ทำไมถึงทำกับ ปาย ได้

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สัตบุรุษ, 4 มีนาคม 2009.

  1. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    ทำไมถึงทำกับ ปาย ได้




    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    ทำไมถึงทำกับ ปาย ได้ (กรุงเทพธุรกิจ)

    ท่องเที่ยวทะลัก ปาย ต้นเหตุน้ำมันหมดปั๊ม นักท่องเที่ยวตกค้าง ด่ายับ ราคาก๋วยเตี๋ยวพุ่งทะลุชามละ 70 ฯลฯ ลองมาฟังเสียงบ่นจากคนอยู่กันดูบ้าง สองสามปีหลังมานี้ ใครชอบเที่ยวปายในช่วงวันหยุดยาว ต้องเจอเหตุการณ์นี้กันบ้าง...

    "น้ำมันหมดปั๊ม" จนนักท่องเที่ยวตกค้างกลับบ้านไม่ได้ รถมอเตอร์ไซค์-จักรยานให้เช่าจนหมดเมือง ก๋วยเตี๋ยวราคาพุ่งไปชามละ 70 บาท จนร้องเรียนกันเป็นเรื่องราวใหญ่โต คนล้นหลามจนแย่งกันกินแย่งกันใช้ แล้วพอคนขายหน้าบึ้งเพราะเหนื่อย ก็เอากลับไปบ่นต่อ ต่างๆ นานา ผ่านโลกออนไลน์ เสียงบ่นจากคนอยู่ รักปายท่วมท้นกันอย่างนี้ ลองไปฟังเอสเอ็มอีตัวเล็กๆ ที่ถูกชาวเน็ตบ่นถึงกันบ้างดีไหม

    "ต้น" อิสรินทร์ แสงมณี เจ้าของเกสเฮาส์ละแวกแม่เย็น นามว่า "ปายตะวา" อันแปลว่า "ปายเมื่อวันวาน" อดีตนักข่าวค่ายมติชน ผู้กำหนดเป้าหมายเกษียณตัวเองที่อายุ 40 หอบเงินเก็บพร้อมกับอาชีพเสริม ขายซีดีทางอินเทอร์เน็ตขึ้นมาปักหลัก ณ เมืองปาย

    "ต้น" เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปว่า ตนเองนั้นได้พบกับปายครั้งแรก ก็ราวปี 2538 ซึ่งปายในความทรงจำครั้งแรก มีฐานะแค่ 'ทางผ่าน' ให้มาพักค้างคืนระหว่างทาง และกลายเป็นรักแรกพบกับหญิงสาวนามว่า 'ปาย' จนต้องเทียวไปเทียวมากรุงเทพ-แม่ฮ่องสอน อยู่เนืองๆ และในที่สุด จึงตัดสินใจรีไทร์จากชีวิตมนุษย์เงินเดือน นำเงินเก็บที่มี มาตั้งรกรากอยู่ที่ อ.ปาย



    [​IMG]

    [​IMG]


    "แฟรงค์" สุรศักดิ์ จอมเม็ด และ "วรรณ" หญิงสาวคนรัก กับกิจการเล็กๆ อย่างเกสต์เฮาส์แอบมองปายจากมุมสูง ในชื่อ "เบิร์ด อาย วิว" อาศัยทำเลใกล้กับพระธาตุแม่เย็น จึงมีนักท่องเที่ยวแบกเป้ (หลง) มาพักไม่ขาดสาย แต่สำหรับคนไทยนั้นแทบไม่ค่อยมีมาพักเพราะอยู่ห่างออกมาจากตัวเมือง จะมีก็แต่คนรู้จัก บอกต่อๆ กันมาเท่านั้น

    ก่อนจะมาเป็นเจ้าของกิจการเล็กๆ แห่งนี้ "แฟรงค์" เล่าว่าตัวเขารู้จักกับปายครั้งแรก ก็สมัยที่มาเป็นทหารเกณฑ์ประจำที่แม่ฮ่องสอน จนเมื่อปลดประจำการ ก็ยังหนีไม่พ้นหุบเขาเมืองปาย เพราะตัดสินใจอยู่ช่วยอดีตผู้บังคับบัญชาที่เปิดบังกะโลให้ฝรั่งเช่า และ ทำร้านอาหารกึ่งผับเพื่อชีวิตไปพร้อมๆ กัน จนในที่สุดได้ตัดสินใจปักหลัก ทำเกสต์เฮาส์ของตัวเอง เมื่อราวปี 2542

