    คำว่า "พักอยู่"นี้พระอรรถกถาจารย์ท่านอธิบายว่า หมายถึงการปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส เป็นการหลงปรุงแต่งฝ่ายชั่วหรืออกุสลาภิสังขาร จัดเป็นการปฏิบัติที่ย่อหย่อนหรือกามสุขัลลิกานุ-โยค จะทำให้ผู้ปฏิบัติจมลงในอบายภูมิ ส่วนคำว่า "เพียรอยู่"หมายถึงการหลงปรุงแต่งฝ่ายกุศลหรือ กุสลาภิสังขาร จัดเป็นการปฏิบัติที่ตึงเกินไป ทำตน ให้ลำบาก หรืออัตตกิลมถานุโยค แต่ก็ทำให้ผู้ปฏิบัติไปสู่สุคติภูมิได้

    ลองสังเกตดูเถิดว่า เมื่อพวกเราไม่ได้คิดถึงการปฏิบัติธรรม พวกเราก็มักจะหลงไปกับโลก จมแช่อยู่กับกิเลส แต่พอคิดถึงการปฏิบัติธรรมเท่านั้น พวกเราก็จะเริ่มเกิดการกระทำทางกายและทางใจตั้งมากมายหลายอย่างเพื่อปรุงแต่งกุศลขึ้นมา เช่น พยายามบังคับจิตที่ไม่สงบให้สงบ ทำจิตที่ไม่ดีให้ดี ขัดขวางหรือพยายามทำลายอารมณ์อันเป็นทุกข์และอกุศล ตลอดจนพยายามสร้างและรักษาอารมณ์อันเป็นสุขและกุศลไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพยายามสร้างสติ สัมมา-สมาธิ ปัญญา และวิมุตติให้เกิดมีขึ้น โดยหวังว่าถ้าทำสิ่งที่ดีๆให้เกิดขึ้นอย่างถาวรได้แล้ว ย่อมจะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ดังนั้นพวกเราจึงหลงสุดโต่งอยู่ในอาการสองอย่างคือ ถ้าไม่เพียรก็พัก และถ้าไม่พักก็เพียร

    การพักเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย ส่วนการเพียร นั้นจะขอยกตัวอย่าง ให้พวกเราดูสักเล็กน้อยในเรื่องเกี่ยวกับการพยายามปรุงแต่งธรรมฝ่ายกุศลได้แก่ สติ ศีล สมาธิ ปัญญา แม้กระทั่งวิมุตติก็ยังมีผู้อุตส่าห์ปรุงแต่งขึ้นมาจนได้


    ตัวอย่างของการปรุงแต่งสติ ก็เช่น (1) การพยายามจะทำให้สติเกิดขึ้นด้วยการ (ก) พยายาม เอาสติไปจดจ่อหรือตรึงความรู้สึกไว้กับอารมณ์อันใดอันหนึ่ง โดยมุ่งหวังว่าจะไม่ให้เผลอหรือขาดสติได้ เช่น เอาสติกำหนดไว้ที่ลมหายใจ ที่ท้อง ที่ร่างกายทั้งกาย ที่คำบริกรรม หรือแม้กระทั่งสิ่งภายนอกเช่นพระพุทธรูป ลูกแก้ว และเปลวเทียน เป็นต้น (ข) พยายามซอยขั้นตอนการเคลื่อนไหวร่างกายให้ละเอียดยิ่งขึ้น เช่น ทำจังหวะการเคลื่อนไหวมือ เท้า และลมหายใจ เป็นต้น และ (ค) พยายามกระทบผัสสะทางกายแรงๆ เพื่อให้เกิดความรู้สึกตัว เช่น เดินกระแทกส้นเท้าแรงๆ เดินโคลงตัวแรงๆ เคาะนิ้ว และเขกโต๊ะ เป็นต้น หรือ (2) การส่งสติเข้าไปจมแช่อยู่กับอารมณ์ที่กำลังปรากฏทางทวารทั้ง 6 ด้วยความจงใจอันเจือ ด้วยโลภะ เพราะทราบว่าสติมีหน้าที่จับอารมณ์ให้มั่น จึงจงใจจะจับอารมณ์ให้มั่น

    ความจงใจทั้งหลายเหล่านี้ทำให้สติเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นเพียงเครื่องระลึกรู้อารมณ์ ไป เป็นเครื่องเพ่งอารมณ์โดยไม่รู้ตัว สิ่งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการพยายามสร้างสติปลอมๆ ได้แก่ การ หลงเพ่งนิ่งอยู่กับอารมณ์บ้าง หลงจมแช่อยู่กับอารมณ์โดยมีความรู้สึกว่ากำลังรู้ความเกิดดับของอารมณ์บ้าง หลงเพ่งนิ่งอยู่กับกายบ้าง หลงจมแช่อยู่กับกายโดยมีความรู้สึกว่ากำลังรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลาบ้าง จิตจะเกิดอาการหนักๆ แน่นๆ แข็งๆ ซึมๆ ทื่อๆ อันเป็นลักษณะของอกุศลจิตทั้งสิ้น

    อนึ่ง การเพ่งนิ่งอยู่กับอารมณ์ทั้งภายในและ ภายนอก ทั้งรูปและนามนั้น เป็นเรื่องที่สังเกตให้รู้ทันได้ง่าย แต่การส่งใจเข้าไปจมแช่เพลิดเพลินอยู่ กับอารมณ์นั้นรู้ทันได้ยาก เพราะเจ้าตัวจะรู้สึกว่า ตนเองรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่แท้ๆ และมีความรู้สึกตัวต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาด้วย สิ่งใดจะเกิดขึ้นทางกายหรือทางใจก็รู้ได้หมด เรื่องนี้หากผู้ปฏิบัติจะเฉลียวใจสักนิดว่าตนกำลังจงใจเอาสติไปจมแช่อยู่กับรูปนามด้วยอำนาจของโลภะ และสภาวะรู้ดังกล่าวเกิดได้ต่อเนื่องมากเป็นชั่วโมงๆ แทนที่ความรู้สึกตัวจะเกิดดับเป็นขณะๆ พร้อมกับจิตอย่างที่ควรจะเป็น ถ้าเฉลียวใจมองเห็นสภาวะอย่างนี้ก็จะพ้นจากการปฏิบัติที่ผิดพลาดตรงนี้ได้ แต่ถ้าเชื่อมั่นว่าตนกำลังรู้ตัวทั่วพร้อม ทั้งที่กำลังหลงส่งจิตเข้าไปจมแช่อยู่กับอารมณ์ด้วยอำนาจของโลภะ ก็คงต้องติดอยู่ตรงนี้ต่อไปอีกนาน

    ตัวอย่างของการปรุงแต่งศีล ก็เช่น การไปขอรับศีลจากพระภิกษุ แล้วพยายามกดข่มควบคุม จิตใจและร่างกายของตนไม่ให้ทำผิดศีล เป็นการถือศีลด้วยความยากลำบากและเคร่งเครียด ถ้ารักษาไว้ได้ก็พอใจและมีมานะเพิ่มขึ้น ถ้ารักษาไว้ไม่ได้ก็เสียใจหงุดหงิดเป็นทุกข์ใจ เป็นต้น

    ตัวอย่างของการปรุงแต่งสมาธิ ก็เช่น การพยายามทำจิตให้สงบ พยายามให้จิตรวมสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว พยายามทำจิตให้เซื่องซึมไม่รู้ร้อนรู้หนาวนอนแช่อยู่กับอารมณ์อันหนึ่ง บ้างก็เตลิดเปิดเปิงไปถึงขั้นพยายามนั่งให้เกิดหูทิพย์ตาทิพย์ ยิ่งเห็นผีเห็นเทวดาหรือมีอำนาจทางจิตได้ ก็ยิ่งสำคัญว่าสมาธิของตนดี เป็นต้น

