การดูจิตโดยขาดพื้นฐานที่ถูกต้อง(ปัจจุบันธรรม) ก็คือ การตามดูอาการของจิตดีๆนี่เอง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 19 มิถุนายน 2009.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ได้มีผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดูจิตในปัจจุบัน
    ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับครูบาอาจารย์แต่เก่าก่อน

    มีการแยกจริตนิสัยผู้ปฏิบัติเป็นตัณหาจริต ทิฏฐิจริต

    แบบพระป่าต้องเจริญสมาธินำปัญญา
    แล้วบัญญัติเองว่า เป็นตัณหาจริต เป็นแบบสมถะยานิก

    ส่วนคนยุคปัจจุบันต้องเจริญปัญญานำสมาธิ
    แล้วบัญญัติเองว่า เป็นทิฏฐิจริต เป็นแบบวิปัสสนายานิก

    โดยไม่มีพุทธพจน์รองรับ

    ขอตอบว่า...ไม่ว่าจะในอดีตหรือในปัจจุบันนั้น
    ธรรมะของบรมครูย่อมไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา

    ทุกวันนี้ที่มีการแบ่งแยกออกเป็นสมถะยานิกและวิปัสสนายานิก
    ก็เพราะเกิดจากความเกียจคร้านการงานทางจิต
    และรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่รู้เห็นตามความเป็นจริงนั่นเอง

    ทั้งสมถะและวิป้สสนานั้น เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นควบคู่กันไปเสมอ
    โดยแยกออกจากกันไม่ได้โดยเด็ดขาด เป็นอัญญะมัญญะปัจจัยกัน
    คำว่า “และ” คนละความหมายกับคำว่า “หรือ”

    ความหมายของคำว่า “และ” ก็บอกชัดเจนแล้ว
    อย่างการจะไปถอนเงินในบ/ชที่ระบุว่า นาย ก.และ นาย ข.นั้น
    ต้องมีลายเซ็นทั้งคู่...จึงจะสมบูรณ์ครบถ้วน
    ถ้าระบุว่า “หรือ” ...ใครคนใดคนหนึ่งก็ได้

    ดังมีมาในพระสูตรว่า....

    ด้วยเหตุผลง่ายๆ
    ผู้ปฏิบัติจะสงบจิตใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีปัญญาปล่อยวางปัญหาลง
    ในทางกลับกัน
    ผู้ปฏิบัติจะแก้ปัญหาได้อย่างไร ถ้าจิตใจไม่สงบนิ่งพอ

    ดังนั้น จึงเป็นการชี้ชัดว่า สมถะและวิปัสสนา ต้องเกิดควบคู่กันไปเสมอ

    ;aa24
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    และผู้ดูจิตในปัจจุบัน มักแบ่งแยก ว่า

    มีใครบ้าง ที่ไม่มีทิฐิจริตและตัณหาจริตแล้ว นอกจากพระอริยะเท่านั้น

    ไม่ว่าจะคิดมากหรือคิดน้อย
    ถ้าหยุดคิดไม่เป็นย่อมทุกข์ทั้งนั้นแหละ
    หรือว่าไม่จริง........

    คนที่มีทิฐิจริตหรือตัณหาจริตต่างกันตรงไหน........
    ทั้งสองจริตนั้น ก็ยังมีจิตที่ดิ้นรนกวัดแกว่งไม่สงบตั้งมั่นเช่นกัน
    ไม่ว่าจริตไหนก็ตามก็ต้องเพียรสร้างสติให้จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวทั้งนั้น

    การเริ่มต้นที่หมวดกายในมหาสติปัฏฐานนั้นมีความสำคัญ
    เป็นพื้นฐานในการพิจารณาหมวดเวทนา จิต และธรรม ต่อไป

    ถ้าเป็นเรื่องไม่สำคัญอะไรเลยในการปฏิบัติกายคตาสติแล้ว
    คงไม่มีพุทธพจน์ที่ทรงกล่าวเน้นย้ำกับท่านพระอานนท์ไว้ดังนี้

    ถ้าเราพิจารณาด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันธรรมแล้ว
    ย่อมพบเห็นว่าในพระพุทธพจน์ ทรงกล่าวว่า

    เป็นการเกื้อกูลอนุเคราะห์ แก่สาวกทั้งหลาย

    โดยให้สาวกหาที่ๆสงัด แล้วลงมือเพ่งฌาน
    (ตามรู้ตามเห็น คือการดูจิตที่ไม่หลงไปกับความคิด)

    แถมพระองค์ท่านทรงเน้นย้ำอีกว่า
    “นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอฯ”

    ;aa24
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    การที่เริ่มต้นจากกายคตาสติก่อนนั้น
    ทำให้เรารู้จักว่าจิตปรุงกิเลสหรือกิเลสปรุงจิตอย่างแท้จริง
    ต้องแยกกายออกจากจิตให้เป็นก่อน

