พลังจิต - พลังจักรวาล (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย KK1234, 16 มิถุนายน 2009.

  1. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    [​IMG]

    ‘พระเจ้าตนหลวง’
    วัดศรีโคมคำ อ.เมือง จ.พะเยา

    ----------------------------------------------------------------------------------------------
    ธรรมะ-รักษา................... พลังจิต - พลังจักรวาล
    พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
    แสดงธรรมที่กระทรวงศึกษาธิการ
    เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๓๙<o></o>



    บัดนี้ จะได้แสดงพระธรรมเทศนา พรรณนาศาสนธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าด้วยพลานุภาพของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ที่นำเรื่องนี้มาแสดงก็เพราะเหตุว่า ในปัจจุบันนี้ ชาวพุทธของเรานี่กำลังพากันตื่นพลังใหม่ ซึ่งมีชาวต่างประเทศเขานำมาเผยแพร่ พลังที่เขานำมาเผยแพร่นั้นเรียกว่า พลังจักรวาล
    <o></o>
    ทีนี้อะไรเป็นพลังจักรวาล... ในจักรวาลนี้มีสิ่งที่เป็นวัตถุซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ ๔ อย่าง ๔ อย่างนี้ ทางภาษาศาสนาพุทธท่านบัญญัติว่าเป็นธาตุ ๔ ธาตุ ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ในจักรวาลนี้มีธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ และในกายในใจของเรานี่ก็มีธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เราอาศัยกายกับใจของเราเป็นหลัก แล้วมาปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราสามารถที่จะสร้างพลังซึ่งเกิดจากส่วนผสมของธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้เกิดมีพลังมหาศาลขึ้นมาได้ เรียกว่า พลังพุทธะ

    พลังพุทธะนี้ก็หมายถึง สภาวะจิตของเรามีสมรรถภาพ มีความเข้มแข็ง เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เมื่อท่านผู้ใดสามารถทำจิตของตนเองให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หมายถึง จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง ผู้นั้นสามารถสร้างพลังขึ้นภายในจิตในใจของตนเองได้<o></o>

    การสร้างพลังตามแนวทางของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ...เป็นอุบายวิธีสร้างสมรรถภาพทางจิตของตนเองให้มีพลังเหนือพลัง ที่ว่าจิตของเรามีพลังเหนือพลัง หมายถึงจิตที่บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากกิเลสอาสวะทั้งหลายทั้งปวง บรรลุถึงพระนิพพานสำเร็จเป็นพระอรหันต์ สภาพจิตของพระอรหันต์เป็นสภาพจิตที่มีพลังเหนือพลัง ที่เรียกว่าเหนือพลังก็เพราะเหตุว่าไม่มีพลังแห่งธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ใด ๆ สามารถที่จะดึงดูดจิตของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ให้มาตกอยู่ในอำนาจของสิ่งนั้น ๆ ได้ จึงได้ชื่อว่าจิตของพระอรหันต์
    <o></o>
    พระพุทธเจ้าเป็นพลังเหนือพลัง เพราะฉะนั้น อุบายวิธีปฏิบัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราศึกษาและปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันนี้ พระองค์สอนให้เราสร้างจิตของเราเองให้มีพลังพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จนกระทั่งจิตของเรามีสภาวะสะอาด บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสอาสวะทั้งปวง แล้วจิตของเราจะกลายเป็นจิตที่มีพลังเหนือพลัง

    อุบายวิธีการที่เราจะสร้างจิตของเราให้มีพลังงาน ต้องมีจุดยืน คือ เราจะต้องมีศรัทธา เชื่อมั่นในคุณ<st1>ของพระพุทธเจ้า พระธรรม </st1>พระสงฆ์ ปัญหามีว่าคุณของพระพุทธเจ้าตามตำรับตำรา ได้แก่ บทสวดมนต์ที่เราใช้สวดกันอยู่ทุกวัน บางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจหรือแปลไม่ออก<o></o>

