การศึกษา???..สอนให้เรา..ก้าวร้าว..เห็นแก่ตัว???

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย yutkanlaya, 6 กรกฎาคม 2009.

  1. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    การศึกษาของเราสอนให้ก้าวร้าวเห็นแก่ตัว

    [​IMG]

    โดย ศ.นพ.ประสาน ต่างใจ
    หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 20 มิถุนายน 2552

    ถ้าหากเราถามครู นักเรียน หรือนักการศึกษาที่เป็นนักจิตวิทยาและนักศาสนปรัชญาว่า เราทั้งโลกต้องการให้ระบบการศึกษาของลูกหลานเรามีเป้าหมายอย่างไร? ระหว่าง
    สติปัญญาความฉลาดที่เราใช้การสอบแข่งขันเช่นในปัจจุบัน?
    หรือว่าจะเอาทักษะพรสวรรค์ที่เด็กทุกคนย่อมจะมีศักยภาพแตกต่างกันไป?
    หรือว่าเราต้องการให้สังคมได้คนดีมีคุณธรรมในวันหน้า?
    ผู้เขียนคิดว่าถึงเถียงกันให้ตายไปข้างหนึ่งก็ยังสรุปไม่ได้ เพราะถูกทั้งหมด ระบบการศึกษาของเราในปัจจุบันถึงวนเวียนอยู่กับการปฏิรูปและปฏิรูปแล้วแต่ว่าพรรคใดเป็นรัฐบาลหรือว่าครูคนไหนเป็นใหญ่ในระบบการเรียนรู้ของเรา

    จริงๆ แล้วน่าจะเอาทั้งสามมาเป็นหลักเท่าๆ กัน การเรียนรู้จากภายนอก (สองอย่างแรก) กับภายใน (อย่างหลัง) ย่อมจะดีที่สุด ประเด็นคือ เราจะหามาตรฐานระดับชาติหรือระดับโลกอย่างไร? หรือพูดง่ายๆ เราจะชี้วัดทั้งสามหลักว่าเท่าๆ กันด้วยวิธีไหน? บทความนี้เป็นการสะท้อนความคิดของผู้เขียนต่อรูปแบบสังคมที่เอาธรรมชาติ (ทั้งกายและจิต) กับความไม่เที่ยงหรืออนิจตาของมนุษย์และสังคมมนุษย์เป็นฐาน

    ได้พูดได้เขียนมาหลายหนแล้วว่า ระบบการศึกษาของบ้านเรา - ที่ลอกเลียนมาจากประเทศตะวันตกทั้งแผง ตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมหาวิทยาลัย ทั้งที่เป็นของรัฐหรือเป็นอิสระแต่ในนาม รวมโรงเรียนและวิทยาลัยเอกชนแทบจะทั้งหมด – ล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการกาย - วัตถุนิยมและแยกส่วน หรือกระบวนทัศน์เก่าที่ล้าสมัยของโลกตะวันตก ซึ่งอาจเหมาะสมกับช่วงเวลาเมื่อ ๑๕๐ – ๒๐๐ ปีก่อน ที่มองเห็นว่า “คุณค่า (หรือราคา) และความหมายของทุกสิ่งทุกอย่างนั้นอยู่ที่ว่า “มนุษย์” สามารถเอามาใช้ได้หรือเป็นประโยชน์หรือไม่เท่านั้น”

    กระบวนทัศน์เก่าจึงหมดสมัยอีกทั้งผิดธรรมชาติมาแต่แรก จึงไม่สามารถจะแก้ไขหรือปฏิรูปอย่างหนึ่งอย่างใดได้ นอกจากการปฏิวัติถอนทิ้งทั้งรากทั้งโคน แล้วเปลี่ยนทั้งหมดสู่กระบวนทัศน์ใหม่ สู่กระบวนการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตสำหรับปัจเจกชนและสังคมโดยรวมใหม่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่ไม่ใช่การสมยอมประนีประนอมกันดังกล่าว (transformation, not accommodation) แต่ไม่มีผู้ใดในวงการศึกษาบ้านเรา จะฟังแล้วเอาไปคิด

    ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนหรือใครครองเมือง – ซึ่งบ้านเราเปลี่ยนกันบ่อยเหลือเกิน – จึงได้มีแต่การปฏิรูปซ้ำแล้วซ้ำอีกจนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เพราะทั้งหมดนั้น มีครูอาจารย์ นักการศึกษาที่ไปเรียนมาจากเมืองนอก หรือประเทศตะวันตกมากมาย บางคนได้ถูกนักการเมืองเรียกมาปรึกษาในช่วงที่มีการเปลี่ยนรัฐบาล หากแต่ละคนจะรู้จักอยู่แค่กับการปฏิรูปการศึกษา เพราะคิดว่ารูปแบบและเนื้อหาของการศึกษาที่เป็นอยู่ – เช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจทุนนิยม - เป็นระบบที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์ที่ต้องเห็นแก่ตัว “กูก่อน” จึงเปลี่ยนไม่ได้ เพราะว่าประเทศตะวันตกที่เป็นเจ้าตำรับเอง ล้วนรู้จักแค่นั้น

    ฉะนั้น แม้จะรู้ว่าระบบการศึกษาของตนมีปัญหาที่ต้องแก้ แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร เพราะพื้นฐานที่ระบบการศึกษาของตนและโลกตั้งอยู่ ล้วนแล้วแต่ตั้งบนหลักการกาย - วัตถุนิยมและแยกส่วน ซึ่งผิดธรรมชาติแห่งองค์รวม ซ้อนองค์รวม ซ้อนๆ องค์รวม ที่มีใยเยื่อประสานกันให้เป็นหนึ่งเดียว – ในรายละเอียด เราต้องไปพ้นหลักการกาย – วัตถุนิยมและแยกส่วน ถึงจะเห็นว่า ระบบการศึกษาของโลก รวมทั้งที่บ้านเรา ในปัจจุบัน ผิดธรรมชาติอย่างแรงถึง ๔ ประการ คือ

    หนึ่ง มีศูนย์กลางที่มนุษย์ (anthropocentric)
    สอง ขาดความพอเพียง พอดี และยั่งยืน (unsustainable)
    สาม วัตถุประสงค์อยู่ที่เงิน ไม่ใช่เพื่อความรู้แท้จริง (money-based education) ซึ่งเงินหรือระบบเศรษฐกิจทุนนิยมมุ่งสร้างแต่ความเห็นแก่ตัว และผิดธรรมชาติยิ่งกว่าระบบการศึกษาเสียอีก
    สี่ ส่งเสริมอุ้มชูความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) ผิดทาง – โดยครูหรือโรงเรียนจะเน้นแต่วิวัฒนาการทางชีววิทยาหรือทางกายภาพเพียงอย่างเดียว เด็กจึงยังคงความเป็นสัตว์ แยกพรรคแยกพวกและก้าวร้าว

    จึงคิดว่าเป้าหมายของการศึกษา ส่วนหนึ่งคือสนับสนุนความรุนแรง และเห็นแก่ตัวหรือการเอาตัวรอดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งมีพื้นฐานตั้งอยู่บนวิวัฒนาการทางชีววิทยาหรือทางกายภาพกับจิตรู้เท่านั้น

    ความคิดของมนุษย์ที่เห็นว่ามนุษย์ “ใหญ่” เหนือสรรพสิ่งใดๆ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตหลากหลายนับล้านๆ สปีชีส์ ได้รับการตอกย้ำให้ก้าวร้าว ชอบความรุนแรง และแยกพวกแยกกลุ่มแยกส่วน ด้วยการสาธิตยุทโธปกรณ์ทางทหารมาตั้งแต่เยาว์วัย เราอาจจะคิดว่าโลกเป็นเสมือนยานอวกาศ โดยมีมนุษย์เพียงเผ่าพันธุ์เดียวท่ามกลางเทคโนโลยีท่อไอและหลอดยางต่างๆ ดังที่ เอ็ดวาร์ด โอ วิลสัน เขียนกระแนะกระแหนคนที่ไม่เห็นความหมาย ไม่เข้าใจความสำคัญของระบบนิเวศและชีวิตอื่นๆ เผ่าพันธุ์อื่นๆ จึงสำคัญตนว่ายิ่งใหญ่กว่าฟ้าหรือหัวเราะเยาะเย้ยเหวยๆ ฟ้าเสียอีก นั่นคือ เทพ-กษัตริย์ (god-king) นั่นคือจักรพรรดิ นั่นคือซีซาร์ คือ ปโตเลมี คอนซีต (Ptolemaic conceit and anthropocentric) หรือความยิ่งใหญ่ของเด็กวัยรุ่นในระยะต้นๆ (idea of grandeur) ซึ่งตรงกันกับวิวัฒนาการของมนุษย์ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ของปัจจุบัน ที่แทบจะยืนอยู่กับที่ ไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง ตามที่นักจิตวิทยาแทบทุกคนเชื่อเช่นนั้น

    ในความเห็นของผู้เขียนคิดว่า วิวัฒนาการของจิตไม่ได้มีมูลเหตุจากกามารมณ์ในเด็กทั้งหมดและก่อเป็นปมด้อยปมเด่นในวันหลัง ดังที่ ซิกมัน ฟรอยด์ เชื่อ แม้แต่ปมอีดีปัส (Oedipus complex) ที่ฆ่าพ่อแล้วเอาแม่มาทำเมียเพราะไม่รู้ ก็ไม่ใช่ปมด้อยปมเด่นใดดังที่ฟรอยด์คิด แต่เป็นวิวัฒนาการทางจิตจากระดับมีธิค (mythic) ไปสู่ระดับตัวตนกับเหตุผล (self-rational) - อ่านได้จากหนังสือของ เคน วิลเบอร์ เล่มแรกๆ

    ในทางระบบนิเวศ การศึกษาทั่วทั้งโลกในปัจจุบันนั้น มีแต่การปฏิรูปและปฏิรูป ปะโน่นปะนี่โดยฐานรากของระบบยังเป็นเช่นเดิม การเอาเด็กที่อยู่กับป่าฝนและภูเขามาให้เห็นป่าโกงกางและทะเลหรือในทางกลับกัน ไม่ได้ช่วยให้เด็กเข้าใจระบบนิเวศหรือธรรมชาติมากนัก หากเราไม่ได้คิดถึงความสัมพันธ์และพึ่งพากันของทุกสิ่งทุกอย่าง นั่นคือการศึกษาในปัจจุบันที่ไม่ได้คิดถึงความยั่งยืนของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “อย่างเป็นระบบ” ทั้งๆ ที่เป็นระบบที่ทุกๆ สรรพสิ่ง “ทั้งหมด” เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างที่แยกจากกันไม่ได้เสียด้วย

