การศึกษา???..สอนให้เรา..ก้าวร้าว..เห็นแก่ตัว???

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย yutkanlaya, 6 กรกฎาคม 2009.

  1. ไม้บรรทัด

    ไม้บรรทัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +293
    จิตตปัญญาศึกษา..คือ..ทางรอดของเราจริงๆ

    [​IMG]

    โดย ศ.นพ.ประสาน ต่างใจ
    หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 20 ธันวาคม 2551

    ทุกวันนี้สังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงไปมากเหลือเกิน ทำให้มนุษย์ต้องคิดหนักซึ่งเป็นธรรมชาติของชีวิตที่ต้องเอาตัวให้อยู่รอด เพื่อทำหน้าที่ของตัวเองหรือของเผ่าพันธุ์สปีชีส์นั้นๆ ให้อยู่รอดตามไปด้วย แต่น่าเสียดายและน่าเสียใจที่สภาพโลกที่อยู่เบื้องหลังสังคมเราที่เปลี่ยนไปมากนี้กำลังเสื่อมสลาย ทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความล่มสลายของโลกธรรมชาติอย่างสิ้นเชิงจริงๆ นั้น เกิดขึ้นจากน้ำมือของเราแท้ๆ ดังที่นักวิทยาศาสตร์ของคณะทำงานไอพีซีซีกว่า ๒,๕๐๐ คนจากมากกว่า ๑๐๐ ประเทศบอกเรา เรา - โดยเฉพาะในประเทศด้อยและกำลังพัฒนาทั้งหลาย ตามการสำรวจโพลเมื่อเร็วๆ นี้ ต่างพากันไม่เชื่อว่า โลกร้อนจะเกิดจากความสุขสนุกสะดวกสบายและปลอดภัยที่เรามีด้วยเทคโนโลยีเพื่อหนีความทุกข์ ส่วนใหญ่มากๆ เชื่อว่าไม่ได้เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ แต่กลับคิดว่า เป็นไปตามจังหวะหรือวัฏจักรธรรมชาติธรรมดาๆ ของโลก นั่นคืออันตรายจากการไม่รู้แต่คิดว่ารู้ของเราที่คิดว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัตถุนิยมจะสามารถช่วยรักษาเผ่าพันธุ์ของเราให้อยู่รอดได้ แต่จงอย่าลืมว่า ข้อมูลจากแหล่งที่มามากมาย รวมทั้งจากองค์การสหประชาชาติ ต่างชี้บ่งเหมือนๆ กันว่าประชากรของชาติด้อยและกำลังพัฒนานั่นเอง จะเป็นสังคมที่จะได้รับความทุกข์ทรมานจากภัยต่างๆ ที่สืบเนื่องมาจากความล่มสลายหายนะของสิ่งแวดล้อม และจากเทคโนโลยีเพื่อความสุขสนุกสะดวกสบายและปลอดภัยแต่เฉพาะแต่รูปกายเรา โดยไม่รู้ว่าความสุขแท้จริงเป็นความสุขจากภายในที่ชี้นำ

    ในระยะสี่ห้าปีมานี้ บ้านเราหรือทั้งโลกได้กำลังเผชิญอยู่กับหลายต่อหลายปัญหาซึ่งได้กลายเป็นวิกฤตชนิดที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน หรือไม่เราก็ผลักไปให้ผู้อื่นหรือโทษคนอื่นกระทั่งชาติอื่น เพราะว่า “ตัวกูของกูกระทั่งชาติกู” ไม่เคยผิด นั่นเป็นวิกฤตและปัญหาชนิดที่มนุษย์ไม่ว่าจะเป็นที่ใดและภูมิภาคไหนของโลกในขณะหนึ่งขณะใด ต่างก็มีกันทั้งนั้น คือ รู้สึกว่าปัญหาของสังคมมนุษย์เพิ่มทวีมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าใครจะเป็นคนพูดคนเขียนและพูดเขียนที่ไหนเมื่อไหร่? นั่น – แปลว่าอย่างไร? สำหรับผู้เขียน นั่น – แปลว่า ระบบและโครงสร้างของสังคมโลกที่เรามีอยู่ รวมทั้งวิถีชีวิตที่เราใช้นำชีวิตนั้น มันผิดมาทั้งหมดเลย อย่างน้อยก็ผิดมาตั้งแต่การรับรู้ (perceive) โลกและเรียนรู้ชีวิตจากองค์ความรู้ที่ตั้งบนวิทยาศาสตร์วัตถุนิยมแยกส่วน แต่กระนั้นเราก็ยังไม่รู้สึก ยังคงวิถีชีวิตเดิมๆ โดยรังแกธรรมชาติมาเรื่อยๆ จนกระทั่งในที่สุดธรรมชาติทนต่อไปไม่ไหว และเริ่มตอบโต้ด้วยมาตรการต่างๆ ด้วยภัยต่างๆ มากขึ้นและรุนแรงหนักหน่วงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับว่าวิกฤตได้เดินทางมาถึงจุดจบจุดสิ้นสุดในช่วงปัจจุบันวันนี้แล้ว โดยที่เราหมดหนทางหมดปัญญาที่จะแก้ไขหรือแม้แต่จะบรรเทาให้เบาบางลงได้ด้วยความคิดและประสบการณ์เก่าๆ ของเรา ตามที่ไอน์สไตน์ว่าไว้

    โดยเฉพาะหลังจากความแตกแยกของประชาชนคนไทยซึ่งเห็นได้ชัดเจน ชนิดที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ซ้ำเติมมหาภัยอื่นๆ อย่างที่เรารู้ๆ กัน ความขัดแย้งแตกแยกที่เริ่มต้นด้วยระบบการเมือง “ระบบที่เรียกว่าประชาธิปไตยตัวแทนที่ได้จากการเลือกตั้งทั่วไปเพียงวิธีเดียว หรือเราจะเรียกว่าประชาธิปไตยเฉยๆ ก็ได้” ซึ่งสำหรับประเทศไทยแล้ว ผู้เขียนคิดว่า คำว่าประชาธิปไตยเฉยๆ หมายถึงการผ่านการเลือกตั้งหรือการเป็นสมาชิกสภาผู้แทน “อันทรงเกียรติ” เท่านั้น ซึ่งมักจะได้คนเก่าๆ เดิมๆ ในกลุ่มผู้สมัครราว ๓,๐๐๐ คนของประชากรของประเทศไทยร่วม ๖๕ ล้านคน หรือคนที่เป็นวงษาคณาญาติ เช่น ภรรยาสามีของผู้แทนคนเก่าคนเดิมที่ไม่มีโอกาสสมัครผู้แทนได้อีก ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด

    นั่นคือระบบที่มักอ้างกันว่าดีที่สุด แม้ว่าจะไม่สมบูรณ์นักสำหรับการเมืองการปกครองของสังคมมนุษย์โลกในปัจจุบัน ทำให้ผู้เขียนอดไม่ได้ต้องแสดงความคิดความเห็นกับเขาบ้าง ในฐานะนักคิดนักเขียนที่เขียนแต่เรื่องที่คนทั่วไปคิดว่าทั้งไกลตัว หรือค่อนข้างหนักๆ มานาน จริงๆ แล้วในความคิดเห็นส่วนตัว ระบบประชาธิปไตยตัวแทนที่ได้จากการเลือกตั้งทั่วไปเพียงครั้งเดียว หรือประชาธิปไตยเฉยๆ ที่ใช้อยู่นี้ เป็นกระบวนการที่ผิดธรรมชาติอย่างแรงมากๆ เพราะเป็นการมองหรือประเมินตามที่ตาเห็นว่า หากว่าเป็น “คน” ที่บรรลุนิติภาวะ เป็นผู้ใหญ่ที่เกิดในสังคมนั้นๆ แล้ว ไม่ว่าจะซื่อบื้อ หรือเป็นผู้ที่มีชีวิตอยู่แต่กับอบายมุข หรือเป็นนักเลงโตคนชั่วร้าย แต่จับไม่ได้เพราะไม่มีใบเสร็จ ฯลฯ แล้ว ย่อมมีสิทธิที่เท่าเทียมกันทั้งหมด และมีสิทธิที่จะเลือกตั้งได้โดยการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งสำหรับบ้านเรา จะจัดให้มีขึ้นเพียงครั้งเดียว นั่นเป็นสังคมมนุษย์รวมทั้งสังคมไทยในปัจจุบันอันเกิดจากกระบวนการทางเศรษฐกิจและสังคมที่ผิดธรรมชาติ ซ้ำเติมด้วยภัยธรรมชาติที่มีแต่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

    สรุปเท่าที่เขียนมาวันนี้ รวมทั้งหลักๆ ที่ผู้เขียนเขียนมาตลอดเวลาอันยาวนาน คือ มนุษยชาติกำลังแย่ลงมากขึ้นทุกๆ วัน จนบัดนี้ได้มาถึงปลายทางกำลังจะตกเหวอยู่รอมร่อ โดยเฉพาะคนที่อยู่ข้างหน้าสุดจากการผลักดันของผู้ที่อยู่ข้างหลัง คือ ผู้ยากจนและผู้ยากไร้ในประเทศด้อยและกำลังพัฒนาทั้งหลายที่ยังขาดวุฒิภาวะหรือไร้โอกาสที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และผู้ที่ยังเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีจังหวะของมัน “อีกหน่อยสิ่งต่างๆ ก็จะกลับมาเหมือนเดิม” (เมืองนอกเขาจะเรียกว่า BAU หรือ Business as usual) ซึ่งขอยืนยันว่า “ไม่มีทาง”