    อิติปิ โส แม้เพราะเหตุนี้ ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้า อะระหัง เป็นพระอรหันต์ ไกลจากกิเลส ดับเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์สิ้นเชิง สัมมาสัมพุทโธตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง วิชชาจะระณะสัมปันโน สมบูรณ์ด้วยวิชชา และจรณะคือข้อวัตรปฏิบัติที่ถูกต้อง สุคะโต เสด็จไปดีแล้ว โลกะวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ยอดเยี่ยมไม่มีใครอื่นเสียยิ่งไปกว่า สัตถาเทวะมะนุสสานัง เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พุทโธ เป็นผู้รู้แล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้ตื่นแล้ว ภะคะวา เป็นผู้จำแนกธรรมะคำสั่งสอนให้เป็นประโยชน์แก่ประชุมชนอันนี้คือคุณของพระพุทธเจ้าที่เราสวดอิติปิโสเป็นต้นนั้นเอง..<o></o>

    <v:shape id="_x0000_i1029" style="width: 80.25pt; height: 60pt;" type="#_x0000_t75"><v:imagedata o:title="images6" src="4.files/image009.jpg"></v:imagedata></v:shape>[​IMG]<o></o>

    ทีนี้เราจะสร้างจิตของเราให้มีพลังงาน จะต้องมีความยึดมั่นในพระพุทธเจ้าเป็นหลัก ทีนี้พระพุทธเจ้านี่อยู่กันที่ตรงไหน ใคร ๆ เรียนพุทธประวัติแล้วก็ว่า พระพุทธเจ้าเกิดที่ประเทศอินเดีย เวลานี้พระองค์ก็ปรินิพพานไปนานแล้ว เราจะไปยึดเอาพระองค์ที่ไหนเป็นที่พึ่งที่ระลึก เราเคยกล่าวคำบูชาพระพุทธองค์ว่า ข้าพเจ้าขอบูชาคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว แต่ยังปรากฏอยู่โดยพระคุณ อาศัยเหตุผลดังกล่าวนี้ คุณความเป็นพุทธะไม่ได้หายสาบสูญไปจากโลก และเป็นคุณธรรมที่ทุกคนสามารถที่จะสร้างขึ้นให้มีในจิตในใจของตนเองได้ โดยที่เรามายึดมั่นในพระคุณของพระองค์ ดังที่กล่าวแล้ว อย่างน้อยเราก็มีศรัทธาตั้งมั่นในคุณของพระพุทธองค์อย่างมั่นคง มีความรักในพระพุทธองค์อย่างมั่นคงมีศรัทธาไม่คลอนแคลน<o></o>

    ในเมื่อเรามีศรัทธาเชื่อมั่นและตั้งมั่นในสิ่งไหน จิตที่เชื่อมั่นนั้นย่อมเกิดมีพลัง พลังที่จะปรากฏเด่นชัดก็คือ วิริยะ ความแกล้วกล้าอาจหาญ กล้าเสียสละกายและใจของตนเอง เพื่อบูชาข้อวัตรปฏิบัติ เช่น การปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา เป็นต้น เมื่อเรามีวิริยะความพากความเพียร ความพยายาม สติที่จะระลึกรู้สิ่งที่ผิดชอบชั่วดีก็ย่อมมีปรากฏขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตใจมั่นคงเพราะอาศัยความมีศรัทธาตั้งมั่น จิตใจมั่นคงนั้นคือสมาธิ ทีนี้เมื่อมีสมาธิแล้วก็มีสติ ปัญญา เมื่อจิตสงบ ตั้งมั่น นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน อย่างน้อยเราก็รู้ มีปัญญารู้ว่า จิตแท้ จิตดั้งเดิมของเรานี่มันเป็นอย่างไร เมื่อจิตสงบ นิ่ง ว่าง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน ขึ้นมาเมื่อไร เราสามารถรู้ความจริงของจิตแท้ จิตดั้งเดิมของเราเมื่อนั้น เราจะมีความรู้สึกว่านี่แหละคือจิตแท้ จิตดั้งเดิมของเรา<o></o>

    เมื่อจิตสงบ นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน นอกจากจะรู้ความจริงของจิตของตนเอง เราก็ยังจะได้รู้ว่าคุณธรรมที่ทำจิตให้เป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ได้บังเกิดขึ้นในจิตของเราแล้ว เพราะฉะนั้น ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ในเมื่อเรามาปฏิบัติให้ถึงพร้อม จิตสงบ นิ่ง มีสติ รู้ตัวอยู่ มีความมั่นคง เมื่อจิตมีความมั่นคง แม้ว่าเราจะเคลื่อนไหวไปมาทางใด เราก็มีสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ทุกขณะ การทำ การพูด การคิด เรามีสติรู้ตัวอยู่ทุกขณะ ความมีสติรู้ตัวนั่นแหละคือธรรมะแท้แห่งพุทธะที่เกิดขึ้นที่จิตของเรา เราจะต้องสังเกตดูความเป็นไปของจิตของเราอย่างนี้<o></o>