    นอกจากนี้ยังมี 'เหมียว' เจ้าของร้านอาหาร เหมียวฟู้ด อดีต 'แอนิเมเตอร์' ที่ต้องออกจากงานหลังบริษัทปิดตัวลง จึงโยกย้ายมาทำมาหากินที่เมืองปาย กับกิจการร้านอาหาร และ เกสต์เฮาส์ให้เช่าขนาดเล็ก บรรยากาศของปายราวสิบปีที่แล้วนั้น แฟรงค์ ยืนยันว่ามีแต่ฝรั่งทั้งนั้น โดยสาเหตุที่ฝรั่งมาที่นี่กันเยอะ ก็เพราะธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์ สวยงาม ทั้งยังมีค่าครองชีพที่ถูก

    "สมัยก่อนคนที่มาเที่ยวที่นี่ ส่วนมากมาเพราะรักความสงบ มาเพื่อแสวงหา มาสร้างงานศิลปะ ต้องการหนีสังคม หลบมาชาร์ตพลัง หรือไม่ก็มาเพราะอกหัก ซึ่งทั้งหมดเป็นพวกแบ็กแพ็ค ไม่มีเครื่องบิน ฝรั่งที่มาเป็นนักเดินทาง นักผจญภัย ส่วนคนไทยที่มาก็เป็นพวกรักความสงบ ไม่มีคุณหนู อาม่า อาซิ้มนี่ ตอนนั้นยังไม่มี" ต้นสำทับแบบขำๆ



    [​IMG]

    [​IMG]


    เป้หายไป (ไหน?)

    แล้ว "ต้น" ก็ลำดับภาพความเปลี่ยนแปลงของปายว่า นับจากอิทธิพลของภาพยนตร์เรื่อง "รักจัง" ที่ใช้ อ.ปาย เป็นสถานที่ถ่ายทำนั้น หลังจากหนังออกฉายได้ไม่นาน ก็เริ่มมีกระแสพูดถึง เมืองปาย ในฐานะโลเคชันสุดโรแมนติก จนคนดูหนัง อยากมาเห็นด้วยตาตัวเอง

    แถมด้วยแรงบวกจาก ละครเรื่องอุบัติรักข้ามขอบฟ้า ซึ่งนักร้องขวัญใจวัยรุ่นอย่างกอล์ฟ-ไมค์ แสดงนำ ก็ใช้ร้านกาแฟคอฟฟี่อินเลิฟและบ้านปายฟ้าปายฝันเป็นสถานที่ถ่ายทำหลักของเรื่อง เช่นเดียวกับหนังเรื่องแฮปปี้เบิร์ดเดย์ที่แสดงนำโดย อนันดา เอเวอริ่งแฮม และใช้โลเคชันงดงามด้วยธรรมชาติบริสุทธิ์อย่างปายและปางอุ๋งเป็นสถานที่ถ่ายทำ

    อีกทั้งทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้โปรโมทแหล่งท่องเที่ยวใหม่ คือ ปางอุ๋ง ยิ่งทำให้ปายเป็นแหล่งพักค้างคืนของนักท่องเที่ยว โดยแพ็คเกจทัวร์ ปาย-ปางอุ๋ง-ห้วยน้ำดัง กลายเป็นแพ็คเกจพื้นๆ ที่ทัวร์ทุกเจ้าต้องมี

    "เมื่อก่อนมีแต่แบ็กแพ็กมาเที่ยวปาย แต่วันนี้ มีกระทั่งลากกระเป๋าล้อลากเดินทางกลางถนน คุณหนูมาเลย ลงจากเครื่องมา จะไปไหนกันก็ไม่รู้ เป้หลังหายไป มีกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ แต่งตัวขนเฟอร์ ท่อนบนหนาวสุดๆ อย่างกับอยู่นอร์ธโพล แต่ท่อนล่างใส่ขาสั้นจู๋" ต้น พยายามอธิบายภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับปาย

