อยากทราบวิธีรักษาอาการแบบนี้ค่ะ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย aomam', 8 เมษายน 2009.

  1. aomam'

    aomam' Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +41
    คือเราอยากได้คำแนะนำทางศาสนาน่ะค่ะมันเคยทำให้เราทุกข์ได้มากๆเลยค่ะ
    เป็นคนขาดความมั่นใจในตนเอง น่ะค่ะชอบเป็นตอนที่อยู่ท่ามกลางวงล้อมของคนเยอะๆ

    แล้วจะรู้สึกว่าใจเต้นตุบๆๆๆ เร็วๆเหมือนกับกำลังกลัวอะไรบางอย่าง ทำให้เรารำคาญค่ะ
    มันทำให้เราไม่มีสมาธิเลยมัวแต่คิดหมกมุ่นเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่นออกแนวกลุ้มน่ะค่ะ สนใจแต่คนอื่น ไม่สนใจตนเอง ขาดสติส่งผลให้การเรียน แย่ไปด้วย ยิ่งบางวันกลับบ้านมาก็กอดแม่แล้วขึ้นไปหมกอยู่บนเตียง คือมันรู้สึกตอนเหมือนไม่อยากรับตัวเองน่ะค่ะ คิดสิ่งที่ร้ายๆ เอาผู้อื่นมาเปรียบเทียบ คือมองเค้าเฉพาะบางด้าน เลยทำให้เราอารมณ์ไม่คงที่
    ความรู้สึกกลัว คนอื่นจะมองเราอย่างไร เราจะดีแค่ไหน
    คือเราอยากเป็นตัวของตัวเองค่ะ เวลาอยู่กับบ้าน กับครอบครัวแล้ว เหมือนคนละคนกันเลยค่ะ (หมายถึงตอนปิดเทอม) ใจสบาย ความจำดีขึ้น คุยกับตัวเองบ่อย มีความสุขกว่าค่ะ คิดว่าเราจะพยายามเชื่อมั่นในตนเอง ต่อจากนี้เราจะไม่กลัวอะไรแล้ว จะทำตัวเหมือนอยู่กับบ้าน
    แต่จู่ๆ ใจก็เต้นราวกับว่าอยู่ในเหตุการณ์นั้นอีกแล้วค่ะ มันทำให้เราไม่มีสติ แล้วออกกลัวๆทั้งที่รอบข้างไม่มีอะไรเลยค่ะ ก่อนนี้มีความสุขด้วยซ้ำ ทำให้เราคิดว่า ใจเราเองที่เป็นแบบนั้น เห็นคนอื่นสำคัญกว่าตัวเอง
    เราไม่อยากไปอยู่กับความทุกข์นั้นอีกแล้วค่ะ อยากมองทุกคนเป็นเพื่อน จริงใจต่อกัน.. และเราก็เป็นสุขจากการพึ่งพาตัวเอง เป็นตัวของตัวเอง มีความสุขกว่าเยอะค่ะ ขอคำแนะนำแก่คนเขลาผู้นี้ด้วยเถอะค่ะ
    **รีบร้อนพิมพ์ไปหน่อย ถ้ามีบางคำขาดๆเกินๆไป ก็ยกโทษให้กันหน่อยนะคะ
     
  2. ศิษย์ธรรมเทพ

    ศิษย์ธรรมเทพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +786
    การทำสมาธินั้นมีหลายวิธี หากเรากำลังมีจิตที่มีกังวลมากๆ ยังไม่สงบระงับ ให้นำจิตด้วยการสวดมนต์ภาวนา ด้วยบทสวดใดก็ได้สวดปรับพื้น กระทั่งจิตนั้นเริ่มที่จะสงบระงับคือไม่วอกแวกสอดส่าย แล้วหากอยากเจริญสมาธิภาวนาค่อยกระทำ
     
  3. aomam'

    aomam' Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +41
    ขอบคุณ คุณ ศิษย์ธรรมเทพ มากๆค่ะเดี๋ยวจะลองเอาไปปฏิบัติดูนะคะ

    ช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมของเราค่ะ แน่นอนเลยว่ามีความสุขมากมายเลยแต่จิตของเรา ใจของเราสิคะ ห้ามไม่ได้เลย ตอนนี้ระลึกอยู่เสมอว่ามันใกล้จะถึงวันเปิดเทอมแล้ว โอเคแต่เหลือตั้งเดือนแน่ะ สิ่งที่เราควรจะทำคือ ฝึกใจ มีความสุขกับปัจจุบันไม่ใช่เหรอ แต่สิ่งที่เราเป็นไม่ใช่แบบนั้นเลยค่ะ มันจะระแวงตลอดว่าเดี๋ยวก็เปิดเทอมแล้ว ความทรงจำร้ายๆตอนเราไม่มีความมั่นใจในตนเองมันผุดขึ้นมาค่ะ (เหมือนกับจะฝังอยู่ลึกเหมือนกัน)

