พุทธศาสตร์ศึกษาโดยวิธีอุปมาอุปมัย ''เรื่องจิตกับความฝัน''

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 5 มกราคม 2006.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,682
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    [​IMG]



    พุทธศาสตร์ศึกษาโดยวิธีอุปมาอุปมัย ''เรื่องจิตกับความฝัน'' ตอนที่๑
    โดย พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์


    ในช่วงเวลาทศวรรษนี้ ปรากฏว่า ได้มีจำนวนผู้ที่สนใจศึกษาและปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้นตามลำดับ มิใช่เฉพาะผู้สูงอายุที่มุ่งเข้าหาวัดเพื่อสะสมผลบุญกุศลเป็นทุนสำรองเสวยสุขในชาติภพหน้าเท่านั้น

    แต่ยังรวมไปถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานทั้งภาคราชการและธุรกิจ นิสิต นักศึกษา นักเรียน ที่สนใจจะศึกษาและปฏิบัติธรรมให้มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอที่จะนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตและภารกิจหน้าที่ประจำวัน ความสนใจศึกษาและปฏิบัติธรรมของกลุ่มบุคคลในวัยการศึกษาซึ่งกำลังจะเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าของประเทศในอนาคตนี้เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนา และให้การสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง


    รื่องนี้มิใช่มีเฉพาะในประเทศไทยและประเทศที่มีประชาชนจำนวนมากยอมรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นศาสนา ของกลุ่มบุคคล หรือประจำชาติ เท่านั้น แต่ได้แผ่ขยายออกไปเกือบทุกประเทศทั่วโลกในรูปแบบต่างๆ


    โดยใช้วิชาพุทธศาสตร์ในเรื่อง การฝึกจิตเพื่อให้เกิดสมาธิ และพลังเป็นฐานสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ที่สภาพเศรษฐกิจของหลายประเทศได้ประสบวิกฤติการณ์เสื่อมโทรมอย่างหนัก ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเครียดทางประสาทเกิดขึ้นเป็นอย่างมาก บุคคลเหล่านี้จึงจำเป็นต้องหาทางออก หาวิธีการแก้ไขความเครียดตามวิธีการ และกรรมของแต่ละบุคคล อาทิ การเสาะหาหมอดู ทรงเจ้าเข้าผี เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง การปรึกษาหารือกับจิตประสาทแพทย์ การศึกษาและปฏิบัติธรรม ถ้ายังหาทางออกไม่ได้จริงๆ ก็จะคิดสั้นโดยการฆ่าตัวตายเป็นที่สุด เป็นที่น่าสมเพชอย่างยิ่ง

    จากประสบการณ์ในการศึกษาและปฏิบัติธรรมของผม ได้พบว่า ผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติธรรมชั้นต้นๆ ส่วนใหญ่ มักประสบปัญหาไม่สามารถทำความเข้าใจในพระธรรมที่ได้กล่าวไว้ด้วยคำและศัพท์บาลี เป็นเหตุให้เกิดความท้อถอยขาดความเพียรเลิกปฏิบัติธรรมไปอย่างน่าเสียดาย วิธีการบรรยายธรรมแก่บุคคลเหล่านี้จึงจำเป็นต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ใช้วิธีอุปมาโดยการนำเอาชีวิตกิจวัตรประจำวันมาสอดแทรกจึงจะได้ผลที่สุดดังเช่นปูชนียาจารย์บางท่าน อาทิ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา ได้ถือปฏิบัติอยู่
    สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ สมเด็จย่าของเรา

    ได้ทรงพอพระราชหฤทัยในกระบวนการวิสัชนาพระธรรมวินัยให้เข้าใจได้ด้วยอุปมา ซึ่งจะช่วยให้ผู้มุ่งศึกษาพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนามีความเข้าใจข้อที่ลุ่มลึกได้ง่ายสะดวกขึ้น จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือให้คนทั่วไปได้ศึกษาธรรมในลักษณะนี้บ้างเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูลสติปัญญาและสัมมาปฏิบัติพร้อมทั้งความสุขความเจริญแก่ตนเองและครอบครัว โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์หนังสือ "มิลินทปัญหา" ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระนาคเสนเถระที่ได้ตอบปัญหาธรรมของพระเจ้ามิลินท์โดยวิธีการอุปมาที่ได้ปรับปรุงคำและศัพท์บาลี แล้วใช้สำนวนโวหารที่อ่านและเข้าใจง่ายแล้วแจกจ่ายในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบครั้งหนึ่ง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นพระราชานุสรณ์ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จย่าเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๙ อีกครั้งหนึ่ง

    เรื่องราวที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นความรู้ความเข้าใจของผมส่วนหนึ่งที่ได้เกิดขึ้นเมื่อได้ปฏิบัติวิปัสสนาสมาธิในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง "จิต และ ความฝัน"
    ตามหลักพุทธศาสตร์แล้ว ได้มีการกล่าวถึงเรื่องการเกิด การดับของจิตไว้ว่า เป็นไปอย่างรวดเร็วมาก นายสมัค บุราวาส อดีตราชบัณฑิต และวิทยาศาสตร์บัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญในพุทธปรัชญาท่านหนึ่งของเมืองไทย ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

    "....มีคำสอนด้วยว่า เมื่อฟ้าแลบครั้งหนึ่ง รูปธาตุจะเปลี่ยนไปถึง ๑๗๖,๔๗๐,๐๐๐,๐๐๐ คิดคร่าวๆเป็นเปลี่ยนราว ๑๐๑๒ ครั้งต่อวินาที คือ คิดฟ้าแลบกินเวลา ๕ วินาที ตามวิชาฟิสิกส์ เราทราบว่า มีการสั่นสะเทือนภายในปรมาณูราววินาทีละ ๑๐๑๕ ครั้งต่อวินาที ตัวเลขของพระพุทธเจ้าจึงผิดไปไม่มากนัก....


    .....ปัญหามีอยู่ว่า จิตเกิดดับรวดเร็วหรือไม่เพียงไร และเกิดดับอย่างไร ข้อนี้พระอภิธรรมตอบว่า จิตเกิดดับรวดเร็วกว่ารูป ๑๗ เท่า ในกรณีที่กล่าวมาแล้วว่า รูปเกิดดับ ๑๗๖,๔๗๐ ล้านครั้งในเวลาที่ฟ้าแลบครั้งหนึ่งนั้น จิตจะเกิดดับรวดเร็วถึง ๓ ล้านล้านครั้งในเวลาเดียวกัน.....เวลาเราเห็นรูป หรือได้กลิ่นอะไรครั้งหนึ่งนั้น จิตของเราจะเกิดดับแล้วถึง ๑๗ ครั้ง....."




    <CENTER>(สมัค บุราวาส, "พุทธปรัชญา ๒๕ พุทธศตวรรษ", สำนักพิมพ์คลังวิทยา พ.ศ.๒๕๐๐) </CENTER><CENTER></CENTER>
    ตามหลักวิชาพุทธศาสตร์ จิตเป็นธรรมชาติของมนุษย์ในการรับรู้เรื่องราวต่างๆที่ผ่านเข้ามาทางอวัยวะต่างๆ ของร่างกายรวม ๕ ทาง ที่เรียกว่า "ปัญจทวาร" หรือ "อายาตนะ" ได้แก่ ตา (รูป) ลิ้น (รส) จมูก (กลิ่น) หู (เสียง) และการสัมผัสของอวัยวะอื่นๆของร่างกาย (กาย) กับอีกหนึ่งทางคือ ใจคิดขึ้นมาเอง ที่เรียกว่า "มโนทวาร" หรือ "ธรรมารมณ์" การเกิดดับของจิตจึงหมายความว่า "การเปลี่ยนแปลงเรื่องราวที่จิตรับรู้"

    เช่นในขณะหนึ่งเรากำลังขับรถไปตามถนนที่ไม่มีปัญหาการจราจร จิตของเราก็ไปคิดถึงเรื่องการจราจร ยังไม่ทันไร หูก็ไปรับฟังได้ยินเสียงเพลงจากเครื่องรับวิทยุในรถ จิตของเราก็เปลี่ยนไปคิดเกี่ยวกับเสียงเพลงที่กำลังได้ยิน ยังไม่ทันไร ใจกลับไปนึกถึงเรื่องที่เกิดขึ้นที่ทำงานเมื่อเย็นวานนี้
    จิตก็เปลี่ยนไประลึกทบทวนความจำในเรื่องนั้น เป็นต้น เมื่อจิตเริ่มรับรู้แล้ว กลไกของร่างกายที่สำคัญคือ สมอง จะเริ่มทำงานทำให้เกิดอารมณ์พอใจ ไม่พอใจ หรือเฉยๆขึ้น แล้วสั่งการผ่านระบบประสาท และต่อมไร้ท่อไปกระตุ้นให้อวัยวะที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทำงานสืบต่อไป กรณีตัวอย่างที่ได้ยกไว้ข้างต้น จึงสามารถนำมาเรียบเรียงลำดับความได้ว่า เรื่องแรกมีอารมณ์พอใจก็คิดอยู่ในใจว่า


    "วันนี้การจราจรดีจริง รถไม่มากเลย" ต่อมาเมื่อเปลี่ยนเป็นเรื่องที่ ๒ ทำให้มีอารมณ์สุนทรีพอใจในความไพเราะในเนื้อร้องและทำนองของเพลง ก็ครวญหรือฮัมเพลงตามไปด้วย ครั้นเมื่อเปลี่ยนเป็นเรื่องที่ ๓ สมองจะทำการทบทวนความจำได้ว่า "เมื่อเย็นวานนี้ถูกผู้บังคับบัญชาตำหนิทั้งที่เราก็ทำดีที่สุดแล้ว เจ้านายทำงานแบบใช้อารมณ์ไม่ฟังเหตุฟังผล ไปถึงที่ทำงานเช้านี้ จะต้องเข้าพบและชี้แจงอีกครั้ง ถ้าไม่รับฟังเหตุผลกันก็ช่าง บ้านเมืองไม่ใช่ของเราคนเดียว" ก็เกิดอารมณ์ไม่พอใจ น้อยใจ จิตใจหดหู่ ดังนี้เป็นต้น