    ทีนี้ในเมื่อในขณะใดที่เราสามารถทำจิตให้นิ่ง ว่าง สว่าง รู้ตื่น เบิกบาน แล้วก็มีปีติ มีความสุข จิตของเราได้สัมผัสกับคุณธรรมที่ทำจิตให้เป็นพุทธะ เมื่อเราสามารถสร้างจิตให้เป็นพุทธะ ให้บังเกิดขึ้นพร้อมที่จิตของเราแล้ว ธรรมะก็ปรากฏขึ้น ธรรมะก็คือคุณธรรม ได้แก่ สภาวะจิต รู้ ตื่น เบิกบาน นั้นเอง เมื่อเป็นเช่นนั้น ธรรมชาติของความเป็นพระสงฆ์ก็ย่อมบังเกิดขึ้นพร้อมกัน เพราะธรรมชาติของผู้ที่มีสภาพจิตเป็นเช่นนั้น เขาจะต้องมีความรู้สึกสำนึกเสมอว่า เราจะต้องละความชั่ว ประพฤติความดี ทำจิตของตนเองให้บริสุทธิ์ สะอาด อันนี้เป็นจุดเริ่มของความมีพุทธะ เป็นจุดเริ่มของพลังจิต เป็นจุดเริ่มของพลังจักรวาล<o></o>

    ในเมื่อท่านผู้ใดปฏิบัติได้อย่างนี้ แม้แต่เพียงเชื่อมั่นในคุณ<st1>พระพุทธเจ้า พระธรรม </st1>พระสงฆ์ อย่างมั่นคง อธิษฐานจิตของตนเองให้แน่วแน่ ขอบารมีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจงขจัดปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายทั้งหลายทั้งปวงให้ไปปราศจากกาย วาจา และจิตของข้าพเจ้าโดยเด็ดขาด และปลูกความเชื่อมั่นลงในคุณ<st1>พระพุทธเจ้า พระธรรม </st1>พระสงฆ์ อย่างมั่นคง สามารถที่จะรักษาโรคภัยไข้เจ็บของตนเองและคนอื่นให้หายได้ แต่ความจริงการใช้พลังจิตรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ในเมืองไทยเรานี้มีมาแต่เก่าแก่โบราณสมัยที่โรงพยาบาลยังไม่มีในประเทศไทย เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย หมอชาวบ้านทั้งหลายเขาก็อาศัยอมยาพ่น ฝนยาทา ตามประสาจน ใช้เวทย์มนต์คาถาเสกเป่า กระดูกแตก กระดูกหัก ใช้มนต์เสกน้ำมนต์หรือน้ำ หรือน้ำมัน แล้วก็เอามาทา เป่า กระดูกมันก็สามารถต่อกันได้ อันนี้คือตัวอย่างที่คนโบราณรักษาโรคด้วยพลังจิต<o></o>

    <v:shape id="_x0000_i1030" style="width: 88.5pt; height: 59.25pt;" type="#_x0000_t75"><v:imagedata o:title="CAK5AFKPสึนามิ2" src="4.files/image010.jpg"></v:imagedata></v:shape>[​IMG]

    .>>>>>>...แม้ว่าในสมัยปัจจุบันนี้ ครูบาอาจารย์บางท่าน..เวลาท่านเจ็บป่วย ท่านไม่ได้คำนึงถึงมดหมอ หรือคิดจะไปโรงพยาบาล พอรู้สึกว่าไม่สบาย ท่านก็เข้าสมาธิ นั่งสมาธิภาวนาของท่าน ทำจิตให้สงบ นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน บางทีสภาพจิตของท่านมีความรู้สึกสว่าง รู้ตื่น เบิกบาน ร่างกายตัวตนหาย ในเมื่อร่างกายตัวตนหาย โรคภัยไข้เจ็บมันก็ไม่มีปรากฏ เพราะมันไม่มีที่เกิด โรคภัยไข้เจ็บมันเกิดที่กาย แต่ที่ใจมันไม่มีโรคอะไรที่จะไปบังเบียดมันได้ นอกจากกิเลสเท่านั้นเอง ในเมื่อท่านปฏิบัติอย่างนี้ก็สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้หายได้<o></o>

