กทม.อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์แห่รอบเมืองให้ ปชช.สรงน้ำ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 12 เมษายน 2009.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG] [​IMG]



    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยผู้บริการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แห่รอบเมือง เพื่อให้ประชาชนได้สักการะและสรงน้ำเพื่อเป็นสิริมงคล เนื่องในเทศกาลสงกรานต์

    โดยขบวนรถแห่อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ออกจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เคลื่อนไปตามถนนต่างๆ และจอดให้ประชาชนสักการะและสรงน้ำ 3 จุด ได้แก่ บริเวณวงเวียนใหญ่ เวลา 10.30 น. บริเวณสวนสันติชัยปราการ เวลา 13.15 น. และบริเวณถนนข้าวสาร(หน้าวัดชนะสงคราม) ในเวลา 14.00 น. จากนั้นจะอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนมณฑป ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง


    [​IMG] [​IMG]


    ทั้งนี้ การอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานยังมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาตั้งแต่ พ.ศ.2477 ซึ่งตามความเชื่อของคนไทยถือว่า การได้มากราบและสรงน้ำพระคู่บ้านคู่เมือง จะนำความเป็นสิริมงคลมาสู่ตนเอง ในช่วงวันขึ้นปีใหม่ไทย




    http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9520000041407
    ภาพประกอบเพิ่มจากเว็บพลังจิต
     
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    สัมพัจฉรฉินท์ พิธีโบราณ งานสงกรานต์สนามหลวง

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สงกรานต์สนามหลวงในปีที่ผ่านมา </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เมื่อพูดถึงประเพณีสงกรานต์ ของพื้นที่กรุงเทพมหานคร หลายๆคนอาจจะนึกถึงภาพการเล่นสาดน้ำที่รุนแรงในพื้นที่ถนนหลายสาย ซึ่งเป็นภาพที่บิดเบือนไปจากประเพณีดั้งเดิมของงานสงกรานต์ในอดีต ดังนั้นเพื่อรักษาความงดงามของประเพณีดังกล่าวไว้ กรุงเทพมหานคร(กทม.) จึงได้จัดงานสงกรานต์ขึ้นในชื่อ มหาสงกรานต์ ปี 52 “ยิ้มรับสงกรานต์ สานสามัคคี” ระหว่างวันที่ 12-15 เม.ย. 52 ตั้งแต่เวลา 8.00 น. – 24.00 น.(ยกเว้นวันที่ 13 เม.ย. เริ่มเวลา 06.30 น.) ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อให้เป็นสถานที่ละเล่นสงกรานต์ตามประเพณี การละเล่นท้องถิ่น พิธีโบราณ และประเพณีสงกรานต์ของประเทศไทยทั้ง 4 ภาค

    ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การจัดงานมหาสงกรานต์ ปี 52 ของ กทม. นั้น ได้มีการเตรียมกิจกรรมที่น่าสนใจไว้มากมายเริ่มตั้งแต่ วันที่ 12 เมษายน แห่ขบวนพระพุทธสิหิงค์ (15.00 น.)พระพุทธรูปที่ปวงชนชาวไทยเคารพบูชา มาให้ประชาชนได้สักการะและสรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำมาทุกปี และในช่วงเย็นจะมีการจัดพิธีเปิดเทศกาลสงกรานต์ในพิธี สัมพัจฉรฉินท์(18.30 น.) ซึ่งเป็นพระราชพิธีโบราณที่ผสมผสานระหว่างศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ จัดขึ้นเพื่อจะให้เป็นสวัสดิมงคลแก่พระนคร และพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ตลอดจนราษฎรทั่วไป

    สำหรับพิธีสัมพัจฉรฉินท์ ตามตำนานระบุว่า เมื่อเดือน 4 ถึงการพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์โลกสมมุติเรียกว่า ตรุษฝ่ายพุทธศาสตร์ เริ่มการจัดงานโดย พนักงานก็ตั้งบาตรนํ้า บาตรทราย จับด้ายมงคลสูตรใส่ลุ้งไว้ในโรงราชพิธีทั้ง 4 ทิศ พระนครและในพระราชนิเวศน์ จากนั้นอัญเชิญ พระพุทธปฏิมากรมาประดิษฐาน อาราธนาพระมหาเถรานุเถร ผลัดเปลี่ยนกันมาจำเริญพระปริตร ในโรงราชพิธีทุกตำบล สิ้นทิวาราตรีสามวาร