    ส่วนสาเหตุที่เราเลือกที่จะเดินทางเส้นนี้ เพราะว่าเราทั้งเผ่าพันธุ์เลย ยังเป็นเพียงเด็กหนุ่มที่ยังไม่แตกพานด้วยซ้ำดังที่ ดเวน เอลยิ่น ว่า คนส่วนใหญ่มากๆ ในโลก มากกว่าครึ่งค่อนที่ยืนอยู่ที่ปากเหวเหล่านี้ อะไรๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวของตัวเองหรือโลกรอบๆ ตัวก็ไม่รู้สักอย่าง นอกจากเรื่องที่เป็นความสุขสนุกสะดวกสบายและความปลอดภัยแล้ว ก็ไม่สนใจหรือรับรู้อะไรทั้งนั้น เพราะเชื่อว่ากูรู้หมดแล้วจึงไม่มีทางเชื่อใคร คนเหล่านี้จึงช่วยไม่ได้ที่ต้องตกเหวตายกันทั้งหมด

    ส่วนที่เหลือไม่มากนัก คือผู้ที่ไม่รู้เหมือนกัน แต่พร้อมที่จะเรียนรู้และแสวงหาข้อมูลอย่างไม่หยุดหย่อน และข้อมูลการเรียนรู้หนึ่งในนั้นคือ จิตตปัญญาศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงตัวเองจากภายใน (Transformation education) สร้างสรรค์ปัญญาที่ได้จากการภาวนา (Wisdom or Intuition) ซึ่งขณะนี้มีสถาบัน มีชมรม มีโรงเรียนและมหาวิทยาลัยมากมาย เช่น มหิดล จุฬาฯ อาศรมศิลป์ ฯลฯ ที่เปิดสอนอยู่ในขณะนี้หรือในเร็วๆ นี้ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ

    อย่าลืมว่าการสร้างสรรค์จิตสู่จิตวิญญาณ เพื่อการผ่านพ้นหรือก้าวล่วง (Spirituality and transcendence) นั้น เป็นสาระที่สำคัญที่สุดและเป็นแก่นแท้ของทุกๆ ศาสนาและวัฒนธรรมโลก นั่นคือบันไดที่นำมนุษย์ไปสู่วิมุตติ การ “รู้แจ้ง” ที่เชื่อว่านั่นคือเป้าหมายสุดท้ายของจักรวาล

    ผู้เขียนรู้ว่า จักรวาลวิทยาใหม่ไม่ได้มีสิ่งใดที่จะสามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ของจักรวาลได้ทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่ได้ ความรู้ที่เป็นความจริงตามที่มนุษย์สังเกตทั้งด้วยตากับเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุดหรือยอมรับกันว่าเป็นวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนั้น มีจำนวนมากเหลือเกินที่ไร้เหตุผลโดยสิ้นชิง ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างอายุของอุบัติกาลของจักรวาลกับอายุของกำเนิดการทางชีววิทยาของเผ่าพันธุ์สปีชีส์ของมนุษย์ สัดส่วนจะเท่ากับประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ : ๑ คือ จักรวาลมีขึ้นเมื่อร่วม ๑๔ พันล้านปี ในขณะที่มนุษย์ (โฮโมซาเปียนส์) มีขึ้นมาในโลกเพียง ๑๕๐,๐๐๐ ปี คิดคร่าวๆ ตามหลักสถิติคือประมาณ ๑ แสนเท่า

    ริชาร์ด ก็อตต์ นักฟิสิกส์ชื่อดังชาวอังกฤษ ทำนายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ถึง ๙๕ % ให้สัมภาษณ์ หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท ว่ามนุษยชาติจะหายสาปสูญไปทั้งเผ่าพันธุ์ (Richard Gott: Gott’s Prediction, Wall Street Journal, Jan.1 2000) ภายในอย่างน้อย ๕,๑๐๐ ปี (อย่างมากเกือบๆ แปดล้านปี) โดยคำนวณจากความน่าเป็นไปได้อย่างที่สุดจากความสัมพันธ์ระหว่างอายุของจักรวาลกับอายุที่โลกมีมนุษย์คนแรกขึ้นมา อีกตัวอย่างหนึ่งโดยเหตุผล ด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง สสารวัตถุที่ประกอบเป็นจักรวาล น่าจะถูกแรงโน้มถ่วงดึงดูดเข้ามาหากันและสุดท้ายรวมกันแน่นหดเล็กๆ ลงๆ เรื่อยๆ จนหดฟุบแฟบ หรือระบิดเป็นซุปเปอร์โนวา (Collapsed-supernova) แต่ทว่าแรงโน้มถ่วงที่ดึงดูดสสารวัตถุให้เข้ามาหากันนั้น มันเกิดพอดีกับแรงผลักจากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นมาจากกระบวนการเทอร์โมนิวเคลียร์จากภายในดวงดาว (เช่น ดวงอาทิตย์ของเรา) ราวๆ ๑,๐๐๐ – ๒,๐๐๐ ล้านดาว ซึ่งจักรวาลของเรามีเท่านั้นพอดี

    อีกตัวอย่างหนึ่ง เรามีค่าตัวคงที่ (Natural constant) ที่ทำให้เราสามารถคำนวณและเรียนรู้จักรวาลได้อย่างที่ยอมรับกัน แต่จากข้อมูลจากคณิตศาสตร์ที่เรามีในขณะนี้ ตัวคงที่อันเป็นสิ่งที่ธรรมชาติให้มาให้เราค่อยๆ ค้นพบนั้น ซึ่งทุกวันนี้เราค้นพบมาเรื่อยๆ นับเป็นร้อยๆ ตัวแล้ว จะมีค่าคงที่ที่กำหนดและควบคุมการเปลี่ยนแปลง (หรืออนิจจตา) ของสรรพสิ่งสรรพปรากฏการณ์ทั้งหมดของจักรวาล แต่เราไม่รู้เลยและเป็นไปได้ที่เราไม่มีทางจะรู้ไม่ว่าเมื่อไร? ถึงเหตุผลว่าทำไม? มันจึงเป็นเช่นนั้น? นั่นคือ ทำไม? สรรพสิ่งสรรพปรากฏการณ์ของโลกของจักรวาลถึงได้ไหลเลื่อนเปลี่ยนแปลงโดยเชื่อมโยงกันทั้งหมด เว้นแต่ค่าตัวคงที่ของธรรมชาติซึ่งมีหน้าที่กำหนดควบคุมให้มีการเปลี่ยนแปลงหรืออนิจจตานั้นๆ หรือว่าจะมีสิ่งที่เป็นที่สุด คอยกำหนดและควบคุมสรรพสิ่งสรรพปรากฏการณ์ของจักรวาลที่คงที่และเสถียรตลอดกาล หรือเป็นธรรมชาติของธรรมชาติ ซึ่งแน่นอน จะต้องมีสิ่งที่เป็นที่สุดของที่สุด ไม่ว่าสิ่งนั้นๆ เราจะเรียกว่าอะไร? เป็นนิพพานหรือพุทธะ เป็นเต๋า หรือเป็นพระเจ้าในนามใด??

    มีตัวอย่างเช่นนี้อีกนับไม่ถ้วน ซึ่งทั้งหมดนั้นไม่มีเหตุผลจริงๆ ทั้งจะอธิบายด้วยความขี้เกียจหรือเห็นไกลตัวว่าบังเอิญก็เกินไป เพราะว่ามันมีเป็นพันเป็นหมื่น สู้เรื่องของความแตกแยกกันของคนในชาติไม่ได้ หรือเรื่องของประชาธิปไตยตัวแทนและระบบรัฐสภา คือประชาธิปไตยเบ็ดเสร็จ กับการปฏิวัติรัฐประหาร ที่ไม่ได้ความทั้งคู่ไม่ได้ว่า เราจะเอาอันไหน? หากว่าการแสวงหาการแก้ไขที่ทุกคนทั้งในชาติและในโลกสามารถอยู่ร่วมกันได้รอดจริง มีความสุขจริงๆ โดยไม่ต้องมีเงินหรือทรัพย์สินเลย หรือโยนทิ้งไปเสียทั้งหมดซึ่งระบบทุนนิยมเสรีที่เน้นการ “บริโภคโยนทิ้ง” ที่แม้จะยากสุดยาก ก็เป็นไปได้ แล้วหันไปสู่ความสำคัญที่ภายในจิตตปัญญาศึกษา (Comtemplative education) ความสุขที่อิ่มเอมสงบสงัดที่จะนำไปสู่การเรียนรู้เปลี่ยนแปลงของตนเอง (Transformative learning) ซึ่งโดยหลักการก็คือ การทำสมาธิฝึกสติที่มีปฏิบัติกันอยู่ในทุกๆ ศาสนาทุกๆ วัฒนธรรมที่เสมอๆ กัน - รวมทั้งที่นายบารัก โอบามา ที่อยากทำหรืออยากปฏิวัติเปลี่ยนสังคมของอเมริกาจนได้เป็นประธานาธิบดี - ไม่มีใครเหนือกว่าใคร โดยไม่จำเป็นต้องเข้าโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย



    วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2008 at ที่ 16:00 น. by knoom ป้ายกำกับ: บทความมติชน, ประสาน ต่างใจ |
    ;38(ping);aa52
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2009
  2. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    ความเห็นส่วนตัวต่อระบบการศึกษาไทย
    (1)สอนเพื่อให้เร่งรีบ
    -รีบเชื่อ ทฤษฏี กฏทั้งหลายแหล่ โดยไม่ต้องพิสูจน์
    -รีบจบ ผลิตคนเยอะๆโดยไม่ดูว่าสิ่งใด คืออาชีพที่จำเป็น ไปยกย่องอาชีพที่ไม่จำเป็นต่อโลก อย่างนักธุรกิจ นักการเมือง ดารา นักกีฬา ซึ่งฉาบฉวย และมากเกินความจำเป็น จนก่อให้เกิดปัญหาขาดอาหารทั้งโลก อย่างที่เกิดขึ้นทุกวัน เพราะเกษตรกรน้อยลง คนดูถูก รัฐบาลเบียดบังหาประโยชน์จากเกษตรกร
    -รีบหาเงิน ใครมีเงินมากที่สุดชนะ ใครจนคือผู้พ่ายแพ้ ใครทำความดีก็แค่ยกย่องประเดี๋ยวประด๋าว เอาเข้าจริงๆก็เหยียบย่ำคนดีเพื่อให้ตนเป็นใหญ่กันซะมาก ยิ่งในกทม ไม่ค่อยจะใส่ใจกับคำว่าความดีแล้ว

