วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย paang, 8 สิงหาคม 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 border=0><TBODY><TR><TD width=700>
    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ


    ตอนที่ ๑ ขณิกสมาธิ


    [​IMG]








    </TD><TD width=40 rowSpan=2></TD></TR><TR><TD width=700>มีท่านพุทธศาสนิกชนมากท่าน ได้มีจดหมายมาขอวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบง่ายๆ เพื่อฝึกด้วยตนเอง อาตมาจึงเขียนวิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองขึ้น เป็นแบบฝึกใน หมวดสุกขวิปัสสโก คือฝึกแบบง่ายๆ ขอให้ท่านผู้สนใจปฏิบัติตามนี้



    สมาธิ

    อันดับแรก ขอให้ท่านผู้สนใจจงเข้าใจคำว่า สมาธิ ก่อน สมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่น หมายถึงการตั้งใจแบบเอาจริงเอาจังนั้นเอง ตามภาษาพูดเรียกว่า เอาจริงเอาจัง คือ ตั้งใจว่าจะทำอย่างไร ก็ทำอย่างนั้นอย่างเคร่งครัด ไม่เลิกล้มความตั้งใจ

    ความประสงค์ที่เจริญสมาธิ

    ความประสงค์ที่เจริญสมาธิ ก็คือ ต้องการให้อารมณ์สงัดและเยือกเย็น ไม่มีความวุ่นวายต่ออารมณ์ที่ไม่ต้องการ และความประสงค์ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ อยากให้พ้นอบายภูมิ คือไม่เกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน อย่างต่ำถ้าเกิดใหม่ขอเกิดเป็นมนุษย์และต้องการเป็นมนุษย์ชั้นดี คือ

    ๑. เป็นมนุษย์ที่มีรูปสวย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ไม่มีอายุสั้นพลันตาย
    ๒. เป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ ทรัพย์สินไม่เสียหายด้วยไฟไหม้, โจรเบียดเบียน, น้ำท่วม หรือลมพัดทำลายให้เสียหาย
    ๓. เป็นมนุษย์ที่มีคนในปกครองอยู่ในโอวาท ไม่ดื้อด้านดันทุรังให้มีทุกข์ เสียทรัพย์สินเงินทองและเสียชื่อเสียง
    ๔. เป็นมนุษย์ที่มีวาจาไพเราะ เมื่อพูดออกไปเป็นที่พอใจของผู้รับฟัง
    ๕. เป็นมนุษย์ที่ไม่มีอาการปวดประสาท คือปวดศีรษะมากเกินไป ไม่เป็นโรคประสาท ไม่เป็นบ้าคลั่งเสียสติ

    รวมความโดยย่อก็คือ ต้องการเป็นมนุษย์ที่มีความสงบสุขทุกประการ เป็นมนุษย์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินทุกประการ ทรัพย์ไม่มีอะไร เสียหายจากภัย ๔ ประการ คือ ไฟไหม้ ลมพัด โจรรบกวน น้ำท่วม และเป็นมนุษย์ที่มีความสงบสุข ไม่เดือดร้อนด้วยเหตุทุกประการ

    ประสงค์ให้เกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้าบนสวรรค์

    บางท่านก็ต้องการไปเกิดบนสวรรค์ เป็นเทวดาหรือนางฟ้าที่มีร่างกายเป็นทิพย์ มีที่อยู่และสมบัติเป็นทิพย์ไม่มีคำว่าแก่ ป่วย และยากจน (ความปรารถนาไม่สมหวัง) เพราะเทวดาหรือนางฟ้าไม่มีความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย มีความปรารถนาสมหวังเสมอ
    บางท่านก็อยากไปเกิดเป็นพรหม ซึ่งมีความสุขและอานุภาพมากกว่าเทวดาและนางฟ้า บางท่านก็อยากไปนิพพาน
    เป็นอันว่าความหวังทุกประการตามที่กล่าวมาแล้วนั้นจะมีผลแก่ทุกท่านแน่นอน ถ้าท่านตั้งใจทำจริงและปฏิบัติตามขั้นตอน
    แบบที่บอกว่าปฏิบัติแบบง่ายๆ นี้ ถ้าปฏิบัติได้ครบถ้วนท่านจะได้ทุกอย่างตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดโดยใช้เวลาไม่นานนัก จะช้าหรือเร็วอยู่ที่ท่านทำจริงตามคำแนะนำหรือไม่เท่านั้นเอง

    อารมณ์ที่ต้องการในขณะปฏิบัติ

    สำหรับอารมณ์ที่ต้องการในขณะปฏิบัติ ท่านต้องเข้าใจเสียก่อนว่า เวลานั้นต้องการอารมณ์สบาย ไม่ใช่อารมณ์เครียด เมื่อมีอารมณ์เป็นสุขถือว่าใช้ได้ อารมณ์เป็นสุขไม่ใช่อารมณ์ดับสนิทจนไม่รู้อะไร เป็นอารมณ์ธรรมดาแต่มีความสบายเท่านั้นเอง ยังมีความรู้สึกตามปกติทุกอย่าง

