น้ำเต้าหู้ถวายพระเป็นน้ำปานะได้หรือเปล่าครับ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย n1khonwan, 3 พฤศจิกายน 2008.

  1. n1khonwan

    n1khonwan Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +74
    น้ำเต้าหู้ถวายพระเป็นน้ำปานะได้หรือเปล่าครับ

    ผมไปอ่านเจอในเวปนี้มานะครับเลยยังงงอยู่

    เขาบอกว่าน้ำเต้าหู้ไม่ใช่น้ำปานะ คนส่วนใหญ่ที่นิยมถวายในปัจจุบันผิดนะครับ

    ถ้าถวายก่อนเพลได้อย่างเดียวครับ

    ขอผู้รู้จริงช่วยมาไขข้อข้องใจด้วยครับ

    ขออนุโมทนาบุญแด่ทุกท่านที่ให้ความกระจ่างครับ
     
  2. พระศุภกิจ ปภัสสโร

    พระศุภกิจ ปภัสสโร เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2,015
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +11,166

    <CENTER>พระไตรปิฏก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕

    มหาวรรค ภาค ๒</CENTER><CENTER>พระพุทธานุญาตน้ำอัฏฐบาน
    </CENTER>ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
    แรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด
    คือ น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑
    น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะทราง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือ
    องุ่น ๑ น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อย
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
    ขุททกนิกาย มหานิทเทส
    <!--sizec--><!--/sizec-->
    คำว่า น้ำ ได้แก่ปานะ ๘ อย่าง คือ น้ำผลมะม่วง น้ำผลหว้า น้ำผลกล้วยมีเมล็ด น้ำผลกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำผลมะซาง น้ำผลจันทน์ น้ำรากบัว น้ำผลลิ้นจี่.

    ปานะ ๘ อีกอย่างหนึ่ง คือ
    ๑.น้ำผลสะคร้อ
    ๒.น้ำผลเล็บเหยี่ยว
    ๓.น้ำผลพุทรา
    ๔.ปานะที่ทำด้วยเปรียง
    ๕.น้ำมัน
    ๖.น้ำข้าวยาคู
    ๗.น้ำนม
    ๘.ปานะที่ทำด้วยรส.
    ที่มา : http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.ph...;นะ

    สรุป สังเกตได้ว่า แม้การฉันน้ำปานะที่ทำด้วยนม หรือน้ำใดๆ(นมถั่วเหลือง) ที่ทำให้เกิดรสในข้อที่ ๕-๘ ก็ไม่ถือว่าผิดพระวินัย
     
  3. krit59

    krit59 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +346
    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

    พระพุทธานุญาติน้ำอัฏฐบาน
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
    เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
    ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิดคือ
    น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑
    น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑
    น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑
    น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑
    น้ำปานะทำด้วยผลมะซาง ๑
    น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือองุ่น ๑
    น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑
    น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.
    ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะซาง.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.


    ------------- จากพระไตรปิฎกโดยตรง------------------

    พวกน้ำเต้าหู้ คือ น้ำจากถั่วเหลือง
    และพวกนมวัว ทั้งหลาย อย่านำไปถวายนะครับ บาปเปล่า ๆ
    (เฉพาะหลังเที่ยงนะครับ ตอนเช้าถวายไม่เป็นไร)
    อย่าคิดว่าเป็นบุญ
     
  4. krit59

    krit59 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +346
    อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง - เงิน หรือ ยินดีทอง - เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี
    เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. (ต้องอาบัตินิสสัคคีย์ ต้องสละสิ่งของนั้นออกไป จึงจะพ้นโทษได้)

    --------คุณทำบุญด้วยเงินกับพระ------------
    --------คุณคิดว่าคุณทำบุญรึเปล่า----------
    --------นี่คือสื่งที่พระองค์ทรงสอน---------
    --------มันบาปชัดๆ------------------------
     
  5. เวฬุวัล

    เวฬุวัล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,843
    ค่าพลัง:
    +505
    งั้นตอนถือศีลแปด

    ก็ดื่มน้ำเต้าหู้ได้สิคะ

    รบกวนตอบด้วยนะคะ

    พอดีถือศีลแปดอุโบสถในแทบทุกวันพระค่ะ
     
  6. แอบยิ้ม

    แอบยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +455
    ปัญหาอยู่ที่เราคิดอยากดื่มต่างหาก
    ดังนั้น ถ้าไม่คิดจะดื่ม ก็ไม่มีปัญหา