    (2)สอนเพื่อให้สะสม
    -เงินทอง
    -ปริญญา
    -ลืมสอนให้สะสมความดีงาม

    (3)สอนเพื่อให้เอาชนะ
    -ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในทฤษฎีต่างๆอย่างหัวชนฝา
    -ให้เป็นผู้คิดว่าตนเองถูกต้องเสมอ ไม่มีสิ่งใดในโลกจะผิดไปจากที่ตนคิดได้
    -สอนเพื่อให้เหียบผู้อื่นเพื่อตะกายตนเองขึ้นไปที่สูงสุดในโลกแห่งวัตถุ โดยไม่คำนึงว่าผู้อื่นจะเดือดร้อน เจ็บปวด หรือทุกข์ทรมาณเพราะตนเองอย่างไร



    1.แนวทางแก้ไขปัญหา??(นิโรธ)
    -ทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับปัญหาอย่างพอเหมาะพอดี
    2.วิธีการดำเนินการ??(มรรค)อย่างไรดี
    -ไม่มีวิธีทางแก้ได้ในโลกยุคปัจจุบัน ยกเว้นทุกระบบการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคมในโลกจะหายวับไปแล้วมนุษย์สร้างสังคมใหม่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีแน่ๆถ้าเกิดเหตุแบบนั้น
     
  3. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    การศึกษาสมัยนี้
    ท่านพุทธทาส เคยเขียนหนังสือไว้
    การศีกษา บ้านเราเหมือนหมาหางด้วน
    ลองหาอ่านกันดูครับ
    ...
    การศึกษา สอนให้มีการเปรียบเทียบ
    การแข่งขัน ที่1 เต็มร้อย เหรียญทอง หรือ เกียรตินิยม
    โดยทุกคนทั้งผู้สอน และสังคมจะเห็นด้วยกับระบบนี้
    เนื่องจากระบบที่สอน เกิดจากการพัฒนาจากกระทรวงศึกษา
    เมื่อไปได้หลักการใหม่ใหม่จากต่างประเทศ
    และคิดว่าเหมาะสำหรับสังคมไทย
    เนื่องจากระบบการศึกษาที่ใช้จากประเทศที่เจริญทางวัตถุอย่างเต็มที่
    น่าจะเหมาะกับประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างเรา
    เลิกสอนประวัติศาสตร์ พุทธศาสนา แต่มายำรวมเป็น สร้างเสริมประสพการณ์ชีวิต แทน
    จากประสพการณ์สอนการบ้านหลานที่เรียนสาธิตแถวสามย่าน
    เด็กไม่รู้เลยว่าเราเคยเสียกรุงศรีอยุธยา มาแล้วกี่ครั้ง เมื่อไหร่
    แต่จะรู้ว่า ทำไมถนนสายนี้ ทำไมจึงตั้งชื่อว่าถนนไมตรีจิตต์
    ...
    การสอน ทุกวันนี้จะมองทุกอย่างแยกออกจากกัน เป็นชิ้น ชิ้น
    ทำไมไม่สอนทุกอย่างเป็นระบบเรื่องเดียวกัน (เหมือนสมัยตักกศิลา)
    ประวัติศาสตร์ สมัยพระนารายณ์
    สามารถสอน ภูมิศาสตร์แผนที่ไทยโบราณ
    สามารถสอน ภาษาไทย ศรีปราชญ์ วรรณคดีสมัยนั้น
    หรือยังโยงไปถึงการมีหอดูดาว สอนเรื่องดาราศาสตร์ได้อีกด้วย
    555
    ...
    การศึกษาที่สอนให้แข่งขันเพื่ออยู่รอด มีชนะ มีแพ้
    อิงเกณฑ์อเมริกา อังกฤษ หรือ ญี่ปุ่น
    อาจมีผลให้เด็กมีอาการเห็นแก่ตัวก็เป็นไปได้ ตามจขกท. อ้าง
    เนื่องมาจากวิสัยทัศน์
    ของผู้ใหญ่ในวงการศึกษาบ้านเมืองเรานั่นเองครับ
     
  4. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    สุดยอด..ไอเดีย..ดีมากเลยครับ สำหรับ..การเปลี่ยนชื่อ..เพื่อ..การเปลี่ยนแปลง
    เพื่อลดปัญหา แต่จะเป็นชื่ออะไร?นั้น ช่วยครีเอทอีกทีน่ะครับ ให้รู้สึกดูอ่อนน้อม สละสลวย ไม่เป็นทางการ จนเกินไป คงต้องคิดอีกหลายๆที เท่าที่ผมคิดออกตอนนี้น่ะครับ เช่น -การเรียนรู้ร่วมกันเพื่อการเปลี่ยนแปลง -สุนทรียศึกษาเพื่อคุณค่าของชีวิต-เจริญสติถ้วนหน้า5นาที ในการศึกษาทุกๆชั่วโมง-การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง-ฯลฯ ยังคิดไม่ออกครับ
    ขอบคุณมากเลยครับ สำหรับไอเดีย
    ;aa13;aa13;aa13
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2009
  5. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    ผมว่า..ยังไม่สายหรอกครับ...

    "เริ่มจาก..ตัวเราเอง..ก่อน"

    ..ไอเดียคล้ายๆกันกับคุณ note bank และตรงใจกับผมและหลายๆคนส่วนใหญ่แน่นอนเลยครับ
    ซึ่งตรงตามทฤษฎี "ปรมาณู..ทางความคิด " fission for fusion เลยครับ จาก 1-2-4-6-8.....อินฟินิตี้ หรือ ..ระบบ MLM ทางความคิด..ที่นักแสวงหาเงิน นำไปใช้ในการขาย กระจายสินค้า เพื่อความมั่งคั่ง นั่นเองครับ
    ;aa13;aa13;aa13
    อุ้ยชีวิต..เหมือนกันเป๊ะเลยครับ เพิ่งมา 2-3 ปีนี้เองเช่นกัน ที่ผมหันมาพบทางสายใหม่จากในเว็บนี้ และตั้งใจจะไปให้ถึงที่สุดด้วยครับ เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2009
  6. namo_to

    namo_to Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +33
    นิพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
     
  7. ถังน้ำ

    ถังน้ำ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +3
    ดีค้าบบบบบบบบ^^
     
  8. ไม้บรรทัด

    ไม้บรรทัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +293
    คงต้อง เริ่มต้น ที่ตัวเรา ก่อนอื่น
    สู่สังคมรอบตัว แล้วจะแผ่ขยายไปเอง
     
  9. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน
    คนเราทุกวันนี้ ไม่ค่อยได้ตะหนักในส่วนนี้กันนัก
    เพราะมัวแต่มองคนอื่น เอาตัวอย่างที่เห็นกันง่ายๆ นะคะ
    อาจจะไม่เกี่ยวกับการศึกษา แต่เป็นพฤติกรรมที่เห็นๆ
    เช่น การทิ้งขยะ ทิ้งน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม
    พอเกิดผลกระทบขึ้นมา ก็มีการออกมาร้องเรียน ออกมาโวยวาย
    แต่คนร้องเรียน คนโวยวาย ก็ยังคงทิ้งเปลือกลูกอมอยู่
    ยังคงถ่มน้ำลายลงพื้นอยู่ แค่จิตสำนึกในสิ่งที่ตนกระทำยังไม่มีเลย

    การศึกษาก็เช่นกัน พอมองคุณภาพของผู้ศึกษา ผู้ที่จบการศึกษา
    ไม่เป็นที่พอใจของตน เด็กมีความก้าวร้าว มีความกระด้างในจิตใจ
    ก็โทษว่าครูสอนไม่ดี ไม่ได้เรื่อง ระบบการศึกษามันแย่
    แต่ไม่มองลงไปที่ปฐมภูมิของการศึกษา
    ว่ามันต้องเริ่มจากการปลูกฝัง การเอาใจใส่ การดูแลของคนในครอบครัว
    แถมยังโยนความผิดให้งาน งาน งาน งาน
    ยกผลประโยชน์ส่วนใหญ่ หรือทั้งชีวิตให้กับเงิน
    โดยลืม อาจจะเรียกว่า ไม่สำนึก ถึงประโยชน์ของชีวิตที่กำลังเติบโตเลย

    อยากให้เราทุกคนกลับมาดูแลพื้นฐานของจิตใจกันให้มากๆ
    เพื่อสร้างมวลรวมของสังคมให้มีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้น
     
  10. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,568
    ค่าพลัง:
    +7,749
    การพูดถึงการแก้ไขปัญหาต้องเริ่มที่ตัวของเราเองก่อนนั้นดูเหมือนง่ายนะครับ
    แต่ลองมองย้อนมาที่ตัวเราเองจะเห็นชัดเลยว่า

    การสู้กับกิเลสและความทะยานอยากของตัวเราเองนั้นไม่ง่ายเลย
    บ่อยครั้งที่เราแพ้มันตั้งแต่ยกที่หนึ่ง โดยที่เรายังไม่ทันขยับตัวด้วยซ้ำไป

    การเสริมสร้างสัมมาทิฏฐิให้อยู่กับตัวเรา จึงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักที่เราจะทำมันได้ปุ๊บปั๊บ
    แล้วการขยายผลออกสู่สังคมเพื่อให้เป็นสังคมแห่งสัมมาทิฏฐิจึงยังดูห่างไกลเลื่อนลอยและเลือนลางมาก

    แต่ถ้ามองในเชิงบวก การที่เราได้พบเห็นสิ่งที่ผิดพลาดสิ่งที่ไม่ดีต่างๆในสังคมและของตัวเราเอง มันช่วยทำให้เราชัดเจนขึ้นใน ว่าสิ่งนี้ผิด สิ่งนั้นถูก หากไม่เจอแบบนี้เราอาจจะไม่เข้าใจได้เลยว่าสัมมาทิฏฐิเป็นอย่างไร เพราะไม่มีประสบการณ์ด้านมิจฉาทิฏิฐิ ความผิดพลาดต่างๆจึงเป็นเหมือนครูที่สอนให้เราเข้าใจในสัมมาทิฏฐิชัดเจนขึ้น