    เพราะฉะนั้น ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จุดเริ่มที่ว่าสามารถสร้างพลังจิตพลังใจของเราให้เกิดมีเพื่อประโยชน์แก่ชีวิตของเราได้ หนึ่ง เราจะต้องมีศรัทธาตั้งมั่นในคุณ<st1>พระพุทธเจ้า พระธรรม </st1>พระสงฆ์ มีความรัก ตั้งมั่นในคุณ<st1>พระพุทธเจ้า พระธรรม </st1>พระสงฆ์ และมีความเชื่อมั่นว่าคุณ<st1>พระพุทธเจ้า พระธรรม </st1>พระสงฆ์ คือคุณธรรมที่อยู่ในจิตใจของเรา ...

    เมื่อเราทำสมาธิให้จิตใจสงบ นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน ได้เมื่อไร เมื่อนั้นคุณของพระพุทธเจ้าก็ปรากฏแก่เราได้อย่างชัดเจน จิตของเราก็เป็นจิต ในเมื่อจิตของเราเป็นจิตพุทธะ นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน ถ้าจิตของเราจะก้าวหน้าไปในทางปฏิบัติ ทางไปของจิตจะมีอยู่ ๓ ทาง ขอให้ท่านทั้งหลายพึงสังเกตเอาไว้<o></o>

    ถ้าหากว่าในช่วงนั้นกระแสจิตส่งออกนอก จะเกิดมโนภาพได้แก่ภาพนิมิต ในเมื่อภาพนิมิตปรากฎ อย่าไปเอะใจ อย่าตกใจกำหนดสติ รู้จิตเฉยอยู่เท่านั้น เพราะนิมิตอันนั้นเป็นจิตของเราสร้างมโนภาพขึ้นมาเท่านั้น อย่าไปสำคัญมั่นหมายว่ามีสิ่งอื่นมาแสดงตัวให้เรารู้เราเห็น จิตของเราเองแท้ ๆ เป็นผู้แสดงขึ้นมา แต่ในช่วงที่เราภาวนาแล้วเกิดนิมิตเกิดมโนภาพขึ้นมา ถ้าหากมีใครมาชักจูงว่าเมื่อเห็นนิมิตแล้วให้น้อมเข้ามาในจิตในใจของเรา ให้ผู้วิเศษทั้งหลายเหล่านั้นมาช่วยพลังสมาธิ สติ ปัญญาให้แก่กล้า ถ้าน้อมมโนภาพนั้นเข้ามาถึงตัวได้เมื่อไร เมื่อนั้นจะกลายเป็นการทรงวิญญาณ..เพราะเมื่อนิมิตเข้ามาถึงตัวแล้ว สมาธิที่ปลอดโปร่ง สบาย เบา จะ รู้สักว่าอึดอัด หนักหน่วงไปทั้งตัว หัวใจเหมือนถูกบีบ จิตซึ่งเคยเป็นอิสระจะตกอยู่ในอำนาจของสิ่งที่เข้ามาแทรกสิง ในที่สุดกลายเป็นการทรงวิญญาณ นี่ ในจุดนี้นักปฏิบัติต้องระมัดระวังให้ดี.....<o></o>

    <v:shape id="_x0000_i1031" style="width: 87pt; height: 60.75pt;" type="#_x0000_t75"><v:imagedata o:title="images สึนามื" src="4.files/image011.jpg"></v:imagedata></v:shape>[​IMG]
    <o></o>


    ทีนี้ทางหนึ่ง ถ้าหากว่าจิตไม่ออกนอก วิ่งเข้ามาข้างใน มาสงบ นิ่ง สว่างอยู่ภายในของร่างกาย เมื่อจิตสงบ สว่างในท่ามกลางของร่างกาย ถ้าหากว่ามีครูบาอาจารย์มาแนะนำ ว่าให้รวมเอาความสว่างเป็นดวงแก้ว สร้างดวงกลมให้กลายเป็นพระพุทธรูป เพ่งให้ใสบริสุทธิ์สะอาด แล้วจะเห็นดวงธรรมปรากฏเด่นชัดขึ้นมา ถ้าหากมีใครแนะนำชักจูงให้เป็นไปอย่างนั้น ก็จะเป็นไปตามคำแนะนำชักจูงนั้น ๆ แต่ในทางปฏิบัติที่ถูกต้อง

