อยากทราบการจับภาพของกสิน หรือ อะไรอื่นๆ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Hippocampus, 16 มกราคม 2006.

  1. Hippocampus

    Hippocampus สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +6
    คือ ที่อ่านๆมา เค้าว่า ให้เพ่งมองจำอารมณ์ ของกสินต่างๆ แล้ว
    อยากรู้ว่า การจับภาพนั้นทำยังไง ที่ผมเคยทำ พอหลับตาภาพมันก็หายไป ลืมตา ภาพนั้น ก็อยู่ พวก อุคหนิมิตร แบบนั้นมันเปนยังไง สงสัย ว่า ภาพมันต้องติดตา ในทุกขณะอย่างนั้นเลยหรือครับ ไม่ว่าจะหลับตาหรือลืมตาเห็นชัดเจน
    ช่วยอธิบายหน่อยนะคับ แล้วต้องใช้เวลามอง ไปเรื่อย ๆ แล้วถ้า หยุดไปแล้วมามองใหม่จะได้รึป่าว หรือยังไง
    สงสัยว่า พอหลับตาแล้วจะเห็นภาพต่างๆได้อย่างงั้น หรือคับ หรือว่า จะเปนภาพในความคิด การจินตนาการ ถ้าเปนเช่นนั้นมันจะไม่เห็นแบบรู้สึกจริงๆแค่ติดอยู่ในหัว จะจินตนาการอย่างไรก็ได้อะคับ
    เลย สงสัยว่าจับภาพเค้าทำยังไง เปิดตา ปิดตา ภาพเปนยังไง ติดที่หัวหรือ ตา
     
  2. brandnew

    brandnew สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +6
    ไม่ใช่จินตนาการเอาครับ...เพ่งเเสงก็เห็นเเสงกลมๆอยู่ข้างหน้าครับ...ต้องเพ่งจนติดตาโดยไม่ต้องกลับไปดูวงกสินที่เตรียมมาตอนเเรก...ของผมจะเห็นตอนหลับตาช่วงเเรกๆช่วงหลังจะเห็นทั้งหลับทั้งลืม...ลองอ่านเวปนี่ให้ละเอียดสิครับมีครบตั้งเเต่ก้าวเเรกยันก้าวสุดท้าย
     
  3. brandnew

    brandnew สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +6
    Q:ช่วยอธิบายหน่อยนะคับ แล้วต้องใช้เวลามอง ไปเรื่อย ๆ แล้วถ้า หยุดไปแล้วมามองใหม่จะได้รึป่าว
    A:ถ้าเหนื่อยก็พักครับ...ถ้าได้ภาพติดตา...กฏลองถามดูครับเรื่องอะไรก็ได้ภาพกสินจะเปลี่ยนเป็นภาพคำตอบเเต่ไม่มีเสียงนะครับเห็นเเต่ภาพเเต่เราจะรู้ว่าคืออะไรเพราะจิตสะอาดขึ้น...เเต่ถ้าไม่เป็นอย่างที่บอกก็ต้องนั้งต่อไปอีกครับ
     
  4. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,810
    ค่าพลัง:
    +18,982
    อารมณ์กสิณ มันก็คืออารมณ์ความตื่นตัวของจิตในขณะเห็นภาพชัดเจน

    ไอ้ตอนเห็นชัดเจน ด้วยจิตที่ไม่ฝืน .. มันก็เป็นฌาน ยิ่งชัด ยิ่งดี

    ...พอชัดแล้ว ก็ให้ทรงไว้...ถ้ายังไม่ชัด แม้เราจะเห็นสักเล็กน้อย ก็ให้ทรงไว้..สามารถพัฒนาต่อไปได้อีกครับ ..จนชัดเจน

    ที่พูดนี้ผมก็ยังไม่ชัดเจนดี..แต่ว่า ก็ถือว่าเป็นความเห็นผมแล้วกันนะครับ ให้คุณลองคิดทบทวนดู
     
