วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย @^น้ำใส^@, 14 เมษายน 2006.

  1. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,673
    11641164.jpg


    <!-- / icon and title --><!-- message -->วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล



    ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก
    ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว

    รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม

    เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ

    จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป

    ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร


    ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป

    ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต



    พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง

    ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว

    เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้

    ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที

    เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง

    03.jpg


    ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ

    เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล"


    การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป

    แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน

    ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ



    เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย

    เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย

    เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ

    บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ




    ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต)

    ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ


    04.jpg


    ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน)

    ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖




    ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ

    คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด




    ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิต ไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้

    คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง




    ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น

    เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง"



    ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด"




    ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง)


    เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน

    เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร

    เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"

    โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น


    คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่

    ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต" เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย



    64706470.jpg



    การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้

    **************


    ขอบคุณที่มาค่ะhttp://pudule.wimutti.net/dharma1.htm
    http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=3031
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  3. tassanai_k

    tassanai_k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,518
    โมทนาด้วยครับ
     
  4. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    727
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,503
    ควบคุมจิตได้ จักพ้นบ่วงมาร

    บันทึก(ไม่)ลับอุบาสกนิรนาม

    (ผู้เขียนได้ปรับปรุงจากต้นฉบับเรื่องประสบการณ์ภาวนาซึ่งเคยส่งไปลงพิมพ์ในหนังสือโลกทิพย์ ในนามสันตินันทอุบาสก)
    ผมลังเลใจอยู่นานที่จะเล่าถึงการปฏิบัติธรรมของตนเองเพราะมันเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งถ้าใครตั้งใจปฏิบัติก็ทำกันได้ แต่ด้วยความเคารพในคำสั่งของครูบาอาจารย์รูปหนึ่ง คือหลวงพ่อพุธ ฐานิโย แห่งวัดป่าสาลวัน ที่ท่านสั่งให้เขียนเรื่องนี้ออกเผยแพร่ ผมจึงต้องปฏิบัติตาม โดยเขียนเรื่องนี้ให้ท่านอ่าน
    ผมเป็นคนวาสนาน้อย ไม่เคยรู้เรื่องพระธุดงคกรรมฐานอย่างจริงจังมาก่อน จนแทบจะละทิ้งพระพุทธศาสนาไปแล้ว เพราะเกิดตื่นเต้นกับลัทธิวัตถุนิยม แต่แล้ววันหนึ่ง ผมได้พบข้อธรรมสั้นๆ บทหนึ่งของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ มีสาระสำคัญว่า

    "จิตส่งออกนอกคือสมุทัย มีผลเป็นทุกข์
    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ"

    ผมเกิดความซาบซึ้งจับจิตจับใจ และเห็นจริงตามว่า ถ้าจิตไม่ออกไปรับความทุกข์แล้ว ใครกันล่ะที่จะเป็นผู้ทุกข์ จิตใจของผมมันยอมรับนับถือหลวงปู่ดูลย์เป็นครูบาอาจารย์ตั้งแต่นั้น
    ต่อมาในต้นปี พ.ศ. 2525 ผมมีโอกาสด้นดั้นไปนมัสการหลวงปู่ดูลย์ที่จังหวัดสุรินทร์ เมื่อไปถึงวัดของท่านแล้ว เกิดความรู้สึกกลัวเกรงเป็นที่สุด เพราะท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ และไม่เคยรู้จักอัธยาศัยของท่านมาก่อน ประกอบกับผมไม่คุ้นเคยที่จะพบปะพูดจากับพระผู้ใหญ่มาก่อนด้วย จึงรีรออยู่ห่างๆ นอกกุฏิของท่าน
    ขณะที่รีรออยู่ครู่หนึ่งนั้น หลวงปู่ดูลย์เดินออกมาจากกุฏิของท่าน มาชะโงกมองดูผม ผมจึงรวบรวมความกล้าเข้าไปกราบท่านซึ่งถอยกลับไปนั่งเก้าอี้โยกที่หน้าประตูกุฏิ แล้วเรียนท่านว่า "ผมอยากภาวนาครับหลวงปู่"
    หลวงปู่หลับตานิ่งเงียบไปเกือบครึ่งชั่วโมง พอลืมตาท่านก็แสดงธรรมทันทีว่า การภาวนานั้นไม่ยาก แต่มันก็ยากสำหรับผู้ไม่ภาวนา ขั้นแรกให้ภาวนา "พุทโธ" จนจิตวูบลงไป แล้วตามดูจิตผู้รู้ไป จะรู้อริยสัจจ์ 4 เอง (หลวงปู่ท่านสอนศิษย์แต่ละคนด้วยวิธีที่แตกต่างกันตามจริตนิสัย นับว่าท่านมีอนุสาสนีปาฏิหารย์อย่างสูง) แล้วท่านถามว่าเข้าใจไหม ก็กราบเรียนว่าเข้าใจ ท่านก็บอกให้กลับไปทำเอา
    พอขึ้นรถไฟกลับกรุงเทพเกิดเฉลียวใจขึ้นว่า ท่านให้เราดูจิตนั้นจะดูอย่างไร จิตมันเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหนและจะเอาอะไรไปดู ตอนนั้นชักจะกลุ้มใจไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร ก็ภาวนาพุทโธไปเรื่อยๆจนจิตสงบลง แล้วพิจารณาว่าจิตจะต้องอยู่ในกายนี้แน่ หากแยกแยะเข้าไปในขันธ์ 5 ถึงอย่างไรก็ต้องเจอจิต จึงพิจารณาเข้าไปที่รูปว่าไม่ใช่จิต รูปก็แยกออกเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น หันมามองเวทนาแล้วแยกออกเป็นอีกส่วนหนึ่ง ตัวสัญญาก็แยกเป็นอีกส่วนหนึ่ง จากนั้นมาแยกตัวสังขารคือความคิดนึกปรุงแต่ง โดยนึกถึงบทสวดมนต์ เห็นความคิดบทสวดมนต์ผุดขึ้น และเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ถึงตอนนี้ก็เลยจับเอาตัวจิตผู้รู้ขึ้นมาได้
    หลังจากนั้น ผมได้ตามดูจิตไปเรื่อยๆ จนสามารถรู้ว่า ขณะนั้นเกิดกิเลสขึ้นกับจิตหรือไม่ ถ้าเกิดขึ้นและรู้ทัน กิเลสมันก็ดับไปเอง เหลือแต่จิตผู้รู้ ซึ่งรู้ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งไปเรื่อยๆอย่างเป็นอิสระจากกิเลส และอารมณ์ต่างๆ ต่อมาภายหลังผมได้หาหนังสือธรรมะมาอ่าน จึงรู้ว่าในทางปริยัติธรรมจัดเป็นการจำแนกรูปนาม จัดเป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว แต่ในเวลาปฏิบัตินั้น จิตไม่ได้กังวลสนใจว่าเป็นวิปัสสนาญาณขั้นใด
    ปฏิบัติอยู่ 3 เดือน จึงไปรายงานผลกับหลวงปู่ดูลย์ว่า "ผมหาจิตเจอแล้ว จะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไป"
    คราวนี้ปรากฏว่าท่านแสดงธรรมอันลึกซึ้งมากมาย เกี่ยวกับการถอดถอนทำลายอุปาทานในขันธ์ 5 ท่านสอนถึงกำเนิดและการทำงานของจิตวิญญาณ จนถึงการเจริญอริยมรรค จนมีญาณเห็นจิตเหมือนมีตาเห็นรูป
    ท่านสอนอีกว่า เมื่อเราดูจิต คือตามรู้จิตเรื่อยๆ ไปนั้น สิ่งปรุงแต่งจะดับไปตามลำดับ จนถึงความว่าง
    แต่ในความว่างนั้นยังไม่ว่างจริง มันมีสิ่งละเอียดเหลืออยู่คือวิญญาณ ให้ตามรู้จิตเรื่อยๆ ไป ความยึดในวิญญาณจะถูกทำลายออกไปอีก แล้วจิตจริงแท้หรือพุทธะ(หลวงปู่เทสก์เรียกว่าใจ) จึงปรากฎออกมา
    <DD>คำสอนครั้งนี้ลึกซึ้งกว้างขวางเหมือนฝนตกทั่วฟ้า แต่ภูมิปัญญาของผมมีจำกัด จึงรองน้ำฝนไว้ได้เพียงถ้วยเดียว คือได้เรียนถามท่านว่า "ที่หลวงปู่สอนมาทั้งหมดนี้ หากผมจะปฏิบัติด้วยการดูจิตไปเรื่อยๆจะพอไหม"
    หลวงปู่ดูลย์ตอบว่า "การปฏิบัติก็มีอยู่เท่านั้นแหละ แม้จะพิจารณากายหรือกำหนดนิมิตหมายใดๆ ก็เพื่อให้ถึงจิตถึงใจตนเองเท่านั้น นอกจากจิตแล้วไม่มีสิ่งใดอีก พระธรรม 84,000 พระธรรมขันธ์ก็รวมลงที่จิตตัวเดียวนี้เอง
    หลังจากนั้นผมก็เพียรดูจิตเรื่อยๆ มา มีสติเมื่อใดดูเมื่อนั้น ขาดสติแล้วก็แล้วกันไป นึกขึ้นได้ก็ดูใหม่ เวลาทำงานก็ทำไป พอเหนื่อยหรือเครียดก็ย้อนดูจิต เลิกงานแล้วแม้มีเวลาเล็กน้อยก็ดูจิต ดูอยู่นั่นแหละ ไม่นานก็เห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้ <DD>วันหนึ่งของอีก 4 เดือนต่อมา ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นปลายเดือนกันยายน 2525 ได้เกิดพายุพัดหนัก ผมออกจากที่ทำงานเปียกฝนไปทั้งตัว และได้เข้าไปหลบฝนอยู่ในกุฏิพระหลังหนึ่งในวัดใกล้ๆ ที่ทำงาน ได้นั่งกอดเข่ากับพื้นห้องเพราะไม่กล้านั่งตามสบายเนื่องจากตัวเราเปียกมากกลัวกุฏิพระจะเลอะมาก พอนั่งลงก็เกิดเป็นห่วงร่างกายว่า ร่างกายเราไม่แข็งแรง คราวนี้คงไม่สบายแน่
    สักครู่ก็ตัดใจว่า ถ้าจะป่วยมันก็ต้องป่วย นี่กายยังไม่ทันป่วยใจกลับป่วยเสียก่อนแล้วด้วยความกังวล พอรู้ตัวว่าจิตกังวลผมก็ดูจิตทันที เพราะเคยฝึกดูจนเป็นนิสัยแล้ว
    ขณะนั้นนั่งกอดเข่าลืมตาอยู่แท้ๆ แต่ประสาทสัมผัสทางกายดับหายไปหมด โลกทั้งโลก เสียงฝน เสียงพายุหายไปหมด เหลือแต่สติที่ละเอียดอ่อนประคองรู้อยู่เท่านั้น (ไม่รู้ว่ารู้อะไรเพราะไม่มีสัญญา)
    ต่อมามันมีสิ่งละเอียดๆ ผ่านมาสู่ความรับรู้ของจิตเป็นระยะๆแต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร เพราะจิตไม่มีความสำคัญมั่นหมายใดๆ
    ต่อมาจิตมีอาการไหวดับวูบลง สิ่งที่ผ่านมาให้รู้ดับไปหมดแล้ว แล้วก็รู้ชัดเหมือนตาเห็นว่า ความว่างที่เหลืออยู่นั้น ถูกแหวกพรวดอย่างรวดเร็วและนุ่มนวลออกไปอีก กลายเป็นความว่างที่บริสุทธิ์หมดจดอย่างแท้จริง
    ในความว่างนั้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วได้อุทานขึ้นว่า "เอ๊ะ จิต ไม่ใช่เรานี่"
    จากนั้นจิตได้มีอาการปิติยินดี ยิ้มแย้มแจ่มใสขึ้น พร้อมๆ กับเกิดแสงสว่างโพลงขึ้นรอบทิศทาง จากนั้นจิตจึงรวมสงบลงอีกครั้งหนึ่งแล้วถอนออกจากสมาธิ เมื่อความรับรู้ต่างๆ กลับมาสู่ตัวแล้ว ถึงกับอุทานในใจ(จิตไม่ได้อุทานอย่างทีแรก)ว่า "อ้อ ธรรมะเป็นอย่างนี้เอง เมื่อจิตไม่ใช่ตัวเราเสียแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ไม่เป็นตัวเราอีกต่อไป"
    เมื่อผมไปกราบหลวงปู่ดูลย์ และเล่าเรื่องนี้ให้ท่านทราบ พอเล่าว่าสติละเอียดเหมือนเคลิ้มๆ ไป ท่านก็อธิบายว่า จิตผ่านฌานทั้ง 8
    ผมได้แย้งท่านตามประสาคนโง่ว่า ผมไม่ได้หัดเข้าฌาน และไม่ได้ตั้งใจจะเข้าฌานด้วย
    หลวงปู่ดูลย์อธิบายว่า ถ้าตั้งใจก็ไม่ใช่ฌาน และขณะที่จิตผ่านฌานอย่างรวดเร็วนั้น จิตจะไม่มานั่งนับว่ากำลังผ่านฌานอะไรอยู่ การดูจิตนั้นจะได้ฌานโดยอัตโนมัติ (หลวงปู่ไม่ชอบสอนเรื่องฌาน เพราะเห็นเป็นของธรรมดาที่จะต้องผ่านไปเอง หากสอนเรื่องนี้ ศิษย์จะมัวสนใจฌานทำให้เสียเวลาปฏิบัติ)
    พอผมเล่าว่าจิตอุทานได้เอง หลวงปู่ก็บอกอาการต่างๆ ที่ผมยังเล่าไม่ถึงออกมาตรงกับที่ผมผ่านมาแล้วทุกอย่าง แล้วท่านก็สรุปยิ้มๆว่า จิตยิ้มแล้ว พึ่งตัวเองได้แล้ว ถึงพระรัตนตรัยแล้ว ต่อไปนี้ไม่จำเป็นต้องมาหาอาตมาอีก
    แล้วท่านแสดงธรรมเรื่อง จิตเหนือเหตุ หรือ อเหตุกจิต ให้ฟังมีใจความว่า อเหตุกจิต มี 3 ประการคือ
    1. ปัญจทวารวัชนจิต ได้แก่ความไหวตัวของจิตขึ้นรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย
    2. มโนทวารวัชนจิต ได้แก่ความไหวตัวของใจขึ้นรับรู้อารมณ์ทางใจ
    3. หสิตุปปาท หรือจิตยิ้ม เป็นการแสดงความเบิกบานของจิตที่ปราศจากอารมณ์ปรุงแต่ง เพื่อแสดงความมีอยู่ของจิตซึ่งไม่มีตัวตนให้ปรากฏออกมาสู่ความรับรู้
    อเหตุกจิต 2 อย่างแรกเป็นของสาธารณะ มีทั้งในปุถุชนและพระอริยเจ้า แต่จิตยิ้มเป็นโลกุตรจิต เป็นจิตสูงสุด เกิดขึ้นเพียง 3 - 4 ครั้งก็ถึงที่สุดแห่งทุกข์ <DD>หลังจากนั้นผมก็ปฏิบัติด้วยการดูจิตเรื่อยมา และเห็นว่าเวลามีการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย จะมีคลื่นวิ่งเข้าสู่ใจ หรือบางครั้งก็มีธรรมารมณ์เป็นคลื่นเข้าสู่ใจ
    หากขณะนั้นขาดสติ จิตจะส่งกระแสไปยึดอารมณ์นั้น ตอนนั้นจิตยังไม่ละเอียดพอ ผมเข้าใจว่าจิตวิ่งไปยึดอารมณ์แล้วขยับๆ ตัวเสวยอารมณ์อยู่จึงไปเรียนให้หลวงปู่ดูลย์ทราบ
    ท่านกลับตอบว่า จิตจริงแท้ไม่มีการไป ไม่มีการมา
    ผมได้มาดูจิตต่ออีกสักครึ่งปีต่อมา วันหนึ่งจิตผ่านเข้าสู่อัปปนาสมาธิและเดินวิปัสสนา คือมีสิ่งให้รู้ผ่านมาสู่จิต แต่จิตไม่มีความสำคัญมั่นหมายว่าคือสิ่งใด จากนั้นเกิดอาการแยกความว่างขึ้นแบบเดียวกับเมื่อจิตยิ้ม คราวนี้จิตพูดขึ้นเบาๆว่า จิตไม่ใช่เรา แต่ต่อจากนั้นแทนที่จิตจะยิ้ม จิตกลับพลิกไปสู่ภูมิของสมถะ ปรากฏนิมิตเป็นเหมือนดวงอาทิตย์โผล่ผุดขึ้นจากสิ่งห่อหุ้ม แต่โผล่ไม่หมดดวง เป็นสิ่งแสดงให้รู้ว่ายังไม่ถึงที่สุดของการปฏิบัติ <DD>ปรากฏการณ์นี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า การดำเนินของจิตในขั้นวิปัสสนานั้นหากสติอ่อนลง จิตจะวกกลับมาสู่ภูมิของสมถะ และวิปัสสนูปกิเลสจะแทรกเข้ามาตรงนี้ถ้าไม่กำหนดรู้ให้ชัดเจนว่า วิปัสสนาพลิกกลับเป็นสมถะไปแล้ว นักปฏิบัติจึงต้องระวังให้มาก โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยพบกับจิตยิ้ม(สำนวนของหลวงปู่ดูลย์) หรือใจ (สำนวนของหลวงปู่เทสก์) หรือจิตรวมใหญ่(สำนวนของท่านอาจารย์สิงห์)
    เมื่อผมนำเรื่องนี้ไปรายงานหลวงปู่ดูลย์ ท่านก็ว่า ดีแล้ว ให้ดูจิตต่อไป
    ผมก็ทำเรื่อยๆ มา ส่วนมากเป็นการดูจิตในชีวิตประจำวัน ไม่ค่อยได้นั่งสมาธิแบบเป็นพิธีการ ต่อมาอีก 1 เดือน วันหนึ่งขณะนั่งสนทนาธรรมอยู่กับน้องชาย จิตเกิดรวมวูบลงไป มีการแยกความว่างซึ่งมีขันธ์ละเอียด(วิญญาณขันธ์)ออกอีกทีหนึ่ง แล้วจิตก็หัวเราะออกมาเองโดยปราศจากอารมณ์ (ร่างกายไม่ได้หัวเราะ) มันเป็นการหัวเราะเยาะกิเลสว่า มันผูกมัดมานาน ต่อๆ ไป จิตจะเป็นอิสระยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ <DD>เหตุการณ์นี้ทำให้ได้ความรู้ชัดว่า ทำไมเมื่อครั้งพุทธกาล จึงมีผู้รู้ธรรมในขณะฟังธรรมเกิดขึ้นได้เป็นจำนวนมาก <DD>ผมนำเรื่องนี้ไปรายงานหลวงปู่ดูลย์ คราวนี้ท่านไม่ได้สอนอะไรอีกเพียงแต่ให้กำลังใจว่า ให้พยายามทำให้จบเสียแต่ในชาตินี้ หลังจากนั้นไม่นานท่านก็มรณภาพ
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์อีกรูปหนึ่ง เคยสั่งให้ผมเขียนเรื่องการปฏิบัติของตนเองออกเผยแพร่ เพราะอาจมีผู้ที่มีจริตคล้ายๆ กันได้ประโยชน์บ้าง ผมจึงเขียนเรื่องนี้ขึ้น เพื่อสนองคำสั่งครูบาอาจารย์ และเพื่อรำลึกถึงหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ผู้เปี่ยมด้วยอนุสาสนีปาฏิหารย์ รวมทั้งหวังว่าจะเป็นประโยชน์สักเล็กน้อย สำหรับท่านที่กำลังแสวงหาหนทางปฏิบัติอยู่ </DD>

