“กลุ่มบำบัด” ทางเลือกเยียวยาหัวใจคน

ในห้อง 'ทุกข์และปัญหาชีวิต' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 6 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 200
    [​IMG] “กลุ่มบำบัด” ทางเลือกเยียวยาหัวใจคน
    หากจะอธิบายเหตุผลของการที่มนุษย์ต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มนั้น นักมานุษยวิทยาเชื่อว่าเริ่มต้นมาจากการแบ่งหน้าที่กันในการหาอาหาร และอิทธิพลทางพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การขยายเผ่าพันธุ์ของต้นตระกูลมนุษย์ยุคแรก ทำให้ต่อมาเริ่มเกิดครอบครัวเล็กๆ และขยายออกไปเป็นชุมชนในที่สุด

    แต่สำหรับการรวมกลุ่มเพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพ และจิตใจนั้น เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอเมริกา ช่วงหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการรวมตัวเพื่อจะพูดคุย และให้คำปรึกษาซึ่งกันและกันของผู้ปกครองเด็กๆ ที่มีความพิการจากผลของสงคราม หลังจากนั้นจึงขยายไปในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มอื่นมากขึ้นเรื่อยๆ

    ในเชิงวิชาการ เราแบ่งประเภทของกลุ่มการให้ความช่วยเหลือออกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ
    • จิตบำบัดกลุ่มระยะสั้น (Short-term Group Psychotherapy) เป็นกลุ่มบำบัดที่จัดขึ้นเพื่อวิเคราะห์ และเยียวยาผู้ป่วยทางจิตโดยเฉพาะ จัดขึ้นแบบเป็นครั้งเป็นคราวแล้วแต่อาการเจ็บป่วย
    • กลุ่มพัฒนาการเรียนรู้ (Training Group) มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาประสบการณ์ของคนทั่วไปด้วยวิธีการให้การศึกษา อบรมในแต่ละด้าน เหมือนที่เราได้เห็นในการจัดสัมมนาต่างๆ
    • กลุ่มส่งเสริมศักยภาพมนุษย์ (Human potential movement) เช่น ศูนย์พัฒนาต่างๆ ที่จัดอยู่ในชุมชน เป็นการรวมตัวกันแบบหลวมๆ ของคนในสังคมใกล้เคียง และมีเป้าหมายในการทำงานแตกต่างกันออกไป
    • กลุ่มช่วยเหลือตัวเอง (Self-help Group) เป็นกลุ่มที่สมาชิกส่วนใหญ่ประสบปัญหา หรือวิกฤติในชีวิตบางประการคล้ายคลึงกัน เช่น ผู้ป่วยด้วยโรคเดียวกัน ผู้มีชีวิตแบบเดียวกัน ซึ่งจุดประสงค์ในการเจอกันก็เพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์ระหว่างคนที่เคยประสบปัญหา กับคนที่กำลังประสบอยู่ ...เป็นเสมือนที่พึ่งทางใจโดยเฉพาะนั่นแหละค่ะ
    เมื่อ ‘กลุ่ม’ ทำหน้าที่ ‘บำบัด’

    แม้การรวมกลุ่มจะมีหลากหลายประเภท และเป้าหมายแตกต่างกันไป แต่การรวมกันเพื่อบำบัด และช่วยเหลือซึ่งกันและกันมักจะเริ่มต้นจากการที่สมาชิกในกลุ่มมีจุดร่วมบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน การรวมกลุ่มพบปะพูดคุยระหว่างผู้ป่วยมีปัญหาเดียวกัน ช่วยให้พัฒนาการทั้งด้านกาย จิต สังคม ของเขาได้รับการเยียวยาในคราวเดียว