    เราถือศีล เพื่อต้องการอานิสงส์ของศีล
    คือความสุขสงบเย็น ไม่เดือดร้อนใจใด ๆ

    ศีลมีค่ามากกว่าน้ำดื่มอะไร ๆ เหล่านั้น

    จึงคิดว่างดเว้นเสียเลยเป็นดีที่สุด

    ดื่มน้ำมะม่วง มะตูม ขิง อ้อย ซึ่งเป็นที่นิยมกัน และไม่ผิด ก็เพียงพอแล้วครับ

    ศีลเป็นมารดาแห่งธรรมทั้งปวง

    ขออนุโมทนาผู้ตั้งใจถือศีลทุกท่านครับ
     
  7. อคติ

    อคติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    331
    ค่าพลัง:
    +395
    ขออนุญาติเสนอความคิดเห็นส่วนตัวครับ

    ผมว่าทางที่ดีควรพิจารณาที่จิตมากกว่าครับ ว่าสาเหตุที่กินหรือดื่มน้ำเพื่ออะไร ถ้าดื่มเพื่อสนุก มัวเมา หรือปรุงแต่ง แล้วหล่ะก็ ไม่ว่าน้ำอะไรก็ไม่สมควร แต่หากเราดื่มเพียงเพื่อเป็นยา เช่นกวาดลานวัดมาเกิดความเหนื่อยหล้า แล้วบริโภคเพื่อให้กายหายเหนื่อยหล้า ย่อมสมควร แต่หากคุณดื่มกินเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน หรือเพราะรสอร่อย กินเพื่อให้ใจยินดีก็ย่อมไม่สมควร แม้จะเป็นปานะที่ทรงพุทธานุญาติ ก็ยังคงไม่สมควร ปฏิบัติธรรมอย่าตีความแบบกฏหมาย ให้ดูเจตนา อนุโมทนากับทานที่คุณตั้งใจด้วยครับ


    -----------------------
    ปล.หายใจอย่างตั้งใจนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2008
  8. krit59

    krit59 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +346
    แล้วอย่างเราๆ เข้าใจรึเปล่า ว่า จิต คืออะไร ไม่เข้าใจว่าจิตคืออะไร แล้วจะตามดูถูกรึเปล่า ต้องเข้าใจก่อนว่าจิตคืออะไร ตามดูจิตนี่มันขั้นสูงเกินไป เอาง่ายๆก่อน
    ปฏิบัติตามมรรค 8 เห็นสัมมาทิฐิ ก่อน คือ มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง พอถูกต้องปุ๊บ
    เราจะรู้ว่ารักษาศีลแบบไหนให้ถูกต้อง เห็นถูกตัวเดียวนี่สำคัญ ถ้าเห็นผิดก็ผิดทาง
    พอไม่มีสิ่งเร้าภายนอกรบกวนแล้วค่อยมาดูจิต ศึกษาว่าจิตจริงๆคืออะไร ค่อยตามดูมันทุกอริยาบถ นะครับ
     
  9. อนาลัย

    อนาลัย สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    ขออนุญาติอ้างอิงบางส่วนมาจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์นะครับ

    ปานะ แปลว่าเครื่องดื่ม,น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก
    ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ
    ๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง
    ๒. ชมฺพุหานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
    ๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด
    ๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด
    ๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร)
    ๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น
    ๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล
    ๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่

    นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)

    วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ
    ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุด เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า
    เติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร)
    แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลงไปพอให้ได้รสดี

    ข้อจำกัดที่พึงทราบคือ
    ๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ
    (ข้อนี้พระมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรฐาณวโรรสว่าแม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ)
    ๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำจึงควรฉันในเวลาวิกาล
    (ถ้าภิกษุทำถือเป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล)
    ๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้
    (แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)

    กาลิก เนื่องด้วยกาล,ขึ้นกับกาล,
    ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้ภายในเวลาที่กำหนด
    จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ
    ๑. ยาวกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้นเช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่าง ๆ
    ๒. ยามกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่งคือก่อนอรุณของวันใหม่
    ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต
    ๓. สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ภายในเวลา๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้งห้า
    ๔. ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลาได้แก่ของที่ใช้ปรุงเป็นยา
    นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น
    (ความจริงยาวชีวิก ไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าด้วยโดยปริยาย เพราะเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน)

    สิ่งของที่ประเคนถวายพระได้เวลาเช้าถึงเที่ยงเครื่องไทยธรรมประเภทอาหารคาวหวานทุกชนิด
    ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง และอาหารเครื่องกระป๋องทุกประเภท เช่น
    ๑. อาหารสด ได้แก่ อาหารคาวและหวาน รวมทั้งผลไม้ ทุกชนิด
    ๒. อาหารแห้ง ได้แก่ เครื่องเสบียงกรังทุกชนิด เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ข้าสารเป็นต้น
    ๓. อาหารเครื่องกระป๋องทุกประเภท เช่น นม โอวัลติน เป็นต้น