    เมื่อมุนษย์หลับสนิท จิตจะจมลงสู่ภวังค์ (Trance) หรือที่เรียกว่า "ก้นบึ้งของหัวใจ" มีลักษณะเกิดดับกันอย่างต่อเนื่องเสมือนน้ำที่ไหลอยู่เรื่อยๆไม่รับรู้อารมณ์เรื่องราวใดๆทั้งสิ้น ตามคำที่กล่าวกันว่า "หลับเป็นตาย" จิตที่อยู่ในลักษณะนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงสมมุติบัญญัตินามซึ่งแปลเป็นไทยไว้ว่า "ภวังคจิต"

    ตลอดเวลาที่เราหลับสนิท จิตจะอยู่ในสภาพนี้ไปโดยตลอดจนกว่าจะเกิดการรับรู้สิ่งที่ผ่านเข้ามาทางปัญจทวาร หรือประตูทั้งห้าของรูป คือ ตา (ทำให้เกิดการรับรู้รูปภาพที่เห็นโดยการสะท้อนของแสงผ่านประสาทตา) ลิ้น (ทำให้เกิดการรับรู้รสเปรี้ยวหวานมันเค็มผ่านประสาทลิ้น) กลิ่น (ทำให้เกิดการรับรู้กลิ่นหอมเหม็นผ่านประสาทจมูก) เสียง (ทำให้เกิดการรับรู้เสียงที่ไพเราะ เสียงรบกวนที่ได้ยินผ่านประสาทหู) และสัมผัส (การรับรู้ว่ามีสิ่งมากระทบอวัยวะต่างๆทั้งภายใน และภายนอกร่างกายผ่านระบบประสาทที่เชื่อมต่อระหว่างสมองกับอวัยวะเหล่านี้) กับสิ่งที่ผ่านเข้ามาทางมโนทวารอีกหนึ่งประตู คือ การที่ใจครุ่นคิดเกิดความรับรู้เรื่องราวต่างๆ ทั้งที่ลืมตา และหลับตา ประการหลังนี้เรียกว่า
    "ธรรมารมณ์" การรับรู้ว่ามีสิ่งผ่านทวารต่างๆ เข้ามาทั้งสิ้นที่ได้กล่าวไปแล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงสมมุตินามบัญญัติซึ่งแปลเป็นไทยไว้ว่า "วิถีจิต"
    เมื่อภวังคจิตได้ถูกวิถีจิตข้างต้นอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่างเข้ามากระทบ เช่น เมื่อเรากำลังหลับสนิท
    ได้มีผู้มาเขย่าร่างกายปลุกให้ตื่น เกิดมีเสียงต่างๆ ผ่านหูเข้ามาให้ได้ยิน หรือมียุงกัด จิตจะหลุดจากภวังค์ขึ้นสู่วิถีทันที แต่ในชั้นต้นๆ เราจะอยู่ในสภาพครึ่งหลับครึ่งตื่น ในช่วงเวลานี้ จิตที่หลุดจากภวังค์จะเริ่มเสาะหาก่อนว่า วิถีจิต หรือสิ่งที่เข้ามากระทบนั้นเป็นอะไร กลิ่น เสียง หรือ การสัมผัสทางกาย? เมื่อจิตรับรู้แล้ว จึงเริ่มพิจารณาเรื่องราวสร้างเป็นอารมณ์ยินดีพอใจมีความสุข หรือไม่ยินดีไม่พอใจมีความทุกข์ เกิดความเกลียด ความกลัวขยะแขยงไม่พอใจเป็นความทุกข์ เกิดการตื่นตระหนกตกใจ ในลักษณะจิตเกิดดับเป็นช่วงๆแต่ต่อเนื่องอยู่อีกระยะหนึ่ง ที่เรียกว่า "เสวยอารมณ์ หรือ ชวนจิต (อ่านว่า ชะวะนะจิต)"


    เมื่อจิตเริ่มหลุดออกจากภวังค์ กลไกของอวัยวะภายในร่างกาย คือ สมอง ระบบประสาท และต่อมไร้ท่อ จะเริ่มทำงานควบคู่กันไปด้วย พร้อมที่จะพิจารณา ทบทวนความจำ ปรุงแต่งและเสวยอารมณ์ต่างๆ ในลักษณะชวนจิต ภายในช่วงเวลานี้เอง หากเจ้าตัวยังนอนหลับอยู่จะทำให้เกิดความฝันขึ้น เรื่องราวของความฝันจะขึ้นอยู่กับความนึกคิดจดจำของสมองที่ผ่านเข้ามาทางมโนทวาร และจิตได้เสาะหาพบในลำดับแรกหลังจากจิตหลุดจากภวังค์แล้ว ความจดจำในเรื่องราวที่เพิ่งจะผ่านเข้ามาในช่วงวันเวลาก่อนหน้าที่จะเข้านอน และหรือเรื่องราวที่ผู้ฝันมีใจผูกพันให้ความสนใจเป็นพิเศษจึงอาจถูกปะติดปะต่อให้เป็นเรื่องราวในฝันขึ้นก็ได้ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี วิถีจิตอาจเกิดจากการทำงานของอวัยวะบางส่วนเช่น ระบบการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ


    โดยเฉพาะเมื่อตอนใกล้รุ่ง ถ้าเจ้าตัวยังไม่เต็มใจอยากจะตื่น จิตที่หลุดจากภวังค์และเสาะหาวิถีพบ ก็จะปะติดปะต่อเป็นเรื่องราวให้เกิดความฝันที่เรียกว่า "ฝันใกล้รุ่ง" ได้เช่นกัน เช่น ฝันว่า กำลังท่องเที่ยวเดินทางแล้วเกิดปวดปัสสาวะ ไม่สามารถหาห้องน้ำได้ หาเท่าไรก็ไม่พบ จนกระทั่ง ระบบการทำงานของกระเพาะปัสสาวะส่งสัญญาณไปยังศูนย์ควบคุมการทำงานในสมองว่า ไม่ยินยอมที่จะให้อดกลั้นต่อไปแล้ว เจ้าตัวจึงตกใจตื่น ดังนี้เป็นต้น


    การอธิบายความข้างต้นโดยใช้วิธีอุปมาก็คือ ภวังคจิตเปรียบเสมือนกับจระเข้ที่กบดานอย่างสงบอยู่ใต้น้ำ หากกระแสน้ำในบริเวณที่กบดานนั้นไหลเป็นปกติ จระเข้ก็จะกบดานอย่างสงบอยู่เรื่อยๆ จนกว่าจะมีมนุษย์ หรือสัตว์ สัญจรผ่านไปมาทำให้กระแสน้ำกระเพื่อมเคลื่อนไหว จระเข้ก็จะเลิกกบดาน ลอยตัวขึ้นมาเสาะหาสิ่งที่เข้ามารบกวนว่าเป็นอะไร ถ้าเป็นสิ่งที่มันทราบโดยสัญชาติญาณว่าเป็นศัตรูที่กำลังจะมาล่าชีวิต มันจะตระหนกตกใจมุดน้ำดำหนีทันที หากเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นเหยื่อที่มันขบเคี้ยวกินเป็นอาหาร มันจะปรี่ทะยานเข้าหาล่าเหยื่อโดยมิชักช้า หรือในกรณีที่ในระหว่างกบดาน จระเข้เกิดความหิวกระหายขึ้นมาอันเนื่องมาจากการกระตุ้นของระบบการทำงานของอวัยวะภายใน จระเข้ก็จะเลิกกบดาน ลอยตัวขึ้นมาเสาะหาเหยื่อที่มันต้องการได้เสพบริโภคเพื่อบรรเทาความหิวกระหายตามธรรมชาติเช่นกัน


    การตอบปัญหาโดยวิธีอุปมานี้ ในบางครั้งไม่สามารถทำความกระจ่างชัดให้แก่ผู้ถามได้ในครั้งเดียว ผู้ตอบจึงจำเป็นต้องใช้วิธีอุปมาในเรื่องอื่นๆ ขึ้นมาใหม่ การทูลตอบปัญหาของพระนาคเสนเถระต่อพระเจ้ามิลินท์ ก็เช่นเดียวกัน ได้ปรากฏในหนังสือ "มิลินทปัญหา" อยู่หลายเรื่องที่พระนาคเสนเถระต้องทูลตอบปัญหาพระเจ้ามิลินท์โดยวิธีอุปมามากกว่าหนึ่งครั้ง


    ผมหวังว่า บทความที่ผมได้นำเสนอนี้จะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านที่สนใจศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่ และยังไม่เข้าใจกระจ่างชัดในเรื่องที่เกี่ยวข้องเพียงพอได้มากพอสมควร อนึ่ง ผมใคร่ขอออกตัวไว้ ณ ที่นี้ว่า ข้อเขียนข้างต้นเป็นผลที่ได้มาจากการปฏิบัติ "ธรรมวิจัย" ของผมซึ่งยังเป็นนักศึกษาและปฏิบัติธรรมที่ยังมีชั่วโมงบินไม่มากนัก จึงอาจมีข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนหรือขาดความสมบรูณ์ในสาระสำคัญไปบ้าง หากท่านผู้ใดเห็นว่า สมควรปรับปรุงแก้ไขในเรื่องใด ประเด็นใด กรุณาช่วยท้วงติงชี้แนะเพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผมและท่านผู้อ่านอื่นๆ รวมทั้งเพื่อเป็นผลานิสงส์แก่ตัวท่านเองด้วย





    *********************






    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>"จิตกับความฝัน" ตอนที่๒</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER>