    เริ่มทำสมาธิ

    เริมทำสมาธิใช้วิธีง่ายๆ ไม่ต้องมีพิธีรีตองมาก ใช้ธูปเทียนเท่าที่มีบูชาพระ ใช้เครื่องแต่งกายตามที่ท่านแต่งอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องแต่งตัวสีขาว ฯลฯ เป็นต้น เพราะไม่สำคัญที่เครื่องแต่งตัว ความสำคัญจริงๆ อยู่ที่ใจ ให้คุมอารมณ์ใจให้อยู่ตามที่เราต้องการก็ใช้ได้

    อาการนั่ง

    อาการนั่ง ถ้าอยู่ที่บ้านของท่านตามลำพัง ท่านจะนั่งอย่างไรก็ได้ตามสบาย จะนั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้หรือนอน ยืน เดิน ตามแต่ท่านจะสบาย ทั้งนี้หมายถึงหลังจากที่ท่านบูชาพระแล้ว เสร็จแล้วก็เริ่มกำหนดรู้ลมหายใจเข้าและหายใจออก คำว่ากำหนดรู้ คือ หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ ถ้าต้องการให้ดีมากก็ให้สังเกตด้วยว่า หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้น ขณะที่รู้ลมหายใจนี้ และเวลานั้นจิตใจไม่คิดถึงเรื่องอื่นๆ เข้ามาแทรกแซง ก็ถือว่าท่านมีสมาธิมากแล้ว การทรงอารมณ์รู้เฉพาะลมหายใจเข้าออก โดยที่อารมณ์อื่นไม่แทรกแซง คือไม่คิดเรื่องอื่นใน
    เวลานั้น จะมีเวลามากหรือน้อยก็ตาม ชื่อว่าท่านมีสมาธิแล้ว คือตั้งใจรู้ลมหายใจโดยเฉพาะ


    การเจริญกรรมฐานโดยทั่วไปนิยมใช้คำภาวนาด้วย เรื่องคำภาวนานี้อาตมาไม่จำกัดว่าต้องภาวนาอย่างไร เพราะแต่ละคนมีอารมณ์ไม่เหมือนกัน บางท่านนิยมภาวนาด้วยคำสั้นๆ บางท่านนิยมใช้คำภาวนายาวๆ ทั้งนี้ก็สุดแล้วแต่ท่านจะพอใจ อาตมาจะแนะนำคำภาวนาอย่างง่ายคือ "พุทโธ" คำภาวนาบทนี้ ง่าย สั้น เหมาะแก่ผู้ฝึกใหม่ มีอานุภาพและมีอานิสงส์มาก เพราะเป็นนามของพระพุทธเจ้า การนึกถึงพระพุทธเจ้าเฉยๆ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในเรื่อง มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ว่า คนที่นึกถึงชื่อท่านอย่างเดียว ตายไปเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้าบนสวรรค์ ไม่ใช่นับร้อยนับพัน
    พระองค์ตรัสว่านับเป็นโกฏิๆ เรื่องนี้จะนำมาเล่าสู่กันฟังข้างหน้าเมื่อถึงวาระนั้น

    เมื่อคำภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจ จงทำดังนี้ เวลาหายใจเข้านึกว่า "พุท" เวลาหายใจออกนึกว่า "โธ" ภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจตามนี้เรื่อยๆ ไปตามสบาย ถ้าอารมณ์ใจสบายก็ภาวนาเรื่อยๆ ไป แต่ถ้าเกิดอารมณ์ใจหงุดหงิดหรือฟุ้งซ่านจนตั้งอารมณ์ไม่อยู่ก็จงเลิกเสีย จะเลิกเฉยๆ หรือดูโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุ หรือหาเพื่อนคุยให้อารมณ์สบายก็ได้ (เพื่อเป็นการผ่อนคลายอารมณ์) อย่ากำหนดเวลาตายตัวว่าต้องนั่งให้ครบเวลาเท่านั้นเท่านี้แล้วจึงจะเลิก ถ้ากำหนดอย่างนั้นเกิดอารมณ์ฟุ้งซ่านขึ้นมา จะเลิกก็เกรงว่าจะเสียสัจจะที่กำหนดไว้ ใจก็เพิ่มความฟุ้งซ่านมากขึ้น ถ้าเป็นเช่นนี้บ่อยๆ ก็จะเกิดเป็นโรคประสาทหรือเป็นโรคบ้า ขอทุกท่านจงอย่าทนทำอย่างนั้น

    ขณิกสมาธิ

    อารมณ์ที่ทรงสมาธิระยะแรกนี้จะทรงไม่ได้นาน เพราะเพิ่งเริ่มใหม่ ท่านเรียกสมาธิระยะนี้ว่า ขณิกสมาธิ คือสมาธิเล็กน้อย ความจริงสมาธิถึงแม้ว่าจะทรงอารมณ์ไม่ได้นานก็มีอานิสงส์มาก เช่น ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร

