การฝึกหัดจิตให้มีสติตลอด : หลวงปู่เทสก์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 19 ตุลาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]



    วันนี้ จะเทศนาเรื่อง การฝึกหัดจิต จิตของคนเราต้องฝึกหัด เช่นเดียวกับสัตว์ที่อยู่ในป่าที่เขาจับมาใช้ จะใช้งานได้ต้องฝึกต้องหัดเสียก่อน จิตของเรายังไม่ได้ฝึกหัดก็เหมือนกับสัตว์ที่อยู่ในป่านั่นแหละ เราจับจิตมาฝึกหัด คือ เราตั้งใจฝึกหัดจริงๆ จึงจะเรียกว่าเราฝึกหัดจิต

    การ ฝึกหัดสัตว์ป่า เช่น ช้าง เป็นต้น พอจับได้มาเขาก็ผูกมันไว้กับต้นเสา ตอนแรกมันก็แข็งแรงอยู่จะต่อสู้ดิ้นรนมาก เขาจึงไม่ให้กินหญ้ากินนํ้า หรือให้แต่เพียงเล็กน้อยพอไม่ให้ตาย จนซูบซีดผอมลงไป ทีนี้ก็เริ่มหัดมัน หัดจนกระทั่งมันยอมคนขึ้นขี่คอได้ หัดให้อยู่ในอำนาจของเราทุกอย่างได้ เมื่อมันอยู่ในอำนาจของเราเรียบร้อยดีแล้ว เราจึงให้อาหารมันกินอย่างอุดมสมบูรณ์

    การฝึกหัดจิตก็คล้ายๆกันนั่นแหละ แต่ไม่ต้องถึงอย่างนั้น เพราะสัตว์เป็นของภายนอกมีตัวตน ต้องฝึกหัดด้วยการทรมาน การฝึกหัดจิตต้องหัดด้วยอุบายวิธี จิตเป็นของไม่มีตัว จะขับขี่ก็ไม่ได้ จะตีก็ไม่ได้ แต่ทำให้มันอยู่ในอำนาจของตนนั้นได้ แต่ก็ยากแสนยากที่มันจะอยู่ในบังคับของเรา ต้องฝึกฝนอบรม

    ที่ว่าคล้ายกัน คือ ให้อดอาหารหรือฉันอาหารเพียงเล็กน้อย เพื่อให้มันมักน้อยที่สุด เป็นการฝึกหัดอบรมกาย แต่มันเนื่องถึงจิต เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า พระองค์ไม่เสวยพระกระยาหาร แต่ไม่สำเร็จมรรคผลนิพพาน พระองค์จึงค่อยผ่อนเสวยพระกระยาหารทีละน้อยๆ จนกระทั่งพอดีพองาม ฉันพอสมควรไม่ฉันฟุ่มเฟือย พอให้กายอยู่ได้ไปวันๆหนึ่ง อาหารนั้นถ้าฉันมากจิตใจมันทื่อ มันกำเริบเฟิบฟาย มันไม่อยู่ในอำนาจของตน ผู้ที่ไม่ได้ฝึกฝนอบรม รับประทานอย่างอิ่มหนำสำราญก็ให้มันรับประทานเรื่อยไป แต่ สำหรับคนที่ฝึกหัดอบรมใจนั้นจะฉันน้อยพอประมาณพอบำรุงร่างกาย เพื่อยังชีวิตให้เป็นไปในวันหนึ่งๆเท่านั้น แล้วก็ไม่สะสม การสะสมเป็นเรื่องของกิเลส ลองคิดดู ถ้าสะสมแล้วมันเป็นการพะวักพะวน ท่านจึงไม่ให้สะสม นี่พูดเฉพาะเรื่องของพระภิกษุ คือ ฉันแล้วก็ทิ้งไป ให้มันหมดเรื่องหมดราว วันหลังหาใหม่ ได้เท่าไรก็ฉันเท่านั้น ฉันเท่าที่มีอยู่ ถึงฆราวาสก็ดี ผู้ฝึกหัดจิตต้องฝึกฝนอบรมอย่างนั้น คือรับประทานมื้อเดียว ไม่ให้เกี่ยวข้องพัวพันในเรื่องอื่นๆ เอาปัจจุบัน แม้ว่าจะต้องเกี่ยวข้องพัวพันบ้างก็ตาม หากลงปัจจุบันในขณะนั้นก็ไม่มีอะไร เอาปัจจุบันเท่านั้น ไม่คิดอดีต อนาคต มันถึงจะเป็นไปได้ การฝึกฝนอบรมใจมันต้องไปจากกายนี้เหมือนกัน