    :cool:

    แนวทางปฏิบัติธรรม ของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ( เรียบเรียงโดย : อุบาสกนิรนาม )


    ๑. คำปรารภ
    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นศิษย์รุ่นแรกสุดของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร ภายหลังจากท่านออกเดินธุดงค์จนสิ้นธุระในส่วนขององค์ท่านแล้ว ท่านได้ไปประจำอยู่ที่วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ตลอดมาจนถึง วันมรณภาพ หลวงปู่เป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และได้แผ่บารมีธรรม อบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หลักปฏิบัติที่ท่านนำมาสั่งสอนนั้น ไม่ใช่หลักธรรมของท่าน หรือของท่านอาจารย์ของท่าน แต่เป็นพระธรรมคำสอน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าประทานไว้นั่นเอง ท่านเพียงแต่เลือกเฟ้นกลั่นกรองนำมาสอน ให้ถูกกับจริตนิสัยของศิษย์แต่ละคนเท่านั้น <O:p></O:p>

    หลวงปู่มีปรกติสอนเรื่องจิต จนบางคนเข้าใจว่า ท่านสอนเฉพาะการดูจิตหรือการพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนาและธัมมานุปัสสนา) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ท่านสอนไว้สารพัดรูปแบบ คือใครดูจิตได้ท่านก็สอนให้ดูจิต แต่หากใครไม่สามารถดูจิตโดยตรงได้ ท่านก็สอนให้พิจารณากาย (กายานุปัสสนา และเวทนานุปัสสนา)เช่น เดียวกับที่ท่านพระอาจารย์มั่นสอน และในความเป็นจริง ศิษย์ฝ่ายบรรพชิตที่พิจารณากายนั้น ดูจะมีมากกว่าผู้พิจารณาจิตโดยตรงเสียอีก <O:p></O:p>
    ๒. เหตุผลที่ท่านเน้นการศึกษาที่จิต <O:p></O:p>
    หลวงปู่พิจารณาเห็นว่ากุศลธรรมทั้งหลายรวมลงได้ในอริยสัจสี่ทั้งนั้น และอริยสัจสี่นั้นสามารถรู้เห็นและเข้าใจได้ด้วยการศึกษาจิตของตนเอง เพราะทุกข์นั้นเกิดมาจากสมุทัยคือตัณหา (ความทะยานอยากของจิต) และความพ้นทุกข์ก็เกิดจากความสิ้นไปของตัณหา แม้แต่มรรคมีองค์แปด ซึ่งย่อลงเป็นศีล สมาธิ และปัญญานั้น ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับจิตทั้งสิ้น กล่าวคือศีลได้แก่ความเป็นปรกติธรรมดาของจิตที่ไม่ถูกสภาวะอันใดครอบงำ สมาธิคือความตั้งมั่นของจิต และปัญญาคือความรอบรู้ของจิต ท่านจึงกล้ากล่าวว่า พระธรรมทั้งปวงนั้น สามารถเรียนรู้ได้ที่จิตของตนเอง ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการดูจิต <O:p></O:p>
    ๓. วิธีดูจิต <O:p></O:p>
    ๓.๑ การเตรียมความพร้อมของจิต พระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร จะสอนตรงกันว่า จิตที่จะเจริญวิปัสสนาได้นั้น ต้องมีสมาธิหรือความสงบตั้งมั่นของจิตเป็นฐานเสียก่อน จิตจะได้ไม่ถูกกิเลสครอบงำ จนเห็นไม่สามารถเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงได้ หลวงปู่ดูลย์ท่านก็สอนในลักษณะเดียวกัน และท่านมักจะให้เจริญพุทธานุสติบริกรรม "พุทโธ" หรือ ควบด้วยการทำอานาปานสติ คือการกำหนดลมหายใจเข้า บริกรรม "พุท" หายใจออกบริกรรม "โธ" <O:p></O:p>
    เคล็ดลับของการทำความสงบ ในเวลาที่จะทำความสงบนั้น ท่านให้ทำความสงบจริงๆ ไม่ต้องคิดถึงเรื่องการเจริญปัญญา และมีเคล็ดลับที่ช่วยให้จิตสงบง่ายคือ ให้รู้คำบริกรรมหรือกำหนดลมหายใจไปเรื่อยๆ ตามสบาย อย่าอยากหรือจงใจจะให้จิตสงบ เพราะธรรมชาติของจิตนั้นจะไปบังคับให้สงบไม่ได้ ยิ่งพยายามให้สงบกลับจะยิ่งฟุ้งซ่านหนักเข้าไปอีก <O:p></O:p>
    เมื่อจิตสงบลงแล้ว จิตจะทิ้งคำบริกรรม ก็ไม่ต้องนึกหาคำบริกรรมอีก แต่ให้รู้อยู่ตรงความรู้สึกที่สงบนั้น จนกว่าจิตจะถอนออกมาสู่ความเป็นปรกติด้วยตัวของมันเอง <O:p></O:p>
    ๓.๒ การแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกจิตรู้ เมื่อจิตรวมสงบทิ้งคำบริกรรมไปแล้ว ท่านให้สังเกตอยู่ที่ความสงบนั้นเอง และสังเกตต่อไปว่า ความสงบนั้นเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น จิตคือตัวผู้รู้ ผู้ดูอยู่นั้น มีอยู่ต่างหาก สรุปก็คือ ท่านสอนให้แยกจิตผู้รู้ออกจากอารมณ์ที่ถูกรู้ <O:p></O:p>
    บางคนไม่สามารถทำความสงบด้วยการบริกรรม หรือด้วยกรรมฐานอื่นใด ก็อาจใช้วิธีอื่นในการแยกผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ได้ ตัวอย่างเช่น <O:p></O:p>
    นึกถึงพุทโธ หรือบทสวดมนต์บทใดก็ได้ที่คุ้นเคย แล้วก็เฝ้ารู้การสวดมนต์ที่แจ้วๆ อยู่ในสมองตนเองไป จากนั้นจึงแยกว่า บทสวดนั้นถูกรู้ ผู้รู้มีอยู่ต่างหาก ตรงจุดนี้มีอุบายยักย้ายอีกหลายอย่าง เช่น อาจจะสังเกตดูความคิดของตนเอง ซึ่งพูดแจ้วๆ อยู่ในสมองก็ได้ แล้วเห็นว่า ความคิดนั้นถูกรู้ จิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก <O:p></O:p>
    หรือตามรู้ความเคลื่อนไหวของร่างกายไปเรื่อยๆ หรือตามรู้ความ รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ ไปเรื่อยๆ หรือ ฯลฯ (สรุปว่า รู้อะไรก็ได้ให้ต่อเนื่อง) และสังเกตเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นแค่สิ่งที่ถูกรู้ จิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก <O:p></O:p>
    หรืออย่างท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ศิษย์อาวุโสอีกรูปหนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ท่านสอนให้ลองกลั้นหายใจดูชั่วขณะ แล้วสังเกตดูความรู้สึกตรงที่นิ่งๆ ว่างๆ นั้น แล้วทำสติรู้อยู่ตรงนั้นเรื่อยๆ ไป เป็นต้น เมื่อแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกรู้ได้แล้ว ก็ให้เจริญสติสัมปชัญญะต่อไป <O:p></O:p>
    ๓.๓ การเจริญสติและสัมปชัญญะ ให้ทำความรู้ตัวอยู่กับจิตผู้รู้ อย่างสบายๆ ไม่เพ่งจ้องหรือควานหา ค้นคว้า พิจารณาเข้าไปที่จิตผู้รู้ เพียงแค่รู้อยู่เฉยๆ เท่านั้น ต่อมาเมื่อมีความคิดนึกปรุงแต่งอื่นๆ เกิดขึ้น ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ชัดเจน เช่น เดิมมีความนิ่งว่างอยู่ ต่อมาเกิดคิดถึงคนๆ หนึ่ง แล้วเกิดความรู้สึกรัก หรือชังขึ้น ก็ให้สังเกตรู้ความรักความชังนั้น และเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น ตัวจิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก ให้รู้ตัวไปเรื่อยๆ สิ่งใดเป็นอารมณ์ปรากฏขึ้นกับจิต ก็ให้มีสติรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏนั้น ในขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่เผลอส่งจิตเข้าไปในอารมณ์นั้น ตรงที่จิตไม่เผลอส่งออกไปนั้นเอง คือความรู้ตัวหรือสัมปชัญญะ <O:p></O:p>
    เรื่องสตินั้นเข้าใจง่าย เพราะหมายถึงตัวที่ไปรู้เท่าอารมณ์ที่กำลังปรากฏ เช่นคนอ่านหนังสือ สติจดจ่ออยู่กับหนังสือ จึงอ่านหนังสือได้รู้เรื่อง คนขับรถสติจดจ่อกับการขับรถก็ทำให้ขับรถได้ ฉะนั้นโดยธรรมชาติแล้ว คนมีสติอยู่เสมอเมื่อจิตรู้อารมณ์ แต่จะเป็นสัมมาสติได้ ก็ต่อเมื่อมีสัมปชัญญะคือ ความรู้ตัวไม่เผลอควบคู่ไปด้วย <O:p></O:p>
    ความรู้ตัวไม่เผลอนั้นเข้าใจยากที่สุด เพราะถามใครเขาก็ว่าเขารู้ตัวทั้งนั้น ทั้งที่ความจริงจิตยังมีความหลง (โมหะ) แฝงอยู่เกือบตลอดเวลา สัมปชัญญะที่ใช้เจริญสติปัฏฐาน จะต้องเป็น "อสัมโมหสัมปชัญญะ" เท่านั้น <O:p></O:p>
    ยกตัวอย่าง เมื่อเราดูละครโทรทัศน์ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ใจรู้ คิดนึกตามเรื่องของละครไป ในขณะนั้นเรามีสติดูโทรทัศน์ แต่ไม่อาจไม่มีสัมปชัญญะ เพราะเราส่งจิตหลงไปทางตา ทางหู และทางใจ เราลืมนึกถึง ตัวเองที่นั่งดูโทรทัศน์อยู่ อันนี้เรียกว่าไม่มีสัมปชัญญะหรือไม่รู้ตัว <O:p></O:p>
    บางคนเดินจงกรม กำหนดรู้ความเคลื่อนไหวของเท้าซ้าย เท้าขวา รู้ความเคลื่อนไหวของกาย อันนั้นมีสติ แต่อาจไม่มีสัมปชัญญะถ้าส่งจิตเผลอไปในเรื่องของเท้าและร่างกาย มัวแต่จดจ่อที่เท้าและร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว จนเหมือนกับลืมตัวเอง เหมือนตัวเองหรือตัวจิตผู้รู้นั้นไม่มีอยู่ในโลกเลยใน ขณะนั้น <O:p></O:p>
    ความรู้ตัวหรือการไม่หลงเผลอส่งจิตออกไปตามอารมณ์ภายนอกนั้นเองคือสัมปชัญญะ วิธีฝึกให้ได้สัมปชัญญะที่ดีที่สุดคือการทำสมถะกรรมฐาน เช่น การบริกรรมพุทโธจนจิตรวมเข้าถึงฐานของมัน แล้วรู้อยู่ตรง ฐานนั้นเรื่อยไป หากมีอารมณ์มาล่อทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็ไม่เผลอ หลงลืมฐานของตน ส่งจิตตามอารมณ์ไปอย่างไม่รู้ตัว <O:p></O:p>
    ๓.๔ ดูจิตแล้วรู้อารมณ์อะไรบ้าง การที่เราเฝ้ารู้จิตผู้รู้ไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ นั้น เราสามารถรู้อารมณ์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้ แล้วแต่ว่า ในขณะนั้นอารมณ์ตัวไหนจะแรงและเด่นชัดที่สุด ดังนั้น เราสามารถเจริญ สติปัฏฐานได้ทั้ง ๔ ประเภท (ในทางตรงข้าม ถ้าแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกรู้ออกจากกันไม่ได้ จะไม่สามารถเจริญสติปัฏฐานทุกประเภทเช่นกัน ที่กล่าวว่าสมถะเป็นฐานของวิปัสสนาก็คือเรื่องตรงนี้เอง คือถ้าขาดสมถะที่ถูกต้อง จิตจะตกเป็นทางอารมณ์ ถ้ามีสมถะที่ถูกต้อง จิตจะมีสัมปชัญญะ รู้ตัว ไม่เป็นทาสของ อารมณ์ จึงเห็นความเกิดดับของอารมณ์ชัดเจนตามความเป็นจริงได้) กล่าวคือ <O:p></O:p>
    ๓.๔.๑ รู้กาย เมื่อมีสัมผัสทางกาย เช่นรู้ลมหายใจเข้า ออก รู้ทางกายว่ามีอากาศเย็นมากระทบกาย กายเกิดอาการหนาวสะท้านขึ้น หรือเมื่อเดินกลางแดดร้อนจัด กายอิดโรยมีเหงื่อไคล สกปรกชุ่มอยู่ หรือเมื่อเดินจงกรมเคลื่อนไหวไปมา ผู้ที่มีจิตผู้รู้ จะเห็นกายสักแต่ว่าเป็นกลุ่มของธาตุมารวมกัน และเคลื่อนไหวไปมาได้เหมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่ง ไม่เห็นว่ากายส่วนใดจะเรียกตัวเองว่ากายเลย หรือเดินจงกรมจนเมื่อยขา ก็ไม่เห็นว่าขาจะบ่นอะไรได้เลย กายกับจิตมันแยกชัดเป็นคนละส่วนกันทีเดียว ผู้ปฏิบัติจะเห็นกายเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนมาก <O:p></O:p>
    ๓.๔.๒ รู้เวทนา บางครั้งในขณะที่รู้จิตผู้รู้อยู่นั้น เรา จะรู้เวทนา ทางกายบ้าง ทางจิตบ้าง แล้วแต่ตัวใดจะเด่นชัดในขณะนั้น เช่นในขณะที่เดินอยู่ เกิดเมื่อยขารุนแรง ถ้าเรามีจิตผู้รู้ เราจะเห็นชัดเลยว่า ความเมื่อยไม่ใช่ขาที่เป็นวัตถุธาตุ แต่เป็นอีกสิ่งหนึ่ง แฝงอยู่ในวัตถุธาตุที่ประกอบกันขึ้นเป็นขา หรืออย่างนั่งอยู่ร้อนๆ มีลมเย็นพัดมา รู้สึกสบาย ความสบายนั้นเป็นความรู้สึกอีกตัวหนึ่ง ที่แทรกเข้ามา โดยที่กายไม่ได้สบายไปด้วย หรืออย่างเราปวดฟัน ถ้าเรามีจิตผู้รู้ จะเห็นชัดว่า ความปวดไม่ใช่ฟัน และไม่ใช่จิตด้วย แต่เป็นอีกสิ่งหนึ่ง (อีกขันธ์หนึ่ง) และความปวดนั้นเปลี่ยนระดับตลอด ไม่ได้ปวดเท่ากันตลอดเวลา อันเป็นการแสดงความเป็นไตรลักษณ์ของเวทนาขันธ์ให้ปรากฏ <O:p></O:p>