    หลวงปู่ดูลย์กล่าวไว้ว่า
    ขณะที่ปฏิบัติหมวดกายอยู่นั้น ย่อมกระเทือนถึงเวทนา
    ย่อมกระเทือนถึงจิต ย่อมกระเทือนถึงธรรมอยู่แล้ว

    เมื่อรู้จักกายสังขาร(ลมหายใจ)ที่มาปรุงแต่งจิตดีแล้ว
    ย่อมรู้จักปัจจุบันธรรม(ที่ตั้งสติ) ที่ถูกต้องเป็นกลางไม่เอนเอียง
    ย่อมทำให้สติปัฏฐาน ๔ สมบูรณ์

    มีพุทธพจน์กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า

    ส่วนในปัจจุบันนั้น มักมีข้ออ้างสารพัดสารพัน
    ในการที่จะไม่ต้องลงมือปฏิบัติสมาธิภาวนากรรมฐานกัน
    โดยกล่าวหาว่าเป็นเพียงแค่สมถะยานิกบ้างหละ ไม่ถูกจริตบ้างหละ
    ทำแล้วทำให้เนิ่นช้าบ้างหละ เป็นเพียงความคิดเองเออเองทั้งสิ้น

    ทั้งๆที่มีพระพุทธพจน์ กล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐาน๔ ว่า

    ;aa24
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เมื่อย้อนกลับมาดูทางอันเอก คือ อริยมรรค ๘ (ทางเดินของจิตเพื่อสู่ความเป็นอริยะ)
    มีตรงไหนในอริยมรรค๘ ที่กล่าวว่า จงยัง สัมมาวิปัสสนา บ้างครับ

    ของแบบนี้คิดขึ้นเองโดยขาดพุทธพจน์รองรับไม่ได้หรอกครับ
    ขาดความน่าเชื่อถือครับ

    ในอริยมรรค ๘ นั้นบอกชัดเจนอยู่แล้วว่า
    ต้องปฏิบัติสัมมาสมาธิ สมาธิชอบ

    ทำไมถึงต้องสมาธิชอบด้วยหละ

    ที่ต้องเป็น สัมมาสมาธิ(สมาธิชอบ)นั้น
    ก็เพราะเป็นสมาธิที่ประกอบ(กำกับ)ไปด้วย
    สัมมาสติ (ตั้งมั่นชอบที่ฐานที่ตั้งของสติ)
    และสัมมาวายามะ(ความเพียรชอบ)

    เฉพาะตัวสัมมาวายามะนั้นก็เป็นวิปัสสนาตลอดเวลาในขณะที่ปฏิบัติอยู่แล้ว
    เพราะอะไร?
    เพียรเพ่ง(ตามรู้อยู่ตามเห็นอยู่)ไม่ให้อกุศลที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิด(ป้องกัน)
    เพียรเพ่ง(ตามรู้อยู่ตามเห็นอยู่)อกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป(ขจัดหรือสลัดออกไป)
    เพียรเพ่ง(ตามรู้อยู่ตามเห็นอยู่)ยังกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น(ปฏิบัติสมาธิภาวนากรรมฐาน)
    เพียรเพ่ง(ตามรู้อยู่ตามเห็นอยู่)ยังกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งๆขึ้น
    (ชำนาญคล่องแคล่วคุ้นชินในการทำจิตให้สงบตั้งมั่นอย่างรวดเร็ว)

    ตราบใดที่ยังไม่รู้จักและเข้าไม่ถึงปัจจุบันธรรมแล้ว
    ย่อมต้องหลงไปกับความคิดนึกปรุงแต่งด้วยกิเลส
    ที่รัก โลภ โกรธ หลง ซึ่งเป็นเพียงจิตสังขาร(อาการของจิต)

    ฉะนั้นการดูจิตที่พูดว่าเป็นจิตตานุปัสสนานั้น ความหาใช่ไม่
    เป็นเพียงการตามรู้อาการของจิตได้เร็วขึ้นเท่านั้น
    แต่ปล่อยวางอาการของจิตไม่เป็น
    ได้แต่รู้อาการของจิตจากอาการหนึ่งสู่อีกอาการหนึ่ง

    การวางเฉยของนักดูจิตในปัจจุบันนั้น
    เป็นเพียงความเฉยที่เกิดจากความคุ้นชิน
    หรือที่เรียกว่าจิตกระด้างต่ออารมณ์เท่านั้น

    ยังจัดว่าเป็นอาการหนึ่งของจิตที่พยายามวางเฉยจนจิตคุ้นชินต่ออารมณ์

    ต่างกับการวางเฉยในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานโดยสิ้นเชิง
    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นเป็นการวางเฉย
    ที่เกิดจากการสลัดหรือขจัดกิเลส(อารมณ์)เหล่านั้น
    เนื่องจากจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในปัจจุบันธรรมที่แท้จริง

    ไม่ใช่จิตที่คิดว่าเป็นกลางจากการคิดเองเออเองของนักดูจิตดังเช่นในปัจจุบัน

    ;aa24
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านทั้งหลายครับ มีคนเป็นห่วงเป็นใย
    ว่าจะเป็นการปรามาสครูบาอาจารย์

