การบรรลุพระโสดาบัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Dragon_Fly, 17 เมษายน 2009.

  1. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,661
    ค่าพลัง:
    +9,236
    ขออนุโมทนาอย่างยิ่งค่ะ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    อารมณ์พระโสดาบัน(พุทธจริต)
    โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ..

    [MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=149[/MUSIC]
    :z8
     
  3. yupanatuk

    yupanatuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +418
    อนุโมทนา สาธุ ยินดีกับทุกท่านที่ได้พระโสดาบันแล้ว คิดว่าต้องมีเยอะ แต่ทุกคนรู้อยู่แก่ใจว่าเป็นหรือยัง หรือใกล้แล้ว หรืออาจจะได้สูงกว่าพระโสดาบันแล้ว อยู่ที่กำลังใจ ความเพียรปฏิบัติธรรม ภาวนา รวมถึงบุญเก่าที่ได้สะสมมาแต่บางก่อน..
     
  4. lab555

    lab555 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2008
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +12
    เรื่องของ ภูมิจิต และ ภูมิธรรม ที่เปลี่ยนแปลงไปมันต้องมีสภาวะเกิดขึ้น ถึงจะเป็นเครื่องการันตีว่า การปฏิบัติมานั้น ได้ก้าวหน้าไปถึงขั้นไหน ขั้นไหนแล้ว

    เหมือนกับ สภาวะ ฌาณ ต่างๆ 1-2-3-4 .. ก็จะมีสภาวะที่เกิดขึ้นต่างกัน
    รวมถึง สภาวะของการวิปัสนา..แล้วจิตเข้าใจ..
    รวมถึง ความก้าวหน้าของจิต ตามวิปัสนาญาณ ที่ได้ดำเนินไป ก็จะมีสภาวะต่างๆเกิดขึ้น

    อยากจะขอถามกันตรงๆ ไปเลยครับ คุณ สันดุสิต
    ว่า สภาวะของจิต ขณะบรรลุธรรม นั้นเป็นอย่างไร
    รวมถึง อาการทางกาย ที่เกิดขึ้น และ
    ความเปลี่ยนแปลง ของจิต ก่อน และ หลัง จากที่ได้บรรลุธรรมแล้ว นั้นเป็นอย่างไร

    ผมเชื่อแ่น่ว่า การบรรลุธรรม นั้น มันเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ มาก
    มากจนเรียกได้ว่า เกิดมาชาตินี้ ไม่เคยได้พบเจอสภาวะที่น่าตื่นตาตื่นใจ ได้ขนาดนี้แน่

    ปริญัติ ต่างๆ สังโยชน์ ต่างๆ มัน เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา
    เป็นความรู้ ความเข้าใจ ที่เกิดขึ้น หลังจากที่สภาวะได้เกิดขึ้นแล้ว..
    ใครๆ ก็เรียบเรียง เอามาพิมพ์ใหม่ ให้ดูเป็นภาษาของตัวเองได้ครับ

    เรื่องว่า เล่าไปแล้ว จะมีคนเข้าใจรึเปล่านี่ ไม่ต้องห่วงครับ
    เอาง่ายๆ ไม่ต้องภาษาธรรม เอาภาษาเปรียบเทียบธรรมดาๆ ก็ได้
    ของจริง ยังไง ก็เป็น ของจริง ครับ
    ถือเป็น ธรรมทาน ขั้นสูง ที่บรรยายให้เราๆ หมู่ปุถุชนฟังครับ
     
  5. 16

    16 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +419
    " เข้าใจเอาเองว่า "

    การบรรลุธรรมมีเหตุให้บรรลุได้แตกต่างกัน บางเกิดจากการปฏิบัติ บางเกิดจากการฟังธรรม หรือเหตุอื่น ( ไม่ทราบเหมือนกัน )