    ในส่วนของเวทนาทางจิต ก็เห็นได้ชัดมาก เช่น เวลาปวดฟัน มีเวทนาทางกายแล้ว บางครั้งจิตก็ปรุงแต่งเวทนาทางจิตขึ้นมาด้วย คือเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ใจขึ้นมา หรือในเวลารับประทานอาหารที่ชอบใจ แม้รสยังไม่ทันสัมผัสลิ้น ความสุขทางใจก็เกิดขึ้นก่อนแล้ว อย่างนี้ก็มี <O:p></O:p>
    การรู้เวทนาขณะที่รู้จิตผู้รู้อยู่นั้น จะเห็นเวทนาเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนมาก <O:p></O:p>
    ๓.๔.๓ รู้จิต จิตตานุปัสสนานั้น ไม่ใช่การเห็นจิตผู้รู้ หรือจิตที่แท้จริง แต่เป็นการเห็นจิตสังขาร(ความคิดนึกปรุงแต่ง) ที่กำลังปรากฏ เช่น เห็นชัดว่า ขณะนั้นจิตมีความโกรธเกิดขึ้น มีความใคร่เกิดขึ้น มีความหลงฟุ้งซ่านเกิดขึ้น ความความผ่องใส เบิกบานเกิดขึ้น ฯลฯ แล้วก็จะเห็นอีกว่า ความปรุงแต่งทั้งฝ่ายชั่ว และฝ่ายดี ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มันไม่ใช่จิต มันเป็นแค่อารมณ์ที่ถูกรู้ ทั้งนี้การรู้จิต (สังขาร) ในขณะที่รู้ตัวหรือรู้จิตผู้รู้อยู่นั้น จะเห็นจิตสังขารเป็นไตรลักษณ์อย่างชัดเจนมาก <O:p></O:p>
    ๓.๔.๔ รู้ธรรม ถ้ารู้จิตผู้รู้อยู่นั้น หากสภาวธรรมอันใดปรากฏขึ้น ก็จะเห็นสภาวธรรมนั้นตามที่มันเป็นจริง เช่น ขณะที่รู้ตัวอยู่ จิตคิดถึงคนที่รัก แล้วจิตก็ทะยานออกไปเกาะความคิดนั้น คลุกคลีกับความคิดนั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นชัดว่า จิตเกิดความยึดว่าจิตเป็นตัวตนของตนขึ้นมา เพราะความที่จิตหลงไปยึดอารมณ์นั้นเอง ความเป็นตัวตน ความเป็นกลุ่มก้อน ความหนัก ได้เกิดขึ้นแทนความไม่มีอะไรในตอนแรก และถ้ารู้ทันว่าจิตส่งออกไปนำความทุกข์มาให้ จิตจะปล่อยอารมณ์นั้น กลับมาอยู่กับรู้ ความเป็นกลุ่มก้อน ความหนัก ความแน่น หรือทุกข์ก็จะสลายตัวไปเอง อันนี้คือการเห็นอริยสัจสี่นั่นเอง คือเห็นว่าถ้ามีตัณหาคือความทะยานอยากไปตามอารมณ์ ความเป็นตัวตนและเป็นทุกข์จะเกิดขึ้น ถ้าไม่อยากทุกข์ก็ ไม่เกิด <O:p></O:p>
    การรู้สภาวธรรมในขณะที่รู้ตัว หรือรู้จิตผู้รู้นั้น จะเห็นจิตเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนทีเดียว เช่นเห็นว่า เป็นของบังคับบัญชาไม่ได้ มันส่งออกไปยึดอารมณ์ มันก็ไปเอง ถ้ามันรู้ว่าไปยึดแล้วทุกข์ มันก็ไม่ไปเอง เราจะบังคับว่า จงอย่าไป ไม่ได้เลย <O:p></O:p>
    ตัวอย่างการพิจารณาหรือการดูจิต <O:p></O:p>
    ๑. นาย จ. กำลังซักผ้า ขณะนั้น สัญญาคือความจำภาพของสาวคนรักผุดขึ้นมา จิตของเขาปรุงแต่งราคะคือความรักใคร่ผูกพันขึ้นมา ทั้งที่ไม่ได้เห็นสาวคนรักจริงๆ วิธีดูจิตนั้น ไม่ได้หมายความว่าให้นาย จ. หันมาทำสติว่ามือกำลังขยี้ผ้าอยู่ แต่นาย จ. จะต้องมองเห็นกิเลสที่เกิดขึ้นในใจของตนเอง เมื่อเห็นกิเลสแล้ว ก็ไม่ใช่เกลียดหรืออยากดับกิเลส แต่การเห็นกิเลสด้วยจิตที่เป็นกลาง กิเลสมันจะดับไปเอง เมื่อกิเลสดับไป นาย จ. ก็ต้องรู้ว่ากิเลสดับไป เป็นต้น
    ๒. กรณีเดียวกับตัวอย่างแรก ถ้านาย จ. เกิดราคะเพราะคิดถึงคนรัก บางครั้งกำลังกิเลสที่แรงมากๆ แม้นาย จ. จะรู้ว่ากิเลสเกิดขึ้น แต่ราคะนั้นอาจจะไม่ดับไป มิหนำซ้ำ จิตของนาย จ. ยังเคลื่อนออกจากฐานผู้รู้ เข้าไปเกาะกับภาพคนรัก หรือหลงเข้าไปในความคิดเกี่ยวกับคนรัก ถึงขั้นนี้ก็ให้นาย จ. รู้ว่า จิตเคลื่อนออกไปรวมกับอารมณ์แล้ว ไม่ต้องทำอะไร แค่รู้เฉยๆ เท่านั้น
    ๓. เมื่อจิตของนาย จ. มีราคะ หรือจิตของนาย จ. เคลื่อนเข้าไปรวมกับอารมณ์ นาย จ. อาจจะสงสัยว่า เอ..เราควรต้องพิจารณาอสุภกรรมฐานช่วยจิตหรือไม่ เพื่อให้พ้นอำนาจดึงดูดของราคะ เรื่องอย่างนี้ในกรณีที่ผู้ ปฏิบัติพิจารณากาย อาจจะใช้การพิจารณาอสุภกรรมฐานมาเป็นเครื่องแก้กิเลสก็ได้ แต่นักดูจิตจะไม่ใช้ความคิดเข้าไปช่วยจิต เขาจะทำแค่รู้ทันสภาพจิตของตนอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น เพราะจริงๆ แล้ว จิตจะเปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดเวลา ถ้าตั้งใจสังเกตดู เช่น กำลังราคะจะแรงขึ้นบ้าง อ่อนลงบ้าง ความคิดเกี่ยวกับคนรักจะปรากฏขึ้นบ้าง และดับไปบ้าง การเคลื่อนของจิตก็อาจเคลื่อนถลำเข้าไปในอารมณ์บ้าง แล้วถอยออกมาอยู่กับรู้บ้าง มันแสดงไตรลักษณ์อยู่ ตลอดเวลา
    ๔. เมื่อนาย จ. รู้ทันจิตเรื่อยๆ ไปโดยไม่ได้ใช้ความคิดเข้าไปช่วยจิต นาย จ. ซึ่งเป็นปัญญาชน เคยชินกับการแก้ปัญหาด้วยการคิด อาจเกิดความลังเลสงสัยขึ้นมาว่า เอ..ถ้าเราเฝ้ารู้จิตไปเฉยๆ เราจะเกิดปัญญา ได้อย่างไร เราจะกลายเป็นคนโง่สมองฝ่อหรือเปล่า ก็ให้นาย จ. รู้ว่าความลังเลสงสัยเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องคิดหาคำตอบ แค่เห็นว่าความสงสัยเกิดขึ้นก็พอ ที่สุดมันจะดับไปเองเหมือนอารมณ์ตัวอื่นๆ นั่นเอง
    แท้ที่จริง การที่จิตเป็นกลางรู้อารมณ์นั้น จิตเห็นไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลา และจะเห็นอริยสัจ ๔ ไปในตัวด้วยนั้น เป็นปัญญาขั้นสุดยอดอยู่แล้วที่จะปลดเปลื้องจิตจากความทุกข์ ทั้งนี้ปัญญาอันเกิดจากการใช้ ความคิด (จินตมยปัญญา) ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้เก่าๆ ที่ปัญญาชนอย่างนาย จ. เคยชิน ไม่สามารถนำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้ แต่ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา (ภาวนามยปัญญา) คือการเจริญสติสัมปชัญญะนั้น นำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้ และมันเป็นปัญญาคนละชนิดกัน <O:p></O:p>
    ๕. เมื่อนาย จ. ซักผ้าไปนานๆ แขนของนาย จ. ก็ปวด มือก็ล้า นาย จ. รับรู้ทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น แล้วสังเกตเห็นว่า ความจริงร่างกายของนาย จ.ไม่ได้ปวดเมื่อยเลย แต่ความปวดเมื่อยเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แฝงอยู่ในกาย จิตผู้รู้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง มันสงบสบายอยู่ได้ ในขณะที่ทุกข์ทางกายเกิดขึ้น อันนี้ก็เป็นการเห็นความจริงเกี่ยวกับขันธ์ที่แยกออกจากกันเป็นส่วนๆ เมื่อมองดูแต่ละส่วน ไม่เห็นมีส่วนใดเลยที่เรียกว่า "นาย จ." นี่ก็เป็นสภาพอีกอันหนึ่งที่ผู้ดูจิตจะรู้เห็นได้ไม่ยาก
    ๓.๕ การดูจิตจะพลิกไปมาระหว่างสมถะกับวิปัสสนาได้ การดูจิตก็ดี หรือการพิจารณากายก็ดี จิตสามารถพลิกกลับไปมาระหว่างการเจริญสมถ กรรมฐานและวิปัสนากรรมฐานได้
    ในทางตำราทั่วๆ ไป มักจะแยกสมถะกับวิปัสสนาด้วยอารมณ์กรรมฐาน คือถ้าใครทำกรรมฐาน ๔๐ เช่น อนุสติ ๑๐ ถือว่าทำสมถะ ถ้าเจริญสติปัฏฐานคือรู้กาย เวทนา จิต หรือธรรม ถือว่าเจริญวิปัสสนา และเมื่อพบว่า กรรมฐานบางอย่าง เช่น อานาปานสติ มีอยู่ทั้งในกรรมฐาน ๔๐ และในสติปัฏฐาน ก็อธิบายเลี่ยงไปว่า อานาปานสติเป็นข้อยกเว้น คือเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา
    แต่ในแง่ของนักปฏิบัติแล้วไม่ใช่เช่นนั้น การจำแนกสมถะกับวิปัสสนานั้น สามารถจำแนกด้วยอาการดำเนินของจิตได้ด้วย คือถ้าขณะใด จิตมีสติรู้ อารมณ์อันเดียวโดยต่อเนื่อง อันนั้นเป็นการทำสมถะ และเมื่อทำไปจนจิตจับอารมณ์นั้นเองโดยไม่ต้องบังคับควบคุม หรือไม่ต้องตั้งใจแล้ว จิตเกาะเข้ากับอารมณ์อันเดียว เกิดความสุขความสงบ อันนั้นเป็นฌานอันเป็นผลของการทำสมถะ
    เมื่อใดที่ผู้ปฏิบัติมีสติรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏ ในขณะเดียวกันก็มีสัมปชัญญะคือความรู้ตัว หรืออีกนัยหนึ่ง ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้แยกออกจากกันแล้ว ตามเห็นความเกิดดับของอารมณ์ อันนั้นเป็นการทำวิปัสสนา และเมื่อถึงจุดหนึ่ง จิตจะไม่จงใจรู้อารมณ์และไม่จงใจประคองผู้รู้ แต่สามารถเจริญสติและสัมปชัญญะได้เอง อันนั้นจิตเดินวิปัสสนาเองโดยอัตโนมัติ อันเป็นวิปัสสนาแท้ ที่จิตทำของเขาเอง
    เปรียบเทียบคนที่ทำสมถะ เหมือนคนที่ตกลงในกระแสน้ำ ว่ายอยู่ในน้ำ ย่อมเห็นสิ่งต่างๆ ไม่ชัดเจน ในขณะที่ผู้ทำวิปัสสนา เหมือนคนที่นั่งบนฝั่งน้ำ แล้วมองดูสายน้ำที่ไหลผ่านเฉพาะหน้าไป ย่อมเห็นชัดว่า มีอะไรลอยมากับน้ำบ้าง ทั้งของสะอาดสวยงาม และของสกปรก <O:p></O:p>
    ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นบทเฉลยที่ว่า ทำไมจึงต้องหัดแยกจิตผู้รู้ ออกจากอารมณ์ที่ถูกรู้ ก่อนที่จะดูจิตหรือพิจารณากายอย่างหนึ่งอย่างใด
    ตัวอย่างเช่น หากพิจารณาอัฐิหรือกระดูก โดยให้สมาธิเพ่งรู้รูปร่างของกระดูก ว่าเป็นแท่งยาวๆ กลมๆ อันนั้นเป็นการเพ่ง เป็นกสิณดิน หากเพ่งดูว่า กระดูกมีสีขาว อันนั้นก็เป็นกสิณสี ซึ่งการเพ่งจนจิตสงบเกาะอยู่กับรูปกระดูกก็ดี สีกระดูกก็ดี เป็นการทำสมถะ
    แต่หากรู้กระดูก โดยมีจิตผู้รู้ตั้งมั่นอยู่ต่างหาก แล้วคิดพิจารณาไปในแง่ที่กระดูกเป็นไตรลักษณ์ อันนั้นเป็นการเจริญวิปัสสนาขั้นต้น และในระหว่างที่พิจารณากายอย่างเป็นวิปัสสนานั้น บางครั้งจิตก็เข้าไปจับอยู่กับกาย ส่วนใดส่วนหนึ่งนิ่งพักอยู่เป็นสมถะ แล้วค่อยกลับออกมาพิจารณากายต่อก็มี แต่ถ้าจิตไม่เข้าพักเอง แล้วกลับตะลุยพิจารณากายจนจิตฟุ้งซ่าน ผู้ปฏิบัติจะต้องย้อนกลับไปทำสมถะใหม่ เพื่อให้จิตมีกำลังและแยกตัวออกจากอารมณ์เสียก่อน
    การดูจิตก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง คือถ้าเพ่งความว่างเปล่าของจิต หรือเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งในจิต อันนั้นเป็นสมถะ หากรู้อารมณ์ที่เกิดดับไป โดยจิตผู้รู้อยู่ต่างหาก อันนั้นเป็นการทำวิปัสสนา และตามธรรมดาแล้ว เมื่อผู้ปฏิบัติ ดูจิตอยู่อย่างเป็นวิปัสสนานั้น บางครั้งจิตก็เข้าพักในสมถะด้วยการจับนิ่งเข้ากับอารมณ์อันเดียว
    ผู้ปฏิบัติควรจำแนกได้ว่า ขณะนั้นจิตของตนทำสมถะหรือเดินวิปัสสนา มิฉะนั้น อาจหลงผิดทำสมถะ แล้วคิดว่ากำลังทำวิปัสสนาอยู่ ผู้ปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ขาดญาณทัศนะ ไม่รู้วาระจิตของศิษย์อาจหลงผิดได้ง่ายโดยไม่มีใครแก้ไขให้ เช่น เดินจงกรมกำหนดยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ฯลฯ แล้วจิตไหลลงไปอยู่ในเท้า หรือหลงคิดแต่เรื่องยก ย่าง เหยียบ ไม่มีสัมปชัญญะคือความรู้ตัวของจิต อันนั้นเป็นการทำสมถะอย่างเดียวเท่านั้น