    ท่านเองเคยพิจารณาในทางกลับกันมั้ยครับว่า
    ในบางครั้งครูบาอาจารย์บางท่านที่มีอยู่ในปัจจุบัน
    ก็สั่งสอนให้ลูกศิษย์ลูกหาปรามาสพระบรมศาสดาซะงั้นเอง

    ท่านควรที่จะต้องเป็นพุทธบุตรที่ดี
    ที่คอยปกป้องจอมศาสดา
    ซึ่งเปรียบเหมือนบิดาของเราชาวพุทธนะครับ

    ไม่ใช่ตามปกป้องพุทธบุตรที่ขานนาคเข้ามาเพื่อประกาศศาสนา
    โดยไม่เดินตามรอยพระบาท แต่บัญญัติธรรมะของตัวเองขึ้นมาแทนที่ครับ

    ไม่คำนึงถึงหรือนำมาเทียบเคียงกับพระสูตรและพระวินัย
    แถมยังแนะนำสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาไม่ให้นำพาในพระพุทธพจน์

    บัญญัติในสิ่งที่พระองค์ไม่ได้บัญญัติ
    สิ่งที่พระองค์พร่ำสอน ก็มองเมินเหมือนสิ่งไร้ค่า

    "ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
    เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน
    อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง
    นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ”