    ผู้เขียนเชื่อว่า ธรรมะในศาสนาที่อุบัติขึ้นจากอินเดีย รวมทั้งพุทธศาสนานั้นมีความหมายส่วนหนึ่งอยู่ที่ธรรมชาติที่เราสัมผัสและรับรู้กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน โดยมีเรื่องของระบบนิเวศ (ecology) เป็นหัวใจซึ่งรวมมนุษย์และสังคมของมนุษย์เป็นส่วนเสี้ยวของข่ายใยแห่งชีวิต เป็นองค์รวมที่บูรณาการเป็นหนึ่งเดียวกัน กระบวนการเรียนรู้ที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐานและมีระบบนิเวศของโลกเป็นหัวใจนี้ ย่อมจะชักนำให้การศึกษาของเด็กไทยและทั่วทั้งโลกเปลี่ยนแปลง ทั้งมนุษย์โดยปัจเจกชนกับสังคมโดยรวมไปสู่สิ่งใหม่ วิถีใหม่ ที่ลึกล้ำ พอเพียง พอดี และยั่งยืน

    ระบบการศึกษาของเรา มีเป้าหมายที่เงินหรือระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจจะเหมาะสมกับสมัยที่ ธอมัส ฮอบส์ ไอแซค นิวตัน จอห์น ล็อค จอห์น สจ๊วต มิลล์ ฯลฯ ซึ่งมีทรัพย์สินส่วนตัวเป็นใหญ่ ทรัพย์สินที่เป็น “ของโลก” กลับกายเป็น “ของกู” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ระบบการศึกษาของโลกจึงกลายเป็นระบบที่รับใช้ทุนนิยมหรือทรัพย์สินความมั่งคั่ง เป็นไปเพื่อหางานทำหรือเงิน ส่วนความรู้เป็นแต่ผลพลอยได้เพื่อหลอกให้เด็กแข่งขันกัน เพื่อสอบผ่านให้ได้หรือเป็นผู้ชนะ การแข่งขันกันดังกล่าวจะเป็นประหนึ่ง “สุกเอาเผากิน” ที่ทำให้เด็กรู้เฉพาะเวลาใกล้สอบ โดยความรู้ที่เรียนมาตั้งหลายปี ส่วนใหญ่มากๆ ไม่ได้เป็นความรู้ที่เด็กต้องรู้เพื่อมีวิถีชีวิตอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมไปชั่วชีวิต

    เรื่องของอารมณ์ด้านลบ เช่น ความก้าวร้าว อิจฉาริษยา ความขัดแย้งแตกแยกจนเป็นความรุนแรง หรือสงครามที่ไม่ได้แตกต่างกันโดยหลักการ ล้วนเป็นเรื่องที่เราทุกๆ คนได้ยินได้ฟัง หรือได้เห็นกันทุกวัน อย่างน้อยจากโทรทัศน์ซึ่งมีส่วนที่ไม่เหมาะสมกับเด็กในวัยเจริญเติบโตมากกว่าส่วนที่เหมาะสมยิ่งนัก แม้แต่กับผู้ใหญ่เองในระดับจิตที่มนุษย์ส่วนใหญ่มีอยู่ในปัจจุบัน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยโดยเฉพาะกับเด็กๆ ในวัยต่ำกว่า ๑๑ ขวบ

    ทุกวันนี้มีการวิจัยมากมาย โดยเฉพาะการปฏิบัติสมาธิในเด็กกับความฉลาดทางอารมณ์ (EI or emotional intelligence) หลังจาก แดเนียล โกลด์แมน นักจิตวิทยาจากฮาร์วาร์ด ได้เขียนหนังสือเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ขึ้นมาในปี ๑๙๙๕ ที่ขายดีมากๆ ถึง ๓ ล้านกว่าเล่มในช่วงสั้นๆ แดเนียล ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ครูและโรงเรียนสามารถสอนให้เด็ก – หากว่าเป็นหลักสูตรสำคัญในทุกวิชาการศึกษาของประเทศ – มีความฉลาดทางอารมณ์ได้และได้ดีเสียด้วย ซึ่งเมื่อเด็กได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว เขาจะเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถเผชิญหน้ากับภยันตรายต่างๆ เช่น ความรุนแรง กระทั่งวิกฤตต่างๆ ได้ คือสามารถมีสติได้ในทุกเวลา สามารถจะควบคุมตัวเองได้ตลอดเวลา มีความเห็นอกเห็นใจคนอื่น และมีมนุษย์สัมพันธ์กับใครต่อใครในสังคมได้ดี”

    พูดง่ายๆ โกลด์แมนบอกว่า การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์มีแต่จะผลิตสร้างคนดีที่มีคุณธรรม รวมทั้งยังรู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งระบบในปัจจุบันไม่ได้เน้น ฉะนั้น มนุษย์จึงแสวงหาแต่เงินและอำนาจตามสันดานของ “ตัวกูของกู” หน้าที่นั้นมีสองอย่าง คือหน้าที่ต่อส่วนรวมที่ตนได้รับการมอบหมายมา (legal duty) ซึ่งมักมีเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทน เช่น ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ เป็นต้น กับหน้าที่ทางคุณธรรมหรือจิตใจ (moral duty) ที่ไม่มีอะไรตอบแทน แต่มักเต็มใจทำยิ่งกว่า เช่น หน้าที่ต่อพ่อแม่ซึ่งตามด้วยความรับผิดชอบเสมอ ทุกวันนี้อย่างแรกยังพอหาได้ แต่อย่างหลังหาผู้รู้หน้าที่พร้อมกับความรับผิดชอบจริงๆ ได้ยากมาก

    พุทธศาสนาบอกให้เรารู้ว่า คนเราที่เกิดมาในโลกด้วยหน้าที่ หมายถึงจิตใจ และคุณธรรม จริยธรรมที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้และปฏิบัติ ซึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบเป็นสร้อยห้อยท้ายเอาไว้เสมอ หน้าที่ทางจิตใจนั้น จะเป็นเรื่องของการกระทำหรือกรรมที่ทำในอดีต ซึ่งเราจะต้องรับผิดหรือรับชอบอย่างไม่มีทางหลบหรือหลีกหนีได้พ้น เพียงแต่ที่ภพภูมิไหนและเมื่อไหร่เท่านั้น เพราะว่าจิตนั้นไม่ได้ตาย หรือหายสาบสูญไปพร้อมๆ กับรูปกายที่เราเพียงยืมมาจากโลก ซึ่งต้องคืนกลับไปเมื่อไม่ใช้ทำอะไรอีก ตราบใดที่เรายังไม่ได้หลุดพ้นและยังคงอยู่ในวัฏสงสาร หรือโลกที่มีสามมิติ (บวกหนึ่ง) แห่งนี้


    (sing)(sing)(sing)
    วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2009 at ที่ 16:00 น. by knoom
    ป้ายกำกับ: บทความมติชน, ประสาน ต่างใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2009
  2. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    สวัสดีครับ พี่ยุทธ ไม่ได้เจอกันซะนาน เลยนะครับ

    พี่ได้อ่าน เอกสารที่ผมรวบรวม เรียบเรียงใหม่ ในชื่อว่า "ศึกษาประวัติศาสตร์อย่างมีสติ เพื่อคลี่คลายความจริงให้แผ่นดิน" หรือยัง

    เร็วๆ นี้ สนพ. เม็กกูรู จะจัดพิมพ์วางจำหน่าย ในชื่อใหม่ว่า "ความลับพระพุทธเจ้า"

    ถ้าพี่อยากอ่าน ก็ อีเมล์บอกผมที่ ekkissaro@gmail.com นะครับ

    ส่วน ประเด็นที่พี่ตั้งขึ้น นั้น ผมเห็นด้วยครับ เพราะการศึกษาปัจจุบัน
    ตรงข้ามกับการศึกษาตามแนวพุทธ ที่ ลด ละ ความเป็นตัวตน ลดความเป็นอัตตา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2009
  3. อู๋ซิน

    อู๋ซิน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +45
    วิธีสั้นก็มี ครับ
    -เรียนรู้อะไรอย่าเรียนรู้เพื่อให้เก่งในสิ่งที่เรียนรู้-มันทำให้เราเกิด อัตตา-ego เกินไป
    -เรียนรู้อะไรเพื่อเอาสิ่งที่เรียนรู้มาพัฒนาชีวิตตัวเอง- มันทำให้เราเป็นมนุษย์ธรรมดาคนนึงครับ
     
  4. patcha2001

    patcha2001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +174
    การศึกษา??? สอนให้เรา...ก้าวร้าว...เห็นแก่ตัว???

    :z2;hi2rabbit_heart:z1;k05

    ขอแจมด้วยคน

    ในเรื่องนี้ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ไม่มีครูคนใดสอนนักศึกษาอย่างนั้นอย่างแน่นอน

    องค์ประกอบในพฤติกรรมของคนอยู่ที่การเรียนรู้ตั้งแต่เด็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่

    การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ และสิ่งแวดล้อม

    IQ,EQ และ RQ ทั้งหมดล้วนแล้วแต่มีความสำคัญกับความประสบความ

    สำเร็จในการเรียน การทำงาน และความมีความสุขในชีวิตการเรียน การงาน

    และครอบครัว

    IQ มาจากยีนส์ส่วนหนึ่ง และพัฒนาการในวัยเด็ก อีกส่วนมากจากการเรียน

    EQ และ RQ น่าจะมาจากการเลี้ยงดู การอบรมสั่งสอนของครูบาอาจารย์ และ

    การทำกิจกรรมในการเรียนทำให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

    ถ้ามีแต่ IQ ฉลาดเฉลียว เป็นฮีโร่อยู่คนเดียว เป็นผู้ชนะเสมอ วิ่งร้อยเมตรไม่

    สนใจผู้ใด ไม่สามารถทำงานใหญ่ได้ เพราะทำงานเป็นทีมไม่ได้ และไม่

    สามารถเป็นผู้นำที่ดี ที่เป็นที่ยอมรับ

    มีแต่ EQ และ RQ แต่ไม่มีองค์ความรู้และความฉลาดเฉลียว ก็เป็นหญิงเกินไป

    ใช้อารมณ์และความรู้สึก ความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น แต่ไม่รู้งาน