    อันตรายอีกอย่างหนึ่งของการที่แยกไม่ออกระหว่างการทำสมถะกับวิปัสสนาก็คือ การเกิดวิปัสสนูปกิเลส คือในระหว่างที่ทำวิปัสสนาอยู่นั้น บางครั้งจิตพลิกกลับไปสู่ภูมิของสมถะ แล้วเกิดความรู้ความเห็นหรืออาการบางอย่าง ทำให้หลงผิดว่าตนบรรลุธรรมชั้นสูงแล้ว เช่น เกิดอาการที่สติรู้อารมณ์ชัดกริบด้วยจิตที่แข็งกระด้าง (แทนที่จะรู้ด้วยจิตที่อ่อนโยน ว่องไว ควรแก่การทำวิปัสสนา) หรือเกิดความรู้ความเห็นผิด เช่น แยกไม่ออกระหว่างสมมุติสัจจะ กับปรมัตถสัจจะ หลงผิดว่าพระพุทธเจ้าก็ไม่มี พ่อแม่ก็ไม่มี ทุกอย่างว่างเปล่าหมด เป็นการปฏิเสธสมมุติบัญญัติคิดว่ามันไม่มี ทั้งที่สมมุติเขาก็มีของเขาอยู่ แต่มีอย่างเป็นสมมุติ เป็นต้น
    การที่ดูจิตแล้วจิตพลิกกลับไปมาระหว่างสมถะและวิปัสสนาได้นั้น ทำให้ผู้ปฏิบัติบางคน จะได้ฌานโดยอัตโนมัติ ทั้งที่ไม่ต้องหัดเข้าฌาน
    ๓.๖ การปล่อยวางอารมณ์หยาบเข้าถึงความว่าง เมื่อดูจิตชำนาญเข้า อารมณ์ใดกระทบจิต อารมณ์นั้นก็ดับไป เหมือนแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ เริ่มต้นผู้ปฏิบัติจะรู้เห็นแต่อารมณ์หยาบ เช่น โกรธแรงๆ จึงจะดูออก แต่เมื่อปฏิบัติมากเข้า แม้ความขัดใจเล็กน้อย หรือความพอใจเล็กน้อยเกิดขึ้นกับจิต ก็สามารถรู้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ในขณะที่ร้อนๆ มีลมเย็นโชยกระทบผิวกายนิดเดียว จิตก็เกิดยินดีมีราคะขึ้นแล้ว หรือปวดปัสสาวะ พอเริ่มถ่ายปัสสาวะจิตก็ยินดีเสียแล้ว หรือกำลังหิวข้าว พอเห็นเขายกอาหารมาวางต่อหน้า จิตก็ยินดีเสียแล้ว เป็นต้น
    เมื่อรู้อารมณ์ละเอียดแล้ว โอกาสที่อารมณ์หยาบจะเกิดก็ยากขึ้น เพราะอารมณ์หยาบนั้นงอกงามขึ้นไปจากอารมณ์ละเอียดนั่นเอง
    อนึ่ง หลักการที่สำคัญมากในการดูจิตที่ขอย้ำก็คือ ให้รู้อารมณ์เฉยๆ อย่าไปพยายามละอารมณ์นั้นเด็ดขาด จะเดินทางผิดทันที เพราะอารมณ์ทั้งปวงนั้น เป็นตัวขันธ์ เป็นตัวทุกข์ ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่รู้เท่านั้น อย่าอยาก (มีตัณหา) ที่จะไปละมันเข้า จะผิดหลักการเกี่ยวกับกิจของอริยสัจที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ" เพราะยิ่งพยายามละ ก็จะยิ่งหลงผิดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เห็นความโกรธเกิดขึ้นในจิต ท่านให้รู้เฉยๆ บางครั้งผู้ปฏิบัติพยายามหาทางดับความโกรธนั้น แล้วความโกรธก็ดับได้จริงๆ เหมือนกัน นักปฏิบัติจะหลงผิดว่าตนเองเก่ง ดับกิเลสได้ และเห็นว่า จิตเป็นอัตตา กิเลสเป็นอัตตา ทั้งที่ความจริงนั้น กิเลสมันดับเพราะหมดเหตุของมันต่างหาก เช่น เราถูกคนด่า เราใคร่ครวญเก่าอยู่กับเรื่องที่เขาด่า ความโกรธก็เกิดและแรงขึ้นเรื่อยๆ พอเราคิดเรื่องจะดับความโกรธ เราละเหตุของความโกรธเสียแล้วคือไม่ได้คิดเรื่องว่าเขาด่า มัวแต่คิดจะดับความโกรธ ความโกรธหมดเหตุมันก็ดับไปเอง แต่ผู้ปฏิบัติหลงผิดว่า ตนดับความโกรธได้ แล้วเมื่อไปเจอกิเลสอื่น ก็จะวุ่นวายอยู่กับความพยายามจะดับมันอีก เรียกว่าหางานให้จิตทำวุ่นวายอยู่ตลอดเวลา
    การที่ผู้ปฏิบัติรู้อารมณ์เร็วขึ้น ชัดเจนขึ้นตามลำดับนั้น อารมณ์ก็จะยิ่งละเอียดเข้าไปอีกตามลำดับเช่นกัน แต่ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า จิตก็ดี อารมณ์ก็ดี สติสัมปชัญญะหรือสมาธิก็ดี เป็นของที่อยู่ในอำนาจไตรลักษณ์เหมือนกัน ดังนั้น เมื่อจิตละเอียดแล้ว ช่วงหนึ่งมันก็จะหยาบอีก อย่าตกใจเพราะนั่นมันเป็นธรรมดา ให้ตั้งหน้าปฏิบัติไปเรื่อยๆ มันจะกลับดี และดีขึ้นไปตามลำดับ <O:p></O:p>
    เมื่ออารมณ์ละเอียดถึงที่สุด จิตจะปรากฏเหมือนว่า จิตว่างไปหมด ถึงจุดนี้ผู้ปฏิบัติอาจหลงผิดว่าตนสิ้นกิเลสแล้ว ความจริงความว่างนั้นก็คืออารมณ์อีกอันหนึ่ง เพียงแต่ละเอียดถึงที่สุดเท่านั้นเอง <O:p></O:p>
    ทุกวันนี้มีผู้ประกาศเรื่องให้ดำรงชีวิตด้วยจิตว่าง ทั้งที่เขาไม่รู้จักจิตว่างเลย และไม่รู้ว่าจิตว่างนั้นยังหาสาระแก่นสารเอาเป็นที่พึ่งอะไรไม่ได้ เพราะมันก็ยังตกอยู่ใต้อำนาจของไตรลักษณ์นั่นเอง และที่สำคัญก็คือ คนที่คิดเรื่องจิตว่างและพยายามทำให้จิตว่างนั้น จิตยังห่างจากความว่างมากมายนัก เพราะแม้จิตที่มีอารมณ์หยาบก็ยังไม่เข้าใจแม้แต่น้อย
    ๓.๗ การปล่อยวางความว่าง เข้าถึงธรรมที่แท้จริง เมื่อปฏิบัติเข้าถึงขั้นที่ละเอียดเช่นนั้นแล้ว หลักที่จะปฏิบัติต่อไปยังคงเหมือนเดิม คือรู้หรือดูจิตต่อไป ไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องคิดค้นวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำอย่างไรจะปล่อยวางความว่างนั้นได้ เพราะแค่เริ่มคิดนิดเดียว จิตก็จะหลงทางเข้าสู่ความวุ่นวายสับสนอีกแล้ว ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้อย่างเดียวเท่านั้น
    การรู้โดยไม่คิดนั้นเอง คือการเจริญวิปัสสนาที่แท้จริง และละเอียดที่สุด ควรทราบว่าจิตจะหลุดพ้นได้นั้น จิตเขาจะต้องหลุดพ้นเองเพราะเขาเห็นความจริง การคิดใคร่ครวญด้วยสัญญาอารมณ์ มันเป็นเพียงความรู้ขั้นสัญญาของตัวผู้ปฏิบัติ แต่ความรู้จริงของจิตนั้น จิตเขาต้องเรียนรู้เอง ผู้ปฏิบัติเพียงแต่ทำสิ่งที่เอื้อต่อการที่จิตจะเรียนรู้เท่านั้น คืออย่าไปรบกวนจิตให้วุ่นวายขึ้นมาอีก มีสติ มีสัมปชัญญะ รู้แต่ไม่คิดค้นคว้าใดๆ ในที่สุด จิตจะเกิดความเข้าใจขึ้นมาเองว่า จิตว่างนั้นเองไม่ใช่สาระแก่นสาร ตราบใดที่ยังเห็นว่าจิตเป็นตัวเรา หรือเป็นของเราที่จะต้องช่วยให้จิตหลุดพ้น ตราบนั้นตัณหาหรือสมุทัย ก็จะสร้างภพของจิตว่างขึ้นมาร่ำไป
    ขอย้ำว่าในขั้นนี้ จิตจะดำเนินวิปัสสนาเอง ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติจงใจกระทำ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ไม่มีใครเลยที่จงใจหรือตั้งใจบรรลุมรรคผลนิพพานได้ มีแต่จิตเขาปฏิวัติตนเองไปเท่านั้น <O:p></O:p>
    ๓.๘ การรู้ธรรมในขั้นของพระโสดาบัน และการปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตมรรค เมื่อจิตทรงตัวรู้แต่ไม่คิดอะไรนั้น บางครั้งจะมีสิ่งบางสิ่งผุดขึ้นมาสู่ภูมิรู้ของจิต แต่จิตไม่สำคัญมั่นหมายว่านั่นคืออะไร เพียงแต่รู้เฉยๆ ถึงความเกิดดับนั้นเท่านั้น ในขั้นนี้เป็นการเดินวิปัสสนาในขั้นละเอียดที่สุด ถึงจุดหนึ่ง จิตจะก้าวกระโดดต่อไปเอง ซึ่งจะขอไม่กล่าวถึงขั้นตอนอย่างละเอียด เพราะผู้อ่านอาจคิดตามแล้วปรุงแต่งอาการนั้นขึ้นมาได้
    การเข้าสู่มรรคผลนั้น "รู้" มีอยู่ตลอด แต่ไม่คิดและไม่สำคัญ มั่นหมายในสังขารละเอียดที่ผุดขึ้น บางอาจารย์จะสอนผิดๆ ว่า ในเวลาบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือในเวลาเข้าผลสมาบัตินั้น จิตดับความรู้หายเงียบไปเลย โดยเข้าใจผิดในคำว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง" สูญอย่างนั้นเป็นการสูญหาย แบบอุทเฉททิฏฐิ สภาพของมรรคผลนิพพานไม่ได้เป็นเช่นนั้น การที่จิตดับ ความรับรู้นั้น เป็นภพชนิดหนึ่งเรียกว่า "อสัญญี" หรือที่คนโบราณเรียกว่าพรหมลูกฟัก เท่านั้นเอง
    เมื่อจิตถอยออกจากอริยมรรคและอริยผลที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้ปฏิบัติจะรู้ชัดว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นต้องดับไป ธรรมชาติบางอย่างมีอยู่ แต่ก็ไม่มีความเป็นตัวตนสักอณูเดียว นี้เป็นการรู้ธรรมในขั้นของพระโสดาบัน คือไม่เห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้แต่ตัวจิตเองเป็นตัวเรา แต่ความยึดถือในความเป็นเรายังมีอยู่ เพราะขั้นความเห็นกับความยึดนั้นมันคนละขั้นกัน
    เมื่อบรรลุถึงสิ่งที่บัญญัติว่า "พระโสดาบัน" แล้ว ผู้ปฏิบัติยังคงปฏิบัติอย่างเดิมนั้นเอง แต่ตัวจิตผู้รู้จะยิ่งเด่นดวงขึ้นตามลำดับ จนเมื่อบรรลุพระอนาคามีแล้ว จิตผู้รู้จะเด่นดวงเต็มที่ เพราะพ้นจากอำนาจของกาม การที่จิตรู้อยู่กับจิตเช่นนั้น แสดงถึงกำลังสมาธิอันเต็มเปี่ยม เพราะสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสมาธิคือกามได้ถูกล้างออกจากจิตหมดแล้ว ผู้ปฏิบัติในขั้นนี้ หากตายลง จึงไปสู่พรหมโลกชันสุทธาวาสโดยส่วนเดียว ไม่สามารถกลับมาเกิดในภพมนุษย์ได้อีกแล้ว
    นักปฏิบัติจำนวนมากที่ไม่มีครูบาอาจารย์ชี้แนะ จะคิดว่าเมื่อถึงขั้นที่จิตผู้รู้หมดจดผ่องใสแล้วนั้น ไม่มีทางไปต่อแล้ว แต่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล กลับสอนต่อไปอีกว่า "พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต" <O:p></O:p>
    จุดนี้ไม่ใช่การเล่นสำนวนโวหารที่จะนำมาพูดกันเล่นๆ ได้ ความจริง ก็คือการสอนว่า ยังจะต้องปล่อยวางความยึดมั่นจิตอีกชั้นหนึ่ง มันละเอียดเสียจนผู้ที่ไม่ละเอียดพอ ไม่รู้ว่ามีอะไรจะต้องปล่อยวางอีก เพราะความจริงตัวจิตผู้รู้นั้น ยังเป็นของที่อยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์ บางครั้งยังมีอาการหมองลงนิดๆ พอให้สังเกตเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของมัน แต่ผู้ปฏิบัติที่ได้รับการอบรมเรื่องจิตมาดีแล้ว จะเห็นความยึดมั่นนั้น แล้วไม่ต้องทำอะไรเลย แค่รู้ทันเท่านั้น จิตจะประคองตัวอยู่ที่รู้ ไม่คิดค้นคว้าอะไร มันเงียบสนิทจริงๆ ถึงจุด หนึ่ง จิตจะปล่อยวางความยึดถือจิต จิตจะเป็นอิสระเปิดโล่งไปหมด ไม่กลับเข้าเกาะเกี่ยวกับอารมณ์ใดๆ ที่จะพาไปก่อเกิดได้อีก
    ๔. บทสรุปคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล <O:p></O:p>
    ๔.๑ ธรรมเรียนรู้ได้ที่จิต <O:p></O:p>
    ๔.๒ ให้บริกรรมเพื่อรวมอารมณ์ให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้ บริกรรม "พุทโธ" <O:p></O:p>
    ๔.๓ ทำความเข้าใจในอารมณ์ความคิดนึก สังเกตกิเลสที่กำลัง ปรากฏให้ออก <O:p></O:p>
    ๔.๔ อย่าส่งจิตออกนอก อย่าให้จิตคิดส่งไปภายนอก (เผลอ) ให้สังเกตความหวั่นไหวหรือปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์ที่รับ เข้ามาทางอายตนะทั้ง ๖<O:p></O:p>
    ๔.๕ จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป คือรู้ทันพฤติของจิต <O:p></O:p>
    ๔.๖ รู้ เพราะคิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิดถึงจะรู้ แต่ก็ต้องอาศัยคิด คืออย่าไปห้ามความคิด <O:p></O:p>
    ๔.๗ แยกรูปถอด (ความปรุงแต่ง) ก็ถึงความว่าง แยกความว่าง ถึงมหาสุญตา <O:p></O:p>
    ๔.๘ สรุปอริยสัจแห่งจิต <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    จิตส่งออกนอก เป็นสมุทัย<O:p</O:p
    ผลอันเปิดจากจิตส่งออกนอก เป็นทุกข์<O:p</O:p
    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค<O:p</O:p
    ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ

    :cool:

     
  5. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    ขออนุโมทนาในธรรมทานครับ...[b-wai] สาธุ...สาธุ...สาธุ...
    จะนำไปปฏิบัติครับ...
     
  6. jupitero

    jupitero สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +3
    ชอบหลวงพ่อปราโมทย์(อุบาสกนิรนาม)ครับ ตรงดี ถูกทาง ก็เลยไม่ต้องอ้อมไม่ต้องทุกข์นาน
     
  7. bankamo

    bankamo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2005
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +86
    ขออนุโมทนด้วยครับ ท่านเจ้าของกระทู้รวมทั้งคุณ อุบาสกนิรนาม ที่ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผมมาก
     
  8. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    727
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,503
    ดูจิต : ดูอะไร

    โดย อุบาสกนิรนาม

    วันนี้เป็นวันครบรอบ 18 ปี ที่ผมได้ไปศึกษาธรรมกับ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    ตลอด 18 ปีมานี้ ไม่มีวันใดเลย ที่ผมไม่ได้ทำตามคำสอนของท่าน และไม่มีวันใดเลย ที่จะไม่ระลึกถึงท่านด้วยความเคารพนอบน้อม โอวาทธรรมที่ท่านสอนให้คราวนั้นก็คือ อริยสัจจ์แห่งจิต
    ความว่า
    จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากจิตส่งออกนอก เป็นทุกข์
    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ
    ทุกวันนี้ มีผู้ปฏิบัติธรรมตามแนวทางที่ท่านสอนกว้างขวางมากขึ้นตามลำดับ หลายคนที่เพียงเริ่มปฏิบัติไม่นานก็ได้พบว่า ชีวิตจิตใจของตนได้พบความสงบสุข อันเนื่องมาจากความรู้เท่าทันกิเลสตัณหา
    ผู้ไม่เคยมีศีล ก็มีศีลโดยอัตโนมัติ ผู้ไม่เคยมีสมาธิ ก็มีสมาธิโดยอัตโนมัติ
    ผู้ไม่มีปัญญา ก็มีปัญญาประจักษ์ถึงความเกิดดับของอารมณ์ทั้งปวง ต่อหน้าต่อตา ล้วนเป็นพยานยืนยันในคำสอนของท่าน ที่หนักแน่นมั่นคงยิ่งกว่าคำโฆษณาใดๆ
    ************************************
    เมื่อกล่าวถึงการดูจิตแล้ว นักดูจิตน้องใหม่มักจะสงสัยและถามกันมากว่า
    การดูจิตนั้น แท้ที่จริงคือการดูอะไร เพราะจิตนั่นแหละเป็นผู้รู้ จะใช้ผู้รู้ ูไปดูผู้รู้ ได้อย่างไรกัน กระทั่งผู้ฝึกหัดปฏิบัติไปบ้างแล้ว หากยังไม่ "เข้าใจ" (คือรู้ด้วยจิตด้วยใจตนเอง ไม่ใช่รู้ด้วยสมองหรือสัญญาความจำ) บางครั้งก็ยังอาจสับสนขึ้นเป็นคราวๆ ได้ว่า ที่ตนดูอยู่นั้น ถูกต้องแล้วหรือยัง ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมา เพื่อช่วยทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดูจิตให้ชัดเจนขึ้น
    โดยมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่บรรดาน้องใหม่ทั้งหลาย ส่วนรุ่นพี่ที่แก่วัด(หมายถึงชำนาญการวัดจิตใจตนเอง) แล้ว ถือว่าเป็นของอ่านเล่นก็แล้วกันครับ
    ***********************************
    สรุปย่อเกี่ยวกับขั้นตอนของการดูจิต
    สิ่งที่เราต้องรู้ ต้องดู ในระหว่างการปฏิบัติธรรม ประกอบด้วย
    1. อารมณ์(ของจิต) 2. อาการ(ของจิต) และ 3. จิต
    เริ่มต้นด้วยการรู้ อารมณ์ ที่กำลังปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
    อารมณ์นั้น ได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย และธัมมารมณ์หรืออารมณ์ทางใจ เมื่อรู้อารมณ์แล้ว จะเห็นชัดเจนว่า อารมณ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป และเมื่ออารมณ์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป นั้น
    จิตจะมี อาการ หรือมีปฏิกิริยาต่อการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของอารมณ์อยู่เสมอ เป็นความยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง เป็น "กลาง" บ้าง เมื่อยินดี จิตก็ทะยานออกไปยึดถือเป็นเจ้าของอารมณ์นั้นๆ เมื่อยินร้าย จิตก็ทะยานออกไปปฏิเสธอารมณ์นั้นๆ เมื่อเป็น "กลาง" จิตก็ยังหลงอยู่ในความเป็นเราของจิต
    ผู้ปฏิบัติต้องรู้ทันอาการของจิตตามความเป็นจริง ซึ่งอาการเหล่านี้ ล้วนแต่เป็น อารมณ์ทางใจ ที่เกิดต่อเนื่องจากการรู้อารมณ์ในเบื้องต้นนั่นเอง เมื่อรู้ความยินดียินร้ายด้วยจิตที่เป็นกลางแล้ว ความยินดียินร้ายจะดับไป เหมือนกับอารมณ์อื่นๆ นั่นเอง กระทั่งความเป็น "กลาง" จอมปลอม ก็จะถูกทำลายไป
    จิตก็จะเข้าถึงธรรมชาติรู้ที่เป็นกลาง ก็ให้ผู้ปฏิบัติ รู้อยู่ที่ จิต หรือธรรมชาติรู้ที่เป็นกลางนั่นเอง ถัดจากนั้นก็ไม่ต้องทำอะไรให้วุ่นวายอีก ให้จิตรู้อารมณ์ด้วยความเป็นกลางไปตามธรรมชาติธรรมดา โดยไม่หลงใหล หรือหลง "ไหล" ไปตามมายาของกิเลส คือไม่ส่งออกนอก แล้วจิตก็จะเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งไปตามลำดับ อย่างอื่น ก็จะรู้เองเป็นเองโดยไม่ต้องถามใคร น้องใหม่ทั้งหลาย อ่านเท่านี้ก็พอครับ ข้อเขียนต่อจากนี้ จะเป็นการขยายความ ซึ่งไม่จำเป็นอะไรนัก ถ้าอ่านแล้วคิดมาก อาจจะยุ่งยากใจก็ได้ แต่ถ้าจะอ่านเล่นๆ ก็ไม่ห้ามกันครับ
    ***********************************
    บทขยายความ
    1. อารมณ์ของจิต
    คำว่าอารมณ์ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึงสิ่งที่ถูกรู้ได้ เช่นเมื่อตามองไปเห็นแมว รูปแมวก็เป็นอารมณ์ที่ปรากฏทางตา เมื่อได้ยินเสียงเพลง เสียงเพลงก็เป็นอารมณ์ที่ปรากฏทางหู เมื่อเราคิดนึกปรุงแต่งทั้งดี ชั่ว และเป็นกลาง
    ความคิดนึกปรุงแต่งเหล่านั้นก็เป็นอารมณ์ที่ปรากฏทางใจ เป็นต้น นักปฏิบัติในขั้นเบื้องต้นนั้น ให้รู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏเสียก่อน ถ้าเป็นผู้ที่จิตใจยังไม่เคยสงบเลย ก็ให้เอาสติกำหนดรู้อารมณ์อันใดอันหนึ่ง หรือทางทวารอันใดอันหนึ่ง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ รู้อย่างสบายๆ ให้ต่อเนื่องไว้ เช่นเดินจงกรม ก็จับความรู้สึกที่เท้ากระทบพื้นเรื่อยไป นั่งกำหนดลมหายใจ ก็จับความรู้สึกที่ลมกระทบจมูก หรือจุดใดจุดหนึ่งตั้งแต่ปลายจมูก จนถึงท้อง ขอให้สนใจที่จะจับความรู้สึกที่เท้ากระทบพื้น หรือลมกระทบกายไว้ ไม่ใช่เอาสติจับเข้าไปที่เท้า หรือที่ตัวลมหายใจ เพราะการจับความรู้สึกนั้น ง่ายที่จะพัฒนาไปสู่การดูจิตที่ละเอียดยิ่งขึ้นต่อไป เนื่องจากจิต เป็นเรื่องของความรู้สึก ไม่ใช่รูปธรรม
    ส่วนการใช้สติจับเข้าไปในวัตถุเช่นเท้าและลม ง่ายที่จิตจะน้อมไปสู่ความสงบในแบบสมถกรรมฐาน โดยเพ่งแช่จมอยู่กับเท้า หรือลมหายใจนั้น บางคนถามว่า ถ้าไม่กำหนดให้รู้การกระทบทางทวารหนึ่งทวารใด แต่ปล่อยให้สติตามรู้การกระทบในทุกๆ ทวาร แล้วแต่ว่าขณะใด ความรู้สึกทางทวารใดจะเด่นชัดที่สุด จะได้หรือไม่ ขอเรียนว่า ถ้าทำไหวก็ได้ แต่ถ้าเป็นมือใหม่ที่ยังไม่ชำนาญ ก็เห็นจะทำยากสักหน่อย เปรียบเหมือนนักมวย เวลาเขาฝึกซ้อม เขาก็ฝึกซ้อมไปทีละอย่างก่อน เช่นวิ่งออกกำลังกาย กระโดดเชือก แล้วซ้อมเต้น ซ้อมเตะ ซ้อมต่อยไปทีละท่า พอชำนิชำนาญแล้วจึงซ้อมชกจริงๆ แล้วขึ้นเวทีต่อไป การวิ่งออกกำลังกาย เปรียบเหมือนการทำสมถกรรมฐาน อันเป็นกำลังพื้นฐานเพื่อใช้งานต่อไป นักปฏิบัติจึงไม่ควรละเลยเสียทีเดียว ควรจะมีเวลาเข้าหาความสงบจิตใจบ้าง โดยทำกรรมฐานใดๆ ก็ได้ ที่ทำแล้วสงบง่าย การซ้อมเต้น ซ้อมต่อย ซ้อมเตะ ซ้อมศอก ซ้อมเข่า เหล่านี้ เปรียบเหมือนการฝึกซ้อม รู้ความรู้สึกทางทวารใดทวารหนึ่ง ที่ง่ายที่สุดก็คือทวารกาย เช่นเท้ากระทบพื้น ลมกระทบจมูก เป็นต้น เมื่อมีความพร้อมพอแล้ว เวลาลงสนามจริง จะได้ไม่ถูกกิเลสไล่ถลุงเอาเป็นไก่ตาแตก ไม่ว่าอารมณ์จะเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็สามารถจับความรู้สึกที่ส่งเข้ามากระทบจิตได้ทันท่วงที
    การฝึกหัดปฏิบัติเข้มเป็นบางเวลา กับการลงสนามปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
    จึงมีส่วนเกื้อกูลกันดังที่กล่าวมานี้ แต่ถ้าใครเห็นว่าจิตของตนแข็งแรงพอแล้ว ไม่ต้องการทำสมถะ และสติสัมปชัญญะว่องไวดีแล้ว ไม่คิดจะเข้าค่ายซ้อม
    จู่ๆ จะลองโดดลงสนาม ไปปฏิบัติเอาในชีวิตประจำวันเลย ก็ได้ ถ้าชกชนะกิเลส ก็จะมีกำลังเข้มแข็งขึ้น โดยเริ่มชนะกิเลสระดับปลายแถวก่อน แล้วค่อยเขยิบขึ้นไปต่อกรกับกิเลสที่ละเอียดแนบเนียนต่อไปตามลำดับ แต่ส่วนมาก ผู้ที่ละเลยการทำความสงบ และการฟิตซ้อมที่ดี มีโอกาสจะถูกกิเลสชกเอาเสียมากกว่า
    เพราะกิเลสนั้น เป็นมวยระดับแช้มป์โลก จะเข้าต่อกรด้วยมวยวัด ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดายนัก เมื่อเราหัดจับความรู้สึก เช่นความรู้สึกตอนที่เท้ากระทบพื้น หรือลมหายใจกระทบปลายจมูก ไปมากพอแล้ว ความรู้สึกจะรวมเข้ามาที่กลางอกเองโดยอัตโนมัติ พอเท้ากระทบพื้น ก็จะเห็นความไหวของอารมณ์ขึ้นที่กลางอก
    กระพริบตาวิบเดียว ก็จะเห็นความไหวเข้ามาที่กลางอก ทำนองเดียวกับเวลาเราตกใจ จะมีความรู้สึกวูบเข้ามาที่กลางอกนั่นเอง คนไทยโบราณ ท่านเข้าใจธรรมชาติของจิตไม่ใช่น้อยทีเดียว ท่านจึงมีศัพท์บัญญัติเกี่ยวกับความรู้สึกในอกอยู่มาก เช่นอิ่มอกอิ่มใจ ร้อนอกร้อนใจ เสียอกเสียใจ คับอกคับใจ เสียวแปลบในหัวอก วูบในหัวอก เสียใจจนอกจะแตกตาย สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ ฯลฯ ความรู้สึกที่ผุดขึ้นที่กลางอกนี้ ขอให้มันเกิดขึ้นเอง เพราะการรู้อารมณ์
    แล้วจับความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการรู้อารมณ์นั้นได้ จนกระทั่งยกระดับขึ้นมารวมลงในอก เราไม่ควรใจร้อน เพ่งใส่อก เพราะจะกลายเป็นการเพ่งวัตถุธาตุที่ประกอบขึ้นเป็นอก ไม่ใช่จับความรู้สึกที่ปรากฏขึ้นในอก อย่างไรก็ตาม ถ้ารู้สึกว่ามีความไหวอยู่ที่อื่น นอกจากอก ก็ไม่ต้องตกใจ มันจะไหวอยู่ที่ใด เช่นเวลาโกรธ แล้วไปรู้สึกวูบที่สมอง ก็ไม่เป็นไร อย่าไปกังวลกับที่ตั้งมากนัก ปล่อยให้มันเป็นไปเองตามธรรมดา จะดีที่สุดครับ แล้วเวลาเกิดกิเลส เช่นความสงสัย หรือความโกรธ คอยเฝ้ารู้มันไว้ มันดับลงตรงไหน ก็รู้อยู่ที่ตรงนั้นเอง ไม่ต้องเที่ยวไปหาจุดที่ตั้งอื่นใดให้วุ่นวายใจ อนึ่ง บางคนอาจจะสงสัยว่า ความรู้สึกต่างๆ ที่แสดงออกมาในอกนี้ อาจจะเป็นเพียงอาการทางกายเท่านั้น เรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นปัญหาหลัก ที่จะต้องอภิปรายถกเถียงกันในที่นี้ เพราะเราเพียงต้องการอาศัยรู้ความรู้สึกที่กำลังปรากฏเท่านั้น เพื่อที่จะก้าวต่อไปให้ถึงจิต ทำนองเดียวกับการตกปลา จะใช้เหยื่อจริง หรือเหยื่อปลอมก็ไม่มีปัญหา ขอให้จับปลา คือจิต ได้ก็แล้วกัน ความรู้สึกต่างๆ ในอกนี้ ก็กลายเป็นอารมณ์ คือเป็นสิ่งที่ถูกรู้เช่นกัน
    **********************************
    สิ่งที่ผมกล่าวมาแล้วนั้น เป็นการจับความรู้สึก เมื่อจิตไปรู้อารมณ์เข้า
    ยังมีวิธีปฏิบัติที่รวบลัด และจะขอยกตัวอย่างอีกแบบหนึ่ง คือเมื่อเราทำความสงบพอสมควรแล้ว ให้น้อมจิตเข้าไประลึกรู้อารมณ์ทางใจโดยตรง ไม่ต้องผ่านการรู้อารมณ์ทางกาย เช่นเท้ากระทบพื้น หรือลมกระทบจมูก วิธีนี้จะง่าย หากเรารู้ถึงกิเลสที่กำลังปรากฏชัดๆ สักตัวหนึ่ง เช่นหากกำลังสงสัย ให้รู้เข้าไปที่ความรู้สึกสงสัยโดยตรงทีเดียว เอาความสงสัยนั่นแหละ มาเป็นอารมณ์ให้จิตรู้
    เมื่อรู้ชำนิชำนาญเข้า ความรู้สึกก็จะรวมลงในอกอีกเช่นกัน
    สรุปแล้ว การปฏิบัติในขั้นต้นของการดูจิต ขอให้เรารู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏเสียก่อน เช่นความรู้สึกที่เท้าสัมผัสพื้น ลมหายใจสัมผัสจมูก
    หรือเวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ทั้งหลาย หรือสัญญาคือความจำได้หมายรู้ที่ผุดขึ้นมา หรือจิตสังขาร คือความคิดนึกปรุงแต่งทั้งฝ่ายดี ฝ่ายชั่ว และเป็นกลางๆ แรกๆ อาจจะรู้การกระทบทางกายก่อนก็ได้ แต่เมื่อทำไปแล้ว จะพบว่าการกระทบทางกายนั้น จะส่งผลสะเทือนเข้าไปถึงใจ ไม่ได้หยุดอยู่เพียงกายแต่อย่างใด
    *************************************************
    2. อาการของจิต
    ทุกคราวที่มีอารมณ์มากระทบตา หู จมูก ลิ้น และกาย แล้วส่งทอดความรู้สึกเข้าถึงใจ หรือบางคราว แม้ไม่มีการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย
    หากสัญญาผุดขึ้นทางใจ ความคิดนึกปรุงแต่งทางใจก็เกิดขึ้น ซึ่งผู้ปฏิบัติสามารถรู้ได้ชัดเหมือนตาเห็นรูปทีเดียว เมื่ออารมณ์เข้าสัมผัสใจแล้ว จิตจะมีปฏิกิริยาอาการขึ้นมาเป็นการตอบสนองต่อสิ่งที่มากระทบ นักดูจิตที่ชำนาญ จะรู้ทันปฏิกิริยา หรืออาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้น ปฏิกิริยามีอยู่ 3 รูปแบบเท่านั้น คือเกิดความยินดีต่ออารมณ์นั้น เกิดความยินร้ายต่ออารมณ์นั้น หรือเกิดความรู้สึกเป็นกลางวางเฉยต่ออารมณ์นั้น ขอให้ผู้ปฏิบัติ รู้อารมณ์และปฏิกิริยาของจิต ถ้ารู้ได้ แต่ถ้ายังรู้ไม่ได้ ก็ขอให้รู้อารมณ์อย่างเดียวไปก่อน บรรดาความยินดี ยินร้ายนั้น เมื่อจิตไปรู้เข้าแล้ว จะเห็นมันมีสภาพเป็นไตรลักษณ์เช่นเดียวกับอารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6 นั่นเอง ถ้ารู้ด้วยความเป็นกลางจริงๆ ไม่ช้ามันก็จะดับไป จิตจะเข้าถึงความเป็นกลาง คราวนี้ ก็ให้ผู้ปฏิบัติรู้ความรู้สึกที่เป็นกลางนั้นต่อไป
    *****************************************************
    3. จิต
    เมื่อปฏิบัติชำนิชำนาญเข้าจะพบว่า ความเป็นกลางก็ยังมีหลายแบบ
    ความรู้สึกเป็นกลางแบบเฉยๆ ก็มี ความเป็นกลางของจิตในขณะที่จิตเบิกบานและเป็นตัวของตัวเองก็มี แบบแรกนั้นจิตถูกอารมณ์ละเอียดห่อหุ้มไว้ แต่ยังมองไม่ออก ส่วนแบบหลัง จิตพ้นการห่อหุ้มแล้ว จิตชนิดหลังนี้ บางทีครูบาอาจารย์เรียกว่า จิตหนึ่ง บ้าง จิตเดิมแท้ บ้าง ใจ บ้าง อันนั้นก็เป็นเพียงคำสมมุติเรียกขาน ถ้าปฏิบัติจนเข้าถึงความเป็นกลางอย่างหลังนี้ ความทุกข์จะก่อตัวขึ้นไม่ได้ เพราะจิตพ้นความปรุงแต่งของสังขารแล้ว ซึ่งอาจเป็นการพ้นชั่วขณะ หรือพ้นถาวรก็ได้ แล้วแต่คุณธรรมที่เข้าถึง
    <HR>
    "เมื่อรู้ความยินดียินร้ายด้วยจิตที่เป็นกลางแล้ว ความยินดียินร้ายจะดับไป เหมือนกับอารมณ์อื่นๆ นั่นเอง กระทั่งความเป็น "กลาง" จอมปลอม ก็จะถูกทำลายไป จิตก็จะเข้าถึงธรรมชาติรู้ที่เป็นกลาง ก็ให้ผู้ปฏิบัติ รู้อยู่ที่ จิต หรือธรรมชาติรู้ที่เป็นกลางนั่นเอง" จุดที่สงสัยคือ ความเป็นกลางจอมปลอม เป็นอย่างไร ในเวลาที่ดูจิตนั้น บางคราวจะเห็นความยินดี หรือความยินร้าย แต่บางคราว ที่อารมณ์ไม่รุนแรงเร้าใจนัก จะเห็นว่าจิตเป็นกลางวางเฉย หรือไม่ปรากฏกิเลสตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาให้เห็น ในจุดนั้นผู้ปฏิบัติจำนวนมากจะรู้สึกว่าจิตของตนว่าง และเป็นกลางแล้ว แท้จริงยังไม่ว่าง ยังไม่เป็นกลางจริง และยังไม่พ้นจากตัณหา มันเพียงแต่มีอารมณ์เฉยๆ แต่เรามองไม่เห็น ไม่ได้เฉลียวใจ จึงคิดว่าไม่มีอะไร เหมือนอย่างเรามองไปข้างหน้าเรานี้ แม้ไม่มีอะไรเลย ก็ยังมีอากาศอยู่ แต่มองไม่เห็น ผู้ปฏิบัติที่จิตเข้ามาถึงความว่าง และเป็นกลางๆ ชนิดนี้ หากยินดี พอใจ หรือคิดว่าไม่มีอะไรแล้ว ย่อมไม่สามารถเจริญในธรรมต่อไปได้ แต่หากเฉลียวใจสักนิดหนึ่งว่า จิตที่ว่างและเป็นกลางนั้น ยังเป็นภพอีกอันหนึ่ง จึงจะสามารถปล่อยวาง แล้วเข้าถึงความเป็นกลาง คือ ใจ ได้ จิตที่ปล่อยวางจริงๆ หรือเป็นกลางจริงๆ นั้น เป็นจิตที่อิสระและเบิกบาน เหมือนอยู่ในอีกระนาบหนึ่ง และไม่เข้ามายึดเกาะในก้อนขันธ์นี้เลย