    ก่อนอื่น ผมขอขอบคุณแพทย์หญิง คุณสวรรยา เดชอุดม ศูนย์แพทย์พัฒนาที่ได้กรุณาเสนอแนะมาว่า ควรขยายความหมายของคำว่า "จิต" ซึ่งผมได้กล่าวไว้ในเรื่อง "จิตกับความฝัน" ตอนที่ ๑ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า "จิตเป็นธรรมชาติของการรับ จำ(สัญญา) คิด (สังขาร) และรู้ (ปัญญา)" และใคร่ขอเรียนว่า หากจะขยายความออกไปตามที่คุณหมอฯ ได้กรุณาเสนอแนะมา ผมก็จำเป็นที่จะต้องอ้างอิงเชื่อมโยงเข้าลึกไปถึงเรื่อง "เจตสิก" ซึ่งตามพระอภิธรรมได้กล่าวถึงคำนี้ไว้ว่า "เจตสิก คือ ธรรมชาติที่เป็นองค์ประกอบในการทำงานของจิต หรือเป็นกลไกให้จิตทำงาน ให้จำ คิด รู้ในเรื่องราวต่างๆ ทั้งบุญทั้งบาป เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต" และท่านได้แยกอธิบายรายละเอียดของแต่ละหัวข้อออกจากกันเป็น "จิตปรมัตถ์" และ "เจตสิกปรมัตถ์"


    เพื่อมิให้ท่านผู้อ่านที่เริ่มสนใจและกำลังศึกษาธรรมในระยะแรกๆ เกิดความท้อถอยที่จะจดจำคำศัพท์ และความหมายของคำต่างๆ ซึ่งค่อนข้างยาวจดจำยาก จนละความเพียรกันไปเสียก่อน ผมจึงพยายามใช้คำศัพท์ภาษาบาลีให้น้อยที่สุด แต่ได้ตั้งใจว่า จะสอดแทรกคำศัพท์บาลีไว้เป็นระยะๆ ให้ท่านผู้อ่านเหล่านี้ได้รู้จักคุ้นเคยไปทีละน้อย ดังจะเห็นได้ในบทความเรื่อง "วิธีทำบุญให้ได้ผลที่สุด" ว่า ผมก็ได้เริ่มสอดแทรกคำว่า "เจตสิก" เข้าไว้แล้ว









    ผมหวังว่า คุณหมอฯ และท่านผู้อ่านอื่นๆ ที่มีความรู้ความเข้าใจในพระอภิธรรมสูงกว่าผมคงจะเข้าใจวัตถุประสงค์ของผมที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นด้วยดี ผมจึงขออนุญาตนำท่านผู้อ่านเข้าสู่ประเด็นเรื่อง "จิตกับความฝัน" ต่อจากตอนที่แล้วเลยครับ




    <DL><DT>ตามพระอภิธรรม ได้กล่าวถึงเหตุที่จะทำให้เกิดความฝันขึ้นได้ว่า มีอยู่ ๔ ประการ คือ <DT><DD>๑. บุพนิมิต ได้แก่ ความฝันที่เกิดจากผลของกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้ในอดีตทั้งในชาติก่อนหรือในชาตินี้และได้สะสมฝังอยู่ในใจเป็นตัวการมากระทบใจหรือมโนทวาร ความฝันในลักษณะนี้จึงเป็นการเตือนผู้ที่ฝันล่วงหน้าถึงเหตุร้าย หรือเหตุดีที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำที่สุด <DD><DD>๒. จิตอาวรณ์ ได้แก่ ความฝันที่เกิดจากอำนาจของจิตที่หน่วงเอาอารมณ์ที่ตนได้เห็น ได้ยิน หรือได้พบมาแล้วมาเก็บฝังผูกพันอยู่ในใจเป็นพิเศษ ความฝันในลักษณะนี้เอาเป็นที่แน่นอนไม่ได้ <DD><DD>๓. เทพสังหรณ์ ได้แก่ ความฝันที่เกิดจากมโนทวารของจิตของผู้ฝันในช่วงเวลาที่ได้หลุดจากภวังค์ขึ้นสู่วิถีแล้วถูกกระทบโดยพลังงานซึ่งเป็นรูปหนึ่งของเทพโดยเฉพาะเทวดาชั้นต่ำ (จาตุมหาราขิกา และภุมมเทวา หรือเจ้าที่เจ้าทาง) ที่มีความละเอียดมากไม่สามารถเห็นด้วยตาธรรมดาได้ ที่เรียกว่า "กายทิพย์" มีลักษณะเสมือนกับผู้ที่ถูกสะกดจิต <DD><DD>๔. ธาตุกำเริบ ได้แก่ ความฝันที่เกิดแก่บุคคลที่มีธาตุกำเริบ เช่น ท้องไส้ไม่ปกติ หรือธาตุภายในร่างกายวิปริต การกำเริบของธาตุที่วิปริตเหล่านี้จะส่งผลกระทบกระเทือนอวัยวะและประสาทส่วนที่เกี่ยวข้องในร่างกาย จะทำให้จิตหลุดจากภวังค์ขึ้นสู่วิถีเพื่อเสวยอารมณ์ทันที <DD></DD></DL>


    ในตอนที่ ๑ ผมได้อธิบายถึงสภาพของจิตของเราในขณะที่เกิดความฝันด้วยวิธีอุปมาอุปมัยไปแล้ว ความฝันดังกล่าวนี้มีต้นเหตุมาจาก "ธาตุกำเริบ" และหรือ "จิตอาวรณ์" เป็นสำคัญนั่นเอง

    คำว่า "กายทิพย์" ที่ผมได้กล่าวไว้ในข้อ ๓ นั้น ฟังดูแล้วเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้สำหรับนักวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ ท่านเหล่านี้มีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีปรมาณู ทฤษฎีอิเล็กตรอน ทฤษฎีและสูตรแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงานของ ดร.ไอน์สะไตน์ ที่ปรากฏอยู่ในหัวข้อวิชาวิทยาศาสตร์แขนงฟิสิกส์ทั้งเบื้องต้น และขั้นสูงอยู่เป็นอย่างดีแล้ว จึงคงไม่เป็นการยากลำบากที่จะอธิบายให้ท่านทราบและเข้าใจเรื่อง "กายทิพย์" ได้โดยการอ้างอิง "ทฤษฎีปรมาณูของพระพุทธเจ้า" ที่มีปรากฏอยู่ในพระอภิธรรมอยู่แล้ว

    ".....ปรมาณูในพระพุทธศาสนาแยกออกจากเมล็ดข้าวเปลือกให้เล็กๆ ลงไปเรื่อยๆ จนถึงเป็นปรมาณู

    ดังคาถาจาปลินีคัณฑุ (อภิธานัปปทีปิกา) คาถาที่ ๑๙๔ และคาถาที่ ๑๙๕ ในภูมิกัณฑ์ ว่า
    ฉต.ตึส ปรมาณูน เมโก ณุจ ฉตึ เต ตช.ชรี ตาปิ ฉต.ตึส รถรณุจ. ฉตึส เต ลิก.ขา ตา สต.ต อูกา ตา ธญ.ญมาโสติ สต.ต เต





    <CENTER><TABLE width="50%"><TBODY><TR><TD>[SIZE=+1]๓๖ ปรมาณู[/SIZE]</TD><TD>[SIZE=+1]เป็น ๑ อณู[/SIZE]</TD></TR><TR><TD>[SIZE=+1]๓๖ อณูเหล่านั้น[/SIZE]</TD><TD>[SIZE=+1]เป็น ๑ ตัชชารี[/SIZE]</TD></TR><TR><TD>[SIZE=+1]๓๖ ตัชชารีเหล่านั้น[/SIZE]</TD><TD>[SIZE=+1]เป็น ๑ รถเรณู[/SIZE]</TD></TR><TR><TD>[SIZE=+1]๓๖ รถเรณูเหล่านั้น[/SIZE]</TD><TD>[SIZE=+1]เป็น ๑ ลิกขา[/SIZE]</TD></TR><TR><TD>[SIZE=+1]๗ ลิกขา[/SIZE]</TD><TD>[SIZE=+1]เป็น ๑ อูกา[/SIZE]</TD></TR><TR><TD>[SIZE=+1]๗ อูกาเหล่านั้น[/SIZE]</TD><TD>[SIZE=+1]เรียกว่า ธัญญมาส[/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER></CENTER>.....ถ้าคูณตัวเลขเหล่านี้ดูแล้วก็จะได้ถึง ๘๒ ล้านส่วนกับเศษอีกหลายแสน ท่านจะเห็นได้ว่า ใน ๑ ปรมาณูนั้นมาจากเม็ดข้าว ๑ เม็ด ซึ่งแยกออกเรื่อยๆ ไป....


    .....แม้ว่าปรมาณูนั้นจะเล็กน้อยกระจ้อยร่อยเพียงใดก็ตาม แม้ว่าปรมาณูนั้นจะเห็นไม่ได้ สัมผัสด้วยกายไม่ได้ก็ตาม แต่ถึงกระนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังแสดงว่า ทุกๆ ปรมาณูนั้นจะได้หยุดนิ่งเฉยๆ ก็มิได้ มันเคลื่อนไหวอยู่เสมอตลอดเวลาไม่หยุดพักเลย.....แต่เมื่อมันมารวมกันเป็นรูปต่างๆ เข้าแล้ว มันจึงได้ประจักษ์ต่อสายตาของบุคคลได้ เมื่อเหมาะสมก็สามารถรับสัมผัสได้ มันจึงกลายเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นหญิง เป็นชาย...."




