ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย paang, 4 เมษายน 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    <HR style="COLOR: #6bc7c7" SIZE=1>

    [​IMG]


    เรื่องราวของท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมานานแล้ว แต่ก็ยังมีท่านผู้อ่านอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้ทราบเรื่องราวชีวประวัติการปฏิบัติธรรมะขั้นสูงของท่านอย่างแจ่มแจ้งเท่าที่ควร จึงใคร่ขอนำเรื่องราวจริยธรรมของท่านมาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อเป็นคติธรรมสำหรับท่านที่ใคร่สนในใจธรรมะ

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ยอดอริยะแห่งยุค


    เหตุไฉน พระอาจารย์มั่นถึงได้รับการยกย่องสรรเสริญยิ่งนักว่า เป็นนักปฏิบัติธรรมกรรมฐานผู้เยี่ยมยอดในยุคนี้ คุณสมบัติอันประเสริฐเลิศมนุษย์ของท่านก็คือ มีนิสัยพูดจริงทำจริง ไม่เหลาะแหละ มีความพากเพียรอย่างยอดยิ่งไม่ลดละท้อถอยตลอดชีวิตการเป็นนักบวชอันยาวนาน 58 พรรษา ไม่ยอมลดละความเพียรทุกวินาที จะละความเพียรก็เฉพาะเวลาพักผ่อนหลับนอนเล็กน้อยเท่านั้น พอรู้สึกตัวตื่นขึ้นท่านจะรีบลุกขึ้นล้างหน้าทันที ไม่ยอมตกเป็นทาสของความโงกง่วง ท่านจะเดินจงกรมให้หายง่วง

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ถ้ายังไม่หายง่วงนอน ท่านจะเดินด้วยอิริยาบถเร็วๆ จนกว่าจะหาย ต่อจากนั้นก็นั่งสมาธิภาวนาพิจารณาธรรมะของพระพุทธองค์ขับเคี่ยวต่อสู้กับกิเลสมารในตัวเองอย่างเอาเป็นเอาตาย ไม่กลัวความตายแต่กลัวความบาปหาบทุกข์การเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสาร มีความตั้งมั่นอย่างเด็ดเดี่ยว ที่จะซักฟอกจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพื่อก้าวพ้นโลก เพื่อไปสู่แดนว่างแห่งการรอดปลอดจากทุกข์ อันเป็นแดนสุขอย่างเลิศประเสริฐยิ่ง นั่นคือแดนพระนิพพาน

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    พระอาจารย์มั่นกล่าวว่า
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    ลวงตาหรือกายทิพย์

    เรื่องนี้มีท่านผู้อ่านวิพากษ์
    วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่า เป็นไปไม่ได้ ที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลาย จะยังมี
     
  3. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    พบฉลาด..ยิ่งเห็นโง่<O[​IMG]</O[​IMG]

    คืนวันหนึ่ง พระอาจารย์มั่นเกิดความสลดสังเวชใจอย่างมากจนน้ำตาร่วง คือเวลานั่งสมาธิจิตรวมลงอย่างเต็มที่ เพราะการพิจารณากายเป็นเหตุ ปรากฏว่าจิตว่างเปล่า และปล่อยวางอะไร ๆ หมดโลกธาตุเป็นเหมือนไม่มีอะไรเหลืออยู่เลยในความรู้สึกขณะนั้น
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    หลังจากสมาธิแล้วพิจารณาพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เพื่อลบล้างหรือถอดถอนความผิดที่มีอยู่ในใจของสัตว์โลก ซึ่งเป็นธรรมที่ออกจากความฉลาดแหลมคมแห่งพระปัญญาของพระพุทธเจ้า พิจารณาไปเท่าไรก็ยิ่งเห็นความฉลาดและอัศจรรย์ของพระพุทธองค์ และเห็นความโง่เขลาเบาปัญญาของตนยิ่งขึ้น<O[​IMG]</O[​IMG]
    เพราะการขบฉันตลอดจนการขับถ่าย ย่อมต้องได้รับการอบรมสั่งสอนมาก่อนทั้งนั้น การยืน การเดิน นั่ง และนอนก็ต้องได้รับการอบรมให้มีสติตลอดเวลามาก่อน ไม่เช่นนั้นก็ทำไม่ถูก
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    นอกจากทำไม่ถูกแล้วยังผิดหลักเจริญวิปัสสนากรรมฐานอีกด้วย การปฏิบัติจ่อจิตจึงจำเป็นต้องได้รับการอบรมสั่งสอนตามหลักที่พระพุทธองค์บัญญัติไว้ ถ้าไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนก็ต้องทำผิดจริงๆ
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    อันว่าเรื่องจิตนั้นต้องมีศีลธรรมควบคุมจิต มนุษย์ไม่เลือกเพศวัยและชาติชั้นวรรณะใด ๆ เลย เพราะสามัญมนุษย์เราก็เหมือนเด็กซึ่งต้องได้รับการดูแลและอบรมสั่งสอนจากผู้ใหญ่อยู่ทุกขณะ จึงจะปลอดภัยและเติบโตได้
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    คนเราใหญ่แต่กาย ใหญ่แต่ชาติ ใหญ่แค่ชื่อ ใหญ่แต่ยศ ใหญ่แต่ความสำคัญตน แต่ความรู้ความฉลาดที่จะทำตนให้ร่มเย็นเป็นสุขทั้งทางกายและทางใจโดยถูกต้องตลอดจนผู้อื่นให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขไปด้วยนั้น ไม่ค่อยเจริญเติบโตด้วย และไม่สนใจบำรุงให้ใหญ่โตอีกด้วย จึงเกิดความเดือดร้อนกันอยู่ทุกหนทุกแห่งไม่เลือกเพศวัยและชาติชั้นวรรณะอะไรเลย

    <O[​IMG]
    รู้ภายในภายนอก<O[​IMG]</O[​IMG]

    พระอาจารย์มั่นพักบำเพ็ญเพียรอยู่ถ้ำสาลิกาได้รับความรู้และอุบายแปลก ๆ ต่าง ๆ มากมาย ทั้งที่เป็นเรื่อง

    ภายใน อันหมายถึงการซักฟอกจิตกำจัดกิเลสอาสวะ และทั้งเกี่ยวกับเรื่องรู้เห็น
    ภายนอก อันหมายถึงตาทิพย์ หูทิพย์ และอภิญญาข้ออื่น ๆ ที่ทำให้รู้เท่าทันโลกด้วยญาณปัญญาไม่มีประมาณ
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    นึกอยากจะรู้เห็นอะไรไม่ว่าจะเป็นเรื่องลี้ลับซับซ้อนยากเย็นแสนเข็ญเพียงไร เป็นรู้ได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำไม่มีผิดพลาดไม่มีจำกัดขอบเขต
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ท่านเกิดความอาจหาญร่าเริงในธรรมข้อบัญญัติ จนลืมเวล่ำเวลา ไม่ค่อยได้สนใจกับวันคืนเดือนปีที่ผ่านไปอะไรนักความแตกฉานรอบรู้ภายในใจเกิดขึ้นทุกระยะเหมือนน้ำไหลรินในฤดูฝน บางวันตอนบ่ายอากาศปลอดโปร่ง ท่านก็เดินเที่ยวชมป่าเขาลำเนาไพรภาวนาไปเรื่อย ๆ ทำให้เพลิดเพลินเจริญใจสำราญในอิริยาบถไปตามทัศนียภาพที่มีอยู่เป็นอยู่ตามธรรมชาติของมัน <O[​IMG]</O[​IMG]เย็น ๆ หน่อยค่อยกลับลงมายังถ้ำที่พัก เวลาเดินเที่ยวในป่าเขาใหญ่ก็พบสัตว์ต่าง ๆ เช่น โขลงช้างบ้าง เสือโคร่งบ้าง หมีบ้าง ตลอดจนเก้ง กวาง กระทิง เป็นต้น หากินไปตามประสาของมัน
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    เวลามันมองเห็นท่านก็เฉย ๆ ไม่ได้แสดงอาการตกใจตื่นกลัวหรือคิดจะวิ่งเข้ามาทำร้ายแต่อย่างใด ท่านเห็นแล้วก็มีแต่เมตตาสงสาร เห็นว่าพวกสัตว์ป่าทั้งหลายก็เป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายเช่นเดียวกันกับคนเรา ไม่มีอะไรยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แม้วาสนาบารมีของสัตว์กับมนุษย์ต่างก็มีเช่นเดียวกัน ส่วนความยิ่งหย่อนแห่งวาสนาบารมีนั้นย่อมมีได้ทั้งคนและสัตว์
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    นอกจากนั้นสัตว์บางตัวที่มีวาสนาบารมีแก่กล้า และอัธยาศัยดีกว่ามนุษย์บางรายก็ยังมีอยู่เป็นอันมาก แต่เวลาที่เขาตกอยู่ในภาวะความเป็นสัตว์ก็จำต้องทนรับเสวยผลกรรมเป็นสัตว์ไปจนกว่าจะสิ้นกรรมหรือสิ้นวาระของตน
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    เฉกเช่นเดียวกันกับมนุษย์เรา แม้จะตกอยู่ในความทุกข์จนข้นแค้นก็จำต้องทนรับเอาจนกว่าจะสิ้นเวรกรรม พราะฉะนั้นคนเราไม่ควรดูถูกเหยียดหยามชาติกำเนิดของมนุษย์และสัตว์ร่วมโลก เพราะขึ้นชื่อว่าสัตว์โลกทั้งหลายย่อมมีกรรมดีกรรมชั่วเป็นของตน<O[​IMG]</O[​IMG]

    <O[​IMG]
    บรรลุอนาคามี<O[​IMG]</O[​IMG]