    ;aa24
     
  6. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    ถึงท่านที่ใช้นามว่า ธรรมภูต” ก่อนที่ผมจะเริ่มอธิบายธรรมะนั้น ได้เคยอ่านธรรมะที่ท่านเขียนไว้ ท่านเขียนได้ถูกต้อง เป็นผู้มีความเข้าใจถูกต้อง ความเข้าใจในขั้นต้นของจิต ของความเป็นพุทธะท่านสามารถเข้าใจได้ถูกต้องทั้งหมด
    ท่านธรรมภูตอธิบาย ถูกทางในขั้นต้นทุกอย่าง ได้อ่านธรรมะท่านมาหลายกระทู้แล้ว และก็อ่านมานานแล้วก่อนที่จะอธิบายนี้อีก ก็ชื่มชมท่านนะ ชื่มชมที่มีความเข้าใจถูกต้อง ความเห็นถูกต้อง ท่านที่มีความเห็นถูกต้อง ความคิดถูกต้องอย่างนี้ จะไม่ไปตกอบายภูม ไม่ตกอยู่ภายใต้ผู้หลงผิด ผู้เห็นผิด และเรื่องท่านกับคุณขันต์ที่เข้าใจว่า ท่านหนึ่งสอนผิดนั้น ล่ะ ผมก็มาช่วยยืนยันให้ท่านอีกครั้งหนึ่ง และที่อธิบายไปแล้วนั้น ก็เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าท่านทั้ง 2 เข้าใจถูกต้องแล้ว ส่วนท่านที่สอนผิด สอนเรื่องจิตผิด สอนเรื่องของการเป็นพุทธะผิด ผมจึงช่วยอธิบายความเป็นพุทธะที่ถูกต้องให้ อธิบายขยายความด้วยเพราะผมเห็นจิตอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งแล้วจึงมาอธิบายว่าที่ถูกเป็นอย่างไร
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เห็นท่านธรรมภูต อธิบายสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผมจะอธิบายเพิ่มอีกหน่อยครับ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สมาธิมั่นคงเกิดได้ต่อ เมื่อมีสติตั้งมั่น” <O:p</O:p
    สติตั้งมั่นได้ ก็ต่อเมื่อมีสมาธิมั่นคง ” <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    แล้วถามว่า สติ กับสมาธิ อะไรเกิดก่อนกัน<O:p</O:p
    คำตอบ เมื่อสติเกิดขึ้น สมาธิจะตามมาทันทีเลย แยกจากกันไม่ได้ และขาดอย่างหนึ่งก็ไม่ได้ ถ้าขาดอย่างหนึ่ง ก็จะไม่สามารถรักษาอย่างหนึ่งได้<O:p</O:p
    มรรค 8 จะเห็นว่าองค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จัดสติขึ้นก่อนตามด้วย สมาธิ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ขอกลับมาเรื่องการดูจิตที่เป็นหัวข้อของกระทู้นี้<O:p</O:p
    การดูจิตตรงๆเลยนะ ถ้ามิใช่ผู้เข้าถึงพุทธะแล้วไม่มีทางมองเห็นจิตได้เลยทันที แต่มันจะไปเห็นความคิดแทน ซึ่งท่านที่ดูจิตอยู่ก็เป็นอย่างนี้ เรียกได้ว่าเป็นทุกท่าน ทั้งผู้สอน (พระปราโมทย์) และลูกศิษย์ พวกดูจิตที่ปฏิบัติไม่ได้และหลงอยู่ทุกวันนี้นะ จึงมิใช่เรื่องแปลกอะไรเลย และเมื่อหลงแล้วก็มีคำสอนที่เกิดจากความฟุ้งซ่าน หลงประหนึ่งว่าตนเข้าถึงวิมุติ เข้าถึงตรัสรู้ ผู้ที่หลงตัวหลงตนแบบนี้เป็น ไม่ได้แม้แต่พระอริยะเจ้าเบื้องต้น เพราะติด สักกายทิฏฐิ สังโยชน์ข้อแรก และการอวดสิ่งที่ไม่มีในตน ให้คนอื่นเข้าใจว่าบรรลุธรรมะแล้วไม่ได้บรรลุธรรมะ หรือการทำเป็นรู้จิตรู้ใจ ผู้สอนทั้งที่ไม่มีธรรมะนี้ในตน จิตตนเองไม่รู้ ยังคิดว่าเกิดๆดับๆ แล้วจะไปรู้จิตผู้อื่นได้อย่างไร อันนี้ อาบัติปาราชิก อวดอุตตริมนุสสธัมม์ อวดธรรมะที่ไม่มีในตนเอง ถ้าไม่เจตนาเป็น อาบัติสังฆาทิเสส สังฆาทิเสส ถ้าทำ อาบัติสังฆาทิเสส เป็นปกติก็ไม่ต่างอะไรจาก อาบัติปาราชิก มากนัก สิ่งที่ยกมานั้นเป็นเหตุเพื่อปิดกั้นมรรคผลทั้งหมด และก็เป็นความจริงซึ่งดูได้จากเว็บที่ชื่อ วิมุติ<O:p</O:p
    ถ้าท่านธรรมภูตสังเกตุให้ดี ท่านที่มีความเห็นถูกต้องจะปฏิเสธท่านผู้สอนผิดนี้ ทั้งหมด ความจริงไม่ได้รังเกลียดตัวท่าน แต่ปฏิเสธสิ่งที่เป็น ความหลงผิด คำสอนผิดทั้งหมด คำที่ปรามาสองค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้าปฏิเสธหมด ไม่ทราบว่าสอนมาได้อย่างไรว่า<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พบผู้รู้ทำลายผู้รู้ เจอจิตทำลายจิต พบพระพุทธเจ้าให้ฆ่าเสีย ” <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คำสอนแบบนี้นะหรือที่เรียกตัวเองว่าพระสงฆ์ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ซึ่งก็เป็นธรรมดาที่ผู้เข้าถึงกระแสพุทธะทั้งหลายจะปฏิเสธ ในสิ่งที่ไม่ตรงกับคำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้า ก็มีเพียงแต่ท่านที่อยู่นอกกระแสของความเป็นพุทธะ ที่ยังมีความหลงความไม่เข้าใจนี้ละที่ยังหลงผิดอยู่ ที่เห็นผิดเป็นถูก เห็นที่ถูกเป็นผิด เห็นธรรมะเป็นอธรรมะ เห็นอธรรมะเป็นธรรม ท่านเหล่านี้แยกแยะผิดถูกดีชั่วด้วยตัวเองไม่ได้ ไม่อยู่ในข่ายของ สัมมาทิฏฐิ เลย แม้แต่น้อย<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การจะเข้าถึง มหาสติหรือความเป็นพุทธะได้นั้น มีอยู่<O:p</O:p
    อย่างหยาบ 40 ทาง ตามพระกรรมฐาน 40 <O:p</O:p
    อย่างกลาง มหาสติปัฏฐานสี่<O:p</O:p
    อย่างละเอียด โพชฌงค์เจ็ด <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านต้องได้ตามลำดับนี้เท่านั้น จึงจะสามารถเข้าถึงความเป็นพุทธะได้ ทางอื่นไม่มีอีกแล้ว และก็เป็นทางเดียวกับหลวงพ่อสดสอนแต่ท่านสอนละเอียดจนยากเกินกว่าที่ปุตุชนจะรู้ได้ด้วยความคิด เพราะสิ่งเหล่านี้มันอยู่เหนือความคิด จึงไม่สามารถเข้าถึงได้โดยความคิด <O:p</O:p