    ตัวอย่างของการปรุงแต่งปัญญา ก็เช่น การใช้ความคิดพิจารณาร่างกายจิตใจของตนว่าเป็นปฏิกูล เป็นอสุภะ เป็นธาตุ เป็นขันธ์ เป็นรูปนาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เป็นต้น ทั้งนี้บางท่านเชื่อว่าการเจริญ วิปัสสนาทำได้ด้วยการคิด แต่เป็นการคิดอย่างมีระบบระเบียบ หรือคิดอย่างมีโยนิโสมนสิการ ทั้งที่ความจริงวิปัสสนาไม่ใช่เรื่องของการคิด แต่วิปัสสนาเป็นเรื่องของการมีสติปัญญาเข้าไปประจักษ์สภาวธรรมและความเป็นจริงของ รูปนามจริงๆ ต่างหาก แม้ในขั้นเริ่มต้นเจริญวิปัสสนาในระดับอุทยัพพยญาณ ก็ต้องรู้รูปนามโดยพ้นจากจินตามยปัญญาไปแล้ว

    ตัวอย่างของการปรุงแต่งวิมุตติ ก็เช่น การแกล้งทำจิตใจให้เลื่อนลอย แกล้งทำจิตใจให้กว้างขวาง แกล้งทำจิตใจให้ว่างเปล่าเกาะนิ่งอยู่กับอารมณ์ว่างๆ หรือความไม่มีอะไรอันเป็นการเจริญอรูปฌาน หรือดับความรับรู้คือดับจิตจนเหลือแต่รูปกายแข็งทื่อไร้ความรู้สึกอยู่ อันเป็น วิธีการที่จะนำไปเกิดเป็นพรหมลูกฟักหรือกำเนิดในอสัญญสัตตาภูมิ เป็นต้น

    มีข้อที่ควรสังเกตประการหนึ่งก็คือ การปรุงแต่งสติ ศีล สมาธิ ปัญญา และกระทั่งวิมุตตินั้น สามารถปรุงแต่งทีละส่วนได้ ทั้งที่ในความเป็นจริง องค์ธรรมฝ่ายกุศลเหล่านี้ไม่ได้แยกขาดจากกัน แต่เป็นเหตุเป็นปัจจัยเกี่ยวเนื่องกันไป โดยเฉพาะศีล สมาธิ และปัญญานั้นจะต้องเกิดร่วมกันในเวลาที่อริยมรรคเกิดขึ้น แม้ในขั้นของการเจริญบุพพภาคมรรคคือขั้นที่ลงมือเจริญสติ ก็เป็นการอบรมทั้งศีล สมาธิ และปัญญานั่นเอง ไม่ใช่เวลาหนึ่งถือศีล เวลาหนึ่งทำสมาธิ และอีกเวลาหนึ่งเจริญปัญญา


    ทางสายกลางเป็นทางเล็กๆ สายเดียว ท่ามกลางเส้นทางแห่งความสุดโต่งมากมาย และเป็นเส้นทางที่พบเห็นได้ยาก เนื่องจากเป็นเส้นทาง ของการไม่พักและไม่เพียร ไม่ปรุงแต่งทั้งอกุศลและกุศล จึงเป็นกุศลชั้นเลิศ พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะทรงค้นพบทางสายกลางนี้ได้ด้วยพระองค์เอง ดังพระพุทธวัจนะที่ว่า

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลางไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน"

    ส่วนพวกเราผู้เป็นสาวกนั้น จะสามารถดำเนินไปตามทางสายกลางได้ถูกต้องก็ด้วยการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจ ซึ่งบทความเรื่องนี้จะได้กล่าวถึงเส้นทางสายกลางและการดำเนินไปตามทางสายกลางในแง่มุมของการปฏิบัติโดยไม่พักและไม่เพียรต่อไป



    [ทางเอก : พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 กันยายน 2007
  3. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    726
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,503
    อาการของจิตที่รู้สึกตัว
    ไม่เผลอและไม่เพ่ง เป็นอย่างไร


    พวกเราหลายท่านเมื่อปฏิบัติไปช่วงหนึ่งแล้วเกิดสงสัยว่า ที่ปฏิบัติอยู่นั้นตนเองรู้สึกตัวได้ถูกต้องแล้วหรือยัง ถ้าถูกต้องแล้วจะได้ตามรู้รูปนาม กายใจ เพื่อให้เกิดปัญญาตามทางสายกลางต่อไป

    วิธีสังเกตว่าเรารู้สึกตัวได้ถูกต้องแล้วหรือไม่ ให้สังเกตดังนี้

    1 ความรู้สึกตัวนั้นเกิดขึ้นเองเพราะเราไปรู้ทันรูปนามของตนเอง หรือว่าเกิดจากความจงใจและพยายามจะรู้สึกตัว หากมีสติเกิดไปตามรู้ทันรูปนามเข้าเองก็ใช้ได้ เช่น กำลังเผลอคิดเรื่องหนึ่งเรื่องใดอยู่แล้วเกิดสติระลึกขึ้นได้ว่า อ้าว เผลอไปแล้ว หรือกำลังโกรธอยู่ แล้วเกิดสติระลึกขึ้นได้ว่า อ้าว โกรธไปแล้ว อย่างนี้มักจะเกิดความรู้สึกตัวที่แท้จริง แต่ถ้ากายเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ จิตเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ จู่ๆ ก็นึกขึ้นได้ว่าจะต้องปฏิบัติธรรม แล้วเกิดความสงสัยว่ากายหรือจิตกำลังเป็นอย่างไร เกิดความอยากรู้ และเกิดอาการจงใจไปรู้กาย หรือรู้จิต อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ ต้องให้สติเกิดเองเพราะจิตจำสภาวะของรูปนามได้ จึงจะเกิดความรู้สึกตัวที่แท้จริง

    2 ในขณะที่คิดว่ารู้สึกตัวนั้นจิตเป็นกุศลหรืออกุศล ถ้าจิตเป็นกุศลแสดงว่ามีความรู้สึกตัวเกิดขึ้นจริง จิตที่เป็นกุศลจะมีความเบา อ่อนโยน ปราศจากกิเลสและนิวรณ์ คล่องแคล่ว และรู้อารมณ์อย่างซื่อตรงโดยไม่เข้าไปแทรกแซง แต่ถ้าในขณะนั้นจิตเป็นอกุศล มีอาการ หนัก แน่น แข็ง มีกิเลสและนิวรณ์ ซึมทื่อ หรือพยายามเข้าไปแทรกแซงจิตและอารมณ์ อย่างนี้แสดงว่าไม่ได้เกิดความรู้สึกตัวที่แท้จริง

    เมื่อรู้สึกตัวได้แล้วจะต้องทำอะไรต่อไป

    เมื่อจิตเกิดความรู้สึกตัวแล้ว หน้าที่ของผู้ปฏิบัติก็คือจะต้องใช้จิตที่รู้สึกตัวแล้วนั้นไปเจริญวิปัสสนา อันได้แก่การมีสติระลึกรู้รูปที่กำลังปรากฎในปัจจุบัน และมีปัญญาเข้าใจลักษณะของรูปนั้นว่าเป็นไตรลักษณ์ หรือมีสติตามระลึกรู้นามที่เพิ่งดับไปสดๆ ร้อนๆ และมีปัญญาเข้าใจลักษณะของนามนั้นว่าเป็นไตรลักษณ์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางวิปัสสนาปัญญา คือรู้รูปนามตรงตามความเป็นจริงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ แล้วบรรลุมรรคผลนิพพานถึงความพ้นทุกข์ได้ในที่สุด


    [ ทางเอก : พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 กันยายน 2007
  4. mindanaric

    mindanaric เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    161
    ค่าพลัง:
    +1,964
    เคยได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้มาแล้ว รู้สึกชอบมาก และอยากขอขอบพระคุณที่ผู้เขียน เขียนเรื่องนี้ขึ้นมา และเอามาตีพิมพ์ ว่าจะหาซื้อมาเก็บไว้แต่ไปหาตามร้านหนังสือทั่วไปก็ไม่มีเลย แต่ข้อความที่เขียนก็ยังติดอยู่ที่ใจตลอด ขออนุโมทนาด้วยนะคะ
     