    ดังนั้นเก่งอย่างเดียวไม่ได้ต้องมีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น และมีความอดทนกับ

    ความกดดัน ปรับตัวเข้ากับอารมณ์ของคนรอบตัวได้เป็นอย่างดี ไม่หนีปัญหา

    จะสังเกตุได้ว่าวิชาที่นักศึกษาปริญญาตรีเรียนในปีสุดท้ายมักจะมีกรณีศึกษา

    มีงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำเป็นกลุ่ม ที่จะต้องมีผู้นำกลุ่ม ทำงานที่ไม่

    สามารถแก้หรือทำคนเดียวได้ให้เสร็จภายในเวลา โดยที่มีหลักเกณฑ์ในการวัด

    ผลงานที่ชัดเจน ทุกคนในกลุ่มได้คะแนนเท่ากัน และจะต้องนำเสนอผลงาน

    หน้าชั้นเรียน เพื่อให้ทุกคนยอมรับการคุณภาพของงาน และเพื่อให้การวัดผล

    ของอาจารย์เป็นที่ยอมรับของทุกคน วิชาประเภทนี้หัวหน้ามีความสำคัญมาก

    IQ,EQ และRQ มีความสำคัญกับความสำเร็จ ความพึงพอใจในงานของ

    กลุ่ม และเป้าหมายของกลุ่ม

    เปลี่ยนความคิดใหม่นะค่ะ
     
  5. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    Holistic มองให้เป็นองค์รวม ถึงความเกี่ยวเนื่องกันทั้งหมด
    ทุกๆเรื่อง สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ วิถีชีวิต วิธีคิด ของทุกคน
    การศึกษา แบบแยกส่วน ล้วนเป็น เรื่องย่อยๆ เล็กๆ เท่านั้นเอง
     
  6. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    hello3สวัสดีครับ น้องเอกอิสโร
    พี่รู้สึกปลาบปลื้ม ยินดียิ่ง อย่างจริงใจ ที่จะได้เห็นพ็อกเก็ตบุ๊คเล่มแรก ของ นักคิด นักเขียน นักค้นคว้า ผู้ที่อาจสามารถ พลิกประวัติศาสตร์ธรรม ประวัติศาสตร์โลกได้ ด้วยการจุดประกาย ให้สังคมวิเคราะห์คิด พินิจ พิจารณา จาก"ความลับพระพุทธเจ้า" ซึ่งนับว่าเป็นชื่อเรื่องที่น่าประทับใจมากๆ สุดยอด
    ขอให้ความคิดที่ยิ่งใหญ่นี้ ได้รับการตอบรับจากสังคมอย่างล้นหลาม อย่าลืมจัดงานวันเปิดตัวหนังสือด้วยน่ะ แล้วอย่าลืมเรียกพี่ พี่หมอและคณะร่วมงานด้วยน่ะครับ
    พี่ยุทธ
    HBDs อนุโมทนาน่ะครับ น้องเอก
    ลองดูผลงานพี่ ที่ยังไม่ได้เรียบเรียง ช่วงที่อยู่ในห้วงแห่งธรรม
    http://palungjit.org/threads/ธรรม-จักรวาล-การละเมิด.81953/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2009
  7. vichai2500

    vichai2500 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    601
    ค่าพลัง:
    +2,883
    เห็นด้วยอย่างยิ่ง

    เรื่องนี้คงต้องมีการปฏิรูปครั้งใหญ่

    หลังจาก ...... เริ่มยุคใหม่

    ....Welcome Sun Cycle 24!
     
  8. sundav

    sundav เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +115
    ผมอ่านกระทู้นี้ตั้งแต่เมื่อวานนี้แล้ว รอให้มีคนตอบดู ว่าจะว่าไง ผมเห็นด้วยกับท่านที่ตั้งกระทู้อย่างมาก
    ประการแรก สังคมเหมือนจะเปลี่ยนไปอย่างมาก อย่างรวดเร็ว สังเกตจากสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ขาดหาดไปเกือบหมดแล้ว คุณจะเห็นได้จากคำพูดที่เด็กพูดกับผู้ใหญ่ สังเกตไหมว่ามันไม่มีหางเสียงแล้ว เช่น ค่ะ ครับ
    ประการที่สอง สังคมเร่งรีบ เร่งรัด เอาเปรียบ แข่งขัน เด็กเริ่มขาดหัวใจที่จะทำดี โดยมักจะเชื่อมโยงกับ ฉันต้องดี ฉันต้องเด่น ฉันต้องดัง คนอื่นช่างมัน
    ประการที่สาม ลองมองสังคมรอบๆแค่ที่พูดไปแค่นี้ลองเปรียบเทียบดู อย่าเพิ่งพูดว่าอันนี้ดี ให้เปลี่ยนความคิดซะใหม่ มองกว้างๆมองไกลๆ
    ประการที่สี่ การไม่รู้จักถึงผู้อาวุโส กับผู้น้อย ตัวอย่างที่เห็นได้มาก เด็กเดินเข้าไปทักผู้ใหญ่ว่าทำไมไม่ทักหนู ทำไมคุยกับหนูก่อน ดูเหมือนจะเป็นคำพูดที่สมควรหรือไม่สมควร ท่านที่เป็นผู้ใหญ่ ลองอ่านตรงนี้แล้วท่านพอใจหรือไม่ สำหรับผมแน่นอน ไม่พอใจอย่างยิ่ง และดูเหมือนเรื่องเหล่านี้จะเป็นเรื่องปกติสำหรับเขา ก็ไม่รู้จะโทษใคร
    ประการที่ห้า ความมีน้ำใจ เริ่มหายไปจากสังคมมากขึ้นทุกที ความเอื้อเฟื้อเริ่มขาดหายไป
    ผมว่าสมควรที่จะพิจารณาการศึกษาใหม่ได้แล้ว ก่อนที่อะไร จะเป็นวัตถุ เงินๆๆๆๆเพียงเท่านั้น เพราะต้องไม่ลืมว่าเงินไม่ใช่ทุกอย่างสำหรับชีวิตที่อยู่บนโลกใบนี้ แม้ว่าจะต้องอาศัยเงินทองเหล่านี้เป็นปัจจัยเลี้ยงชีวิตก็ตาม ก็เพียงเพื่อดำรงชีวิตเท่านั้น
    เมื่อก่อนไม่มีโทรศัพท์มือถืออยู่ได้ไหม ก็อยู่ได้
    เมื่อก่อนไม่มีห้างใหญ่ๆอยู่ได้ไหม ก็อยู่ได้
    เมื่อก่อนไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ได้ไหม ก็อยู่ได้
    เมื่อก่อนไม่มีสถานเริงรมณ์ต่างๆมากมายอยู่ได้ไหม ก็อยู่ได้
    สิ่งต่างๆที่เข้ามาตอนนี้ เหมือนจะทำให้ชีวิตแย่ลง เปลี่ยนจิตใจคนไปมาก มีความเห็นแก่ตัวมากขึ้น
    ว่างๆอยากให้ทุกคนลองหาหนังสือ เรียนตามสบายที่ซัมเมอร์ฮิล มาอ่านบ้าง แล้วจะได้อะไรมากมายจากหนังสือเล่มนี้
     
  9. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    หากทุกท่าน เห็นด้วย และ มองเห็น
    ปัญหา???(ทุกข์)และ สาเหตุ???(สมุทัย)การศึกษายุคนี้

    พวกเรา จะร่วมกัน ค้นคว้า เสนอแนะไอเดีย เรื่อง

    1.แนวทางแก้ไขปัญหา??(นิโรธ)
    2.วิธีการดำเนินการ??(มรรค)อย่างไรดี

    ขอเชิญทุกท่าน ร่วมเสนอแนะมาได้ ตามอัธยาศัย
    เผื่อบางที ผมจะมีโอกาส นำเสนอผู้มีอำนาจ ได้บ้าง
    ทุกความคิดเห็น ถือได้ว่าเป็น กุศล ธรรมทาน อันยิ่งใหญ่
    เพื่อเป็นของขวัญให้กับ เด็กไทย และเด็กๆทั่วโลก อนาคตมนุษยชาติ ยุคใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2009
  10. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,568
    ค่าพลัง:
    +7,749
    การแก้ไขปัญหาคงต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1 ส่วนสังคมและรัฐ 2 ส่วนปัจเจกและครอบครัว

    ส่วนที่ 1 คงไปทำอะไรไม่้ได้มากเพราะไม่เคยมีรัฐบาลไหนสนใจเรื่องแบบนี้หรอกครับมีแต่สนใจเรื่องประชานิยมสร้างฐานคะแนนเสียงเพื่อรอเลือกตั้งกันทุกๆ 4 ปี

    ส่วนที 2 อาจจะพอทำได้บ้างแต่ก็ยากและได้ผลน้อย เหตุที่เกิดคือคนห่างไกลธรรมกันมากเหลือเกิน การเข้าวัดทำบุญไม่ได้หมายความว่าอยู่ใกล้ธรรมนะครับเพราะส่วนใหญ่ที่ไปก็ไปด้วยกิเลสที่คิดว่าไปทำบุญแล้วจะช่วยให้เขามีเพิ่มขึ้นหรือรวยขึ้น เหตุที่ว่าคนห่างไกลธรรมนั้นอยู่ตรงกิเลสและความอยากได้อยากมีของคนเรานั่นเอง จะแก้ก็ต้องแก้ที่ตรงนี้ ส่วนเหตุอื่นๆเป็นแค่องค์ประกอบเล็กๆน้อยที่เป็นอุปทานหลอกมนุษย์ให้ติดกับดักแล้วคิดเอาเองว่าแก้ไขได้แล้ว การจะพูดบอกให้ใครๆมาละกิเลสละตัณหามันคงไม่ง่ายหรอกใช่ไหมครับ พูดบอกเขาบางทีก็โดนเขาเหน็บแนมกลับมาก็ยังมีอยู่บ่อยไป
    ยิ่งการจะไปบอกให้เด็กๆคิดอย่างนี้สิคิดอย่างโน้นสิคุณคิดว่าเด็กๆจะฟังหรือ แต่ถ้าเป็นดาราเป็นนักร้องยอดฮิตที่เขาชื่นชอบอยู่มาบอกเขายังฟังมากกว่าแถมเชื่อด้วย โลกในยุคนี้มันก็เป็นอย่างเองและครับ แต่ในยุคหน้าไม่แน่บางทีครูไม่ต้องสอนอะไรมากมายเลยเด็กๆก็จะเข้าใจในธรรม อาจจะดีกว่าผู้ใหญ่อย่างเราๆท่านๆด้วยซ้ำไปก็เป็นไปได้
    เราสามารถบอกเด็กๆได้ไหมว่าพวกเขามาเกิดกันทำไมตายแล้วจะไปไหน กรรมมีจริงๆใครทำอะไรก็ต้องผลแห่งกรรมนั้น กรรมจากอดีตชาติก็มีติดมาไม่น้อย การพัฒนาจิตวิญญานคืออะไร ทำไมเราต้องพัฒนามันด้วย สิ่งต่างพวกนี้ มีใครกล้าไปบอกเด็กไหม หรือกล้าไปพูดกับคนแปลกหน้าไหม กล้าพูดกับเพือ่นเราไหม บางทีเรายังไม่กล้าเลย แล้วจะไปแก้ปัญหาที่ว่านี้ได้อย่างไร ขออภัยด้วยครับที่ไม่ได้เสนอความคิดเห็นที่ตรงกับใจเจ้าของกระทู้ แต่ก็อนุโมทนากัีบความตั้งใจดีๆของท่านด้วย
     