  5. ชัยมงคลรัศมี

    ชัยมงคลรัศมี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +174
    ถ้าเรานึกหน้าพ่อ แม่เราได้ ก็จับกสิณได้ ทำอารมณ์ แบบที่เรานึกถึงพ่อแม่เรา ทรงอารมณ์ นั้นกับภาพกสิน
    ทำเบาๆ ไม่ต้องหนัก จับตามที่หลวงพ่อฤาษี สอนในกรรมฐาน40 ไปหาอ่านนะครับทรงภาพกสิน ให้ได้ในทุกอริยะบทมันจะชัด หรือไม่ชัดไม่ต้องสนใจ รู้เพียงว่า มีภาพนั้นอยู่ พอทำไปชำนาญแล้ว มันจะดีเอง แต่จำไว้ ทรงภาพกสิณกองไหนไว้แล้ว มีภาพอื่นที่ไม่ใช่กองที่เราจับเป็นภาพต่างๆ ถือเป็นนิมิต โทษ หมด ถ้าเรามั่ว สน ใจ จะทำให้เกิดนิวรณ์5ได้ ทำให้สมาธิเราไม่ทรงตัว การทำกสิณ ก็ไม่เกิดประโยชน์
    ...........ทำให้ถึงที่สุดของกสิณ อย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา แล้วจะดีเอง มั่ว เปลี่ยน ไปมา แล้วจะได้เมื่อไหร่
    ............ธรรมะรักษา ผู้ปฏิบัติ ครับ
     
  6. naykantana

    naykantana Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +76
    ง่ายมากๆครับ หลับตาแล้วมองในความมืดสักระยะหนึ่งแล้วก็ จ้องเข้าไปในนั้นแล้วก็ ให้ภาพนั้นปรากฎในความมืด
     
  7. Soulmaki

    Soulmaki เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    112
    ค่าพลัง:
    +357
    ชิมิ

    แล้วพอมืดเสร็จจิตก็ไม่นิ่งกลายเปนภาพอื่นมาแทน
     
  8. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,868
    ใช่ดังที่คุณชัยมงคลรัศมีกล่าวค่ะ
    คืออารมณ์นั้นเป็นการนึกมโนภาพขึ้นมาในใจได้
    เช่น นึกมนโนภาพเป็นลูกแก้วใสขึ้นมาในใจได้ เพราะจำภาพที่เคยเห็นได้แม่นนั่นแหละค่ะ
     
  9. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,868
    อุคหนิมิตของกสิณในขณะหลับตา มีลักษณะดังนี้

    ๑. นึกภาพที่ใช้จับเป็นกสิณในใจได้ ทำนองเดียวกับไปเห็นภาพคนตายมาแล้วภาพติดตานั่นแหละค่ะ
    ๒. ถ้าไม่ใช่แบบข้อหนึ่ง
    อีกแบบคือ หลับตาแล้วกำหนดภาพให้ลอยอยู่ในฉากความมืดของเปลือกขณะหลับตาได้
    โดยมากแบบนี้จะพัฒนามาจากข้อ๑.ค่ะ
    (แต่สำหรับบางท่านก็ถนัดแบบนี้ก่อนแบบข้อ๑. เลยก็มี)

    อุคหนิมิตรไม่ใช่ว่าจะติดตาเราตลอดเวลา
    หากแต่จะเกิดเป็นมโนภาพหรือภาพได้ทุกครั้งเมื่อเรากำหนดจิตในกสิณนั้นๆ
    เช่นนี้จึงเรียกว่าได้อุคหนิมิตรแล้วค่ะ

    การมองภาพวัตถุที่ใช้เพ่งกสิณนั้น มองด้วยใจสบายๆ นะคะ
    มองแล้วพักได้ เมื่อนึกภาพไม่ออกก็มองวัตถุเพ่งกสิณนั้นใหม่ค่ะ
    เรามองก็เพื่อให้จำได้นั่นเองค่ะ
     
  10. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,868
    คุณHipocampus สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในกระทู้เล่าประสบการณ์ตรงการฝึกกสิณแสงสว่างฯ ในกระทู้แนะนำห้องอภิญญานี้ได้นะคะ
    ดิฉันเคยเขียนรายละเอียดไว้ที่กระทู้นั้นค่ะ
    ถ้าผู้ใดสนใจกสิณ อ่านในนั้นน่าจะไขข้อข้องใจได้พอสมควรค่ะ

    (ปัจจุบันดิฉันไม่ได้เข้าเวปแล้ว แต่แวะมาตอบคำถามบางกระทู้เฉพาะวันนี้ค่ะ)
     
  11. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,810
    ค่าพลัง:
    +18,982
    โมทนาคร๊าบ
     
  12. naykantana

    naykantana Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +76
    การกำหนดภาพในความมือหลังเปลือกตาม ผมคิดว่าจะง่ายกว่า การมโนภาพ หรือ นึกถึงภาพนะครับ