    <CENTER>("จิตกับความฝัน", บุญมี เมธางกูร, สุทธิสารการพิมพ์ ๒๕๑๗) </CENTER>
    ส่วนท่านผู้อ่านที่ไม่เคยศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์มาก่อน ผมใคร่ขอให้ท่านพิจารณาดูที่เมล็ดข้าวสาร หรือ "ธัญญมาส" ก็แล้วกัน ในสภาพทั่วๆ ไป เราสามารถบดให้ละเอียดให้เล็กลงไปเป็นผงแป้ง ฝุ่นละอองธุลีได้ ซึ่งเรียกว่า "อูกา" หรือ "ลิกขา" หรือ "รถเรณู" ประการหลังนี้ ก็คือ ละอองเกสรดอกไม้ ซึ่งจะมีขนาดเล็กจนเราเกือบจะไม่สามารถเห็นด้วยตาได้ทั้งยังมีน้ำหนักเบามากจนสามารถติดไปกับตัวแมลงออกไปขยายพืชพันธุ์ในที่อื่นๆ ได้ เท่านั้นยังไม่เพียงพอ พระพุทธองค์ยังทรงแบ่งให้มีขนาดเล็กย่อยลงไปเป็นแสน เป็นล้านส่วน จึงเป็นการแน่นอนที่สุดที่เราจะไม่มีโอกาสเห็นได้ด้วยตาเปล่าเลย ชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กละเอียดมากระดับหนึ่ง เช่น แบคทีเรีย จุลินทรีย์ เชื้อโรคต่างๆ เราอาจจะเห็นได้โดยใช้เครื่องมือแพทย์คือ กล้องจุลทรรศน์ ที่มีอัตราการขยายสูงมากช่วย ก๊าซต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัวเรา เช่น ออกซิเจน โอโซน ไฮโดรเจน ฯลฯ ก็ล้วนแต่มีตัวตนที่มีขนาดเล็กมากไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่าได้ กระแสไฟฟ้าที่ไหลไปตามสายก็เป็นการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าหรืออิเล็กตรอนซึ่งมีขนาดเล็กกว่าปรมาณูลงไปอีก แต่ที่เราสามารถเห็นแสงสว่างเปล่งออกจากหลอดไฟฟ้าหรือเครื่องมือไฟฟ้า เช่น เตารีดไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ สามารถให้ความร้อนได้ก็เป็นเพราะพลังงานที่เกิดจากการไหลของกระแสไฟฟ้าตามสายไฟนั่นเอง

    ดังนั้น จึงเป็นที่แน่นอนที่สุดว่า ทฤษฎีและสูตรแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงานที่ ดร.ไอน์สะไตน์ นักวิทยาศาสตร์บันลือโลกได้เขียนขึ้นนั้นได้ประยุกต์มาจากทฤษฎีปรมาณูขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง

    "กายทิพย์" ของเทพโดยเฉพาะเทวดาชั้นต่ำ (จาตุมหาราขิกา และภุมมเทวา หรือเจ้าที่เจ้าทาง) จึงจัดเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่มีความละเอียดประณีตมากจนไม่สามารถเห็นด้วยตาเนื้อมนุษย์ธรรมดาได้ และมีจำนวนมากมายเคลื่อนไหวอยู่รอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา

    คลื่นวิทยุที่แผ่กระจายอยู่ในอากาศรอบๆ ตัวเราอยู่ขณะนี้ และเราสามารถรับฟังเสียง และหรือเห็นภาพที่ส่งมาพร้อมกับคลื่นวิทยุได้ น่าจะเป็นตัวอย่างช่วยอธิบายเรื่อง "กายทิพย์" ได้เป็นอย่างดี ตามหลักวิชาแล้ว คลื่นวิทยุเป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถเคลื่อนที่ไปในอากาศได้เร็วเท่ากับแสงคือ ประมาณ ๓๐๐ ล้านเมตรต่อวินาที มีจำนวนมากมายหลายหมื่นหลายแสนขนาดคลื่นด้วยกัน ครอบคลุมอยู่รอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่า เราจะมองไม่เห็น แต่เราก็สามารถรับสัญญาณคลื่นวิทยุดังกล่าวคลื่นหนึ่งคลื่นใดในลักษณะเสียง และหรือภาพได้ตามต้องการถ้าเรามีเครื่องรับวิทยุที่ได้เปิดเครื่องไว้แล้วปรับจูนคลื่นให้ตรงกัน

    เมื่อจิตเริ่มหลุดจากภวังค์ จึงเท่ากับเป็นการเปิด "มโนทวาร" เพื่อการรับรู้เรื่องราวต่างๆ เสมือนกับเป็นการเปิดเครื่องรับวิทยุ และในช่วงขณะที่จิตอยู่ในภาวะ "มโนทวาราวัชชนะ" หรือช่วงที่จิตกำลังเสาะหาอารมณ์ ก็เสมือนกับการที่เรากำลังปรับจูนเครื่องหาสถานีวิทยุที่ต้องการรับฟังนั่นเอง ส่วนในช่วงเวลาที่เรากำลังรับฟังรับชมรายการที่เราต้องการนั้น ก็เปรียบเสมือนกับช่วงเวลาที่จิตอยู่ในภาวะ "ชวนะ" หรือช่วงเวลาที่จิตกำลังเสวยอารมณ์มีความสนุกสนานบรรเทิงพอใจกับรายการที่เรากำลังรับชมรับฟังหรือไม่ มากน้อยเพียงใดนั่นเอง

    ดังนั้น ในสภาพของกายทิพย์ซึ่งเป็นพลังงานรูปหนึ่ง เทพองค์หนึ่งองค์ใดจึงสามารถผ่านเข้ามาทางมโนทวารของผู้ที่ฝันได้ในช่วงขณะที่จิตอยู่ในภาวะ "มโนทวาราวัชชนะ" ทั้งโดยเจตนา หรือไม่เจตนาก็ได้ ความฝันที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ จึงเรียกว่า "เทพสังหรณ์"

    หากเทพที่ผ่านเข้ามาทางมโนทวารของผู้ฝันเป็นเทวดาชั้นต่ำ (จาตุมหาราขิกา และภุมมเทวา หรือเจ้าที่เจ้าทาง) ที่ยังยึดติดอยู่กับตัณหาอารมณ์คล้ายคลึงกับมนุษย์ทั่วไป ความฝันจึงอาจแม่นยำหรือไม่ก็ได้สุดแต่เจตนาของเทพนั้นๆ ถ้าเป็นเทพที่ได้ปฏิสนธิมาจากการจุติของมนุษย์ซึ่งได้ทำบุญกุศล ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมมาแล้วในระดับหนึ่ง ความฝันนั้นจึงจะมีความแม่นยำ
    ส่วนเรื่องความฝันที่เกิดจาก "บุพนิมิต" จะมีที่มาที่ไปอย่างไรนั้น ผมขออนุญาตยกยอดไปไว้ในบทความตอนที่ ๓ ครับ







    <CENTER>********************* </CENTER>




    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
     
  2. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,682
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    "จิตกับความฝัน" ตอนที่ ๓


    ในตอนที่ ๒ ผมได้กล่าวถึง สภาพของจิตในยามฝันที่มีต้นเหตุมาจาก "เทพสังหรณ์" ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ผมยังมีความรู้สึกว่า คำอธิบายในเชิงอุปมาอุปมัยที่ผมได้หยิบยกมากล่าวไว้ในตอนที่ ๒ นี้อาจจะยังทำความเข้าใจให้แก่ผู้อ่านอีกหลายท่านได้ไม่สู้กระจ่างชัดนัก ผมจึงต้องใช้ความเพียรปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อสร้างปัญญาค้นหาวิธีอุปมาอุปมัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่หลายวัน จึงสามารถเก็บเกี่ยวมาขยายความเพิ่มเติมออกมาได้ส่วนหนึ่งดังต่อไปนี้


    เมื่อมโนทวารเปิดซึ่งเป็นผลมาจากการที่จิตหลุดจากภวังค์ จิตจึงฉวยโอกาสออกท่องเที่ยวออกไปในโลกกว้าง หรือจักรวาล เพื่อเสาะส่ายหาอารมณ์ จิตที่อยู่ในสภาพนี้เรียกว่า "มโนทวาราวัชชนจิต" และเพื่อเสวยอารมณ์ที่เรียกว่า "ชวนจิต" ท่านอาจารย์หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ได้กรุณาเปรียบเทียบ และผมขออนุญาตขยายความเป็นสาระสำคัญว่า จิตเสมือนกับงูที่ออกจากรัง (มโนทวาร) ย่อมจะเลื้อยคลานไปตามสถานที่ต่างๆ ตามอัธยาศัย เพื่อเสาะแสวงหาเหยื่อ (มโนทวาราวัชชนจิต) เพื่อจับกินเป็นอาหาร (ชวนจิต) จนกระทั่งอิ่มหมีพีมันแล้ว จึงเลื้อยกลับคืนรัง (ภวังคจิต)


    หากโลกกว้างที่จิตของเรากำลังท่องเที่ยวไปนี้เป็น "เทวภูมิชั้น กามาวจร" หรือสูงกว่า สำหรับ "เทวภูมิชั้น กามาวจร" นั้นจัดเป็นส่วนหนึ่งของโลกทิพย์ที่จิต(วิญญาณ)ของสัตว์โลกซึ่งได้ประกอบกุศลกรรมมาในอดีตชาติได้มาปฏิสนธิในลักษณะเทพที่ยังมีกามฉันทะ มีตัณหาอารมณ์ ยังมีรัก โลภ โกรธ หลงอยู่ คล้ายกับโลกมนุษย์ จะแตกต่างกันที่เทพมีกายทิพย์เท่านั้น ในโลกทิพย์ระดับต่างๆ ย่อมมีจิต(วิญญาณ)อื่นๆ ท่องเที่ยวอยู่ด้วยเช่นกัน มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน จิตจึงได้มีโอกาสเสวยอารมณ์ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ในจำนวนจิต(วิญญาณ)เหล่านี้ มีทั้งจิต(วิญญาณ)ของบุพการี (พ่อ แม่ ญาติผู้ใหญ่) บุพพาจารย์ (ครูบาอาจารย์) มิตรสหาย ผู้ที่เคยร่วมงานกันมา ผู้ที่เราได้เคยพบเคยรู้จักทั้งที่สนิทสนมและไม่สนิทสนม และผู้ที่เคยก่อกรรมทำเวรเป็นศัตรูที่ยังโกรธแค้น มีความพยาบาทเจ็บแค้น จองเวรจองกรรมกันมาแต่ในอดีตชาติภพ ที่เรียกว่า "บุพเพสันนิวาส" รวมทั้งผู้ที่เราไม่เคยรู้จักกันมาแต่ก่อน ปะปนกันอยู่ด้วย