  5. mindanaric

    mindanaric เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    161
    ค่าพลัง:
    +1,964
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะคุณ wisarn_it ไม่ทราบว่าเป็นศิษย์ของท่านด้วยรึป่าวคะเนี่ย ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปค่ะ
     
  6. nirvana008

    nirvana008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +580
    ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่เป็นประธาน มีใจประเสริฐที่สุด
    ทุกอย่างสำเร็จที่ใจ

    ถ้าใจเราดีบริสุทธิ์แล้วทุกอย่างจะดีทั้งหมดเอง...นี่เรียกว่าบุญฤทธิ์
    เป็นฤทธิ์ที่เกิดด้วยบุญจากจิตที่บริสุทธิ์ครับ

    ขอโมทนาอย่างยิ่ง
     
  7. aonlin

    aonlin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2006
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +1,608
    อนุโมทนาค่ะ
    เคยได้โหลดเสียงอ่าน "จิตคือพุทธะ " ของหลวงปู่ดูลย์มาฟัง ก็ทำให้นับถือหลวงปู่ดูลยเรื่อยมา พอมาอ่านกระทู้ยิ่งทำให้รู้สึกซาบซึ้ง
    มีแรงใจที่จะปฎิบัติต่อไปค่ะ ( /\ )
     
  8. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    726
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,503
    [​IMG]


    แค่ดู ก็รู้แจ้ง

    เป็นวิธีการปฎิบัติที่เรียบง่ายเป็นที่สุด แต่ตรงคามคำสอนในมหาสติปัฏฐานสูตร
    โดย อาจารย์ สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา​

    เกริ่นนำ

    บางคนอาจคิดว่า แค่ดู ในที่นี้เป็นการเล่นคำซะมากกว่า ขอบอกอย่างจริงใจว่า ไม่ได้คิดจะเล่นคำแต่อย่างใด แต่ตั้งใจอย่างมากเลยที่จะบอกว่า ให้ดู...ดูจริง ๆ ไม่ใช่ทำ เปรียบเหมือนเราดูเด็กวิ่งเล่นซุกซนกัน โดยที่เราไม่ได้ไปวิ่งเล่นด้วย และไม่แม้กระทั่งจะส่งเสียงบอกว่า อย่าซน... เมื่อยามที่เด็กกำลังซนมาก ๆ การดูเด็กที่กำลังวิ่งซุกซนโดยไม่เข้าไปทำอะไรเลยนั้น หากดูอยู่บ่อย ๆ จะทำให้เราเกิดความเข้าใจถึงพฤติกรรมของเด็กได้ว่า เด็กคนไหนมีพฤติกรรมอย่างไร มีอารมณ์เป็นอย่างไร การดูกาย หรือดูจิต ก็มีลักษณะเช่นเดียวกันคือ เพียงแค่ดูกาย หรือเพียงแค่ดูจิต โดยไม่ทำการแทรกแซงหรือควบคุมกายและจิตตามที่ต้องการ ด้วยความเห็นผิดว่าการแทรกแซงหรือควบคุมนั้นจะทำให้รู้แจ้งได้ แค่ดู ๆ ไป ก็จะรู้แจ้งในความเป็นจริงของกายและจิตได้

    ตอนที่ ๑ เชื่อไหมว่า แค่ดูก็รู้แจ้งได้

    ถ้ามีใครมาบอกว่า... ไม่ต้องทำอะไรให้ยุ่งยากหรอก แค่ดูก็รู้แจ้งได้ จะคิดกันยังไง? จะเชื่อไหม? ยากที่จะเชื่อซินะ ที่ยากจะเชื่อก็คงเพราะเราคุ้นเคยกันอยู่ว่า การจะรู้แจ้งได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ต้องทุ่มเทปฏิบัติกันเอาเป็นเอาตายทีเดียว ไหนจะต้องรักษาศีล ไหนจะต้องทำสมาธิ ไหนจะต้องทำวิปัสสนา จู่ ๆ ก็มีใครไม่รู้มาบอกว่า ไม่ต้องทำอะไรให้ยุ่งยากหรอก แค่ดูก็รู้แจ้งได้ แล้วใครจะเชื่อล่ะ?

    เอาละยังไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร แต่อย่าเพิ่งปิดแล้วก็วางลงซะก่อนก็แล้วกัน ลองอ่านไปดูไปก่อนจนจบ ถ้าอ่านไปดูไปแล้วไม่เห็นทางที่จะรู้แจ้งได้จริงถึงตอนนั้นจะไม่เชื่อก็ไม่ว่ากันหรอก แต่ตอนนี้จะกระซิบบอกใกล้ ๆ ก่อนว่า...อ่านไปดูไปแล้วจะเข้าใจว่า แค่ดูก็รู้แจ้งได้จริง และถ้าได้ดูกันอย่างถูกต้องและต่อเนื่องจริง ๆ จัง ๆ ละก็ เป็นอันต้องรู้แจ้งแน่ ๆ

    ตอนที่ ๒ ดูอะไร ดูอย่างไร

    ตอบไม่ยาก... ก็ดูกาย ดูใจ หรือดูจิตของตัวเองนี่แหละ ไม่ต้องไปดูของใครที่ไหนหรอก เรื่องการดูกาย ดูใจ หรือดูจิตตัวเองนี้ นับได้ว่าเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่ความรู้แจ้ง และเป็นเรื่องที่ครูบาอาจารย์ที่ท่านรู้แจ้งไปก่อนแล้วได้สั่งสอนเอาไว้ อย่างเช่นที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านได้สอนไว้ว่า นักปฏิบัติไม่สนใจดูกายดูใจของตัวเอง จะหาความฉลาดรอบรู้มาจากไหน...

    หรือที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านได้สอนไว้ว่า หลักธรรมที่แท้จริงนั้นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองลึกซึ้งแล้ว นั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม....

    จริง ๆ แล้ว ดูกาย ดูใจ หรือดูจิต เป็นภาษาที่เรียบง่าย ง่ายจนไม่ต้องแปล ไม่ต้องตีความ กันแต่อย่างใด ดู ก็คือ ดู ... ดู ไม่ใช่ทำ แต่ดูอย่างไรนี่ซิที่ต้องทำความเข้าใจกันให้ดี เพราะดูตามภาษาธรรมนั้น จะหมายถึงการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ รับรู้ด้วยความรู้สึกตัว ไม่ใช่รับรู้แบบลืมเนื้อลืมตัวหรือลืมกายลืมใจตัวเอง

    ตอนที่ ๓ รู้สึกตัวเป็นอย่างไร เผลอไปเป็นอย่างไร

    อย่างที่บอกไปแล้วว่า ดู ในภาษาธรรมนั้น คือการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกตัว ถ้ามีความรู้สึกตัวในขณะรับรู้สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจก็ตาม การรับรู้จะเป็นเพียงแค่ดู แค่รู้ โดยที่จิตใจจะมีความตั้งมั่น ไม่ลืมตัวเอง ไม่เกิดความพอใจ ไม่เกิดความไม่พอใจ (หรือที่พูดกันว่า เป็นกลาง ๆ) เมื่อไม่เกิดความพอใจ - ไม่พอใจ เราก็จะรับรู้สิ่งต่าง ๆ แบบสักแต่ว่ารู้สักแต่ว่าเห็น ไม่มีความพยายามดิ้นรนที่จะเข้าไปจัดการหรือกระทำการใด ๆ ต่อสิ่งที่กำลังรับรู้อยู่ ปล่อยให้สิ่งต่าง ๆ ที่ถูกรู้ถูกดูอยู่นั้นแสดงบทบาทของมันไปตามที่ควรจะเป็น

    ลองนึกถึงตอนที่ดูทีวีรายการสุดโปรดซิ นึกออกไหมว่าเราดูแบบไหน ดูแบบที่การรับรู้ไปอยู่ที่ทีวีทั้งหมดจนลืมตัวเองไปเลย ใช่หรือเปล่า? หรือเวลาดูละครเรื่องโปรดที่เราสงสารนางเอกมาก ๆ พอนางเอกโดนตัวร้ายกลั่นแกล้ง เราก็จะไม่พอใจถึงกับออกปากว่า เอาเลย ตบมันเลย ยอมให้มันทำอยู่ทำไม...ใครเคยเป็นบ้าง? หรือเวลาดูฟุตบอล พอทีมที่เราเชียร์ยิงประตูฝ่ายตรงข้าม เราก็ลืมตัวเองแล้วลุกขึ้นยืนบิดตัวช่วยให้ลูกฟุตบอลโค้งเข้าประตู เคยเป็นกันใช่ไหม?