    เมื่อพระมหาเถรเจ้าจำเริญ พระอาฏานาฏิยสูตรในราตรี หมู่ทหารยิงปืนใหญ่รอบพระนคร ฝ่ายพราหมณาจารย์ ประชุมกันผูกพรตกระทำการพระราชพิธี ในพระเทวสถานหลวง ตั้งเครื่องพลีกรรมสังเวย บวงสรวงพระเทวรูปทั้งมวล มีพระปรเมศวร เป็นต้น.แล้วเปลี่ยนเวร กันอ่านอาคม ในทิวาราตรีทั้งสาม ครั้นถึงวันขึ้น 14 คํ่า เพลาบ่าย ชายแสง พระครูพรหมพรตพิธีกับชีพ่อพราหมณ์ทั้งหลาย ก็เชิญจตุโลกปาลเทวรูป ขึ้นเสลี่ยงงา แห่เข้ามายังโรงพิธีในพระราชนิเวศน์ กระทำปทักษิณสิ้นวาระ สามรอบแล้ว พราหมณาจารย์ทั้งหลายก็สมาทานบัญจางคลิกศีล ในสำนักสมเด็จพระสังฆราช เสร็จแล้วก็แห่พระเทวรูปทั้ง 4 ออกไปประดิษฐานไว้บนเกย อันกระทำไว้หน้าโรงราชพิธีทั้ง 4 ทิศ พระนคร

    ครั้นเพลาพลบคํ่า พระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จพร้อมด้วยพระราชเทพี แลพระบรมวงศา ทรงสถิตในมาฬกดาดเพดานผ้าขาวเป็นพระที่นั่ง แล้วก็ทรงสมาทานบัญจางคิกศีล พร้อมด้วย หมู่ข้าเฝ้าฝ่ายหน้าฝ่ายใน ต่างสดับฟังพระมหาเถรเจ้าจำเริญพระรัตนสูตรและพระอาฏานาฏิยสูตร โดยสัจเคารพ ชาวพนักงานฝ่ายทหารก็ยิงปืนน้อยใหญ่รอบราชธานี สำหรับขับภูตปีศาจ จนสิ้นราษราตรี นับได้ 108 คราวปืน

    ครั้นรุ่งขึ้นเป็นวันสิ้นปี ก็ทรงปรนนิบัติพระมหาเถรเจ้าด้วยของคาวหวาน อันประณีต แล้วตั้งขบวนเป็นปัญจพยุหะ หมู่ทหารแต่งกายใส่เสื้อหมวกสีต่างๆ ถือธงฉาน ธงชาย สรรพศัสตราวุธครบมือ ประดับด้วยเครื่องพระอภิรมแลกลองอินทเภรีแตรสังข์ มโหระทึก กังสดาลฉาบแฉ่ง จึงเชิญพระพุทธปฏิมา ขึ้นทรงพระราชยานมีฉัตรกั้นบังสูรย์ อาราธนาพระมหาเถรเจ้าทั้งหลาย ขึ้นสถิตยานราชรถ และรถประเทียบเรียบเรียงกระบวนแห่งนั้นเป็น 5 กระบวน ประนํ้าพระพุทธมนต์ แลโรยทรายรอบพระราชนิเวศน์นั้นกระบวนหนึ่ง รอบพระนคร ตามท้องสถลมารคนั้น 4 กระบวน ดูเป็นสง่ายิ่งนัก เหล่านักเลงก็เล่นมหรสพ เอิกเกริกสมโภชบ้านเมือง เป็นการนักขัตฤกษ์ บรรดานิกรประชาราษฎร ชายหญิงก็แต่งตัวนุ่งห่มกายอ่าโถง พากันมาเที่ยวดูแห่ดูงาน นมัสการพระในวันสิ้นปีและขึ้นปีใหม่เป็นอันมาก

    http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000039918
     
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>
    พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปคู่วันสงกรานต์

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระพุทธสิหิงค์ กรุงเทพฯ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เมื่อถึงวันสงกรานต์ครั้งใด กิจกรรมอย่างหนึ่งที่จะมีขึ้นทุกครั้งก็คือการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองใน 3 พื้นที่ออกมาให้ประชาชนได้สรงน้ำ สักการบูชา ขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคล

    สำหรับพระพุทธสิหิงค์นั้น หลายๆคนคงเคยได้สักการะบูชา หรืออาจจะเคยได้มีโอกาสสรงน้ำท่าน แต่อาจไม่ทราบถึงความเป็นมาของท่านมาก่อน ซึ่งมีคำกล่าวกันว่า นอกจากพระพุทธชินราชที่จังหวัดพิษณุโลกแล้ว จะหาพระพุทธรูปโบราณที่มีอยู่ในประเทศไทยที่มีความงดงามเทียบกับพระพุทธสิหิงค์นั้นไม่มีเลย แสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปองค์นี้ย่อมต้องมีความงดงามเป็นอันมาก และความเป็นมาของท่านนั้นก็มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