    พร้อมกับฟันธงว่า ถัดจากนี้ 5 ปี ปายจะตายอย่างแน่นอน หากแต่เป็นการตายในภาษาท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวประเภทชะโงกทัวร์หันหลังให้กับเมืองนี้ แล้วเสาะแสวงหาสถานที่ใหม่ๆ ที่อินเทรนด์กว่า ที่หลงเหลืออยู่ก็คือแบ็กแพ็กเกอร์ ผู้รักความสงบซึ่งยังคงไม่จากไปไหน แล้วปายก็จะค่อยๆ กลับสู่สภาพเดิม เมื่อถามต่อถึงมุมมองว่าคิดอย่างไรกับการเติบโตแบบฉุดไม่อยู่ของปายนั้น ต้น ตอบโดยไม่ลังเลเลยว่า "เป็นเรื่องธรรมดา" ซึ่งเจ้าตัวเองไม่ได้รู้สึกขัดแย้งกับความเจริญที่หลั่งไหลเข้ามา

    "การท่องเที่ยวบูม ก็เป็นธรรมดาที่ความเจริญจะตามเข้ามา ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิด หรือ เสียหายอะไร ที่สำคัญคือชาวบ้านที่นี่ก็ต้องการความเจริญนักท่องเที่ยวต่างถิ่นจะมาบ่น หรือ เรียกร้องให้ปายกลับไปเป็นแบบเดิมคงจะไม่ได้ ต้องถามว่าเพื่ออะไร เพราะปายก็เป็นแค่สถานที่พักผ่อนของเขา นักท่องเที่ยวมาแล้วก็ไป คนท้องถิ่นต่างหากที่ต้องอยู่กับปายจริงๆ" ต้นอธิบายบนพื้นฐานของความเป็นจริง



    [​IMG]

    [​IMG]


    ใครๆ ก็รีวิวทริป

    กระแสการท่องเที่ยวแบบล้นทะลัก ดังที่กล่าวมานั้น ไม่ใช่ภาพซึ่งคนอยู่ปาย ทำมาหากินที่ปาย จะดีใจไปด้วยเท่าไหร่นัก แม้ว่าจำนวนผู้คนที่ล้นหลาม จะหมายถึงเม็ดเงินมหาศาลรอให้ตักตวง แต่หากถามไถ่กับคนในท้องที่แล้ว การท่องเที่ยวแบบ "รักปายน้อยๆ แต่ขอให้รักนานๆ" น่าจะดีกว่ามาก

    ว่าแล้ว ต้นก็เริ่มเปิดประเด็น เกี่ยวกับวิธีการท่องเที่ยวของคนไทยวันนี้ว่า "คนไทยชอบเที่ยวตามกระแส อ่านจากข้อมูล คำบอกเล่า แล้วก็คาดหวัง หวังไว้ก่อนที่ตัวเองจะมาพักอีก ใช้พฤติกรรมส่วนตัวมาตัดสินการท่องเที่ยว บางทีมาแล้วก็บอกไม่มีอะไรเลย ไม่เห็นสวยเลย เราไม่รู้ว่าเค้าวาดอะไรไว้ในใจ

    "พวกนี้ไม่มีวิญญาณนักผจญภัย ไม่พร้อมที่จะรับประสบการณ์ใหม่ๆ ไม่ยอมรับในสิ่งที่มันเป็น บางคนมาแล้วก็เรียกร้องสิ่งอำนวยความสะดวก ติดสบาย ทีวีไม่มีดูเหรอ มาเที่ยวแต่ขอดูทีวีหน่อยเหอะ"

    นอกจากนิสัยชอบคาดหวังของนักท่องเที่ยวไทยว่าจะเจอกับสิ่งที่คุ้นชินแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่จับความได้จากความเห็นของทั้ง 4 นั่นคือ อิทธิพลของ วิถีชีวิตแบบดิจิทัล ที่มาพร้อมกับคำว่า ฉาบฉวย ซึ่งกำลังบ่อนทำลายการท่องเที่ยวลงอย่างน่ากลัว