    เหตุผลที่ทำให้การรวมกลุ่มสามารถบำบัดเยียวยาจิตใจของคนได้ดีนั้น มี 3 ประเด็น นั่นคือ...
    1. เราอยากอยู่บนโลกนี้เพราะมีเพื่อน
    • ไม่มีใครอยากอยู่คนเดียว
      แม้ความแตกต่างด้านศักยภาพจะเป็นตัวผลักดันให้มนุษย์กระตือรือร้นที่จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มโดยธรรมชาติ แต่สำหรับผู้ป่วย หรือคนที่ประสบปัญหาในชีวิตมักจะเกิดความรู้สึกว่าตัวเองแตกต่าง หรือมีปมด้อยกว่าคนอื่น ทำให้ต้องต่อสู้กับปัญหาอยู่เพียงลำพัง จึงปรารถนาที่จะได้คนที่มีใครสักคนเข้ามาร่วมเผชิญปัญหาด้วยกัน
    • อยากมีที่คนเข้าใจ
      โดยปกติ เราทุกคนก็หวังจะให้คนรอบข้างเข้าใจในตัวเราอยู่แล้ว ยิ่งโดยเฉพาะผู้ป่วย หรือคนที่ประสบปัญหา เขายิ่งขาดความเชื่อมั่น และต้องการใครสักคนที่เข้าใจ เห็นอกเห็นใจ ซึ่งคนที่จะเข้าถึงในสิ่งที่ประสบอยู่ได้ดีที่สุดคือผู้ที่มีปัญหาเดียวกัน
    • ทุกคนต้องการเป็นที่ยอมรับ
      ด้วยเหตุผลที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ทำให้ต้องการการยอมรับจากเพื่อนร่วมสังคมเดียวกันสูง และเมื่อใรที่รู้สึกแปลกแยกจะมีความรู้สึกว่าตัวเองไร้คุณค่าขึ้นมาทันที ทำให้มองโลกในแง่ร้าย และแยกตัวออกจากสังคม ปัญหาที่เผชิญอยู่จึงยิ่งไม่ได้รับการแก้ไข
    ในทางตรงกันข้าม หากเขาได้อยู่ร่วมกับคนที่ประสบเหตุการณ์เดียวกัน จะรู้สึกว่าได้รับการเข้าใจ และการยอมรับตามมาโดยธรรมชาติ



    2. ‘การสนทนา’ นำมาซึ่งความสุข [​IMG]

    สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่นๆ คือ ‘ความสามารถในการสนทนา’ ซึ่งหมายความรวมถึงการสื่อสารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูด อ่าน เขียน หรือแม้แต่การใช้ภาษามือ ซึ่งในทางจิตวิทยาเชื่อว่า การพูดคุยแบ่งปันความลับ ระบายความอัดอั้นตันใจ ความวิตกกังวล หรือความกลัวที่เผชิญอยู่ เป็นกระบวนการสำคัญในการแก้ไขปัญหา เพราะทำให้สมองได้ปลดปล่อยสิ่งที่คั่งค้าง ช่วยให้รู้สึกโล่งสบายคลายความหมกมุ่นต่างๆ ได้อย่างดี

    นอกจากนี้การสนทนายังช่วยให้มีการแสดงความคิดเห็น ให้กำลังใจ และการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ระหว่างสมาชิก ทำให้บางคนที่กำลังมีปัญหาได้รับประสบการณ์สำเร็จรูปไปประกอบการตัดสินใจ หรือจัดการสิ่งที่เผชิญอยู่ได้อย่างตรงจุดมากขึ้น

    ข้อดีอีกด้านของการสนทนาระหว่างกลุ่ม คือ ทำให้สมาชิกทุกคนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ที่จะทนต่อความขัดแย้ง และความเห็นที่ต่างกัน เพื่อประคับประคองให้กลุ่มสามารถดำรงอยู่ได้ ซึ่งการสนทนาที่ดีนั้น สมาชิกในกลุ่มจำเป็นต้องเรียนรู้การเป็นทั้งผู้พูด และผู้ฟังที่ดีด้วย
    3. ทุกคนอยากมีความหวัง

    การมี ‘ความหวัง’ จะช่วยให้เรามีพลังในการขับเคลื่อนชีวิตให้ไปตามเส้นทางที่เราต้องการ คนที่ป่วย หรือประสบปัญหาก็เช่นกัน
    • ความหวังที่จะออกจากปัญหาที่เผชิญอยู่
      การรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ทำให้ได้เห็นบุคคลที่ประสบปัญหาคล้ายคลึงกับเราบางคนสามารถแก้ไขปัญหาของเขา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนเกิดผลดีกับชีวิตได้ จะทำให้เกิดการตั้งแบบอย่าง (Role Model) ที่ควรปฏิบัติตาม และมีความมั่นใจมากขึ้นว่าตนเองจะสามารถผ่านพ้นวิกฤติชีวิตเหล่านั้นไปได้เช่นกัน
    • ความหวังที่จะมีรู้สึกคุณค่าในสายตาของคนทั่วไป
      ผู้ประสบปัญหาส่วนใหญ่ เขามักรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า และความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งใดได้ แต่เมื่อมีโอกาสมารวมกลุ่มกับคนที่ประสบปัญหาคล้ายคลึงกัน ได้เรียนรู้การช่วยเหลือกันระหว่างสมาชิก การเสียสละ การทำเพื่อส่วนรวม จะช่วยให้เขาตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง และมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
    • ความหวังที่จะมีเป้าหมายในชีวิต
      การรวมกลุ่มจะทำให้ทุกคนรู้สึกลงเรือลำเดียวกัน (Meeting the same boat) ต่อสู้กับปัญหาร่วมกัน ทำให้รู้สึกว่าตนเองเข้มแข็ง และมีโอกาสที่จะเดินไปถึงยังเป้าหมายที่วางไว้ได้มากยิ่งขึ้น
    แต่ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มแบบไหน ถ้าสังคมโดยรวมไม่เข้าใจ และไม่ให้การสนับสนุน ปัญหาก็ย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
    เพราะเราอยู่ในสังคมเดียวกัน