    ซึ่งก็แล้วแต่ " กรรมที่ทำมา " หรือ จะว่า " ระดับของบารมี " ก็คงใช่ครับ

    บางคนทำมาเยอะแล้ว อีกนิดเดียวก็บรรลุธรรม อาจจะแค่ทรงอารมณ์จนเกิดสมาธิ เกิดปัญญาแล้วบรรลุธรรมทั้งอย่างนั้นเลย หรือ บางท่านต้องปฏิบัติพอสมควร จึงจะบรรลุธรรมได้ ในขณะที่หลายคนบารมียังไม่ถึง ความเพียรก็ไม่ต่อเนื่อง จะปฏิบัติก็ทำๆหยุดๆ จะทำอะไรก็ทำๆหยุดๆ หากบารมีเดิมไม่เพียงพอ บารมีใหม่ก็เพิ่มพูนได้ช้า ก็นานหน่อยกว่าจะบรรลุ

    เรื่องของ " กรรม " หลากหลาย จริตใครมาทางไหนก็ทำทางนั้นต่อก็แค่นั้นครับ การบรรลุธรรมจะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย ถ้าบารมีถึง ปัจจัยพร้อม กรรมเก่ากรรมใหม่บรรจบกัน ก็บรรลุได้ในที่สุด

    " ผมเข้าใจเอาเองว่างี้น่ะ " ( ฮา )
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    จะพูดให้ฟังเพิ่มเติม เนื่องจากว่า แม้ในพุทธกาล ก็มีสงฆ์จำนวนมากที่เข้าใจผิดว่า ตนบรรลุธรรม

    ทีนี้ การบรรลุธรรม พระศาสดาก็บอกไว้เช่นกันว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    ก็การเห็นธรรม นี้แหละจะเป็นเครื่องวัดภูมิธรรม คำว่าการเห็นธรรมนี้เป็นเรื่องละเอียดที่สุด

    เพราะคนส่วนมากนั้น เอาสัญญา และ วิญญาณ และ จินตมยปัญญา มาปนกับธรรม

    เมื่อธรรมเกิด คือ คนนั้นเข้าใจสัจธรรมแห่งพระศาสนา ปรากฎขึ้นที่ใจ ให้ใจนี้อัศจรรย์ นั้นประเภทหนึ่ง ธรรมนั้นเกิดปรากฎในใจนี้ให้ เรารู้สึก เหมือนธรรมของพระศาสดา นั้นเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ ว่า เหมือนพระศาสดาตรัสไว้ไม่นานนี้ หรือ ปรากฎเหมือนพระศาสดาตรัสอยู่ตรงหน้านี้บ้าง ไม่ใช่ด้วยการเปรียบเทียบ แต่ ปรากฎขึ้นให้รู้สึกทันที โดยมิได้คิดหรือคาดการณ์มาก่อน

    ซึ่ง บางท่านเกิดตามลำดับ เช่น อุทยัพยญาณ เกิด นามรูป เกิด ให้ใจนี้สัมผัส เป็นปัจจัตตัง คือ ปรากฎเฉพาะตน ซึ่งเราจะเห็นชัดเลยว่่า ไม่มีผุ้ใดสามารถที่จะรู้สิ่งแบบนี้ได้ นอกจากผู้ประสบเหมือนกัน นั้นแหละ เรียกว่า ธรรมเกิด ใครเห็นธรรมประเภทนี้แล้ว อย่าอยู่เฉย อย่ามัวดีใจ ให้เดินหน้าต่อ

    การอบรม วิปัสสนา จนเห็นชัดขึ้นกว่าเดิม ที่เคยอัศจรรย์ ก็กลับกลายเป็นธรรมดา ดุจดังคนเคยดูหนังแล้ว ดูครั้งที่สองก็เฉยๆ อบรมตัวนี้แหละให้มันแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
    จนเกิดญาณแต่ละตัว ซึ่งตัวที่ จะเป็นตัวบ่งบอกว่า จะไปถึง โสดาปัตติมรรคญาณคือ

    นิพพิทาญาณ ต้องเกิด ตรงนี้จำไว้นะครับ นิพพิทาญาณ นี้คือ อาการที่ สลัดได้เพราะเบื่อหน่ายว่า อาการแบบนั้นแบบนี้ที่เราประสบนั้น ไม่เห็นควรจะต้องเอามาใส่ใจ
    ก็เกิดเป็นกำลังขึ้นมา บางท่านร้องไห้เพราะโศกเศร้า หากนิพพิทาญาณเกิด จะรู้สึกประหนึ่งว่า นี้ร้องแบบนี้ไร้สาระ น่าเบื่อหน่าย ซึ่งจะทำให้เราหันหน้าออกจากอารมณ์ยึดติด
    บ่ายหน้าออกจากสิ่งที่จมอยู่ทันที