    ใครจิตหยาบหน่อยก็หา พระกรรมฐาน 40 ปฏิบัติ ใครจิตดีหน่อยก็นำมหาสติปัฏฐานสี่ไปปฏิบัติ ใครจิตดีมากแล้วก็นำ โพชฌงค์เจ็ด ไปปฏิบัติ ผมเข้าถึงอย่างนี้ก็อธิบายอย่างนี้ และก็สามารถอธิบายได้ละเอียดทั้ง 40 อย่างหยาบจนถึงละเอียด และก็มีในคำสอนของ องค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งตรงกัน <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มีหลายท่านสงสัยว่า พระกรรมฐาน 40 นั้น เป็นเพียงสมถะกรรมฐาน <O:p</O:p
    คำตอบ พระกรรมฐาน 40 ปุตุชนปฏิบัติก็เป็นได้เพียง สมถะกรรมฐาน เท่านั้น <O:p</O:p
    แต่ผู้เข้าถึงพุทธะแล้วนั้น ทำเป็นวิปัสสนากรรมฐานทั้งหมด เพราะอะไร เพราะ พระกรรมฐาน 40 อธิบาย สอนออกจากจิต ผู้เข้าถึงพุทธะอย่างสมบูรณ์ คือ องค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    “อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา<O:p</O:p
    จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน ปริปุเรนฺติ,<O:p</O:p
    จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ภาวิตา พหุลีกตา<O:p</O:p
    สตฺต โพชฺฌงฺเค ปริปุเรนฺติ,<O:p</O:p
    สตฺต โพชฺฌงคา ภาวิตา พหุลีกตา<O:p</O:p
    วิชฺชา วิมุตฺตึ ปริปุเรนฺติ. แปลว่า<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสตินี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น<O:p</O:p
    ทำให้บ่อยๆแล้ว ย่อมได้ชื่อว่า ทำสติปัฏฐานสี่ให้บริบูรณ์,<O:p</O:p
    สติปัฏฐานสี่นี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆแล้ว<O:p</O:p
    ย่อมได้ชื่อว่า ทำโพชฌงค์เจ็ดให้บริบูรณ์,<O:p</O:p
    โพชฌงค์เจ็ดนี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆแล้ว<O:p</O:p
    ย่อมได้ชื่อว่า ทำวิชชาจิตหลุดพ้นทุกข์ให้บริบูรณ์ ดังนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ธรรมะนี้คุณ ธรรมภูต ได้พิมพ์ไว้ด้านบนเป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งท่านอธิบายได้ ตรงใจผู้เข้าถึงพุทธะแล้ว จึงเก็บไว้และยกเอามาอ้างอิงสิ่งที่ผมอธิบายไป ซึ่งธรรมะที่เข้าถึงความเป็นพุทธะนั้น จะต้องถึงความเป็นพุทธะแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถอธิบายได้ไม่เช่นนั้นอธิบายไปก็ผิดก็เพี้ยน <O:p</O:p
    และที่คุณ<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>ขันต์ เคยบอกว่าต้องเป็น สติปัฏฐานสี่ วันนี้ผมมายืนยันให้ เป็นอย่างที่ท่านเข้าใจนะถูกแล้ว สังเกตอย่างหนึ่งผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ จะมีพื้นฐานความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน เพียงแต่ท่านใดจะเร็วหรือช้าเท่านั้นอง <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ขออธิบายต่ออีกหน่อย <O:p</O:p
    กระทู้ที่ผมเปรียบเทียบคำสอนดูจิตที่ผิดและที่ถูก ...เป็นอย่างไร ผมทราบว่าคุณธรรมภูตเข้าใจธรรมะที่ผมได้อธิบายนั้น เพราะท่านมีพื้นฐานความเข้าใจที่ถูกต้องอยู่แล้ว
    ท่านรู้หรือไม่ว่า ผู้เข้าถึงพุทธะนั้นย่อมทราบว่าท่านใดบ้างสามารถเข้าถึงกระแสได้ และธรรมะที่ผมยกมานั้น ซึ่งมีความหมายมีเหตุคล้ายกับ คำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระอัสสชิเถระ ยกมาสอนอุปติสสปริพาชก ท่านอุปติสสปริพาชก (พระสารีบุตร) ท่านมีความเข้าใจในธรรมะนั้น ทำให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม เป็นผู้เข้าถึงกระแสพุทธะ คำสอนใดที่ผู้เข้าถึงพุทธะสอน ท่านใดเข้าใจโดยจิต ท่านนั้นเรียกได้ว่าเป็นผู้เข้าถึงกระแสพุทธะ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การที่ผมยกธรรมะเรื่อง สติ ขึ้นอธิบายในกระทู้ผมก่อน เพราะสติ เป็นหลักสำคัญของการปฏิบัติพระกรรมฐานทั้งหมด รวมถึงพระกรรมฐาน 40 ซึ่งผมเข้าถึงพระกรรมฐานทั้ง 40 ได้เพราะ สติ ที่เป็น มหาสติ เพียงอย่างเดี่ยว ก็สามารถเข้าถึงได้ทุกอย่าง เพราะทุกอย่าง ล้วนออกจากจิต พระกรรมฐานใดบ้างไม่ใช้จิต ซึ่งไม่มี
    <O:p</O:p
    และเพื่อจะดูว่าท่านใดมีความเห็นได้ดูต้อง ท่านใดเห็นผิด และก็เป็นตามนั้น จริงๆมีทั้งท่านที่เห็นถูกและผิด ที่หลงหนักหน่อยก็ปรามาสผู้อธิบายเลย หารู้ไม่ว่ามันจะเป็นกรรมหนักปิดกั้นมรรคผล และคำปรามาสใดๆ มันไม่กระทบผู้อธิบายเลย เรียกว่า “ปรามาสผิดท่าน” ว่าท่านที่ไม่โกรธมันก็เข้าตัวเองหมดนั้นล่ะ<O:p</O:p
    ถ้าสังเกตให้ดีธรรมะที่ผมอธิบายไปนั้น ท่านที่ชื่อ วิษณุ12 ค้านก่อน ท่านที่ยังเป็นมิจฉาทิฐิ ค้านนะ อันนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก ซึ่งผมก็ยังไม่เปลี่ยนจากคำว่าพระอริยะเจ้าเบื้องต้นเป็นสมมุติสงฆ์