    นอก จากอบรมทางกายแล้ว ยังต้องอบรมวาจาด้วย พูดให้น้อย พูดด้วยความสำรวมระวัง การที่ว่าสำรวมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงไม่ให้พูด พูดได้แต่หากว่าให้มีสติควบคุมอยู่ พูดก็รู้เรื่องว่าพูดอยู่ พูดดีชั่ว หยาบละเอียด จะพูดสักเท่าไรก็ตามแต่รู้เท่ารู้ทันอยู่ทุกขณะ เรียกว่าสำรวมวาจา จะพูดอะไรก็พูดเถอะ การทำอะไรก็ทำเถอะ แต่รู้เรื่องอยู่ทุกขณะ สติควบคุมอยู่อย่างนี้ เรียกว่า มีสติระวังกายวาจา


    ส่วนการสำรวมระวังใจ ถ้าอยู่เฉยๆ ใจไม่มีเครื่องอยู่ ให้เอาคำบริกรรมอันใดอันหนึ่งมาเป็นเครื่องอยู่มาเป็นหลักผูกใจ เช่น พุทโธ อานาปานสติ ตามลมหายใจเข้าออก ยุบหนอพองหนอ หรือสัมมาอรหังก็ได้ เอาอันนั้นมาเป็นเครื่องอยู่เสียก่อน นึกคิดอยู่เสมอๆจนเป็นอารมณ์ มีสติควบคุมจิตอยู่ตรงนั้นแหละ จิตอยู่ที่ใดให้เอาสติไปตั้งตรงไว้ในที่นั่น จึงจะเรียกว่าควบคุมจิต รักษาจิต ที่จะห้ามไม่ให้คิดไม่ให้นึกนั้น ห้ามไม่ได้เด็ดขาด ธรรมดาของจิตมันต้องมีคิดมีนึก แต่หากมีสติควบคุมจิตอยู่เสมอ คิดนึกอะไรก็รู้ตัวอยู่ทุกขณะ เรียกว่า บริกรรมภาวนา

    การบริกรรมภาวนานี้ มิใช่ของเลว คนบางคนเข้าใจว่าเป็นของเลว เป็นเบื้องต้น ที่จริงไม่ใช่เบื้องต้น ธรรมไม่มีเบื้องตน ท่ามกลาง ที่สุดหรอก ธรรมะอันเดียวกันนั่นแหละ ถ้าหากสติอ่อนเมื่อไรก็เป็นเบื้องต้นเมื่อนั้น สติแก่กล้าเมื่อไรก็เป็นท่ามกลางและที่สุดเมื่อนั้น คือหมายความว่าสติคุมจิตอยู่ทุกขณะ จนกระทั่งเป็นมหาสติปัฏฐาน จะยืน เดิน นั่ง นอน ในอิริยาบถใดๆทั้งหมด มีสติรอบตัวอยู่เสมอโดยที่ไม่ได้ตั้งใจให้มีสติ แต่มันเป็นของมันเอง สติ ควบคุมจิตไปในตัว เมื่อมีสติเช่นนั้นมันก็ไม่เกี่ยวข้องพัวพันกันกับสิ่งต่างๆ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นลิ้มรสต่างๆ กายได้สัมผัส มันก็เป็นสักแต่ว่า สัมผัสแล้วก็หายไปๆ ไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์ ไม่เอามาคำนึงถึงใจ อันนั้นเป็น มหาสติ แท้ทีเดียว