    เมื่อ วิปัสสนาจนพร้อมแล้ว จะเกิด อารมณ์ ตัดได้หมด ทำให้แก้ปัญหาต่างๆ ตรงจุดคือ พุ่งตรงมาที่ใจนี้อันดับแรก ในการแก้ปัญหาทุกชนิด

    เข้าใจว่า ตัวรู้นี้คือ การเข้าไปหยิบจับทุกข์ขึ้นมาเอง เข้าใจว่า เพราะหลงไปจึงเอาตัวรู้นี้เกิดขึ้น นั้นแหละ อวิชชาเป็นแม่

    แล้ว ดึงใจเราออกจากการรู้ สรรพสิ่งได้ นั้นแหละ จึงจะเริ่มแจ้ง

    ลองพิจารณาดูนะครับ ธรรมเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน แต่ รู้เหมือนกันเห็นเหมือนกันหมด
     
  7. lab555

    lab555 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2008
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +12
    ผมมีความเห็นว่า ..

    ในขั้นตอนการเดินไปตามวิปัสนาญาณ ขั้นต่างๆตามลำดับ
    บางคน อาจจะประทับใจ หรือ จดจำได้แม่น ในความรู้สึก(อิน) กับสภาวะของวิปัสนาญาณทั้ง 16 ขั้น นั้นๆ
    บางญาณ อาจจะผ่านไปด้วยระยะเวลาอันสั้น อาจใช้เวลาไม่กี่วัน
    บางญาณ อาจจะใช้เวลายาวนาน อาจจะเป็นหลายเดือน จนกระทั่ง หลายปี

    ความประทับใจ หรือ การจำได้ ต่างๆ ของแต่ละคน ย่อมไม่เหมือนกันแน่
    หลายคนอาจจะชอบ สภาวะของ อุทัพยญาณ
    หลายคนอาจจะชอบ สภาวะของ ภังคญาณ
    หลายคนอาจจะชอบ สภาวะของ นิพพิทาญาณ
    หลายคนอาจจะชอบ สภาวะของ สังขารุเบกขาญาณ
    ก็ว่ากันไปตาม วาระ และ โอกาส ..

    แต่..สิ่งที่เป็นไคลแมกซ์ จริงๆ ของ การก้าวข้ามจาก โลกียะ สู่ โลกุตร
    ย่อมเป็นสิ่งที่เหนือประสบการณ์ใดๆ ทั้งหมด ในชีวิตนี้
    เป็นช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่คนๆหนึ่งได้้เจอ ได้สัมผัสสภาวะที่ว่า ภายในชาตินี้
    มันเทียบไม่ได้แน่ กับความรู้สึกที่เกิดขึ้นของวิปัสนาญาณทั้งหมดที่ผ่านมา

    เปรียบเทียบง่ายๆว่า เมื่อ เราถูกหวย รางวัลที่ 1 ...
    เราจะลืมวินาทีนั้น ซึ่ง เป็นวินาทีที่เรารู้ตัวว่าถูกหวย หรือ

    มันไม่ใช่แค่ จะมาบอกว่า
    เราละสักกายทิฐิได้แล้ว
    เราละวิจิกิจฉาได้แล้ว
    เราละสีลพตปรามาสได้แล้ว
    เมื่อฉันรู้สึกว่า ฉันละ 3 ข้อนี้ได้แล้ว แสดงว่า ฉันถึงเป้าหมายที่ได้พากเพียรมาแล้ว.. มันไม่ใช่แค่นั้นแน่

    สภาวะ จะเป็นตัวบ่งชี้ และ เป็นเหตุ เป็นผล สืบเนื่องกันไป
    ว่า..เกิดอะไรขึ้น
    ทำไมสักกายทิฐิ ถึงถูกถอนออกไปได้อย่างเด็ดขาด
    และทำไม วิจิกิจฉา ถึงหายไป มันหายไปตอนไหน อะไรเป็นต้นเหตุ มันต้องมีเหตุผลอยู่
    และลงท้ายว่า ทำไมถึงละ สีลพตปรามาสลงไปได้ เพราะอะไร