    ในเมื่อมีปรากฏการณ์เช่นนั้นปรากฏขึ้น นักปฏิบัติต้องกำหนดรู้ เฉยอยู่เท่านั้น ไม่ต้องไปนึกปรุงแต่งให้ดวงหรือความสว่างนั้นเป็นอะไร ถือแต่เพียงว่าสิ่งนั้นเป็นอารมณ์สิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติเท่านั้น

    <o></o>
    แล้วในขณะที่..จิตนิ่ง ...สว่างอยู่ในท่ามกลางของร่างกาย ความสว่างของจิตจะพุ่งออกมารอบ ๆ เราจะรู้สึกว่าเรานั่งอยู่ในท่ามกลางแห่งความสว่าง แต่ภายในดวงจิตนั้นสามารถมองเห็นอวัยวะต่าง ๆ ภายในทั่วหมด ในขณะจิตเดียว เรียกว่ารู้อาการ ๓๒ จนกระทั่งจิตสงบละเอียดยิ่งลงไป จนถึงขนาดร่างกายตัวตนหาย ยังเหลือจิตดวงเด่น นิ่ง สว่างไสวอยู่เท่านั้น ถ้าหากว่าจิตจะเดินไปในทางสมถะทางสายฌานสมาบัติ จิตก็มีจะแต่สงบ นิ่ง สว่าง ละเอียดยิ่งขึ้นไปตามลำดับขั้นของฌานสมาบัติ แต่

    ถ้าหากว่าจิตไม่ไปเช่นนั้น เมื่อร่างกายตัวตนหายไปแล้วจะย้อนกลับมามองร่างกายของตัวเอง จะปรากฏว่าร่างกายของตัวเองตาย ขึ้นอืด เน่าเปื่อยผุพัง สลายตัวไปไม่มีอะไรเหลือ เมื่อจิตถอนจากสมาธิ จะได้ความรู้ขึ้นมาว่า นี่แหละคือการตาย ตายแล้วก็ต้องเน่าเปื่อยผุพัง สลายตัวไป ไม่มีอะไรเหลืออยู่ เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไหนเล่าสัตว์ บุคคลตัวตนเราเขา มีที่ไหน ถ้ามองเห็นความตาย จิตก็รู้ว่านี่แหละคือความตาย มองเห็นความเน่าเปื่อยผุพัง นี่แหละ...

    อสุภกรรมฐาน.....มองเห็นร่างกายสลายตัวไปเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็จะรู้ธาตุสมถะ รู้ว่ากายของเราสักแต่เป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไหนเล่าสัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา มีที่ไหน อันนั้น อนัตตานุปัสนาญาณ ความรู้ว่าร่างกาย ตัวตน ไม่มีอัตตาตัวตน เป็นอนัตตาเท่านั้น เราจะได้ความรู้ตามลำดับขั้นตอน อย่างนี้........<o></o>
    <v:shape id="_x0000_i1032" style="width: 90pt; height: 61.5pt;" type="#_x0000_t75"><v:imagedata o:title="CALCMQOXสึนามิ6" src="4.files/image012.jpg"></v:imagedata></v:shape>[​IMG]
    <o></o>


    ในขณะที่จิตมองดูเห็นว่าร่างกายเน่าเปื่อยผุพัง สลายตัวไป ความรู้ความเห็นอันนั้นเป็น..สมาธิขั้นสมถกรรมฐาน.... แต่..เมื่อจิตถอนออกมาแล้ว สิ่งรู้เห็นทั้งหลายหายไป จิตมาสัมพันธ์กับร่างกายเมื่อไรเกิดความรู้ เป็นภาษาอธิบายซ้ำเติมสิ่งที่รู้นั้นอีกทีหนึ่ง ตอนนี้เรียกว่า.. เจริญวิปัสสนา เพราะฉะนั้น ในคำที่บางท่านกล่าวว่า ถ้าไม่มีสมาธิก็ไม่มีญาณ ไม่มีญาณก็ไม่มีวิปัสสนาคือปัญญา ไม่มีวิปัสสนาปัญญา ก็ไม่มีความรู้แจ้งเห็นจริง เมื่อไม่มีความรู้แจ้งเห็นจริง ก็ไม่มีวิมุติความหลุดพ้น ท่านผู้กล่าวอย่างนี้กล่าวถูก ...แต่ท่านผู้ที่กล่าวว่าสมาธิขั้นสมถะไม่เกิดภูมิรู้อะไรนั้น เป็นการกล่าวผิด ...