    อ้อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 ตุลาคม 2007
  9. ปัชฌา

    ปัชฌา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    292
    ค่าพลัง:
    +1,428
    [​IMG] ขออนุโมทนาด้วยครับ สาธุ..สาธุ..สาธุ [​IMG]
     
  10. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    726
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,503
    [​IMG]


    ฟังเสียงอ่าน [wma] [mp3]
    สันตินันท์
    (พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)


    ถาม: การแยกจิตผู้คิดกับจิตผู้รู้ออกจากกันทำยังไงคะเวลานั้นยังคงเป็นจิตดวงเดียวกันหรือเปล่าคะ


    เรื่อง "จิตคิด" กับ "จิตรู้"ที่จริงถ้าเราแยกนามธรรมได้ชำนาญ เราจะไม่กล่าวถึง "จิตคิด" กับ "จิตรู้"เพราะจิตนั้น มันมีคุณสมบัติหลายอย่าง ตั้งแต่ รู้สึก จำ คิด รับรู้ และเสพอารมณ์หากเราแยกนามได้ชำนาญ เราจะพบว่า คุณสมบัติแต่ละอย่างของจิตนั้นก็คือนามขันธ์ แต่ละตัวนั่นเองคือความรู้สึกสุข ทุกข์ ก็คือเวทนา ไม่ใช่จิตความจำก็คือสัญญา ไม่ใช่จิตความคิดนึกปรุงแต่งก็คือสังขาร ไม่ใช่จิตความรับรู้ก็คือวิญญาณ ไม่ใช่จิตเอาเข้าจริง สิ่งที่เราเรียกว่าจิต ก็ไม่ใช่จิตแต่เพราะเราไม่รู้เท่าทัน ไม่ปล่อยให้ขันธ์แต่ละขันธ์เขาทำหน้าที่ของเขาจึงไปยึดเอานามธรรมว่าเป็นจิตเรา แล้วให้มันร่วมมือกันทำงานจนหลอกเราได้เช่น พอรู้ว่ามีความสุข ก็ยึดเอาว่า จิตสุข หรือเราสุขไม่ได้เห็นว่าความสุข ก็เป็นสิ่งภายนอก เป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่เราพอมีความจำได้หมายรู้ ก็ยึดว่าเราจำได้หมายรู้ไม่เห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่เราพอมีความคิดนึกปรุงแต่ง ทั้งที่เป็นอกุศล กุศล และเป็นกลางก็ว่าจิตเราดี จิตเราชั่ว จิตเราเป็นกลางไม่เห็นว่าความคิดนึกปรุงแต่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่เราพอมีความรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ว่าจิตเรารับรู้ไม่เห็นว่าความรับรู้เป็นสภาพธรรมที่เป็นอิสระ อยู่นอกเหนือการบังคับบัญชาของเราจิตนั้นอาศัย "จิตตสังขาร" คือเวทนา สัญญา และสังขาร จึงรู้สึกว่าเป็นจิตขอเพียงปล่อยวางนามขันธ์เสียให้หมด ไม่เห็นว่าเป็นเราธรรมชาติรับรู้ล้วนๆ ก็จะปรากฏขึ้นและธรรมชาติอันนั้น จะไม่มีความรู้สึกแม้แต่นิดเดียวว่า เป็นตัวเรา หรือจิตเราอย่าไปสำคัญว่า นี่คือจิตรู้ จิตคิด จิตจำ จิตเห็นสิ่งเหล่านั้น เป็นการประกอบกันขึ้นของนามขันธ์เท่านั้นเองครับรักษาสติ สัมปชัญญะไว้ให้แจ่มใส ต่อเนื่องรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงรูป และนาม เขาจะทำหน้าที่ของเขาไปตามเหตุปัจจัย ให้ดูต่อหน้าต่อตาทีเดียว​


    ถาม: ธรรมชาติรับรู้คืออะไรคะ ไม่ใช่จิตแล้วเป็นอะไร


    ธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ก็คือจิตนั่นแหละครับเพียงแต่เมื่อจิตไม่ถูกปรุงแต่งด้วยความคิดนึกปรุงแต่ง (สังขารขันธ์)จิตจะไม่มีความสำคัญมั่นหมายว่ามันคือจิตที่มันคิดว่า อันนี้คือจิต และเป็นเรา ก็เพราะสังขารหรือความคิดนึกปรุงแต่งนั่นเองท่านจึงสอนว่า "สังขารทั้งหลาย สงบเสียได้ เป็นสุข"คือจิตที่พ้นจากความปรุงแต่งนั้น มันเป็นสุข เป็นอิสระโดยไม่ต้องอิงอาศัยอารมณ์ภายนอกเลย​


    ถาม: การรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงหมายถึงเรารู้สิ่งที่กำลังเกิดตอนนั้นว่าเกิดจากเหตุปัจจัยอะไรแล้วไม่เข้าไปยึดมั่นหมายมั่น ใช่รึเปล่า

    เราเพียงรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจรู้อย่างเดียวก็พอครับ ไม่จำเป็นต้องไปใช้ความคิดว่า สิ่งนี้คืออะไร สิ่งนี้เกิดจากอะไรเพราะขณะที่หลงคิดนั้น เราไม่ได้รับรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏนั้นแล้วแต่หลงไปในโลกของความคิดเสียแล้วก่อนที่เราจะรู้สภาพธรรมหรืออารมณ์ที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงได้นั้นจิตจะต้องมีสัมมาสมาธิเสียก่อนคือจิตจะต้องตั้งมั่นไม่วอกแวก รู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏด้วยความเป็นกลางและไม่มีความยินดียินร้ายต่ออารมณ์นั้นจิตจึงจะเห็นสภาพที่แท้จริงของอารมณ์หรือสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริงได้แต่ถ้าระหว่างที่รู้อารมณ์อยู่นั้น จิตเกิดความยินดียินร้ายขึ้นแล้วเกิดแรงผลักดันให้เข้าไปยึดถือ หรือให้มีพฤติกรรมต่าง ๆก็ให้รู้ทันจิตใจตนเองที่กำลังถูกผลักดันด้วยกระแสตัณหาไม่ใช่ไปกดข่มไม่ให้จิตยินดียินร้ายนะครับ


    ถาม: เคยฝึกให้สมองตัวเองว่างโดยการคิดว่า ตอนนี้กำลังคิดอะไรอยู่ฉะนั้น พอลองมองดูจิต ผมก็เลยไปมองดูว่า ตอนนี้คิดอะไรอยู่ ไม่ทราบถูกหรือเปล่าแล้วก็กลายเป็นว่า หาอะไรไม่เจอครับ ทั้งความคิด ทั้งอารมณ์ ขณะนั้นไม่ทราบว่าต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไรครับแล้วอีกอย่างหนึ่งผมจะรู้ได้ยังไงว่าตัวรู้ผมอยู่ตรงไหนครับแล้วตัวรู้มันออกอาการยังไงบ้างครับ ผมแยกไม่ออกครับ ระหว่างความคิด กับตัวรู้ครับ


