***... สัดส่วนแห่งจักรวาล ...***

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ดาวหางสีเงิน, 9 มกราคม 2005.

  1. ดาวหางสีเงิน

    ดาวหางสีเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2005
    โพสต์:
    726
    ค่าพลัง:
    +795
    ลายต่อหลายคน...
    อาจจะเคยได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับความอัศจรรย์ของสิ่งที่ดาวหางสีเงินกำลังจะนำเสนอต่อไปนี้มาแล้วนะครับ
    แต่ก็ยังมีอีก"หลายต่อหลายคน"...ซึ่งมากกว่า"หลายต่อหลายคน"ในขั้นต้น (เอ่า ลูกเล่นหน่อยทำเป็นงง)
    ที่ยังไม่เคยได้รับรู้สิ่งอัศจรรย์ที่ดูเหมือนจะธรรมดานี้เลย ทั้งๆที่มันเป็นเรื่องใกล้ตัวของเรา และได้สัมผัสมันอยู่แทบทุกวินาที... เอิ้กกก เวอร์ว่ะตู


    1.618 หรือ PHI อ่านออกเสียงว่า "ฟี"
    ตัวเลขนี้จะมีความสำคัญมากในเรื่องของศิลปะ เป็นตัวเลขที่สวยที่สุดในจักรวาล...อย่างไร
    เราจะเริ่มดูไปพร้อมๆกันครับ



    จำนวนฟิโบนัชชี... ตัวเลขเหล่านี้เกิดขึ้นจากโจทย์ปัญหาต่อไปนี้ที่ปรากฏในหนังสือ Liber Abaci:
    โจทย์ Q : จะมีกระต่ายเกิดขึ้นกี่คู่ในหนึ่งปี ถ้าเริ่มต้นจากกระต่ายหนึ่งคู่
    และในทุกๆเดือนกระต่ายแต่ละคู่จะคลอดลูกกระต่ายออกมาคู่หนึ่ง
    โดยกระต่ายคู่ใหม่ที่เกิดจะสามารถคลอดลูกได้ในเดือนที่สองเป็นต้นไป

    (อ่านแล้ว งง ช่างมันครับ...เพราะเราสนใจที่"คำตอบ")

    อันดับฟิโบนัชชี ซึ่งได้จากคำตอบของโจทย์ข้อนี้ คือ ชุดตัวเลขที่แต่ละพจน์หลังจากพจน์ที่หนึ่งจะเกิดจากการบวกตัวเลขสองตัวที่อยู่ก่อนหน้ามันเข้าด้วยกัน อันดับนี้คือ 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, ...

    ตัวเลข PHI หรือ1.618 มีกำเนิดมาจากลำดับฟิโบนัชชี่ที่โด่งดังนี้เอง
    โดยการหารของตัวเลขที่อยู่ติดกัน
    ซึ่งสร้างความน่าประหลาดใจยิ่ง ตรงที่เท่ากับจำนวน 1.618 นี้หละครับ
    ประหลาดใจยังไง ?
    มาดูต่อ>>>

    PHI ,สัดส่วนแห่งสวรรค์, สัดส่วนโกลเด้น ฯลฯ
    คือ บทบาทที่เหมือนเป็นรากฐานให้กับธรรมชาติ พืช สัตว์ แม้แต่มนุษย์
    ซึ่งต่างก็มีสัดส่วนที่ตรงกับอัตราส่วนของPHI ต่อ 1
    ผมจะยกตัวอย่างความปรากฎอยู่ของ PHI ในธรรมชาติ ซึ่งมีมากเกินกว่าจะเรียกว่าเป็นความบังเอิญ
    ซึ่งคนโบราณได้ทึกทักเอาว่าจำนวนเลข PHI คงถูกสรรค์สร้างโดยพระผู้สร้างจักรวาล

    1.ในสังคมผึ้ง หากเราศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศผู้กับเพศเมีย จะพบว่า
    ไม่ว่ารังผึ้งไหนในโลกนี้ จะมีผึ้งตัวเมียมากกว่าตัวผู้เสมอ...
    และเมื่อคุณหารจำนวนผึ้งตัวเมียด้วยจำนวนผึ้งตัวผู้ ...คุณจะได้ผลลัพธ์ = PHI = 1.618
    2. หอยนอติลุส มีอัตราสว่นระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางของเกลียวแต่ละเกลียวเทียบกับเกลียวถัดไป = PHI