    แล้วสิ่งเหล่านี้ ก็จะต่อยอดไปอีกว่า....
    ทำไม ถึงเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาิติ
    ทำไม ถึงไม่ไปอบายฯอีก
    ทำไม ถึงดีกว่าสมบัติจักรพรรดิ์
    ทำไม ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ฯลฯ

    ทุกอย่าง มีเหตุผลซึ่งกันและกันอย่างแน่นอน

    และ กับการกล่าวอ้างกันไปว่า ฉันได้แล้ว ๆๆ ฉันเป็นแล้ว ๆๆ
    แล้ว ฉไนเลย ปุถุชนคนทั่วไป ถึงจะไม่อยากรู้ ถึงเหตุผลอันเป็นคุณวิเศษนั้นๆ ละครับ

    หากผู้ใดได้ถึงสภาวะนั้นๆ แล้ว ขอท่านได้โปรดช่วยเมตตา
    บอกเล่าถึง ความจริง นั้น ให้ได้รับรู้เป็นธรรมทานด้วยเถิด....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2009
  8. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    โสดาบันยังครองเรือนได้
     
  9. โป๊ยเซียนสาว

    โป๊ยเซียนสาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,543
    ค่าพลัง:
    +2,279
    สาธุ ... กล่าวได้ดีแล้ว ชอบแล้วค่ะ

    อย่าคำนึงว่าได้เป็นหรือไม่เป็น แค่ถือศิล 5 ให้มั่นเสมอ พร้อมมีสติทุกเมื่อ ก็เป็นการเริ่มแห่งการได้ก้าวไปสู่แห่งการได้เป็นแล้วค่ะ ^ ^





    .
     
  10. เมธี อยู่สุข

    เมธี อยู่สุข Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2009
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +45
    ขอตอบคุณ jinny95 การพิจารณาให้เห็นเหตุแห่งทุกข์ นั่นก็เป็นการหาทางที่จะดับทุกข์นั้นนั่นเอง เมื่อเห็นทางออกแห่งทุกข์นั้น แล้วเราก็ต้องปฏิบัติตนให้พ้นจากทุกข์นั้น นำพระธรรมคำสอนขององค์พระพุทธเจ้ามาใช้ช่วยแก้ปัญหาทุกข์นั้น ตามความเข้าใจของผมเองและที่ได้ลองปฏิบัติแล้วนั้น เมื่อมีทุกข์เกิดขึ้น ทางกาย เช่นเจ็บป่วยเป็นแผลเป็นไข้ ผมวางใจไว้ในกฏแห่งกรรม คิดเสียว่าอกุศลกรรมเก่ามาให้ผลแล้ว ต้องเป็นไปตามนั้น ก็รู้สึกสบายใจไม่หนักใจอีกยอมรับกรรมนั้นเสีย ทางจิตใจทางอารมณ์ที่มากระทบกระทั่ง ก็คิดเสียว่า เรายังไม่ตายยังไงก็ต้องเจอกับโลกธรรม8 อยู่ดี ไม่ยินดีในโลกธรรม8 นั้นเสีย ตัดทิ้งไปสบายใจดี ส่วนเรื่องพระนิพพานนั้น คุณรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับพระนิพพาน ถ้าอ่านอย่างเดียวคุณจะไม่สามารถรู้ได้อย่างแท้จริง เอาง่ายๆลองนึกถึงบ้านที่คุณอยู่ซิ คุณมีความสุขมากไหม มีทุกอย่างที่ต้องการพร้อมสรรพ คุณมีร่างกายที่ไม่แก่ไม่เจ็บป่วยไม่ตาย ไม่มีความร้อนเกินไป ไม่มีความหนาวเหน็บ อากาศปลอดโปร่งโล่งสบาย ไม่มีมาทำร้าย มาด่า มาใช้งานคุณ งานก็ไม่ต้องทำ ไม่หิวไม่ต้องปวดถ่ายอีก คิดง่ายเป็นอะไรที่เหนือกว่าพรหมอีกน่ะ ดีไหมคุณอยากเป็นไหม ถ้าอยากเป็น ก็ทรงอารมณ์พระนิพพานเสียซะจะได้รู้
     