    <O:p</O:p
    พอคุณ<st1:personName w:st="on" ProductID="ขันต์ ค้านอีกท่าน">ขันต์ ค้านอีกท่าน</st1:personName> ถ้าสังเกตุให้ดี ผมเปลี่ยนและอธิบายขยายความทันที เพราะท่านที่มีพื้นฐานของสัมมาทิฏฐิ ยังไม่เข้าใจ ท่านที่เป็นมิจฉาทิฐิไม่ต้องห่วงไม่มีทางเข้าใจเลย พออธิบายขยายความ ท่านที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ทราบกันหมด แต่ ท่านที่เป็นมิจฉาทิฐิ ยังหลงอยู่ ยังเข้าใจผิดอยู่ สังเกตดูได้จากกระทู้ เมื่อขยายความก็ทราบว่า คุณขันต์ เข้าใจเพราะถ้าไม่ถูกต้องแล้ว คุณ<st1:personName w:st="on" ProductID="ขันต์ จะค้านหัวชนฝา">ขันต์ จะค้านหัวชนฝา</st1:personName> จนกว่าฝาจะพัง เรียกได้ว่า นั่งยัน นอนยันเลย แม้ตายถ้าไม่ถูกต้องเป็นไม่ยอมรับ และถ้าไม่ถูกต้องแล้วไม่เกรงใจใครเลย ตรงไหนไม่ถูกต้องตรงนั้นกระเจิง นี่คือข้อดีมาก เว็บนี้มีคุณขันต์นะ ไม่อย่างนั้น พวกมิจฉาทิฐิเต็มเว็บ คุณขันต์เคยถูกผมเตือนเรื่องพูดไม่เหมาะสมกับคุณเอกวีร์ครั้งหนึ่ง เมื่อพิจารณา แล้วก็เหมือนพ่อสอนลูกนะ แต่อย่าให้ลูกเตลิดไปหมดนะ ถ้าทำคนที่เป็นมิจฉาทิฐิ ให้เป็นสัมมาทิฐิได้นั้นเป็นเรื่องดี เป็นเรื่องเหมาะสม แต่ถ้าไม่ได้จริงๆก็ต้องปล่อยไปตามกรรมตามความคิดที่หลง
    <O:p</O:p
    ผมตั้งใจว่าจะแนะนำการปฏิบัติในเบื้องปลายให้กับผู้มีสัมมาทิฏฐิ ให้เข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้วจะได้ไม่ต้องพิมพ์อธิบายในเว็บนี้อีก เพราะเกรงว่าจะเป็นอันตรายกับท่านที่ปรามาสผู้อธิบายอย่าง ผมนี้ ซึ่งไม่อยากให้เกิดกรรมแห่งกรรมต้องไปปิดกันมรรคผลผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิ เล่าให้ฟัง ง่ายๆนะครับ ท่านที่ปรามาสผมนะ ถ้าเคยทำสมาธิได้มาก่อนนะครับ พอปรามาสผมแล้วลองกลับไปทำสมาธิซิครับ มันจะไม่สามารถจะเข้าสมาธิได้เลย มันจะมีความคิดความฟุ้งซ่านเต็มไปหมด เป็นอย่างนี้ทุกท่าน ส่วนท่านที่ทำสมาธิไม่ได้อาจไม่ทราบ จะทราบอีกครั้งก็ต่อเมื่อไม่มีลมหายใจนั้นล่ะ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องดีเป็นแน่ ผมถึงไม่อยากให้เกิดเรื่องแบบนี้กับผู้ปฏิบัติแม้ผู้นั้น จะมีจิตเป็น มิจฉาทิฏฐิ หรือไม่ก็ตาม