    หากทั้งโลกมีแต่คนดีงามทำอะไรก็ถูกต้องไปหมดแล้วเราจะรู้และแน่ใจได้อย่างไรว่ามันดีมันถูก ภาพที่ปรากฏให้เราเห็นทางสังคมหรือคนรอบข้างเรามีทั้งส่วนที่เป็นประโยช์และเป็นโทษปนกันเสมอ สุดแท้แต่ว่าเราจะเห็นมันหรือไม่ โดยมากเราจะมองเห็นแค่ส่วนที่เป็นโทษเท่านั้นทำให้เราเกิดความรู้สึกคับข้องใจไม่พอใจในสิ่งที่เห็น

    ชีวิตทีหลากหลายบนโลกนี้ล้วนมีไว้ให้มนุษย์เลือกเอาเองว่าอยากจะเป็นชีวิตแบบไหน หรือไม่อยากก็มุ่งไปทางสายพระนิพพานก็ได้แต่ไม่ใช่ง่ายเหมือนที่มีการโพสท์กันในเว็บนี้
     
  11. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    กล้าสอน (๑)

    [​IMG]

    โดย วิศิษฐ์ วังวิญญู
    หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 8 พฤศจิกายน 2551

    The Courage to Teach หรือ “กล้าสอน” เป็นหนังสือที่ดีที่สุดไม่กี่เล่มที่ผมได้อ่านในรอบห้าปีนี้ เขียนโดย พาร์เกอร์ เจ. พาล์มเมอร์ (Parker J. Palmer) ซึ่งเป็นเควกเกอร์ (เควกเกอร์เป็นนิกายหนึ่งในคริสต์ศาสนาที่เข้าหาศาสนธรรมอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีนักบวช ไม่มีคนที่เป็นสื่อกลาง หากทุกคนเป็นฆราวาสที่อาจเข้าถึงพระเจ้าได้อย่างเท่าเทียมกัน และมีวัฒนธรรมภาวนาอันเรียบง่ายที่ดำรงอยู่ในชีวิตอย่างมีพลัง) หนังสือของพาล์มเมอร์เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในมหาวิทยาลัยนาโรปะ ครูของณัฐฬส (วังวิญญู) คนหนึ่งมีพาล์มเมอร์เป็นหนึ่งในครูสองคนที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเขา

    พาล์มเมอร์ยังทำเวิร์คชอป “กล้าสอน” โดยให้คนเข้าค่ายหลีกเร้นใคร่ครวญ เพื่อกลับมาสะท้อนย้อนใคร่ครวญร่วมกันในคณะครู เข้ามาทบทวนความหมายของการเป็นครู วิธีการสอน และที่สำคัญยิ่ง ตัวตนด้านในของครู พาล์มเมอร์พูดถึงองค์ประกอบ ๓ ประการในการเป็นครูที่ดี
    หนึ่ง คือ องค์ความรู้
    สอง คือ วิธีการสอน
    สาม คือ ตัวตนของครู หรือโลกภายในของครู
    หรือคำของพาล์มเมอร์อันเป็นชื่อที่สองของหนังสือ “กล้าสอน” ของเขา คือ “ภูมิทัศน์แห่งโลกภายในของครู”

    จากประสบการณ์ของพาล์มเมอร์เอง วิธีการสอนนั้นไม่ใช่เป็นประเด็นที่สำคัญนัก แต่ตัวตนของครูต่างหากที่เป็นเรื่องใหญ่ เขาเคยพยายามลอกเลียนครูของเขา ผู้มีพลังในการสอนมาก แต่ครูคนนี้กลับมีวิธีการสอนแบบอนุรักษ์นิยมธรรมดา คือ จะบรรยายอย่างยืดยาวเสียเป็นส่วนใหญ่ แทบจะไม่ทิ้งเวลาให้ถามตอบกันเลยด้วยซ้ำ แต่ครูกลับเชื่อมโยงกับศิษย์ได้ และเชื่อมโยงศิษย์เข้าสู่องค์ความรู้หรือวิชาที่จะสอนได้อย่างทรงพลัง เขาพยายามลอกเลียนครูทุกอย่าง แต่ผลคือความล้มเหลว กว่าจะรู้ว่าล้มเหลวเพราะอะไร ต้องเสียเวลาไปเป็นทศวรรษ ตอนหลัง เขาได้เปลี่ยนวิธีการสอน หากยังคงพลังอะไรบางอย่างของครูคนนี้ไว้ในท่วงทำนองการสอน เขาจึงพบ “มหาวิชา” แห่งการสอน และเขียนหนังสือออกมาหนึ่งเล่ม ทำหลักสูตรเวิร์คชอปให้ครูมาเรียนแปดครั้งๆ ละสามสี่วัน ในช่วงเวลาสองปี งานของเขาแพร่ขยายไปทั่วสหรัฐอเมริกา ๓๒ รัฐ สร้างกระบวนกร (วิทยากรกระบวนการ) ได้ถึง ๑๕๐ คน และเวลานี้ได้มีหลักสูตร “กล้านำ” เพิ่มเข้ามา เพราะสิ่งที่เขาค้นพบ มิใช่ว่าจะใช้ได้เฉพาะในแวดวงการศึกษาเท่านั้น

    อะไร??คือสิ่งที่ทำให้ครูเชื่อมโยงกับศิษย์ได้ และยังเชื่อมโยงศิษย์เข้าหาองค์ความรู้ได้อีกด้วย ดังที่กล่าวไปแล้วว่า เควกเกอร์เป็นนิกายที่ลงลึกในเรื่องศาสนธรรม คนกลุ่มนี้นิยมสันติวิธีหรือสันติวิถี แม้ยอมตายแต่ไม่ยอมเข้าสงคราม คงเป็นเพราะฐานเดิมบางประการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยใจอันใคร่ครวญ ทำให้ข้อสาม คือ การทำงานกับโลกภายในของครู กลายเป็นสิ่งสำคัญ ประเด็นสำคัญที่สุดประเด็นหนึ่งในหนังสือเล่มนี้

    พาล์มเมอร์กล่าวว่า ทำไมเด็กนักเรียนจึงชอบครูคนใหม่?? ที่เพิ่งจะมาเป็นครู หรือบรรดาพวกครูฝึกหัดทั้งหลาย ผมเองได้ใช้ประเด็นนี้เป็นประเด็นเริ่มต้นกับเวิร์คชอปที่จัดให้บรรดาครู ซึ่งผมทดลองมาแล้วสองเวิร์คชอป มันชวนให้ครูได้ไปใคร่ครวญอะไรบางอย่างว่า ทำไมเด็กจึงรักครูคนใหม่ของเขา คนที่เข้าร่วมเวิร์คชอปสรุปกันจากการสนทนาในเรื่องนี้อย่างละเอียดลออว่า ครูคนใหม่ยังไม่ได้เป็นครูอย่างครูเก่า ซึ่งจะมี “มาดของครู” ที่ซึ่งเด็กจะกลัว และมีอำนาจลี้ลับที่จะสะกดเด็กให้อยู่ในอำนาจได้ สามารถจัดการห้องเรียนได้เรียบร้อย คือ เด็กจะเคารพเชื่อฟังครู แต่ครูคนใหม่ยังไม่มีอำนาจนี้ ยังเป็นครูธรรมดาที่เปราะบาง อ่อนแอ บางทีจัดการนักเรียนไม่อยู่ก็ร้องไห้หน้าห้องเรียนนั้นเอง แต่แล้วเด็กจะรักและจะให้ความร่วมมือ ครูหลายคนที่มาร่วมเวิร์คชอปกับผมบอกว่า พวกเขาพากันรักครูคนใหม่ของเขา และเลยไปถึงรักวิชาที่ครูคนนั้นสอนด้วย

    ตอนผมไปอยู่หมู่บ้านเด็ก ทำงานร่วมกับ พิภพ ธงไชย ในปีแรกของโรงเรียนแห่งนั้น อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ แนะว่า ให้ไปอยู่กับเด็กโดยไม่ต้องใช้อำนาจ มันทำให้ผมคิดถึงว่า อำนาจที่แท้จริงของครูคืออะไร? ไม่ใช่ไม้เรียว หรือคะแนน ผมได้ใคร่ครวญโจทย์ข้อนี้มาตลอดชีวิต แล้วผมก็ได้เป็นครูสมใจ หากแต่เป็นครูนอกระบบโรงเรียน ผมอาจจะพบคำตอบ แต่งานเขียนของพาล์มเมอร์ได้ทำให้คำตอบนั้นชัดเจน และเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น

    พาล์มเมอร์พูดถึงการเชื่อมโยงกับเด็กได้ แล้วนำพาเด็กไปเชื่อมโยงกับวิชาที่ครูสอน ซึ่งครูจะต้องเชื่อมโยงกับวิชาที่สอนด้วย ต้องเข้าหา เข้าถึงวิชาที่สอน จนองค์ความรู้นั้นๆ เข้ามาเป็นเลือดเนื้อของครูเอง ส่วนวิธีการสอน กระบวนการสอน ครูแต่ละคนอาจจะต้องหาทางเข้าหาความเหมาะสมลงตัว ยืดหยุ่นและผันแปรได้ตามความถนัดหรือตามอัตลักษณ์ของครูแต่ละคนเอง

    พาล์มเมอร์พูดถึงครูคนหนึ่งที่อยู่ข้างใน (Inner teacher) ว่า เราต้องค้นหาครูภายในของเราให้พบ ในฐานะนักเรียนวอยซ์ ไดอะล็อค ผมคิดว่า ครูภายในที่ว่านี้ เชื่อมโยงอยู่กับเด็กน้อยผู้เปราะบางของ ดร. สโตน สองสามีภริยา (Dr. Hal & Sidra Stone) ทั้งสองได้กล่าวถึงสรรพคุณของเด็กน้อยผู้เปราะบางที่ดำรงตนอยู่ภายในเราไว้ว่า

    หนึ่ง เด็กน้อยมีความสามารถที่จะสนิทสนม เมื่อเราเปราะบาง เรายอมรับความอ่อนแอของเรา ความกลัวของเรา เหมือนกับว่าเรายังเป็นครูคนใหม่ตลอดกาล ใช่ไหม เป็นไปได้ไหม?