  11. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    อย่าหาว่ากวนนะ ก็ผมจึงได้ถามท่านไง ว่าเอานิพพานที่ไหนมาทรง แล้วตัวที่ผมทำสีแดงนั่นผมว่า็ไม่ใช่นิพพานครับ ^-^
     
  12. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    นิพพานกับอารมณ์อันว่างนิ่งในสมาธิไม่เหมือนกันนะครับ สมาธิอันแน่วแน่เป็นการกดข่ม เป็นการกำหนด เหมือนกับการสร้างภพขึ้นอีก อย่างที่หลายท่านกลัวจะเป็นพรหมนั่นแหล่ะครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสมาธิไม่ดีนะ ดี ดีมาก

    หากยังเป็นปุถุชน ยังไม่รู้ว่า "นิโรธ" เป็นเช่นไร อวิชชายังไม่เคยแหวก ก็ระมัดระวังความอยากให้ดีนะครับ มันจะทำให้เดินบนทางที่เนิ่นช้า โดยคิดว่านี่ทรงอารมณ์โสดาบัน แล้วจะได้เป็นโสดาบันไว

    พระธรรมคำสอนของครูบาอาจารย์อ่านแล้วระวังเรื่องการตีความนึกเอาให้มากนะเป็นห่วง

    อย่าหาว่ากวนนะ เจตนาผมใสซื่อ ^-^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2009
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209

    เอาทีละข้อ จะได้เข้าใจ

    1 สักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา และ สีลพตรปรามาส เป็น กลุ่มเดียวกัน เป็นความโง่เหมือนกัน คือ เกิดกับตน สงสัย และ จึงแก้ไขผิด

    ทีนี้ การแก้ไขผิด นี้เหมือนลองผิดลองถูก เพราะเราไม่รู้ ไม่รู้ว่ามันจะต้องแก้ไขอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น มีเหตุการณ์อะไรเกิดกับตัวเอง แล้วเราไม่ชอบ เกิดขึ้นอยู่ทุกวัน เราจะสงสัยไหม ถ้าเป็นคนทั่วไป ก็วิ่งหาเจ้า หาผู้วิเศษใช่ไหม นั่นแหละ ครบสูตร สักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา และ สีลพตรปรามาส รวบกันทีเดียว

    ทีนี้ พระโสดาบัน ท่านก็จะเิดินออกจากกองทุกข์ ท่านก็พิจารณาไปสิว่า ก็เพราะมีเรา จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะจึง เกิดเวทนา พอมีเวทนาเราก็ไม่พอใจ เกิดสงสัยในอุปาทาน
    ก็พยายามดับตัวเราให้ได้ มันก็ดับไม่ได้ มันก็ยังมีอยู่ นี่
    อ่านตรงนี้ๆดีๆ นี่แสดงว่าไล่ผิด พระโสดาบันท่านก็ทวนไปทวนมา แต่เนื่องจาก พระศาสดาท่านว่า ผัสสะนั้นเกิดจาก นามรูป นามรูปเกิดจาก วิญญาณ วิญญาณเกิดจากสังขาร สังขารเกิดจาก อวิชชา นี่ก็ทวนตรงนี้ให้แจ้ง

    เมื่อแจ้งแล้ว ความเป็นตัวเราไม่ได้ดับ แต่ความโง่ที่เราเข้าไปรู้เรื่องราวต่างหาก และความโง่ที่หลงนึกว่าเกิดกับตนนั้นต่างหาก
    ความรู้ที่พอนึกว่าเกิดกับตนนั้น ก็สงสัย พอสงสัยก็ไปหาทางแก้ผิดๆ เพราะไม่รู้ข้อเท็จจริงอันลึกซึ้งคือ วิ่งไปดับที่ิวิญญาณ และ ก่อนจะดับที่วิญญาณ ก็ต้องไปดับสังขาร ดับที่อวิชชา ก็จะแจ้งว่า นี่เราโง่มาตั้งนาน แค่ดับที่ตัวนี้เอง