    ฝึกทรงอารมณ์

    อารมณ์ทรงสมาธิถึงแม้ว่าจะทรงได้ไม่นาน แต่ท่านทำด้วยความเคารพก็มีผลมหาศาล ตามที่ทราบมาแล้วในเรื่องมัฏฐกัณฑลีเทพบุตร แต่ถ้ารักษาอารมณ์ได้นานกว่ามีสมาธิดีกว่า จะมีผลมากกว่านั้นมาก การฝึกทรงอารมณ์ให้อยู่นาน หรือที่เรียกว่ามีสมาธินานนั้น ในขั้นแรกให้ทำดังนี้

    ให้ท่านภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้านึกว่า "พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" ดังนี้นับเป็นหนึ่ง นับอย่างนี้สิบครั้งโดยตั้งใจว่าในขณะที่ภาวนาและรู้ลมเข้าลมออกอย่างนี้ ในระยะสิบครั้งนี้เราจะไม่ยอมให้อารมณ์อื่นเข้ามาแทรกคือไม่ยอมคิดอย่างอื่น จะประคองใจให้อยู่ในคำภาวนา และรู้ลมเข้าลมออก ทำครั้งละสิบเพียงเท่านี้ ไม่ช้าสมาธิของท่านจะทรงตัวอยู่อย่างน้อยสิบนาทีหรือครึ่งชั่วโมง จะเป็นอารมณ์ที่เงียบสงัดมาก อารมณ์จะสบาย จงพยายามทำอย่างนี้เสมอๆ ทางที่ดีทำแบบนี้เมื่อเวลานอนก่อนหลับและตื่นใหม่ๆ จะดีมาก บังคับอารมณ์เพียงสิบเท่านั้นพอ ใช้เวลาประมาณ หนึ่งเดือนจะสามารถทรงอารมณ์เป็นฌานได้เป็นอย่างดี

    อย่าฝืนอารมณ์ให้มากนัก

    เรื่องของอารมณ์เป็นเรื่องไม่แน่นอนนัก ในกาลบางคราวเราสามารถควบคุมได้ตามที่เราต้องการ แต่ในกาลบางคราวเราก็ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะกระสับกระส่ายเสียจนคุมไม่อยู่ ในตอนนั้นเราควรจะยอมแพ้มัน เพราะถ้าขืนต่อสู้จะเกิดอารมณ์หงุดหงิดหรือเครียดเกินไป ในที่สุดถ้าฝืนเสมอๆ แบบนั้น อารมณ์จะกลุ้ม สมาธิจะไม่เกิด สิ่งที่จะเกิดแทนคือ อารมณ์กลุ้ม เมื่อปล่อยให้กลุ้มบ่อยๆ ก็อาจจะเป็นโรคประสาทได้

    ข้อที่ควรระวังก็คือ ทำแบบการนับดังกล่าวแล้วนั้นสามารถทำได้ถึงสิบครั้ง หรือบางคราวทำได้เกินสิบครั้งก็ทำเรื่อยๆ ไป ถ้าภาวนาไปไม่ถึงสิบ อารมณ์เกิดรวนเร กระสับกระส่าย ให้หยุดสักประเดี๋ยวหนึ่งแล้วทำใหม่ สังเกตดูอารมณ์ว่าจะสามารถควบคุมภาวนาไปได้ไหม ถ้าสามารถควบคุมให้อยู่ภายในขอบเขตของภาวนาได้ และรู้ลมหายใจเข้าออกควบคู่กันไปได้ดีก็ทำเรื่อยๆ ไป แต่ถ้าควบคุมไม่ไหวจริงๆ ให้พักเสียก่อน จนกว่าใจจะสบายแล้วจึงทำใหม่ หรือเลิกไปเลย วันนั้นพัก ไม่ต้องทำเลย ปล่อยอารมณ์ให้รื่นเริงไปกับการคุย หรือชมโทรทัศน์หรือฟังวิทยุ หรือหลับไปเลย เพื่อให้ใจสบาย ให้ถือว่าทำได้เท่าไหร่พอใจเท่านั้น ถ้าทำอย่างนี้ไม่ช้าจะเข้าถึงจุดดี คือ อารมณ์ฌาน

    คำว่า ฌาน คือ อารมณ์ชิน ได้แก่ เมื่อต้องการจะรู้ลมหายใจเข้าออกเมื่อไร อารมณ์ทรงตัวทันที ไม่ต้องเสียเวลาตั้งท่าตั้งทางเลย ภาวนาเมื่อไรใจสบายเมื่อนั้น แต่ทว่าอารมณ์ฌานโลกีย์ที่ทำได้นั้นเอาแน่นอนไม่ได้ เมื่อร่างกายปกติ ไม่เหนื่อย ไม่เพลีย ไม่ป่วย มันก็สามารถคุมอาการภาวนาหรือรู้ลมหายใจเข้าออกได้สบาย ไม่มีอารมณ์ขวาง แต่ถ้าร่างกายพร่องนิดเดียวเราก็ไม่สามารถคุมให้อยู่ตามที่เราต้องการได้