    สอง เด็กน้อยผู้เปราะบาง คือ ตัวตนดั้งเดิมของเรา (ผู้เข้าร่วมเวิร์คชอปบางคนได้โยงเข้ากับจิตเดิมแท้อันประภัสสร หรือเรืองแสง) ทำให้เรารู้ว่า เราต้องการอะไร ชอบอะไร ซึ่งอาจจะช่วยนำพาให้เราไปสอนในสิ่งที่เราสามารถเชื่อมโยงได้จนเป็นเลือดเนื้อและจิตวิญญาณของเรา จนกระทั่ง เราอาจจะสามารถเชื่อมโยงเด็กให้ไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรารัก ไม่ว่าจะเป็นภาษา คณิตศาสตร์ หรือปรัชญา และทำให้เด็กรักในสิ่งที่เรารักไปได้ด้วย

    สาม เด็กน้อยผู้เปราะบาง คือ ผู้ที่ตื่นตะลึง ทึ่งกับทุกสรรพสิ่ง ทุกสรรพปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่อหน้า ตื่นตัวที่จะเรียนรู้ ด้วยสภาวะจิตที่พร้อมจะเรียนรู้สูงสุดอยู่ตลอดเวลา ที่เรียกกันว่า สภาวะจิต หรือสมอง ที่เราจะสามารถเปิดรับการเรียนรู้ได้ดีที่สุด (Optimum learning state)

    สี่ เด็กน้อยผู้เปราะบาง ยังมีแผนที่ทางจิตวิญญาณติดตัวมา เมื่อเราเข้าไปแตะตัวเด็กน้อยในตัวเราได้ เราจะเห็น “แผนที่ทางจิต” นั้น ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Psychic fingerprint” ซึ่งเป็นถ้อยคำที่ไพเราะที่สุดในโลกคำหนึ่ง (คำของ ดร. สโตน เอง) และเราจะแจ้งใจซึ่งทางเดินแห่งจิตวิญญาณของเรา เราจะได้เห็นว่า ครูไม่ได้เพียงสอนวิชาเท่านั้น หากยังสอนมหาวิชา หรือวิชาว่า ด้วยการเติบโตด้านใน ด้านจิตวิญญาณอีกด้วย


    วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 at ที่ 16:00 น. by knoom
    ป้ายกำกับ: บทความมติชน, วิศิษฐ์ วังวิญญู |;38
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2009
  12. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    พี่ยุทธ ครับ ส่งหน้าปกหนังสือ

    "ความลับพระพุทธเจ้า"

    มาให้ดูก่อนครับ

    คาดว่า จะวางจำหน่ายประมาณไม่เกินกลางเดือน สิงหาคม 2552

    ในร้านซี-เอ็ด บุ๊ค ทั่วประเทศครับ

    ด้วยรักและคิดถึงยิ่ง

    เอก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    เศรษฐกิจในโลกที่จำกัด