    ทีนี้ตัวอวิชชานี้ละเอียดมาก ไวมาก แค่เราทวนปฏิจสมุบบาทไปที่ วิญญาณได้ก็สุดยอดแล้ว แต่พอทวนที่วิญญาณมากๆ ก็จะทัน สังขารธรรม ที่ค้างอยู่ในจิต

    และดับอวิชชาได้ ก็จะรู้ตรงนั้นทันที ด้วยเหตุด้วยผลชัดเจนว่า ความไม่รู้ ในอวิชชานี้เท่านั้น จึงทำให้ โง่ไป เอาสักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา และ สีลพตรปรามาส

    ทีนี้ ญาณยังไม่แจ้ง ก็ต้องทำให้แจ้ง ก็จะละขาด ไม่ใช่ละขาดทีเดียว ต้องอบรมวิปัสสนาทวนปฏิจสมุบาท ให้แทงตลอด จึงจะละได้เห็นอวิชชาได้

    นี่คือ ทางที่ถูกต้องที่สุด
     
  14. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    เข้าใจ ไม่พอ มันจะมีตัวค้างในจิตอยู่ ต้องทำสมาธิ และสติให้ถึง ก็จะเห็นว่า มันมีตัวค้างอยู่ นั่นแหละ เรียกสังขารธรรม เพราะความไม่รู้ไม่เห็นตัวนี้แหละ จึงทำให้เราดับไม่ถูกตัว

    เข้าไปรู้ว่า มันมีสังขารธรรมค้างเติ่งอยู่ตลอดในใจ ในจิตนี้ให้ดี

    และ ต้อง พิจารณา วิญญาณให้ดี ให้ชำนาญจึงจะเห็นสังขารธรรม ในจิตนี้ได้

    ซึ่งจะต้อง มีสติ และ ตาธรรม อันชำนาญแล้ว จะเห็นชัด เมื่อเห็นชัด ละสังขารธรรมเหล่านั้น ให้ได้ เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ

    จะเกิดเป็นผลขึ้น เห็นผลนั้น เข้าใจผลนั้นจนแจ่มแจ้ง เรียกว่า ผลญาณ
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    วิญญาณ คือตัวรุ้ นี้ ยกตัวอย่างเช่น

    สรรพสิ่งดำรงอยู่เช่นนั้น เราเอาใจไปสังเกตุ การเอาใจไปหยิบเรื่องราวนั้นแหละ เรียกว่า ตัวรู้ ตัววิญญาณ ตัวหนังสือสีดำ แต่พอเอาใจไปรู้ มันก็มีความหมายขึ้นมาอย่างทันใด

    ทุกเรื่องทุกราว นี้ มาจากตัววิญญาณ ทวนตัวนี้ให้ดี
     
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    เอาหละใคร เข้าใจโดยละเอียด แล้วติดตรงไหนถามมาแล้วกัน ผมตอบให้ได้หมด
    เพราะ ดำเนินวิถีมาทาง ปฏิสัมภิทา จะค่อนข้างละเอียดในปฏิจสมุบาท
    นี่พูดตรงๆ ใครสนใจ ก็ถามมา วันนี้ขอตัว
     
  17. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    คุณ จินนี่ รู้จัก...อุปสมานุสติกรรมฐาน.. ในกรรมฐาน 40 ไมครับ.....คำตอบของของคุณจินนี่..จะตอบได้ในที่นั่น....
    ;aa31oishi_
     
  18. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    เพิ่งค้น google เมื่อกี๊นี้ครับ ในความเห็นผม ก็ถ้าเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหันต์แล้ว จะใช้กรรมฐานนี้ก็ไม่แปลกอะไร

    สำหรับทั่วไป รวมถึงอริยะขั้นต่ำจะเอานิพพาน เร็วที่สุด ก็ใช้สติฐาน 4 พิจารณาทุกข์ พิจารณาเหตุแห่งทุกข์เถอะครับ ^-^
     
  19. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ได้ทุกอย่างนะครับ....คุณจินนี่......มันแล้วแต่จริตคนนะครับ....ถ้าไม่มีประโยชน์พระพุทธเจ้าไม่ทรงสอนไว้หลอกนะครับ.......

