การดูจิตโดยขาดพื้นฐานที่ถูกต้อง(ปัจจุบันธรรม) ก็คือ การตามดูอาการของจิตดีๆนี่เอง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 19 มิถุนายน 2009.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    ท่านบัวฯครับ ผมระลึกได้ว่าเรื่องเหล่านี้
    ผมนำมาเสนอบ่อยมากครับ ท่านคงไม่เคยอ่านผ่านตามาบ้าง

    ถ้าท่านเคยอ่านคงไม่มีคำถามแบบนี้หรอกครับ
    เพราะเป็นการตกกระแสของนักปฏิบัติ กลายป็นนักปริยัติไป

    ในครั้งก่อนพุทธกาลนั้นมีการปฏิบัติสมาธิกันมานานแล้ว
    ก่อนที่พระพุทธองค์จะอุบัติขึ้นเสียอีก

    แม้นพระองค์เองก็ยังเคยปฏิบัติมากับท่านอาจารย์ทั้งสองเลย
    พระองค์ทรงได้ฌานที่๗และฌานที่๘เป็นลำดับ
    จนท่านอาจารย์ทั้งสองถึงกับออกปากชมเลยครับว่า
    เรียนได้รวดเร็วมากแถมยังคล่องแคล่วชำนาญยิ่ง

    เมื่อพระองค์ทรงพิจารณาแล้วว่ายังไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์
    ทรงลาท่านอาจารย์ทั้งสอง ออกค้นหาโมกขธรรมต่อ

    จนกระทั่งถึงวันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๖ พระองค์ทรงอธิษฐานจิตว่า
    ถ้าเรายังไม่บรรลุโมกขธรรมนั้น เราไม่ขอลุกจากที่นั่งเลย

    เมื่อทรงตรัสรู้ใหม่ๆนั้น พระองค์ยังทรงปรารภว่าธรรมอันเราตรัสรู้นั้น
    เป็นธรรมอันยิ่งและลึกซึ้ง เหมาะสำหรับผู้มีกิเลสน้อและเบาบาง

    ทรงปรารภถึงท่านอาจารย์ทั้งสองก่อนใครๆ
    เพราะท่านทั้งสองมีกิเลสเบาบาง เหมาะแก่การชี้แนะให้เห็นธรรมได้

    แต่ปรากฏว่าท่านทั้งสองได้ล่วงลับไปก่อนแล้วจึงปรารภถึง
    พระอาจารย์ทั้ง๕(ปัญจวัคคีย์)เป็นลำดับต่อไป

    ที่ท่านบัวฯว่ามานั้นเป็นสมาธิที่มีมาก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้
    แต่ก็ไม่ได้เสียหายอะไรตรงไหนนิครับ ถึงกับต้องกลัวว่าเป็นมิจฉาสมาธิ

    คนที่เป็นมิจฉานั้นส่วนใหญ่จิตใจมีแต่อกุศลเต็มหัวใจ(วุ่นวาย)
    ฝึกสมาธิได้ยากอยู่แล้วครับ ฉะนั้นอย่ากลัวเรื่องมิจฉาสมาธิเลยครับ

    สัมมาสมาธิของพุทธศาสนานั้นมีเพียงฌาน๔เท่านั้นนะครับ

    ผมถูกใจมากเลยครับ ที่ท่านบัวฯเปรียบเทียบได้ดีมากครับ
    ที่เปรียบสัมมาสมาธิเป็นภาชนะที่ชอบ(สะอาด)
    เหมาะที่จะเอามรรคอีก๗องค์มายำรวมกันเป็นมรรคสมังคี

    ถ้าไม่มีภาชนะมารองรับแล้วท่านบัวฯจะเอามรรคอีก๗องค์
    ไปเที่ยวหมกไว้ที่ไหนครับ นอกนั้นเป็นที่ๆไม่ควรวางทั้งสิ้น

    สรุปว่าสัมมาสมาธิ ต้องเป็นใหญ่เป็นประธานเท่านั้น
    แวดล้อมสัมมาสมาธิด้วยมรรคอีก๗องค์ โดยมีสัมมาทิฐิเป็นประธาน
    เมื่อมีสัมมาสมาธิแล้วย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง(สัมมาทิฐิ)

    ;aa24
     
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    อืม .. ปฎิรูป เข้าไป ^-^
     
  3. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    ช่วยนำพระสูตรมาอ้างอิงทีครับ...
     