    <O:p</O:p


    เศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน ได้ขยายตัวใหญ่ขึ้น จนเราไม่อาจหลอกตัวเองได้อีกต่อไปว่า เศรษฐกิจสามารถขยายตัวต่อไปได้ไม่รู้จบ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่มีขอบเขตขีดจำกัด บัดนี้คงถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนจะต้องยอมรับความเป็นจริงของโลกที่กำลังเสื่อมโทรมลงทุกวัน ในทุกๆด้าน ก่อนที่หายนะโลกครั้งต่อไปจะมาถึง จึงจำเป็นต้องมีวิธีคิด วิถีชีวิตแบบใหม่ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ภายใต้ชีวมณฑลและระบบนิเวศ์ของโลกที่จำกัด <O:p></O:p>
    โดยทั่วไปถือกันว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจ คือ ยาครอบจักรวาล ที่สามารถแก้ไขปัญหาทุกประเภท ทุกระดับในโลกยุคใหม่ ไม่ว่าความยากจนก็ต้องใช้การขยายตัว โดยการเพิ่มปริมาณการผลิตสินค้า และบริการ และกระตุ้นการใช้จ่ายด้านการบริโภค แล้วคอยเฝ้าดูความมั่งคั่ง ที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ จงอย่าแบ่งปันความมั่งคั่ง จากคนร่ำรวยไปให้กับคนยากจน เพราะจะชะลอการขยายตัว <O:p></O:p>
    -ปัญหา การว่างงานก็เพียงแต่กระตุ้นอุปสงค์ หรือความอยากได้สินค้าและบริการ ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และกระตุ้นการลงทุน อันจะนำไปสู่ตำแหน่งงานที่เพิ่มขึ้น และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ<O:p></O:p>
    -ปัญหา อัตราการเกิดและจำนวนประชากร ต้องผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และรอให้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรในการลดอัตราการเกิด ดังที่ปรากฏในประเทศอุตสาหกรรมระหว่างทศวรรษที่ 20 <O:p></O:p>
    -ปัญหา การเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมก็ไม่ใช่เรื่องยาก โดยเชื่อในแนวคิดที่ว่า มลพิษจะเพิ่มขึ้นระหว่างการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงต้นๆเท่านั้น ในที่สุดก็จะแตะระดับสูงสุด แล้วลดลงเรื่อยๆเอง <O:p></O:p>
    ความเชื่อเหล่านี้จะเป็นจริงๆได้ ก็ต่อเมื่อ เศรษฐกิจของโลกเติบโตในอากาศธาตุที่ไม่มีขอบเขตที่สิ้นสุด แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น เศรษฐกิจของโลกเป็นเพียงระบบย่อยๆที่ดำรงอยู่ในชีวมณฑลและสิ่งแวดล้อมที่มีขอบเขตอันจำกัด แม้จะสร้างขึ้นใหม่ได้ แต่ก็มีความเร็วและปริมาณจำกัดในระดับหนึ่ง<O:p></O:p>
    เมื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ กัดกร่อนระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อมของโลกจนเสียสมดุล มนุษย์ก็ต้องสังเวยด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่า (สัตว์ น้ำ พื้นที่ป่า แร่ธาตุสำคัญ) ซึ่งมีคุณค่าสูงกว่าทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นหลายเท่า (ถนน โรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ) ที่เป็นเช่นนี้ก็เพียงเพื่อ เพิ่มพูนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เท่านั้น ซึ่งอันที่จริงควรเรียกว่า “การขยายตัว ที่ไม่ส่งผลดีทางเศรษฐกิจ” เพราะสร้างให้เกิดผลลัพท์ทางด้านลบมากกว่า และเห็นผลได้รวดเร็วกว่าด้านบวก แท้ที่จริงแล้วกลับทำให้เราจนลง ไม่ใช่รวยขึ้น เมื่อเข้าสู่วิกฤติระดับหนึ่ง การขยายตัวเพื่อความมั่งคั่งกลับกลายเป็นสิ่งที่โง่เขลา ทำลายตัวเองในระยะสั้น และเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในรูปแบบเช่นนี้ในระยะยาว ประจักษ์พยานที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ได้แก่วิกฤติเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน อันมีที่มาจาก เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเข้าสู่ช่วง “การขยายตัว ที่ไม่ส่งผลดีทางเศรษฐกิจ” เรียบร้อยโรงเรียนฝรั่งไปแล้ว<O:p></O:p>
    แต่คงเป็นเรื่องที่ยากมากๆยากถึงที่สุด ที่จะให้เกิดการยอมรับและหลีกเลี่ยงการขยายตัวตามความเชื่อ ตามแนวทางเก่าๆที่พิสูจน์แล้วว่า ส่งผลเสียมากกว่าผลดี ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่ง เพราะว่า มีมนุษย์จำพวกหนึ่งที่ได้รับผลประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แบบนี้ จึงมองไม่เห็นและไมให้ความสำคัญใดๆ กับการเปลี่ยนแปลงหลักคิด วิธีการ วิถีชีวิต หรือกิจกรรมใดๆไปจากเดิม และในบัญชีงบดุลของชาติก็ไม่ต้องแสดงรายการที่ต้องสูญเสียไป เพื่อแลกกับ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้คนได้สำเหนียกถึง มูลค่าที่แท้จริง<O:p></O:p>
    ณ ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านอันสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์นี้ มนุษยชาติต้องหันไปหา หลักการ วิธีคิดแบบใหม่ๆ ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความเป็นไปและเป็นจริงของโลกพิภพใบนี้ เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ที่แท้จริง ต้องทำความเข้าใจและตระหนักในข้อจำกัดและขีดจำกัดทางชีวฟิสิกส์ กายภาพของโลก เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ได้ต่อเนื่อง ยืนยาวไปได้ในอนาคต แต่หากเรายังยึดติด ไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลงใดๆ ผลลัพท์ที่จะเกิดขึ้น ไม่เพียงแต่เป็นการขยายตัวที่ไม่ส่งผลดีทางเศรษฐกิจ แต่จะเป็นหายนะทางสิ่งแวดล้อมของโลกพิภพ ที่ไม่อาจคาดเดาได้ถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และวิถีการดำรงชีวิต ของมนุษย์ในอนาคต อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดูคล้ายๆกับคำทำนายทั้งหลายที่กล่าวถึง ภัยพิบัติหายนะของโลกพิภพ<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ชีวมณฑลอันจำกัด<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ทุกวันนี้ นักเศรษฐศาตร์โดยส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่า มนุษยชาติ นำโดยสหรัฐและอีกหลายประเทศทั่วโลกกำลังพากันเดินหน้าเข้าสู่สภาวะ “การขยายตัว ที่ไม่ส่งผลดีทางเศรษฐกิจ” พวกเขาไม่ใส่ใจและไม่ให้ความสำคัญกับ แนวคิดการขยายตัวอย่างยั่งยืน โดยพวกเขายังเชื่อมั่นว่า โลกได้เดินตามแนวทางการขยายตัวทางเศรษฐกิจมานานแล้ว และจะยังเดินหน้าตามแนวคิดแนวทางนี้ต่อไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด<O:p></O:p>
    สำหรับแนวคิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในโลกตะวันตกนั้น ได้รับการขานรับจากนักเศรษฐศาสตร์ ที่เรียกกันว่า นักเศรษฐศาสตร์เชิงนิเวศน์ และปรากฏอยู่ในแขนงหนึ่งของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก เรียกว่า เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม แต่ในภาพรวมแล้ว บรรดานักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก(นีโอคลาสสิค) ก็ยังพากันมองว่า แนวคิดเกี่ยวกับความยั่งยืน เป็นเพียงกระแสนิยม ตามยุคสมัยคล้ายแฟชั่น พวกเขายังยึดติด ยึดมั่นกับ แนวคิดการส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไม่มีขีดจำกัด<O:p></O:p>
    แต่ในโลกความเป็นจริง ไม่ได้เป็นแดนสวรรค์ทางเศรษฐกิจ ที่ไร้ขีดจำกัด ไร้ขอบเขตชีวมณฑล และทรัพยากรนั้นมีปริมาณจำกัดเป็นระบบปิด และถูกจำกัดอยู่ภายใต้กฎเทอร์โมไดนามิกส์ ระบบย่อยใดๆก็ตามภายในโลก เช่น ระบบเศรษฐกิจ เมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็จะหยุดเติบโต หยุดขยายตัว และปรับตัวเองเข้าสู่สภาวะสมดุล หรือสภาวะคงที่ (Steady state) เช่น อัตราการเกิดจะสมดุลเท่ากับอัตราการตาย อัตราการผลิตจะเท่ากับอัตราการเสื่อมค่า <O:p></O:p>
    ในช่วงเวลา 70 ปีที่ผ่านมา ประชากรโลกได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า ส่วนวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น และผลิตในเชิงสินค้ามีปริมาณมากขึ้นหลายเท่า จากการศึกษาผลกระทบด้านนิเวศน์แสดงให้เห็นว่า ปริมาณพลังงานและวัตถุดิบที่ต้องใช้ในการดูแลรักษา หรือทดแทนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นยิ่งมีจำนวนสูงขึ้นมากเช่นกัน และเมื่อโลกเราเต็มไปด้วยมนุษย์และสิ่งที่เราสร้างขึ้นยิ่ง สิ่งที่มีอยู่เดิมบนโลกย่อมลดน้อยลงมากขึ้น และในการรับมือกับการขาดแคลนในรูปแบบใหม่นี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ ต้องพัฒนาแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ใน “โลกอันแออัด” เข้าแทนที่แนวคิดเศรษฐกิจแบบเดิมๆที่มีพื้นฐานอยู่บน “โลกที่ว่างเปล่า”<O:p></O:p>
    ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจวัดประมาณการณ์ และแสดงสมดุลระหว่างต้นทุนกับ ผลประโยชน์ที่ได้รับในกิจกรรมหนึ่งๆ บุคคลเฉพาะรายและธุรกิจจะเห็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า เมื่อใดควรยุติการขยายตัวของกิจกรรมนั้นๆ ในความเป็นจริง เมื่อกิจกรรมหนึ่งขยายตัว ในที่สุดแล้ว มันจะเข้าแทนที่กิจกรรมอื่นๆ ซึ่งกิจกรรมที่สูญเสียไปต้องนับเป็นต้นทุนด้วยเช่นกัน ธุรกิจจะหยุดขยายตัว ณ จุดที่ต้นทุนที่จ่ายเพิ่มขึ้น มีค่าเท่ากับหรือมากกว่าผลประโยชน์ที่ได้รับเพิ่ม เช่น เราจะหยุดจ่ายเงินเพิ่มเพื่อซื้อไอศกรีม เมื่อไอศกรีมที่ซื้อเพิ่มนั้น สร้างความพอใจให้เราน้อยกว่า การนำเงินนั้นไปซื้อสิ่งอื่น นี่คือ เกณฑ์มาตรฐานในเศรษฐกิจระดับจุลภาค แต่ในเศรษฐศาสตร์ระดับมหภาคแบบเดิม ไม่มีเกณฑ์บ่งชี้ว่า “เมื่อใดควรจะหยุด”<O:p></O:p>
    เนื่องจากการหันไปยึดแนวทางการดำเนินเศรษฐกิจแบบยั่งยืนที่แท้จริง ในโลกอันจำกัด ต้องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวอย่างมาก ทั้งในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ นักการเมือง และประชาชน บางคนถึงกับระบุว่าแนวคิดนี่เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่อีกด้านหนึ่ง แนวคิดเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ในรูปแบบที่มีการขยายตัวไปตลอดกาลตามแนวทางแบบเก่า เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในแง่กายภาพ ชีวฟิสิกส์ของโลกใบนี้ ดังนั้นถ้าให้เลือกระหว่าง สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ทางการเมือง กับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ทางกฎเกณฑ์ธรรมชาติ คงพอจะมองกันออกว่า มนุษยชาติ ควรเลือกฟันฝ่าอุปสรรคไปทางใดที่พอจะมีความเป็นไปได้ ???<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    อย่างไร? ถึงจะเรียกว่าเป็น ความยั่งยืน<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    เศรษฐกิจแบบยั่งยืนมีลักษณะเป็นอย่างไร โดยทั่วไปแล้วกล่าวได้ว่า เป็นเศรษฐกิจที่สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ในอนาคตที่ยาวไกลท่ามกลางข้อจำกัดของโลกพิภพ แต่ในรายละเอียด เราจะต้องพิจารณาปัจจัยที่ถือเป็นเกณฑ์วัด เป็นรายตัวอย่างลึกซึ้ง และทำความเข้าใจถึงความหมายที่ถูกต้อง รวมถึงสถานะบทบาทที่แท้จริงของปัจจัยแต่ละตัว ในการเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของความยั่งยืน บรรดานักเศรษฐศาสตร์ได้ให้ความสำคัญกับปัจจัย 5 ประการ ได้แก่ <O:p></O:p>
    ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ GDP<O:p></O:p>
    อรรถประโยชน์ Utility<O:p></O:p>
    จำนวนวัตถุดิบจากทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไปและทิ้งไป Throughput<O:p></O:p>
    ทรัพย์สินทางธรรมชาติ Natural capital<O:p></O:p>
    ทรัพย์สินโดยรวม Total capital<O:p></O:p>
    บางคนอาจคิดว่าเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ก็คือ การรักษาอัตราการเติบโตของ GDP ไว้ให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดนี้ ภาวะเศรษฐกิจที่ยั่งยืน มีความหมายเท่ากับ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ผิดอย่างร้ายแรง และพวกเขาพยายามหลีกเลี่ยงที่จะพิจารณาตอบคำถามที่ว่า การเติบโตขยายตัวอย่างยั่งยืนตามแนวคิดมีความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ตามหลักชีวฟิสิกส์ของโลกหรือไม่??? แต่ว่าแนวคิดนี้มีประโยชน์มากในทางการเมือง เพราะคำว่า “เศรษฐกิจแบบยั่งยืน” สามารถสร้างความประทับใจ และเป็นโวหารที่สามารถปลอบประโลม บรรเทาปัญหาต่างๆที่สุมรุมเร้าอยู่ได้ ทั้งที่ในโลกแห่งความเป็นจริงบนพื้นฐานของแนวคิดแบบเดิมๆไม่อาจเกิดเศรษฐกิจที่ยั่งยืนขึ้นได้ <O:p></O:p>
    แม้จะพยายามให้คำจำกัดความของความยั่งยืนในแง่ของการรักษา GDP ให้อยู่ในปริมาณที่คงที่ตลอดไป ปัญหาก็ยังไม่หมดไป เพราะ GDP ประกอบไปด้วย การปรับปรุงเชิงคุณภาพ คือการพัฒนา และการเพิ่มในเชิงปริมาณ คือการขยายตัว เศรษฐกิจที่ยั่งยืน ณ จุดหนึ่ง การขยายตัวจะต้องยุติลง แต่การพัฒนายังคงดำเนินต่อไป การปรับปรุงคุณภาพของสินค้าไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นการเพิ่ม GDP โดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรเพิ่ม แนวคิดหลักอันเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงได้แก่ การหันเหจากแนวทางการขยายตัวในเชิงปริมาณ ด้วยการมุ่งเน้นจำนวนตัวเลข ซึ่งไม่อาจยั่งยืนไปได้นานนัก ไปมุ่งเน้นการพัฒนาเชิงคุณภาพ ซึ่งมีความยั่งยืนยาวนานกว่า<O:p></O:p>
    ปัจจัยตัวต่อไปที่เป็นองค์ประกอบของความยั่งยืน ได้แก่ อรรถประโยชน์ ซึ่งหมายถึง ระดับของความพึงพอใจที่ต้องการ หรือกล่าวง่ายๆคือ ระดับของความกินดีอยู่ดีของประชากร นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก สำนักนีโอคลาสสิค เชื่อว่า ความยั่งยืน คือ การรักษาหรือเพิ่มอรรถประโยชน์ให้ยืนยาวนานหลายชั่วอายุคน แต่คำจำกัดความนี้ไม่มีประโยชน์อันใดในทางปฎิบัติ ความพึงพอใจของมนุษย์เป็นเพียง ประสบการณ์ส่วนบุคคลเท่านั้น จึงไม่อาจถือเป็นบรรทัดฐานได้ และไม่อาจยึดถือเป็นพินัยกรรมสืบทอดไปหลายชั่วอายุคนได้<O:p></O:p>
    ระดับความพึงพอใจของมนุษย์ หรือ ระดับของความกินดีอยู่ดีของประชากร ควรอยู่ ณ จุดใด ไม่มีใครบอกได้ชัด แต่มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย ทั้งในระดับปัจเจกชนและระดับประเทศ ที่มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง แม้ปราศจากทรัพย์สินมากมาย แต่ก็มีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ เช่น ภูฎาน ลาว ฯลฯ ส่วนไทยเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น ในขณะที่การแสวงหาความมั่งคั่ง ฟุ้งเฟ้อ อยากมี อยากได้ โดยคิดว่าจะทำให้มีชีวิตที่อยู่ดีกินดี กลับทำให้ชีวิตขาดคุณภาพ และเป็นการทำร้ายตัวเองโดยไม่รู้ตัวอย่างรุนแรง <O:p></O:p>
    ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในโลก ถือเป็นเกณฑ์วัดมาตรฐานได้ และเป็นมรดกสืบทอดจากมนุษย์จากรุ่นสู่รุ่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สามารถวัดปริมาณวัตถุดิบ ที่เศรษฐกิจฉกฉวยประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้ มนุษย์นำวัตถุดิบมาจากธรรมชาติที่มีความซับซ้อนต่ำในระบบนิเวศน์ แปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้เป็นประโยชน์ แต่ในที่สุด มนุษย์ก็ต้องทิ้งกลับคืนสู่ธรรมชาติในสภาวะที่มีความซับซ้อนสูง ถ้ากระบวนการดำเนินไปในทางมุ่งเน้นปริมาณ ท้ายที่สุดแล้ว ความสมดุลทางธรรมชาติจะสูญเสียไป ความยั่งยืนที่แท้จริง ในแง่ของทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศน์อันจำกัด คือ การตระหนักถึงขีดความสามารถในการสร้างทรัพยากรทดแทน ตามกระบวนการทางธรรมชาติ และศักยภาพในการรองรับสิ่งเหลือใช้และขยะมลพิษต่างๆ จากกระบวนการผลิตสินค้าและจากตัวสินค้าเองที่เสื่อมสภาพ<O:p></O:p>
    นักเศรษฐศาสตร์ถือว่า ทรัพย์สินเป็นทุน หรือเป็นองค์ประกอบของความมั่งคั่ง คือ วัตถุดิบ สินค้าที่ผลิต และตัวโรงงาน ทรัพย์สินที่เป็นทุน แบ่งได้อย่างกว้างๆ คือ ทรัพย์สินทางธรรมชาติ และทรัพย์สินที่มนุษย์สร้างขึ้น<O:p></O:p>
    นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก สำนักนีโอคลาสสิค เชื่อว่า ทรัพย์สินที่มนุษย์สร้างขึ้น สามารถทดแทนทรัพย์สินทางธรรมชาติได้ ดังนั้น การจัดการดูแลจึงสามารถมองภาพรวมทั้งสองด้านไปพร้อมๆกันได้ แนวทางนี้เรียกว่า “ความยั่งยืนแบบอ่อน” แต่นักเศรษฐศาสตร์เชิงนิเวศน์ เชื่อว่า ทรัพย์สินทางธรรมชาติ และทรัพย์สินที่มนุษย์สร้างขึ้น มีส่วนเกื้อหนุนกัน แต่ไม่อาจทดแทนกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรธรรมชาติจะมีการปรับสร้างและดูแลตัวเอง ถือเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีความจำกัดในตัวเอง แนวทางนี้เรียกว่า “ความยั่งยืนแบบเข้ม” <O:p></O:p>
    ตัวอย่างเช่น ความยั่งยืนแบบเข้มระบุว่า ปริมาณการจับปลาแต่ละปีมีจำนวนจำกัด เนื่องจาก ประชากรปลาแต่ละชนิดมีจำนวนจำกัด และไม่ว่าจะเพิ่มปริมาณทรัพย์สินที่มนุษย์สร้างให้มากขึ้นเท่าใด ก็ไม่สามารถทดแทนหรือชดเชยปริมาณปลาที่น้อยลงได้ แต่แนวคิดความยั่งยืนแบบอ่อนระบุว่า ปริมาณการจับปลาที่ลดน้อยลง สามารถชดเชยได้ด้วยการสร้างเรือหาปลาเพิ่มขึ้น ซึ่งแนวคิดความยั่งยืนแบบเข้มยืนยันว่า การเพิ่มจำนวนเรือหาปลา ไม่มีประโยชน์อันใดถ้าปริมาณปลายังมีจำนวนเท่าเดิม หรือลดน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้น หนทางที่ดีที่สุดคือ การจำกัดปริมาณการจับปลา เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีปลาให้จับในอนาคตอันยืนยาว<O:p></O:p>
    ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์แบบดั้งเดิม มักเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านการจัดสรรปันส่วน การกำหนดส่วนแบ่ง ส่วนกระจาย ท่ามกลาง ประชากรผู้แข่งขันในการแสวงหา แต่ไม่คำนึงถึงปริมาณในภาพกว้างทางด้านกายภาพของโลกใบนี้ ดังความเชื่อที่ว่า ตลาดที่มีกลไกเหมาะสม จะสามารถกระจายและแบ่งปันทรัพยากรและสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ปัญหาก็คือ มันคนละเรื่องเดียวกันกับ ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ที่จะสามารถบรรลุได้ด้วยนโยบายที่ถูกต้อง เหมาะสม มองการณ์ไกล และสอดคล้องกับความเป็นจริงของโลกใบนี้เท่านั้น <O:pซึ่งผู้เขียนหมายถึง ปรัชญาแนวคิดที่ยิ่งใหญ่ ของพระมหากษัตริย์ไทย ที่มอบไว้ให้มวลมนุษยชาติและโลกใบนี้ ที่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่สู้จะใส่ใจ เข้าใจ เข้าถึงกันนัก แต่ก็มักจะพูดถึงเสมอ นั่นคือ "เศรษฐกิจพอเพียง"</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2010
  14. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    ความเห็นแก่ตัว เป็นภัยต่อประชาธิปไตย