    กรรมฐานในมหาสติปัฏฐานสูตรนี่แน่นอนอยู่แล้วครับ.....ไม่ว่าจะฝึกแบบใหน...ถ้าจะเอาพระนิพพานต้องจูนเข้ามาทางนี้นะครับ......นอกนั้นก็กีฬาสมาธิ.....แล้วแต่จริตคนนะครับ.......ดีทุกอย่างนะครับ......(ความเป็นจริงแล้ว กรรมฐานในมหาสติปัฏฐานสูตรก็แบ่งได้อีกหลายบรรพนะครับ...ใหนจะแบ่งวิธีการปฏิบัติให้เข้าถึงอีก..)

    แต่ละคนฝึกมาไม่เหมือนกัน....เหมือนทางขึ้นเขาก็มีหลายทาง...ไม่มีผิดหลอกครับ......

    บุคคลที่จะทรงกรรมฐานกองนี้....อย่างน้อยต้องมีปัญญาพอสมควร...มีศีล....มีสมาธิ.....ถ้าไม่มีหรือไม่เข้มแข็งยากครับ.........เอาเป็นว่าเราเอาประโยชน์นะครับ....เอาประโยชน์เป็นหลัก.....

    บุคคลที่เป็นพระอริยเจ้าแล้วไม่ต้องทรงครับ......มันเป็นไปอัตโนมัติครับ......
    สำคัญตรงผู้ที่ยังไม่เป็นนี่หละครับ.......ถือเสียว่าเป็นกรรมฐานกองหนึ่งสิครับ...ไม่หนักใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2009
  20. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ๑๐. อุปสมานุสสติกรรมฐาน

    อุปสมานุสสติ แปลว่า ระลึกคุณพระนิพพานเป็นอารมณ์ ตามศัพท์ท่านน่าจะแปลว่า
    ระลึกถึงคุณของความเข้าไปสงบระงับจิตจากกิเลสและตัณหา ก็คือการเข้าถึงพระนิพพาน
    นั่นเอง ท่านแปลเอาความหมายว่า ระลึกถึงคุณพระนิพพานนั้น เป็นการแปลโดยอรรถ ท่าน
    แปลของท่านถูกต้องและเหมาะสมแล้วที่เขียนถึงคำว่าสงบระงับไว้ด้วยก็เพื่อให้เต็มความประสงค์
    ของนักคิดเท่านั้นเอง

    ระลึกตามแบบ

    ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านเป็น พระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทา-
    ญาณ ท่านอธิบายถึงการระลึกถึงคุณพระนิพพาน โดยท่านยกบาลี ๘ ข้อ ไว้เป็นแนวเครื่องระลึก
    ดังจะนำมาเขียนไว้เพื่อเป็นเครื่องอุปกรณ์ในการระลึกดังต่อไปนี้