    เรื่องตัวรู้นั้น มันไม่มีตัว มีตน หรือมีจุด มีดวง อะไรหรอกครับเอาเข้าจริงในการปฏิบัตินั้น ก็มีแต่เรื่อง จิต กับ อารมณ์"จิต" เป็นผู้รู้ ผู้คิด ผู้นึกส่วน "อารมณ์" เป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ (สิ่งที่รู้ได้ทางใจ)เวลาที่คุณเกิด "ความสงสัย"ถ้ามีสติระลึกรู้เข้าไปที่ความรู้สึกสงสัยนั้น(ไม่ใช่รู้ "เรื่อง" ที่สงสัย นะครับ แต่รู้ที่ "ความรู้สึก" สงสัย)จะเห็นชัดว่า ความสงสัยเป็นสิ่งที่ถูกรู้ในร่างกายและจิตใจเรานั้น มีอีกสิ่งหนึ่ง ที่เป็นผู้ไปรู้ความสงสัยนั้นเข้าอันนี้แหละครับที่สมมุติเรียกไปก่อนว่าผู้รู้เอาเข้าจริง ผู้รู้ ก็คือจิตที่ประกอบด้วยสติ สัมปชัญญะ อุเบกขา เอกัคตาหรือจิตที่ประกอบด้วยสัมมาสมาธินั่นเองคือเป็นจิตที่เป็นผู้รู้ ที่มีความเป็นกลางและตั้งมั่น ไม่หลง"ไหล" ไปตามอารมณ์ที่จิตไปรู้เข้า(ผมจงใจใช้คำว่า หลง"ไหล" ไม่ได้ใช้คำว่า หลงใหล)ในขั้นแรก อย่าพยายามไปค้นหาจิตผู้รู้ เพราะหาอย่างไรก็หาไม่พบเนื่องจากจิตกำลังหลงอยู่กับอาการเที่ยวค้นหาผู้รู้แต่ให้พยายามรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏไปก่อนเช่น สงสัย ก็รู้ว่าสงสัย เห็นชัดว่าความสงสัยไม่เที่ยงคือมีระดับความรุนแรงของความสงสัยที่ไม่คงที่เดี๋ยวก็สงสัยมาก เดี๋ยวก็สงสัยน้อย เดี๋ยวก็ดับหายไปจิตก็จะว่าง ๆ อยู่ ต่อมาความคิดเกิดขึ้นอันนี้อย่าไปเพ่งใส่ความคิดนะครับ มันจะดับไปเฉย ๆควรปล่อยให้จิตมันคิดของมันไปเมื่อจิตทำงานอยู่อย่างนั้น ไม่นานก็จะเห็นกิเลสตัณหาต่าง ๆ เกิดขึ้นอีกหรืออาจเกิดเวทนา เช่น รู้สึกเป็นสุขสบาย หรืออึดอัดขัดข้องใจก็ให้รู้สภาวธรรมทั้งปวงที่ปรากฏขึ้นนั้น ในลักษณะเดียวกับที่รู้ความสงสัยนั่นเองคือให้รู้มัน ในฐานะที่มันถูกรู้ แล้วมีผู้รู้เป็นคนดูอยู่ต่างหากหัดทำอย่างนี้ไม่นาน ก็จะเข้าใจได้ว่า อะไรคือจิต (ผู้รู้) อะไรคืออารมณ์ (ที่ถูกรู้)และเห็นสิ่งที่ถูกรู้ แสดงไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลารวมทั้งเห็นด้วยว่า เมื่อใดจิตเกิดความยินดียินร้ายต่ออารมณ์จิตเข้าไปยึดอารมณ์ จิตจะเกิดทุกข์พอรู้ทันอย่างนั้น จิตจะกลับมาตั้งมั่น เป็นกลาง และรู้อารมณ์ต่อไปอีกจิตเพียง "รู้สักว่ารู้" จะเห็นอารมณ์เกิดดับไปเรื่อย ๆโดยจิตเป็นกลาง ไม่เข้าไปแทรกแซงอารมณ์ก็ให้เพียรปฏิบัติไปมาก ๆ ครับ​


    ถาม: ในพาหิยสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่ได้กล่าวถึงการบรรลุอรหัตตผลของท่านพาหิยะเมื่อได้อ่านครั้งแรกผมก็มีความรู้สึกว่า "เป็นไปได้" แต่ผมไม่รู้ว่า "เป็นไปได้อย่างไร"เพียงคำว่า "สักแต่ว่าๆ" ไม่น่าจะทำให้คนๆหนึ่ง สามารถบรรลุอรหัตตผลได้เลยไม่มีเหตุผลกลใดเลยที่จะทำให้เราคิดออกว่า จะเป็นไปได้ด้วยเหตุผลกลใดผมไม่สงสัยในความเป็นไปได้ แต่ผมสงสัยว่า "เป็นไปได้อย่างไร"


    ถ้าสติปัญญาทำงานทันผัสสะจริงๆจึงจะ "สักแต่ว่า" ได้ครับคือจิตไม่ปรุงแต่งต่อไป รู้แล้ววางอยู่แค่นั้นเลยหรือแม้ว่า จิตจะปรุงแต่งต่อไปอีกถ้าจิตไม่หลงยึดถือไปตามความปรุงแต่งนั้นอันนี้ก็ยังถือว่า "สักแต่ว่า" ได้เหมือนกันเมื่อวานซืน ยืมลูกคุณหมอท่านหนึ่งมาเป็นอุปกรณ์ทางการศึกษาคือชี้ให้ดูว่า สิ่งที่เห็นเป็นเด็กนั้น ที่จริงคือสีที่ตัดกันเท่านั้นแล้วตาก็ไม่รู้หรอกว่า นี่สีอะไร รวมกันแล้วเป็นรูปอะไรอาศัยสัญญา จึงรู้ว่า นี้เป็นรูปที่บัญญัติเรียกว่าอะไรเมื่อจิตรู้ว่า นี้คือลูกแล้วสังขารคือความคิดนึกปรุงแต่งก็ทำงานต่อ มีความรักเกิดขึ้นปกติจิตของเราทำงานเร็วมากในทางทฤษฎี ถ้าตาเห็นสีแล้วหยุดอยู่เพียงนั้น ก็เรียกว่า สักแต่ว่าเห็นแต่ในความเป็นจริง ช่วงต่อระหว่างที่ตาเห็นสี กับสัญญาแปลความหมายนั้นสั้นมากพอเห็นปุ๊บ ก็สรุปว่านี้คือ ลูกเรา เสียแล้วแล้วสังขารก็ทำงานต่ออย่างรวดเร็วปรุงเป็นความรักใคร่หวงแหนห่วงใยขึ้นมาแล้วนักปฏิบัติที่ยึดตำรามากเกินไป ที่บอกว่าทำสติรู้ สี อย่างเดียวนั้นเอาเข้าจริงจึงเป็นการหลอกตัวเองเพราะพอเกิดผัสสะทางตาแล้ว วับเดียวก็เกิดผัสสะทางใจตามมาแล้วถ้าเมื่ออารมณ์ทางใจเกิดขึ้น แล้วทำเป็นไม่รับรู้เพราะ "อยาก" รู้สีอย่างเดียวเพื่อให้เป็นปัจจุบันและต่อเนื่องมันจึงไม่ใช่ปัจจุบัน เพราะปัจจุบันมันย้ายไปเป็นอารมณ์ทางใจเสียแล้วเมื่ออารมณ์ทางใจปรากฏเด่นชัด ก็ควรรู้มันไม่ใช่ปฏิเสธมันเพราะจะเอาแต่รู้อารมณ์ทางตาอย่างเดียวแต่การรู้อารมณ์ทางใจนั้น ก็ให้ "สักแต่ว่ารู้"คือรู้ตามที่มันเป็น ไม่ใช่หลงปล่อยให้เกิดตัณหาผลักดันจิตให้ทะยานเข้าไปยึดอารมณ์แบบไม่รู้ทันรวมความแล้ว สักแต่ว่า ก็ต้องอาศัย สติ รู้อารมณ์ตามที่มันเป็นตามที่คุณถามไว้นั่นเองแม้ตอนแรกจะรู้อารมณ์ทางตา ขณะต่อมารู้อารมณ์ทางใจก็สามารถ สักแต่ว่ารู้ ได้ทั้งนั้น ทั้งที่ตาและที่ใจหากไม่สักแต่ว่ารู้ อะไรจะเกิดขึ้น?สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือปฏิจจสมุปบาทจาก ผัสสะ เวทนาตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ จนถึงทุกข์ นั่นเองหากสักแต่ว่ารู้ แม้มันจะก้าวกระโดดจากการรู้สีด้วยตาไปรู้ธรรมารมณ์ทางใจก็ตามจิตที่ไม่หลงยินดีไปกับธรรมารมณ์ก็จะไม่ปรุงแต่งจนเกิดความทุกข์ขึ้นมาคำว่า "สักแต่ว่า" จึงเป็นสิ่งที่จะตัดวงจรของปฏิจจสมุปบาทให้ขาดตอนลงไม่เกิดตัณหา อุปาทาน ขึ้นหรือแม้เกิดตัณหา ก็ไม่ หลง "ไหล" ตามตัณหาไปจนเป็นอุปาทานท่านพระพาหิยะ ฟังธรรมแค่ สักแต่ว่า สักแต่ว่า เพียง ๑-๒ คำท่านเข้าใจ และตัดวงจรปฏิจจสมุปบาทขาดและท่านก็เข้าใจปฏิจจสมุปบาทหรืออริยสัจจ์ตลอดสายคือ "รู้" ว่าทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่เกิดขึ้นได้อย่างไรอวิชชา ความ "ไม่รู้" ก็ขาดออกจากจิตของท่านในขณะนั้น​