  4. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    เห้นด้วยครับ...
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    จะอธิบาย สัมมาสมาธิ ในอริยมรรค ให้ฟัง

    ตามธรรมดา ปุถุชน ทำสมาธิ นั้น เขาจะไม่คำนึงในเรื่องของกิเลส และ ไม่คำนึงถึงอนัตตาในอารมณ์ เวลานั่งสมาธิก็กำหนดอยู่เบื้องหน้า ในคำบริกรรม ทั้งนี้เพราะไม่ได้ศึกษาด้านจิต ไม่ได้มีมหาสติปัฎฐานที่พร้อม
    ทีนี้ในอริยมรรคเป็นอย่างไร ก็ตอบว่า ตามธรรมดา จิตของปุถุชนนั้น จะเข้าสมาธิก็ไม่เห็นอารมณ์ จะเผลอไปแค่แว็บเดียวในตัววิญญาณรู้ ก็ไม่เห็น จะเผลอไปแว็บเดียวในตัวสัญญาก็ไม่เห็น จะเผลอแว็บเดียวในเวทนาก็ไม่เห็น

    แต่ในสัมมาสมาธิในอริยมรรคนั้น เห็นหมด แม้คำบริกรรม ก็สามารถจ่อลงคำบริกรรมได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยการละ ขันธ์ 5 และ นิวรณ์ อันปรากฎแม้เสี้ยวหนึ่ง

    สัมมาสมาธินั้นจึงประกอบไปด้วยปัญญาอย่างแท้จริง

    ผมพูดให้ฟังเท่านี้ เพราะเป็นเรื่องละเอียด และจะต้องฝึกฝน อินทรีย์ โพชฌงค์ ให้พร้อมจึงจะทำได้

    มีผลทำให้ระงับ สังขารทั้งปวง
     
  6. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    มหาสติปัฏฐานสูตร

    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
    มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

    เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    เพราะ วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

    เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
    บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

    อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ

    (smile)
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    ปัญหาคือ แล้วปุถุชนต้องทำสมาธิไหม
    ตอบว่า ปุถุชน ยิ่งต้องทำ ให้มาก เพราะจะได้มีจิตที่ตั้งมั่น อินทรีย์ แก่กล้า พละแก่กล้าขึ้นเพื่อที่จะรองรับ ในสัมมาทิฎฐิ ได้
    ศีล ต้องมี คุณธรรมต้องหมั่นทำ
     
  8. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    895
    ค่าพลัง:
    +1,936
    ว่าตามพระสูตร ฌาณมี ๑-๔
    อรูปฌาณทั้งหลายนับเป็นฌาณ ๔ เพราะมีแค่อารมณ์อันเดียวเหมือนกับฌาณที่ ๔

    ว่าตามอภิธรรม ฌาณมี ๑-๕
    พวกอารมณ์ฝ่ายไม่มีรูปทั้งหมดนับเป็นฌาณที่ ๕ เพราะไม่มีรูปเหมือนกันหมด

    ถ้านับตามตัวสภาวะของฌาณจริงๆ ว่าอรูปฌาณแต่ละอย่าง มีอารมณ์อันเดียวที่แตกต่างกัน จึงมีฌาณที่ ๕-๘
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ว่าตามความเห็นส่วนตัวของเรา

    ฌาณ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเจตนาของเรา(ของใจ) ได้แก่ รูปฌาณ4 และ อรูปฌาณ4

    ฌาณ ที่เกิดขึ้นโดยพ้นเจตนาของเรา(ของใจ) เรียกว่า สัมมาสมาธิ มีฌาณ1-4

    เราเข้าใจมาจากการอ่านและฟัง ไม่ได้เข้าใจเอง ถ้าผิดก็คือเราคิดผิดเอง นะ

    ปล. คำว่า เราคือใจ ของปุถุชน นะ ไม่ใช่ใจของพระอริยะ ถ้าต่างฐานะ อาจทำให้อ่านแล้วเข้าใจผิดได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2009
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    ท่านเค-ขวัญครับ
    เจตนาหรือสัญญานั้นมีสองแบบ
    เจตนาหรือสัญญาในการที่จะยึด
    และเจตนาหรือสัญญาในการที่จะปล่อย
    สัมมาสมาธิเป็นสมาธิที่มีเจตนาหรือสัญญาที่จะปล่อยวางอารมณ์
    แตกต่างจากฌาน๑-๘นั้นเป็นสมาธิ
    ที่มีเจตนาหรือสัญญาที่จะยึดอารมณ์อย่างเหนียวแน่นครับ

    ;aa24
     
  11. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    สัญญามี ๒ แบบ

    สัญญาฝ่ายยึด...จดจำอารมณ์...ยึดอารมณ์...ปรุงแต่งต่อไป...( คนทั่วๆไป )

    กับ สัญญาฝ่ายปล่อย...จดจำรู้ว่านี่คืออารมณ์...ปล่อยวางอารมณ์...ไม่ปรุงแต่งต่อไป...( คนปฏิบัติ )
    ซึ่งต้องหมั่นฝึกให้ชำนาญจนเป็นวสี กระทบอารมณ์ปุ๊บ...รู้...ปล่อยได้ปั๊บ

    (smile) อ่าน...หนูเล็กนิดเดียว
     
  12. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    วิธีเจริญจิตภาวนา (ตามวิธีหลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
    เมื่อเจริญจิตจิตภาวนาจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง)
    ก็ไม่ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น

    จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่าง ๆ อยู่เป็นอิสระ
    ปราศจากสิ่งใด ๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น

    ;aa24
     

แชร์หน้านี้

Loading...