  11. note_bank

    note_bank เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    380
    ค่าพลัง:
    +968
    ใช่ค่ะ การศึกษาต่างประเทศ ถูกหล่อหลอมมาจากระบบ secularism คือระบบแยกศาสนาและศีลธรรมออกจากชีวิตประจำวัน

    ประเทศที่เป็นระบบ secularism ที่เห็นได้ชัดคือ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น (ชินโตกำลังจะหายไปจากญี่ปุ่น) อังกฤษ อมเริกา อิตาลี ฯลฯ

    ที่มหาวิทยาลัยที่เราทำงานอยู่ พอดีมีนศ. จากฝรั้งเศสมาเรียนระยะสั้น 4เดือน
    เขาเอาเบียร์กระป๋องมานั่งดื่มในขณะที่อาจารย์สอน

    พอทางเราตักเตือนว่า ไม่อนุญาตให้นำเครื่องดื่มแอลกอล์ฮลล์เข้ามาในเขตสถาบันการศึกษา เราควรเคารพอาจารย์

    นศ.ก็งง ว่าทำไมต้องเคารพอาจารย์ อาจารย์ก็เป็นเพียง 1 อาชีพที่เขาจ่ายเงินจ้างมาสอน ไม่ได้มีบุญคุณอะไร อาจารย์เป็นแค่อาชีพนึงเหมือนกับอาชีพอื่นๆ ทำไมต้องให้เกียรติ

    นศ. ต่างประเทศเขาสามารถเขียนถึงความรู้สึก ความสัมพันธ์ กับบิดามารดาได้ดีมาก แต่เขาไม่เข้าใจว่าอะไรคือความกตัญญู อะไรคือความให้อภัยและเสียสละ

    เพราะเขาไม่ได้ถูกหล่อหลอมจากสังคมที่อบอุ่นแวดล้อมไปด้วยความรัก จากครอบครัวใหญ่ จากปู่ย่าตายาย

    ตอนนี้ในกรุงเทพได้กลายเป็นสังคม secularism ไปเสียแล้ว น่าเสียดาย

    อยู่ในคอนโดตามลำพัง ไม่รู้จักเพื่อนบ้าน ไม่รู้จักว่าสิ่งมีชีวิตที่นอนถัดจากห้องเราไปเขาชื่ออะไร มีอาชีพอะไร ชีวิตเป็นอย่างไร ความห่วงใย การแบ่งปัน

    ลองถามคนกรุงเทพดูว่า ครั้งสุดท้ายที่ได้แบ่งแกงไปให้เพื่อนบ้าน เมื่อไหร่ นานจนแทบจำไม่ได้

    ครั้งสุดท้ายที่ได้นอนตักแม่ เมื่อไหร่

    น่าเสียดายที่คนกรุงเทพได้ถูกกลืนไปกับความล้มเหลวของระบบโดดเดียว (secularism)

    ไม่น่าแปลกใจที่คณะปรัชญาและศาสนา มีนักเรียนน้อยมาก แต่คณะบริหารธุรกิจ กลับเติบโตอย่างไม่น่าเชื่อ

    เคยมีนศ. เอาเงินปาหน้าแล้วก็พูดว่า ต้องการเงินมากใช่ไหม ???? (เงินค่าปรับที่เข้าต้องเสีย) แอบสงสัยว่าเขาเรียนระดับ ป.โท การศึกษาสูง มีเงินด้วย (แน่นอนค่าเทอมแพงมากถึงมากที่สุด)

    ก็สงสัยว่านี่เด็กไทยเรียนสูง แต่บางครั้งการศึกษากลับไม่ได้ช่วยให้เขาเป็นคนขึ้นมาเลย วิชาจริยธรรมก็เรียน แต่สุดท้ายเขาก็แสดงกริยาดูถูกคนอย่างไม่น่าเชื่อ

    ยอมรับว่าการศึกษาล้มเหลวมานานมาก

    และนี่คือเหตุผลที่ไม่ส่งลูกเข้าโรงเรียนอินเตอร์ หรือโรงเรียนสองภาษา ทั้งๆที่ค่าเทอมใกล้เคียงกัน

    อย่างน้อยโรงเรียนที่ลูกเรียนอยู่ สอนให้ไหว้พระ สวดมนต์ ไม่ใช่ให้เจออาจารย์แล้วยกมือทักว่า Hi (แต่ไม่ยอมไหว้ เพราะเราก็เป็น เราไม่ไหว้อาจารย์ จนตอนหลังเริ่มรู้สึกว่า เขาเป็นคนที่ให้ความรู้เรา แม้เราจะต้องจ่ายเงินแพง แต่ในเมื่อเขาเป็นอาจารย์ เป็นคนให้ความรู้ ดังนั้น เมื่อเจออาจารย์คนไทยก็ตามอาจารย์ต่างชาติก็ตาม ก็ต้องไหว้และให้ความเคารพ)
     
  12. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    ดีมากๆและตรงครับ
    อย่างน้อยคุณtossapornk ก็ชี้ให้เห็นปัญหาได้ชัดเจน กระชับดีถึง 2 ส่วน คือ ภาครัฐ และ ภาคประชาชน ซึ่งก็คงต้องหาทางพัฒนาคนทั้ง 2 ภาคส่วนต่อไป และคงหมายถึง การพัฒนาจิตใจ ให้มีคุณธรรม โดยอาศัย ธรรมะ ที่มีเนื้อหาอันถูกต้อง ครบถ้วน ผมเข้าใจถูกใช่มั้ยครับ
    ขอบคุณมากน่ะครับ
    ช่วยเสนออีกน่ะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2009
  13. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    ขอบคุณมากครับ
    สำหรับการชี้ให้เห็นว่า สาเหตุที่การศึกษาล้มเหลวมานาน ส่วนหนึ่งเกิดจาก วิธีคิด แบบแยกส่วน โดยระบบที่ต้องแยก ศาสนา ศีลธรรม วิถีชีวิต การศึกษา ออกจากกัน Secularism
    เสนอมาอีกน่ะครับ
    ;20
     
  14. ไม้บรรทัด

    ไม้บรรทัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +293
    การศึกษายุคนี้ มีปัญหาจริงๆ???
    -ต้องสอน คนให้เป็น คน
    -ต้องสอน ให้คิดเองเป็น
    -ต้องสอน ไม่ให้เชื่อง่าย
     
  15. wara99

    wara99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    381
    ค่าพลัง:
    +898
    ขออนุโมทนากับคุณยุทธ ด้วยนะครับที่นำเสนอกระทู้นี้มา

    โดนใจเลยครับ เพราะเห็นปัญหามานาน มีปัญญาแก้ แต่ไม่มีอำนาจ ก็ได้แค่ดูเขาปฎิรูปการศึกษากันไป

    ทั้งตัวผม และท่านทั้งหลาย ลูกศิษย์เกือบทั้งหมดของครู ก็ไม่พ้นการศึกษาที่บิดเบี้ยวแบบนี้ จะโทษใครครับ เพราะพวกเราเกิดมา ก็ถูกพ่อแม่จับส่งเข้าระบบเขาเสียแล้ว

    มนุษย์ที่รับค่าตอบแทนเป็นงวดๆนี้ละครับ คือผลพวงของระบบเขา และส่วนใหญ่ก็ไม่รู้ตัวเองด้วยว่าถูกเขากลืน เพราะเราถูกบังคับให้เข้าระบบเขา โดยมีชื่อที่ เลิศเลอว่า "การศึกษา"

    คำว่า การศึกษาแตะต้องไม่ได้หรอกครับ ดีไปหมด ลองว่าซิ คนไม่เห็นด้วย มี ทันที

    ใช้คำใหม่ครับ "รูปแบบการศึกษา ในปัจจุบัน" อย่างนี้จะมีคนค้านน้อยหน่อย

    อย่าไปโกรท คนต้านเลยนะครับ เพราะระบบนี้เนียนจริงๆ อย่างผมกล่าวจะรู้ ก็เลยครึ่งชีวิตแล้วครับ เราและลูกหลานของเรา คงจะเป็นทาสของเขาไปอีกนาน

    ท่ามกลางความมืด ก็พอจะมีแสงอยู่บ้างละครับ เศรษฐกิจพอเพียงที่พระเจ้าอยู่หัวทรงประทาน นี่ละครับ คือทางออกทางหนึ่ง
     
  16. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ตั้งกระทู้ได้เยี่ยมครับ

    ตามมุมมองของผม ผมว่าระบบการศีกษาที่เขาออกแบบมาเหมาะกับชาวฝรั่ง เรียนแล้วไปทำงาน แล้วมาเรียนอีก discuss กันในชั้น แล้วเอาไปพัฒนาใช้ ยิ่งทำงานและเรียน ก็ยิ่งคล่อง เป็นผู้บริหารบริษัทฯหรือเป็นเจ้าของกิจการอย่างรวดเร็ว สังคมของเขาจึงแข่งขันกันอย่างดุเดือด ชิงดีชิงเด่น วัดผลแพ้ชนะกันแบบเห็นๆ นั่นเป็นแบบตะวันตก

    แต่เมื่อเรารับหลักวิชาการมาใช้กับสังคมแบบตะวันออก ซึ่งนุ่มนวลกว่า โอบอ้อมอารีย์กัน ค่อยๆคิดค่อยๆทำ เกรงใจกัน และมีการจัดชนชั้นวรรณะด้วย โดยไม่ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้แล้วมาประยุกต์ให้เข้ากันโดยเหมาะสมแล้ว ผลมันก็ออกมาแบบมั่วๆ สุดๆ