    วันเสาร์สบายๆวันนี้ มาคุยเรื่อง "ธรรมะใกล้มือ" กันดีกว่านะครับ เรื่องที่ผมจะนำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ มาจากหนังสือ สัจจสารจากสวนโมกข์ เรื่อง ศึกษาวิจารณ์ ของ ท่านพุทธทาสภิกขุ เพื่อแบ่งปันเป็นธรรมทาน

    ไม่น่าเชื่อว่า "การศึกษา" ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีงาม คิดไม่ถึงว่าจะสามารถก่อให้เกิดอันตรายสารพัดต่อสังคมบ้านเมืองได้

    ท่านพุทธทาสบอกว่า การศึกษาชนิดที่ให้แต่ความฉลาด แต่ไม่มีสิ่งใดมาควบคุมความฉลาด ทำให้มีการใช้ความฉลาดนั้นไปในทางที่ผิด ส่งเสริมการได้มาซึ่งทรัพย์และอำนาจตามที่กิเลส ต้องการ มีผลทำให้จิตเดินลงต่ำ ในการประกอบกิจการทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทำให้เกิดสงครามร้อนเย็นทุกหัวระแหงทั่วโลก ความเสียหายทางนิเวศวิทยา และการคอรัปชัน

    การศึกษาที่ให้แต่ความฉลาดนั้น ยังไม่สามารถกำจัดสัญชาตญาณอย่างสัตว์ แถมจะส่งเสริมโดยไม่รู้ตัว ไม่สามารถใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหา ยังต้องใช้กำลังเหมือนสัตว์ที่ไม่มีโอกาสจะใช้สมองจนโลกเต็มไปด้วยสัตว์ เศรษฐกิจ สัตว์การเมือง สัตว์สังคม แต่ไม่มีสัตว์แห่งอารยธรรมหรืออารยชน

    ความฉลาดนั้นๆ ตกเป็นทาสของประโยชน์ทางวัตถุ ซึ่งย่อมนำไปสู่ความขัดแย้งช่วงชิง และนำไปสู่สงครามในที่สุด

    เรามีแต่การศึกษาที่ส่งเสริมความเห็นแก่ตัวโดยไม่รู้สึก เพราะเป็นการศึกษาที่จัดโดยผู้เห็นแก่ตัว มีแต่การศึกษาที่ทำให้ฉลาด แต่ไม่มีส่วนที่ควบคุมความฉลาด ซึ่งจัดกันจนลืมการควบคุมความเห็นแก่ตัว

    จัดไปๆก็มีความเห็นแก่ตัวมากขึ้น จนคิดรวมพวกแล้วแย่งกันครองโลก ความเห็นแก่ตัวทำให้ระบอบประชาธิปไตยกลายเป็นระบอบอันตราย คือ มีเสรีภาพในการที่จะใช้ความเห็นแก่ตัวเพื่อประโยชน์ของตนเอง ที่เห็นได้ง่ายๆ เช่น เมื่อประชาชนเห็นแก่ตัว เขาก็เลือกได้ผู้แทนที่เห็นแก่ตัวไปประกอบกันเป็นสภาแห่งผู้เห็นแก่ตัว สภาเช่นนี้ก็ตั้งได้ แต่รัฐบาลของผู้เห็นแก่ตัว แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ขอให้ลองคิดดู

    ความเห็นแก่ตัวเป็นภัยต่อระบอบประชาธิปไตยที่มีอยู่แล้ว ทำให้ง่อนแง่นโงนเงนผุกร่อนล้มลงไม่ทันรู้ หรือเต็มไปด้วยปัญหาขัดแย้ง หรือพรรคฝ่ายค้านที่ทำไปด้วยความเห็นแก่ตัวอย่างหลับหูหลับตา

    เพราะ ระบอบประชาธิปไตย มันไม่ใช่ระบอบสำหรับผู้ยังเห็นแก่ตัว แต่ มันเป็นระบอบสำหรับผู้มีการศึกษาเจริญแล้วพอสมควรที่จะไม่เห็น แก่ตัว เมื่อเอาระบอบประชาธิปไตยมายื่นให้แก่สังคมที่มีการศึกษาไม่เจริญพอ ก็เท่ากับเอาอาวุธมาให้ใช้เชือดคอตนเอง หรือถ้าจะมองไปในแง่ว่าเพื่อให้เขาก้าวหน้า แต่ก็ไม่มีใครในหมู่ผู้เห็นแก่ตัวจะจัดการให้มีผลเช่นนั้นได้ นอกจากจะรีบจัดการศึกษาชนิดที่ควบคุมความฉลาดที่นำไปสู่ความเห็นแก่ตัวได้ ทำให้มีความฉลาดที่แท้จริง คือ ฉลาดอย่างไม่เห็นแก่ตัวนั่นเอง