    </PRE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 พฤศจิกายน 2007
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    เคล็ดลับการดูจิต ก็ให้ดู อากัปกิริยา ที่ไหลไปตลอดเวลา สังเกตุให้ละเอียด ว่า ทุกระยะเวลาเรา รู้สึกอะไรบ้าง
    ก็จะพบว่า มีไอ้นั่นเกิด ไอ้นี่ดับ ตลอดเวลา เดินไปเมื่อยขา ขณะพิมพ์อยู่นิ้วกระดิกไปมา จิตใจ คิดนั่นคิดนี่ ตรงนี้แหละ เกิดขึ้น ตั้งอยุ่ดับไป เอาให้ทัน ให้ละเอียด เดี๋ยวก็เจอ
     
  12. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    ทำไมรู้สึกเหมือนกับว่าผูกพันธ์กับท่านจัง มีโอกาสได้ไป จ.สุรินทร์ ไปที่วัดท่าน
    ไปไหว้ท่านที่วัด ถึงแม้ท่านจะไม่อยู่บนโลกแล้วก็ตาม พอกลับมาถึงที่พักมีพี่
    ที่รู้จักท่านนึงเอาเหรียญหลวงปู่มาให้เฉยเลย ดีใจมากๆ ครับ

    ใครมีโอกาสไปสุรินทร์ไปไหว้ท่านที่วัดให้ได้นะครับ จริงๆ คนที่นั่นเรียกหลวงปู่
    ว่าหลวงปู่ดุล นะครับไม่ใช่ ดูล ไปวัดมาไม่เคยเจอวัดไหนที่มีพระเย็นยะเยือก
    เท่ากับวัดของหลวงปู่มาก่อน เย็นไปถึงขั้วหัวใจ ใครสัมผัสได้ลองไปดูนะครับ
    พลังเมตตาของท่านสูงมาก จริงๆ

    สาธุ สำหรับบทความที่นำมาให้อ่านครับ
     
  13. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    726
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,503
    สันตินันท์

    จิตถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะกิเลส

    เวลาวิมุติอริยมรรคเกิดแต่ละขั้นๆ ก็มีความสุขเป็นลำดับๆ ไป ถึงจุดสุดท้ายก็มีความสุขล้วนๆ มีความสุขเพราะว่ามันไม่มีอะไรเข้ามาเคลือบจิตได้อีก หมอณัฐดูออกมั้ยจิตเราถูกห่อหุ้มไว้ มีเปลือกหุ้ม จิตเค้าถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะ ยังปนเปื้อน เยิ้มๆ จิตยังปนเปื้อน ความปนเปื้อนนี้แหละ เป็นช่องทางให้กิเลสไหลเข้ามาสู่จิต (หมอณัฐถาม...ได้ยินไม่ชัด) .. อือ ดูอย่างนี้ก็ได้ แล้วจะเห็นเอง จิตใจนี้เป็นอิสระ รู้สึกมั้ยจิตใจไม่เป็นอิสระ ตอนนี้รู้สึกมั้ย อาจจะไม่เห็นตัวอาสวะตรงๆ แต่เห็นผลของจิตที่มีอาสวะ ไม่อิสระ จริงๆ จิตถูกอาสวะห่อหุ้มไว้ อาสวะนี่ เทียบแล้วคล้ายๆ กับ เรามี สมมติอยู่บ้านไม้ ใครเคยอยู่บ้านไม้ เวลาเราทำน้ำหกน้ำไหลไปเนี่ย เราจะเห็นเส้นทางที่เราเช็ดให้แห้ง เทน้ำลงไปที่เก่า มันไหลไปทางเดิมอย่างรวดเร็ว มันนำร่อง ความชื้นเดิมมันนำร่อง เพราะน้ำนี้ไหลไปตามความชื้นเดิม อาสวะกิเลสนี่มันนำร่องกิเลสเข้าไปย้อมจิต จิตของเราไม่มีอิสระ เหมือนลูกไก่ที่อยู่ในเปลือกไข่ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกไข่ออกมาเป็นตัวแรก ท่านใช้คำเปรียบเทียบได้ดี เคยมีพราหมณ์คนนึงไปว่าพระพุทธเจ้า บอกอายุก็ยังน้อยพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่ามาก็ไม่ไหว้ไม่ต้อนรับ เฉยเมย ท่านบอกว่าท่านอาวุโสที่สุด ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกออกมาได้ พวกที่เหลือยังอยู่ในไข่อยู่เลย ท่านจะไปไหว้ทำไม คำพูดของท่านนะ น่าฟัง จริงๆ แล้วเรามีเปลือกที่ห่อหุ้มอยู่ จิตถูกอาสวะกิเลสห่อหุ้ม ทำยังไงก็ไม่ขาด ไม่ขาด ทำยังไง ยังไง้ ยังไงก็ไม่ขาด พระไตรปิฎกก็เลยใช้คำบอกว่า เวลาบรรลุพระอรหันต์นะ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น เห็นมั้ย หลุดพ้นจากอาสวะ อาสวะมันห่อหุ้มไว้ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น ไม่ถือมั่นในอะไร ในรูปนาม ในกายในใจ เนี่ยกุญแจของการปฏิบัติอยู่ที่กายกับใจนี่เอง เมื่อไรไม่ถือมั่นในกายในใจ โดยเฉพาะเมื่อไหร่ไม่ถือมั่นในใจในจิต อาสวะจะขาดโดยอัตโนมัติ ถ้าเราเห็นอาสวะแล้วพยายามตัด ทำยังไงก็ไม่ขาด กำหนดจิตให้แหลมคมแค่ไหนก็ไม่ขาดนะ แทงก็ไม่ทะลุนะ พอมันขาดเราจะรู้สึกว่าเรามีอิสระ
    23 ก.ค. 2549

    สภาวะทุกอย่างเสมอภาคกัน

    การเห็นสภาวะที่หยาบหรือละเอียด ธรรมะภายใน ธรรมะภายนอก ธรรมะที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมะที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ก็เสมอภาคกัน คือทั้งหมดเกิดและดับ ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ละเอียดขึ้นๆ จึงจะบรรลุธรรม บางวันมันก็หยาบ บางวันมันก็ละเอียด เพราะว่าทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของอนัตตา ทั้งหมดเลย สติก็เป็นอนัตตา บางวันก็หยาบ บางวันก็ละเอียด บางวันก็ไม่มีเลย เขาเกิดขึ้นมาจะเป็นยังไงก็ได้ เราเรียนไม่ใช่เพื่อว่าจะเอาดี ไม่ใช่ว่าเราอยากได้สติเยอะๆ เราไม่ได้เรียนเอาตรงนั้นหรอก แต่เราเรียนจนกระทั่งจิตมันเกิดความเข้าใจ ว่าทุกอย่างบังคับไม่ได้ สติจะเกิดหรือไม่เกิด จะหยาบหรือละเอียด เราก็เลือกไม่ได้ ไม่ได้เรียนเอาดีนะ แต่เรียนเพื่อที่จะเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น ธรรมะที่หยาบเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ธรรมะที่ละเอียดเกิดแล้วก็ดับ เสมอภาคกัน เรียนเพื่อให้เข้าใจตรงนี้เอง ในที่สุดก็เข้าใจว่า ทุกสิ่งที่เกิดล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น พระโสดาบันรู้แค่นี้เอง
    22 ต.ค. 2548