    เราจะบอกตรง ๆ ว่าท่านเหล่านั้นภาวนาไม่ถึงขั้น อันนี้ขอฝากท่านนักปฏิบัติผู้สนใจทั้งหลาย ลอง ๆ จดจำเอาไว้พิจารณา ตามที่อาตมากล่าวมานี้ อย่าเพิ่งเชื่อ ให้รับฟังเอาไว้ก่อน สิ่งใดที่เรายังไม่รู้ไม่เห็น ยังปฏิบัติไม่ถึง ให้รับฟังเอาไว้ก่อน อย่ารับรองแล้วก็อย่าปฏิเสธทันทีจนกว่าเราจะพิสูจน์ให้รู้ได้ด้วยตนเอง อันนี้คือทางไปของจิตเมื่อมีสมาธิตามธรรมชาติแล้ว<o></o>

    อีกทางหนึ่งจิตไม่ไปอย่างนั้น..... เมื่อจิตสงบแล้ว กระแสจิตไม่ส่งออกนอก แล้วไม่วิ่งเข้ามาภายในกาย แต่ไปกำหนดรู้อยู่ที่จิตเพียงอย่างเดียว ก็จะรู้เห็นอารมณ์ที่เกิดดับกับจิตอยู่ตลอดเวลา เมื่อผู้ปฏิบัติมีสติสัมปชัญญะกำหนดรู้อยู่ตลอดเวลา ในเมื่อความรู้มันเกิดขึ้น ผุดขึ้นมา ๆ อย่างกับน้ำพุ ผู้ปฏิบัติมีสติกำหนดรู้เองโดยอัตโนมัติ เมื่อไปถึงจุด ๆ หนึ่ง จิตจะหยุดนิ่ง สว่างไสว รู้ ตื่นเบิกบาน สภาวะทั้งหลายที่เป็นอารมณ์จะไปวนรอบจิตอยู่ตลอดเวลา แต่จิตหาได้หวั่นไหวต่อเหตุการณ์นั้นๆ ไม่ มีแต่ทรงอยู่ในความเที่ยงตรง รู้ ตื่น เบิกบาน เป็นจิตพุทธะแท้ ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์

    ในจุดนี้ ท่านอาจารย์มั่น...ท่านบัญญัติศัพท์ของท่านเรียกว่า... ฐีติภูตัง... ฐีติ คือจิตสงบ นิ่ง เด่น สว่างไสว ภูตัง มีสภาวะที่เป็น
    ปรากฏการณ์ให้จิตรู้เห็นเกิดขึ้นแล้วดับไป เกิดขึ้นแล้วดับไปอยู่ตลอดเวลา อันนี้ทางหนึ่งที่จิตสมาธิธรรมชาติแล้วจะพึงเป็นไป
    <o></o>

    แต่สิ่งที่กล่าวทั้งหลายนี้ ในขณะที่จิตสงบเป็นสมาธิ นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน ความรู้สึกที่จะน้อมจิตไปทางใดนั้นย่อมไม่มี จิตจะออกนอกไปเกิดนิมิต ก็จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ จะวิ่งเข้ามารู้ภายในกายก็เป็นไปเองโดยอัตโนมัติ จะไปรู้ที่จิตก็เป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ถ้าหากว่าเราสามารถยังมีสัญญาเจตนา น้อมจิตให้เป็นไปอย่างไรนั้น จิตดวงนั้นยังไม่ใช่สมาธิตามธรรมชาติ... เป็นแต่เพียงความสงบที่เราตกแต่งเอาได้เท่านั้น ถ้าเป็นสมาธิตามธรรมชาติจริง ๆ สัญญาเจตนาที่จะไปควบคุมบังคับจิตใด ๆ นั้นย่อมไม่มี มีแต่ความเป็นเองตามธรรมชาติของสมาธิ

    <o></o>
    <v:shape id="_x0000_i1033" style="width: 57.75pt; height: 87pt;" type="#_x0000_t75"><v:imagedata o:title="IMAGES7" src="4.files/image013.jpg"></v:imagedata></v:shape>[​IMG]<o></o>