    ลักษณะจิตของเราในตอนนี้จึงเปรียบเสมือนกับการออกจากบ้านไปยังที่สาธารณสถานที่หรูหรากว่าการเดินไปตามถนน เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้าใหญ่ๆ มีผู้คนจำนวนมากสัญจรไปมามีทั้งคนดีและคนเลว มีหลักฐาน มีฐานะต่างๆ กัน มีทั้งผู้ที่มียศฐาบรรดาศักดิ์ มีเกียรติยศชื่อเสียง มีทั้งคนที่เรารู้จักและไม่รู้จัก ได้พบเห็นสัมผัสกับความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ได้รื่นรมย์ชื่นบานกับการชมและสัมผัสกับสินค้าทั้งที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศซึ่งแสดงไว้ในตู้โชว์สินค้าตามรสนิยมของตน สิ่งเหล่านี้ย่อมสร้างตัณหาอารมณ์ให้เกิดขึ้นได้ทั้งในลักษณะที่เห็นแล้วอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้มาไว้ครอบครอง
    ที่เรียกว่า "กามตัณหา" ในลักษณะที่อยากเป็นเหมือนเขาบ้างที่เรียกว่า
    "ภวตัณหา" ในลักษณะที่ไม่อยากเป็น เช่น คนพิการ หรือคนจน ที่เรียกว่า "วิภวตัณหา" ในลักษณะที่เกิดความรื่นรมย์ ความพอใจ ที่เรียกว่า "อิฏฐารมณ์" และไม่พอใจ ที่เรียกว่า "อนิฏฐารมณ์"


    เป็นธรรมดาที่ผู้ซึ่งเราเคยคุ้นเคยรู้จักกันมาก่อน เมื่อพบปะกันซึ่งหน้า ย่อมจะต้องปรี่เข้ามาทักทายปราศรัย สอบถามสาระทุกข์สุขดิบ และหรือให้คำแนะนำตักเตือนด้วยความเป็นห่วงและปรารถนาดี บางครั้ง ถึงแม้ว่าจะมิได้พบปะกันซึ่งหน้า เพียงแต่เห็นหลังไวๆ เมื่อจำได้ว่า เป็นผู้ที่เราเคยรู้จักสนิทสนมกันมาก่อน ก็อดไม่ได้ที่จะปรี่เข้าไปหา สะกิดกันให้รู้สึกตัวเป็นการเริ่มต้นทักทายแล้วจึงเจรจาความ

    ในขณะที่สัญจรอยู่ในสาธารณสถานเช่นนี้ ย่อมจะเป็นไปได้ที่มีคนอื่นเดินมาชนโดยที่ไม่เจตนา หากในบริเวณนั้นมีผู้คนอัดแอเบียดเสียดกันอยู่เป็นจำนวนมาก บางครั้งก็อาจได้มีโอกาสพบกับมิจฉาชนที่แอบแฝงคอยฉวยโอกาสฉกล้วงชิงทรัพย์เมื่อยามเผลอ


    ดังนั้น ลักษณะการฝันที่เรียกว่า "เทพสังหรณ์" จึงเกิดจากการสัมผัสพบปะกันระหว่างจิต(วิญญาณ) ของผู้ฝันที่หลุดจากมโนทวารออกไปท่องเที่ยวแสวงหา และเสวยอารมณ์อยู่ในเทวภูมิชั้นต่างๆ กับจิต(วิญญาณ) ของ เทพ หรือ เทวดา ซึ่งมีจำนวนมากมายเคลื่อนไหวสัญจรไปมาอยู่เทวภูมิระดับต่างๆ นั่นเอง




    <DL><DT>
    ผมขอยกตัวอย่างความฝันในลักษณะที่เรียกว่า "เทพสังหรณ์" มาเล่าสู่กันฟังสัก ๒ เรื่อง เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาตัดสินความถูกต้องกันด้วยเหตุด้วยผลเอาเองตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็แล้วกัน








    <DD>
    ๑. ผมได้อ่านพบในหนังสือ"อาถรรพ์พยากรณ์" ซึ่งรวบรวมและเรียบเรียงโดยโหราจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งซึ่งใช้นามปากกว่า "พลูหลวง" ได้กล่าวถึงความฝันของมารดาของสมเด็จพระบรมราชชนนีว่า

    "บิดาของพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ชื่อว่าชู ท่านชูเป็นนายบ้านแห่ง "บ้านรัตน บดินทร" มารดามีชื่อว่า คำ

    มารดาฝันเมื่อก่อนจะตั้งครรภ์สมเด็จพระราชชนนีว่า ได้กินพระจันทร์เต็มดวง ต่อจากนั้นจึงตั้งครรภ์ และคลอดอภิชาติบุตร คือ สมเด็จพระราชชนนีออกมา"










    ("อาถรรพ์พยากรณ์", พลูหลวง, เกษมบรรณกิจ)









    <DD>
    ๒. ผมเองก็เคยมีความฝันที่เชื่อว่าเป็น "เทพสังหรณ์" มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐ เมื่อตอนใกล้รุ่ง ดังนี้

    "ผมได้ฝันว่า ได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมราชชนนี และพระองค์ท่านได้ทรงพระกรุณาพระราชทานพระพุทธรูปบูชาเป็นพระพุทธชินราช และพระเครื่องให้อย่างละ ๑ องค์ และได้รับสั่งว่า ขอให้สุชาติทำงานให้ฉันต่อไปด้วย"

    ความฝันดังกล่าวมีความชัดเจนมาก และจดจำฝังใจอยู่อย่างแน่นแฟ้น เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนนียังทรงมีพระชนมชีพอยู่ ผมได้เคยปฏิบัติงานสนองพระเดชพระคุณในงานด้านการสื่อสารของพอ.สว. พระองค์ท่านได้ทรงรู้จักผมมานานพอสมควร และเป็นครั้งแรกที่ได้ฝันถึงพระองค์ท่านนับตั้งแต่วันที่ได้เสด็จสวรรคต ผมจึงมีความปลื้มปิติเป็นอย่างยิ่งเพราะเคยได้ฟังคำบอกกล่าวเล่าขานจากผู้หลักผู้ใหญ่ถึงความฝันในลักษณะนี้ว่า เป็นฝันดี ผู้ฝันจะได้ลาภ ประสบแต่ความเป็นสิริมงคล

    เป็นที่น่าแปลกอย่างยิ่งเมื่ออีกสองสามวันต่อมา น้องสาวของผมได้นำพระพุทธรูปบูชาและพระเครื่องขนาดที่ใกล้เคียงกับในความฝันมามอบให้ ทำให้ผมยินดีมากที่ความฝันเป็นความจริง และเข้าใจเอาเองว่า คงจะได้ลาภแต่เพียงนี้ และโดยไม่คาดฝัน เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๐ ผมก็ได้รับแจ้งจากเลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้ไปเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษในวันพระราชพิธี "ฉัตรมงคล" ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๐ หลังจากที่ได้รอรับพระราชทานการเลื่อนชั้นจากทุติยจุลจอมเกล้ามาเป็นเวลานานกว่าสิบปี

    ผมจึงมีความเชื่อมั่นว่า ความฝันของผมในครั้งนี้เกิดจาก "เทพสังหรณ์" อย่างแน่นอน เนื่องจากสมเด็จพระบรมราชชนนีเมื่อครั้งยังทรงมีพระชนมชีพอยู่ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอย่างมากมายและต่อเนื่อง ดังนั้น เมื่อได้เสด็จสวรรคต จึงได้ทรงปฏิสนธิในสวรรค์ชั้นสูงชั้นหนึ่งชั้นใดที่มิอาจทราบได้ และเมื่อผมฝัน จิต(วิญญาณ)ของผมที่ได้ท่องเที่ยวไปในสวรรค์ชั้นนั้น จึงมีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ พระองค์ท่านอีกครั้งหนึ่ง และได้รับพระราชทานพระกรุณาดังเช่นเมื่อครั้งยังทรงมีพระชนมชีพอยู่ทั้งที่เป็นวัตถุบูชา และการแจ้งข่าวดีให้ผมทราบ









    <DD>
    แต่ผมก็ยังคิดไม่ออกเหมือนกันว่า สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงมีพระราชประสงค์จะให้ผมปฏิบัติงานสนองพระเดชพระคุณในเรื่องใดอีก ในขณะนี้ ก็ได้แต่คาดคะเนเอาเองว่า งานที่พระองค์ท่านต้องการให้ผมทำถวายนั้น น่าจะได้แก่การเผยแพร่ธรรมะโดยวิธีอุปมาอุปมัยที่ผมกำลังปฏิบัติอยู่ในขณะนี้กระมัง? เพราะสมเด็จพระบรมราชชนนีเมื่อครั้งยังทรงมีพระชนมชีพได้ทรงสนพระทัยในเรื่องนี้เป็นพิเศษ ดังจะเห็นได้จากการที่ได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเมื่อครั้งยังทรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระญาณสังวร ให้ทำการปรับปรุงต้นฉบับเดิมของหนังสือ "มิลินทปัญหา" ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รวบรวมข้อปุจฉา (คำถาม) ของพระเจ้ามิลินท์ กับคำวิสัชนา (คำตอบ) ของพระนาคเสนเถระโดยวิธีอุปมาอุปมัยเมื่อ ๑๙๐๐ ปี มาแล้ว ที่มีคำศัพท์บาลีคั่นอยู่เป็นระยะในลักษณะการเทศน์สมัยเก่า โดยตัดคำศัพท์บาลีดังกล่าวออกตามสมควรโดยไม่เสียความและไม่เสียโวหารลีลาที่น่าอ่าน ทำให้สามารถอ่านได้สะดวกเข้าใจง่ายไม่ติดขัด ชวนให้น่าอ่าน และช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัยได้ง่ายยิ่งขึ้น