    ถ้าท่านใดสนใจเกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิ ในระหว่างที่ผมยังไม่อธิบาย ให้ไปอ่านกระทู้ ที่คุณธรรมภูต” อธิบายไว้ ซึ่งในขั้นต้นคุณ ธรรมภูต ได้ยกมาอธิบายไว้แล้ว ส่วนเบื้องปลาย ผมจะมาขยายความจาก คำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้า/พระไตรปิกฎ/พระอรหันต์ ว่าหลัก จริงและวิธิการปฏิบัตินั้นเป็นอย่างไร ถ้าขยายความจาก คำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้า ให้ผู้อ่านทราบน่าจะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด<O:p</O:p
    ผมจบการอธิบายเท่านี้ก่อนนะ ขอบคุณครับ<O:p</O:p
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465


    ถ้าเช่นนั้น ขอให้ทราบไว้ว่า เราสามารถทำสมาธิได้ดีกว่าเดิม

    ไม่เคยต้องพบอะไรที่ยุ่งยากดั่งสรรพคุณของคุณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2009
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านอาจานนิฯครับ ถึงท่านจะไม่ฟังใครเลยสักคนก็ตาม
    ควรต้องฟังคำของจอมศาสดาไว้เป็นหลักเป็นที่พึ่งนะครับ

    ท่านลองตรองให้ดีๆสิครับว่า
    ถ้าธรรมะของพระบรมครู ง่ายอย่างที่คุณรู้แล้ว
    ธรรมะของพระองค์คงหมดนานแล้ว
    เพราะความมักง่ายแท้ๆ ของผู้สืบทอดที่มักง่ายอย่างปัจจุบัน

    ยังดีว่า ครูบาอาจารย์แต่เก่าก่อนทั้งหลาย
    ท่านยังเดินตามรอยของพระพุทธองค์อย่างมั่นคง
    ศาสนาจึงยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน

    เมื่อครั้งที่จอมศาสดาตรัสรู้ใหม่ๆนั้น
    พระองค์ท่านทรงปรารภว่าธรรมะที่ท่านตรัสรู้นั้น
    ท่านปรารภที่จะไม่สอนด้วยซ้ำไป
    เพราะเป็นของยากและละเอียดลึกซึ้งมาก
    เหมาะสำหรับผู้ที่มีกิเลสน้อยและเบาบาง
    พระองค์ท่านทรงปรารภถึงอดีตท่านอาจารย์
    ทั้งสองของท่านก่อนใครๆทั้งสิ้น

    จากนั้นค่อยลำดับลงมาเรื่อยๆ
    สังเกตมั้ยครับว่าที่ทรงปรารภถึงนั้น
    ล้วนแล้วแต่เป็นท่านที่มีการฝึกฝนอบรมจิตเป็นอย่างดีแล้วทั้งนั้นครับ

    ;aa24
     
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    อริยมรรค ทั้งหมด มี สัมมาสมาธิ เป็นประธาน
     
  10. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ทุกความเห็นข้างบนนี้ ในทุกโพส มีจุดที่ผมไม่เห็นด้วย แต่ไม่รู้ว่าปุ่มมันหายไปไหน เลยมาโพสว่า " ไม่เห็นด้วย "

    ผมคงไม่แสดงเหตุผล เพราะเชื่อว่าทุกท่านคงมีเหตุผลตามที่ตัวเห็น เพื่อประโยชน์สูงสุด ผมคงไม่เสนออะไร แล้วแต่บุญ กรรม วาสนา ของแต่ละท่านแล้วกันท่าน

    มาบอกเฉย ๆ ว่า " ไม่เห็นด้วย " โชคดีเจริญธรรม ^-^
     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    เห็นว่า สัมมาทิฎฐิ เป็นประธาน อย่างนั้นหรือ
     
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ผู้ดูแลเว็บครับ กรุณาเอาปุ่ม ไม่เห็นด้วย ของพวกเราคืนมา
     
  13. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ในการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ “สัมมาสมาธิ” เป็นประธาน แวดล้อมด้วยมรรคอีก ๗ องค์
    ในมรรค ๗ องค์ ที่แวดล้อม “สัมมาสมาธิ” นั้น มี “สัมมาทิฐิ” เป็นประธาน

    นั่นแสดงว่า การปฏิบัติ “สัมมาสมาธิ” ทำให้เกิด “สัมมาทิฐิ”
    รู้เห็นตามความเป็นจริง รู้ว่า อะไรเป็นมิจฉาทิฏฐิ อะไรเป็นสัมมาทิฐิ

    (smile)
     
  14. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    จะอนุโมทนา ปุ่มอนุโมทนาก็หาย T_T

    (smile)
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านจะได้ไม่มองเมินสัมมาสมาธิ ที่จอมศาสดาทรงพร่ำสอนครับ

    ท่านจินที่รัก ดีครับถ้าไม่เห็นด้วยชี้ชัดหน่อยก็ดีนะครับ
    ผมนำพุทธพจน์มาให้อ่านนะครับ ลองพิจารณาดูให้ดีๆครับ

    ภิกษุนั้น ประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวร
    สติสัมปชัญญะและสันโดษอันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว

    ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ
    ป่าช้า ป่าชัฏที่แจ้ง ลอมฟาง

    ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้เฉพาะหน้า

    เธอละความเพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่
    ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้
    ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท

    มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
    ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือพยาบาทได้
    ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ

    มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่

    ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้
    ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว

    เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านมีจิตสงบ ณภายในอยู่

    ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ
    ได้ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา

    ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
    ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.