    อย่างเมื่อวานนี้ค่ะ ที่มีอาการใจเต้นระรัวอารมณ์ขุ่นหมอง คิดร้ายต่อตนเอง ทั้งที่เราไม่มีสิ่งเร้าจากภายนอกเลย เราจึงพยายามข่มใจ กำหนดลมหายใจ แต่มันก็ไม่หายก่อนนอนเรานั่งสมาธิ ซึ่งไม่ได้ผลเลย เราจึงล้มตัวลงนอน กว่าจะนอนหลับก็นานค่ะ

    คิดว่าอาการอย่างนี้คงจะเกิดจาก จิตใจเราไม่เข้มแข็งพอ ปรุงแต่งจินตนาการขึ้นมาเองจากความหลังขาดสติ จนเกิดความรู้สึกอยากร้องไห้ค่ะ (แต่ร้องไม่ออก)

    เมื่อเราหายจากความเศร้าที่ไม่มีเหตุจากภายนอก เราก็จะเป็นสุขแล้วสงสัยค่ะ ว่าที่เราทุกข์เราทุกข์ไปเพื่ออะไร ไม่เข้าใจความรู้สึกในตอนนั้นเลยค่ะ แต่ตอนนี้มันกำเริบอีกแล้ว เราก็เกิดความไม่เข้าใจในความสุขเมื่อตะกี้นี้ค่ะ ว่าทำยังไงหนอถึงจะมีความสุข ทำยังไงใจถึงไม่ทรมาณตนเองนะ

    เราคงเป็นคนมีกรรมหนักน่ะค่ะ ไม่เคยนั่งสมาธิได้เกิน ขนิกสมาธิเลย อยากจะลองฝึกสติสัมปะชัญญะดูค่ะ อยากเฝ้าดูใจตนเอง ไม่ใช่เฝ้าดูความสุขขอคนอื่นเพื่อเอามาเหยียดหยามตนเองค่ะ เราอยากใช้เวลาช่วงปิดเทอมให้คุ้มค่าจริงๆนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลากับครอบครัว ไปเที่ยวด้วยกัน พัฒนาความมั่นใจในตนเอง แต่เราต้านอาการนี้ลำบากค่ะ

    ไม่ว่าผู้ที่เข้ามาอ่านรับฟังเรื่องราวทุกข์ใจของเรา ผู้ที่ให้คำแนะนำ ขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่พวกท่านทั้งหลายค่ะ
     
  4. ศิษย์ธรรมเทพ

    ศิษย์ธรรมเทพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +786
    สาธุ ขอให้พุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองนำพาจิตให้เบิกบานและเข้าถึงหลักธรรม
    เจริญธรรม
     
  5. pim_jai

    pim_jai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    305
    ค่าพลัง:
    +568
    พิมพ์คิดว่า ไปพบจิตแพทย์จะดีกว่านะคะ อาการอย่างที่คุณ aomam เล่ามานั้น
    รักษาได้ค่ะ มีคนรักษาหายมาแล้วค่ะ ก็ลองเล่าอาการให้หมอฟังนะคะ
    ส่วนคุณ aomam เองช่วงนี้ก็ทำกรรมฐาน(สมาธิ)นะคะ อย่างน้อยให้ได้วันละ1 ชม.
    แต่ถ้าทำทั้งวันได้ก็ยิ่งดีค่ะ กรรมฐานเท่านั้นที่จะทำให้หายขาดจากอาการที่เป็นอยู่
    ลองฝึกควบคุมลมหายใจเวลาที่รู้สึกตื่นกลัวนะคะ เวลาใจเต้นแรง
    รู้สึกกลัวก็ให้สูดลมหายใจเข้าออกช้าๆลึกๆ อย่าหายใจเร็วเพราะจะไปเร่งให้อาการกำเริบค่ะ
    เวลากลัวอะไรก็ต้องค่อยๆสัมผัสสิ่งนั้นทีละนิดทีละนิด แล้วอาการกลัวจะค่อยๆดีขึ้นค่ะ
    ช่วงนี้ลองฝึกอานาปานสติ(ดูลมหายใจเข้าออก)นะคะ กรรมฐานจะช่วยให้อาการดีขึ้น
    ในระยะยาวและหายขาดได้ค่ะ ^^
     