    ขณะที่พระอาจารย์มั่นบำเพ็ญเพียรสร้างบารมีธรรมอยู่ที่ถ้ำสาลิกานี้ ปรากฏว่า ในบางคืนมีพระอรหันตสาวก เสด็จมาแสดงธรรมให้ท่านฟังตามทางอริยประเพณี โดยมาปรากฏในทางสมาธินิมิต เมื่อพระอรหันตสาวกแสดงธรรมให้ท่านฟังจากไปแล้ว ท่านก็น้อมเอาธรรมนั้นมาพิจารณาใคร่ครวญอีกต่อหนึ่ง โดยแยกแยะออกเป็นแขนง ไตร่ตรองดูด้วยความละเอียด
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ทุกครั้งที่พระอรหันต์สาวกแต่ละองค์เสด็จมาแสดงธรรมสั่งสอน ท่านได้อุบายต่าง ๆ จากการสดับธรรมของพระอรหันต์ทั้งหลายที่มาอบรมสั่งสอนแต่ละครั้งแต่ละองค์ ช่วยส่งเสริมกำลังใจกำลังสติปัญญาตลอดมา ธรรมที่พระอรหันตสาวกแสดงให้ฟัง ท่านรู้สึกว่าประหนึ่งได้ฟังธรรมในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ใจรู้สึกอิ่มเอิบและเพลิดเพลินไปตามเหมือนโลกธาตุขันธ์ไม่มีกาลเวลามาบีบบังคับเลย ปรากฏว่ามีแต่จิตล้วน ๆ ที่สว่างไสวไปด้วยอรรถด้วยธรรมเท่านั้น
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    พอจิตถอนออกจากสมาธินิมิต จึงทราบว่าตนมีภูเขาอันแสนหนักทั้งลูก คือร่างกายอันเป็นที่รวมแห่งขันธ์ ซึ่งแต่ละขันธ์ล้วนเป็นกองทุกข์อันแสนทรมาน แล้วธรรมะอันเป็นที่แน่ใจได้ปรากฏขึ้นแกท่านในถ้ำนี้ ธรรมะนี้คือ พระอนาคามีผล
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ในพระปริยัติกล่าวไว้ว่าเป็นภูมิธรรมขั้น 3 ต้องละสังโยชน์ได้ 5 อย่างคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ ผู้บรรลุธรรมขั้นนี้ เป็นผู้แน่นอนในการไม่ต้องกลับมาอุบัติเกิดในมนุษย์อีกต่อไป ไม่ต้องมาเกิดเป็นสัตว์ที่มีธาตุสี่คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นเรือนร่างอีกต่อไปหากแต่ยังไม่เลื่อนชั้นขึ้นถึงพระอรหันตภูมิในอัตตภาพนั้น

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ผู้บรรลุภูมิธรรมอนาคามีเวลาตายแล้วก็ไปอุบัติเกิดในพรหมโลก 5 ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่งตามภูมิธรรมที่ผู้นั้นได้บรรลุ พรหมโลก 5 ชั้น คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และอกนิฏฐา ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่ของพระอนาคามีบุคคล ตามลำดับแห่งภูมธรรมที่มีความละเอียดต่างกัน(พรหมพระผู้เป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์ก็คือพรหม 5 ชั้นนี้ หาได้ทรงภูมิธรรมขั้นสูงเทียบเท่าพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกแต่อย่างใดไม่...ผู้เขียน)
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    การทำสมาธิภาวนาบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำสาลิกาท่านเล่าว่า เกิดความอัศจรรย์หลายอย่างที่ไม่คาดฝันว่าจะเป็นไปได้ในชีวิต แต่ก็ได้ปรากฏขึ้นมาอย่างประจักษ์ใจติด ๆ กันทุกคืน คือจิตเป็นสมาธิที่ละเอียดสุขุมมากเป็นพิเศษ นับตั้งแต่ได้บรรลุภูมิธรรมอนาคามี ความรู้เห็นทางภายใน(จิต) และ ภายนอก (อภิญญา) ได้ปรากฏขึ้นมากมายเป็นพิเศษ ถึงกับน้ำตาร่วงไหลออกมาด้วยเห็นโทษแห่งความโง่เขลาของตนในอดีตที่ผ่านมา และความเห็นคุณของความเพียรของตนที่ตะเกียกตกายมาจนได้เห็นธรรมอัศจรรย์ขึ้นเฉพาะหน้า
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ความเห็นในคุณของพระพุทธเจ้าผู้มีพระเมตตาประสิทธิ์ประสาทธรรมไว้พอเห็นร่องรอยได้ดำเนินตาม และความรู้สลับซับซ้อนแห่งกรรมของตนและผู้อื่น ตลอดจนสัตว์ทั้งหลายอย่างประจักษ์ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยตรงตามธรรมบทว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นของตน เป็นต้น อันเป็นบทธรรมที่รวมความสำคัญของศาสนาไว้แทบทั้งมวล
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    พระอาจารย์มั่นได้เตือนตนว่า แม้ท่านจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีแล้ว ได้ประสบความอัศจรรย์หลายอย่างมากมายควรแก่ภาคภูมิใจ แต่ก็หาได้ถึงซึ่งทางแห่งความพ้นทุกข์ไม่ ท่านจะต้องทุ่มเทกำลังสติปัญญาและความพากเพียรทุกด้านอย่างเต็มสติกำลังอีกต่อไปเพื่อบำเพ็ญสมณะธรรมให้บรรลุขั้นสูงสุดอันเป็นทางรอดปลอดจากทุกข์โดยเด็ดขาดสิ้นเชิง นั่นคือบรรลุอรหันต์ตผล
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    และท่านก็มั่นใจว่า ตนจะต้องบรรลุถึงธรรมแพนพ้นทุกข์สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันหนึ่งแน่นอน (การบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำสาลิกานี้ เป็นสมัยเดียวกันกับที่ประอาจารย์มั่นได้พบกับขรัวตาที่ถูกท่านพูดดักใจที่เล่าไว้ในตอนต้น ๆ)


    [​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    มุ่งเชียงใหม่<O[​IMG]</O[​IMG]

    พระอาจารย์มั่นขึ้นล่องระหว่างกรุงเทพฯ กับภาคอิสานเสมอ บางเที่ยวก็โดยสารรถไฟบางเที่ยวก็เดินด้วยเท้า <O[​IMG]</O[​IMG]ที่กรุงเทพฯ ท่านพักและจำพรรษาที่วัดสระปทุม (หน้ากรมตำรวจ) สมัยนั้นท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาล (หนู) เป็นเจ้าอาวาสและเป็นพระธุดงค์ชาวอุบลฯ ด้วยกันมาก่อน
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาล มีความเคารพนับถือในตัวพระอาจารย์มั่นมาก ขณะจำพรรษาอยู่วัดสระปทุม พระอาจารย์มั่นหมั่นไปศึกษาอรรถธรรมกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ที่วัดบรมนิวาสเสมอ
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ครั้นเมื่ออกพรรษาแล้วหน้าแล้ง ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ จะไปเชียงใหม่ ได้นิมนต์พระอาจารย์มั่นไปด้วย <O[​IMG]</O[​IMG]พระอาจารย์มั่นพักอยู่วัดเจดีย์หลวงกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ พอสมควรแล้ว ท่านก็กราบลาท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ เพื่อไปเที่ยวธุดงค์แสวงหาที่วิเวกตามอำเภอต่าง ๆ ในเขตเชียงใหม่ที่มีป่าเขามาก<O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]
    การธุดงค์บำเพ็ญเพียรเที่ยวนี้ เป็นการบำเพ็ญเพียรขั้นแตกหัก เพื่อที่จะได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดให้จงได้ จะเป็นหรือจะตายก็จะได้รู้กันคราวนี้เป็นแม่นมั่น เพราะจิตท่านทรงอริยธรรมขั้น 3 อย่างเต็มภาคภูมิมานานแล้ว (เป็นพระอนาคามี) แต่ไม่มีเวลาได้เร่งความเพียรตามใจชอบ เพราะต้องมีภารกิจไปยุ่งเกี่ยวกับการอบรมสั่งสอนหมู่คณะมากมีตลอดมา

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ธรรมสุดยอด<O[​IMG]</O[​IMG]

