ทำสมาธิไม่ถูกหลักจึงเพี้ยนไปไม่รู้ตัว : พระอาจารย์ทูล

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 25 สิงหาคม 2009.

  1. สิงหนาท

    สิงหนาท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    673
    ค่าพลัง:
    +4,805
    เคยได้ยินมาเหมือนกันครับ

    อนุโมทนา สาธุ ครับ
     
  2. NikuSeed

    NikuSeed เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    336
    ค่าพลัง:
    +724
    คนที่เล็งเห็นแต่ผลของสมาธิ ย่อมมีความทุกข์

    เปรียบดั่งคนปลูกต้นไม้ แล้วหวังให้ผลออกมาเต็มต้น พอผลออกมาไม่เต็มต้น ก็คิดว่าออกมาน้อย แล้วก็ทุกข์
    คนที่ปลูกต้นไม้ แล้วไม่หวังผลใดๆ พอผลออกมา ก็คิดว่าผลออกมามาก ก็เป็นสุข
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 สิงหาคม 2009
  3. tobetruly

    tobetruly เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2009
    โพสต์:
    210
    ค่าพลัง:
    +427
    ขอบคุณครับ ช่วยเตือนตนเองได้อย่างดีเลย

    ระวัง ใครที่ว่าแน่จะแพ้ ป.4 นะเออ = ="
     
  4. tinnakornten

    tinnakornten เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +494
    สาธุ ผมจะเก็บไว้เตือนสติ ขอบคุณมากครับ ขอบคุณจริงๆ
     
  5. วิบแวม

    วิบแวม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +80
    ขอบคุณกับบทความดีๆคับ
     
  6. DrBoy_Ongarj

    DrBoy_Ongarj Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2007
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +30
    สวัสดีครับ

    ผมสงสัยกับคำว่าใช้ปัญญาน่ะครับ หากจิตเป็นสมาธิแล้วใช้ปัญญายังไงครับ

    ผมเป็นผู้ฝึกสมาธิมือใหม่ครับ ยังแค่ขณิกสมาธิเท่านั้น ผมใช้การดูจิตให้เห็นการเกิดดับ

    ฝึกเป็นประจำครับ แต่ผมพึ่งฝึกสมถะสมาธิ เพราะว่าผมเคยศึกษามาว่าก่อนที่จะบรรลุธรรม

    จะต้องมีสมาธิอย่างน้อยฌาน๑ แล้วใช้ฌานหนึ่ง วิปัสสนาต่อโดยใช้ปัญญาให้จิตเห็นความจริงของธรรมชาติ

    คำว่าใช้ปัญญาที่ว่าคือใช้ทำอะไร ยังไงครับ
     
  7. anoldman

    anoldman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +4,559
    สาธุๆ


    ลูกหลานขอกราบพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ขอรับ

    ปัญญา (วิปัสสนา) คือ รู้ตามความเป็นจริง เช่น รู้ว่าหายใจเข้าไม่หายใจออกเราก็ตาย รู้ว่าหายใจออกไม่หายใจเข้าเราก็ตาย

    สติ (สมถกัมมัฏฐาน) คือ ระลึกรู้ตลอดเวลา หรือคำไทยๆ ก็รู้ตัวตลอดเวลา

    ผิดพลาดประการใด ขอน้อมรับครับผม


    hello9
    กลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ สายอีสาน
    กลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ สายอีสาน มารายงานตัวกันหน่อยครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  8. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    เอาแบบโลก ๆ ชาวบ้าน ๆ อย่างเรานี่แหละ อย่าเพิ่งไปประหารกิเลสเลย เดี๋ยวไม่มีใครขายก๋วยเตี๋ยวให้กิน.................

    ตัวอย่าง ...คุณอยากจะทำอะไรสักอย่าง ที่มันเป็นการแก้ปัญหาส่วนตัวของคุณ เช่นกระผมมีปัญหา สุนัขผมเดินไม่ได้ ขาหลัง 2 ข้างโดนรถชน เวลาไปไหนมันจะลากขาหลังไป ครูดไปกับถนนปูนจนเป็นแผลเหวอะหวะ หากจะล่ามมันอยู่กับที่ก็ได้ ถ้าจะถ่าย จะกินมันต้องอุ้มไป ไม่ไหวแน่

    ปกติเราก็ฝึกสมาธิอยู่แล้ว พอนั่งหลับตาเราก็คิดทำรถที่จะให้มันอาศัยนั่งลากตัวเองไปบนรถ แทนที่จะลากขามันไปกับถนน คิดจะประดิษฐ์ล้อเลื่อนให้สุนัข ต้องใช้ความคิดเหมือนกัน คิดด้วยการทำใจให้เป็นกลาง สบาย ๆ ถ้าคิดเพื่อจะเอาให้ได้มันจะกลายเป็นฟุ้งซ่าน เดี๋ยวก็มึน เครียด คิดหาแบบไป....