  6. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    ผมแนะนำให้ฟังสัจจะธรรม โดย หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
    วัดร่มโพธิธรรม บ้านหลัก 160 กิ่งอำเภอหนองหิน อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย

    นอกเหนือจิต นอกเหนือชีวิต
    นอกเหนือพฤติกรรม
    ตัดภพ ตัดชาต

    ที่มา http://www.rombodhidharma.com/Pg-04-Dharma.htm

    ศึกษาเพิ่มเติมหรือขอรับซีดีได้ที่กระทู้ในรายเซ็นต์ผม

    การฟังสัจจะธรรมที่ตรงจริง ๆ จะสามารถช่วยในส่วนการกลั่นกรองกรรมอนุสัยได้
    ส่วนกรรมกับสรรพสิ่งต้องใช้การขอขมากรรม ขออโหสิกรรม

    ก่อนการฟังสัจจะธรรมให้ขอขมา ขออโหสิกรรมต่อองค์คุณเบื้องสูง คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ก่อนเสมอนะครับ

    ฟังธรรมเสร็จก็กรวดน้ำอุทิศบารมีด้วยก็จะดีมากครับ
     
  7. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,309
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    อ่านธรรมะให้ได้ทุกวันครับ วันละนิดก็ได้เเต่ขอให้อ่าน สวดมนต์ นั่งสมาธิ เเผ่เมตตาให้เ้จ้ากรรมนายเวรเเละทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ เดี๋ยวเราจะเิกิดเมตตาที่เเท้จริงในใจได้ครับ ไม่ช้าก็เร็วจะเกิดกับคุณได้เเน่นอน อ้อ ก่อนนอนไปอธิษฐานต่อพระพุทธรูปในบ้านด้วยจะดีมากครับ
     
  8. aomam'

    aomam' Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +41
    เมื่อวานอาการเบาลง พยายามสู้หายใจลึกๆ แต่มันจะเริ่มใจเต้นแรงเป็นขณะๆเราก็ค่อยๆแก้ลมหายใจไปค่ะ แล้วก็ลองนั่งสมาธิเพียงไม่ถึงครึ่งชั่วโมง.. รู้สึกสงบกว่าครั้งไหนๆที่เคยทำ
    จะฝึกกรรมฐานทุกวันเลยค่ะ ตอนนี้ไม่เป็นไรแล้ว เรายังมีหวังที่จะหายถาวรเสมอนะคะ
    ตอนนี้กะว่าค่อยๆแก้ไขด้วยตัวเองก่อน คนในครอบครัวเราก็ไม่ทราบว่าเค้าจะรู้รึไม่
    แต่เราก็ได้เติมกำลังใจจากพวกเขาตลอด

    อ้อแล้วเราก็มีช่วงเวลาหนึ่งเคยสงสัยตัวเองว่ากำลังเป็นโรคซึมเศร้ารึปล่าว
    อยากทราบเพิ่มเติมว่า การขาดความมั่นใจในตนเองเกิดจากโรคซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้า เกิดจากการไม่มั่นใจในตนเอง

    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำของทุกท่านมากๆค่ะ
     
  9. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    ผมเคยเป็นครับอาการแบบนี้ ถ้าไม่ได้มาฝึกสมาธิจนจิตเราละเอียดจริงๆ จะไม่มีทางรู้เลยว่า

    อาการที่เป็นแบบนี้จะบอกว่า คุณรับอาการของคนอื่นๆ ได้ สังเกตุดูว่า เวลาอยู่ที่บ้าน หรือ

    อยู่คนเดียวคุณจะสบายใจ ไม่ทุกข์ ไม่คิดมากให้วุ่นวายใจ แต่พอคุณได้อยู่กับคน จำนวนมากขึ้น

    ความคิดคุณจะสับสนวุ่นวาย เดี๋ยวก็คิดดี เดี๋ยวก็คิดไม่ดี หาความสงบไม่ค่อยได้


    วิธีแก้นะครับ ให้ฝึกทำสมาธิ จับลมสบาย แล้วรู้จักการคลายอารมณ์จิตของเรา เหมือนเวลาแผ่เมตตา

    เวลาเรารับคลื่นจิตหรืออารมณ์ของคนอื่นได้ แต่เราไม่รู้วิธีคลาย มันจะเหมือนเรารับอะไรต่างๆ นาๆ

    ทั้งดีและไม่ดีมาไว้ที่เรา แล้วไม่ยอมปล่อย ไม่ยอมทิ้ง แบกไว้ทั้งอย่างนั้น เหตุเพราะเราไม่รู้นั่นเอง
     