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า....ของเราทรงตรัสรู้เรื่องอดีตคือ ปุพเพนิวาสนุสติญาณ รู้เรื่องปัจจุบันคือควรประพฤติอย่างไรจึงจะได้ถึงคุณ<st1>งามความดี รู้อนาคต</st1> ผู้ทำดี ทำชั่วแล้ว เมื่อตายแล้ว วิถีชีวิตของเขาจะเป็นไปอย่างไร จึงได้ชื่อว่า รู้อดีต รู้ปัจจุบัน รู้อนาคต<o></o>

    ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ความแตกต่างของลัทธิศาสนามีเฉพาะในภพภูมิของมนุษย์เท่านั้น ในเมื่อมนุษย์ทั้งหลายและสัตว์ทั้งหลายตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นวิญญาณในโลกอื่น มีแต่กฎของกรรมอย่างเดียวเท่านั้นเป็นศาสนา ท่านผู้ใดได้รับการเสี้ยมสอนมาว่า ฆ่าสัตว์ไม่บาป เพราะสัตว์เกิดมาเป็นอาหารของมนุษย์ อันนี้ก็เป็นเพียงความเข้าใจของศาสดาของเขา มันไม่ใช่....กฎธรรมชาติของกรรม.... แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานี่ พระองค์ตรัสรู้เรื่องอดีตเป็นเรื่องสำคัญ พระองค์ระลึกชาติได้ พระองค์ไปเกิดแต่ละภพแต่ละชาตินั้น เพราะกรรมอะไร พระองค์รู้ละเอียดหมด ในเมื่อพระองค์รู้แล้ว จึงนำมาสอนพวกเราทั้งหลาย เพราะฉะนั้น...

    ความแตกต่างของศาสนามีเฉพาะในภพภูมิของมนุษย์ แต่เมื่อมนุษย์ทั้งหลายตายไปแล้ว มีแต่กฎของกรรมเท่านั้นเป็น

    ศาสนา ....ผู้ที่ถูกเสี้ยมสอนว่า ฆ่าสัตว์ไม่บาป เพราะสัตว์เกิดมาเป็นอาหารของมนุษย์ แต่เมื่อเขาตายปุ๊บลงไป เขาได้รับผลของกรรมเกิดจากการฆ่าสัตว์ เขาจะได้ความรู้สึกขึ้นมาทันทีว่า อ้อ ! พระสมณโคดมสอนถูกต้อง ศาสดาเราสอนผิด อันนี้เป็นเรื่องกฎของกรรม
    <o></o>

    วันนี้ขอบรรยายธรรมะพอเป็นเครื่องประดับสติปัญญาของท่านผู้ฟังพอสมควรแก่กาลเวลา ในท้ายที่สุดนี้ ขอบารมีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจงดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายมีจิตใจสงบตั้งมั่นยึดมั่นในคุณ<st1>พระพุทธเจ้า พระธรรม </st1>พระสงฆ์ เป็นจุดยืนตลอดไปแล้วก็ยึดมั่นในข้อวัตรปฏิบัติที่พระองค์สอนให้เราบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอุบายสร้างความรัก ความเมตตาในสังคมของมนุษย์ เมื่อเรามีความรัก ความเมตตาปราณีต่อกัน เราจะได้ผนึกกำลังกันช่วยกันสร้างสรรค์ประเทศชาติศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป


    -----------------------------------------------------------------
    ขอขอบคุณ
    http://www.indigothai.com/thai/Arada/4.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กรกฎาคม 2009
  2. สังสารวัฏ

    สังสารวัฏ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +5,382
  3. lord_vishanu

    lord_vishanu สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +15
    ผู้ใดเห็นธรรม ปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน ผู้นั้นเห็นเราตถาคต แม้พระสงฆ์บางองค์ก็ยังไม่เห็นเรา เพราะไม่ได้ปฏิบัต
     
  4. cabin

    cabin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    207
    ค่าพลัง:
    +828
    อ่านแล้วสว่างดีนะคับ
     
  5. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    น่าสนใจจังเลยน่ะครับ..........
     
  6. naraiyana

    naraiyana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +628
    อนุโมทนาสาธุครับ
    ขอบพระคุณที่นำสิ่งดี ๆมาให้อ่าน ..
     