    เมื่อได้กล่าวถึง "เทพ หรือ เทวดา" แล้ว ผมใคร่ขออนุญาตขยายความต่อไปอีกส่วนหนึ่งสักเล็กน้อยเพื่อเป็นการประดับความรู้ของท่านผู้อ่าน


    </DD></DL>



    คำว่า "เทพ หรือ เทวดา" นี้ใช้คลุมถึงพรหมทั้งหลายด้วย โดยแบ่งเป็นเทวดาชั้นกามาวจร (ผู้ที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม) บางทีเรียกว่า ฉกามาพจร หรือสวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกับกามซึ่งมี ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตสวัตดี ต่อจากนั้นมีเทพชั้นรูปจร หรือ รูปพรหม ซึ่งยังมีกายทิพย์อีก ๑๖ ชั้น และสูงสุดมีเทพชั้นอรูปจร หรือ อรูปพรหม ซึ่งไม่มีกายทิพย์
    ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุต.โต) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "พุทธวิทยา" เกี่ยวกับเรื่อง "เทพ หรือ เทวดา" ไว้ดังนี้
    ".....ว่าโดยภาวะพื้นฐาน เทวดาทุกประเภทตลอดจนถึงพรหมที่สูงสุด ล้วนเป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ เช่นเดียวกับมนุษย์ทั้งหลาย และส่วนใหญ่ก็เป็นปุถุชนยังมีกิเลสคล้ายมนุษย์ แม้ว่าจะมีเทพที่เป็นอริยะบุคคลบ้าง ส่วนมากก็เป็นอริยะมาก่อนตั้งแต่ครั้งยังเป็นมนุษย์ แม้ว่าเมื่อเปรียบเทียบโดยเฉลี่ยตามลำดับฐานะ เทวดาจะเป็นผู้มีคุณธรรมสูงกว่า แต่ก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน จนพูดรวมๆ ไปได้ว่า เป็นระดับสุคติด้วยกัน









    ในแง่ความได้เปรียบเสียเปรียบ บางอย่างเทวดาดีกว่า แต่บางอย่างมนุษย์ก็ดีกว่า เช่น ท่านเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์ชมพูทวีปกับเทพชั้นดาวดึงส์ว่า เทพชั้นดาวดึงส์เหนือกว่ามนุษย์ ๓ อย่างคือ มีอายุทิพย์ ผิวพรรณทิพย์ และความสุขทิพย์ แต่มนุษย์ชาวชมพูทวีปก็เหนือกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓ ด้าน คือ กล้าหาญกว่า มีสติดีกว่า และมีการประพฤติพรหมจรรย์ (หมายถึงการปฏิบัติตามอริยมรรค) แม้ว่าตามปกติพวกมนุษย์จะถือว่า เทวดาสูงกว่าพวกตน และพากันอยากไปเกิดในสวรรค์ แต่สำหรับพวกเทวดา เขาถือกันว่า การเกิดเป็นมนุษย์เป็นสุคติของเขา ดังพุทธพจน์ยืนยันว่า "ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมนุษย์นี่แล นับว่า เป็นการไปสุคติของเทพทั้งหลาย" เมื่อเทวดาองค์ใดองค์หนึ่งจะจุติ เพื่อนเทพชาวสวรรค์จะพากันอวยพรว่า ให้ไปสุคติ คือ ไปเกิดในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย เพราะโลกมนุษย์เป็นถิ่นที่มีโอกาสเลือกประกอบกุศลกรรมทำความดีงามต่างๆ และประพฤติปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่......






    ......พวกอบาย (นรก) มีหลายชั้น ชั้นเดียวกันก็มีบาปธรรมใกล้เคียงกัน พวกเทพก็มีหลายชั้นซอยละเอียดถี่ยิบยิ่งกว่าอบาย มีคุณธรรมพื้นฐานประณีตลดหลั่นกันไปตามลำดับ ชั้นเดียวกันก็มีคุณธรรมใกล้เคียงกัน โลกมนุษย์แดนเดียวนี้ เป็นที่รวมของบาปธรรมและคุณธรรมทุกอย่างทุกระดับ มีคนชั่วซึ่งมีบาปธรรมหยาบหนาเหมือนดังชาวนรกชั้นต่ำสุด และมีคนดีซึ่งมีคุณธรรมประณีตเท่ากับพรหมผู้สูงสุด ตลอดจนท่านผู้พ้นแล้วจากภพภูมิทั้งหลาย ซึ่งแม้แต่เทพมารพรหมก็เคารพบูชา ภาวะเช่นนี้นับได้ว่า เป็นลักษณะพิเศษของโลกมนุษย์ที่เป็นวิสัยกว้างสุดแห่งบาปอกุศลและคุณธรรม เพราะเป็นที่ทำมาหากรรม และที่หว่านธรรม......"





    ("พุทธวิทยา", พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุต.โต), มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)






    หลักวิชาความรู้ความเข้าใจ ความเคารพเชื่อมั่นในพระเจ้าซึ่งเป็นทิพยวิญญาณในระดับพรหมและเทพนี้ได้เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้วก่อนพุทธกาล โดยมนุษย์มีความเชื่อมั่นว่า พระพรหมและเทพมีฐานะสูงกว่าตน ดังนั้น การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทพ จึงกระทำโดยการสักการะบูชาพระพรหมและเทพด้วยวิธีการต่างๆ โดยผู้บูชามีความปรารถนาสำคัญที่จะได้ขึ้นไปเฝ้าพระเจ้าเป็นอย่างต่ำ หรืออย่างสูงสุด คือ การที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพระเจ้า หลักวิชานี้จึงเน้นหนักให้ความสำคัญในเรื่องรูปหรือกาย มีการกล่าวถึงการที่พระเจ้าองค์หนึ่งองค์ใดได้แบ่งภาคหรือแบ่งร่างมาเกิดที่เรียกว่า "อวตาร" เป็นอีกปางหนึ่ง เพื่อดับยุคเข็ญในสมัยต่างๆ แม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ก็ยังมีการสอนในลัทธิศาสนานั้นว่า เป็นปางหนึ่งของพระเจ้าที่เขาเคารพนับถือ จึงผิดแผกแตกต่างไปจากพระพุทธศาสนาที่ครอบคลุมไปถึงทั้งรูปธรรมและนามธรรม เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ และได้ทรงมีพระกรุณาที่จะนำเอาความจริงอันสูงสุดของสภาวธรรมทั้งปวงที่ได้อุบัติขึ้นในมนุษย์โลก ในภูมิต่างๆ รวมทั้งในจักรวาล ที่เรียกว่า "ปรมัตถ์ธรรม" มาบัญญัติขึ้นเป็นพระธรรมคำสั่งสอน เพื่อนำออกเผยแพร่เทศนาโปรดแก่สัตว์โลกอื่นให้มีความรู้ความเข้าใจ และนำไปปฏิบัติเพื่อการผ่อนบรรเทาและดับทุกข์กันมากน้อยสุดแต่กรรมของสัตว์นั้นๆ พระพุทธองค์ยังจำเป็นต้องคล้อยตามในบางเรื่องบางกรณีที่ได้ทรงพิสูจน์ด้วยเหตุด้วยผลแล้วว่า มีความเป็นไปได้ ดังเช่นเรื่องการจุติและปฏิสนธิของพรหมและเทพรวมทั้งการเคารพสักการะบูชาซึ่งได้ปรากฏอยู่ในพระอภิธรรมเป็นหลักฐานดังตัวอย่างต่อไปนี้

    "ในอังคุตตรบาลีแสดงว่า การเคารพเทพยเจ้าที่สิงสถิตอยู่ในบ้านในเรือน ในหมู่บ้าน ย่อมเกิดมงคลแก่ผู้แสดง

    ในพระมหาปรินิพพานสูตรแสดงว่า การเคารพต่อเจ้าที่เจ้าทางย่อมได้รับการคุ้มครองประโยชน์ให้



    ในรัตนสูตรแสดงว่า บุคคลผู้บูชาสักการะเทพยดานั้น ย่อมได้รับเมตตาจิตเป็นการตอบแทน
    ในมหาปรินิพพานสูตรอีกตอนหนึ่งว่า บุคคลใดขาดคารวะต่อเจ้าที่เจ้าทาง ย่อมได้ประสบภัยที่จะมีมาโดยไม่รู้ตัว


    ในเปตวัตถุพระบาลีแสดงว่า ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์ เป็นผู้รักษาคุ้มครองมนุษย์โลก ผู้ใดทำการบูชาท่าน ย่อมไม่เสียผลในการบูชา โดยจะได้รับความสุขความสบายเป็นเครื่องตอบแทน"


    ("วิถีมุตตสังคหวิภาค", ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร), มูลนิธิปริญญาธรรม)




    เรื่อง "จิตกับความฝัน" ยังเหลืออีกหนึ่งตอนซึ่งจะกล่าวถึง สภาพของจิตในยามฝันที่มีต้นเหตุเกิดจาก "บุพนิมิต" กรุณาคอยติดตามอ่านตอนต่อไปด้วยครับ