  10. pim_jai

    pim_jai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    305
    ค่าพลัง:
    +568
    เท่าที่ทราบมาคนเป็นโรคซึมเศร้าจะต้องมีอารมณ์ซึมเศร้าเกือบทุกๆวันหรือทุกวันและเศร้าเกือบทั้งวัน
    คนมีอารมณ์ซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
    มีความคิดอยากฆ่าตัวตายหรือเคยฆ่าตัวตาย(ทำร้ายตนเอง),อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
    ไม่มีเรี่ยวแรงทำอะไร เหนื่อย ไม่อยากทำกิจกรรมต่างๆที่เคยทำอยู่
    (จะไม่มีอารมณ์พวกร่าเริง ครึกครื้น สนุกสนาน สลับกับซึมเศร้า)ค่ะ
    เท่าที่ทราบอาการมาคิดว่ายังไม่ใช่โรคซึมเศร้านะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2009
  11. pim_jai

    pim_jai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    305
    ค่าพลัง:
    +568
  12. pim_jai

    pim_jai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    305
    ค่าพลัง:
    +568
    ลองวิธีนี้ดูมั้ยคะ

    อานาปานานุสสติกรรมฐาน

    อานาปานานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงลมหายใจเป็นอารมณ์ กรรมฐานกองนี้เป็นกรรมฐานใหญ่คลุมกรรมฐานกองอื่น ๆ เสียสิ้น เพราะจะปฏิบัติกรรมฐาน ๔๐ กองนี้ กองใดกองหนึ่งก็ตาม จะต้องกำหนดลมหายใจเสียก่อน หรือมิฉะนั้นก็ต้องกำหนดลมหายใจร่วมไปพร้อมๆ กับกำหนดพิจารณากรรมฐานกองนั้นๆ จึงจะได้ผล หากท่านผู้ใดเจริญกรรมฐานกองใดก็ตาม ถ้าละเว้นการกำหนดเสียแล้ว กรรมฐานที่ท่านเจริญ จะไม่ได้ผลรวดเร็วสมความมุ่งหมาย อานาปานุสสตินี้ มีผลถึงฌาน ๔ สำหรับท่านที่มีบารมีเป็นพุทธสาวก ถ้าท่านที่มีบารมีใน วิสัยพุทธภูมิ คือท่านที่เป็นพระโพธิสัตว์คือ ท่านที่ปรารถนาพุทธภูมิ ท่านผู้นั้นจะทรงฌานในอานาปาน์นี้ถึงฌานที่ ๕

    อานาปานุสสติระงับกายสังขาร
    เมื่อมีทุกขเวทนาเกิดขึ้นทางกาย ท่านที่ได้ฌานในอานาปานุสสติ เข้าฌานในอานาปาน์
    จนถึงจตุตถฌานแล้ว ทุกขเวทนานั้นจะระงับไปทันที ทั้งนี้มิใช่หมายความว่า เวทนาหายไป แต่เป็นเพราะเมื่อเข้าถึงฌาน ๔ ในอานาปาน์นี้แล้ว จิตจะแยกออกจากขันธ์ ๕ ไม่รับรู้ทุกขเวทนาของขันธ์ทันที ท่านที่ได้ฌานในอานาปานุสสตินี้ ท่านจะไม่ได้รับทุกขเวทนาอย่างสาหัส เมื่อทุกข์ทางร่างกายเกิดขึ้น เพราะท่านหนีทุกข์ได้ด้วยการเข้าฌาน แยกจิตกับขันธ์ ๕ ออกจากกันเป็นกรรมฐานที่ให้ผลสูงมาก

    รู้เวลาตายได้แน่นอน
    ท่านที่ได้ฌานอานาปานุสสตินี้ สามารถรู้กำหนดเวลาตายของท่านได้ตรงตามความจริง
    เสมอ โดยกำหนดล่วงหน้าได้เป็นเวลาแรมปี เมื่อจะตาย ท่านก็สามารถบอกได้ว่า เวลาเท่านั้นเท่านี้ท่านจะตาย และตายด้วยอาการอย่างไร เพราะโรคอะไร

    ช่วยกรรมฐานกองอื่น
    ท่านที่ได้ฌาน ๔ ในอานาปาน์นี้แล้ว จะปฏิบัติในกรรมฐานกองอื่น ๆ อีก ๓๙ กองนั้น
    ท่านเข้าฌานในอานาปานน์ก่อน แล้วถอยหลังจิตมาดำรงอยู่แค่ อุปจารสมาธิ แล้วกำหนด
    กรรมฐานกองนั้นๆ ท่านจะเข้าถึงจุดสูงสุดในกรรมฐานกองนั้น ๆ ได้ภายใน ๓ วัน เป็นอย่าง
    ช้าส่วนมากได้ถึงจุดสูงสุดของกรรมฐานกองนั้น ๆ ภายในที่นั่งเดียวคือคราวเดียวเท่านั้นเอง