    [b-wai] ​
     
  9. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,673
    อนุโมทนาค่ะ

    เพิ่งเข้ามาอ่านเจอ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลย

    ขอบคุณมากค่ะ
     
  10. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    727
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,503
    การระลึกรู้ทำอย่างไร

    [​IMG]

    การระลึกรู้ทำอย่างไร
    ๖.๑ มนุษย์โดยทั่วไปสามารถระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ได้อยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่นในขณะนี้ยืน หรือเดิน หรือนั่ง หรือนอนก็ทราบได้ ในขณะนี้มีความสุข หรือความทุกข์ หรือเฉยๆ ก็ทราบได้ ในขณะนี้มีความรัก โลภ โกรธ หลง สงสัย ฟุ้งซ่าน หดหู่ เกียจคร้าน ศรัทธา วิริยะ หรือมีความสงบ ฯลฯ ก็ทราบได้ แต่ มนุษย์ละเลยที่จะเฝ้ารู้อารมณ์เหล่านั้น รวมทั้งนึกไม่ถึงด้วยว่าการเจริญสติที่แท้จริง ก็คือการใช้จิตใจที่เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เองไปรู้อารมณ์ แต่มักเกิดความเข้าใจผิดว่า การเจริญสติหรือการระลึกรู้นั้น เป็นสภาพอะไรอย่างหนึ่งที่พิเศษเหนือธรรมดา ดังนั้นแทนที่จะใช้จิตใจธรรมดาไปรู้อารมณ์ พวกเรากลับพยายามสร้าง "รู้" แบบผิดธรรมดาขึ้นมาแทน
    ๖.๒ การบ่งชี้สภาวะว่า การมีสติ หรือการมี รู้ ที่ถูกต้องเป็นอย่างไรนั้น เป็นเรื่องยากมาก เพราะเพียงแต่เราเติมความคิดเห็นของเราลงไปว่ามันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เราก็จะเริ่มเข้าใจผิดทันที แต่หากเรามาพูดกันถึงสภาวะของการรู้ที่ไม่ถูกต้องเสียก่อน (ซึ่งล้วนแต่เกิดจากตัณหาหรือความอยาก และทิฏฐิหรือความเห็นผิดทั้งหลาย) เราก็จะเข้าใจถึงสภาวะรู้ที่ถูกต้องได้ไม่ยากนัก สภาวะผิดพลาดที่สำคัญได้แก่
    ๖.๒.๑ รู้ ไม่ใช่ไม่รู้ (เผลอ/ลืมตัว)
    ๖.๒.๑.๑ สภาวะรู้ เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับสภาวะไม่รู้ อันได้แก่ความเหม่อ ความเผลอความลืมตัว ความใจลอย หรือความฝันกลางวัน นั่นเอง เป็นสภาวะของการปล่อยจิตใจให้หลงเพลิดเพลินไปตามอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย แม้กระทั่งเพลินไปในโลกของความคิดฝันและจินตนาการของตนเอง ตัวอย่างเช่นเมื่อตามองเห็นรูปบางอย่างแล้วเกิดจำได้ว่านั่นเป็นรูปผู้หญิงสวย/ผู้ชายหล่อ ก็มัวหลงเพลินมองตามอย่างลืมเนื้อลืมตัว หรือเมื่อนั่งอยู่คนเดียว ก็ใจลอยคิดฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ชัดว่าคิดอะไร เป็นต้น
    ๖.๒.๑.๒ สภาวะที่เรียกว่าเผลอหรือลืมตัวนี้ เป็นสภาวะที่เราลืมร่างกายของตนเองเหมือนกับว่ามันหายไปจากโลก รวมทั้งลืมจิตใจของตนเอง คือในขณะนั้นจิตใจจะมีสุขหรือทุกข์ จะดีหรือชั่วอย่างไรก็ไม่สามารถจะรู้ได้ กล่าวได้ว่าในเวลาที่เราเผลอหรือขาดสตินั้น เราไม่สามารถรู้กาย เวทนา จิต และธรรมได้นั่นเอง
    ๖.๒.๑.๓ ขณะใดที่เราเผลอ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังเผลออยู่ ขณะนั้นความเผลอจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังเผลอ ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว
    ๖.๒.๒ รู้ ไม่ใช่คิด
    ๖.๒.๒.๑ สภาวะรู้ ไม่เหมือนกับสภาวะคิด ในขณะที่คิดนั้น เรารู้เรื่องที่กำลังคิดเป็นอย่างดี แต่เราลืมตัวเองคล้ายกับเวลาที่เผลอนั่นเอง การรู้เป็นการเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ตามที่มันเป็นจริง ในขณะที่การคิด เป็นการคาดว่าความจริงมันน่าจะเป็นอย่างไร (แต่ทั้งนี้หากมีกิจจำเป็นต้องคิด เช่นต้องคิดเพื่อการเรียนหรือการทำงาน เราก็ต้องคิดไปตามหน้าที่ของตน)
    ๖.๒.๒.๒ นักปฏิบัติจำนวนมากไม่เข้าใจการเจริญสติ โดยมีความสำคัญผิดว่าการคิดหรือการตรึกตรองเรื่องกายและใจตนเอง ว่า "เป็นอสุภะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" เป็นการทำวิปัสสนา แท้จริงการเจริญสติหรือการเจริญวิปัสสนาจะต้องรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ไม่ใช่การคิดถึงสภาวธรรมนั้นๆ เพราะความคิดของปุถุชนย่อมปนเปื้อนด้วยอคติเสมอๆ หรือคิดอยู่ในจุดยืนของความเห็นผิดหรือมิจฉาทิฏฐิชนิดต่างๆ เช่นคิดว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยงแต่จิตนี้เที่ยง พอร่างกายนี้ตายลงจิตก็ออกจากร่างไปเกิดใหม่ หรือคิดว่าตัวเรามีอยู่ แต่พอตายลงก็สูญไปเลย เป็นต้น
    การคิดพิจารณาไม่ใช่วิปัสสนา ดังที่หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ซึ่งเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์องค์หนึ่งของผู้เขียน (ท่านเป็นศิษย์อาวุโสของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) สอนไว้ว่า "การคิดพิจารณากายว่าเป็นอสุภะก็เพื่อแก้นิวรณ์ (เป็นสมถะ) การคิดพิจารณาความตาย (มรณสติ) และการคิดพิจารณากายว่าเป็นธาตุเป็นขันธ์ ก็เพื่อแก้อาการของจิตบางอย่าง (เป็นสมถะ) เช่นกัน ต่อเมื่อใดปฏิบัติจนถึงจิตถึงใจตนเอง จึงได้แก่นสารของการปฏิบัติธรรม"
    ๖.๒.๒.๓ ขณะใดที่เราคิด แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังตั้งอกตั้งใจคิดอยู่ ขณะนั้นความคิดจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังคิด ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว
    ๖.๒.๓ รู้ ไม่ใช่การตั้งท่าปฏิบัติ
    ๖.๒.๓.๑ รู้ไม่มีการตั้งท่าก่อนจะรู้ แต่นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อย เมื่อคิดจะปฏิบัติธรรมก็ต้องรีบตั้งท่าปฏิบัติเพราะไปแปลความหมายของ "การปฏิบัติ" ว่าเป็น "การกระทำ" ทั้งที่การรู้นั้น ไม่ต้องทำอะไรมากกว่าการรู้เข้าไปตรงๆ ตามธรรมชาติธรรมดา เช่นเดียวกับเมื่อเราต้องการดูภาพตรงหน้า เราก็ทำแค่ลืมตาขึ้นดูเท่านั้น หรือเมื่อถูกยุงกัด เราก็แค่รู้ว่าคันเท่านั้น สภาวะรู้ที่เป็นธรรมชาตินั้นเรามีอยู่แล้ว แต่เพราะไม่เข้าใจหลักการเจริญสติ เราจึงตั้งท่าปฏิบัติ เหมือนนักวิ่ง ๑๐๐ เมตรที่กำลังเข้าเส้นสตาร์ท คือเกร็งทั้งกายและจิตใจ แทนที่จะรู้อารมณ์ไปอย่างสบายๆ ตามธรรมชาติธรรมดา
    ๖.๒.๓.๒ เมื่อคิดปฏิบัติธรรม นักปฏิบัติมักบังคับใจตนเอง และเริ่มสร้างพฤติกรรมของจิตบางอย่าง เช่นการใช้สติจ้องมองดูจอภาพในใจของตน แล้วเที่ยวควานหา (scan) อยู่ในจอภาพนั้น เพื่อหาอะไรสักอย่างเอามาดู หรือการส่งจิตออกไปนิ่งอยู่ข้างหน้า แล้วคอยดูสิ่งที่กำลังปรากฏขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นความผิดพลาดอย่างยิ่ง เพราะเป็นการปฏิบัติไปด้วยตัณหาคือความอยากจะปฏิบัติธรรม และทิฏฐิคือความเห็นผิดว่าการปฏิบัติธรรมจะต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อให้ "เรา" รู้ธรรม
    ๖.๒.๓.๓ เมื่อคิดปฏิบัติธรรม นักปฏิบัติบางท่านที่นิยมใช้รูปหรือกายเป็นอารมณ์กรรมฐาน มักเริ่มด้วยการแทรกแซงพฤติกรรมตามธรรมชาติของกาย เช่นเมื่อคิดจะรู้ลมหายใจก็เข้าไปควบคุมจังหวะการหายใจ เมื่อคิดจะรู้ความเคลื่อนไหวของร่างกายก็ไปกำหนดจังหวะการเคลื่อนไหวของมือ เท้า และท้องบ้าง การกระทำเหล่านี้ไม่ผิด ถ้าเป็นการทำสมถะหรือต้องการใช้กายเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติก่อนพัฒนาไปสู่การรู้ที่แท้จริง แต่ถ้าจงใจก่อพฤติกรรมทางกายโดยคิดว่านั่นคือการเจริญสติ และรู้ไม่ทันตัณหาและทิฏฐิที่กำลังครอบงำจิตจนก่อพฤติกรรมดังกล่าวขึ้นมา นั่นก็เป็นความผิดพลาดที่ร้ายแรงมากอีกประการหนึ่ง
    ๖.๒.๓.๔ ความจริงแล้วถ้าเราจะเจริญสติหรือ รู้ อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด เราไม่จำเป็นต้องตั้งท่าอะไรเลย ไม่ว่าทางจิตหรือทางกาย เช่นเมื่อตาเห็นรูปก็รู้รูป(สี)นั้น หากจิตเกิดปฏิกิริยายินดียินร้ายต่อรูปก็รู้ทันอีก หรือขณะนี้อยู่ในอิริยาบถใดก็รู้ไปเลย เช่นเมื่อยืนอยู่ก็รู้ว่ายืนอยู่ ยืนแล้วเมื่อยอยากเปลี่ยนอิริยาบถก็รู้ทันความอยากของตนเอง รู้ทันแล้วจะเปลี่ยนอิริยาบถเพราะมันจำเป็นก็ได้ หรือจะไม่เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อดูความจริงของทุกขเวทนาไปก่อนก็ได้ หรือนั่งอยู่เฉยๆ เกิดความคิดแล้วจิตเป็นกุศลหรืออกุศลอย่างใดก็รู้ไปเลยก็ได้ เป็นต้น
    ๖.๒.๓.๕ อย่างไรก็ตาม หากนักปฏิบัติคนใดไม่สามารถรู้ปัจจุบันอารมณ์ไปตามธรรมชาติธรรมดาได้ก็ไม่ต้องตกใจ ในเบื้องต้นจะตั้งท่าปฏิบัติเสียก่อนก็ได้ เช่นถ้าจิตฟุ้งซ่านนักก็ทำความสงบเข้ามาก่อน แต่ต้องระวังอย่าให้เคลิ้มลืมตัว และอย่าให้เครียดขึ้นได้ ให้รู้อารมณ์อันใดอันหนึ่งไปอย่างสบายๆ จะเป็นอารมณ์อะไรก็ได้ แม้กระทั่งการรู้คำบริกรรมก็ได้ เมื่อจิตใจสงบสบายแล้วจึงค่อยระลึกรู้ความเปลี่ยนแปลงของจิตใจไปตามธรรมชาติธรรมดาอีกชั้นหนึ่ง หรืออาจจะเริ่มจากการรู้ท้องพองยุบ รู้การเดินจงกรม รู้การเคลื่อนไหวมือเป็นจังหวะ ฯลฯ รวมความแล้วในเบื้องต้นจะทำกรรมฐานใดก็ได้ แล้วจึงค่อยพัฒนาไปสู่การรู้แบบไม่ตั้งท่า หรือไม่จงใจต่อไป
    ๖.๒.๓.๖ ขณะใดที่เราตั้งท่าปฏิบัติ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังตั้งท่า ขณะนั้นการตั้งท่าจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังตั้งท่า ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว
    ๖.๒.๔ รู้ ไม่ใช่กำหนดรู้
    ๖.๒.๔.๑ รู้ไม่ใช่การกำหนดรู้ หรือการตรึกพิจารณาถึงอารมณ์ว่าเป็นรูปนาม แต่เป็นการระลึกรู้ (มนสิการ) ปัจจุบันอารมณ์ไปตามธรรมชาติธรรมดา นักปฏิบัติจำนวนมากคิดว่า รู้คือการกำหนดรู้ เพราะมักได้ยินคำพูดเกี่ยวกับการกำหนดรู้รูปนาม หรือการกำหนดรู้ปัจจุบันอารมณ์ จึงคิดว่า การรู้ต้องมีการกระทำ คือการกำหนด หรือการพิจารณาด้วย ดังนั้นพอรู้อารมณ์แล้วจึงรีบบริกรรมต่อท้ายการรู้ทันที เช่นยกหนอ ย่างหนอ โกรธหนอ เสียงหนอ ฯลฯ นี่คือการบริกรรมไม่ใช่การรู้ (เบื้องต้นอาจจำเป็นสำหรับบางท่านที่ต้องบริกรรมก่อน แต่พึงทราบว่าจะหยุดการปฏิบัติอยู่เพียงขั้นการตามบริกรรมไม่ได้ เพราะยังไม่ใช่วิปัสสนา) หรือบางท่านนิยมการพิจารณากำกับซ้ำลงไปอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่การรู้เช่นกัน เช่นเมื่อตาเห็นรูปตามธรรมชาติแล้ว ก็จงใจพิจารณารูปซ้ำลงไปอีก ว่า "รูปนี้เป็นเพียงสี ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ฯลฯ" หรือพิจารณาว่า "สีเป็นรูป รู้เป็นนาม" อันเป็นการกระทำด้วยความจงใจกำหนด และเป็นการกระทำตามหลังการรู้อารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน จึงยังไม่ใช่การรู้ที่บริสุทธิ์ตามธรรมชาติธรรมดา
    ๖.๒.๔.๒ ขณะใดที่เรากำหนดรู้ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังจงใจกำหนดรู้ ขณะนั้นการกำหนดรู้จะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังกำหนดรู้ ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว
    ๖.๒.๕ รู้ ไม่ใช่เพ่ง
    ๖.๒.๕.๑ รู้ไม่ใช่การเพ่ง แต่นักปฏิบัติจำนวนมากชอบเพ่ง แม้แต่คนที่ไม่ชอบทำสมถะเพราะอยากเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว ก็มักเพ่งโดยไม่รู้ทันจิตใจของตนเอง แท้จริงการเพ่งเป็นสภาวะที่สืบเนื่องมาจากการจงใจและการตั้งท่าปฏิบัติ คือพอคิดถึงการปฏิบัติก็จงใจปฏิบัติ แล้วเกิดการตั้งท่าปฏิบัติ มีอาการสำรวมกายใจเข้ามาให้มั่นคง ถัดจากนั้นจึงเพ่งหรือจดจ้องอย่างเอาเป็นเอาตายต่ออารมณ์ทั้งหลาย เป็นผลให้ลืมตัว และบางคนจิตใจด้านชา ไม่สามารถเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่ออารมณ์ตามที่ควรจะเป็น หรือบางคนพอรู้กิเลสใดก็เพ่งใส่ พอกิเลสนั้นดับไป (เพราะเหตุของมันดับ) ก็เกิดความสำคัญผิดว่า เราสามารถดับกิเลสได้ทุกครั้ง หรือบางคนพอรู้อารมณ์แล้ว ก็หลงเพ่งจ้องเอาสติตามจี้อารมณ์ที่เคลื่อนหนีลึกเข้าไปภายใน นี่ก็เป็นการเพ่งเหมือนกัน แต่เป็นการตามเพ่งความปรุงแต่งที่เคลื่อนไหวได้ในจิตใจตนเอง อนึ่งการเพ่งนี้ถ้าไม่จงใจรุนแรงเกินไป ก็ทำให้จิตสงบเป็นการทำสมถะหรือสมาธิได้เช่นกัน แต่ไม่ใช่สัมมาสมาธิซึ่งจำเป็นสำหรับการทำวิปัสสนา
    ๖.๒.๕.๒ วิธีทำความรู้จักกับการเพ่งไม่ยากเลย ลองยกนิ้วหัวแม่มือของตนเองขึ้นมา แล้วเพ่งจ้องให้จิตใจจดจ่ออยู่ที่นิ้วนั้นอย่างเดียว เพียงไม่นานจะรู้สึกว่า เราเห็นแต่นิ้วหัวแม่มือเท่านั้น เพราะจิตจดจ่ออยู่ที่จุดเดียวนั้นด้วยความจงใจอันเกิดจากโลภะ ในขณะนั้นเห็นแต่นิ้ว กายจะเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ เวทนาคือความรู้สึกจะสุขหรือทุกข์ก็ไม่ทราบ จิตจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ไม่ทราบ จิตเคลื่อนไปอยู่ที่หัวแม่มือก็ไม่ทราบ รวมความแล้วจะทราบได้เฉพาะหัวแม่มือ แต่ไม่ทราบ กาย เวทนา จิต ธรรม ขอให้ผู้ปฏิบัติจำสภาวะของการเพ่งไว้ให้ดี เวลาที่เจริญสติรู้อารมณ์ที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ก็ให้สังเกตรู้ทันใจตนเอง อย่าให้หลงไปเพ่งจ้องรูปหรือนามนั้นเหมือนที่จ้องหัวแม่มือตนเอง มิฉะนั้นจะเป็นการหลงทำสมถะ ทั้งที่คิดว่ากำลังทำวิปัสสนาคือรู้รูปนามอยู่
    ๖.๒.๕.๓ ขณะใดที่เราเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังเพ่งอยู่ ขณะนั้นการเพ่งจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังเพ่ง ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว
    ๖.๒.๖ รู้ ไม่ใช่น้อม
    ๖.๒.๖.๑ รู้ไม่ใช่การน้อม เพราะอาการน้อมก็เป็นอีกอาการหนึ่งที่นักปฏิบัติจำนวนมากชอบทำกัน มันเป็นการเสแสร้งแกล้งทำขึ้นมาเมื่อคิดว่าจะปฏิบัติธรรมเช่นเดียวกับการเพ่ง เพียงแต่การเพ่งมุ่งจะรู้อารมณ์อันเดียวให้ชัดและพยายามตรึงอารมณ์นั้นไว้ ส่วนการน้อมเป็นการหลีกหนีอารมณ์เข้าหาความสงบสุขเคลิบเคลิ้มลืมเนื้อลืมตัว เพราะต้องการให้จิตสงบ กลายเป็นการปฏิบัติด้วยโลภะ จนจิตเกิดราคะเพลิดเพลินในความสงบสุข หรือเกิดความซึมเซาคือถีนมิทธะขึ้น วันใดซึมได้ที่หรือเคลิ้มได้ที่ก็สำคัญผิดว่าวันนั้นปฏิบัติดี วันใดปฏิบัติแล้วไม่ซึมหรือเคลิ้มก็เสียใจว่าวันนั้นปฏิบัติได้ไม่ดี การน้อมจิตนี้นักปฏิบัติบางท่านจะมีอุปกรณ์ช่วยคือการเปิดเทปธรรมะคลอไปด้วยระหว่างนั่งสมาธิ จะช่วยน้อมจิตให้ซึมได้ที่คือครึ่งหลับครึ่งตื่นได้โดยเร็ว