    *********************







    ''จิตกับความฝัน'' ตอนที่๔



    ในตอนที่ ๑ ผมได้อธิบายถึงสภาพของจิตของเราในขณะที่เกิดความฝันที่มีต้นเหตุมาจาก "ธาตุกำเริบ"และหรือ"จิตอาวรณ์" และในตอนที่ ๒ และ ๓ ได้อธิบายถึงสภาพของจิตที่ทำให้เกิดความฝันที่มีต้นเหตุมาจาก "เทพสังหรณ์"มาแล้ว ดังนั้น ในตอนนี้ จะกล่าวถึงต้นเหตุที่ ๔ ที่ทำให้เกิดความฝันที่เรียกว่า "บุพนิมิต"

    ก่อนอื่น ผมขอทบทวนความจำเกี่ยวกับความหมายของคำว่า "จิต" อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ท่านผู้อ่านที่กำลังศึกษาและปฏิบัติธรรมในขั้นต้นได้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น ดังนี้


    เรื่องราวเกี่ยวกับ "จิต" นี้จัดเป็นธรรมะที่มีความเป็นจริง มีความเที่ยงแท้แน่นอนมากที่สุด สาระเนื้อความจะไม่มีวันวิปริตผันแปรเปลี่ยนแปลงไปเป็นอื่นเลย ไม่ว่าจะนำมากล่าวอ้างอิงในยุคใดสมัยใด หรือที่เรียกว่าเป็น "ปรมัตถธรรม" ดังนั้น จึงมีลักษณะตามธรรมชาติอยู่ ๓ ประการที่เรียกว่า



    "ไตรลักษณ์" คือ



    ๑. มีลักษณะไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดดับอยู่ตลอดเวลา (อนิจจัง)


    <DL>๒. มีลักษณะที่ต้องถูกบีบคั้นจนทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมสูญไป (ทุกขัง)

    ๓. มีลักษณะที่เราไม่สามารถจะควบคุมบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ (อนัตตา)





    <DT>เราไม่สามารถไประงับยับยั้งการเกิดดับของจิตได้ จิตนี้ เกิดดับ เกิดดับ สืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วเหลือประมาณจนปุถุชนคนธรรมดาเข้าใจไปว่า จิตนี้ไม่มีการเกิดดับ แต่ว่ายั่งยืน อยู่จนตลอดชีวิตจึงดับไป


    ความนึกคิดของคนเราที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่ทุกขณะก็คือ การเกิดดับของจิตนั่นเอง


    <DT>จิตสามารถทำให้งดงาม แปลก น่าพิศวง น่าเกลียด น่าสยดสยอง น่าสะพรึงกลัว



    จิตสามารถคิดในเรื่องที่ดี คิดในเรื่องที่ชั่ว คิดฟุ้งซ่านร้อยแปดพันเก้า บางทีก็ดูฉลาดเฉลียวมีปัญญา บางทีก็โง่เง่าเบาปัญญาไม่เอาไหนเลย บางครั้งก็ดูจะสงบนิ่งวางเฉย บางครั้งก็มีความจำเป็นเลิศ บางครั้งก็หลงๆ ลืมๆ เลอะเลือน ที่เรียกว่า เป็นโรค "อัลไซเมอร์"


    <DT>จิตเป็นที่รองรับอารมณ์ไว้ต่างๆ นานาอย่างไม่มีจำกัด และดูจะรับอารมณ์ที่ไม่ดีชั่วร้ายไว้ได้ง่ายดายเป็นพิเศษ
    จิตเป็นตัวการที่ก่อทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว เกิดกิเลสสร้างตัณหาอารมณ์ เกิดความรัก โลภ โกรธ หลง หวาดกลัว หวาดระแวง อยากเป็นโน่นอยากเป็นนี่ อยากได้นั่น อยากได้นี่ เมื่อก่อกรรมใดขึ้นไว้ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรม คือ การทำบุญ หรืออกุศลกรรม คือ การทำบาปก็ตาม ผู้ก่อกรรมนั้นก็ต้องเก็บสะสมเอาไว้ แล้วต้องตั้งหน้ารอรับผลของกรรม หรือ "วิบาก" ซึ่งจะตอบสนองทันทีเมื่อมีโอกาสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้



    นอกจากนี้ การกระทำกรรมใดๆ ก็ตาม ถ้ากระทำซ้ำจำเจอยู่เสมออย่างเนืองนิจ ก็จะติดฝังลึกลงไปทุกทีจนเป็นสันดาน ติดนิสัยชอบกระทำประพฤติเช่นนั้นอยู่เป็นประจำ


    <DT>ได้มีพระอรรถกถากล่าวเกี่ยวกับเรื่อง การระวังสังวรจิต และลักษณะหรือสภาพของจิตไว้ว่า





    <CENTER><TABLE width="50%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>".......ทูรง.คม<SUP>o</SUP> เอกจร<SUP>o</SUP></TD><TD align=middle>อสรีร<SUP>o</SUP> คุหสย<SUP>o</SUP></TD></TR><TR><TD align=middle>เย จิต.ต<SUP>o</SUP> สญ.ญเมส.สน.ติ</TD><TD align=middle>โมก.ขน.ติ มารพน.ธนาฯ</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER></DT></DL><CENTER></CENTER><DL><DT><CENTER></CENTER><DT><CENTER>แปลความว่า ชนเหล่าใด จักระวังจิต ซึ่งไปไกล ไปเดี่ยว ไม่มีสรีระ มีคูหาคือ กายเป็นที่อาศัยไว้ได้ ชนเหล่านั้น จักพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร....."
    </CENTER>






    <CENTER>("จิตปรมัตถ์", ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร), มูลนิธิปริญญาธรรม) </CENTER><DT><CENTER></CENTER>
    การก่อกรรมใดขึ้นไว้ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรม คือ การทำบุญ หรืออกุศลกรรม คือ การทำบาป ก็ตาม ผู้ก่อกรรมนั้นต้องตั้งหน้ารอรับผลของกรรม หรือ "วิบาก" ซึ่งจะตอบสนองทันทีเมื่อมีโอกาสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้ง การกระทำกรรมใดๆ ก็ตามที่กระทำซ้ำจำเจอยู่เสมออย่างเนืองนิจ จนติดฝังลึกจนเป็นสันดาน จึงเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเป็นความฝันที่เรียกว่า "บุพนิมิต" คือ ความฝันที่เกิดจากผลของกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้ในอดีตทั้งในชาติก่อนหรือในชาตินี้ และได้สะสมฝังอยู่ในใจเป็นตัวการมา กระทบใจหรือมโนทวารดังที่ได้กล่าวไว้ในข้อที่ ๑ ความฝันในลักษณะนี้จึงเป็นการเตือนผู้ที่ฝันล่วงหน้าถึงเหตุร้าย หรือเหตุดีที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำที่สุด
    ผมเชื่อว่า ท่านผู้อ่านได้เคยเรียนวิชาภูมิศาสตร์มาแล้วทั้งนั้น หากยังมิได้คืนวิชานี้ไปให้แก่ครูบาอาจารย์แล้ว จะต้องนึกออกเมื่อผมกล่าวถึงชั้นของดินว่า ผิวโลกที่เราอยู่อาศัยนั้นประกอบด้วยชั้นของดินวางทับถมซ้อนกันเป็นชั้นๆ มากมายจนนับไม่ถ้วน แต่ละชั้นจะมีส่วนประกอบของแร่ธาตุสารต่างๆ ที่แตกต่างกัน นักธรณีวิทยา




    <DT>หรือนักโบราณคดีสามารถนำเอาวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ของมนุษย์ หรือกระดูกของสัตว์โลกที่อาศัยอยู่ในยุคสมัยนั้นที่ยังมีหลงเหลือติดอยู่กับชั้นดินนั้นมาพิสูจน์หาอายุได้ โดยการแยกธาตุ วิธีการสะสมของกรรมที่ก่อขึ้นในแต่ละครั้ง แต่ละภพและชาติก็อาจเปรียบเทียบได้กับการทับถมของชั้นดินที่เกิดขึ้นบนผิวโลกทุกเมื่อเชื่อวันตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน หรือท่านผู้อ่านที่มีความรู้อยู่บ้างเกี่ยวกับเรื่องพฤกษศาสตร์ จะเข้าใจถึงวิธีตรวจสอบอายุของต้นไม้ใหญ่ชนิดหนึ่ง คือ ต้นสัก หากเราตัดลำต้นในแนวขวางจะเห็นเนื้อไม้ถูกแบ่งออกเป็นวงแหวนมีจำนวนมากน้อยตามอายุของต้นสักนั้น ลักษณะของเนื้อไม้ในแต่ละวงแหวนก็แตกต่างกัน




    <DT>




    <DT>ตามหลักวิชาพฤกษศาสตร์ได้กล่าวว่า เราสามารถทราบอายุของต้นสักนั้นได้โดยวิธีนับจำนวนวงแหวนที่ปรากฏให้เห็นในลำต้นที่ตัดตามแนวขวาง และสภาพลักษณะดินฟ้าอากาศ และสิ่งแวดล้อมในแต่ละรอบปีของต้นสักนั้นได้ โดยการสังเกตเนื้อไม้สักที่ปรากฏให้เห็นในแต่ละวงแหวน หรือท่านที่มีความรู้ทางภูมิศาสตร์อยู่บ้าง วิธีการสะสมของกรรมที่ก่อขึ้นในแต่ละครั้ง แต่ละภพและชาติก็อาจเปรียบเทียบได้กับการทับถมของชั้นดินที่เกิดขึ้นบนผิวโลกที่เกิดขึ้นทุกเมื่อเชื่อวันตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน และลักษณะของกรรมแต่ละครั้งก็อาจเปรียบเทียบได้กับลักษณะของเนื้อไม้สักที่ปรากฏให้เห็นในแต่ละวงแหวน หรือรอบปีนั่นเอง