    เริ่มตั้งแต่อิทธิพลของโลกไซเบอร์ ที่ทำให้ขีดข้อจำกัดในการติดต่อสื่อสารน้อยลง ต้องถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ที่ทำให้ปายต้องประสบกับภาวะเช่นนี้

    จากเดิม เมื่อเราไปเที่ยวมาแล้วประทับใจ อย่างมากก็บอกต่อแก่คนรอบตัวได้ไม่มาก แต่เดี๋ยวนี้ แค่เขียนรีวิวทริปสนุกๆ ลงรูปสวยๆ ไว้ตามเว็บไซต์ ก็สามารถกระจายข่าวและเชิญชวนให้คนนับร้อยนับพันอยากไปเที่ยวตามรอยได้ในทันที

    นอกจากโลกไซเบอร์จะทำให้การบอกต่อทวีพลังขึ้นเป็นร้อยเท่าตัวแล้ว ชีวิตดิจิทัลก็ยังทำให้ผู้คนมีรูปแบบการเที่ยวที่เปลี่ยนไปอย่างมาก จากการเที่ยวเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ พบเจอสิ่งแปลกใหม่ กลับกลายเป็นการเที่ยว ที่วัดผลด้วยภาพถ่ายสวยๆ เอาไว้อวดตามเว็บบอร์ด หรือ เว็บบล็อกส่วนตัว ทุกๆ กิจกรรมที่ใช้ไประหว่างการเที่ยวจะต้องถูกบันทึกภาพไว้อย่างละเอียดทุกขั้นตอน สำหรับอ้างอิงในการ รีวิวทริป ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมของหลายๆ คนที่ไปเที่ยวมาแล้วอยากบอกต่อ

    แม้การ รีวิว ทริป ตามเว็บไซต์ท่องเที่ยวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ห้องบลูแพลนเน็ท ในพันทิป, เทร็คกิ้งไทย, อีซี่ทริป ฯลฯ จะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับคนที่ต้องการหาข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยว ตั้งแต่ การเดินทาง ขึ้นรถลงเรือ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว แนะนำร้านอาหาร ตลอดจนเสียงบ่นเมื่อไปพบเจอประสบการณ์ไม่ดีทั้งหลาย

    แต่ในทางกลับกัน ปรากฏการณ์ ตามรอยเที่ยว ก็เกิดขึ้นแบบที่ผู้ประกอบการไม่ทันตั้งรับ ได้แต่นั่งมองตากันปริบๆ กับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวไทยในวันนี้

    "ร้านกาแฟ คนเยอะ ขายดี เจ้าของหน้าบึ้ง พูดจาไม่ดี ก็ไปเขียนด่ากันในเว็บ อย่างร้าน All About Coffee นี่โดนประจำ แต่ก็กลายเป็นว่า คนยิ่งต้องมานั่งกิน เพื่อจะมาดูว่าเจ้าของมันหน้าหงิกจริงหรือเปล่า

    ผมนั่งขายซีดีอยู่ ก็มาถามว่าร้านมิตรไทยไปทางไหนคะ ผมแทบจะตอบไปว่า เลี้ยวซ้ายไปอีกสองกิโล ทั้งๆ ที่แค่เงยหน้าขึ้น ก็จะเห็นว่ามันอยู่ถัดไปแค่สิบเมตรเอง นี่คือ นิสัย ไม่ผจญภัย แล้วยังมีกฎเกณฑ์บ้าๆ บอๆ อย่าง 10สิ่งที่ต้องทำ เขียนโปสการ์ดร้านนี้, กินกาแฟร้านนี้, ถ่ายรูปที่นี่นะ ... แล้วคนก็ตามกันไป" ต้นเล่า



    [​IMG]

    [​IMG]


    ปายสบายๆ (ไปหรือเปล่า)

    ความนิยมในการ 'รีวิวทริป' จึงเปรียบได้กับเหรียญที่มีสองด้าน แม้ว่าจะเปี่ยมด้วยประโยชน์ แต่ในทางกลับกัน ก็สร้างนิสัยเที่ยวตามรอยกันไปในแบบเดิมๆ กินข้าวร้านเหมือนๆ กัน ไปเที่ยวที่เดียวกัน แล้วยังต้องไปถ่ายรูปมุมเดียวๆ กันอีกด้วย