    ใครเห็นช่องทางที่เอาประโยขน์เข้าตัว ก็ร่ำรวยอย่างรวดเร็ว ใครที่อ่านเกมส์ไม่ออก ก็เหมือนถูกหลอกใช้ไปวันๆ บางคนลงทุนร่ำเรียนมาซะสูง แต่ไปทำงานกินเงินเดือนตามเส้นสายวงศ์ศาคนาญาติ ทำไปวันๆ แล้วคนส่วนใหญ่ก็สรุปโดยการวัดผลจากความร่ำรวย มั่งคั่งเป้นเกณฑ์ตามแบบตะวันตก ใครรวยคือผู้ประสบความสำเร็จ สมควรกราบไหว้ นับถือ ยกย่อง ใครไม่รวยและไม่ฉลาดก็ดิ้นรนให้รวยมั่ง สุดท้ายเลยกลายเป้นสังคมเห็นแก่ตัว แก่งแย่งกัน แต่ก็ไปได้ไม่ไกล เพราะมันมีระบอบศักดินาแบบตะวันออกครอบอยู่อีกชั้น อันนี้แก้ไขไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องของวัฒนธรรมทางสังคมตะวันออก

    มองดูแล้วมันมั่วมากแล้ว แก้ไขตอนนี้ยากส์สุดๆ คงสายเกินแก้แล้ว

    ผมเลยเปลี่ยนมุมมอง มาเป็นแบบพุทธศาสนิกชน คือมองตัวเอง สำรวจตัวเอง อย่าส่งจิต ออกนอก ไปปรุงแต่งอารมณ์ชอบ-ไม่ชอบ อย่างสร้างอคติ แล้วความวุ่นวายข้างนอกมันจะไม่มากระทบกับจิตใจเรา เมื่อเริ่มมีสติ ก็เริ่มตั้งหลักจากสัมมาทิฐิ ที่ตัวเราก่อน คิดชอบทำชอบกับสังคมรอบๆตัว ไปติดต่อกับใครก็อาศัยแนวทางพุทธะ คือ ตั้งอยู่บนเมตตาธรรม พรหมวิหาร 4 ก่อน คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

    หมายถึง มองสังคมรอบข้างแบบ ไม่สร้างกรรมทางลบ ทำทุกอย่างเพระอยากให้ทุกคนไม่ทุกข์ ( เมตตา ) ช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้ก็ช่วยกันไป ( กรุณา ) ใครได้ดิบได้ดี ก็ยินดีกะเขา โมทนาสาธุด้วย ไม่อิจฉา ( มุทิตา ) ใครทำไม่ดี สังคมไม่ดี เราช่วยไม่ไหว ก็วางอุเบกขา ทำใจให้เป็นกลาง มองว่าทุกอย่างมันเป็นกฎแห่งกรรม ไม่มีใครหนีพ้น

    เมื่อทำได้แบบนี้ สังคมรอบตัวเราคงเริ่มดีขึ้น เริ่มจากตัวเราก่อน ถ้าเราทำได้และดูมีความสุข ค่อยๆแนะคนที่แนะได้ให้ทำตาม ความสงบสุขในสังคมจะเริ่มแผ่ขยายไปจากเรา หนึ่งวง กลายเป็นเพื่อนๆ สองวง สามวง และขยายออกไปเป็นทวีคูณ

    ขั้นตอนต่อไป เอาตัวอย่างจากของจริงนี้ ไปสอนให้ลูก ให้หลาน ตั้งแต่เด็กเล็กๆ ให้เขาเลือกว่า อยากเดินทางไหน สังคมวุ่นวาย หรือสังคมแบบที่พ่อแม่ ผู้ใหญ่ทำอยู่ ให้เขาเลือกเอง เขาจะเต็มใจทำ ถ้าบังคับ เขาจะหนี แต่ปัญหาอยู่ที่พ่อแม่ สามารถทำได้หรือไม่ ?

    สิ่งที่ขอเสนอให้ทำต่อไปจากจุดนี้ คือ การสวดมนต์ ถือศีล 5 หรือ ศีล 8 และการภาวนาดูจิต อย่างต่อเนื่อง เพราะเราเป็นชาวพุทธ เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด การชดใช้กรรม การรู้ทุกข์และการปฏิบัติให้หลุดพ้นจากทุกข์

    อย่าลืมว่า หน้าที่หลักของการเกิดมาเป็นมนุษย์คือ การเดินไปสู่ทางแห่งการพ้นทุกข์ หน้าที่รอง คือการอยู่กับโลกสมมติบัญญัติให้ได้ดีที่สุดด้วย คือการทำหน้าที่ทางสังคมให้ดีที่สุด ทั้งการเป็นลูก เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นสามี เป็นภรรยา เป็นเจ้านาย เป็นลูกน้อง เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นเพื่อน หน้าที่ทางโลกซึ่งเป็นงานรองก็ต้องไม่เสีย แต่ก็อย่าลืมงานหลัก คือการมุ่งสู่ความสงบ หลุดพ้น

    ถ้าเราไม่ลืมหน้าที่หลักของเราแล้ว และค่อยๆปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับงานรองในดลกสมมติบัญญัติ ผมว่าโลกภายนอกเรื่องระบบการศึกษา เป็นเรื่องเล็กไปเลยครับ เพราะเราไม่มีความอยากจนเกินไป ไม่มีความอิจฉาจนเกินไป เรียนโรงเรียนดีๆ ก็ดีไป เรียนโรงเรียนไม่ดังก็ไม่เสียใจ หน้าที่ทางสังคมไม่บกพร่อง สังคมรอบตัวจะน่าอยู่มากเลยครับ

    ยิ่งปฏิบัติ สวดมนต์ภาวนา อธิษฐานจิตกำกับขึ้นไปอีกขั้นว่า ขอให้ได้พบ ได้เจอแต่กับผู้มีธรรมด้วยกัน เป็นกัลยานมิตรที่ดี ยิ่งวิเศษสุดๆครับ

    ผมก้หลงทางมานาน 2 - 3 ปีมานี้ มาอ่านเวปนี้ มาศึกษาธรรมะจากอินเตอร์เนท เลือกปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์ที่เราคิดว่าถูกจริต 2 - 3 แนวทาง ไม่ละทิ้งหน้าที่ทางสังคม ในโลกสมมติบุญญัติ สวดมนต์ภาวนาสม่ำเสมอ ชีวิตเปลี่ยนไม่มากเลยครับ ไปที่ไหนก็พบแต่คนเมตตาครับ

    อยากเสนออีกแนวทางให้ลองพิจารณาด้วยคนครับ
     
  17. note_bank

    note_bank เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    380
    ค่าพลัง:
    +968
    แล้วจะแก้ไขได้อย่างไร ในเมื่อเราไม่ได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ???


    ก่อนอื่น ต้องเริ่มจากตัวเองก่อน

    1. เราดูแลบิดามารดา อย่างไร ดีแค่ไหน ให้ความรักความเอาใจใส่ มากน้อยแค่ไหน แล้วบิดามารดารับรู้และสัมผัสได้ว่าตัวเรานั้นรักและเคารพท่าน (ไม่ต้องรอตอนตาย ค่อยมาไหว้ ไม่ได้ยินแล้ว)

    2. เราดูแลลูกเราดีแค่ไหน คำว่าดูแล ไม่ใช่ส่งลุกไปโรงเรียนแล้วให้เป็นหน้าที่ครู จ้างครูแพง ส่งให้เรียนโรงเรียนแพง ก็ให้เขาสอนสิ (แล้วจะเสียใจที่คิดอย่างนี้ เมื่อตอนแก่แล้วลูกไม่เลี้ยง ลูกก็จะจ้างพยาบาลมาป้อนข้าวให้แม่ แล้วก็บอกว่าจ้างพยาบาลมาตั้งแพง ให้พยาบาลดูแลแม่ตอนป่วย ตอนแก่สิ)

    3. เราใส่ใจคนรอบข้างดีแค่ไหน ยามหน้าหมู่บ้าน แม่บ้านที่ทำงาน เพื่อนร่วมงานต่างชั้นแต่ตึกเดียวกัน เพื่อนบ้านที่อยู่หลังถัดไป ไม่ใช่กลับถึงบ้านก็ปิดบ้านเข้าบ้าน ดูโทรทัศน์

    การศึกษาสอนให้คนก้าวร้าวหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่ไกลเกินกว่าเราจะแก้ไขได้ แต่คนที่เป็นพ่อเป็นแม่นั้น เป็นครูคนแรกของลูก ลูกสามารถเป็นอะไรก็ได้ตามแต่ที่พ่อแม่จะปั้นแต่งขึ้นมา

    ในบางครั้ง พ่อแม่ก็จ้างใครก็ไม่รู้มาช่วยสอนลูกชั้นที แล้วในที่สุดก็บอกว่า ลูกมันดื้อ เด็กมันเก ลูกก้าวร้าว ลูกเอาแต่ใจ สอนจนไม่รู้จะสอนยังไงแล้ว สอนจนปากเปียกปากแฉะแล้วก็ไม่ฟัง


    ลองมองย้อนกลับไป พ่อแม่ คือจุดเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าลูก หากแม้วันข้างหน้าชีวิตลูกมันจะล้มเหลวก็อย่าได้โทษใคร ต้องถือว่าพ่อแม่นั่นแหล่ะที่ผิดที่ไม่ทำหน้าที่ให้ดี(ไม่ใช่หาเงินเยอะๆแล้วจ้างคนอื่นสอน) ต้องถือว่าความล้มเหลวทั้งปวงทั้งในระบบสังคม ทั้งระบบการศึกษา เกิดจากความล้มเหลวของสถาบันครอบครัว.....

    ดังนั้นเริ่มจากครอบครัวของตัวเองก่อน....

    ..........นั่นคือการทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด..........

    ..........เป็นลูกที่ดี เพื่อเป็นน้ำหล่อเลี้ยงใจให้คนเฒ่าคนแก่ ที่เลี้ยงเรามา.....

    .......เป็นพ่อเป็นแม่ที่ดี เพื่อสร้างคนหนึ่งคนในสังคมให้เป็นคนดี (อย่าไปฝากความหวังและชีวิตลูกเราทั้งชีวิตไว้กับครู เพราะเด็กคนนี้เป็นลูกของเราเอง)........