    ดังนั้น เมื่อมีโอกาสได้ไปธุดงค์ยังป่าเขาลำเนาไพรถิ่นเชียงใหม่ พระอาจารย์มั่นจึงได้เร่งความเพียรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และก็ได้อย่างใจหมายทุกระยะ ภูมิประเทศและบรรยากาศอันน่าทัศนาเย็นกายเย็นใจก็อำนวย พื้นเพของจิตท่านที่เป็นมาตั้งเดิมก็อยู่ในขั้นเตรียมพร้อม สุขภาพร่างกาย 38 พรรษาก็สมบูรณ์ ควรแก่ความเพียรทุกอิริยาบท สามารถต้านทานกับดินฟ้าอากาศทั้งหน้าแล้ง หน้าฝนและหน้าหนาวของเมืองเหนือได้อย่างทรหด ความหวังในธรรมขั้นสุดยอดอรหัตตผล ถ้าเป็นตะวันก็กำลังทอแสงอยู่แล้วทุกขณะจิตว่า แดนพ้นทุกข์กับท่านคงเจอกันในไม่ช้านี้แน่
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ท่านเทียบจิตกับธรรมและกิเลสขั้นนี้ว่า เหมือนสุนัขไล่เนื้อตัวสำคัญ เนื้อกำลังอ่อนกำลังเต็มที่แล้วถูกสุนัขไล่ต้อนเข้าที่จนมุม รอคอยแต่วาระสุดท้ายของเนื้อจะตกเข้าสู่ปากและบดเคี้ยวให้แหลกละเอียดอยู่เท่านั้น ไม่มีทางเป็นอย่างอื่น เพราะเป็นจิตที่สัมปยุตด้วยมหาสติมหาปัญญาไม่มีเวลาพลั้งเผลอตัวแม้ไม่ตั้งใจจะระวังรักษาเนื่องจากเป็นสติปัญญาอัตโนมัติ หมุนทับกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไปโดยลำพังตนเอง
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    เมื่อทราบเหตุผลแล้วปล่อยวางไว้ตามเป็นจริง ไม่ต้องมีการบังคับบัญญาเหมือนขั้นเริ่มแรกปฏิบัติใหม่ ๆ ว่าจะต้องพิจารณาสิ่งนั้นต้องปฏิบัติต่อสิ่งนี้ อย่าเผลอตัวดังนี้เป็นต้น แต่เป็นสติปัญญาที่มีเหตุมีผลอยู่กับตัวอย่างพร้อมมูลแล้ว ไม่จำต้องหาเหตุหาผลหรืออุบายต่าง ๆ มาพร่ำสอนสติปัญญาชั้นนี้ให้ออกทำงาน เพราะในอิริยาบถทั้ง 4 เว้นแต่เวลาหลับเท่านั้น เป็นเวลาทำงานของสติปัญญาขั้นนี้ตลอดไม่ขาดวรรคขาดตอน เหมือนน้ำซับน้ำซึมที่ไหลรินอยู่ตลอดหน้าแล้งหน้าฝน โดยถือเอาอารมณ์ที่คิดปรุงจากจิตเป็นเป้าหมายแห่งการพิจารณา เพื่อหามูลความจริงจากความคิดปรุงนั้น ๆ ขันธ์ 4 คือนามขันธ์ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    <O[​IMG]
    นี่แลคือสนามรบของสติปัญญาขั้นนี้ ส่วนรูปขันธ์เริ่มหมดปัญหามาแต่ปัญญาขั้นกลางที่ทำหน้าที่เพื่ออริยธรรมขั้น 3 คืออนาคามีธรรมนั้นแล้ว อริยธรรมขั้น 3 นี้ ต้องถือรูปขันธ์เป็นเป้าหมายแห่งการพิจารณาอย่างเต็มที่ และละเอียดถี่ถ้วนจนหมดทางสงสัยแล้วผ่านไปอย่างหายห่วง เมื่อถึงขั้นสุดท้ายนามขันธ์เป็นธรรมจำเป็นที่ต้องพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง ทั้งที่ปรากฏขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป <O[​IMG]</O[​IMG]โดยมีอนัตตาธรรมเป็นที่รวมลง คือพิจารณาลงในความว่างเปล่าจากสัตว์ บุคคล หญิง ชาย เรา เขา ไม่มีคำว่าสัตว์ บุคคลเป็นต้น เข้าไปแทรกสิงอยู่ในนามธรรมเหล่านั้นเลย
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    การเห็นนามธรรมเหล่านี้ต้องเห็นด้วยปัญญาหยั่งทราบตามหลักความจริงอย่างจริง ๆ ไม่ใช่เพียงเห็นตามความคาดหมาย หรือคาดคะเนเดาเอาตามนิสัยของมนุษย์ที่ชอบด้นเดาเอาตามสันดาน <O[​IMG]</O[​IMG]ความเห็นตามสัญญากับความเห็นด้วยปัญญาต่างกันอยู่มากราวฟ้ากับดิน

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    สัญญาพาหลง<O[​IMG]</O[​IMG]

    ความเห็นด้วยสัญญาพาให้ผู้เห็นมีอารมณ์มาก มักเสกสรรค์ตัวว่า มีความรู้มากทั้งที่กำลังหลงมาก จึงมีทิฏฐิมานะมากไม่ยอมลงใครง่าย ๆ
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    เราพอทราบได้เวลาสนทนาธรรมกันในวงนักศึกษาที่ต่างรู้ด้วยความจดจำจากตำราด้วยกัน สภาธรรมมักจะกลายเป็นสภามวยฝึปากทุ่มเถียงกันหน้าดำหน้าแดงกันอยู่เสมอ โดยไม่จำกัดชาติชั้นวรรณะและเพศวัยเลย เพราะความสำคัญตนพาให้เป็นไป

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ปัญญา พาเห็นจริง<O[​IMG]</O[​IMG]

    ส่วนความเห็นด้วยปัญญาเป็นความเห็นซึ่งพร้อมที่จะถอดถอนความสำคัญมั่นหมายต่าง ๆ อันเป็นตัวกิเลสทิฏฐิมานะน้อยใหญ่ออกไปโดยลำดับที่ปัญญาหยั่งถึง ถ้าปัญญาหยั่งลงโดยทั่วถึงจริง ๆ กิเลสทั้งมวลก็พังทลายไปหมด ไม่มีกิเลสชนิดใดจะทนต่อสติปัญญาขั้นยอดเยี่ยมไปได้ ฉะนั้นสติปัญญาจึงเป็นอาวุธขั้นนำของธรรมะที่กิเลสทั้งมวลไม่หายสู้ได้แต่ไหนแต่ไรมา
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    พระศาสดาได้เป็นพระพุทธเจ้าก็เพราะสติปัญญา <O[​IMG]</O[​IMG]พระสาวกได้บรรลุถึงพระอรหันต์ ก็เพราะสติปัญญาความรู้จริงเห็นจริง มิได้ถอดถอนกิเลสด้วยสัญญาความคาดหมายหรือคิดเดาเอาจากทฤษฎีในตำราคัมภีร์เลย นอกจากจะนำทฤษฎีมาใช้พอเป็นแนวทางในขั้นเริ่มแรกปฏิบัติธรรมเท่านั้น แม้เช่นนั้นก็จำต้องระวังสัญญาจะแอบแฝงตัวขึ้นมาเป็นความจริงให้หลงตามอยู่ทุกระยะมิได้นิ่งนอนใจ<O[​IMG]</O[​IMG]

    การประกาศพระศาสนาเพื่อความจริงแก่โลก ทั้งพระ<O[​IMG]</O[​IMG]พุทธเจ้าและพระสาวกทรงประกาศด้วยปัญญาความรู้จริงเห็นจริงทั้งนั้น <O[​IMG]</O[​IMG]ดังนั้น ผู้ปฏิบัติทางจิตภาวนาจึงควรระวังสัญญาเข้าทำหน้าที่แทนปัญญา โดยรู้เอาหมายเอาเฉย ๆ แต่กิเลสตัวเดียวก็ไม่สามารถถอดถอนออกจากใจได้บ้างเลย และอาจกลายเป็นทำนองว่า มีความรู้ท่วมหัว แต่เอาตัวไม่รอดก็เป็นได้
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ธรรมขั้นรู้เห็นด้วยปัญญานี่แล ที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่กาลามชนว่า ไม่ให้เชื่อแบบสุ่มเดา แบบคาดคะเน ไม่ให้เชื่อตาม ๆ กันมา ไม่ให้เชื่อครูอาจารย์ที่ควรเชื่อได้เป็นต้น <O[​IMG]</O[​IMG]แต่ให้เชื่อด้วยปัญญาที่หยั่งลงสู่หลักความจริงด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นความรู้ที่แน่ใจอย่างยิ่ง
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์ ท่านมิได้มีคนประกันรับรองว่า ท่านได้บรรลุธรรมจริงอย่างนั้น ไม่จริงอย่างนี้ แต่สันทิฏฐิโกมีอยู่กับทุกคน ถ้าปฏิบัติธรรมที่แสดงไว้โดยสมควรแก่ธรรม
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    นับแต่ออกจากวัดเจดีย์หลวงไปบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ในป่าเขาลำเนาไพร พระอาจารย์มั่นปฏิบัติธรรมอย่างอาจหาญเพลิดเพลินในธรรมจนลืมเวล่ำเวลา ลืมวันลืมคืน ลืมพักผ่อนหลับนอน ลืมความเหน็ดหน่อยเมื่อยล้า จิตตั้งท่านแต่จะสู้กับกิเลสทุกประเภทด้วยความเพียรเพื่อถอดถอนมันพร้อมทั้งราก ท่านเร่งรีบตักตวงความเพียรด้วยมหาสติมหาปัญญาเป็นสติปัญญาธรรมจักรหมุนรอบตัวและ สิ่งเกี่ยวข้องไม่มีประมาณตลอดเวลา