    ไม่ว่าจะเป็น สะพานประวัติศาสตร์, ร้านกาแฟ คอฟฟี่อินเลิฟ บ้านปายฟ้าปายฝัน, แยกปายหนาว, ร้านมิตรไทย, ทุ่งนาเหลืองอร่าม, บรรยากาศริมน้ำปาย แม้แต่ภาพกำแพงที่เต็มไปด้วยโปสเตอร์หลากสี จนถึงรถเมล์หวานเย็นที่วิ่งรับ-ส่งนักท่องเที่ยวระหว่างเชียงใหม่-ปาย ก็ยังถูกจัดอยู่ในลิสต์ 'มุมบังคับ' ที่จะต้องเก็บภาพกลับมา ... อาการบ้าถ่ายรูป จึงเกิดขึ้น

    "คนไทยบ้าถ่ายรูปมากกกก (เน้นเสียง) แล้วก็ไม่มีมารยาทในการถ่ายภาพ ถ่ายมันทุกมุม จนเจ้าของร้านในเมืองปาย มีความรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นสวนสัตว์ เดินเข้ามาในร้าน ของก็ไม่ซื้อ คุยก็ไม่คุย ถามซักคำมั้ยว่าถ่ายรูปได้หรือเปล่า ก็ไม่ถาม มาถึงถ่ายๆๆ บุกเข้ามาในร้าน ถ่ายตามมุมโน้นมุมนี้ เสร็จแล้วก็ไป

    .... คนที่นั่งอยู่ข้างใน ก็รู้สึกว่าเฮ้ย นี่เราอยู่ในตู้ปลาหรือเปล่า" ต้นเล่าถึงเสียงบ่นจากเพื่อนๆ พี่ๆ ที่ได้รับฟังมา สิ่งที่ "เหมียว" เจ้าของร้านอาหารเหมียวฟู้ดเจอก็แทบไม่ต่างกัน เพียงแค่สาวๆ กลุ่มหนึ่งได้รู้ว่า พระเอกหนุ่มสุดฮ็อต อนันดา เคยมานั่งทานอาหารที่ร้านนี้ ก็เฮโลกันมาถ่ายรูป กับ โต๊ะ ตัวที่อนันดา เคยนั่ง กันยกใหญ่ ...และเช่นเคย คือ เมื่อถ่ายภาพเสร็จ ก็เดินขบวนออกจากร้านไป ไม่มีแม้แต่คำขอบคุณ!

    มุมสะท้อนของคนทำมาหากินที่แม้จะดูเป็นเรื่องเล็ก แต่ลองนึกภาพคนที่ต้องเจอกับสภาพเช่นนี้อยู่บ่อยครั้ง ก็น่าเห็นใจอยู่ไม่น้อย ครั้นจะติดป้ายห้ามถ่ายรูป ก็ดูจะเป็นการใจแคบ และ อาจทำให้เสียบรรยากาศ ความเป็นเมืองอันอบอุ่นของปายไป

    ... ตามมุมมองของคนทั้ง 4 คนนั้น ปริมาณ ของนักท่องเที่ยวที่มหาศาลไม่ใช่ประเด็นปัญหา หากแต่ คุณภาพ ของนักท่องเที่ยวต่างหาก ที่ถึงเวลาต้องถกกันอย่างจริงจังแล้วว่า วิถีการท่องเที่ยวแบบสไตล์ ไทยๆ ที่ว่ากันว่า สบายๆ คือไทยแท้ นั้น กำลังมากเกินคำว่า สบาย ไปแล้วหรือไม่ ตอบว่าอย่างไร ไม่ต้องใส่ซองติดแสตมป์ส่งไปถึงปาย แค่ตอบตัวเองให้ได้ก็พอ



    [​IMG]


    นายอำเภอขอบ่น

    หากว่านึกภาพไม่ออก ว่าบรรยากาศ "ปายแตก" ดังเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมานั้นเป็นอย่างไร นิเวศน์ พูลสวัสดิ์ นายอำเภอเมืองปาย มีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่แห่กันมาเที่ยวเมืองเล็กๆ แห่งนี้มาฝาก