    ;aa24
     
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ขอบคุณ คุณ ธรรมสวนัง ที่ยกพระสูตรมา
    สัมมาสมาธิ คือ องค์ประธาน ซึ่งจะต้องมี มรรคที่เหลือ เป็นเหตุ
    สุดท้ายแล้ว จะมาทำที่องค์สมาธิ นี้ สลัดนิวรณ์ และ กิเลส ด้วยการครองใจที่ ปราณีตแล้ว
    ไม่ใช่ ข่มกิเลส นั่นแหละจะเป็นองค์สัมมาสมาธิ
     
  17. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    นั่น ธรรมภูติ ยกพระสูตรมาอีก ก็สอดคล้องกันอีกโดยปริยาย
     
  18. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    เห็นด้วยกับคุณขันธ์กับคุณธรรมสวนัง
    ในเรื่อง สัมมาสมาธิ คือ องค์ประธาน ซึ่งจะต้องมี มรรคที่เหลือ เป็นเหตุ
    สุดท้าย... มรรคสมังคี
    ขออนุโมทนา สาธุ
     
  19. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงชักชวนให้ชาวพุทธลงมือปฏิบัติสมาธิตาม ดังมีพระดำรัสว่า

    สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ, สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ แปลว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้
    ”.

    ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า จิตที่เป็นสมาธิสามารถสลัดความยึดถืออารมณ์ ความยินดียินร้าย
    ซึ่งทำให้เกิดความเศร้าหมองออกไปได้อย่างสิ้นเชิง
    และเปิดสภาพอันประภัสสผ่องใสของตนเอง ให้ปรากฏขึ้นตามเดิมด้วย

    ดังนั้น ผู้ที่สามารถทำจิตให้เป็นสมาธิจนชำนาญคล่องแคล่ว
    จิตย่อมหลุดพ้นตั้งมั่นอยู่ได้ด้วยตนเอง คือ
    ไม่ต้องพึ่งพาอารมณ์หรือสิ่งใดๆจากภายนอกเลย


    และย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง (เห็นอริยสัจ ๔) ดังนี้คือ:

    ๑.เห็นจิตที่ส่งออกไปยึดอารมณ์ภายนอกด้วยความยินดียินร้าย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (สมุทัย).
    ๒.เห็นจิตซัดส่ายเนื่องด้วยอารมณ์นั้นๆ เป็นทุกข์.
    ๓.เห็นว่าการปฏิบัติสัมมาสมาธิ สามารถปล่อยวางอาการต่างๆได้ เป็นมรรค.
    ๔.เห็นผลจากการปล่อยวาง ทำให้จิตสิ้นการปรุงแต่ง เป็นนิโรธ.

    ถ้าผู้ปฏิบัติสามารถประคองจิตไว้ให้ตั้งมั่นอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
    ณ ฐานที่ตั้งสติที่ได้อุปโลกน์ไว้ด้วยแล้ว
    จิตก็ย่อมหลุดพ้นจากการปรุงแต่งใดๆอย่างสิ้นเชิงและเป็นการถาวรตลอดไป

    ผู้ปฏิบัติผู้นั้นก็ย่อมเข้าถึงสภาพแท้จริงของพระพุทธศาสนา
    และจิตย่อมบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายด้วย

    (smile) จากบล็อกหนูเล็กนิดเดียว
     
  20. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +1,936
    ขอขยายความคำว่าสัมมาสมาธิเป็นประธานตามความเข้าใจของผม

    เวลาเกิดอริยมรรค จะเกิดขึ้นในสมาธิตั้งแต่ฌาณ๑-ฌาณ๘ แต่ก่อนเกิดอริยมรรค ไม่ใช่หัดทำสมาธิบ่อยๆแล้วจะเกิดอริยมรรคกันได้ เพราะฤาษีชีไพรก่อนสมัยพุทธกาลหรือในสมัยนั้น ก็ทำสมาธิกันเก่ง ถึงขั้นสามารถแสดงฤทธ์ได้ก็มีมาก แต่ก็ไม่มีใครเกิดอริยมรรค ตรงนี้เป็นเพราะอะไร

    เหตุที่แตกต่างกันเพราะ อริยมรรค อันหมายถึงหนทางสู่ความเป็นอริยะ ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๘ ข้อ มรรคตั้งแต่ข้อ ๑-๗ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเพาะบ่มไว้ให้มาก ส่วนสัมมาสมาธิมีหน้าที่เป็นเหมือนภาชนะให้มรรคข้อ ๑-๗ มาประชุมรวมกัน

    ดังนั้นการภาวนาจะให้ได้ผล ผู้ภาวนาต้องรู้ให้ได้ก่อนว่าสมาธิที่ตัวเองทำนั้น อยู่ในแนวทางของมิจฉาสมาธิหรือในแนวทางของสัมมาสมาธิ

    ถ้าทำมิจฉาสมาธิอยู่ไม่รู้ว่าตนเองกำลังทำมิจฉาสมาธิ แล้วเห็นผิดว่าตนเองกำลังเจริญมรรคอยู่ก็ยิ่งห่างไกลจากพระนิพพาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...