    การจำสภาวะธรรมได้เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ

    สติเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุให้สติเกิด มันเกิดขึ้นเอง เราไปสั่งให้มันเกิดมันไม่เกิดหรอก สติมีการจำสภาวะได้ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเรารู้จักโกรธเป็นอย่างไร พอโกรธสติก็เกิด พอรู้จักเผลอเป็นยังไง พอเผลอสติก็เกิด

    พอหัดรู้กาย รู้ใจเนืองๆ สติปัญญาเริ่มแก่กล้าเพียงพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิเอง พอรวมแล้วก็จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะ จะเห็นตัวสภาวะเกิดดับ ถัดจากนั้นโคตรภูญาณจะเกิดขึ้น มันจะเกิดการปล่อยวางตัวสภาวะ พอเห็นสภาวะเกิดดับ ปัญญาแก่รอบแล้ว มันวาง มันทิ้งโดยไม่ได้เจตนา ตรงนี้ไม่มีความจงใจเหลืออยู่เลยตั้งแต่จิตรวมแล้วเห็นสภาวะเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะนั้น จิต จะวางการรู้สภาวะแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงเนี้ยตรงที่มันปล่อยสภาวะก็ไม่ใช่ปุถุชน ตรงที่ทวนเข้าหาธาตุรู้ยังไม่เข้าถึงธรรมธาตุตัวนี้ก็ไม่ใช่พระอริยะ เพราะงั้นเป็นรอยต่อ เกิดขึ้นแว๊บเดียวทวนเข้าถึงธาตุรู้แท้ๆ ตัวรู้จะมีปัญญาสุดขีดเกิดขึ้น ธาตุรู้นี้ก็เกิดแล้วก็ดับได้อีก จะเห็นเลยว่าความเป็นราไม่มีสักนิดเดียว ถัดจากนั้นจิตจะไปเห็นนิพพาน 2 หรือ 3 ขณะแล้วแต่คน จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะจากนั้นจิตจะถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ พอออกมาข้างนอกมันจะทวนกระแสเข้าไปพิจาณาสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกี๊แล้วมันจะเข้าใจ กิเลสยังเหลือ หรือไม่เหลือสักเท่าไร รู้ พอเราปฏิบัติได้อย่างนี้ พอเราต้องการเช็คตัวเอง เราสังเกตที่ใจของเรากิเลสของเราเหลือสักเท่าไร จะไปแล้วเท่าไร หลวงปู่ดูลย์ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงปู่มั่นเสร็จแล้วไปเดินนะ เดินมาเดือนกว่าๆ กลับมารายงาน กิเลส 4 ส่วน ผมละเด็ดขาดไปแล้ว 1 ส่วน ส่วนที่ 2 ละได้ครึ่งเดียวยังไม่สมุจเฉจ (การตัดขาด) หลวงปู่มั่นบอกไปทำต่อถูกแล้ว จากนี้ดู สัพเพ สังขารา สัพพสัญญา อนัตตา
    4 พ.ค. 2548

    ทางลัด

    จิตที่พ้นความปรุงแต่ง จะรู้ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง (นิพพาน) ทางลัดที่สุดสำหรับการปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่การกระทำ (ปรุงแต่ง) ใดๆ แต่เป็นการหยุดกระทำ โดยไม่กระทำ (ปรุงแต่ง) ความหยุดให้เกิดขึ้น มีเพียง การรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ เท่านั้น (โดยไม่มีมายาของการคิดนึกปรุงแต่ง และมายาของการหยุดคิดนึกปรุงแต่ง) ที่เป็นสิ่งสุดท้ายซึ่งผู้ปฏิบัติจะทำได้ ก่อนที่จิตเขาจะ "ก้าวกระโดด" ไปเอง

    หากพระพุทธเจ้าจะทรงแสดงธรรมอย่างถึงที่สุด ย่อมต้องปิดพระโอษฐ์เงียบ แต่นั่นเป็นสิ่งยากเกินกว่าเวไนยชนจะเข้าใจได้ และหากจะทรงกล่าวธรรมอย่างย่นย่อที่สุดว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ยังยากที่จะมีผู้รู้ตามได้ เพราะสัตว์ทั้งหลายถ้าไม่ยึดรูปธรรม ก็ต้องยึดนามธรรมไว้ก่อน พระองค์จึงทรงบอก ทาง ของการปฏิบัติขึ้นมามากมาย โดยอิงกับรูปธรรมและนามธรรม เช่น ทาน ศีล ภาวนา กุศลกรรมบถ ตลอดจนการทำสมถะและวิปัสสนา ทั้งนี้ ก็เพื่อให้พวกเราเดินเข้าใกล้ การหยุดพฤติกรรมทางจิต จนเหลือเพียงรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ นั่นเอง

    เช่นทรงสอนให้ทำทาน เพื่อลดความกระวนกระวายเพราะความโลภ ทรงสอนให้รักษาศีล เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความสงบระงับ ทรงสอนสัมมาสมาธิ เพื่อให้จิตตั้งมั่นและรู้ตัว และทรงสอนวิปัสสนา เพื่อทำลายแรงดึงดูดของอารมณ์ ที่จะพาจิตให้ทะยานไปก่อภพก่อชาติตลอดนิรันดร ผู้ปฏิบัติที่ยังขาดความเข้าใจ ย่อมปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ เพื่อที่จะปฏิบัติต่อไป ส่วนผู้ที่เข้าใจแล้ว ก็จะ หยุด การปฏิบัติ ได้ด้วยปัญญาญาณอันแหลมคม

    หากต้องการทางลัด ก็จำเป็นต้อง รู้ และเลิกคิดเรื่อง ทาง ไปเลย แต่ถ้ายังไม่รู้จัก รู้ ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยทางเหล่านั้นต่อไปก่อน
    4 ธ.ค. 2544

    ของฝากจากสวนโพธิ์

    1. เผลอก็ให้รู้ว่าเผลอ เมื่อรู้ว่าเผลอแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอต่อไปอีก ด้วยการคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะรู้ตัวได้ต่อเนื่อง
    2. เพ่งก็ให้รู้ว่าเพ่ง เมื่อรู้ว่าเพ่งแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอหรือเพ่งต่อไปอีก เพื่อจะทำลายการเพ่งนั้น
    3. หงุดหงิดก็รู้ว่าหงุดหงิด กลัวก็รู้ว่ากลัว มีราคะก็รู้ว่ามีราคะ มีความฟุ้งซ่านก็รู้ว่ามีความฟุ้งซ่าน ให้รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางๆ คือไม่คล้อยตาม และไม่ต่อต้าน เพราะถ้าคล้อยตามก็จะถูกกิเลสครอบงำ ถ้าต่อต้านก็จะเกิดความอึดอัดใจ
    4. สรุปแล้ว ให้รู้ทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้า โดยไม่เติมความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ ลงไปอีก เพราะ "รู้" นั่นแหละคือประตูของมรรคผลนิพพาน
    29 พ.ย. 2544

    แก่นสารของการปฏิบัติธรรม

    การเจริญสติจริงๆ จะไปยากอะไร เพียงแต่ให้มีจิตที่รู้ตัวสบายๆ เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เอง แล้วไปรู้อารมณ์ (ที่เป็นปรมัตถ์)ที่กำลังปรากฏ โดยไม่เผลอ ไม่เพ่ง ด้วยความเป็นกลางจริงๆ คลองแห่งความคิดจะขาดไป และจิตจะรู้ โดยปราศจากความปรุงแต่ง ไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะสามารถเข้าในวิสังขารธรรม หรือธรรมที่พ้นความปรุงแต่งได้