    จุดจบของอานาปานุสสติ
    จุดจบของอานาปานุสสตินี้ คือ ฌานที่ ๔ หรือที่ ๕ ก็ได้แก่การกำหนดลมหายใจจน
    ไม่ปรากฏลมหายใจ ที่ท่านเรียกกันว่า ลมหายใจขาด แต่ความจริง ลมหายใจไม่ขาดหาย
    ไปไหนเพียงแต่ว่ากายกับจิตแยกกันเด็ดขาด จิตไม่รับทราบอาการทางกายเท่านั้น เมื่อจิต
    ไม่รับรู้เสียแล้ว การหายใจ หรือการเคลื่อนไหวใด ๆ ทางกาย จึงไม่ปรากฏแก่จิตตามความ
    นิยม ท่านเรียกว่า ลมขาด

    วิธีปฏิบัติในอานาปานุสสติ
    การปฏิบัติในอานาปานุสสตินี้ ไม่มีอะไรยุ่งยากมากนัก เพราะเป็นกรรมฐานที่ไม่มีในองค์
    ภาวนา และไม่มีพิธีรีตองอะไรมาก เพียงแต่คอยกำหนดลมหายใจเข้าออกตามฐานที่กำหนดไว้ให้รู้อยู่หรือครบถ้วนเท่านั้น เวลาหายใจเข้าก็รู้ว่าหายใจเข้า หายใจออกก็รู้ว่าหายใจออกพร้อมกับสังเกตลมกระทบฐาน ๓ ฐาน ดังจะกล่าวต่อไปให้ทราบ

    ฐานที่กำหนดรู้ของลม
    ฐานกำหนดรู้ที่ลมเดินผ่านมี ๓ ฐาน คือ

    ก. ฐานที่ ๑ ท่านให้กำหนดที่ ริมฝีปาก และที่จมูก เมื่อหายใจเข้า ลมจะกระทบที่
    จมูก เมื่อหายใจออกลมจะกระทบที่ริมฝีปาก

    ข. ฐานที่ ๒ หน้าอก เมื่อลมผ่านเข้าหรือผ่านออกก็ตาม ลมจะต้องกระทบที่หน้าอก
    หมายเอาภายใน ไม่ใช่หน้าอกภายนอก ลมกระทบทั้งลมเข้าและลมออกเสมอ

    ค. ศูนย์ที่ท้องเหนือสะดือนิดหน่อย ลมหายใจเข้าหรือออกก็ตาม จะต้องกระทบที่
    ท้องเสมอ ทุกครั้ง

    ๓ ฐานนี้มีความสำคัญมาก เป็นเครื่องวัดอารมณ์ของจิต เพราะถ้าจิตกำหนดจับ
    ฐานใดฐานหนึ่งไม่ครบ ๓ ฐาน แสดงว่าอารมณ์ของจิตระงับอกุศลที่เรียกว่านิวรณ์ ๕ ได้ แต่อารมณ์หยาบ อารมณ์อกุศลที่เป็นอารมณ์กลางและละเอียดยังระงับไม่ได้ สมาธิของท่านผู้นั้นอย่างสูงก็ได้เพียง ขณิกสมาธิละเอียดเท่านั้น ยังไม่เข้าถึงอุปจารสมาธิ ยังไกลต่อฌานที่ ๑ มาก
    ถ้าท่านผู้ปฏิบัติ กำหนดรู้ลมผ่านได้ ๒ ฐาน แสดงว่าอารมณ์ของท่านผู้นั้นดับอกุศล คือนิวรณ์ได้ในอารมณ์ปานกลาง ส่วนอารมณ์นิวรณ์ที่ละเอียดอันเป็นอนุสัย คือกำลังต่ำยังระงับไม่ได้ สมาธิของท่านผู้นั้นอย่างสูงก็แค่อุปจารสมาธิ จวนจะเข้าถึงปฐมฌานแล้ว
    ถ้าผู้ใดกำหนดรู้ ลมผ่านกระทบได้ทั้ง ๓ ฐาน ท่านว่าท่านผู้นั้นระงับนิวรณ์ละเอียดได้แล้ว สมาธิเข้าถึงปฐมฌาน ส่วนฌานต่าง ๆ อีกสามคือ ฌานที่ ๑, ๒, ๓, ๔ อยากทราบโปรดพลิกไปดูในข้อที่ว่าด้วยฌาน จะเข้าใจชัด