    ถ้าจิตอ่อนเมื่อไร จิตจะส่งไปตามอายตนะทั้ง ๖ เมื่อนั้น เช่น ตาได้เห็นรูปอะไร หูได้ยินเสียงอะไร มันก็จะพุ่งไปตามรูปที่ เห็น เสียงที่ได้ยินนั้นแหละ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ต้องเอาบริกรรมมา ใช้อีก ให้จิตมันอยู่กับบริกรรมนั้นอีก บริกรรม คือ สัมมาอรหัง พุ ทโธ อานาปานสติ อะไรต่างๆก็ตาม ที่ท่านสอนแต่ละสำนักนั้น มันเป็นไปตาม ความชำนาญของแต่ละท่าน มันเป็นนโยบายของท่านต่างหาก แท้ที่จริงก็อันเดียวกันนั่นแหละ ใครจะเลือกภาวนาบริกรรม อันใดก็ได้ ความต้องการคือ มุ่งหมายเอาสติอย่างเดียว เพื่อตั้งสติให้มั่นคง จึงว่าคำบริกรรมเป็นคู่กับการฝึกหัดจิต คำบริกรรมเปรียบเหมือนกับเครื่องล่อจิต เหมือนกับเด็กเล็กๆที่มันร้องไห้ เราเอาขนมมาล่อให้มันกิน มันก็หยุดร้อง จิตของเราก็ยังเป็นเด็กอยู่เหมือนกัน คือว่ายังไม่เป็นผู้ใหญ่ ยังรักษาตัวเองไม่ได้ ยังต้องอาศัยคำบริกรรมอยู่ จึงเรียกว่าเป็นเด็ก คน เฒ่าคนแก่กระทั่งผมหงอกผมขาวก็ตาม ถ้ายังควบคุมจิตของตนไม่ได้ก็ยังเป็นเด็กอยู่นั่นแหละ ถ้าหากควบคุมจิตได้แล้ว แม้จะเป็นเด็กก็ตามนับเป็นผู้ใหญ่ได้ ในพุทธศาสนา ผู้บวชตั้งร้อยพรรษา โดยธรรมแล้ว ถ้าควบคุมจิตไม่ได้ก็เรียกว่ายังเป็นเด็กอยู่ องค์ใดบวชในพรรษานั้นแต่ว่าควบคุมจิตได้ ก็เรียกว่าเป็นเถระ การรักษาจิตควบคุมจิตจึงต้องมีเครื่องอยู่ ได้แก่ การบริกรรม

    จิต เป็นของสูงๆตํ่าๆ คือ ฝึกหัดไม่สมํ่าเสมอ สูงหมายถึงว่าเจริญขึ้นไป คือ มีสติควบคุมอยู่ ขณะที่มีสติควบคุมอยู่ก็กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ต่อสู้กับอารมณ์ได้ อะไรมาก็ไม่กลัว พอสัมผัสมากระทบเข้าจริงๆจังๆ อ่อนปวกลงไปเลย นั่นมันตํ่าลงไปแล้ว มันไม่เป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงต้องหัดสติตัวนี้ให้แก่กล้า ให้แข็งแรงที่สุด

    ใน พุทธศาสนานี้มีการฝึกหัดสติอันเดียว การฝึกหัดเรื่องอะไรก็ตาม ฝึกหัดสติอันเดียวเท่านั้น พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนสาวกทั้งหลายแต่ก่อนนี้ ก็ทรงสอนให้ฝึกสติอันเดียวเท่านั้น ทรงสอนฆราวาสก็เหมือนกัน ทรงสอนเรื่องสติ ให้มนุษย์คนเราพากันมีสติ พวกเราก็พากันถือคำสอนของพระองค์นั่นแหละมาพูด เช่น พอพลั้งๆเผลอๆ ก็ว่า ไม่มีสตินี่ ก็พูดกันไปอย่างนั้นแหละ ตัวผู้พูดเองก็ไม่รู้เรื่องว่าตัวสติมันเป็นอย่างไร พูดไปเฉยๆ อย่างนั้นแหละ มิหนำซํ้าบางคนไม่มีสติอยู่แล้ว ยิ่งไปดื่มสุรายาเมาเข้า ยิ่งไปใหญ่จนเสียสติเป็นบ้าไปก็มี เหตุนี้จึงว่า คำสอนของพุทธศาสนาทั้งหมดมาลงที่สติอันเดียว ตั้งแต่เบื้องต้นก็สอนสติ ท่ามกลาง ที่สุดก็สอนสติ เป็นศาสนาที่สอนถึงที่สุด แต่คนทำนั่น ทำสติไม่ถึงที่สุดสักที ทำมากี่ปีกี่ชาติก็ไม่สมบูรณ์สักที พระพุทธเจ้าพระองค์ใดก็ทรงสอนสติตัวเดียวนี้

    เรา เกิดมากี่ภพกี่ชาติก็มาหัดสติตัวเดียวนี้ แต่ก็หัดสติไม่สมบูรณ์สักที เหตุนั้นจึงควรที่พวกเราจะพากันรีบเร่งหัดสติทุกคนแต่บัดนี้ อายุอานามมาถึงป่านนี้แล้ว เรียกว่าจวนเต็มที จวนจะหมดสิ้น จวนจะตายอยู่แล้ว ไม่ทราบว่าจะตายวันไหน ควรที่จะหัดสติให้อยู่ในเงื้อมมือของตนให้ได้ อย่าให้จิตไปอยู่ในเงื้อมมือของความหลงมัวเมา ผู้ใดจิตไม่อยู่ในอำนาจของตนก็ชื่อว่าเราเกิดมาแล้วเสียเปล่า ได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าเสียเปล่า เปล่าจากประโยชน์