    ฉะนั้นถ้าหลงระเริงเล่นแต่อารมณ์สมาธิอย่างเดียว จะคิดว่าเราตายคราวนี้หวังได้สวรรค์ พรหมโลก นิพพานนั้น (เอาแน่นอนไม่ได้) เพราะถ้าก่อนตายมีทุกขเวทนามาก จิตอาจจะทรงอารมณ์ไม่อยู่ ถ้าจิตเศร้าหมองขุ่นมัวเมื่อก่อนตาย อาจจะไปอบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉานได้ ยกตัวอย่าง พระเทวทัต ท่านได้อภิญญาโลกีย์มีฤทธิ์มาก แต่ก่อนจะตายเกิดมีอารมณ์หลงผิดคิดประทุษร้ายพระพุทธเจ้า เมื่อตายแล้วลงอเวจีมหานรกไป พวกเราเองก็เหมือนกันถ้าหลงทำเฉพาะสมาธิ ไม่หาทางเอาธรรมะอย่างอื่นเข้าประคับประคอง สมาธิก็ไม่สามารถช่วยได้ จึงต้องใช้ธรรมะอย่างอื่นเข้าประคองใจด้วย ธรรมะที่ช่วยประคองใจให้เกิดความมั่นคงไม่ต้องลงอบายภูมิ มีนรกเป็นต้นนี้ ก็ได้แก่ กรรมบถ ๑๐ ประการ คือ


    กรรมบถ ๑๐

    ๑. ไม่ฆ่าสัตว์หรือไม่ทรมานสัตว์ให้ได้รับความลำบาก
    ๒. ไม่ลักทรัพย์ คือไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เขาไม่ให้ด้วยความเต็มใจ
    ๓. ไม่ทำชู้ในบุตรภรรยาและสามีของผู้อื่น
    (ขอแถมนิดหนึ่ง ไม่ดื่มสุราและเมรัยที่ทำให้มึนเมาไร้สติ)
    ๔. ไม่พูดวาจาที่ไม่ตรงความเป็นจริง
    ๕. ไม่พูดวาจาหยาบคายให้สะเทือนใจผู้ฟัง
    ๖. ไม่พูดส่อเสียดยุให้รำตำให้รั่ว ทำให้ผู้อื่นแตกร้าวกัน
    ๗. ไม่พูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล
    ๘. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของเขาไม่ยกให้
    ๙. ไม่คิดประทุษร้ายใคร คือไม่จองล้างจองผลาญเพื่อทำร้ายใคร
    ๑๐. เชื่อพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่านด้วยดี

    อานิสงส์กรรมบถ ๑๐

    ท่านที่ปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ท่านเรียกชื่อเป็นกรรมฐานกองหนึ่งเหมือนกัน คือ ท่านเรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน หมายความว่าเป็น ผู้ทรงสมาธิในศีล

    ท่านที่ปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ ประการได้นั้น มีอานิสงส์ดังนี้

    ๑. อานิสงส์ข้อที่หนึ่ง จะเกิดเป็นคนมีรูปสวย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บรบกวน มีอายุยืนยาว ไม่อายุสั้นพลันตาย
    ๒. อานิสงส์ข้อที่สอง เกิดเป็นคนมีทรัพย์มาก ทรัพย์ไม่ถูกทำลายเพราะโจร ไฟไหม้ น้ำท่วม ลมพัด จะมีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์ขั้นมหาเศรษฐี
    ๓. อานิสงส์ข้อที่สาม เมื่อเกิดเป็นคนจะมีคนที่อยู่ในบังคับบัญชาเป็นคนดี ไม่ดื้อด้าน อยู่ภายในคำสั่งอย่างเคร่งครัด มีความสุขเพราะบริวาร และการไม่ดื่มสุราเมรัย เมื่อเกิดเป็นคนจะไม่มีโรคปวดศีรษะที่ร้ายแรง ไม่เป็นโรคเส้นประสาท ไม่เป็นคนบ้าคลั่ง จะเป็นคนมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด

    เรื่องของวาจา

    ๔. อานิสงส์ข้อที่สี่, ข้อห้า, ข้อหก, และข้อเจ็ด เมื่อเกิดเป็นคนจะเป็นคนปากหอม หรือมีเสียงทิพย์ คนที่ได้ยินเสียงท่านพูดเขาจะไม่อิ่มไม่เบื่อในเสียงของท่าน ถ้าเรียกตามสมัยปัจจุบันจะเรียกว่าคนมีเสียงเป็นเสน่ห์ก็คงไม่ผิด จะมีความเป็นอยู่ที่เป็นสุขและทรัพย์สินมหาศาลเพราะเสียง

    เรื่องของใจ

    ๕. อานิสงส์ข้อที่แปด, ข้อเก้า, และข้อสิบ เป็นเรื่องของใจ คืออารมณ์คิด ถ้าเว้นจากการคิดลักขโมยเป็นต้น ไม่คิดจองล้างจองผลาญใคร เชื่อพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามคำสอนของท่านด้วยความเคารพ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นคนมีอารมณ์สงบและมีความสุขสบายทางใจ ความเดือดเนื้อร้อนใจในกรณีใดๆ ทุกประการจะไม่มีเลย มีแต่ความสุขใจอย่างเดียว

    อานิสงส์รวม

    เมื่อกล่าวถึงอานิสงส์รวมแล้ว ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานในขั้นนี้ ถึงแม้ว่าจะทรงสมาธิไม่ได้นานตามที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ นั้น ถ้าสามารถทรงกรรมบถ ๑๐ ประการได้ครบถ้วน ท่านกล่าวว่า เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิอีกต่อไป บาปที่ทำไว้ตั้งแต่สมัยใดก็ตาม ไม่มีโอกาสนำไปลงโทษในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น อีกต่อไป