    ตำนานของพระพุทธสิหิงค์นี้ มีผู้เรียบเรียงไว้หลายคน เช่น พระโพธิรังษี ปราชญ์เชียงใหม่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และหลวงวิจิตรวาทการ โดยได้เล่าประวัติไว้ว่า พระพุทธสิหิงค์นั้นสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 700 โดยพระมหากษัตริย์ลังกา 3 พระองค์ พร้อมกับพระอรหันต์ในเกาะลังกา
    เล่ากันว่า ในการสร้างนั้น ผู้สร้างตั้งใจจะให้พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปที่เหมือนองค์พระพุทธเจ้าจริงๆ จึงให้พญานาคที่เคยเห็นพระพุทธองค์แปลงกายมาเป็นแบบให้ ในขณะหล่อนั้น ช่างหล่อคนหนึ่งทำไม่ถูกพระทัยเจ้าองค์หนึ่ง จึงถูกหวดด้วยไม้ถูกนิ้วของช่างบาดเจ็บ ครั้นพอหล่อพระพุทธสิหิงค์เสร็จเรียบร้อย ปรากฏว่านิ้วของพระพุทธสิหิงค์มีรอยชำรุดไปนิ้วหนึ่งเช่นกัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระพุทธสิหิงค์ เชียงใหม่</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่ที่กรุงลังกาเป็นเวลาถึง 1,150 ปี และเมื่อถึงสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงได้ทราบถึงลักษณะที่งดงามของพระพุทธสิหิงค์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยานครศรีธรรมราชแต่งทูตเชิญพระราชสาสน์ไปขอประทานมาจากพระเจ้ากรุงลังกา พระพุทธสิหิงค์จึงได้มาประดิษฐานที่กรุงสุโขทัยเป็นเวลา 70 ปี

    หลังจากนั้นพระพุทธสิหิงค์ก็ได้ย้ายไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ ในอาณาจักรไทย ไม่ว่าจะเป็นที่เมืองพิษณุโลก กรุงศรีอยุธยา เมืองกำแพงเพชร เมืองเชียงราย เมืองเชียงใหม่ จนเมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระพุทธสิหิงค์ได้มาประดิษฐานยังกรุงเทพเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2338 และได้ประดิษฐานอยู่ที่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์มาจนทุกวันนี้ หากจะนับเวลาตั้งแต่เมื่อครั้งที่อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากกรุงลงกามายังสุโขทัย จนมาประดิษฐานอยู่ในกรุงเทพปัจจุบันนี้ก็เป็นเวลาถึง 698 ปี ทีเดียว

    ในประเทศไทย มีพระพุทธรูปที่มีนามว่าพระพุทธสิหิงค์อยู่ 3 องค์ด้วยกัน คือ

    พระพุทธสิหิงค์ ในพระพุทไธสวรรค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ซึ่งก็คือองค์ที่กล่าวถึงข้างต้น

    พระพุทธสิหิงค์ ในวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร หล่อด้วยสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง เป็นศิลปะเชียงแสนยุคแรก

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระพุทธสิหิงค์ นครศรีธรรมราช </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พระพุทธสิหิงค์ ในหอพระสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร มีพระพักตร์กลม อมยิ้มเล็กน้อย หล่อด้วยสัมฤทธิ์

    สำหรับธรรมเนียมปฏิบัติที่มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาให้ประชาชนได้สักการะและสรงน้ำบริเวณท้องสนามหลวงนั้น ได้เริ่มมีขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2477 ในสมัยที่พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี และธรรมเนียมประเพณีนั้นก็ได้ปฏิบัติกันต่อมาจนถึงทุกวันนี้

    พระโพธิรังษี ปราชญ์เชียงใหม่ ได้กล่าวไว้ว่า “พระพุทธสิหิงค์เสด็จประทับอยู่ในที่ใดๆ ย่อมทรงทำให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองดังดวงประทีป เหมือนหนึ่งว่าพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่” ส่วนหลวงวิจิตรวาทการกล่าวไว้ว่า “อานุภาพแห่งพระพุทธสิหิงค์สามารถบำบัดความทุกข์ร้อนในใจให้เหือดหาย ผู้ที่หมดมานะ ท้อถอย เมื่อได้มาสักการะ ดวงจิตที่เหี่ยวแห้งก็จะกลับสดชื่นและมีความเข้มแข็งขึ้น จิตที่หวาดกลัวก็กลับกล้าหาญ ดวงจิตที่เกียจคร้านก็จะมีวิริยะ ผู้หมดหวังก็จะมีกำลังใจขึ้นใหม่”

    http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000041075

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. โบราณคดี

    โบราณคดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +174
    โมทนาบุญด้วยครับ ไม่รู้ปีนี้จะมีโอกาสไปกราบท่านไหม กลัวม็อบครับ
     
  5. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
  6. Farfalle

    Farfalle Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +45
    อยากไปจังเลย

    แต่แม่ไม่ให้ออกนอกบ้าน T...T
     

แชร์หน้านี้

Loading...