    การกำหนดภาพในความมือหลังเปลือกตาม ผมคิดว่าจะง่ายกว่า การมโนภาพ หรือ นึกถึงภาพนะครับ เพราะหลังเปลือกตามจะมีความมืด ในความมืดในเราจะเกิดสมาธิได้ง่าย กว่า ถ้า เราเห็นภาพติดตามมันจะมีฉากหลัง มันไม่มีภาพลอยและเด่นเหมือนในความมืดครับ แล้วอีกอย่าง ลองทำวิธีแบบผมก็ได้คือ
    ลองมองในความมืด แล้ว ทำให้เห็นภาพหมุนวน เหมือน การสะกดจิต มันจะมีอารมณ์เดียวในความมืด และ ภาพหมุนวน สักพัก โดยที่เราไม่ต้องคิดอะไรถ้าหากมีอารมณ์แว็บขั้นมา เราก็กำหนดสติใหม่ ให้อยู่ในภาพหมุนวนในความมืดมองประมาณสัก1นาที เดี่ยวจะรู้ผลว่า เปลือกตาจะกระพริบ จะมีแสงจำนวนมากลอยมากระทบ ตาท่าน แล้วจะสว่างขึ้นเรื่อยๆ แล้วใจจะสั่น หายใจเร็ว
    และ เร็วมาก เมื่อมาถึงจุดนี้ ตัวคุณ เหมือนจะโดนเหวี่ยง เหมือนจะหลุด แต่ไม่ต้องกลัวนะครับ ยังจดจำภาพหมุนวนเอาไว้ หลังจากนั้นตัวคุณจะออกจากร่าง
    มองหาให้ดีนะครับ ลองทำดู
     
  13. mayl8e

    mayl8e Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2005
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +55
    หลายคนติดตา แต่ไม่ติดใจนะครับ
    ส่วนมากต้องติดใจภาพนะครับไม่ใช่แค่เหมือนหันหน้าเงยมองดวงอาทิตย์แล้วติดตาเป็นหลายนาทียังงั้นไม่ใช่ครับ
     
  14. mayl8e

    mayl8e Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2005
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +55
    แล้วก็การที่ภาพอยู่นานขนาดไหนเป็นตัววัดสมาธิด้วยครับ มีวิธีนึงคือ พอเวลาไหนที่ตื่น ตอนยังไม่อยากแต่มันรู้สึกตัวให้นึกถึงภาพนั้นดูครับ ผมทำแล้วนึกถึงได้ภาพนั้น เป็นโอทตกสิน มีเส้นขอบดำ แสงข้างในขาวหมดเลยจุดตรงกลางนิดนึงตามที่ ตัว ที่ผมเพ่งเลย
     
  15. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    ขออนุโมทนากับทุกๆ คนที่โพสท์ในกระทู้ด้วยครับ...ที่แบ่งปันประสบการณ์...
    สาธุ...สาธุ...สาธุ...
     
  16. BeerNP

    BeerNP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +338
    อนุโมทนาครับ
     
  17. **พายุ**

    **พายุ** เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +142
    ขออนุโมทนากับคุณคนที่ตั้งกระทู้และทุกท่านที่ตอบด้วยครับ
     
  18. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    เป็นภาพติดใจ ใจจดจำภาพ (ไม่ว่าจะหลับตาหรือไม่ยังเห็นอยู่) ไม่ใช่ติดตา...

    ยึดถือจดจ่อ ในรายละเอียดรูปพรรณสัณฐาน ไม่คลาดครา ยื้อยุด ฉุดกระชาก สนิทสนมจนคุ้นเคย (นั่ง ยืน เดิน วิ่ง นอน หลับตา ลืมตา) นึกถึงเมื่อไร ภาพเกิดในใจทันที (ดิน ,น้ำ ,ลม ,ไฟ ,แสงสว่าง ,อากาศ ,สีแดง ,สีเหลือง ,สีเขียว ,สีขาว )หรือจับภาพพระก็ได้

    ใจจดจำภาพที่ตั้งไว้อย่างเดียว อย่างอื่นไม่สนใจ ภาพนิมิตรที่ตั้งไว้จะเปลี่ยนไปเองตามสมาธิที่ทรงได้
     
  19. tassanai_k

    tassanai_k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,518
    โมทนาสาธุ
     
  20. iamgift

    iamgift Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +50
    ขอร่วมอนุโมทนา สาธุ นะค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2006

แชร์หน้านี้

Loading...