    3. เมล็ดทานตะวัน ... เติบโตขึ้นในวงขดเกลียวที่ตรงข้ามกัน
    เกสรด้านในที่จะกลายเป็นเมล็ดทานตะวันจะมีการจัดเรียงตัวกันเป็นเส้นเวียนแบบก้นหอย (สไปรัล) สองชุด ชุดหนึ่งจะเวียนตามเข็มนาฬิกา อีกชุดหนึ่งจะเวียนทวนเข็มนาฬิกา จำนวนของสไปรัลที่เวียนตามเข็มนาฬิกามักจะเป็น 34 และที่ทวนเข็มจะเป็น 55 บางทีจำนวนสไปรัลนี้ก็จะเป็น 55 กับ 89 และบางครั้งก็เป็น 89 กับ 144 ทั้งหมดนี้ก็คือจำนวนฟิโบนัชชีสองจำนวนที่ติดกัน
    อัตราสว่นของเส้นผ่านศูนย์กลางของแต่ละวงเทียบกับวงถัดไป จะเข้าใกล้ PHI
    รวมไปถึง กลีบกระเปาะลูกสนที่ขดเป็นวง, การเรียงตัวของใบไม้บนก้าน ,การแบ่งตัวของแมลง
    ทั้งหมดนี้แสดงถึงสัดส่วนแห่งสวรรค์นี้เหมือนกันทั้งหมดครับ
    อันดับของฟิโบนัชชีจะปรากฏขึ้นในทุกหนทุกแห่งของธรรมชาติ ใบไม้บนกิ่งไม้โตขึ้นด้วยระยะห่างจากกันสัมพันธ์กับอันดับฟิโบนัคชี อันดับฟิโบนัคชีมีอยู่ในดอกไม้ทั่วไป ในดอกไม้ส่วนใหญ่ จำนวนกลีบจะเป็น 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, หรือ 89 ดอกลิลลี่มี 3 กลีบ บัตเตอร์คัพมี 5 กลีบ เดลฟีเนียมมี 8 กลีบ แมรี่โกลด์มี 13 กลีบ แอสเตอร์มี 21 กลีบ เดซี่มักจะมี 34 หรือ 55 หรือไม่ก็ 89 กลีบ
    [​IMG]
    [​IMG]
    ถ้าวาดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีของด้านยาวกต่อด้านกว้างเป็นอัตราส่วนPHIต่อกัน( ดูรูปประกอบครับ) รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้จะสามารถแบ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอีกรูปหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปที่สองจะมีความเสมือนกับสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปใหญ่ และจะมีอัตราส่วนของด้านทั้งสองเป็นPHIด้วย นอกจากนี้สี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปเล็กก็ยังสามารถถูกแบ่งเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสและส่วนที่เหลือก็จะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งมีอัตราส่วนด้านเท่ากับPHIอีก เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ สไปรัลที่เกิดจากการลากเส้นจากรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าต่อกันไปเรื่อยๆจะเป็นสไปรัลที่พบเห็นได้บ่อยๆในเปลือกหอย ในการเรียงตัวกันของเกสรดอกทานตะวันอย่างที่กล่าวไปแล้วครับ
    [​IMG]
    สี่เหลี่ยมผืนผ้ามีสัดส่วนที่น่าประทับใจ สัดส่วนPHI ไม่ได้มีอยู่แต่ในธรรมชาติเท่านั้นแต่มีปรากฏในงานศิลปะในฐานะอุดมคติอันสูงส่งแห่งความงาม มันมีความเกี่ยวกับเทพเจ้าอยู่อันดับนี้ และความจริงในสมาคมของฟิโบนัชชี ซึ่งยังคงมีอยู่ในปัจจุบันนี้ จะมีหัวหน้าเป็นพระและมีศูนย์กลางอยู่ที่เซนต์แมรี่ส์คอลเล็จในแคลิฟอร์เนีย สมาคมนี้อุทิศตัวให้กับการค้นหาตัวอย่างของสัดส่วนPHIและอันดับของฟิโบนัชชีในธรรมชาติ ในงานศิลปะและสถาปัตยกรรม ด้วยความเชื่อที่ว่าอัตราส่วนนี้ เป็นของขวัญที่พระเจ้าประทานให้กับโลกนี้ ในฐานะที่เป็นอุดมคติแห่งความงาม สัดส่วนโกลเด้น ปรากฏอยู่ในสถานที่อย่างเช่น วิหารพาเธนอนที่เมืองเอเธนส์ อัตราส่วนความสูงของวิหารพาเธนอนต่อความยาวของมัน มีค่าเท่ากับ PHI
    [​IMG]
    วิหารพาเธนอน กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีก
    มหาปีรามิดที่เมืองกีซ่า ซึ่งถูกสร้างขึ้นหลายร้อยปีก่อนวิหารพาเธนอนของกรีก มีด้านที่ประกอบเป็นปีรามิดที่มีอัตราส่วนความสูงต่อครึ่งหนึ่งของความยาวฐาน เท่ากับสัดส่วนโกลเด้น บันทึกบนกระดาษบันทึกพาไพรัสของของชาวอียิปต์ก็มีการอ้างถึง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2005
  2. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,776
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    ดี ดี ชอบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. ดาวหางสีเงิน

    ดาวหางสีเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2005
    โพสต์:
    726
    ค่าพลัง:
    +795
    ...แต่...ทั้งหมดนี้ก็ดูจะเป็นอะไรที่ไม่ใกล้ชิดตัวเราเท่าไหร่ใช่ไหมครับ ?
    งั้นเรามาลุยกันต่อ >>>


    ตอนอาบน้ำนะครับ ลองเอาสายวัดเข้าไปวัดตัวด้วยครับ
    1 . วัดระยะจากหัวถึงพื้น หารด้วยระยะจากสะดือถึงพื้น ...
    2 . ระยะจากไหล่ถึงปลายนิ้วมือ หารด้วยระยะจากข้อศอกถึงปลายนิ้วมือ
    3 . ระยะจากสะโพกถึงพื้น หารด้วย หัวเข่าถึงพื้น....
    ถ้าอยากจะเจอ PHI มากกว่านี้ ลองทำความรู้จักกับ ข้อมือ นิ้วเท้า กระดูกสันหลังของคุณให้มากขึ้นครับ
    แล้วคุณจะพบว่า...คุณคือผลลัพธ์ที่เดินได้ของ "สัดส่วนแห่งสวรรค์"

    สัญลักษ์แห่งสวรรค์ มีชื่อเรียกอย่างหนึ่งว่า "เพนทาแกรม"ครับ หรือ" เพนทาเคิล" ก็ได้ไม่ว่ากัน
    เป็นรูปดาวห้าแฉก ชนโบราณหลายๆวัฒนธรรมถือว่าสัญลักษณ์นี้มีความเกี่ยวเนื่องกับพระเจ้า และมีความวิเศษเหนือธรรมชาติ
    PHI ก็ยังขอมีเอี่ยวด้วยเช่นเคยครับ ...อัตราส่วนระหว่างส่วนต่างๆที่แบ่งโดยเส้นทุกเส้นในเพนทาเคิลนี้ เท่ากับ PHI ทั้งหมด
    [​IMG]
    ผมเองเชื่อว่า สัดส่วนนี้น่าจะเป็นได้ถึงสัดส่วนแห่งจักรวาล
    ทุกๆอณูของอากาศ อะตอม โมเลกุล สสารทุกชนิดในจักรวาลนี้น่าจะมีกลไกในการเกิดด้วยตัวเลข 1.618นี้ครับ
    มันอาจจะเป็น "ความลับที่ไม่ลับ" ของ"พระผู้สร้าง" ก็เป็นได้ครับ
    หรือคุณคิดว่า...มันเป็นเรื่องบังเอิญของธรรมชาติ ...
    กึ๋ยๆ

    จบข่าว...
     
  4. ดาวหางสีเงิน

    ดาวหางสีเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2005
    โพสต์:
    726
    ค่าพลัง:
    +795
    ตอบคุณ Jupiter นะครับ ...ถ้าเป็นอย่างที่คุณว่านะครับ
    ผมลองคำนวณด้วยคณิตศาสตร์ชั้นสูงสุดฤทธิ์ออกมาแล้วครับ

    คำตอบ ที่ได้ ={x/x=10<SUP>n+1</SUP>
    } = { 100,1000,10000,...}

    ตุแหว่วว 555+



     
  5. bluewing

    bluewing Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +42
    สัดส่วนแห่งจักรวาล หรอ อืม... ไม่รู้จะวัดไงอะครับแต่ในศาสนา เชน ในอินเดียของมหาวีระมีการอธิบายเรื่องนี้อยู่เดี๋ยวจะไปหา link มาให้
    โดยส่วนตัวของผมเห็นว่า สัดส่วนแห่งจักรวาล วัดลำบากมันเป็น infinity นะครับ แต่ถ้า สัดส่วนแห่งนงคราญ ค่อยวัดได้เป็นรูปธรรมหน่อย
     

แชร์หน้านี้

Loading...