    บาลีปรารภพระนิพพาน ๘

    ๑. มทนิมฺมทโน แปลว่า พระนิพพานย่ำยีเสียซึ่งความเมา มีความเมาในความ
    เป็นคนหนุ่ม และเมาในชีวิต โดยคิดว่าตนจะไม่ตายเป็นต้น ให้สิ้นไปจากอารมณ์ คือคิดเป็น
    ปกติเสมอว่า ชีวิตนี้ไม่มีอะไรแน่นอน โลกนี้ทั้งสิ้น มีความฉิบหายเป็นที่สุด
    ๒. ปิปาสวินโย แปลว่า พระนิพพาน บรรเทาซึ่งความกระหาย คือความใคร่กำหนัด
    ยินดีในกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และการถูกต้องสัมผัส
    ๓. อาลยสมุคฺฆาโต แปลว่า พระนิพพาน ถอนเสียซึ่งอาลัยในกามคุณ ๕ หมาย-
    ความว่า ท่านที่เข้าถึงพระนิพพาน คือมีกิเลสสิ้นแล้ว ย่อมไม่ผูกพันในกามคุณ ๕ เห็นกามคุณ
    ๕ เสมือนเห็นซากศพ
    ๔. วัฏฏปัจเฉโท แปลว่า พระนิพพาน ตัดเสียซึ่ง วนสาม คือ กิเลสวัฏ ได้แก่
    ตัดกิเลสได้สิ้นเชิง ไม่มีความมัวเมาในกิเลสเหลืออยู่แม้แต่น้อย กรรมวัฏ ตัดกรรม อันเป็น
    บาปอกุศล วิปากวัฏ คือตัดผลกรรมที่เป็นอกุศลได้สิ้นเชิง
    ๕. ตัณหักขโย, วิราโค, นิโรโธ แปลว่า นิพพานธรรมนั้น ถึงความสิ้นไปแห่ง
    ตัณหา ตัณหาไม่กำเริบอีก มีความหน่ายในตัณหา ไม่มีความพอใจในตัณหาอีก ดับตัณหา
    เสียได้สนิทตัณหาไม่กำเริบขึ้นอีกได้แม้แต่น้อย
    ๖. นิพพานัง แปลว่า ดับสนิทแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน กรรมอำนาจทั้ง ๔ นี้
    ไม่มีโอกาสจะให้ผลแก่ท่านที่มีจิตเข้าถึงพระนิพพานแล้วได้อีก
    ตามข้อปรากฏว่ามีเพียง ๖ ข้อ ความจริงข้อที่ ๕ ท่านรวมไว้ ๓ อย่าง คือ ตัณหักขโย ๑
    วิราโค ๑ นิโรโธ ๑ ข้อนี้รวมกันไว้เสีย ๓ ข้อแล้ว ทั้งหมดจึงเป็น ๘ ข้อพอดี ท่านลงในแบบ
    ว่า ๘ ก็เขียนว่า ๘ ตามท่าน ความจริงเมื่อท่านจะรวมกัน ท่านน่าจะเขียนว่า ๖ ข้อก็จะสิ้นเรื่อง
    เมื่อท่านเขียนเป็นแบบมาอย่างนี้ ก็เขียนตามท่าน
    ท่านสอนให้ตั้งจิตกำหนดความดีของพระนิพพานตามในบาลีทั้ง ๘ แม้ข้อใด ข้อหนึ่งก็ได้
    ตามความพอใจ แต่ท่านก็แนะไว้ในที่เดียวกันว่า บริกรรมภาวนาว่า "นิพพานัง" นั่นแหละดี
    อย่างยิ่ง ภาวนาไปจนกว่าจิตจะเข้าสู่อุปจารฌาน โดยที่จิตระงับนิวรณ์ ๕ ได้สงบแล้วเข้าถึง
    อุปจารฌานเป็นที่สุด กรรมฐานนี้ที่ท่านกล่าวว่า ได้ถึงที่สุดเพียงอุปจารฌานก็เพราะเป็น
    กรรมฐานละเอียดสุขุม และใช้อารมณ์ใคร่ครวญเป็นปกติ กรรมฐานนี้จึงมีกำลังไม่ถึงฌาน


    อานิสงส์

    อานิสงส์ที่ใช้อารมณ์ใคร่ครวญถึงพระนิพพานนี้มีผลมาก เป็นปัจจัยให้ละอารมณ์ที่
    คลุกเคล้าด้วยอำนาจกิเลสและตัณหา เห็นโทษในวัฏฏะ เป็นปัจจัยให้แสวงหาทางปฏิบัติ
    เพื่อความพ้นทุกข์อันเป็นปฏิปทาไปสู่พระนิพพาน เป็นกรรมฐานที่นักปฏิบัติได้ผลเป็นกำไร
    เพราะเป็นปัจจัยให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้อย่างสบาย ขอท่านนักปฏิบัติจงสนใจ
    กรรมฐานกองนี้ให้มาก ๆ และแสวงหาแนวปฏิบัติ ที่เข้าตรงต่อพระนิพพานมาปฏิบัติ ท่าน
    มีโอกาสจะเข้าสู่พระนิพพานได้อย่างไม่ยากนักเพราะระลึกนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์นี้
    เป็นองค์หนึ่งในองค์สามของพระโสดาบัน ชื่อว่าท่านก้าวเข้าไปเป็นพระโสดาบันหนึ่งในสาม
    ขององค์พระโสดาบันแล้ว เหลืออีกสองต้องควรแสวงหาให้ครบถ้วน

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=271
     

แชร์หน้านี้

Loading...