  7. ส.เชียงใหม่

    ส.เชียงใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2008
    โพสต์:
    214
    ค่าพลัง:
    +145
    สาธุ..ขออนุโมทนาครับ...จะจดจำนำไปปฏิบัติ..ขอให้ทุกท่านมึความสุขครับ
     
  8. ศิษย์เซียน

    ศิษย์เซียน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2009
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +9
    การรักษาศีลเป็นเรื่องที่ดีจริงๆครับช่วยให้ชีวิตเป็นปกติสุขได้ ศีลข้อ1ที่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้ทำให้ผมคิดได้ว่าไม่ต้องฆ่าสัตว์เพื่อนำเนื้อเขามาประกอบอาหารมนุษย์ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แสดงว่ามนุษย์นั้นแท้จริงแล้วมิใช่สัตว์กินเนื้อ ผมเลยใช้ชีวิตส่วนใหญ่กินเจเป็นหลักครับ(ทานปลาในสุกี้บ้างปีล่ะไม่กี่ครั้ง) เมื่อได้ศึกษาทางวิทยาศาสตร์ก็พบความจริงว่าฟันและระบบย่อยของมุษย์เหมาะกับการย่อยผลไม้และผัก คล้ายกับสัตว์กินพืชครับ

    หนังฝรั่งเรื่องหนึ่งมีข้อความในสติ๊กเกอร์ติดท้ายรถที่ผมชอบแปลได้ความว่า
    "ถ้าคุณรักสัตว์ อย่ากินมัน"
     
  9. Bussabun

    Bussabun สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ชอบมากค่ะ ....ขออนุโมทนา

    web นี้น่าสนใจดี เพิ่งเข้ามาเป็นสมาชิกค่ะ
     
  10. Puiจ้า

    Puiจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +134
    ขออนุโมทนาด้วยค่ะ เป็นธรรมะที่มีความรู้ที่ละเอียดและลึกซึ้ง แต่เข้าใจง่ายดีจัง
     
  11. sa_bye_dee

    sa_bye_dee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +34
    ทุกข์กายหยุดได้ด้วยใจหยุด ทุกข์ใจหยุดได้ด้วยใจหยุด
     
  12. chatsiri

    chatsiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +195
    เกือบนิพพาน...

    จิตสงบละเอียดยิ่งลงไป จนถึงขนาดร่างกายตัวตนหาย ยังเหลือจิตดวงเด่น นิ่ง สว่างไสวอยู่เท่านั้น ถ้าหากว่าจิตจะเดินไปในทางสมถะทางสายฌานสมาบัติ จิตก็มีจะแต่สงบ นิ่ง สว่าง ละเอียดยิ่งขึ้นไปตามลำดับขั้นของฌานสมาบัติ นี่คืออาการที่ผมได้เคยพบมากับตัวเองในการที่นั่งสมาธิครั้งแรก แต่หลังจากนั้นอาการณานสมาบัตินี้ก็ไม่เคยเกิดอีกเลย หรือว่าฌานสมาบัติจะเสื่อมแล้ว ต้องพยายามใหม่ตอนนี้เจอแล้วนั่งยาวแน่สูขๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆมากกกกกกเลยนะ ผมว่าน่าจะเป็นนิพพานย่อยๆนะ แต่ออกฌานก็ทุกข์อีก หลวงพ่อบอกต้องใช้วิปัสสนาช่วยอีก มีผู้รู้บอกว่าของเก่าที่เราปฏิบัติธรรมมาแต่ชาติก่อนมีมามากเค้ามาเป็นนิมิตให้เราเห็นว่าเราต้องปฏิบัติแล้วเราจะได้ถึงชั้นฌานสมาบัติ (8) นี้แน่นอน เอ้อแต่อยู่พรหมก็ดีกว่าลงนรกนะ ตั้งหลักก่อนแล้วค่อยต่อยอดนิพพานที่พรหมนี่ละเจ๋งแน่ ต้องพยายามอีกเดี๋ยวไม่ทันการ ขันติๆ
     
  13. keroro2

    keroro2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +203
    ดี มากๆๆ
     
  14. สู่จิตเดิมแท้

    สู่จิตเดิมแท้ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +25
    อนุโมทนา สาธุ ผมจะหมั่นอบรมจิตครับ ดำเนินชีวิตทางโลกไม่ง่ายเลยครับ ที่จะประคองสติ แต่เมื่อได้ฟังคำสอนแล้ว ทำให้ความรู้สึก รูป-นาม ของผม ชัดมาอีกครั้งครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...