    <DT>

    สภาพของจิตที่มีส่วนทำให้เกิดความฝันในลักษณะ "บุพนิมิต" จะแตกต่างกับส่วนที่ทำให้เกิดความฝันในลักษณะ "เทพสังหรณ์" มากนัก หากท่านผู้อ่านมีความเข้าใจคำอธิบายโดยการอุปมาอุปมัยของผมที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่ ๒ และ ๓ มากเพียงพอแล้ว จะสามารถอ่านและทำความเข้าใจในตอนนี้ได้โดยง่าย




    <DT>


    เมื่อมโนทวารเปิดซึ่งเป็นผลมาจากการที่จิตหลุดจากภวังค์ จิตจึงฉวยโอกาสท่องเที่ยวออกไปในโลกกว้าง หรือจักรวาลเพื่อเสาะส่ายหาอารมณ์ที่เรียกว่า "มโนทวาราวัชชนจิต" และเพื่อเสวยอารมณ์ที่เรียกว่า "ชวนจิต" สภาพจิตของเราในตอนนี้จึงเปรียบเสมือนกับการออกจากบ้านแต่มิได้ท่องเที่ยวไปในสาธารณสถานที่มีผู้คนสัญจรไปมาเป็นจำนวนมาก ดังเช่น ในกรณีที่เกิดความฝันในลักษณะ "เทพสังหรณ์" แต่เป็นการท่องเที่ยวไปชมลักษณะภูมิประเทศต่างๆ ในลักษณะการไปทัศนาจรมากกว่า ซึ่งจะเป็นสถานที่ที่เราเคยผ่านพบและมีเหตุการณ์เกี่ยวข้องกับเรา




    <DT>




    <DT>โดยเราได้มีส่วนร่วมสร้างกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมไว้ตรงนั้นมาแล้วในอดีต และที่ยังมิได้เคยผ่านพบมาเลยจนถึงปัจจุบัน หากเป็นประการแรก เราจะสามารถจดจำเหตุการณ์ต่างๆ ที่เราได้เคยสร้างกรรมไว้ ณ สถานที่นั้นมาแล้วในอดีตได้ ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และกรรมที่เราได้เคยสร้างไว้มีความประทับใจให้แก่เราในตอนนั้นมากเป็นพิเศษไม่ว่าจะเป็นเรื่องบุญ หรือ เรื่องบาป เราจะสามารถจดจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตรงนั้นได้แม่นยำและชัดเจนมาก เช่น เป็นสถานที่ซึ่งเราได้เคยมาสวดมนต์ทำบุญเป็นประจำ เป็นโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ที่เราเคยมีบทบาทเกี่ยวข้องร่วมทำศึกทำสงครามด้วย หรือในบางครั้ง เราอาจจะฝันถึงเหตุการณ์เก่าๆ ที่ได้เคยเกิดขึ้นในสมัยที่เรายังเยาว์อยู่ก็ได้ ฯลฯ


    ดังนั้น จึงไม่เป็นการแปลกประหลาดเลย หากจะมีผู้ใดได้เคยฝันเห็นเหตุการณ์ในนาทีสุดท้ายของกรุงศรีอยุธยาก่อนจะเสียแก่พม่าข้าศึกในครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ ถ้าท่านผู้นั้นได้มีส่วนร่วมในชะตากรรม และเหตุการณ์ที่เลวร้ายในครั้งนั้นด้วย


    การฝันในลักษณะนี้จึงเสมือนกับการกรอวิดิโอเทปที่ได้บันทึกภาพเหตุการณ์ในอดีตไว้ในช่วงใดช่วงหนึ่งให้เทปหมุนกลับ หรือ Rewind ไปตั้งต้นใหม่ตรงช่วงเวลานั้น แล้วเปิดเทปเดินหน้าให้ภาพที่บันทึกไว้มาฉายปรากฏบนจอโทรทัศน์ หรือ Playback นั่นเอง เรื่องนี้จึงสามารถนำเข้ามาเชื่อมโยงเข้ากับพุทธศาสตร์ได้โดยไม่ยาก






    <DT>
    กลไกสำคัญของหทัยวัตถุซึ่งได้แก่ สมอง หัวใจ ฯลฯ ที่มากระตุ้นให้จิตซึ่งกำลังท่องเที่ยวทัศนาจรไปในสถานที่ต่างๆ สามารถจดจำเหตุการณ์ในอดีตที่เจ้าของจิตได้เคยสร้างกรรมไว้ เรียกว่า "สัญญาเจตสิก" แล้วทำให้ผู้ฝันเกิดมีอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความสุข ความทุกข์ หรือ "เวทนาเจตสิก" ไม่สุข ไม่ทุกข์ รู้สึกเฉยๆ หรือ "อุเบกขาเจตสิก" เก็บมาครุ่นคิดหรือ "มนสิการเจตสิก" เป็นต้น (คำศัพท์บาลี หรือ ศัพท์เทคนิคของวิชาพุทธศาสตร์ที่ผมได้หยิบยกมากล่าวประกอบไว้นี้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ผ่านสายตา และมีความคุ้นเคยไว้บ้าง หากขณะนี้ ยังไม่สะดวกและยังไม่มีความเพียรที่จะจดจำ ก็ขอให้อ่านข้ามไปก่อน)




    <DT>






    <DT>
    ข้ออุปมาอุปมัยอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้ในอดีตทั้งในชาติก่อน หรือ ในชาตินี้และได้สะสมไว้มาโดยตลอดนั้นน่าจะได้แก่ การเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ผ่านมาตามระเบียบงานสารบรรณที่องค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ หรือภาคเอกชนได้ถือปฏิบัติกันอยู่ ซึ่งจะต้องแยกเรื่องราวต่างๆ นำเข้า เก็บรักษาไว้ในแฟ้มโดยแยกออกแล้วจัดเป็นหมวดหมู่ กำหนดรหัสของแต่ละหมวดหมู่ขึ้น แล้วจัดทำบัตรตรวจค้น หรือ Index Card ขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาเรื่องราวที่ต้องการ เอกสารใดที่ได้มีการปฏิบัติจนถึงขั้นสุดท้าย หรือ หมดอายุไม่สามารถนำมาถือปฏิบัติหรือใช้อ้างอิง เมื่อไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาไว้เพื่อมิให้เปลืองพื้นที่แล้วก็ทำลายเสีย

    ในปัจจุบันนี้ ได้มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการเก็บแฟ้มข้อมูลเรื่องราวต่างๆ จึงช่วยประหยัดพื้นที่ในการเก็บรักษา และช่วยเหลือในการค้นหาเรื่องราวที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากทีเดียว





    <DT>
    ในระบบคอมพิวเตอร์จะมีอุปกรณ์ที่สำคัญส่วนใหญ่ที่มีหน้าที่ต่างๆ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับคำศัพท์ในพระอภิธรรมที่เกี่ยวข้องได้หลายประการ อาทิ
    อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลจากภายนอกด้วยแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ เปรียบเทียบได้กับคำศัพท์ว่า "ผัสสะ"




    <DT>





    <DT>
    อุปกรณ์เก็บความจำ หรือ Memory เปรียบเทียบได้กับคำศัพท์ว่า "สัญญา"




    <DT>
    อุปกรณ์ที่นำเอาข้อมูลที่ได้รับมาจากแหล่งต่างๆ มาปรุงแต่งแล้วประมวลผลหาคำตอบ หรือ CPU เปรียบเทียบได้กับคำศัพท์ว่า "สังขาร"




    <DT>
    อุปกรณ์แสดงผลที่ได้รับหลังจากการปรุงแต่งประมวลแล้วออกมาทางจอ หรือ ทางเครื่องพิมพ์ เปรียบเทียบได้กับคำศัพท์ว่า "เวทนา"




    <DT>[SIZE=+1]




    <DT>ผมขอจบบทความพุทธศาสตร์ศึกษาเรื่อง "จิตกับความฝัน" ลงเพียงเท่านี้ หากท่านผู้อ่านมีข้อคิดเห็นที่สมควรทักท้วงโต้แย้ง หรือเพิ่มเติมรายละเอียดของเรื่องราวที่ผมได้นำเสนอไปแล้วอย่างไร กรุณาแจ้งให้ผมทราบผ่านอีเมล์นี้ด้วย เพื่อจะได้นำมาทบทวนศึกษาค้นคว้าหาความถูกต้องชัดเจน เพื่อนำเสนอต่อท่านผู้อ่านเพื่อเป็นวิทยาทานต่อไป







    </DT></DL><CENTER>********************* </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
    ที่มา : http://www.dabos.or.th






    [/SIZE]
     
  3. หลับตา

    หลับตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    717
    ค่าพลัง:
    +3,151
    เกิดดับแบบไฟฟ้ากระแสสลับแน่ๆ แต่มันความถี่ละเอียดมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
     
  4. felies

    felies เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,370
    อนุโมทนา ครับ อยากให้มีบทความแบบนี้อีกเยอะๆ ไว้ประดับความรู้ครับ
     
  5. ผู้พ่ายแพ้ขันธ์ 5

    ผู้พ่ายแพ้ขันธ์ 5 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2004
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +64
    ...ดีแล้ว ๆ ๆ...
     
  6. tassanai_k

    tassanai_k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,518
    โมทนาด้วยครับ
     
  7. jakchan

    jakchan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +158
    หนุกดี ขออนูโมทนาด้วย
     
  8. GAN9

    GAN9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +1,248
    โมทนาครับ
     
  9. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    ขอนุโมทนาในบทความดีๆ แบบนี้ครับ...
    แล้วจะขอกัลบมาอ่านใหม่และขออนุญาต print เก็บไว้อ่านด้วยนะครับ...
    -------------------------------------------------------------------
    ปริยัติ....เรียนรู้คำภีร์
    ปฏิบัติดี....ละทิ้งกิเลส
    ปฏิเวธ...รู้แล้วละวาง..........
     

แชร์หน้านี้

Loading...