    ๖.๒.๖.๒ ขณะใดที่เราน้อมจิตเข้าหาความสงบ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังน้อมจิตอยู่ ขณะนั้นการน้อมจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังน้อม ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว
    ๖.๒.๗ รู้ ไม่ใช่จงใจรู้อะไร
    ๖.๒.๗.๑ รู้ไม่ใช่จงใจจะรู้อะไร ดังนั้นถ้านักปฏิบัติคนใดถามว่า ที่สอนให้รู้นั้น ควรจะรู้อะไร หรือควรจะรู้ตัวทั่วพร้อมคือรู้ทั้งตัวตั้งแต่ปลายผมถึงพื้นเท้า ผู้ที่ยังสงสัยเช่นนี้แสดงว่ายังไม่รู้จักการรู้ที่แท้จริง เพราะการรู้แท้จริงนั้น ไม่มีความจงใจว่าจะเลือกรู้สิ่งหนึ่งแล้วไม่รับรู้สิ่งอื่นๆ เนื่องจากความจงใจเหล่านั้นเป็นไปเพราะตัณหาและทิฏฐิล้วนๆ
    ๖.๒.๗.๒ การรู้คือสภาพที่จิตตื่นขึ้นจากโลกของความคิดความฝัน ทั้งนี้คนส่วนใหญ่จะตื่นเฉพาะร่างกายแต่ใจยังหลับฝันอย่างที่เรียกว่าฝันกลางวัน ภาวะรู้คือภาวะที่จิตตื่นจากความฝัน จิตมีความตื่นตัวพร้อมที่จะรับรู้อารมณ์ทั้งปวงที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อรู้อารมณ์แล้ว ก็พร้อมที่จะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่ออารมณ์นั้นตามธรรมชาติ และยิ่งกว่านั้นก็คือ สามารถรู้เท่าทันปฏิกิริยาตอบสนองเหล่านั้นได้เป็นอย่างดีด้วย รู้ชนิดนี้ไม่มีความจงใจว่าจะต้องรู้อารมณ์ใด แต่อารมณ์ใดปรากฏทางทวารใดก็รู้อารมณ์นั้นอย่างถูกต้อง เป็นปัจจุบัน โดยไม่หลงไปกับอารมณ์นั้น นี่แหละคือความรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่ใช่รู้ตัวทั้งตัวเพราะนั่นเป็นความจงใจเพ่งความรู้สึกไปจับที่กายทั้งกาย
    ๖.๒.๗.๓ ขณะใดที่เราจงใจ แล้วเกิดรู้ตัวว่ากำลังจงใจอยู่ ขณะนั้นความจงใจจะดับไป และจะเกิดสภาวะของความรู้ตัวขึ้นมาแทนที่ทันที ดังนั้นเพียงแค่รู้ว่ากำลังจงใจ ก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว
    ๖.๓ สรุปแล้ว ขณะใดพยายามจะรู้ หรือแสวงหาการรู้ที่ถูกต้อง (แม้กระทั่งการพยายามรักษารู้ให้ต่อเนื่อง ดูข้อ ๖.๖) ขณะนั้นเราจะพลาดไปสู่ความหลงผิดทันที เพราะการกระทำใดๆ ที่เกินจากการรู้ตามปกติ อันเป็นการกระทำด้วยอำนาจของตัณหาและทิฏฐินั่นแหละ เป็นเครื่องปิดกั้นความสามารถในการระลึกรู้อารมณ์ซึ่งมีอยู่แล้วเอาไว้อย่างสนิทที่สุด ดังนั้นไม่ควรพยายามทำให้ถูก ขณะใดรู้ว่ารู้ผิด ขณะนั้นจะเกิดการรู้ที่ถูกต้องโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว แต่มีนักปฏิบัติจำนวนมากทีเดียวที่แม้จะได้ฟังคำสอนเกี่ยวกับการเจริญสติหรือการระลึกรู้ แต่ก็ยังปฏิเสธที่จะระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมชาติ เพราะมีความคิดเอาเองว่า ตนเองยังมีบุญวาสนาน้อยขอทำบุญทำทานไปก่อน หรืออินทรีย์ตัวนั้นตัวนี้ยังอ่อนเกินไป หรือยังไม่สมดุลกันจะต้องพัฒนาอินทรีย์ก่อน เช่นจะต้องเพิ่มปัญญาให้สมดุลกับศรัทธา เพิ่มสมาธิให้สมดุลกับวิริยะ ทั้งนี้เพราะไม่ทราบว่า หากเจริญสติหรือรู้ได้แล้ว นั่นแหละจะทำให้อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้ายิ่งขึ้นและสมดุลกันด้วย
    ๖.๔ สภาวะรู้ที่ถูกต้องจะเกิดได้ง่าย ด้วยการเกื้อกูลของสติและสัมมาสมาธิ กล่าวคือ
    ๖.๔.๑ หากจิตสามารถจดจำสภาวธรรมต่างๆ ได้แม่นยำ เช่นจำสภาวะของความรัก โลภ โกรธ หลง ปีติ สุข ฯลฯ ได้แม่นยำ เมื่อสภาวะเหล่านั้นปรากฏขึ้นก็จะเกิดสติรู้เท่าทันอย่างรวดเร็วเพราะเคยรู้เคยประจักษ์ชัดอยู่ก่อนแล้ว ส่วนสภาวธรรมใดไม่รู้จักคุ้นเคย ก็ต้องใช้เวลาเรียนรู้ไปช่วงหนึ่งก่อน จนจดจำสภาวะนั้นได้แม่นยำแล้ว จึงเกิดสติรู้ได้ง่าย
    ๖.๔.๒ หากจิตมีสัมมาสมาธิ จะช่วยให้สภาวะรู้ถูกต้องง่ายขึ้น จิตที่มีสัมมาสมาธิคือจิตมีลักษณะตั้งมั่นทรงตัวไม่หวั่นไหวเลื่อนไหลไปตามอารมณ์ที่ปรากฏทางทวารทั้ง ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) มีความสงบระงับคือไม่ฟูหรือแฟบไปตามอารมณ์ มีความเบาสบายแต่ไม่ใช่เบาหวิวเหมือนจะลอยไปในอากาศ มีความอ่อนโยนนุ่มนวลไม่แข็งกระด้างแกร่งเกร็ง มีความพร้อมและความว่องไวที่จะรับรู้อารมณ์ไม่ถูกกดข่มให้นิ่งเฉยซึมทื่อหรือเคลิบเคลิ้มติดสุขเหมือนคนติดยาเสพติด และมีความซื่อตรงต่อหน้าที่การรู้อารมณ์ไม่เข้าไปแทรกแซงอารมณ์เหมือนผู้พิพากษาที่ทำงานโดยไม่ลำเอียงเข้าข้างโจทก์หรือจำเลย
    จิตที่มีสัมมาสมาธิสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ยาก หากเข้าใจธรรมชาติที่ว่า จิตปกติธรรมดาที่ไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ หรือนัยหนึ่งจิตที่มีศีลนั่นแหละคือจิตที่มีสัมมาสมาธิอยู่ในตัวเอง อย่างไรก็ตามหากจิตของผู้ใดยังไม่มีสัมมาสมาธิจริงๆ ก็สามารถฝึกฝนอบรมได้ โดยในเบื้องต้นให้ตั้งใจรักษาศีลภายนอกเสียก่อน คือรักษาศีล ๕ และศีล ๘ เป็นต้น จากนั้นจึงฝึกฝนจิตให้มีศีลภายในด้วยการฝึกสมาธิ อันได้แก่การมีสติระลึกรู้อารมณ์อันเดียวโดยต่อเนื่อง อารมณ์นั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่ไม่ยั่วกิเลส เช่น การกำหนดลมหายใจ การกำหนดจังหวะเดินจงกรม การกำหนดจังหวะเคลื่อนไหวมือ การกำหนดความเคลื่อนไหวของท้อง และการกำหนดคำบริกรรม เป็นต้น ให้จงใจกำหนดรู้อารมณ์นั้นอย่างสบายๆ อย่าเคร่งเครียดหรือตั้งใจมากนัก ถึงตรงนี้จิตมีทางแยกที่จะดำเนินไปได้ ๒ ทางคือ
    ๖.๔.๒.๑ หากโมหะหรือโลภะเข้าแทรก จิตจะเกิดความอ่อนแอน้อมเข้าหาความสงบสบาย เกิดความเคลิบเคลิ้มบ้าง เกิดนิมิตต่างๆ บ้าง นี้เป็นทางของมิจฉาสมาธิ
    ๖.๔.๒.๒ หากในขณะที่กำหนดรู้อารมณ์อยู่นั้น ผู้ปฏิบัติมีสติตื่นตัวอยู่เสมอๆ ถ้าจิตขาดสติทิ้งอารมณ์กรรมฐานเผลอไปคิดเรื่องอื่นก็รู้ทัน หากจิตเกิดการเพ่งอารมณ์ก็รู้ทัน หากจิตสักว่ารู้อารมณ์ก็รู้ทัน ทั้งนี้ ธรรมชาติจิตของบุคคลทั่วไปมักฟุ้งซ่านหลงไปตามอารมณ์นั้นบ้าง อารมณ์นี้บ้าง โดยไม่รู้เท่าทัน จึงต้องหัดรู้อารมณ์อันเดียวก่อน พอจิตเคลื่อนจากอารมณ์นั้นก็ให้คอยรู้ทัน ด้วยวิธีนี้เอง ในเวลาไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะเริ่มรู้ทันจิตใจที่ส่งส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆ พอรู้ทัน จิตก็หยุดการส่งส่ายแล้วตั้งมั่นอยู่โดยไม่ได้บังคับ ถัดจากนั้นเมื่อมีอารมณ์ใดปรากฏ จิตก็จะรู้ทันโดยสักว่ารู้ คือไม่เข้าไปแทรกแซงหรือหลงและไหลตามอารมณ์นั้นไป
    หากจะกล่าวว่าอาการกำหนดรู้(ด้วยตัณหาและทิฏฐิ) เป็นเครื่องมือของการทำสมถะ ส่วนอาการระลึกรู้หรือรู้ทัน (อย่างสักว่ารู้) เป็นเครื่องมือของการทำวิปัสสนา ก็กล่าวได้
    ๖.๕ หากจะจำแนกสภาวะรู้ออกให้แจ่มชัดก็สามารถกล่าวได้ว่า รู้ คือการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง กล่าวคือ
    ๖.๕.๑ จิตรู้เป็นจิตที่ตั้งมั่น เป็นตัวของตัวเองไม่ถูกความยินดียินร้ายต่ออารมณ์ใดๆ ครอบงำ นั่นคือจิตที่มีสัมมาสมาธิ
    ๖.๕.๒ จิตรู้เป็นจิตที่ว่องไวควรแก่การงาน คือเมื่ออารมณ์กระทบทางทวารใด สัมมาสติจะระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงทันที
    ๖.๕.๓ จิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิจะเป็นจิตที่รู้ตัว ซึ่งความรู้ตัวนั้นเป็นตัวสัมมาทิฏฐิหรือสัมปชัญญะ (ชนิดที่เรียกว่าอสัมโมหสัมปชัญญะ) แต่ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น จิตจะเลื่อนไหลตามอารมณ์ ถูกอารมณ์ครอบงำและไม่รู้ตัว เมื่อไม่รู้ตัวก็ไม่สามารถรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงได้แจ่มชัด ไม่เห็นความเกิดดับของรูปนาม และไม่เห็นอริยสัจจ์ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา
    ๖.๕.๔ จิตที่มีสติ สมาธิ ปัญญาอบรมอยู่ ย่อมมีความคิดที่ถูกต้องหรือสัมมาสังกัปปะ และส่งผลให้สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะบริบูรณ์ด้วย
    ๖.๕.๕ การพากเพียรเจริญสติอยู่นั้น ย่อมเป็นการคุ้มครองอินทรีย์อันเป็นการปิดกั้นบาปอกุศลทั้งปวง และเป็นการทำให้กุศลธรรมทั้งหลายเจริญขึ้น นี้คือสัมมาวายามะ
    ๖.๖ ในเมื่อการรู้คือการเจริญอริยมรรค ดังนั้นเราควรทราบว่า กิจต่อการรู้หรือการเจริญอริยมรรคได้แก่การทำให้เจริญ หรือทำให้เกิดบ่อยๆ คือให้มีสติบ่อยที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าให้มีสติยาวนานที่สุดเป็นนาที เป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน เพราะสติเองเป็นเจตสิกธรรมที่เกิดดับไปทีละขณะพร้อมกับจิต ดังนั้นเราจะทำสิ่งที่ไม่เที่ยงให้เที่ยงอยู่นานๆ ไม่ได้ แต่ทำให้เกิดบ่อยๆ ได้ เหตุใกล้ที่ทำให้สติเกิดบ่อยก็คือการสามารถจดจำสภาวะของธรรมะต่างๆ ได้มากและแม่นยำ (ต้องจำตัวสภาวะได้ ไม่ใช่จำชื่อและลักษณะตามตำราได้เท่านั้น) เมื่อสภาวธรรมอันใดเกิดขึ้น สติจึงสามารถระลึกรู้เท่าทันได้อย่างรวดเร็ว จนรู้ได้บ่อยแบบถี่ยิบ แล้วอกุศลก็จะมีโอกาสเกิดน้อยลงตามลำดับ จนหมดโอกาสเกิดในที่สุด
    ๖.๗ ในข้อ ๖.๒ ได้กล่าวถึงสภาวะที่ไม่ใช่รู้ไปแล้ว ในข้อนี้จะได้กล่าวถึง องค์ธรรมของจิตที่เป็นจิตรู้ อันเป็นเครื่องช่วยตรวจสอบได้อีกชั้นหนึ่งว่า การรู้ในขณะนี้ถูกต้องแล้วหรือไม่ องค์ธรรมดังกล่าว เช่น
    ๖.๗.๑ จิตรู้ได้แก่จิตที่เป็น มหากุศลจิต ชนิดที่ประกอบด้วยปัญญา (ญาณสัมปยุตต์) และเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องชักชวนหรือหาทางทำให้เกิดขึ้น (อสังขาริก) ดังนั้น
    ๖.๗.๑.๑ ขณะใดจิตมีอกุศล ขณะนั้นยังไม่มีจิตรู้ที่ถูกต้องสมบูรณ์
    ๖.๗.๑.๒ ขณะใดจิตมุ่งใช้กำลังมากกว่าปัญญา เช่นออกแรงดิ้นรนหาทางละทุกข์หรืออกุศล หรืออยากรักษาสุขหรือกุศล ขณะนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง
    ๖.๗.๑.๓ ขณะใดมีความพยายามอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะทำให้จิตรู้เกิดขึ้น ขณะนั้นพลาดจากรู้เสียแล้ว เพราะจิตรู้นั้น ยิ่งอยากยิ่งไม่ได้ ยิ่งแสวงหายิ่งไม่เจอ
    ๖.๗.๒ จิตรู้เป็นเพียงจิตที่มนสิการ คือกระทำอารมณ์ไว้ในใจ หรือทำใจให้รู้อารมณ์เท่านั้น ไม่ใช่เผลอ คิด ตั้งท่า กำหนด เพ่ง ฯลฯ (ดูข้อ ๖.๒) สภาวะของมนสิการนั้นเป็นการรู้ที่ ไร้น้ำหนัก บางเฉียบ และเงียบกริบ ไม่มีความจงใจหรือเจตนาจะรู้ด้วยอำนาจของตัณหาและทิฏฐิใดๆ ทั้งสิ้น
    ๖.๗.๓ จิตรู้ต้องประกอบด้วยโสภณสาธารณเจตสิก หรือสภาวธรรมที่เกิดร่วมกับจิตที่ดีงาม องค์ธรรมที่นำมาสังเกตจิตได้ง่ายได้แก่
    ๖.๗.๓.๑ อโลภะ คือจิตในขณะนั้นไม่มีความอยาก ความโลภ หรือความกระหาย แม้แต่ในการแสวงหาธรรม ถ้าขณะใดจิตเกิดความอยากปฏิบัติ จงใจปฏิบัติ หรือพอใจในความสุขและกุศล ขณะนั้นมีโลภะ จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง
    ๖.๗.๓.๒ อโทสะ คือจิตในขณะนั้นไม่ความขุ่นข้องขัดใจในอารมณ์ใดๆ ถ้าขณะใดจิตเกลียดทุกข์หรืออกุศล พยายามละทุกข์หรืออกุศล ขณะนั้นมีโทสะ จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง
    ๖.๗.๓.๓ ความเป็นกลางในอารมณ์ (ตัตรมัชฌัตตตา) คือจิตปราศจากความยินดียินร้าย ไม่มีอคติต่ออารมณ์คือไม่พยายามรักษาอารมณ์บางอย่าง หรือพยายามละอารมณ์บางอย่าง ถ้าขณะใดจิตหลงยินดียินร้าย หรือกวัดแกว่งไปตามความยินดียินร้ายต่ออารมณ์ ขณะนั้นจิตไม่เป็นกลาง จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง
    ๖.๗.๓.๔ ความสงบระงับ (ปัสสัทธิ) คือเมื่อจิตรู้อารมณ์ใดก็รู้ด้วยความสงบระงับ ไม่แส่ส่ายดิ้นรนไปตามอารมณ์นั้นๆ แม้ตัวอารมณ์ที่เป็นความรู้สึกต่างๆ เมื่อถูกรู้แล้วก็สงบระงับเพราะไม่ถูกเติมเชื้อให้ฟุ้งซ่านหรือดิ้นรนมากขึ้น หากจิตรู้อารมณ์แล้วเกิดความแส่ส่ายต่างๆ จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง
    ๖.๗.๓.๕ ความเบา (ลหุตา) คือจิตรู้จะเบาสบาย ไม่มีน้ำหนักใดๆ เกิดขึ้นเพราะการรู้อารมณ์แม้แต่น้อย ขณะใดปฏิบัติแล้วเกิดความหนักหรือมีน้ำหนักขึ้นในใจแม้แต่เพียงนิดเดียว (ทั้งนี้รวมถึงน้ำหนักที่ติดลบคือความรู้สึกเบาหวิวผิดธรรมชาติทั้งหลายด้วย) แสดงว่าพลาดจากรู้เสียแล้ว จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง
    ๖.๗.๓.๖ ความอ่อนโยนนุ่มนวล (มุทุตา) คือจิตรู้จะเป็นจิตที่อ่อนโยนนุ่มนวล ไม่แข็ง ไม่กระด้าง ถ้าปฏิบัติแล้วเกิดความรู้สึกแข็งกระด้าง แสดงว่าพลาดจากรู้เสียแล้ว จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง
    ๖.๗.๓.๗ ความควรแก่การงาน (กัมมัญญตา) คือจิตรู้เป็นจิตที่พร้อมสำหรับการเจริญวิปัสสนา ไม่ถูกเจือปนครอบงำด้วยนิวรณ์ใดๆ (แต่ถ้านิวรณ์เกิดขึ้นก็สามารถรู้ชัดและเอานิวรณ์นั่นแหละมาเป็นทุกขสัจจ์ที่ถูกรู้ คือมีนิวรณ์ รู้นิวรณ์ แต่นิวรณ์ไม่ครอบงำจิต แบบนี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน) แต่หากจิตถูกครอบงำด้วยนิวรณ์ จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง
    ๖.๗.๓.๘ ความคล่องแคล่ว (ปาคุญญตา) คือจิตรู้จะมีสติปราดเปรียวคล่องแคล่ว ขณะใดรู้สึกเฉื่อยเนือย ซึมเซา เกียจคร้าน แสดงว่าพลาดจากรู้เสียแล้ว จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง
    ๖.๗.๓.๙ ความซื่อตรง (อุชุกตา) คือจิตจะทำหน้าที่รู้อารมณ์อย่างซื่อๆ ตรงๆ ไม่ทำหน้าที่เกินกว่าการรู้อารมณ์ หากจิตไม่ทำหน้าที่รู้ไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ แต่พยายามเสพย์หรือแทรกแซงอารมณ์ด้วยอำนาจของกิเลส จิตดวงนั้นไม่ใช่จิตรู้ที่ถูกต้อง
    ๖.๗.๔ จิตรู้เป็นจิตที่ประกอบด้วยปัญญา / ปัญญินทรีย์ / สัมปชัญญะ / อโมหะ คือสามารถเจริญวิปัสสนาอยู่โดยรู้ชัดว่า จะทำอะไร (จะเจริญสติ) เพื่ออะไร (เพื่อความเข้าใจสภาวธรรมตามความเป็นจริง) จะทำอย่างไร (จะเฝ้ารู้ปัจจุบันอารมณ์ตามความเป็นจริง) และจะเจริญสติอยู่ด้วยความรู้สึกตัว ไม่หลงไม่เผลอตามอารมณ์ใดๆ ไปด้วยอำนาจของโมหะ