    ถ้าบุญบารมีไม่มากกว่านี้ ตายจากคนไปเป็นเทวดาหรือพรหม เมื่อหมดบุญแล้วลงมาเกิดเป็นมนุษย์ จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาตินั้น แต่ถ้าเร่งรัดการบำเพ็ญเพียรดี รู้จักใช้ปัญญาอย่างมีเหตุผล ก็สามารถบรรลุมรรคผลเข้าถึงพระนิพพานได้ในชาตินี้

    แนะวิธีรักษากรรมบถ ๑๐

    การที่จะทรงความดีเต็มระดับตามที่กล่าวมาให้ครบถ้วนให้ปฏิบัติตามนี้

    ๑. คิดถึงความตายไว้ในขณะที่สมควร คือไม่ใช่ทุกลมหายใจเข้าออก เมื่อตื่นขึ้นใหม่ๆ อารมณ์ใจยังเป็นสุข ก่อนที่จะเจริญภาวนาอย่างอื่น ให้คิดถึงความตายก่อน คิดว่าความตายอาจจะเข้ามาถึงเราในวันนี้ก็ได้ จะตายเมื่อไรก็ตามเราไม่ขอลงอบายภูมิ ที่เราจะไปคือ อย่างต่ำไปสวรรค์ อย่างกลางไปพรหม ถ้าไม่เกินวิสัยแล้ว ขอไปนิพพานแห่งเดียว คิดว่าไปนิพพานเป็นที่พอใจที่สุดของเรา

    ๒. คิดต่อไปว่าเมื่อความตายจะเข้ามาถึงเราจะเป็นในเวลาใดก็ตาม เราขอยึดพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต คือไม่สงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า ยอมเคารพด้วยศรัทธา คือความเชื่อถือในพระองค์ ขอให้ปฏิบัติตามคำสอน คือกรรมบถ ๑๐ ประการโดยเคร่งครัด ถ้าความตายเข้ามาถึงเมื่อไรขอไปนิพพานแห่งเดียว

    เมื่อนึกถึงความตายแล้วตั้งใจเคารพ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์สาวก แล้วตั้งใจนึกถึงกรรมบถ ๑๐ ประการว่ามีอะไรบ้าง ตั้งใจจำและพยายามปฏิบัติตามอย่าให้พลั้งพลาด คิดติดตามข้อปฏิบัติเสมอว่ามีอะไรบ้าง ตั้งใจไว้เลยว่าวันนี้เราจะไม่ยอมละเมิดสิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่งเป็นอันขาด เป็นธรรมดาอยู่เองการที่ระมัดระวังใหม่ๆ อาจจะมีการพลั้งพลาดพลั้งเผลอในระยะต้นๆ บ้างเป็นของธรรมดา แต่ถ้าตั้งใจระมัดระวังทุกๆ วัน ไม่นานนัก อย่างช้าไม่เกิน ๓ เดือน ก็สามารถรักษาได้ครบ มีอาการชินต่อการรักษาทุกสิกขาบท จะไม่มีการผิดพลาดโดยที่เจตนาเลย เมื่อใดท่านทรง
    อารมณ์กรรมบถ ๑๐ ประการได้ โดยที่ไม่ต้องระวัง ก็ชื่อว่าท่านทรงสมาธิขั้น ขณิกสมาธิ ได้ครบถ้วน เมื่อตายท่านไปสวรรค์หรือพรหมโลกได้แน่นอน

    ถ้าบารมีอ่อน เกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียวไปนิพพานแน่ ถ้าขยันหมั่นเพียรใช้ปัญญาแบบเบาๆ ไม่เร่งรัดเกินไป รักษาอารมณ์ใจให้เป็นสุข ไม่เมาในร่างกายเราและร่างกายเขา ไม่ช้าก็บรรลุพระนิพพานได้แน่นอน เป็นอันว่าการปฏิบัติขั้นขณิกสมาธิจบเพียงเท่านี้

    (จบขณิกสมาธิ)​

    คัดจากหนังสือ "วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ" หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    ที่มา : เว็ปพระรัตนตรัย http://www.praruttanatri.com/book.php
     
  2. Ricky

    Ricky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +682
    ขอบคุณมากครับ
     
  3. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,810
    ค่าพลัง:
    +18,982
    อันนี้น่าจะเป็น กระทู้แนะนำ

    sticky ไปเลย..