    สิ่งของเหล่านี้ทั้งหมด นิยมประเคนถวายพระสงฆ์ได้เฉพาะเช้าชั่วเที่ยงเท่านั้น เมื่อเลยเที่ยงวันไปแล้ว
    มีพระวินัยพุทธบัญญัติห้ามมิให้พระภิกษุสงฆ์รับประเคน ถ้ารับประเคนต้องอาบัติ

    ถ้าคฤหัสถ์ชายหญิงนำสิ่งของเหล่านี้ไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ในเวลาหลังเที่ยงวันไปแล้ว
    นิยมเพียงแต่แจ้งให้พระภิกษุรับทราบ แล้วมอบสิ่งของเหล่านั้นให้ไว้แก่ศิษย์ของท่าน
    ให้ศิษย์เก็บรักษาไว้นำไปถวายท่านในวันต่อไป สิ่งของที่ประเคนถวายพระได้ตลอดเวลา

    ส่วนเครื่องไทยธรรมนอกจากประเภทอาหารดังกล่าวแล้ว เช่น ประเภทเครื่องดื่มทุกชนิด
    ประเภทเครื่องยาบำบัดความป่วยไข้ทุกชนิด และประเภทเภสัช เช่น น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
    หรือสิ่งของที่ไม่ใช่ของขบฉันนิยมประเคนถวายพระได้ตลอดเวลา ไม่มีข้อกำหนดห้าม



    --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



    ส่วนใหญ่วัดทางสายธรรมยุตและวัดป่ามหานิกายบางแห่ง ท่านจะเคร่งครัดเรื่องศีลและวินัยมาก
    เพราะท่านถือว่าวินัยเป็นรากฐานของการภาวนาที่เป็นสัมมาทิฏฐิครับ
    ผู้ถืออุโบสถศีลเพื่อปฏิบัติ ท่านจะห้ามดื่มนมโอวัลติน น้ำเต้าหู้
    และของเคี้ยวทุกชนิดหลังเที่ยงวันไปแล้วจนตลอดรุ่งราตรี
    (ยกเว้นสมอ และมะขามป้อม ในลักษณะทานเป็นเภสัช)

    อีกประการ เครื่องดื่มบำรุงกำลังพวกนี้ เช่น โอวัลติน นมข้น
    หรือของหวานต่างๆที่บำรุงร่างกายเหล่านี้
    ดื่มเข้าไปมากแล้วจะทำให้ร่างกายสมบูรณ์มากเกินไป ทำความเพียรยาก
    เคยได้ยินจากครูบาอาจารย์กรรมฐานบางท่าน
    ว่าท่านถึงขนาดเตือนให้พระใหม่เณรน้อยที่ปฏิบัติ พยายามหลีกเลี่ยงถ้าไม่จำเป็น
    เพราะอาหารบำรุงร่างกายเหล่านี้ ดื่มฉันมากแล้วจะมีผลให้ทำให้หลั่งสุกกะ(ฝันเปียก) ได้ง่าย
    ทั้งทำให้มีนิวรณ์ ทำภาวนาเบื้องต้นได้ลำบากอีกด้วยครับ

    ครั้งหนึ่งเคยมีพระภิกษุถามหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตว่า
    พระวินัยบางเรื่องนั้น ถ้าสามารถรักษาจิตให้ดีได้แล้ว ก็ไม่ต้องประพฤติเคร่งครัดได้หรือไม่ ?
    หลวงปู่ท่านตอบกลับว่า พระวินัยก็คือพระวินัย เรื่องปรมัตเรื่องจิตมันก็อีกเรื่อง
    คนที่เอาเรื่องปรมัตมาเป็นข้ออ้างต่อศีลต่อวินัยนั้น ไม่ใช่บัณฑิต หาความเจริญในธรรมยาก

    ศีลทั้ง ๒๒๗, ๘ และ ๕ ข้อนั้น
    พระพุทธองค์ตรัสไว้ทั้งโดยย่อและโดยละเอียดไว้อย่างไร ก็เป็นอยู่เช่นนั้นครับ
    พระสุปฏิปันโนรุ่นก่อนๆ ท่านก็รักษาวินัย ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องไม่ให้ด่างพร้อย
    จากรุ่นสู่รุ่นผ่านมาไม่ขาดสาย เพื่อจะดำรงให้ธรรมและวินัยยั่งคงอยู่
    ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงปฏิรูปไป

    เป็นที่น่ายินดีครับ ที่พุทธบริษัทเดี๋ยวนี้
    หันมาสนใจในเรื่องวินัยสงฆ์และรายละเอียดมากขึ้นดั่งเหมือนในสมัยพุทธกาล
    ทั้งนี้จะได้เป็นการไม่ก่อให้เกิดความลำบากต่อพระภิกษุสงฆ์ท่าน
    อีกทั้งจะทำให้รู้วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องตามวินัยของพระภิกษุที่เป็นเนื้อนาบุญของพระศาสนา
    และยังทำให้บุญกิริยาที่ประกอบนั้น เต็มเปี่ยมบริบูรณ์อีกด้วยครับ