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    พระอรหันต์<O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้นแล้ววันคืนอันสำคัญก็มาถึง ในคืนวันหนึ่งดึกสงัด พระอาจารย์มั่นนั่งสมาธิภาวนาอยู่ชายภูเขาที่มีหินพลาญกว้างขวางเตียนโล่ง อากาศหลอดโปร่งเยือกเย็นสบาย มีต้นไม้ใหญ่ร่มครื้มตั้งอยู่โดดเดี่ยวต่างกลดกันน้ำค้างและฝน
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    พระอาจารย์มั่นนั่งสมาธิอยู่ ณ ที่นี้มาตั้งแต่ตอนเย็นแล้ว จิตของท่านสัมผัสรับรู้อยู่กับปัจจยาการคืออวิชชาปัจจยาสังขาราเป็นต้นเพียงอย่างเดียว ทั้งในเวลาเดินจงกรมตอนหัวค่ำทั้งเวลานั่งเข้าที่ภาวนา <O[​IMG]</O[​IMG]ท่านสนใจพิจารณาในจุดนั้น โดยมิได้สนใจกับหมวดธรรมอื่นใด ตั้งหน้าพิจารณาอวิชชาอย่างเดียวแต่แรกเริ่มนั่งสมาธิภาวนา <O[​IMG]</O[​IMG]โดยอนุโลมปฏิโลมกลับไปกลับมาอยู่ภายในอันเป็นที่รวมแห่งภพชาติ กิเลสตัณหา มีอวิชชาเป็นตัวการ
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    เริ่มแต่สองทุ่มที่ออกจากทางจงกรมแล้วเป็นต้นไป ตอนนี้ท่านว่าเป็นตอนสำคัญมาก <O[​IMG]</O[​IMG]ในการรบของท่านระหว่างมหาสติมหาปัญญาอันเป็นอาวุธคมกล้าทันสมัย กับอวิชชาอื่นเป็นข้าศึกที่เคย ทรงความฉลาดในเชิงหลบหลีกอาวุธอย่างว่องไว แล้วกลับโต้ตอบให้อีกฝ่ายพ่ายแพ้ยับเยินไม่เป็นท่านแล้วครองตำแหน่งจักรพรรดิราชวัฏฏจักรบนหัวใจสัตว์โลกตลอดมาและตลอดไปชั่วอนันตกาล ไม่มีใครกล้าต่อสู้กับฝีมือได้
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ประมาณตี 3 คืนนั้น การยุทธสงครามระหว่างพระอาจารย์มั่นกับจักรพรรดิราชวัฏฏจักรอย่างทรหดไม่ลดละ ผลปรากฏว่า ฝ่ายจักรพรรดิราชวัฏฏจักรถูกสังหารถูกทำลายบัลลังก์ลงพิเนาศขาดสูญโดยสิ้นเชิง สิ้นฤทธิ์ สิ้นอำนาจ สิ้นความฉลาดทั้งมวล ที่จะครองอำนาจอยู่เหนือใจท่านอยู่ได้อีกต่อไป
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ขณะจักรพรรดิอวิชชาดับชาติขาดภพลงไปแล้ว พระอาจารย์มั่นเล่าว่า ขณะนั้นเหมือนโลกธาตุหวั่นไหว เสียงจากโลกทิพย์ประกาศก้องสาธุการสะเทือนสะท้านไปทั่วพิภพว่าศิษย์พระตถาคตปรากฏขึ้นในโลกอีกองค์หนึ่งแล้ว <O[​IMG]</O[​IMG]เสียงจากโลกทิพย์ทั้งหลาย<O[​IMG]</O[​IMG]แสดงความชื่นชมยินดีและเป็นสุขใจกับท่านอย่างกึกก้อง เป็นเสียงที่ท่านได้รู้เห็นลำพังตนเอง
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ชาวโลกมนุษย์ทั้งหลายคงไม่มีโอกาสได้รับทราบด้วย เพราะการบรรลุธรรมวิเศษในพระพุทธศาสนา ย่อมเกินวิสัยมนุษย์ปุถุชนจะหยั่งรู้ได้ ปุถุชนย่อมจะเพลิดเพลินอยู่แต่กับการแสวงหาความสุขทางโลกอย่างมัวเมางมงายไปตามวิสัย น้อยคนนักที่ใครจะสนใจทราบว่า ธรรมอันประเสริฐในดวงใจที่เกิดขึ้นในแดนมนุษย์เมื่อสักครู่นี้ เกี่ยวข้องกับการวิปริตของดินฟ้าอากาศที่พวกเขาได้ประจักษ์หรือเปล่าก็ไม่รู้ได้ ผู้ที่จะรู้ได้หยั่งถึงนอกจากเทวบุตรเทวธิดาแล้วก็เห็นจะมีก็แต่พระอริยเจ้าด้วยกันเท่านั้นว่า ฟ้าดินหวั่นไหวไปทั่วโลกธาตุเมื่อสักครู่นี้คือ การปรากฏขึ้นของพระอรหันต์อีกองค์หนึ่งในโลกนั่นแล
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าต่อไปว่า (พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นผู้บันทึกคำเล่านี้) พอขณะฟ้าดินอัศจรรย์กระเทือนโลกธาตุผ่านไปเหลือแต่วิสุทธิธรรมภายในใจพระอาจารย์มั่นอันเป็นธรรมชาติแท้ ซึ่งแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย และจิตใจแผ่กระจายไปทั่วโลกธาตุในเวลานั้น ทำให้พระอาจารย์มั่นเกิดความแปลกประหลาดและอัศจรรย์ตัวเองมากมาย จนไม่สามารถจะบอกใครได้ <O[​IMG]</O[​IMG]ที่เคยมีเมตตาต่อโลก และสนใจจะอบรมสั่งสอนหมู่คณะและประชาชนมาดั้งเดิม พลันก็กลับกลายหายสูญไปหมด
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ทั้งนี้เพราะความเห็นธรรมที่ท่านบรรลุในครั้งนี้ เป็นธรรมละเอียดและอัศจรรย์จนสุดวิสัยของมนุษย์จะรู้เห็นตามได้ เป็นธรรมภายในใจที่ท่านรู้ได้เฉพาะคน <O[​IMG]</O[​IMG]ท่านบังเกิดความท้อใจไม่คิดจะสั่งสอนใครต่อในขณะนั้น คิดแต่จะเสวยธรรมอัศจรรย์ในท่ามกลางโลกสมมติแต่ผู้เดียว ในท่านหนักไปทางรำพึงรำพันถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นบรมครูทรงรู้จริงเห็นจริงและสั่งสอนเวไนยเพื่อวิมุติหลุดพ้นจริง ๆ ไม่มีคำโกหกหลอกลวงแฝงอยู่ในพระโอวาทแม้แต่บทเดียว บาทเดียวเลยแล้วพระอาจารย์มั่นก็กราบไหว้บูชาพระคุณพระพุทธเจ้าไม่มีเวลาอิ่มพอตลอดคืน
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    จากนั้นก็คิดเมตตาสงสารหมู่ชนเป็นกำลัง ที่เห็นว่าสุดวิสัยจะสั่งสอนได้ โดยถือเอาความบริสุทธิ์และอัศจรรย์ภายในใจท่านมาเป็นอุปสรรคว่า <O[​IMG]</O[​IMG]ธรรมนี้มิใช่ธรรมของคนมีกิเลสจะครองได้ เพราะเป็นธรรมขั้นสูงสุดละเอียดอ่อนอัศจรรย์พูดไม่ถูก <O[​IMG]
    ถ้านำไปสั่งสอนใครก็เกรงจะถูกกล่าวหาว่าท่านเป็นบ้า ไปหาเรื่องอะไรมาสั่งสอนกันก็ไม่รู้ คนดี ๆ มีสติสตังอยู่บ้าง เขาจะไม่นำเรื่องทำนองนี้มาสอนกัน
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ท่านรำพึงว่าเราเห็นจะต้องอยู่ไปคนเดียวอย่างนี้เสียแล้ว จนถึงวันตายละกระมัง ขืนไปสั่งสอนใครเข้าจะกลายเป็นว่า ทำคุณกลับได้โทษ โปรดสัตว์กลับได้บาปเปล่า ๆ นี่เป็นความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นกับพระอาจารย์มั่นขณะที่ท่านบรรลุธรรมขั้นสูงสุดในพระศาสนาใหม่ ๆ ยังมิได้คิดให้กว้างขวางออกไปเชื่อมโยงกับแนวทางการอบรมสั่งสอนตามแนวศาสนาธรรม ที่พระพุทธเจ้าพาดำเนินมา
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    แต่ครั้งในเวลาต่อมา พระอาจารย์มั่นค่อยมีโอกาสได้ทบทวนธรรมที่รู้เห็น และปฏิปทาเครื่องดำเนินตลอดตัวเองที่รู้เห็นธรรมวิเศษ ท่านก็รำพึงกับตัวเองว่า เราก็เป็นมนุษย์เดินดินกินผักกินหญ้าเหมือนชาวโลกทั่ว ๆ ไป ไม่มีอะไรพิเศษแตกต่างกัน พอจะเป็นบุคคลพิเศษสามารถอาจรู้เฉพาะผู้เดียว
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ส่วนผู้อื่นไม่สามารถทั้งที่มีอำนาจวาสนาสามารถรู้ได้อาจมีจำนวนมาก จึงเป็นความคิดเห็นที่เหยียบย่ำทำลายอำนาจวาสนาของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพราะความไม่รอบคอบกว้างขวาง ซึ่งไม่เป็นธรรมเลย เพราะปฏิปทาเครื่องดำเนินเพื่อ มรรค ผล นิพพาน พระพุทธเจ้ามิได้ประทานไว้เฉพาะบุคคลเดียว แต่ประทานไว้เพื่อโลกทั้งมวล ทั้งก่อนและหลังการเสด็จปรินิพพาน
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ผู้ตรัสรู้ มรรค ผล นิพพานตามพระองค์ด้วยปฏิปทาที่ประทานไว้มีจำนวนมหาศาลเหลือที่จะนับที่จะประมาณ มิได้มีเฉพาะเราคนเดียวที่กำลังคิดมองข้ามโลกว่าไร้สมรรถภาพอยู่เวลานี้ เมื่อพิจารณาทบทวนทั้งเหตุและผลทั้งต้นและปลายแห่งพระโอวาทของพระพุทธเจ้าที่ประกาศปฏิปทาทางดำเนินเพื่อมรรคเพื่อผลว่า เป็นธรรมสมบูรณ์สุดและควรแก่สัตว์โลกทั่วไป ไม่ลำเอียงต่อผู้หนึ่งผู้ใดที่ปฏิบัติชอบอยู่ จึงทำให้พระอาจารย์มั่นเกิดความหวังที่จะสงเคราะห์ผู้อื่นขึ้นมา มีความพอใจที่จะอบรมสั่งสอนแก่ผู้มาเกี่ยวข้องอาศัยเท่าที่จะสามารถทั้งสองฝ่าย
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวว่า ตอนที่คิดว่าตนไม่มีทางจะสั่งสอนคนอื่นให้รู้ตามได้นั้น ออกจะเป็นความคิดนอกลู่นอกทางไปบ้าง ทั้งนี้ก็เพราะว่า ขณะที่ท่านบรรลุธรรมสูงสุดนั้น เป็นธรรมที่นึกไม่ถึง เป็นธรรมที่เกิดใหม่ ที่ไม่เคยพบเคยเห็น ทั้ง ๆ ที่ท่านมีธรรมอยู่กับตัวตั้งเดิมอยู่แล้ว
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ธรรมที่เกิดใหม่นี้ทำให้ตื่นเต้นและอัศจรรย์เหลือประมาณสุดวิสัยที่จะคาดคะเนหรือด้นเดาให้ถูกกับความจริงของธรรมชาติจริง ๆ ได้ เปรียบไปแล้วเหมือนเราตายแล้วเกิดใหม่ แล้วพบเข้ากับความอัศจรรย์ตื่นตะลึงนั่นแล แต่ครั้นได้หยุดคิดใช้เวลาใคร่ครวญหาเหตุผลแล้วก็จะพบว่า ความมหัศจรรย์นั้นอยู่ในกรอบของเหตุผลกฎเกณฑ์ธรรมชาตินั่นเองไม่แปลกประหลาดอะไร เป็นแต่เพียงว่าธรรมสูงสุดที่ท่านค้นพบด้วยความยากลำบากมาเป็นเวลายาวนานนี้ สุดวิสัยที่คนทั่วไปจะรู้ได้ง่าย ๆ นั่นแล