    รวมการปฏิบัติหลายแบบเข้าด้วยกัน .. ท่านเว๊ปมาสเตอร์ช่วยชี้แจง
     
  4. ปัจจุบัน

    ปัจจุบัน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +50
    วิธีปฏิบัติผมว่ามันก็ใช่ แต่ว่าจุดประสงค์ของการทำสมาธิ เราควรจะพูดโยงและให้คนที่เรียนรู้ใหม่ๆ ให้รู้ว่าจุดประสงค์หลักก็คือจะต้องไปให้ถึงสภาวะนั้น(นิพพาน) ให้ได้

    คนเราขอเพียงเริ่ม ฝึกสติ ฝึกสมาธิ เก็บเล็ก เก็บน้อย เก็บออมสติไปเรื่อยๆ สั่งสมสมาธิไปเรื่อย ผมว่าสักวันมันต้องถึงจนได้

    สติปัฏฐานสี่

    1. ฐานที่1 ก็คือกาย ก็ตั้งแต่ลมหายใจเป็นต้น ทำความรู้สึกง่ายๆ เหล่าเนี้ย เป็นเบื้องต้น อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ค่อยๆรู้ ค่อยๆเก็บสะสมไปเรื่อย จากรู้ลมหายใจหยาบๆ ต่อไปเราก็จะรู้ ละเอียดขึ้น ก็มันทำทุกวัน ทำตลอด ไม่เก่งให้มันรู้ไป เดินรู้ นั่งรู้ ยืนรู้ คือให้กำหนดรู้ กายประมาณนี้แหละ ข้อห้าม ห้ามใช้ความคิด ให้รู้เฉยๆ

    2. ฐานที่2 ก็คือเวทนา ก็ความรู้สึกกับร่างกายที่เรารู้สึกนี่แหละ มันร้อนเราก็ต้องรู้อยู่แล้ว เย็นก็รู้ เจ็บก็รู้ คือรู้ความรู้สึกตัวเองจากหยาบไปหาละเอี่ยด นี่เป็นตัวอย่างสิ่งที่มันหยาบ และฝึกบ่อยๆ ถ้าละเอียดลงไปอีกเราก็จะรู้ว่าเกิดความรู้สึกอะไรกับร่างกายเราบ้าง ความสามารถเหล่านี้แหละมันจะช่วยให้เรานำมาใช้ ข้อห้าม ห้ามใช้ความคิด ให้รู้เฉยๆ

    3. ฐานที่3 จิต ก็คือจิต ความคิด ฐานนี่แหละยากสุด ความอันตรายของความคิดก็คือมันเป็นพาหะของกิเลสทุกอย่าง ความทุกข์ทุกอย่าง ถ้าเราทำลายนิสัยการคิดมากไม่ได้ ถ้าฝึกนิสัยใหม่ให้จิตไม่ได้ ความทุกข์มันก็สุมเราอย่างนี้ทั้งชาติ ทุกชาติ ไม่จบไม่สิ้น ทำให้เราเกิดไม่จบไม่สิ้น มันก็จะไม่หมดความทุกข์ ฉะนั้นความคิดเกิดให้เรารู้ตามมัน อย่าเหม่อลอยให้มันมาก พยายามมีสติ ให้รู้ทัน เพราะไอ้ความคิดนี่แหละมันจะพาเราไปดีไปร้าย ก็ได้ แต่ที่ดีที่สุดคือ มันเกิดความคิดเมื่อไร ต้องรู้ทันมัน ส่วนมากคนตามไม่ทันมันหรอก ยกเว้นความคิดที่มันแรง ไม่ละเอียดเราพอจะตามมันได้ ทีนี้ ถ้าตามทันแล้วทำไง ก็ไม่ต้องทำอะไร เพราะว่าเรารู้ทันมัน ความคิดมันจะอ่อนแรงลง ก็คือให้เรากำหนดรู้ก็พอ ให้มันจางไปเอง อาจใช้เวลาสั้นบางยาวบ้างแล้วแต่ว่าเรื่องอะไร ถ้ามีอารมณ์โกรธมาด้วยก็หายยาก ถ้ามีอัตตามากก็ยุ่งหน่อย ฝึกบ่อยๆ ฝึกรู้ความคิดบ่อยๆ ทันมั่ง ไม่ทันมั่ง ก็ทำไป อย่าท้อ ซักวันหนึ่งเราจะ ได้ความสามารถที่ดีขึ้น เก่งขึ้น ละเอียดขึ้น ข้อห้าม ห้ามใช้ความคิด ให้รู้เฉยๆ

    4. ฐานที่4 ธรรมชาติ ถ้าใครฝึกได้เก่งทั้งสามฐานแล้ว ฐานที่ 4 ก็ไม่ยาก เพราะว่ารอรู้สภาวะนิพพานเท่านั้นเอง จะเกิดเอง ถ้าทำมาอย่างนี้ตั้งแต่เริ่มต้นเอาช้างมาฉุดก็ไม่อยู่ยังงัยก็จะไปเจอสภาวะธรรมดา (นิพพาน) โดยที่ไม่ต้องมีความคิดอะไรมาบังสายตา มองเห็นโดยตรง เห็นโลกธรรมดาแบบตรงๆ ข้อห้าม ห้ามใช้ความคิด ให้รู้เฉยๆ