    “เหตุผลหนึ่งที่เราสนับสนุนให้มีการนำ ‘กระบวนการกลุ่มบำบัด’ มาเป็นส่วนหนึ่งในการเยียวยาผู้ป่วย และมักเกิดขึ้นหลังจากผ่านกระบวนการรักษาทางกายไปจนอยู่ในระดับที่ดีแล้ว เป็นเพราะกระบวนการกลุ่มเปรียบเสมือนจำลองที่จะช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วยให้ค่อยๆ มีความพร้อมที่จะออกโลกภายนอก และเผชิญปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตประจำวันได้เป็นปกติต่อไป”

    การช่วยเหลือที่ประสบผลนั้น จำเป็นต้องช่วยให้ครบทุกมิติทั้งด้านกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ โดยเฉพาะ 2 มิติหลังนั้น นอกจากตัวผู้ประสบปัญหา และกลุ่มที่รวมตัวกันแล้ว สังคมในทุกระดับยังต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งด้วย

    “ทุกวันนี้ นอกจากการรวมกลุ่มกันของผู้ป่วย และการสนับสนุนจากสหวิชาชีพ และภาครัฐแล้ว เรายังสนับสนุนให้ญาติเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพราะเมื่อเขากลับสู่สังคมปกติ ญาติๆ หรือคนในครอบครัวจะเป็นคนที่ใกล้ชิดเขาที่สุด”

    เริ่มจาก‘ครอบครัว’ ซึ่งเป็นสังคมเล็กๆ ในบ้าน ขยายไปสู่ชุมชน และสังคมโดยรวมซึ่ง ‘กลุ่มของการช่วยเหลือ’ ขนาดใหญ่ที่สุด ที่ต้องยื่นมือเข้ามาให้การช่วยเหลือด้วย จึงจะประสบความสำเร็จ

    “นอกจากนี้ เรายังสนับสนุนให้เขาทำงานกันเป็นเครือข่ายระหว่างกลุ่มหรือสมาคมด้วยกัน นำไปสู่ ‘กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน’ต่อไป เชื่อว่าหากการช่วยเหลือกันแบบนี้ขยายออกไปในวงกว้าง สังคมเราต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน”
     
  2. แม่พิมพ์

    แม่พิมพ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +4
    กลุ่มบำบัด "ทางเลือกเยียวยาหัวใจคน"

    ;k05 เห็นบทความดีๆ ในอดีตในห้องนี้ จึงดึงขึ้นมาให้อ่านกัน
    อีกซักครั้งทบทวนความทรงจำ และแลกเปลี่ยนกันอ่าน


    -Happy Smile_
     
  3. den_siam2523

    den_siam2523 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2006
    โพสต์:
    594
    ค่าพลัง:
    +2,267
    เวลาคนมีความทุกข์ในใจ ก็เหมือนกำลังอยุ่ในความมืด ปัญญาที่จะหาทางออกได้ยาก ง่าย แตกต่างกัน ตามแต่ละประสบการณ์แต่ละคน

    แต่เมื่อความทุกข์ในใจเวียนมาบรรจบ สิ่งที่ดีที่สุด คือกำลังใจจากคนรอบข้าง จากผุ้รู้ ผุ้ที่เข้าใจที่จะสามารถเยียวยา โรคทางใจได้ดี

    หากท่านใดที่ต้องการคำปรึกษา ตอนนี้ก็มีหน่วยงาน ให้คำแนะนำทางด้านสุขภาพจิต หลายที่เหมือนกัน

    สำหรับผมเชื่อ ธรรมมะจากพระพุทธเจ้า คือ โอสถรักษาใจ ให้พ้นจากความทุกข์เศร้าหมอง ได้อย่างถาวร ไม่เชือ่ผม ลองทำตามคำสอนท่านดูนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...