    <O[​IMG]
    จิตอิทธิฤทธิ์<O[​IMG]</O[​IMG]

    พระอาจารย์มั่นมีนิสัยจิตผาดโผดมาตั้งแต่ดั้งเดิม นับตั้งแต่เริ่มออกปฏิบัติกรรมฐานใหม่ ๆ แล้ว จิตผาดโผนของท่านที่ว่านี้คือ เป็นจิตอยากรู้อยากเห็นช่างคิดช่างค้นคว้า มีความอาจหาญยอมตายถึงไหนถึงกัน ขอให้ได้แสวงหาเพื่อที่จะรู้ สิ่งที่อยากรู้ให้รู้แจ้งเห็นจริงจนถึงที่สุด จิตผาดโผนอยากรู้อยากเห็นของท่านเป็นนิสัยนี้เอง ทำให้ท่านเป็นพระอริยเจ้าฝ่าย
     
  4. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    พุทโธหาย<O[​IMG]</O[​IMG]
    พอได้เวลาบ่ายวันนั้น ชาวบ้านก็พากันมาจริง ๆ พวกเขาถามว่า ตุ๊เจ้านั่งหลับตานิ่ง ๆ และเดินกลับไปกลับมาทั้งกลางวันกลางคืนมาเป็นเวลาหลายวันแล้ว ตุ๊เจ้านั่งและเดินหาอะไร พระอาจารย์มั่นตอบว่า

    <O[​IMG]</O[​IMG]
     
  5. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    <HR style="COLOR: #6bc7c7" SIZE=1> [​IMG]
    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:line id=_x0000_s1027 style="Z-INDEX: 2; POSITION: absolute" to="153pt,20.4pt" from="0,20.4pt" strokeweight="1.5pt"></v:line>

    วัดป่าสาลวัน

    <O[​IMG]
    พระอาจารย์มั่นได้เดินทางออกจากกรุงเทพฯ ขณะที่พักอยู่วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา มีคณะศรัทธายาติโยมเป็นจำนวนมากมาถามปัญหาธรรมพระอาจารย์มั่นได้ตอบไปเป็นที่ทราบซึ้งถึงใจทุกรายมีคำตอบอยู่ข้อหนึ่งที่น่าสนใจใคร่นำมาลงไว้ ณ ที่นี้

    ท่านตอบว่า"อาตมาบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าในเขาคนเดียวแทบตาย สลบไปสามหนและรอดตายมาได้ ไม่เห็นมีใครเอามาร่ำลือเลย <O[​IMG]</O[​IMG]ครั้นพออาตมาลืมหูลืมตาธรรมะมาบ้างจึงมีคนหลั่งไหลไปหา ร่ำลือกันว่าอาตมาเป็นผู้วิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ อาตมาไม่ใช่ผู้วิเศษอะไร ใครอยากได้ของดีอาตมาจะบอกให้เอาบุญ ของดีมีอยู่กับตัวเราทุกคนจงพากันปฏิบัติเอาทำเอา เมื่อเวลาตายแล้วจะไม่ต้องพากันวุ่นวายเที่ยวนิมนต์หาพระมาให้บุญกุสลามาติกา นั่นไม่ใช่เกาถูกที่คันนะ จะหาว่าอาตมาไม่บอก <O[​IMG]</O[​IMG]ต้องรีบเกาให้ถูกที่คันเสียแต่บัดนี้ โรคคันจะได้หาย

    คือจงเร่งทำความดีเสียแต่บัดนี้จะได้หายห่วง หายห่วงกับอะไรๆที่เป็นสมบัติของโลกมิใช่สมบัติ<O[​IMG]</O[​IMG]อันแท้จริงของเรา แต่พากันจับจองเอาแต่ชื่อของมันเปล่าๆตัวจริงไม่มีใครเหลียวแล สมบัติในโลกเราแสวงหามาเป็นความสุขแก่ตัวพอหาได้ จะแสวงหามาเป็นไฟเผาตัวก็ทำให้ฉิบหายได้จริงๆ
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]
    ข้อนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดและความโง่เขลาของผู้แสวงหาแต่ละราย ท่านผู้พ้นทุกข์ไปได้ด้วยความอุตส่าห์สร้างความดีใส่ตน จนกลายเป็นสรณะของพวกเรา จะเข้าใจว่าท่านไม่เคยมีสมบัติเงินทอง เครื่องหวงแหนอย่างนั้นหรือ เข้าใจว่าเป็นคนร่ำรวยสวยงามเฉพาะในสมัยของพวกเราเท่านั้นหรือ จึงพากันหวงจนไม่รู้จักเป็นรู้จักตาย

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    บ้านเมืองเราสมัยนี้ไม่มีป่าช้าสำหรับฝังหรือเผาคนตายอย่างนั้นหรือ จึงสำคัญว่าตนจะไม่ตาย พากันประมาทจนลืมเนื้อลืมตัว กลัวแต่จะไม่ได้กินไม่ได้นอนกลัวแต่จะไม่ได้เพลิดเพลิน <O[​IMG]</O[​IMG]ประหนึ่งโลกจะดับสูญจากไปในเดี๋ยวนี้ จึงพากันรีบตักตวงเอาแต่ความไม่เป็นท่าใส่ตนแทบหาบไม่ไหว อันสิ่งเหล่านี้แม้แต่สัตว์เขาก็มิได้เหมือนมนุษย์เรา <O[​IMG]</O[​IMG]อย่าสำคัญตนว่าเราสามารถเก่งกาจฉลาดยิ่งรู้กว่าเขาเลย ถึงกับสร้างความมืดมิดปิดตาทับถมตัวเองจนไม่มีวันสร่างซา เมื่อถึงเวลาจนตรอกอาจจนยิ่งกว่าสัตว์ ใครจะไปทราบได้ ถ้าไม่เตรียมทราบไว้เสียแต่บัดนี้ซึ่งอยู่ในฐานะที่ควร
    <O[​IMG]
    อาตมาต้องขออภัยที่พูดออกจะหยาบคายไป แต่คำพูดที่สั่งสอนให้คนละชั่วทำดีต้องพูดถึงแก่นแบบนี้แหละ"
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    <v:line id=_x0000_s1028 style="Z-INDEX: 3; POSITION: absolute" to="149.6pt,12.3pt" from="-3.4pt,12.3pt" strokeweight="1.5pt"></v:line><O[​IMG]


    แดนอีสาน<O[​IMG]</O[​IMG]
    <v:line id=_x0000_s1029 style="Z-INDEX: 4; POSITION: absolute" to="149.6pt,3.35pt" from="-3.4pt,3.35pt" strokeweight="1.5pt"></v:line>

    พระอาจารย์มั่นพักอยู่นครราชสีมาพอสมควรแล้ว ก็ออกเดินทางไปที่อุดรฯ พักอยู่ที่วัดโพธิสมภารณ์กับท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ ต่อจากนั้นก็ไปจำพรรษาที่วัดโนนนิเวศน์อยู่ 2 พรรษา คณะศรัทธาทางสกลนครมีคุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์เก่าแก่ของท่าน ได้พร้อมกันมาอาราธนานิมนต์ให้ไปโปรดทางสกลนครซึ่งท่านเคยอยู่มาก่อน ท่านยินดีรับอาราธนาในปลายปี พ.ศ.2484 และไปพักอยู่วัดสุทธารามสกลนคร โอกาสนี้เอง มีผู้มาขอถ่ายภาพท่านไว้บูชากราบไหว้ท่านอนุญาติให้ถ่ายได้ นับเป็นครั้งที่ 4 ที่ท่านอนุญาตให้ถ่ายภาพได้ เพราะถ้าท่านไม่อนุญาตแล้วจะถ่ายไม่ติดเลย

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    นับเป็นเรื่องแปลกมหัศจรรย์ การขออนุญาตให้ถ่ายรูปครั้งแรกท่านให้ถ่ายเมื่อกลับจากงานฌาปนกิจศพพระอาจารย์ เสาร์ กันตสีโร ครั้งที่ 2 ให้ถ่ายที่วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา ครั้งที่ 3 ให้ถ่ายที่บ้านฝั่งแดง อำเภอพระธาตุพนม <O[​IMG]</O[​IMG]และเนื่องด้วยท่านอนุญาตให้ถ่ายภพได้ 4 วาระนี้เอง จึงทำให้บรรดาผู้เคารพเลื่อมใสในตัวท่านทั้งหลายได้มีรูปถ่ายของท่านไว้กราบไหว้บูชามาจนทุกวันนี้