    .......เป็นคนไทยที่ดี ที่คอยปกปักษ์รักษา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และผืนแผ่นดิน.......
     
  18. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    การเรียนรู้..สู่การเปลี่ยนแปลง..Transformative Learning

    ขอขอบคุณทุกๆความคิดเห็น

    การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
    (Transformative Learning)


    [​IMG]

    โดย ดร.จารุพรรณ กุลดิลก
    หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 11 กรกฎาคม 2552

    กระแสการศึกษาทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเข้าใจใหม่ เพราะคนจำนวนหนึ่งตระหนักแล้วว่า การศึกษาที่เน้นแต่เรื่องนอกตัวหรือเรื่องทางกายภาพ โดยขาดความเข้าใจในเรื่องจิตใจและจิตวิญญาณ ไม่สามารถแก้ไขวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้ ทุกวันนี้คนยิ่งเรียน ยิ่งก้าวร้าวมากขึ้น มีอัตตามากขึ้น ยึดติดในทฤษฎี เน้นการเปรียบเทียบ มีตัวชี้วัดที่ตายตัว เอาความเก่งเป็นตัวตั้งและตัดสินถูกผิด บนพื้นฐานของการแยกส่วนเสี้ยว ซึ่งไม่ใช่ความจริง ความเป็นจริงในธรรมชาติไม่มีการแยกส่วนเสี้ยว แต่มีความเป็นทั้งหมด มีเหตุมีปัจจัยเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน

    การอธิบายความจริงของสิ่งๆ หนึ่ง จะอธิบายด้วยความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นต่อสิ่งอื่น ไม่ได้กำหนดอัตลักษณ์ตายตัว ทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Relativity) และทฤษฎีความไม่แน่นอน (Uncertainty) ในควอนตัมฟิสิกส์ ใช้การอ้างอิงความสัมพันธ์ในการอธิบายปรากฏการณ์ในธรรมชาติ ซึ่งในวงการวิทยาศาสตร์ถือว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพและควอนตัม เป็นทฤษฎีที่เข้าใกล้ความจริงของธรรมชาติมากที่สุด

    วงการธุรกิจเริ่มเข้าใจและยอมรับเรื่องความไม่แน่นอน และความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ จึงมีการบริหารจัดการองค์กรรูปแบบใหม่ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตัวอย่างที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในกลุ่มจิตวิวัฒน์บ่อยครั้ง ได้แก่ ผู้นำกับวิทยาศาสตร์ใหม่ ของ มาร์กาเรต เจ วีทเลย์ (Leadership and the New Science; Margaret J. Wheatley) ที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างคนทำงานแบบไว้วางใจกัน และไม่มีตัวชี้วัดในองค์กร เน้นการสื่อสารองค์กรแบบไดอะล็อค หรือสุนทรียสนทนา ที่ประกอบด้วยการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) ที่ไปพ้นความเข้าใจในระดับภาษา ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพ หรือ องค์กรไร้ระเบียบสู่องค์กรมีระเบียบ ของ ดี ฮ็อค (Chaordic Organization; Dee Hock) ผู้ก่อกำเนิดบัตรวีซ่า ซึ่งกล่าวว่าความไร้ระเบียบจะเข้าสู่ความมีระเบียบโดยไม่ต้องจัดการอะไร เรื่องราวชีวิตของ ดี ฮ็อค น่าสนใจมาก เขาก้าวลงจากตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทวีซ่า โดยการลาออกในขณะที่กำลังประสบความสำเร็จสูงสุด เนื่องจากเขาเข้าใจธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง เข้าใจจังหวะชีวิต รู้เวลาที่สมควรจะก้าวลงจากอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเอง นอกจากนี้ยังมีคนแบบ วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ที่ทำงานโดยไม่ใช้ตัวชี้วัดกับคนทำงาน แต่ใช้ความสัมพันธ์แบบไว้วางใจ ซึ่งเมื่อบริษัทของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เริ่มที่จะพัฒนาคุณค่าเรื่องความไว้วางใจ ความไว้วางใจจึงขยายออกไปสู่วงกว้างระดับโลกด้วย

    ความไว้วางใจนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับจิตวิญญาณ (Spiritual Transformation) ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ความพร้อม พร้อมที่จะไว้วางใจในมนุษย์ ไว้วางใจในธรรมชาติ โดยผ่านการพิสูจน์และเรียนรู้ด้วยตนเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในการเข้าใจคุณค่าด้านในของมนุษย์ โดยเฉพาะในตนเอง รู้จักตัวตน และวิธีละวางตัวตน ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องประสานกับธรรมชาติ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว เป็นธรรมชาติของความไม่รู้มากกว่าความรู้ เมื่อยอมรับและตระหนักได้ว่าในธรรมชาติจริงมีสิ่งที่ไม่รู้เกือบจะทั้งหมด และทุกอย่างพร้อมจะปรับเปลี่ยน แปรเปลี่ยน จะทำให้คนมีอัตตาลดลง ไม่ยึดติดในทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งตายตัว เกิดการเรียนรู้มากขึ้น มีสติรับรู้รับฟังกันและกันมากขึ้น เห็นใจกันมากขึ้น ให้อภัยกันมากขึ้น เพราะต่างก็อยู่บนโลกของความไม่แน่นอน ไม่ชัดเจน และปัญหาในอนาคตมีแนวโน้มใหญ่โต คาดการณ์ไม่ได้มากขึ้น มองเห็นว่าสังคมมนุษย์นั้นเล็กมาก จะเกิดความอ่อนน้อมถ่อมตน และเห็นคนทั้งหลายเป็นเพื่อนร่วมทุกข์อย่างแท้จริง จะกลับมาเอาใจใส่คนรอบข้างมากขึ้น มีการสื่อสารระหว่างกัน เข้าถึงใจจริงกันมากขึ้น จะเกิดความสุข เป็นความสุขที่เกิดจากความรู้สึกมั่นคงในระดับจิตวิญญาณ บนโลกที่ไม่มีความมั่นคงในระดับกายภาพและระดับจิตใจ

    ซึ่งที่ผ่านมามนุษย์ไม่ได้รับการพัฒนาในการเรียนรู้ หรือรับรู้เรื่องดังกล่าวในแวดวงการศึกษากระแสหลักเลย การศึกษากระแสหลักมักเน้นแต่เรื่องความแน่นอน แม่นยำ ชัดเจน และการผลิตซ้ำของงาน ผ่านตัวชี้วัด ซึ่งเป็นเรื่องห่างไกลกับความสัมพันธ์เท่าที่จำเป็นของมนุษย์แต่ละคน สวนทางกับความจริงโดยสิ้นเชิง

    จึงเป็นที่มาของ การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ที่เน้นการเปลี่ยนแปลงสู่ความเข้าใจใหม่ ในระดับจิตใจ และจิตวิญญาณ การหยั่งรู้ถึงความจริงของความเปลี่ยนแปลง อันมีเหตุมีปัจจัยเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียว เกิดความไว้วางใจ เกิดความรัก และพร้อมที่จะรับฟังอย่างลึกซึ้ง

    พาตนเองและมนุษยชาติทั้งหมด โลก และสิ่งแวดล้อม ออกจากความทุกข์ที่มนุษย์ร่วมกันก่อไว้ ไปสู่อิสรภาพจากความคิดและความเชื่อเดิมๆ ที่ทำให้คนเจ็บป่วย โลกเจ็บป่วย เปลี่ยนแปลงไปสู่การหยั่งรู้ในระดับความรู้สึกตัว ที่เกิดความรู้ความเข้าใจที่มีความสดใหม่ตลอดเวลา ไม่ได้มาจากการท่องจำทฤษฎี สามารถแก้ไขปัญหาตรงหน้าได้อย่างทันท่วงทีร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงความเข้าใจใหม่นี้ เกิดขึ้นได้จากความพร้อมด้วยเหตุด้วยปัจจัยของแต่ละคน อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งจะมีความแตกต่างไปจากการเปลี่ยนไป (Change) ที่ไม่ได้บ่งบอกคุณลักษณะของการเปลี่ยนแปลง ว่าเปลี่ยนไปสู่ความเข้าใจใหม่ที่เกี่ยวกับความจริงของธรรมชาติอย่างไร

    การศึกษานี้ไม่สามารถเรียนรู้จากทฤษฎี หรือการบอกให้เชื่อ แต่ต้องผ่านการพิสูจน์และใคร่ครวญด้วยตนเอง ซึ่งการเรียนรู้และจริตในการเข้าถึงความจริงของแต่ละคนจะแตกต่างกัน เรียนบ้าง เล่นบ้าง หลับบ้าง ทดลองบ้าง การเรียนจึงประกอบด้วยวิธีที่หลากหลาย ครูผู้สอนเป็นเพียงผู้เอื้อให้เกิดพื้นที่การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม ซึ่งโดยพื้นฐานและหัวใจของการเรียนรู้นั้น จำเป็นต้องประกอบด้วยการเชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์ มีพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้อย่างไม่ตัดสินถูกผิด เชื่อใจ และไว้วางใจ กระบวนการเรียนรู้จึงเกิดขึ้นได้ด้วยตนเองอย่างเป็นอิสระ เมื่อแต่ละคนได้ค้นพบความจริงที่ยิ่งใหญ่กว่าทฤษฎีที่ตนรับรู้มา จึงจะยอมละวางความคิด ความเชื่อที่ตายตัว จนเกิดปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลง คือกลายเป็นผู้รับฟังมากกว่าผู้ตัดสิน เป็นผู้เมตตากรุณามากกว่าเป็นคนเก่ง ผู้เรียนจะกลายเป็นผู้ที่มีความสุขสงบลึกๆ ในใจ แม้กระทั่งตกอยู่ในสภาวะที่กำลังเผชิญปัญหา เนื่องจากสามารถก้าวข้ามตัวตนหรือกรอบที่ครอบงำหรือความเชื่อเดิม ที่ไม่เชื่อมโยงกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันขณะ จากนั้นจะเกิดความกล้าหาญขึ้น มั่นคงยิ่งขึ้น เข้มแข็งยิ่งขึ้น อีกทั้งความเจ็บป่วยต่างๆ ลดลง

    จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีขนาดไหนหากมีประชากรที่มีคุณภาพในการรับฟังผู้อื่นอย่างมากมายในประเทศ เป็นประชากรที่มีความสุขจากการเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต จะไม่เกิดการเสียเวลาโต้แย้งทางความคิดในเรื่องการใช้ชีวิตให้มากความ เพราะการเข้าถึงความจริงไม่สามารถคิดๆ เอา แต่ต้องผ่านการพิสูจน์ด้วยตนเอง และทุกคนมีเวลาเป็นของตนเอง ผ่านความเชื่อมั่น ไว้วางใจของคนรอบข้างและสังคมโดยรวม