    จุดแรกที่พวกเราควรทำความรู้จักก็คือ จิตที่มีสติ ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ถูกครอบงำด้วยความปรุงแต่งมันเป็นอย่างไร เมื่อรู้ตัวเป็นแล้ว ก็รู้ปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมดาๆ นี่เอง เช่นรู้ลงในความไหวของกาย ด้วยจิตที่ไม่หลง ก็จะเห็นปรมัตถ์ของ "กาย" อย่างชัดเจน คลองแห่งความคิดจะขาดไป เหลือแต่รู้สักว่ารู้ รู้ตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง แล้วจะเห็นธรรมฝ่ายสังขารคือ "กาย" หากจิตมีความพร้อม ก็จะเห็นธรรมฝ่ายวิสังขาร คือฝ่ายเหนือความปรุงแต่งได้ในวับเดียว
    29 พ.ค. 2544

    รู้อย่างไรจึงจะบั่นทอนทุกข์ลงได้

    "รู้ตัว" เป็น ก็คือมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เป็นธรรมเอก ถัดจากนั้นก็ต้องหัด "รู้" ทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ ด้วยความ "รู้ตัว" ก็จะเห็นว่าทุกอย่างที่ถูกรู้ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป และถ้าเมื่อใดจิตขาดความรู้ตัว หลงเข้ายึดถือสิ่งที่ถูกรู้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ถ้ารู้ โดยรู้ตัวอยู่ ก็เป็น รู้สักว่ารู้ จิตจะเป็นเพียง "ผู้สังเกตการณ์" ปรากฏการณ์ทั้งปวง โดยไม่โดดเข้าไปร่วมแสดงเอง

    ที่คุณสุรวัฒน์เล่าถึงการปฏิบัติว่า "ผมก็เลยต้องคอยทำตัวให้ รู้ เข้าไว้ อาบน้ำก็ฝึกรู้ ดูโทรทัศน์ก็ฝึกรู้ กินข้าวก็ฝึกรู้ ...นึกขึ้นได้ตอนไหนก็ฝึกรู้ วันๆก็ฝึกรู้ไปเรื่อยๆ"

    หัดต่อไปอย่างที่หัดนี่แหละครับ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ขับถ่าย ทำ พูด คิด ฯลฯ รู้อยู่ให้ตลอด ให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยมีผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งถึงจุดนี้ จะเห็นมันแยกกันเองได้แล้วครับ ไม่ต้องไปพยายามทำอะไรเพื่อให้มันแยกกันมากกว่านี้จนผิดธรรมชาติ จะกลายเป็นปฏิบัติด้วยความจงใจและความอยากมากไปครับ
    30 มิ.ย. 2543

    ปัจจัยแห่งความเจริญงอกงามในธรรม

    (1) ให้พยายามมีสติสัมปชัญญะ รู้ อยู่ในชีวิตประจำวันให้ได้ จะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ฯลฯ ก็ให้มีสติรู้กายรู้ใจอยู่เสมอ
    (2) ให้ปฏิบัติธรรมไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ อย่าเอาแต่วุ่นวายกับการคิด การหาอุบายทางลัด และนิมิตต่างๆ เพราะนั่นล้วนเป็นทางแห่งความเนิ่นช้า
    (3) อย่าเอาแต่รวมกลุ่มสัญจรไปตามสำนักโน้นสำนักนี้ เที่ยวสนุกกับการไปฟังธรรมที่โน้นที่นี้ ละเลยการฟังธรรมในจิตใจตนเอง
    (4) มีผลการปฏิบัติใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างทาง ก็อย่าเอาแต่ไปเขียนเล่าในกระทู้ให้กิเลสกระเพื่อม จนปฏิบัติต่อไปไม่ได้อีก
    (5) ขอให้ตั้งใจจริงจังเพื่อเอาตัวให้รอด ลองเอาจริงสัก ปี สองปีก็ยังดี โดยยอมเสียสละเรื่องรกรุงรังในจิตใจเสียสักช่วงหนึ่ง แล้วตั้งใจปฏิบัติให้สม่ำเสมอ
    9 พ.ย. 2543

    วันวานที่ผ่านมา

    วิปัสสนาที่แท้จริงนั้น มีแต่รู้ ไม่ต้องจงใจเติมสิ่งใดลงไปในรู้ ไม่ว่าจะเป็นศีล สมาธิ หรือปัญญา ไม่ต้องเอาสมมุติบัญญัติ หรือความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ มาช่วยทำวิปัสสนา ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณาโดยสิ้นเชิง เพราะความจงใจเคลื่อนไหวใดๆ จะทำให้จิตก่อภพก่อชาติ ก่อวัฏฏะหมุนวนขึ้นมาอีก

    ผมไม่แนะนำให้พยายามทรงความรู้ตัวให้นานๆ เพราะความพยายามนั้นเอง จะทำให้เกิดการ จงใจ เสแสร้ง ดัดจริต รู้ นักปฏิบัตินั้น อย่าไปนึกถึงเรื่องที่จะให้จิตรู้ตัวต่อเนื่อง ได้เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เลยครับ เพราะการปฏิบัติ เราจะดูกันเป็นขณะๆ ไปเท่านั้นเอง ว่าขณะนี้รู้ตัวหรือเผลอ ขณะนี้มีสติ หรือขาดสติ ขณะใดมีสติ ขณะนั้นกำลังปฏิบัติอยู่ ขณะใดขาดสติ ขณะนั้นไม่ได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติผิด ไม่ใช่พูดว่า ชั่วโมงนี้รู้ตัว หรือวันนี้รู้ตัว ชั่วโมงต่อมา หรือวันต่อมา ไม่รู้ตัว

    ดังนั้นเมื่อเผลอไป แล้วเกิดรู้ตัวว่าเผลอ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่าเพ่ง ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีราคะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีราคะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อโทสะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีโทสะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีโมหะ แล้วเกิดรู้ตัวว่าโมหะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว
    18 ธ.ค. 2543
     
  14. หลับตา

    หลับตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    718
    ค่าพลัง:
    +3,151
    ^___^
     
  15. หลับตา

    หลับตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    718
    ค่าพลัง:
    +3,151
    พระธรรมเทศนาพระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม 2551 ณ สถาบันวิมุตตยาลัย
    ทุกคนควรฟังเลยครับ ขอแนะนำ ฟังแล้วถึงแก่นจริงๆ
    ฟังแล้วปฏิบัติได้จริง คำถามคำตอบ ความข้องใจ วิตกวิจารหายไป มารู้ทันกิเลสตัวเอง
    อยากให้ฟังกันทุกคนจริงๆครับ


    [music]http://00.w-file.net/pramote/other/wma/511005.wma[/music]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2008
  16. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    726
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,503
    [​IMG] ไปขุดขึ้นมาได้ยังไงละเนีย [​IMG]
     
  17. หลับตา

    หลับตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    718
    ค่าพลัง:
    +3,151
    เก็บเป็น favorites ไว้อะครับ ขอบคุณที่ตั้งกระทู้ดีๆนี้ขึ้นมานะครับ ทำผมเปลี่ยนจากวันแรกที่อ่านเยอะเลย ได้เริ่มจากกระทู้ที่คุณตั้งขึ้นมานี่แหละ ตอนแรกผมก็ชอบเรื่องลึกลับประสบการณ์จริงๆที่สนุกสนาน ตอนนี้ก็ยังชอบแต่รู้ทันแล้วว่าหลงอยู่ ไม่ต่างกันนิดนึง แต่สบายกับชีวิตเยอะขึ้นมากๆ จึงไม่เคยเลยที่จะลืมกระทู้นี้และเวปไซด์นี้ด้วย เลยอยากให้เพื่อนท่านอื่นมีโอกาสบ้าง ได้อ่านได้ฟังข้อมูลในกระทู้นี้แม้ยังไม่เข้าใจ แต่ก็มีเมล็ดข้อมูลความรู้ที่จะมาหาเพิ่มเติมภายหลังได้เหมือนผม ขอบคุณนะครับคุณจขกท.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...