    สรุปความว่า การศึกษาที่ไม่มีการควบคุมความฉลาดนั้นเป็นภัยต่อระบอบประชาธิปไตย ทำให้ระบอบประชาธิปไตยกลายเป็นพิษภัยขึ้นมาโดยไม่รู้สึกตัว

    ไม่น่าเชื่อนะครับ คำสอนของ ท่านพุทธทาส ในหนังสือเล็กๆเล่มนี้ ซึ่งพิมพ์ขึ้นในโอกาสครบรอบ 100 ปี ท่านพุทธทาส ผมประมาณเอาเองว่า ท่านน่าจะสอนมาอย่างน้อย 60-70 ปีแล้ว แต่จนถึงวันนี้ เนื้อหาก็ยังทันสมัย สะท้อนสภาพสังคมไทยและระบอบประชาธิปไตยไทย ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

    ประชาธิปไตยเป็นระบอบที่สอนคนไม่ให้เห็นแก่ตัว แต่ประชา-ธิปไตยเมืองไทย กลับกลายเป็นระบอบประชาธิปไตยที่เห็นแก่ตัวตั้งแต่ฐานราก เริ่มตั้งแต่การซื้อเสียงขายเสียง โกงกันตั้งแต่ขั้นแรก สุดท้ายก็นำไปสู่การโกงกินไม่มีที่สิ้นสุด ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ เลยกลายเป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างที่ "ท่านพุทธทาส" สอนไว้นั่นแล.

    "ลม เปลี่ยนทิศ"sleeping_rb
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2009
  15. ไม้บรรทัด

    ไม้บรรทัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +293
    พัฒนา การศึกษา???

    ต้องพัฒนาทั้งระบบ ของสังคม
    คือ
    พัฒนา พ่อแม่ ผู้ปกครอง
    พัฒนา ครู
    พัฒนา เด็ก
    พัฒนา เนื้อหา
    พัฒนา วิธีคิด
    พัฒนา วิถีชีวิต
    พัฒนา สังคม ทั้งมวล
     
  16. OLDMAN AND A CAR

    OLDMAN AND A CAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    824
    ค่าพลัง:
    +2,752
    [FONT=&quot]...ผมสารภาพตรงๆว่า..ขี้เกียจอ่านบทความทำนองนี้...ทำไมน่ะหรือ...[/FONT]<o></o>

    [FONT=&quot]๑. เพราะ อ่านมาเยอะ ที่กล่าวโทษระบบการศึกษา และ วัฒนธรรม ต่างชาติ ว่า เป็นตัวทำลายความดีงามของ ผู้คนในชาติ...[/FONT]<o></o>
    [FONT=&quot]๒. ไม่ใช่ของใหม่ เป็นมานานแล้ว ตั้งแต่ ผม ยัง เด็ก จนบัดนี้... แง่งักแล้ว......ก็ ไม่มีอะไร ดีขึ้น กลับ แย่ ลงกว่าเดิม.....หรือ อีกนัยหนึ่ง....ปัญหา แบบนี้ หาก แก้ไขได้ ก็ จบกันไปนานแล้ว.....ไม่ต้องมาบ่นกันแบบนี้หรอก[/FONT] <o></o>
    [FONT=&quot]๓.....ผม เป็นคนที่ไม่เชื่อว่า....ที่เราเป็นอยู่ในทางที่ท่าน กำลังคิดว่า เสื่อมถอยลงนี้ มาจาก อิทธิพล ทางวัตถุ และ วัฒนธรรม ที่รุกราน มาจาก ที่อื่นๆ....เพราะ..ตราบใด ที่คิดเช่นนี้ ก็ ไม่มีวัน แก้ไข อะไรได้.....ทำนองรำไม่ดี โทษปี่ โทษกลอง....[/FONT] <o></o>
    <o></o>
    [FONT=&quot]...ทุกอย่าง อยู่ที่ ความผิดพลาด ของ เราเอง ที่ ไม่รู้จัก วิธีการแก้ ไข หรือ รู้ แล้ว ทำไม่ได้ เพราะ คนรู้ไม่ได้ ทำ ส่วน คนทำ ก็ ไม่รู้...[/FONT]<o></o>(ไม่สงสัยบ้างหรือว่า..ทำไม จึงเป็นเช่นนั้น )
    <o></o>

    [FONT=&quot]..สำหรับ คนที่รู้ และ แก้ไขได้....ย่อม ไม่พบกับ ปัญหาเช่นนี้ แม้ว่า จะ เป็นเพียง คนธรรมดาสามัญ....เพราะ เขาเหล่านั้น จะ สามารถ จัดการ และ ไขปัญหาให้ กับ ตนเองและ คนรอบข้างได้.....เผลอๆ ยัง ขำกลิ้ง กับ วิธีการพัฒนาลงเหว แบบนี้ เสียอีก....[/FONT]<o></o>
    <o></o>
    [FONT=&quot]...ยอมรับว่า....อยู่ในสังคมปัจจุบันลำบาก มากยิ่งขึ้น เมื่อ เวลา ผ่านไป....แต่ เข้าใจ ว่า ทำไมจึงต้องเป็นเช่นนี้ จึง ทำใจได้......ทุกวันนี้ เด็ก อายุแค่ ๑๐ ปี ก็ กร่างคับซอยได้แล้ว...เพราะ บารมี พ่อแม่....โตขึ้นจะขนาดใหน...จินตนาการเอาเอง[/FONT]<o></o>
    <o></o>
    [FONT=&quot].....ถามซักคำหนึ่ง....เด็กอายุ ๑๒ ปี ฆ่าและ ข่มขืนคนอื่นนี่....กฎหมายไทย ลง โทษเขาอย่างไร....[/FONT]<o></o>
    [FONT=&quot].....นายพลตรี ยิง สามล้อตาย...ได้รับโทษอย่างไร....[/FONT]<o></o>
    <o></o>

    [FONT=&quot]....ไม่ใช่ มองโลก ในแง่ร้าย....แต่....อย่าหวังเลยว่า...ท่านจะ แก้ไขอะไรได้....ไม่ใช่การศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่...ทุกระบบมันก็ พอๆกัน....มันสายไปเสียแล้ว ที่จะเยียวยา.....หาก จะ ผิด ก็ ผิดตรงที่....ปล่อยให้ ทุกอย่างมันเลวร้ายขนาดนี้โดยไม่แก้ไข มาได้ อย่างไร ต่างหาก....<o></o>[/FONT]
    <o></o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2009
  17. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,670
    ค่าพลัง:
    +51,947
    *** นิสัยที่ไม่เคยตัด นิสัยไม่เคยลด ****

    การถ่ายทอดนิสัย...ในห้องเรียน
    การซึมซับนิสัย....ในบ้าน
    การส่งเสริมนิสัย...ในโทรทัศน์
    การหากิน....กับนิสัยมนุษย์
    ทุกวันนี้...นิสัยมีแต่เพิ่ม ไม่มีลด
    พระพุทธเจ้า....สอนให้พยายามตัดลดนิสัย ด้วยสัจจะทำ ทุกวัน
    สัจจะทำตัดนิสัย วันละข้อ
    ประเทศไทยเรา...ยังไม่ได้เข้าไปศึกษาเรื่อง สัจจะทำของพระพุทธเจ้ากันเลย
    จึงไม่มีเผยแพร่ ตัวตัดลดนิสัยสันดานมนุษย์

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  18. OLDMAN AND A CAR

    OLDMAN AND A CAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    824
    ค่าพลัง:
    +2,752
    .....ก็นั่นนะซิ..ท่านหนุมาน....อะไร เป็นเหตุปัจจัย ที่ทำให้ เกิดเรื่องแบบนี้เล่า...ทำไมคำสอนในสิ่งดีๆ จึงไม่มีใคร ใคร่นำพาและ ใส่ใจ....หรือ อย่างดี ก็เพียงรับฟัง อนุโมทนา แล้ว ไม่นาน ก็ ลืม...น่าคิดใหม.....
     
  19. ไม้บรรทัด

    ไม้บรรทัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +293
    เมื่อมีพระจันทร์ กับ ตะวัน
    มีเช้า กับ ค่ำ
    มีดำ กับ ขาว
    ไม่มีอะไร ที่มนุษย์ ทำไม่ได้
    ภายใน จักรวาลนี้
    ขอให้กำลังใจ ทุกๆท่านเสมอ
     
  20. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,568
    ค่าพลัง:
    +7,749
    การศึกษา ปัจจุบัน มันกำหนด
    ให้คิดคด โกงได้ สบายบรื๋อ
    กวดวิชา หาทางลัด สะบัดมือ
    ให้ยึดถือ แต่เทคนิค ไว้คิดลัด

    คิดให้ตรง ไม่เป็น เช่นนี้หนา
    อวิชชา จึงมาแผลง แล้วแว้งกัด
    เยาวชน จนมัวเมา โง่เขลาชัด
    จะคิดลัด ลูกเดียว ห่อเหี่ยวใจ

    เติบโตสู่ เป็นผู้ใหญ่ ทีใจแคบ
    คิดลัดแอบ จนติด เป็นนิสัย
    ถ้าโกงได้ ก็จะโกง จะทำไม
    ไม่เห็นใคร ที่ไหนมา ว่าไม่ดี

    เราอยู่ในยุคที่คนในสังคมเคยชินกับสิ่งไม่ดีไม่ถูกต้องจนกลายเป็นที่ยอมรับกันในสังคม
    นี่ก็เป็นความสำเร็จของหมู่มารที่ต้องการเห็นต้องการคนไปเป็นพวกด้วยอย่างช้าๆ
    จนพวกเราๆก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันกำลังเปลี่ยนไปตามนั้นจริงๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 ตุลาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...