    ฉะนั้น เกิดมาในเมืองไทย ต้องมีวาสนามาก่อน
    ฉะนั้น เกิดมาเป็นพุทธ ต้องมีวาสนามาก่อน
    ฉะนั้น เกิดมาเจอศาสนาพุทธ ต้องมีวาสนา กับพุทธมาก่อน
    ฉะนั้น เกิดมาเจอพุทธ แต่ไม่เร่งรีบ ศึกษา ก็เป็นวาสนา ของท่านมีน้อยเท่านั้น
    ฉะนั้น เกิดมาเจอพุทธ และเร่งฝึกและเร่งทำ ก็เป็นวาสนาของท่าน
    ฉะนั้น เกิดมาเจอพุทธ และเร่งฝึกผิดทาง หลงทาง ศึกษาไปไกล ไปทั่ว ไม่ตรงจุด ก็เป็นวาสนาของท่าน
    ฉะนั้น เกิดมาเจอพุทธ และท่านเจอคนรู้จริงก็เป็นวาสนาของท่าน(ไม่ใช่ผมนะครับ)
    ฉะนั้น เกิดมาเจอพุทธ และท่านทำและเจริญเร็ว ก็เป็นบารมีของท่าน

    หากสัจธรรมอันสูงสุดหรือพระนิพพานไม่ได้อยู่ตรงที่คุณอยู่แล้วไซร์ คุณคิดว่าจะไปหาพระนิพพานได้ที่ไหนหรือ? *****ผมลอกมา ครับ)

     
  5. dongtan

    dongtan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +100
    โมทนา สาธุ ครับ

    [b-wai]​
     
  6. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,675
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    โทษของกาม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย
    มัชฌิมปัณณาสก์

    สุภสูตร
    [๗๒๓] ดูกรมาณพ กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด เสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู ... กลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... รสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด กามคุณ ๕ ประการนี้แล

    โปตลิยสูตร
    อุปมากาม ๗ ข้อ
    [๔๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนสุนัข อันความเพลียเพราะความหิวเบียดเบียนแล้ว พึงเข้าไปยืนอยู่ใกล้เขียงของนายโคฆาต นายโคฆาต หรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ฉลาด พึงโยนร่างกระดูกที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อแล้ว เปื้อนแต่เลือดไปยังสุนัข ฉันใด ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สุนัขนั้นแทะร่างกระดูกที่เชือดชำแหละออกจดหมดเนื้อ เปื้อนแต่เลือด จะพึงบำบัดความเพลียเพราะความหิวได้บ้างหรือ?

    ไม่ได้เลยพระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเป็นร่างกระดูกที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อ เปื้อนแต่เลือด และสุนัขนั้นพึงมีแต่ส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อยคับแค้นเท่านั้น.
    ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง (เหมือนกระดูกที่แทะกินเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักอิ่ม - ธัมมโชติ) ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว (อุเบกขาจากสมาธิ อุเบกขาที่จิตไม่ซัดส่ายไปตามกามคุณอารมณ์ต่างๆ - ธัมมโชติ) อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.
    [๔๘] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนแร้งก็ดี นกตะกรุมก็ดี เหยี่ยวก็ดี พาชิ้นเนื้อบินไป แร้งทั้งหลาย นกตะกรุมทั้งหลาย หรือ เหยี่ยวทั้งหลาย จะพึงโผเข้ารุมจิกแย่งชิ้นเนื้อนั้น ฉันใด ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าแร้ง นกตะกรุม หรือเหยี่ยวตัวนั้น ไม่รีบปล่อยชิ้นเนื้อนั้นเสีย มันจะถึงตายหรือทุกข์ปางตายเพราะชิ้นเนื้อนั้นเป็นเหตุ?
    อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.
    ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง (เหมือนชิ้นเนื้อที่เป็นเหตุแห่งการแย่งชิง การทำร้าย การต้องคอยระวังรักษา ความห่วงกังวล - ธัมมโชติ) ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.
    [๔๙] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงถือคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่ว แล้วเดินทวนลมไป ฉันใด ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าบุรุษนั้นไม่รีบปล่อยคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วนั้นเสีย คบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วนั้น พึงไหม้มือ ไหม้แขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่ แห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้น บุรุษนั้นจะถึงตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะคบเพลิงนั้นเป็นเหตุ?
    อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.
    ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง (ถ้ายึดมั่นถือมั่น ครอบครองเอาไว้ ก็จะทำให้เป็นทุกข์ เร่าร้อนใจ - ธัมมโชติ) ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.
    [๕๐] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกกว่าชั่วบุรุษหนึ่ง เต็มด้วยถ่านเพลิงอันปราศจากเปลว ปราศจากควัน บุรุษผู้รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ พึงมา บุรุษมีกำลังสองคนช่วยกันจับแขนบุรุษนั้นข้างละคน ฉุดเข้าไปยังหลุมถ่านเพลิง ฉันใด ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงน้อมกายเข้าไป ด้วยคิดเห็นว่าอย่างนี้ๆ บ้างหรือ?
    ไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุรุษนั้นรู้ว่า เราจักตกลงยังหลุมถ่านเพลิงนี้ จักถึงตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะการตกลงยังหลุมถ่านเพลิงเป็นเหตุ.
    ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง (มีความทุกข์ความเร่าร้อนมาก ใครหลงเข้าไปแล้วก็ยากที่จะหลุดออกมาได้ - ธัมมโชติ) ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.
    [๕๑] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงฝันเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภาคพื้นอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ บุรุษนั้นตื่นขึ้นแล้ว ไม่พึงเห็นอะไร ฉันใด ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยความฝัน มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง (เป็นดังภาพมายา หาสาระแก่นสารมิได้ - ธัมมโชติ) ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.
    [๕๒] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงยืมโภคสมบัติ คือ แก้วมณี และกุณฑลอย่างดีบรรทุกยานไป เขาแวดล้อมด้วยทรัพย์สมบัติที่ตนยืมมา พึงเดินไปภายในตลาด คนเห็นเขาเข้าแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ บุรุษผู้นี้มีโภคสมบัติหนอ ได้ยินว่าชนทั้งหลายผู้มีโภคสมบัติ ย่อมใช้สอยโภคสมบัติอย่างนี้ ดังนี้ พวกเจ้าของพึงพบบุรุษนั้น ณ ที่ใดๆ พึงนำเอาของของตนคืนไปในที่นั้นๆ ฉันใด ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จะสมควรหรือหนอ เพื่อความที่บุรุษนั้นจะเป็นอย่างอื่นไป? (มีร่างกายหรือจิตใจแปรปรวนไป เช่น เศร้าโศกเสียใจ ที่สูญเสียสิ่งของเหล่านั้นไป - ธัมมโชติ)
    ไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเจ้าของย่อมจะนำเอาของของตนคืนไปได้.
    ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยของยืม มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง (มีความพลัดพราก สูญเสียเป็นธรรมดา - ธัมมโชติ) ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.
    [๕๓] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนราวป่าใหญ่ในที่ไม่ไกลบ้านหรือนิคม ต้นไม้ในราวป่านั้น พึงมีผลรสอร่อย ทั้งมีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว บุรุษผู้ต้องการผลไม้ พึงเที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้ เขาแวะยังราวป่านั้น เห็นต้นไม้อันมีผลรสอร่อย มีผลดกนั้น เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว แต่เรารู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ เราพึงขึ้นต้นไม้นี้แล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง เขาขึ้นต้นไม้นั้นแล้วกินจนอิ่ม และห่อพกไว้
    ลำดับนั้น บุรุษคนที่สองต้องการผลไม้ ถือขวานอันคม เที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้ เขาแวะยังราวป่านั้น แล้วเห็นต้นไม้มีผลรสอร่อย มีผลดกนั้น เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว และเราก็ไม่รู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ เราพึงตัดต้นไม้นี้แต่โคนต้น แล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง เขาพึงตัดต้นไม้นั้นแต่โคนต้น ฉันใด
    ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษคนโน้นซึ่งขึ้นต้นไม้ก่อนนั้น ถ้าแลเขาไม่รีบลง ต้นไม้นั้นจะพึงล้มลง หักมือ หักเท้า หรือหักอวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้น บุรุษนั้นพึงถึงตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะต้นไม้นั้นล้มเป็นเหตุ?
    เป็นอย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.
    ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง (เป็นที่หมายปองของคนจำนวนมาก - ธัมมโชติ) ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.
     