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ท่านพักอยู่วัดสุทธาวาสพอสมควรแล้วท่านก็ออกเดินทางไปพักที่สำนักป่าบ้านนามน ซึ่งเป็นสำนักกระต๊อบเล็กๆสำหรับพระธุดงค์กรรมฐานบำเพ็ญเพียร พักอยู่พอสมควรแล้วก็ย้ายมาพักจำพรรษาก็บ้านโคกห่างจากบ้านนามนราว 2 กิโลเมตร ออกพรรษาแล้วก็กลับไปพักที่วัดบ้านนามนอีก <O[​IMG]</O[​IMG]จากนั้นก็ไปพักบ้านห้วยแคนและพักที่วัดร้างชายเขาบ้านนาสีนวลหลายเดือนพอดีล้มป่วยลง แต่ท่าก็บำบัดด้วยธรรมโอสถจนหายเป็นปกติ ตกเดือนเมษายน พ.ศ.2485 ท่านเดินทางไปฌาปนกิจศพพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโร ที่อุบลฯ เสร็จแล้วก็กลับมาจำพรรษาที่บ้านนามน ตำบลตองโขบ เขตอำเภอเมืองสกลนคร<O[​IMG]</O[​IMG]
    <v:line id=_x0000_s1030 style="Z-INDEX: 5; POSITION: absolute" to="2in,7.2pt" from="-9pt,7.2pt" strokeweight="1.5pt"></v:line>

    <O[​IMG]

    <v:line id=_x0000_s1031 style="Z-INDEX: 6; POSITION: absolute" to="2in,20.4pt" from="-9pt,20.4pt" strokeweight="1.5pt"></v:line>บ้านหนองเสือ
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]
    พอตกหน้าแล้งพรรษาที่ 3 ก็มีญาติโยมจากบ้านหนองผือนาใน ไปอาราธนาท่านให้มาโปรดที่หมู่บ้าน ท่านรับนิมนต์มาพักจำพรรษาที่บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม สกลนคร พอมาถึงบ้านหนองผือท่านก็ล้มป่วยไข้มาลาเรียอยู่แรมเดือนจึงหาย บ้านหนองผือที่ท่านมาจำพรรษาอยู่นี้ ตั้งอยู่ในหุบเขาทั้ง สี่ด้านมีป่าและภูเขาล้อมรอบประชาชนทำนาได้สะดวกเป็นแพ่ง ๆ ไป ป่ามีมาก เหมาะสำหรับพระธุดงค์จะเลือกหาที่วิเวกบำเพ็ญกรรมฐานตามอัธยาศัย

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    เมื่อข่าวว่าพระอาจารย์มั่นมาจำพรรษาอยู่ที่นี่ บรรดาพระธุดงค์จากที่ต่าง ๆ ก็พากันหลั่งไหลมากราบเยี่ยมและฟังโอวาทท่านมิได้ขาดจากพวกอุบาสกอุบาสิกาจากจังหวัดต่าง ๆ ก็พากันหลั่งไหลมาทุกวัน <O[​IMG]</O[​IMG]ทำให้บ้านหนองผือเกลายเป็นจุดศูนย์กลางของพระธุดงค์กรรมฐานและอุบาสกอุบาสิกาไปในสมัยนั้น พระอาจารย์มั่นพักอยู่บ้านหนองผือ 5 พรรษานานเป็นพิเศษ เพราะชราภาพอายุ 75 ปีแล้ว ไปไหนมาไหนไม่สะดวกเหมือนแต่ก่อน<O[​IMG]</O[​IMG]
    <v:line id=_x0000_s1028 style="Z-INDEX: 2; POSITION: absolute" to="126pt,8.75pt" from="0,8.75pt"></v:line><O[​IMG]


    ทุกขสัจจะ

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    <v:line id=_x0000_s1029 style="Z-INDEX: 3; POSITION: absolute" to="126pt,.9pt" from="0,.9pt" strokeweight=".5pt"></v:line>สุขภาพของพระอาจารย์มั่น นับวันยิ่งทรุดโทรมลง ถิ่นที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่ชุกชุมไปด้วยไข้ป่ามาลาเรีย พระเณรและประชาชนที่หลั่งไหลไปกราบเยี่ยม <O[​IMG]</O[​IMG]ท่านตั้งสั่งให้รีบกลับถ้าจวนเข้าหน้าฝน แต่ถ้าเป็นหน้าแล้งก็อยู่ได้นานหน่อย พระเณรเป็นไข้ป่ากันมาก ใครเป็นเข้าแล้วก็ลำบากต้องใช้ความอดทนต่อสู้กับโรค เพราะยาแก้ไขไม่มีใช้กันเลยในวัดเนื่องจากยาหายาก ไม่เหมือนสมัยทุกวันนี้ ถ้าใครเป็นไข้ป่าเข้า พระอารย์มั่นจะสั่งให้ใช้ธรรมโอสถรักษาแทนยา คือ ให้พิจารณาทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นด้วยสติปัญญาตามแนววิปัสสนาอย่างเข้มแข็งและแหลมคม ไม่เช่นนั้นก็แก้ทุกขเวทนาไม่ได้ ไข้ไม่สร่างไม่หายได้ ก็ปรากฏว่าด้วยวิธีนี้พระเณรลูกศิษย์ของท่านที่ป่วยไข้ก็มักจะหายไข้ในเวลารวดเร็วแทบทุกรูป

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ทั้งนี้เพราะการปฏิบัติกรรมฐานสายของพระอาจารย์มั่นปฏิบัติแนวสมถยานิก คือเอาสมถะกรรมฐานเป็นยานพาหนะนำไปสู่วิปัสสนา แล้วเอาวิปัสสนาเป็นทางนำไปสู่ มรรคผล นิพพานต่อไป <O[​IMG]</O[​IMG]หมายความว่าเจริญสมถะกรรมฐานจนได้ฌานแล้ว เอาฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อจนรู้แจ้งเห็นจริงสัจจธรรมทั้ง 4 ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ลูกศิษย์ของท่านสำเร็จฌานสูงต่ำตามภูมิธรรมของของแต่ละคนอยู่แล้ว เมื่อพระอาจารย์สั่งให้ใช้กำลังใจในฌานสมาธิพิจารณาทุกขเวทานาเป็นวิปัสสนา ความเจ็บไข้นั้นก็พลันหายไปด้วยอำนาจธรรมโอสถน่าอัศจรรย์<O[​IMG]</O[​IMG]

    <O[​IMG]
    การใช้สติปัญญาพิจารณาทุกขเวทนา พระอาจารย์มั่นพร่ำสอนพระเณรลูกศิษย์อยู่เสมอ ทั้งเวลาปกติและเวลาเจ็บไข้ได้ทุกข์ เพราะจิตจะได้หลักยึด ในเวลาจวนตัวเข้าจริง ๆ จะได้ไม่อ่อนแอท้อแท้เสียทีให้กับมรณะภัยในวาระสุดท้าย เพื่อจะได้เป็นผู้กำชัยชนะในทุกขสัจจะไว้ได้อย่างประจักษ์ใจและอาจหาญต่อคติธรรมดาคือความตาย การรู้ทุกขสัจจะด้วยสติปัญญาจริง ๆ (ไม่ใช่รู้ด้วยสัญญาความจำได้หมายรู้) ไม่มีอาลัยในสังขารต่อไป จิตยึดแต่ความจริงที่เคยพบพิจารณาแล้วเป็นหลักใจตลอดไป

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    เมื่อถึงคราวจวนตัวเข้ามาสติปัญญาประเภทนั้นจะเข้ามาเทียมแอก เพื่อลากเข็นทุกข์ด้วยการพิจารณาให้ถึงความปลอดภัยทันที ไม่ยอมทอดธุระจมทุกข์อยู่ดังแต่ก่อนเมื่อครั้งที่ยังไม่เคยกำหนดรู้ทุกข์เลย <O[​IMG]</O[​IMG]สติปัญญาแหลมคมประเภทนี้จะเข้าประชิดข้าศึกคือทุกขเวทนาทันที กิริยาท่าทางภายนอกก็เป็นเหมือนคนไข้ทั่ว ๆ ไป มีการอิดโหยโรยแรงเป็นธรรมดา <O[​IMG]</O[​IMG]แต่กิริยาภายใน คือใจกับสติปัญญาจะเป็นลักษณะทหารเตรียมออกแนวรบ ไม่มีการสะทกสะท้านหวั่นไหวต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นมากน้อยขณะนั้นมีแต่การค้นหามูลความจริงของ กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งเป็นที่รวมแห่งทุกข์ในขณะนั้นอย่างเอาจริงเอาจัง

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ไม่กลัวว่าตนต่อสู้หรือทนทุกข์ต่อไปไม่ไหว หากกลัวแต่สติปัญญาของตนจะไม่รู้รอบทันกับเวลาที่ต้องการเท่านั้นซึ่งผู้มีกำลังใจอาจหาญในธรรมอยู่แล้ว <O[​IMG]</O[​IMG]การพิจารณาทุกขเวทนาย่อมจะไม่พ้นสติปัญญาศรัทธาความเพียรไปได้เลย เมื่อรู้แจ้งความจริงแล้ว ทุกข์ก็จริง กายก็จริง ใจก็จริง ต่างอันต่างจริงไม่มีอะไรรังควานรังแกบีบคั้นกัน สมุทัยที่ก่อเหตุให้เกิดทุกข์ก็สงบตัวลง ไม่คิดปรุงว่ากลัวทุกข์กลัวตายกลัวไข้ไม่หายอันเป็นอารมณ์เขย่าใจให้ว้าวุ่นขุ่นมัวไปเปล่า ๆ เมื่อสติปัญญารู้รอบแล้วไข้ก็สงบลงในขณะนั้น

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    การพิจารณาทุกเวทนาในเวลาเจ็บไข้ได้ทุกข์พระธุดงค์กรรมฐานในป่าที่ปฏิบัติแนวสมถะยานิกสายพระอาจารย์มั่น ท่านชอบพิจารณาเป็นข้อวัตรของการฝึกซ้อมสติปัญญาให้ทันกับเรื่องของตัว โดยมากก็เรื่องทุกข์ ทั้งทุกข์กาย ทั้งทุกข์ใจ <O[​IMG]</O[​IMG]การบริกรรม พุทโธ ซึ่งยึดประจำใจตลอดชีวิตนั้น ก็ใช่ว่าจะบริกรรมแต่พุทโธอันเป็นสมถตะพึดตะพือแต่อย่างเดียวก็หาไม่