    ผู้เขียนมีความหวังอย่างยิ่งว่าประเทศไทยจะตื่นขึ้นมาเป็นผู้นำในการศึกษาเรื่องนี้ได้ โดยไม่ยึดติดกับกระแสตัวชี้วัดของโลกวัตถุ ที่เน้นการผลิตซ้ำ กลับมาตั้งสติดีๆ มีความเข้มแข็งที่จะเปลี่ยนแปลงการศึกษาของมนุษย์ เพื่อเป็นประโยชน์แก่โลกใบเล็กๆ นี้ร่วมกัน


    วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 at ที่ 15:30 น. by knoom
    ป้ายกำกับ: จารุพรรณ กุลดิลก, บทความมติชน | ที่มา
    จิตวิวัฒน์ blog: การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง(Transformative Learning) - พัฒนาจิตเพื่อ��
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กรกฎาคม 2009
  19. ไม้บรรทัด

    ไม้บรรทัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +293
    ทุกข์จากการหา-สุขจากการให้


    <!-- main-content-block --><!-- 11 กรกฎาคม 2552 - 00:00 -->
    11 กรกฎาคม 2552 - 00:00


    ก็ไม่ทราบเพราะอะไรจึงมีคนชอบส่งหนังสือธัมมะ-ธัมโมมาให้ผมอ่านเป็นประจำ ทั้งที่สภาพผมแต่ละวันกระเสือกกระสนข้นคลั่กอยู่แต่ในทะเลบาป แต่ก็ต้องขอบคุณมูลนิธิธรรมอิสระ วัดอ้อน้อย ที่ส่งนิตยสาร "ธรรมลีลา" มาให้อ่านเป็นประจำ อ่านๆ ไปก็สะดุดข่าวในเล่มที่เขียนตัวโตๆ ไว้ข่าวหนึ่งว่า "สุดยอดนางแบบชื่อดังของโลกเปลี่ยนมานับถือพุทธ หันปฏิบัติธรรม" ผมอ่านด้วยความสนใจ จบแล้วก็เต็มใจที่จะคัดลอกมาให้ท่านอ่านด้วย.....

    อังกฤษ - เคท มอสส์ สุดยอดนางแบบโลกอังกฤษได้เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาแล้ว และเริ่มให้ความสนใจเรียนรู้มากขึ้น โดยเริ่มจากการทำสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบ

    แหล่งข่าวจากเดลิมิเรอร์ รายงานว่า "เคทสนใจพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ถึงขั้นเช่าพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ขนาด ๔x๒ ฟุต ประดิษฐานไว้ในห้องรับแขกเพื่อกราบไหว้บูชา เธอต้องการลดความเครียด เธอชอบหาเวลาทำสมาธิและเรียนรู้พระพุทธศาสนา เพราะทำให้เธอรู้สึกสงบ"

    โดยเธอได้ชักชวนเพื่อนฝูงให้ลองทำสมาธิเช่นกัน และแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือกล่าวว่า เคทจุดธูปที่ทำจากไม้จันทน์ และกราบตรงเบื้องหน้าพระพุทธรูป เพื่อนๆ ของเธอก็ทำตาม แต่ก็พากันสำลักควัน

    ทั้งนี้ บรรดาเพื่อนสนิทของเธอหวังว่า พุทธศาสนาจะช่วยทำให้เคท ซึ่งขณะนี้อายุ ๓๕ ปี และเป็นแม่ของลูกสาววัย ๖ ขวบ หยุดเที่ยวเตร่ สำมะเลเทเมา และสงบนิ่งลงได้ในที่สุด

    เมื่อไม่นานมานี้ เซอร์ฟิลิป กรีน นักธุรกิจเจ้าของ TOPSHOP ซึ่งเป็นทั้งเพื่อนและที่ปรึกษา ได้กล่าวเตือนสุดยอดนางแบบคนดังว่า ขอให้เธอเที่ยวและดื่มให้น้อยลง เพราะเธอจำเป็นต้องดูแลตัวเธอเองให้ดูดีอยู่เสมอ รวมทั้งให้เธอทำตัวให้มีความรับผิดชอบมากขึ้นด้วย.

    ครับ...อันที่จริงไม่ใช่ข่าวแรก หรือข่าวใหม่ ถ้าใครมองโลกให้กว้างออกไปจากตัวเองจะพบว่า ในสังคมตะวันตกแห่งยุคโลกาภิวัตน์อันเจริญขีดสุดทางวิทยาการ แต่กลับพบว่า ชีวิตคนตะวันตก หรือคนนิยมอยู่อย่างตะวันตกกลับไม่พบความสุขแท้จริงในชีวิตจากสิ่งที่เรียกว่าความเจริญนั้น

    และเขาเริ่มคิดกันว่า ระบบ วิธี วัตถุ ความเจริญ ที่เป็นอยู่ของเขาขณะนี้ ใช่หรือ...คือสิ่งสนองตอบความต้องการแท้จริงของชีวิต?

    คำตอบคือ...ไม่ใช่!

    เพราะเขายิ่งแสวงหา ยิ่งแก่งแย่ง ยิ่งกอบโกย เขากลับยิ่งทุกข์ ยิ่งลำบาก กระทั่งจะหายใจยามละโมบก็เหนื่อยหอบเป็นทวีคูณกว่ายามใจไม่อยากได้ใคร่ดีของใคร เขาก็ฉงนและฉุกคิดว่า ก็เอ๊ะ...เราแก่งแย่ง-แสวงหาทุกอย่างก็ด้วยคิดว่า ได้มาแล้ว มีแล้วจะเป็นสุข

    แต่ไฉนยิ่งหา-ยิ่งหาย, ยิ่งได้-ยิ่งทุกข์ ล่ะ?

    และด้วยภูมิปัญญาตะวันตก ทำให้เขาใช้หลักเหตุและผลเข้าจับ เขาก็จับเค้าเงื่อนขั้นต้นได้ว่า "สุขนั้นมิได้มาจากการหา" เพราะเขาหาเท่าไหร่ๆ ก็ไม่เคยพอซักที แถมยิ่งได้มาก็ยิ่งพร่อง เติมเท่าไหร่ๆ ก็ไม่รู้จักเต็ม!

    ความที่สังคมตะวันตกสอนว่า "อย่าอยู่กับตัวเอง" เขาว่าการอยู่กับตัวเองจะทำให้ฟุ้งซ่าน คิดมาก เป็นโรคประสาท บ้า ฉะนั้น คนตะวันตกจึงมีชีวิตประจำวันอยู่กับสิ่งนอกตัว วันๆ ต้องเข้าสมาคม หรือไม่ต้องก็ต้องพากันไปท่องเที่ยว เมื่ออยู่กับบ้านก็ต้องอยู่กับเครื่องเล่นต่างๆ เกมบ้าง วิทยุบ้าง โทรทัศน์บ้าง หนัง ละครบ้าง

    กระทั่ง จัดปาร์ตี้พี้ยา สุรา เพศ!

    เรียกว่าตลอด ๒๔ ชั่วโมง ยกเว้นนอนหลับ ต้องหาสิ่งต่างๆ มาบำเรอเปรอปรนร่างกายตามหลักชีวิตคนตะวันตกที่ว่า "อย่าอยู่กับตัวเอง"

    เนี่ยะ...วันนี้คนตะวันตกส่วนหนึ่งได้คิดแล้วว่า การแสวงหาในขั้นละโมบ-แก่งแย่งนั้น มันไม่ได้นำมาซึ่งความสุขเลย และการใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งนอกตัว นั่น..นอกจากไม่สุขอย่างที่หวังแล้ว ยังนำมาซึ่งทุกข์ทั้งกายและทั้งใจภายหลังมากมาย ไม่ต้องดูอื่นไกล ดู "ไมเคิล แจ็กสัน" เป็นตัวอย่างก็พอ

    หามาได้ขนาดไหน ไมเคิล แจ็กสัน รู้สึกว่ายังไม่พอ และไม่รู้สึกว่าวัตถุภายนอกขนาดเนเวอร์แลนด์นั้น สร้างสุขให้กับชีวิตเขาได้เพียงพอแล้ว?

    สุดท้าย ต้องตายอย่างน่าสงสารไปกับการใช้ชีวิตประจำวันตามคำสอนตะวันตกที่ว่า "อย่าอยู่กับตัวเอง" จึงหามายาเป็นที่อยู่ของกายและใจ จนกระทั่งลมหายใจสุดท้ายนั่นแหละ ไมเคิล แจ็กสัน อาจได้คำตอบชัดๆ ว่า

    "สุขมิได้มีมาจากการหา" เลย!

    เมื่อคนตะวันตกค้นพบ "ลายแทงชีวิตเป็นสุข" ไปครึ่งหนึ่ง เขาจึงตื่นตัว และตื่นกระหายแสวงหา "ลายแทงชีวิตเป็นสุข" อีกครึ่งหนึ่งที่ยังหาไม่พบ และก็มีคนพบว่า ลายแทงชีวิตเป็นสุขที่สมบูรณ์แท้จริงนั้นอยู่ที่ "คำสอนพระพุทธศาสนา"

    "ขุมทรัพย์จากโอษฐ์พระพุทธองค์" นั่นเอง!

    ลายแทงชีวิตครึ่งหลังที่คนตะวันตกค้นพบขณะนี้ นั่นคือ

    "สุขแท้จริงมาจากการให้"

    มิใช่มาจากการหา ตามปรัชญาชีวิตคนตะวันตกที่หลงผิดคิดกันเช่นนั้นมายาวนาน!