    เมื่อได้แบบประดิษฐ์รถตามความต้องการแล้ว ก็จัดการทำไปตามที่คิดได้ แล้วทดลองใช้รถนั้น เมือมันไม่สมบูรณ์แบบ ก็ค่อย ๆ ดัดแปลงไปเรื่อย ๆ ....เป็นต้น นี่แหละมันเป็นเรื่องปัญญาแบบโลก ๆ สมาธิเอามาใช้ได้

    มันมีเรื่องให้คิดอยู่เรื่อย ๆ คุณก็ฝึกใช้สมาธิแก้ปัญหาไป บ่อยเข้ามันก็จะเป็นอัตโนมัติ คิดอะไรอาจเห็นเป็นรูปภาพให้ทำตามที่อยากได้ ก็มีสิทธิ์...ใช่มะ

    หรือคุณคิดจะเอาสมาธิทำอะไร....หาหวยรึ แหะ ๆ โชคดีครับ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2009
  9. หงษ์

    หงษ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +821
    ขอบคุณมากค่ะ ร่วมอนุโมทนาด้วยนะค่ะ สาธุ;ปรบมือ
     
  10. pee-

    pee- สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +19
    สมาธิ = การรวมศูนย์

    สติ คือ การระลึกรู้

    สัมปชัญญะ =การประคองสติให้ต่อเนื่อง

    เจริญ สติ + สม่าธิ คือ ให้ดูขันธ์ 5 อย่างต่อเนื่อง (ดูกาย ดูใจ )

    ดูยังไง.. ระลึกรู้ กาย..70 ใจ..30 ไปพร้อมๆกัน


    อย่าไปดูกายอย่างเดียว หรือใจอย่างเดียว มันฝืนธรรมชาคิ ครับ

    เพราะตามธรรมชาติเราดูทั้ง 2 อย่าวควบกันไปอยู่เเล้ว

    ทำเเล้วมีความสุข ...เชื่อผมเหอะ

    ลองดูสายหลวงพ่อเทียนนะ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2009
  11. pee-

    pee- สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +19
    ระดับของความตั้งมั่นในความสงบนิ่งของจิต แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นกล่าวคือ (สมาธิ ๓)

    ๑.สมาธิที่เกิดขึ้นชั่วขณะ แต่ตั้งมั่นอยู่ไม่ได้นาน (ขณิกสมาธิ)
    ๒.สมาธิที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวได้นิ่งสงบ และนานกว่าระดับแรกแต่ยังไม่ตัดขาดจากสิ่งรบกวนภายนอกหรือเรียกว่าสมาธิขั้นจวนเจียน (อุปจารสมาธิ)
    ๓.สมาธิที่แนบแน่นและมั่นคงอยู่ในอารมณ์นั้นๆ จนตัดจากสิ่งรบกวนภายนอกได้สิ้น เป็นสมาธิในฌาน (อัปปนาสมาธิ)
    ญาณหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับมีดังนี้ (ญาณ ๑๖)