    :cool:
     
  11. จอกแหน

    จอกแหน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    272
    ค่าพลัง:
    +873
    ขอโมทนาในธรรมทานของท่านทั้งหลายด้วยครับ
     
  12. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    727
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,503
    ถึงสภาวธรรมตามความเป็นจริง

    . สภาวธรรมคืออะไร<O:p</O:p
    ๗.๑การเจริญสติที่ถูกต้องจะต้องระลึกรู้ถึงอารมณ์ปรมัตถ์หรือเอาปรมัตถธรรมมาเป็นอารมณ์เครื่องรู้ของจิตเครื่องระลึกของสติปรมัตถธรรมนี้บางท่านเรียกว่าสภาวธรรม ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ ๔ประการคือ รูป(ธรรมชาติที่แตกสลายได้เมื่อถูกกระทบด้วยความร้อนความเย็นเป็นต้น) จิต(ธรรมชาติที่รู้อารมณ์) เจตสิก(ธรรมชาติอันเป็นส่วนประกอบจิต) และนิพพาน(ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่งพ้นทุกข์ พ้นกิเลสสิ้นเชิง) จะเจริญสติโดยไประลึกรู้สิ่งที่เป็นความคิดความฝัน(สมมุติบัญญัติ)ไม่ได้เพราะความคิดความฝันทั้งหลายเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไม่ได้มีอยู่จริง<O:p</O:p
    ๗.๒เราสามารถระลึกรู้ธรรมชาติทั้ง ๔ ประการได้ด้วยทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ คือตัวรูปธรรมนั้นรู้ได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กายและใจส่วนนามธรรมรู้ได้ด้วยใจ<O:p</O:p
    ๗.๓การรู้รูปทำได้ทุกๆ ทวารดังนี้คือ<O:p</O:p
    ๗.๓.๑รูปที่เรารู้ได้ด้วยตานั้นมีมากมายนับไม่ถ้วนว่ากี่แสนกี่ล้านรูป เช่นผู้หญิงผู้ชาย เด็ก คนแก่ เสือ ลิง ปลา นก ทะเล แม่น้ำ ภูเขา ต้นไม้ ดอกไม้ อัญมณี ฯลฯแต่ในจำนวนรูปที่นับจำนวนไม่ถ้วนนั้นเอาเข้าจริงสิ่งที่ตามองเห็นก็คือสีเท่านั้นเองแล้วอาศัยสัญญาคือความจำได้หมายรู้เข้ามาปรุงแต่งจิต จึงเกิดการจำแนกว่ากลุ่มสีอย่างนี้เรียกว่าผู้หญิง ผู้ชาย
     
  13. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    นี้ละของแท้
     
  14. nongton49

    nongton49 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +107
    ***...ด้วยความเคารพหลวงปู่อย่างสูง...***

    **ขอนอบน้อม..แด่ธรรมของหลวงปู่ครับ...

    ขอโมทนาด้วยใจ กับคุณน้ำใสด้วยครับ

    ...ของจริง..ย่อมเหนือสิ่งอื่นใดครับ.....[b-wai]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 ธันวาคม 2006

แชร์หน้านี้

Loading...