    ขออนุโมทนาครับ



    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    FYI: ข้อมูลเพิ่มเติมครับ

    การรักษาศีล
    คัดลอกจากหนังสือสัมมาทิฏฐิ โดย หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ

    http://202.44.204.76/cgi-bin/kratoo.pl/002343.htm

    ศีลข้อที่ ๖ วิกาลโภชนาฯ
    ห้ามรับประทานอาหาร หรือสิ่งของที่จะแทนอาหารได้นับแต่ตะวันบ่ายไปแล้ว
    ขณะนี้ยังมีผู้ไม่เข้าใจในศีลข้อนี้เป็นจำนวนมาก คำว่าอาหารก็คืออาหารที่เรารับประทานกันตามปกตินั้นเอง
    จะรับประทานได้แต่เช้าถึงเที่ยงเท่านั้น ถ้าตะวันบ่ายแล้วรับประทาน ศีลข้อนี้ขาดไป
    คำว่าอาหารรวมทั้งอาหารเสริมด้วย เช่น โอวัลติน นมสด นมส้ม นมกล่อง นมกระป๋อง
    ที่เขาผสมแป้งมันถั่วต่าง ๆ ไว้แล้ว ตลอดทั้งน้ำเต้าหู้ที่ผสมถั่วต่าง ๆ ทั้งหมดนี้ถ้ารับประทานในตะวันบ่ายเมื่อไร
    ศีลจะขาดทันที เพราะเป็นอาหารเสริมสำเร็จ จึงไม่ควรรับประทานสิ่งเหล่านี้


    วินัยพระน่ารู้คู่มือโยม
    http://www.raksa-dhamma.com/topic_64.php

    นมเป็นอาหารประณีตดื่มในเวลาวิกาลไม่ได้
    ปลา เนื้อ นมสด และนมส้ม ๔ อย่างนี้ ไม่จัดเป็นเภสัช ๕ ไม่จัดเข้าในยาวชีวิก (ของฉันได้ตลอดชีวิต)
    และไม่จัดเป็นน้ำปานะอันเป็นยามกาลิก (ของฉันได้ตั้งแต่เที่ยงไปจนถึงอรุณขึ้น) แต่จัดเป็นอาหารประณีตเท่านั้น
    เพราะฉะนั้น พระภิกษุและสามเณรจึงไม่ควรดื่มนมในเวลาวิกาล แม้เครื่องดื่มต่าง ๆ ที่ผสมกับนมแล้วก็ไม่ควรดื่มเหมือนกัน
    ถ้าดื่มต้องอาบัติปาจิตตีย์
    ดังพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
    “ภิกษุใด ขอโภชนะอันประณีตเห็นปานนี้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์”
    (วิ.มหาวิ.อฏ.๒/๕๔๙)
    น้ำปานะสมัยนี้มีมากมายหลายอย่าง มีทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องตามพระวินัย เมื่อทำความเข้าใจแล้ว ก็จะรู้ได้ว่าอันไหนถูกต้อง
    อันไหนไม่ถูกต้อง เมื่อรู้แล้วโยมก็ควรถวายน้ำปานะที่ทรงอนุญาตไว้เท่านั้น เช่น น้ำมะม่วงคั้น เป็นต้น พระดื่มจึงไม่เป็นอาบัติ
    ถ้าโยมถวายน้ำปานะที่ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ เช่นนมสด นมถั่วเหลือง ไวตามิ้ลค์ น้ำเต้าหู้ ต้มถั่วเขียว ไมโล และโอวัล-ติน เป็นต้น
    เมื่อพระดื่มท่านก็จะเป็นอาบัติปาจิตตีย์
    พระควรเลือกดื่มน้ำปานะที่ทรงอนุญาตไว้ มีมากมาย เช่น น้ำมะม่วงคั้น เป็นต้น น้ำปานะที่ไม่ถูกต้องตามวินัย
    ควรหลีกเลี่ยงอย่าดื่มตามที่โยมถวายทั้งหมด ถ้าโยมเอาน้ำอะไรมาถวายก็ดื่มหมดโดยไม่พิจารณา จะต้องอาบัติได้ง่าย
     
  10. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ

    ...สรุป น้ำเต้าหู้ ถ้ากินหรือฉัน หลังเที่ยงไปแล้ว ศีลขาด
     
  11. kacher

    kacher เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    504
    ค่าพลัง:
    +235
    เพิ่งทราบเหมือนกันค่ะขอบคุณค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...