  7. คนเดินทางมาใหม่

    คนเดินทางมาใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +266
    อนุโทนา สาธุคะ
     
  8. imaginary

    imaginary Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +73
    ขออนุโมทนาด้วยครับ
     
  9. แคท

    แคท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +1,666
    ขออนุโมทนา สาธุ
     
  10. Nat_3342

    Nat_3342 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +39
    อนุโมทนาค่ะ
     
  11. สุวรรณา รัตนกิจเกษม

    สุวรรณา รัตนกิจเกษม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +772
    โมทนาด้วยค่ะ
     
  12. เกศ

    เกศ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG] อนุโมทนาด้วยอีกคนนะคะ





    [​IMG]
     
  13. GAN9

    GAN9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +1,248
    ขออนุโมทนาสาธุ
     
  14. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    726
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,503
    อนุโมทนา สาธุ
     
  15. mirinda

    mirinda Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +91
    ระหว่าง เจริญสติปฐาน 4 เดินยืนนั่งนอน โดยภาวนาว่า ยุบหนอ พองหนอ กับการเจริญภาวนา หายใจเข้าพุทธ ออก โท เริ่มต้นด้วยวิธีไหน ถึงจะง่ายกว่ากันคะ แล้ว ต่างกันอย่างไร รบกวนช่วยตอบด้วยนะคะ
     
  16. notme

    notme เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +256
    อนุโมทนาด้วนครับ สาธุ
     
  17. mr.sanyalak sanyalak

    mr.sanyalak sanyalak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +182
    " อนุโมทนา สาธุ " <TABLE class=tborder id=post164124 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt1 id=td_post_164124>ทำดีเห็นกันชาตินี้ ...ทำอย่างไรได้อย่างนั้น...
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. Good_oom

    Good_oom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +562
    อนุโมทนาครับ
     
  19. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040

    สาธุ ๆ เห้นด้วยกับคำนี้เหมือนกัน .....
    เพราะ กรรม ที่ก่อไว้ จะสนองตอบคืนคุณแก่บุคคลนั้น
     
  20. goldenfarm

    goldenfarm Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +26
    a nu mo ta na


    krub------(*)(*)
     

แชร์หน้านี้

Loading...