    ๑.ญาณกำหนดรู้เรื่องของนามและรูป แยกแยะออกได้ว่าอะไรคือนามธรรม อะไรคือรูปธรรม (นามรูปปริจเฉทญาณ)
    ๒.ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่าอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้เกิดรูปและนามอาศัยซึ่งกันและกัน (ปัจจยปริคคหญาณ)
    ๓.ญาณกำหนดรู้ด้วยการพิจารณาเห็นนามและรูปตามหลักไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ยกรูปและนามมาพิจารณาอย่างลึกซึ้ง (สัมมสนญาณ)
    ๔.ญาณที่เห็นว่าการเกิดมาและดับไปของเบญจขันธ์เป็นเรื่องธรรมดา (อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ)
    ๕.ญาณที่เห็นการสลายไปของสังขารว่าต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา (ภังคานุปัสสนาญาณ)
    ๖.ญาณที่เห็นสังขารเป็นของน่ากลัวไม่ว่าภพใด เพราะว่าต้องสลายไปทั้งสิ้น (ภยตูปัฏฐานญาณ)
    ๗.ญาณที่เห็นเป็นโทษ เพราะว่าสังขารเป็นของน่ากลัวจึงต้องมีข้อบกพร่อง มีทุกข์ (อาทีนวานุปัสสนาญาณ)
    ๘.ญาณที่เห็นความเบื่อหน่าย เมื่อเห็นว่าเป็นโทษแล้วก็บังเกิดความเบื่อหน่ายในสังขาร ไม่ติดใจ (นิพพิทานุปัสสนาญาณ)
    ๙.ญาณที่ปรารถนาจะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น เพราะว่าเกิดความเบื่อหน่ายแล้ว (มุญจิตุกัมยตาญาณ)
    ๑๐.ญาณที่พิจารณาหาทางเพื่อพ้นจากสังขาร ได้แก่การยกเอาสังขารทั้งหลายมาพิจารณาเพื่อให้หลุดพ้นไป (ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ)
    ๑๑.ญาณที่เห็นอย่างเป็นกลางในความเป็นไปของสังขาร ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งที่เห็น (สังขารุเปกขาญาณ)
    ๑๒.เมื่อเป็นกลางแล้ว ญาณก็คล้อยเข้าสู่การเห็นอริสัจจ์อันจะนำพาไปสู่ขั้นต่อไป จนกระทั่งจิตดิ่งลงเกิดมรรคญาณขึ้นจึงจะถึงที่สุดคือนิพพาน (สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ)
    ๑๓.ญาณหยั่งรู้ที่เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในการข้ามขั้นจากปุถุชนไปเป็นอริยบุคคล (โคตรภูญาณ)
    ๑๔.ญาณหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะระดับอริยบุคคลในแต่ละขั้น (มัคคญาณ)
    ๑๕.ญาณหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จในระดับอริยบุคคลในชั้นนั้นๆ จนได้อริยผล (ผลญาณ)
    ๑๖.ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน มรรคผล กิเลสที่ละแล้ว ที่ยังเหลืออยู่ และนิพพาน ถ้าเป็นพระอรหันต์ก็ไม่มีการพิจารณากิเลสที่เหลืออยู่ (ปัจจเวกขณญาณ)
     
  12. pee-

    pee- สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +19
    ขอโทษ กดซำ้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2009
  13. PARAMATEE

    PARAMATEE สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +17
    การมุ่งหวังเพื่อจะได้อะไรจากการนั่งสมาธิ คือการค้นคว้าและอยากได้คือ มิจฉาสมาธิ และการว่าผู้อื่นและติเดียนผู้อื่น และยกย่องตนเอง ก็คือความผิดนะค่ะ อนุโมทนาสาธุค่ะ
     
  14. natspdo

    natspdo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +1,505
    เกิดจากความไม่รู้หรือไม่ได้รับรู้ตามความเป็นจริงในขณะนั้น ขาดการพิจารณาสร้างความเข้าใจตั้งแต่เบื้องต้น ทำให้ทำสมาธิก็เลยผิดไปจากเดิม บางคนต้องการเห็น บางคนต้อง อยากได้อภิญญา แต่ก็ไม่ทราบเรื่องของปัญญาซึ่งเป็นตัวหลักในการแก้ปัญหา ยิ่งหลงคิดก็เลยมีความคิดแปลก ๆ เช่นบอกว่ารู้ว่าเราคิดอะไรอยู่ที่จริงไม่รู้แต่คาดเดาเอาเอง ตนเองยังไม่รู้เลยจะมารู้จิตของคนอื่นได้อย่างไร ดังนั้นการมีครูอาจารย์คอยแนะนำจะดีมากเลยครับจะได้ไม่เพื้ยน
     
  15. rawats_99

    rawats_99 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,020
    ค่าพลัง:
    +1,947
    สรุปได้ว่าต้องมีความรู้ด้านทฤษฎีก่อนแล้วจึงปฏิบัติ..พอปฏิบัติแล้วติดปัญหาก็สอบถามผู้รู้(ครู)พระไตรปิฎก...แล้วปฏิบัติตามต่อ..มีปัญหาแล้วจึงถามต่อ..เป็นวงจรและเมื่อมีปัญญาดีพอแล้ว..ปัญหาที่เกิดขึ้นก็สามารถเชื่อมโยงความจริงได้อย่างถูกต้อง..ที่สำคัญต้องมีอาจารย์ผู้ชี้ทาง..ผู้คอยสอบทานนั้นเอง;ปรบมือ
     
  16. มาริตา

    มาริตา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +60
    ข อ บ คุ ณ ค่ ะ
     
  17. pee-

    pee- สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +19
    นามรูป ผมคิดว่าจะเห็น ต่อเมื่อตื่นตัว..คือลืมตา..
    ถ้าหลับตา ดูลมหายใจ จะเห็น นามรูปไม่ชัด..หรือดูได้ยากครับ...
    สายหลวงพ่อเทียน จะเด่น ตรงจุดนี้ครับ...สมาธิ ก็คือ สมาธิ ครับ
    ไม่มีเเบบ a. or b. ครับ..
    สมาธิ เเล้วไปมีผลอย่างอื่นๆ กลัวเป็น อุปาทานมากกว่าครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...