    นับลม
    การฝึกในอานาปาน์ จะว่าง่ายนั้น ก็ดูจะเป็นการยกเมฆเกินไป เพราะอานาปาน์
    เป็นกรรมฐานใหญ่ที่ครอบงำกรรมฐานทั้งหมด จะง่ายตามคิดนั้นคงเป็นไปไม่ได้แน่ ท่านที่
    ไม่เคยผ่าน คงคิดว่าไม่น่ายากเลย เรื่องคิดแล้วไม่ทำ นำเอาไปพูดนั้น ที่ว่าไม่ยากก็ไม่เถียงเพราะพวกนี้มีความดีอยู่แค่ริมฝีปาก ส่วนอื่นทั้งตัวไม่มีอะไรดีเลย เลวเสีย ๙๙.๙๙ มีดีนิดเดียว ท่านจะคุยโม้อย่างไรก็ช่างท่านเถิด เรามาเอาดีทางปฏิบัติกันดีกว่า
    การกำหนดลมเป็นของยาก เพราะจิตของเราเคยท่องเที่ยวมานาน ตามใจเสียจนเคย
    จะมาบังคับกันปุบปับให้อยู่นั้นเมินเสียเถอะ ที่จิตจะยอมหมอบราบคาบแก้ว เมื่อระวังอยู่แก
    ก็ทำท่าเหมือนจะยอมจำนน แต่พอเผลอเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น แกก็ออกแน็บไปเหนือไปใต้ตามความต้องการของแก กว่าเจ้าของจะรู้ก็ไปไกลแล้ว อารมณ์ของจิตเป็นอย่างนี้ เมื่อทำไปถ้าเอาไม่อยู่ท่านให้ทำดังต่อไปนี้

    ฝึกทีละน้อย
    ท่านสอนให้นับลมหายใจเข้า หายใจออก เข้าครั้ง ออกครั้ง นับเป็นหนึ่ง ท่านให้กำหนด
    นับดังต่อไปนี้
    นับ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ เอาแค่เข้าออก ๕ คู่ นับไปและกำหนดรู้ฐานทั้ง ๓ ไปด้วย กำหนด
    ใจไว้ว่า เราจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าและออกเพียง ๔ คู่ พร้อมด้วยรู้ฐานลมทั้ง ๓ ฐาน แล้ว
    ก็เริ่มกำหนดฐานและนับลม พอครบ ๕ คู่ ถ้าอารมณ์ยังสบาย ก็นับไป ๑ ถึง ๕ เอาแค่นั้น พอใจเริ่มพล่าน ถ้าเห็นท่าจะคลุมไม่ไหว ก็เลิกเสียหาความเพลิดเพลินตามความพอใจ เมื่ออารมณ์ดีแล้วกลับมานับกันใหม่ ไม่ต้องภาวนา เอากันแค่รู้เป็นพอ เมื่อนับเพียง ๕ จนอารมณ์ชินไม่หนีไม่ส่ายแล้ว ก็ค่อยเลื่อนไปเป็น ๖ คู่ คือ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖ ถ้า ๖ คู่ สบายดีไม่มีอะไรรบกวนแล้วก็ค่อยเลื่อนไปเป็น ๗ คู่ ๘ คู่ ๙ คู่ ๑๐ คู่ จนกว่าอารมณ์จิตจะทรงเป็นฌานได้นานตามสมควร

    ผ่อนสั้นผ่อนยาว
    การเจริญอานาปานุสสตินี้ มีอาการสำคัญของนักปฏิบัติใหม่ ๆ อย่างหนึ่ง คืออารมณ์ซ่าน
    เวลาที่จิตใจไม่สงบจริงมีอยู่ พอเริ่มต้น อารมณ์ฟุ้งซ่านก็เริ่มเล่นงานทันที บางรายวันนี้ทำได้เรียบร้อย อารมณ์สงัดเป็นพิเศษ จิตสงัดผ่องใส อารมณ์ปลอดโปร่ง กายเบา อารมณ์อิ่มเอิบ พอรุ่งขึ้นอีกวัน คิดว่าจะดีกว่าวันแรก หรือเอาเพียงสม่ำเสมอแต่กลับผิดหวัง เพราะแทนที่จะสงัดเงียบ กลับฟุ้งซ่านจนระงับไม่อยู่ ก็ให้พยายามระงับ และนับ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕,๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐ ถ้านับก็ไม่เอาเรื่องด้วย ยิ่งฟุ้งใหญ่ ท่านตรัสสอนไว้ในบทอานาปานุสสติว่า เมื่อเห็นว่าเอาไว้ไม่ได้จริง ๆ ท่านให้ปล่อยอารมณ์ แต่อย่าปล่อยเลย ให้คอยระวังไว้ด้วย เมื่อมันอยากคิด มันจะคิดอะไรก็ปล่อยให้มันคิดไปตามสบาย ไม่นานนักอย่างมากไม่เกิน๒๐ นาที อารมณ์ซ่านก็จะสงบระงับกลับเข้าสู่อารมณ์สมาธิ เมื่อเห็นว่าอารมณ์หายซ่านแล้วให้เริ่มกำหนดลมตามแบบ ๓ ฐานทันที ตอนนี้ปรากฏว่า อารมณ์สงัดเป็นอันดี มีอารมณ์เป็นฌานแจ่มใส อาการอย่างนี้มีแก่นักปฏิบัติอานาปานุสสติเป็นปกติโปรดคอยระลึกไว้และปฏิบัติตามนี้จะได้ผลดี