    "จากปีก่อนหน้าโน้น เราเคยต้อนรับนักท่องเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่ราว 2 หมื่นเศษ เราก็ว่ามาก แล้วก็เป็นตัวเลขที่น่าพอใจ แต่ปีล่าสุด ปาเข้าไปถึงแสนกว่าคน ถ้าคำนวณแล้ว เท่ากับว่าจำนวนมันเพิ่มขึ้น 500 เปอร์เซ็นต์ ทั้งๆ ที่ผ่านไปแค่ปีเดียว ก็เป็นเรื่องที่น่าตกใจไม่น้อย" ใครจะเชื่อว่าเมืองเล็กๆ อย่างปาย ซึ่งมีจำนวนประชากรอาศัยอยู่เพียง 3 หมื่นคนนั้น ต้องรองรับนักท่องเที่ยวมหาศาลถึงกว่าแสนคน จนขนาดที่นายอำเภอท่านนี้ เปรียบเทียบแบบติดตลกว่าไม่ต่างอะไรกับการ "ยกน้ำหนัก"

    "เวลานักท่องเที่ยวมาทีเยอะๆ มันเหมือนว่าเราเป็นนักยกน้ำหนักเลยนะ น้ำหนักตัวแค่ 40 กว่ากิโล แต่ต้องแบกน้ำหนักเป็นร้อยกิโล" นายอำเภอ เล่าแบบขำๆ แต่นายอำเภอนิเวศน์ ก็แอบบ่นน้อยใจรัฐบาลด้วยว่า ทั้งๆ ที่เมืองเล็กจิ๋วแห่งนี้สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศหลายพันล้านบาท แต่งบประมาณที่ทางรัฐบาลจัดสรรลงมาให้กลับเล็กน้อยเสียจนไม่สามารถนำมาใช้จ่ายเพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นได้ ปัญหา 2 เรื่องหลักๆ ที่นายอำเภอเป็นห่วง คือ เรื่องการจัดการขยะ และ น้ำ ซึ่งขณะนี้ส่วนท้องถิ่น บริหารจัดการเองไปตามประสาชาวบ้าน

    "วันนี้เราเจอปัญหาเรื่องการกำจัดขยะที่มากจนเกินกำลังที่เทศบาลจะจัดการเองได้ นอกจากนี้ ก็มีเรื่องซัพพลายน้ำ ซึ่งเราอยากให้การประปาส่วนภูมิภาค เข้ามาจัดการแทนเทศบาล เพราะตอนนี้ระบบประปาที่เทศบาลทำอยู่ ทั้งประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ และงบประมาณ ยังไม่ดีพอที่จะรองรับนักท่องเที่ยวได้" นายอำเภอกล่าวฝากทิ้งท้ายไปถึงคนใหญ่คนโตในเมือง



    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
    [​IMG]
    โดย : ปานใจ ปิ่นจินดา

    http://hilight.kapook.com/view/34435
     
  2. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    ธรรมดาที่ไหนคนเยอะเรื่องก็เยอะเป็นธรรมดา แล้วต่างคนต่างนิสัย พวกที่รักการเที่ยวแบบอนุรักษ์ก็มี พวกที่เที่ยวแบบทำลายธรรมชาติก็เยอะ ยิ่งที่ไหนดังๆ ความหายนะก็มักจะเข้ามาใกล้ทุกทีแหล่ะ ขอให้ปายกลับไปเป็นเมืองเล็กๆ ที่อบอุ่นเหมือนเดิมนะคะ
     
  3. manny_tong

    manny_tong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    514
    ค่าพลัง:
    +543
    อยากไปปาย
     
  4. LiFeHouSe

    LiFeHouSe Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    222
    ค่าพลัง:
    +80
    ทำ ปาย ได้ ก๋วยเตี๋ยวชามละ 70
    กรรม มากคนมากความ
     
  5. มรรค

    มรรค Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +44
    อยากไปปาย
     
  6. nobit

    nobit สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +0
    สวยมากครับๆ ครัข;aa13
     

แชร์หน้านี้

Loading...