    ดังนั้น เวลานี้คนในยุโรป คนในสหรัฐอเมริกา เหมือนคนหลงทางที่หิวกระหาย เมื่อพบธารทิพย์จากพุทธธรรมต่างดื่มด่ำฉ่ำชื่นสู่ชีวิตใหม่ จนยากที่ผมจะไม่ปลื้มใจเยื่อใยวาสนาในพุทธศาสนาแต่บางบรรพ์ของพวกเขา เหมือนอย่างนางแบบ "เคท มอสส์" ที่ผมลอกข่าวมาให้อ่านข้างบนนั้น

    "สุขแท้จริงมาจากการให้ มิใช่มาจากการหา" ตอนนี้คนตะวันตกเริ่มรู้แล้ว เข้าใจแล้ว เรียกว่าเข้าสู่ความเป็น "ต้นคด-ปลายตรง" ต้นของเขากระหืดกระหอบอยู่กับการหา แต่ตอนปลาย คือขณะนี้ของเขา เหมือนน้ำใส ไร้ตะกอนขุ่น สะอาด-สว่าง-สงบ อยู่กับสุขจากการให้

    สุข-ตามคำสอนพระพุทธองค์มีถึง ๑๐ ขั้น ตั้งแต่ระดับสุขในกาม ขึ้นไปถึงสุขในระดับรูปฌาน อรูปฌาน และสุขในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ และการจะหาสุขจริงแท้ อันเป็นสุขอริยะให้พบนั้น เส้นทางเดินตรงข้ามปรัชญาตะวันตกที่ว่า "อย่าอยู่กับตัวเอง"

    เป็น "จงอยู่กับตัวเอง"!

    เพราะชีวิตสุขแท้-ไม่เวียนกลับไปทุกข์อีกนั้น หาได้จากข้างในตัวเอง จะไม่มีวันค้นหาได้พบจากสิ่งนอกตัวเลย!?

    การอยู่กับตัวเอง ความหมายก็คือ ทุกลมหายใจทั้งหลับและตื่น ต้องมีสติ มีสติรู้ทุกอย่างไม่ว่าจะทำ จะพูด จะคิดอะไร ก็พูดด้วยสติ คิดด้วยสติ ทำด้วยสติ

    ไม่ได้หมายความว่าต้องหมกตัวอยู่คนเดียวแต่ในบ้าน การอยู่กับตัวเองด้วยการมีสตินั้น ไปดูหนังได้ ฟังเพลงได้ เที่ยวผับ เที่ยวบาร์ เฮฮาปาร์ตี้ได้ ทำอะไรได้ทุกอย่าง-อย่างที่มนุษย์พึงทำได้ด้วย "สัมมาสติ"

    เมื่ออยู่กับตัวเองเป็น "สุขจากการให้" ก็จะเป็นความรู้-ความเข้าใจที่มาเองต่อเนื่องกัน เหมือนจุดไฟที่ไส้เทียน เมื่อไฟติดไส้แล้ว ไฟจะลามเลียเนื้อเทียนเลี้ยงไส้ ไส้จะเลี้ยงไฟ และไฟก็จะเลี้ยงแสง และแสงก็จะเลี้ยงสรรพสัตว์

    "สุขจากการให้" ขั้นต้นนี้ไม่ยากเลย ให้อภัย ให้รัก ให้เมตตา ให้ความช่วยเหลือ ให้ความเข้าใจ ให้ยิ้ม ให้เงินทอง ให้ที่อยู่อาศัย ให้นั้นมาจากใจบริสุทธิ์

    กระแสใจคือกระแสพลังงานอย่างหนึ่ง พลังงานไม่สูญหาย แต่จะแปรสภาพแตกแขนงขยายไปไม่สิ้นสุด เหมือนน้ำตก พลังงานนั้นไม่หายไปไหน เอามาทำเป็นไฟฟ้าได้ เอาไปทำอาหารได้ เอาไปทำเหล็กได้ เอาไปทำรถได้ เอาไปทำบ้านได้ ทำเสื้อผ้าได้ ทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนเป็นเหตุ-เป็นผลของพลังงานทั้งสิ้น

    แม้กระทั่งการเกิด-การตาย ก็เป็นเหตุ-เป็นผลของพลังงานที่เราเรียกว่า "กรรม" นั่นแล!

    อีกแง่คิดหนึ่งได้จากนางแบบชาวอังกฤษ เราจะเห็นว่าคนต่างชาติหรือที่เรียกว่าฝรั่ง นั้น ถ้าเขาสนใจและเข้าหาคำสอนในพระพุทธศาสนา เขาจะพุ่งทะลุตรงเข้าถึงแก่นพุทธศาสนาทันที และจะดื่มด่ำฉ่ำอมตสุขในธรรม เคร่งครัดด้วยศรัทธา-ปสาทะในพระพุทธศาสนายิ่งกว่าคนไทยเรา

    เพราะเขาพุ่งหาแก่นธรรมด้วยปฏิบัติธรรม จึงเข้าถึงแก่น

    แต่พวกเรา "พุทธสำมะโนครัว" เข้าหาเสกเป่า-เขย่าติ้ว-ปิดทอง จึงติดอยู่แค่เปลือก!

    พูดแล้วก็นึกขึ้นได้ ๒-๓ วันก่อน ผู้มิใช่ญาติก็เหมือนญาติ ทั้งที่เคยไม่เคยพบหน้าค่าตากัน "คุณอุบล เชื่อมสุข" จากบ้านชมเดือน ที่บ้านปรก อ.เมืองฯ จ.สมุทรสงคราม เห็นตามรูปจะเป็นโฮมสเตย์ ริมแม่น้ำแม่กลอง ล่องเรือชมหิ่งห้อย นำหนังสือ "สวดมนต์สมาธิ" มาฝากไว้ ๑ เล่มพร้อมขนม บอกว่าจะต้องกลับไปเลี้ยงหลานที่สหรัฐอเมริกาแล้ว

    ผมก็อยากจะบอกว่าหนังสือสวดมนต์และ "การทำสมาธิ การบริหารลมหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ" ที่คุณอุบลพบต้นฉบับเป็นของโรงเจไต่เสี่ยฮุกโจ้ว และนำไปพิมพ์แจกจ่ายญาติสนิทมิตรสหาย ตลอดถึงผม ๑ เล่มนั้น ผมอ่านแล้ว

    ขอบอกว่าได้สร้างกุศลยิ่งใหญ่ ให้ธรรมที่ถูกต้องตามธรรมเป็นทาน เป็นงานสืบต่อพระพุทธศาสนาที่ขออนุโมทนาบุญด้วย และอยากจะบอกตรงนี้ว่า ผมเพิ่งได้รับหนังสือ จารึกอโศก (ธรรมจักรบนเศียรสี่สิงห์) รัฐศาสตร์แห่งธรรมาธิปไตย ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) มา ๗-๘ เล่ม และหนังสือ "กาลานุกรม" พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก ของท่าน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) อีก ๕ เล่ม

    ผมกราบด้วยระลึกพระคุณยิ่งใหญ่ต่องานพระพุทธศาสนาของพระเดชพระคุณเจ้าพระพรหมคุณาภรณ์ตรงนี้อีกครั้ง ก่อนจะบอกคุณอุบลว่าก่อนจะไปสหรัฐ ถ้าเป็นไปได้วานบุตรชายช่วยแวะมารับหนังสือทั้ง ๒ เล่มนี้อย่างละเล่ม นำติดตัวไปให้ถึงสหรัฐอเมริกาด้วยเถิด เอาไปทิ้งไว้เป็นเชื้อหน่อพันธุ์ปัญญาที่สหรัฐนั่นแหละ

    คุณอุบล หรือท่านใดก็ตามได้สัมผัสงานทั้ง ๒ ชิ้นนี้ของพระเดชพระคุณท่านแล้วจะทราบได้เองว่า หาไม่ได้อีกแล้วในช่วงชีวิตของเรานี้ ที่จะมีงานเพื่อพระพุทธศาสนาเช่นนี้ปรากฏ ฉะนั้น ก่อนตาย...เราทำได้แค่ช่วยกันนำงานชิ้นนี้ไปเผยแผ่ให้กว้างเข้าไว้

    ก็นับว่าได้ทำหน้าที่ "ข้ารองบาทพระพุทธองค์" สมกับที่เป็นพุทธบริษัทสมบูรณ์แล้ว!

    พูดแล้วก็นึกถึงท่านที่อยู่ญี่ปุ่นและแวะมาร่วมซ่อม-สร้างโบสถ์หลวงพ่อตามใจเดือนก่อนโน้น อยากให้ได้หนังสือ ๒ เล่มนี้ไปปรากฏอยู่ในญี่ปุ่น เพื่อคนไทยได้อ่าน เพื่อความรู้ ความเข้าใจในความเป็นมา-เป็นไปของพระพุทธศาสนานับแต่อดีตกาลจริงๆ ถึงจะหนักเป็นกิโลฯ ก็ไม่เป็นไร ถ้าทราบข่าวแจ้ง Address มาให้ผม แล้วจะจัดส่งไปให้ด้วยความเต็มใจยิ่ง

    อ้าว...คุยไป-คุยมา ยาวเกินเนื้อที่กำหนดอีกแล้ว ท้ายนี้ก็ไม่มีอะไรจะคุย นอกจากอยากจะย้ำอีกซักคำว่า สวดมนต์ภาวนา และปฏิบัติตนตามคำสอนพระพุทธศาสนาเข้าไว้ "สิ่งที่จะเกิดข้างหน้า" นอกจากคลาดแคล้วยังจะเจริญก้าวหน้า "ธรรมรักษา" เหมือนกับที่ผ่านมานั่นแหละครับ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2009
  20. note_bank

    note_bank เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    380
    ค่าพลัง:
    +968

    มีเพื่อนเป็นคนอเมริกัน เขาเล่าให้ฟังว่า

    ชีวิตของคนที่นั่นจะมีความสุขได้ คือ 1.มีรถ 2. มีบ้านเป็นของตัวเอง 3. มีลูกสัก 2 คน

    นี่คือความสุขของเขาในมุมมองของเขา แค่นั้นเอง ปรัชญาชีวิตของคนจากประเทศที่ civilization ไม่ใช่ developing country อย่างประเทศเรา

    ตอนเพื่อนเล่าให้ฟังก็แอบสงสัยว่า หากไม่มีรถ ไม่มีบ้าน และไม่มีลูกหล่ะ ชีวิตเขาคงทุกข์เนอะ ต่างจากเราเลย 1.ไม่มีรถ 2.ไม่มีบ้าน(ที่เป็นของตัวเองไม่ต้องผ่อนเพราะพักอยู่กับพ่อแม่) แต่ชีวิตของเราทุกวันนี้ก็มีความสุขดี สุขมากกว่าแต่ก่อนที่ขับเบนซ์พักคอนโดหรูเสียอีก

    สุขใดเล่าจะเท่าสุขจากสิ่งที่เรามี มีเพียงแค่นี้ชีวิตก็มีความสุขได้คือความสุขจากการให้ ไม่ใช่สุขที่ได้อวดรวยว่าเรามี
     

แชร์หน้านี้

Loading...