    อานาปาน์พระพุทธเจ้าทรงเป็นปกติ
    เพื่อความอยู่เป็นสุขในสมาบัติ ไม่มีสมาบัติใดที่จะอยู่เป็นสุขเท่า อานาปานานุสสติ
    เพราะเป็นสมาบัติที่ระงับกายสังขาร คือ ดับเวทนาได้ดีกว่าสมาบัติอื่น แม้จะเป็นสมาบัติ
    ต้นก็ตาม พระอรหันต์ทุกองค์ แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์ก็ทรงอยู่เป็นสุข
    ด้วยอานาปานานุสสติ ดังพระปรารภของพระองค์ที่ทรงปรารภแด่พระอานนท์ว่า อานันทะ
    ดูก่อนอานนท์ ตถาคตก็มากไปด้วยอานาปานุสสติเป็นปกติประจำวัน เพราะ
    อานาปานานุสสติระงับกายสังขารให้บรรเทาจากทุกขเวทนาได้ดีมาก ท่านที่ได้
    อานาปานานุสสติแล้วจงฝึกฝนให้ชำนาญและคล่องแคล่วฉับไวในการเข้าฌานที่ ๔ เพื่อ
    ผลในการระงับทุกขเวทนาอย่างยิ่งและเพื่อผลในการช่วยฝึกฌานในกองอื่นอีกอย่างหนึ่ง

    อานาปานานุสสติเป็นบาทของวิปัสสนาญาณ
    ผลกำไรใหญ่อีกอย่างหนึ่งของอานาปานานุสสติก็คือ เอาอานาปานานุสสติเป็นบาทของ
    วิปัสสนาญาณ เพราะฌานที่ ๔ ของอานาปาน์ เป็นฌานระงับกายสังขาร ดับทุกขเวทนาได้ดีเมื่อจะเจริญวิปัสสนาญาณต่อไป ท่านให้เข้าฌาน ๔ พอเป็นที่สบายแล้ว ถอยสมาธิมาอยู่ที่อุปจารสมาธิ แล้วใคร่ครวญพิจารณาว่า ทุกขเวทนาที่เกิดแก่สังขาร เราจะรู้ว่าเป็นทุกข์ก็เพราะจิตที่ยึดถือเอาสังขารเข้าไว้ ขณะที่เราเข้าฌาน ๔ จิตแยกจากสังขาร ทุกขเวทนาไม่ปรากฏแก่เราเลย ฉะนั้น ทุกข์ทั้งปวงที่เรารับอยู่ก็เพราะอาศัยสังขารเป็นเหตุ การยึดถือสังขารเป็นทุกข์อย่างนี้ เราจะปล่อย ไม่รับรู้เรื่องสังขารต่อไป คือไม่ต้องการสังขารอีก การเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม ก็กลับมามีสังขารอีกเมื่อหมดบุญ เราไม่ประสงค์การกลับมาเกิดอีกเทวดาหรือพรหม ยังมีปัจจัยให้มาเกิด เราไม่ต้องการ เราต้องการนิพพานเท่านั้นที่หมดปัจจัยในการเกิดเราทราบแล้ว เพราะการเข้าฌาน ๔ ที่ขาดจากปัจจัยในสังขาร เป็นสุขอย่างยิ่ง แต่ฌานที่เข้าไปสามารถจะทรงได้ตลอดกาล สิ่งที่ทรงการละทุกขเวทนาได้ตลอดกาลก็คือ การปล่อยอุปาทาน ได้แก่ไม่รับรู้รับทราบสมบัติของโลกีย์ คือตัดความใคร่ความยินดีในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และไม่เดือดร้อนเมื่อสิ้นลาภ สิ้นยศ มีคนนินทา และประสบกับความทุกข์ จัดว่าเป็นอารมณ์ขัดข้อง และเราจะปล่อยอารมณ์จากความต้องการในความรัก ความอยากได้ ความโกรธ และพยาบาทความเป็นเจ้าของทรัพย์ทั้งปวง เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเหตุของความทุกข์แล้วทำจิตให้ว่างจากอารมณ์นั้น ๆ พยายามเข้าฌานออกฌานแล้วคิดอย่างนี้เป็นปกติ จิตจะหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสได้อย่างไม่ยากเลย