    <O[​IMG]</O[​IMG]
    พุทโธ คือ หัวใจ

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    <v:line id=_x0000_s1031 style="Z-INDEX: 5; POSITION: absolute" to="126pt,.9pt" from="0,.9pt"></v:line>พุทโธ เป็นเพียงบาทฐานยานพาหนะของจิต คือทำให้จิตเกิดพลังงานตามหลักกรรมฐาน เพื่อที่จะก้าวไปสู่วิปัสสนา คือการจัดระบบจิตให้บริสุทธิ์โดยถาวร <O[​IMG]</O[​IMG]เพื่อแยกความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกิเลศให้ขาดจากกันเพื่อทำให้เกิดการสุดสิ้น การเกิด การดับ การสืบต่อ นั่นคือ มรรคผล นิพพาน

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    สมถะกับวิปัสสนาต่างกันที่ตัวหนังสืออย่างหนึ่ง ต่างกันที่อารมณ์อย่างหนึ่ง

    ** สมถะเขียนอย่างหนึ่งและมีอารมณ์ 40 อย่าง<O[​IMG]</O[​IMG]
    ** ส่วนวิปัสสนาเขียนอีกอย่างหนึ่งและมีปรมัตถ์คือรูปนามเป็นอารมณ์

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ท่านที่เข้าใจไปว่า พระอาจารย์มั่นบริกรรมแต่พุทโธตามแนวสมถกรรมฐาน หาใช่เป็นพระวิปัสสนากรรมฐานแต่อย่างใดไม่ จึงเป็นความคิดเห็นที่ผิดค้นเดาเอาตามสัญญาของตนเอง หาได้ใช้วิจารณญาณให้ลึกซึ้งกว้างขวางเท่าทันสติปัญญาของพระอาจารย์มั่นไม่ ว่าธรรมดาพระภิกษุที่บวชเรียนเข้ามาในพระบวรพระพุทธศาสนาแล้ว ย่อมจะมุ่งกระทำให้แจ้งซึ่ง มรรคผล <O[​IMG]</O[​IMG]พระนิพพาน ตามหลักสูตรพระพุทธศาสนา

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างพระอาจารย์มั่น ก็คงจะไม่หลงติดอยู่กับฌานสมาบัติอันเป็นเพียงโลกีย์ฌาน จนมองไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา <O[​IMG]</O[​IMG]เพราะเท่าที่พระเณรลูกศิษย์ลูกหาของท่านจำนวนมากมายอย่างเช่น หลวงปู่แหวนวัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ถ้ำขาม หลวงปู่ขาววัดถ้ำกองเพล พระอาจารย์ลี วัดอโศการาม (พระสุทธิธรรมรังษีคัมภีร์เมธาจารย์) เป็นต้น ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น <O[​IMG]</O[​IMG]ต่างก็ยืนยันว่าพระอาจารย์มั่นผู้เป็นปรามาจารย์นั้น เป็นผู้ไม่หิว ไม่หลง ไม่ต้องแสวงหาอะไรอีกแล้ว เพราะท่านมีสัจจะธรรมทั้ง 4 อยู่ในกายในใจอย่างสมบูรณ์แล้ว คือบรรลุความรู้แจ้งเห็นจริงจบหลักสูตรสูงสุดในพระพุทธศาสนาแล้วนั่นเอง

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ผู้ที่บรรลุความรู้แจ้งเห็นจริงได้มรรค ผล นิพพาน จะต้องบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานถ้าไม่บำเพ็ญวิปัสสนาย่อมไม่มีทาง <O[​IMG]</O[​IMG]ดังนั้นข้อกล่าวหาที่ว่า พระอาจารย์มั่นไม่ใช่พระวิปัสสนากรรมฐานจึงเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดของผู้ไม่รู้จริง เป็นผู้ที่รู้น้อยพลอยรำคาญคอยจ้องแต่จะจับผิดผู้อื่นด้วยมิจฉาทิฐิอย่างน่าสงสาร<O[​IMG]</O[​IMG]
    <v:line id=_x0000_s1032 style="Z-INDEX: 6; POSITION: absolute" to="126pt,12.3pt" from="0,12.3pt"></v:line>


    สมาธิเกิดปัญญา
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    <v:line id=_x0000_s1033 style="Z-INDEX: 7; POSITION: absolute" to="126pt,2.8pt" from="0,2.8pt"></v:line>
    <O[​IMG]
    สมถกรรมฐาน คือ การสร้างสมาธิ วิปัสสนา คือ การสร้างปัญญา สมาธิปัญญาเหมือนป้อมหรือหลุมเพลาะปัญญาเปรียบเสมือนอาวุธ การสร้างสมาธิเปรียบเสมือนการอัดดินปืนเข้ากระสุนหรือฝังตัวอยู่ในป้อมฉะนั้น สมาธิจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก มีคุณาสิสงค์มาก

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ศีลเป็นเบื้องต้นแห่งมรรคก็ไม่ค่อยจะยากเท่าไรนัก ปัญญาอันเป็นเบื้องปลายแห่งมรรคก็ไม่ค่อยจะยากเท่าไรนัก <O[​IMG]</O[​IMG]ส่วนสมาธิอันเป็นท่ามกลางแห่งมรรคนั้นยากมาก เพราะเป็นการบังคับปรับปรุงด้านจิตใจการทำสมาธิสมถกรรมฐานเปรียบเสมือนปักเสาสะพานกลางแม่น้ำใหญ่ไหลเชี่ยวกรากย่อมเป็นสิ่งลำบากแต่เมื่อปักได้แล้วย่อมเป็นประโยชน์แก่ศีลและปัญญาวิปัสสนา

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ศีลนั้นเหมือนปักเสาสะพานในฝั่งนี้ปัญญาเหมือนปักเสาสะพานข้างฝั่งโน้นแต่ถ้าเสากลางคือ
     
  6. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    ฝนมหัศจรรย์
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:line id=_x0000_s1027 style="Z-INDEX: 2; POSITION: absolute" to="126pt,2.1pt" from="0,2.1pt"></v:line><O[​IMG]

    [​IMG]


    พอจวนถึงวันงานฌาปนกิจท่าน พระเณรและประชาชนต่างก็หลั่งไหลมาจากทุกทิศทุกทางทั้งใกล้และไกลจนเจ้าหน้าที่คอยต้อนรับแทบเป็นลมรับไม่หวาดไม่ไหว หาที่พักให้ไม่พอกับจำนวนคนและจำนวนพระเณรที่มาวัดต่าง ๆ ในตัวจังหวัดเต็มหมด ส่วนประชาชนนั้นพักแน่นโรงแรมทุกแห่ง ที่พักอยู่ตามทุ่งนาก็มีเป็นหมื่น เป็นกองเกวียนคาราวานมาจากถิ่นต่าง ๆ เหมือนงานนมัสการพระธาตุพนมไม่มีผิด พระธุดงค์ที่มาจากป่าจากเขาจำนวนพัน ๆ รูปนั้นกางกลดอยู่ในป่ารอบ ๆ วัดมองเห็นกลดขาวเปรี๊ยะไปทั้งป่า


    <O[​IMG]</O[​IMG]
    เครื่องไทยทานอาหารที่ประชาชนต่างมีศรัทธานำมาสมโภชโมทนา ขนใส่รถยนต์มาจากจังหวัดต่าง ๆ กองเท่าภูเขาเลากา โดยเฉพาะข้าวสารนับเป็นพัน ๆ กระสอบโรงครัวทานขนาดใหญ่ทำกันทั้งวันทั้งคืน(3คืน 4 วัน) <O[​IMG]</O[​IMG]สำหรับผ้าไตรที่ประชาชนคณะศรัทธานำมาเพื่อถวายบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลถวายเท่านั้นเป็นจำนวนกองใหญ่ยิ่งกว่ากองผ้าโรงงานทอผ้าเสียอีก <O[​IMG]</O[​IMG]งานนี้ทำพิธีเปิดมีกำหนด 3 คืน 4 วัน เริ่มแต่วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3ถวายเพลิงเวลา 6ทุ่มในคืนวันขึ้น 13 ค่ำ

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ผู้คนในขณะนั้นแออัดเยียดยัดบริเวณวัดประหนึ่งจะล้นแผ่นดินขยับติงตัวแทบไม่ได้ เมรุที่บรรจุศพสร้างขึ้นในบริเวณที่พระอุโบสถอยู่ในเวลานี้สร้างเป็นจัตุรมุขมีลวดลายสวยสง่างามมาก <O[​IMG]</O[​IMG]ท้องฟ้าขณะนั้นเดือนหงายกระจ่างสว่างนวลปราศจากเมฆอากาศหนาวเยือกเย็น

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    เมื่อถึงเวลาถวายเพลิง ทันใดก็เกิดเหตุมหัศจรรย์ ปรากฏมีเมฆขาวก้อนหนึ่งลอยละลิ่วมาในเบื้องอากาศและหยุดนิ่งอยู่เหนือเมรุ ทามกลางสายตาของผู้คนในพิธีงานนับหมื่น ๆ คน <O[​IMG]</O[​IMG]ครั้นแล้วเมฆขาวก้อนนั้นก็ปรอยปรายละอองฝนลงมาตกต้องกระทบร่างกายผู้คนให้เย็นฉ่ำ พร้อม ๆ กับเปลวไฟในเมรุได้ลุกขึ้นเผาศพท่านพระอาจารย์มั่น ละอองฝนโปรยปรายอยู่ 15 นาที เมฆขาวประหลาดนั้นจึงค่อย ๆลอยจากไปช้า ๆ เลือนหายไปท่ามกลางความสว่างไสวแห่งแสงเดือนหงาย เหตุการณ์ประหลาดมหัศจรรย์นี้พระเณรและประชาชนทั้งหลายในพิธีงานต่างก็ได้ประจักษ์ทั่วกัน และไม่มีใครกล้าปฏิเสธได้ว่าไม่จริง