    ที่มา:อานาปานุสติหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=17286
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2009
  13. pim_jai

    pim_jai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    305
    ค่าพลัง:
    +568
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2009
  14. pim_jai

    pim_jai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    305
    ค่าพลัง:
    +568
    อันนี้สำหรับอ่านเวลามีปัญหาข้องใจในการปฏิบัติค่ะ
    กรรมฐาน 40 โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    http://praruttanatri.com/v1/special/books/kmt40/
     
  15. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    ไม่แน่ใจนะครับ อาจเกิดจากสิ่งรอบข้างกระทบแล้วใจอ่อนไหวตามนะครับ
    ปกติคนเรารับความรู้สึกของคนและสิ่งต่างๆรอบข้างได้อยู่ระดับหนึ่ง
    เหมือนฟังเพลงแล้วเกิดอารมณ์คล้อยตามเพลงนะครับ
    เหมือนอยู่ในบ้านเราเคยชินกับสภาพแวดล้อมเป็นตัวของตัวเองเลยรู้สึกสบายใจ กับเราอยู่ใกล้ๆท่านที่มีจิตใจดี หรือ อยู่ใกล้กับคนที่สงบที่ฝึกสมาธิเราจะรู้สึกสงบ สบายใจตามไปด้วย
    แต่เกิดเราไปอยู่ใกล้ๆ บุคคลที่ไม่ค่อยดี หรือคนที่มีความเศร้าความหดหู่
    ก็จะเกิดระแวงไม่ปลอดภัย เกิดการคล้อยตามความเศร้าความหดหู่
    ถ้ารับมาแล้วยึดเป็นอารมณ์ต่อก็จะทำให้เราจมไปกับความหดหู่นั้นด้วยนะครับ
    ส่วนการขาดความมั่นใจในตนเองวิธีหนึ่งให้ดูคนที่เขายิ้มสู้ได้ถึงแม้เขาพิการนะครับ
    กับเวลาสนทนากับคนอื่นๆให้เริ่มหัดมองหน้ามองตาเขา ทำให้กำลังใจแข็งแรงขึ้น
    (อย่ามองตาเขาเยอะไปนะ เดี๋ยวเขาจะกลัว 55 +(ดวงตาคือหน้าต่างของจิตใจ))
    วันหนึ่งอย่ามองตาคนเยอะนะ เหมือนเราไปรับอารมณ์เขาเข้ามาทางหนึ่งเหมือนกันนะครับ อาจทำให้เหนื่อยหรือเพลียได้ง่ายๆ กลับมามองกายใจ(รู้ลมหายใจ รู้ความรู้สึกตัวเองให้บ่อยๆนะครับ)เพื่อสร้างสติความรู้สึกตัว
    เวลาเราทำอะไรสำเร็จ ก็ให้บอกกับตัวเองว่า ฉันก็ทำได้นะ ให้กำลังใจตัวเองเพิ่มด้วยนะครับ

    ความคิดไม่ดีนั้นเป็นกันทุกคน ลองอ่านกระทู้นี้ก็จะเข้าใจได้เลยครับ

    กระทู้เป็นนักกฏิบัติแต่ทำไมจิตคิดอกุศล


    สวดมนตร์ก่อนนั่ง กับแผ่เมตตาหลังออกสมาธิ ด้วยนะครับ ออกจากตรงกลางฐานของใจ(ตรงกลางตัวแนวระดับของหัวใจ) ก่อนแผ่เมตตาก็กล่าวอุทิศบุญกุศล ให้เจ้ากรรมนายเวร เทวดาประจำตัว บิดามารดา ..........................ตัวเองด้วย แล้วแผ่ความรู้สึกเมตตาจากกลางใจกว้างออกไป (จะรู้สึกเย็นๆ แผ่เมตตาบ่อยๆจะค่อยๆเพิ่มความนุ่มนวลขึ้น)
    อนุโมทนาครับ

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...