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    การถวายเพลิงศพไม่ได้ใช้ถ่านหรือฟืนตามปกติ หากถวายด้วยไม้จันทร์ที่มีกลิ่นหอมที่คณะศรัทธาจากฝั่งประเทศลาวจัดถวายผสมด้วยธูปหอมเป็นเชื้อเพลิง <O[​IMG]</O[​IMG]นับแต่ขณะถวายเพลิงจนถึงเวลาเก็บอัฐิ ได้มีคณะกรรมการทั้งพระและฆราวาสคอยเฝ้าดูแลอย่างกวดขันใกล้ชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันประชาชนผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธา ถึงขนาดเข้ายื้อแย่งอัฐิ และเถ้าอังคารธาตุ ด้วยความเผลอสติ<O[​IMG]</O[​IMG]
    <v:line id=_x0000_s1028 style="Z-INDEX: 3; POSITION: absolute" to="126pt,11.55pt" from="0,11.5pt" strokeweight="1pt"></v:line>
    <O[​IMG]


    อัฐิพระธาตุ<O[​IMG]</O[​IMG]
    <v:line id=_x0000_s1029 style="Z-INDEX: 4; POSITION: absolute" to="126pt,1.65pt" from="0,1.65pt" strokeweight="1pt"></v:line><O[​IMG]

    อัฐิพระอาจารย์มั่น ได้ถูกคณะกรรมการแบ่งแจกไปตามจังหวัดต่าง ๆ ที่มีผู้มาในงานเพื่อนำไปเป็นสมบัติของกลางโดยมอบไปกับพระที่มาในงานในนามของจังหวัดนั้น ๆ เชิญไปบรรจุไว้ในสถานที่ต่าง ๆตามแต่จะเห็นควร <O[​IMG]</O[​IMG]ส่วนประชาชนก็แจกเหมือนกันแต่คนมากต่อมากการแจกจึงไม่ทั่วถึงอัฐิที่แจกไปประมาณ 20 จังหวัด คณะกรรมการเห็นใจประชาชนที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาพระอาจารย์มั่นที่ไม่ได้รับแจกอัฐิ จึงได้อนุญาตให้ประชาชนเข้าเก็บกวาดเอาเถ้าถ่านที่เศษเหลือจากอัฐิที่เก็บแล้วไปสักการบูชาได้ ปรากฏว่าประชาชนต่างก็แย่งกันเก็บกวาดชุลมุนจนเกลี้ยงเกลา ไม่มีเหลือแม้แต่เศษฝุ่น ยิ่งกว่าบริเวณนั้น ถูกขัดถูเสียอีก


    [​IMG]

    1.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)<O[​IMG]</O[​IMG]
    2.พระพรหมมุณี (ผิน สุวโจ)<O[​IMG]</O[​IMG]
    3.พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโส)<O[​IMG]</O[​IMG]
    4.พระเทพวรคุณ (อ่ำ)<O[​IMG]</O[​IMG]
    5. -<O[​IMG]</O[​IMG]
    6.พระเทพญาณวิศิษฐ์ (เดิม)<O[​IMG]</O[​IMG]
    7.พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)<O[​IMG]</O[​IMG]
    8.พระธรรมบัณฑิต<O[​IMG]</O[​IMG]
    9. พระญาณวิศิษฐ์ (สิงห์ ขนฺตฺยคโม)<O[​IMG]</O[​IMG]
    10.พระราชพิศาลสุธี (ทองอินทร์)<O[​IMG]</O[​IMG]
    11. - <O[​IMG]</O[​IMG]
    12. หลวงปู่ขาว อนาลฺโย<O[​IMG]</O[​IMG]
    13. -<O[​IMG]</O[​IMG]
    14.พระราชสุทธาจารย์ (พรหมา โชติโก)<O[​IMG]</O[​IMG]
    15.พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี<O[​IMG]</O[​IMG]
    16. - <O[​IMG]</O[​IMG]
    17.พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร<O[​IMG]</O[​IMG]
    18.พระอาจารย์กว่า สุมโน<O[​IMG]</O[​IMG]
    19.พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน<O[​IMG]</O[​IMG]
    20.หลวงพ่อขุนศักดิ์<O[​IMG]</O[​IMG]
    21 หลวงพ่อทองสุข<O[​IMG]</O[​IMG]
    22.
     
  7. พระป่าสุพรรณ

    พระป่าสุพรรณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +13,134
    โมทนาสาธุครับ
     
  8. tassanai_k

    tassanai_k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,518
    โมทนา สาธุ
     
  9. นืเฟร

    นืเฟร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +433
    ข้อมูลเยอะมากๆ อ่านจนตาลายเลย
     
  10. meenoi016

    meenoi016 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +343
    สาธุธุธุ.....ด้วยมากครับ ที่ได้นำธรรมมะดีๆๆ ลึกซึกมาฝากกัน
    ...............................................................................

    รอบที่หนึ่งสิ้นสุดลงแสดงบทบาลีขึ้นมาว่า “โลโป” บอกความหมายขึ้นมาพร้อมว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้น คือการลบสมมติทั้งสิ้นออกจากใจ
    <OIMAGES font IMG]< tongue.gif[ smilies O[IMG]images>
    [/B][B][SIZE=4][COLOR=darkorchid][I]รอบที่สองสิ้นสุดลง แสดงคำบาลีขึ้นมาว่า “วิมุตติ” บอกความหมายว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้น คือความหลุดพ้นอย่างตายตัว และการเข้าถึงพระนิพพานอย่างแท้จริง[/I][/COLOR]
    [COLOR=dimgray]<O[IMG]IMAGES font IMG]< tongue.gif[ smilies O[IMG]images>[/COLOR]
    [COLOR=purple][I]รอบที่สามสิ้นสุดลงแสดงคำบาลีขึ้นมาว่า “อนาลโย” บอกความหมายว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้นคือ การตัดอาลัยอาวรณ์โดยสิ้นเชิง เป็นเอกจิต เอกธรรม จิตแท้ ธรรมแท้มีอันเดียว ไม่มีสองเหมือนสมมติทั้งหลาย[/I][/COLOR][/SIZE][/B]

    [/FONT]
     
  11. meenoi016

    meenoi016 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +343
    สาธุธุธุ.....ด้วยมากครับ ที่ได้นำธรรมมะดีๆๆ ลึกซึกมาฝากกัน
    ...............................................................................

    รอบที่หนึ่งสิ้นสุดลงแสดงบทบาลีขึ้นมาว่า “โลโป” บอกความหมายขึ้นมาพร้อมว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้น คือการลบสมมติทั้งสิ้นออกจากใจ
    <OIMAGES font IMG]< tongue.gif[ smilies O[IMG]images>
    [/B][B][SIZE=4][COLOR=darkorchid][I]รอบที่สองสิ้นสุดลง แสดงคำบาลีขึ้นมาว่า “วิมุตติ” บอกความหมายว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้น คือความหลุดพ้นอย่างตายตัว และการเข้าถึงพระนิพพานอย่างแท้จริง[/I][/COLOR]
    [COLOR=dimgray]<O[IMG]IMAGES font IMG]< tongue.gif[ smilies O[IMG]images>[/COLOR]
    [COLOR=purple][I]รอบที่สามสิ้นสุดลงแสดงคำบาลีขึ้นมาว่า “อนาลโย” บอกความหมายว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้นคือ การตัดอาลัยอาวรณ์โดยสิ้นเชิง เป็นเอกจิต เอกธรรม จิตแท้ ธรรมแท้มีอันเดียว ไม่มีสองเหมือนสมมติทั้งหลาย[/I][/COLOR][/SIZE][/B]

    [/FONT]
     
  12. kunchaytae

    kunchaytae สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2006
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +23
    ขอบคุนคับที่เอามาไหห้อ่านคับ อนุมาทนา คับ
     
  13. bankamo

    bankamo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2005
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +86
    ขออนุโมทนาอย่างจริงใจครับ ข้อมูลเหล่านี้ประทับใจผมมาก ขอบคุณครับ
     
  14. surad

    surad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2006
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +1,287
    ขอร่วมอนุโมทนาด้วยครับ ได้อ่านก็ซาบซึ้งในการประฏิบัติของหลวงปู่ อยากเดินตามรอยท่านแต่รู้ว่าตัวว่ากิเลศหนาชาตินี้คงไม่บรรลุธรรม แต่ขอสั่งสมบารมีตั้งแต่ชาตินี้ เพื่อนิพพานในภายภาคหน้า สาธุ สาธุ สาธุ
     
  15. surasaks

    surasaks Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +85
    Save ไว้แล้วเอาไว้อ่านตอนวลาว่าง ขอบคุณสำหรับข้อมูล อนุโมทนา
    สมาชิก
     
  16. yokine

    yokine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2007
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +602
    ขออนุโมทนาด้วยครับผม อ่านจบแล้ว ทั้งได้ข้อคิดคติ แล้วก็เพลิดเพลินไปด้วย ขออณุญาติ พิมพ์ออกมาให้ กับ พ่อแม่พี่น้องแล้วก็ ญาติมิตร ได้ฟังนะคร้าบ
     
  17. ว.อริยะ

    ว.อริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +346
    นักปราชญ์ปริยัติผู้ถือแผนที่จะเทียบกับ นักปฏิบัติผู้อยู่ในชัยภูมิ ภูมิทัศน์ ภูมิประเทศสถานที่จริงได้อย่างไร
     

แชร์หน้านี้

Loading...