    อย่า ให้จิตอยู่แต่ในอำนาจของกิเลส ให้จิตอยู่แต่ในอำนาจของสติ สติเป็นตัวระมัดระวัง อันนั้นแหละเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยแท้ ถ้าจิตอยู่ใต้อำนาจของกิเลสแล้วหมดท่า ตัวของเราจึงเป็นทาสของกิเลส เหตุนั้นจึงควรที่จะพากันรู้สึกตัว ตื่นตัวเสียตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป แล้วฝึกอบรมกัมมัฏฐาน

    การอบรมกัมมัฏฐานนั้น ทุกคนต้องอบรมเหมือนกันหมด มิใช่อบรมเฉพาะพระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสกอุบาสิกาเท่านั้น การฝึกหัดธรรมะก็ต้องหัดสติตัวนี้แหละ ถือพุทธศาสนาก็ต้องหัดสติตัวนี้แหละ มีสติสมบูรณ์บริบูรณ์ก็เรียกว่าถึงศาสนา ถ้ายังไม่มีสติเสียเลยก็เรียกว่ายังไม่ถึงศาสนา เอาละ วันนี้เทศน์ให้ฟังเพียงเท่านี้ เอวํฯ


    แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

    วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔

    จากหนังสือ เทสกานุสรณ์ หน้า ๑๗๑
     
  2. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    อนุโมทนาค่ะ
     
  3. nop_2550

    nop_2550 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    239
    ค่าพลัง:
    +341
    ครอบครัว พชรโพธิ์เจริญ ขอร่วมอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
     
  4. โสภา จาเรือน

    โสภา จาเรือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,013
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,332
    อนุโมทนาสาธุบุญ

    เวลาเป็นสิ่งเดียวในโลก ที่ทุกคนได้รับเสมอกัน


    ไม่มีใครได้เปรียบ หรือเสียเปรียบกันเลย แม้แต่คนเดียว

    แต่ใครจะใช้เวลาในแต่ละวินาที อย่างมีค่า และคุ้มค่ากว่ากัน
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  5. อิทธิปาฏิหาริย์

    อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,834
    ค่าพลัง:
    +1,472
  6. Jobeo

    Jobeo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +59
    ขออนุโมทนาสาธุครับ
    --------------
    ให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง
     
  7. Dreamo

    Dreamo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +82
    จิตเป็นอนัตตา เราจะให้จิตเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้ ถ้าจะให้จิตพ้นทุกข์
    ก็มีทางเดียวคือ ฝึกให้จิตเรียนรู้หรือเห็นอะไรตามความเป็นจริง
    เห็นว่าการไปปรุงแต่ง การไปหลงยึดไม่ว่าสุขหรือทุกข์ สิ่งที่จะตามมาก็คือทุกข์
    การจะต้องไปเวียนว่ายอยู่ตามวัฏสงสาร ต้องผ่านขั้นตอนซ้ำๆซากๆ เกิด แล้วก็ต้องเรียนหนังสือ
    แล้วก็แต่งงาน มีลูก แล้วก็แก่ แล้วก็เจ็บ แล้วก็ตาย หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันครั้ง
    เมื่อจิตเห็นชัดแจ้งอย่างนี้ จิตก็จะเบื่อหน่ายและคลายกำหนัดด้วยตัวของเขาเอง
    จิตจะไม่ยึดมั่นถือมั่น และค่อยๆปล่อยวางอะไรต่างๆไปเอง
    การปฏิบัติธรรมก็เพื่อให้โทสะ โมหะ โลภะ มันจางคลายหายไป
    เหมือนสีย้อมผ้า ที่แต่เดิมย้อมอะไรไปก็ติดแต่เมื่อ โทสะ โมหะ โลภะ จางไป ก็เหมือนสีย้อม
    ผ้าที่เสื่อมคุณภาพ ย้อมไปก็ไม่ติด
    การจะรับรองผลการปฏิบัติก็ดูได้ด้วยตนเองว่า โลภ โกรธ หลง ของเรา
    ยังเข้มข้นดีอยู่เหมือนเดิมหรือเปล่า ?
    ถ้าจืดจางไปเรื่อยๆ จิตที่สุขสงบก็จะตามมา
    อนุโมทนาสาธุคะ
     
  8. อิทธิปาฏิหาริย์

    อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,834
    ค่าพลัง:
    +1,472
  9. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677




    ถ้าเราไปใช้คำว่า "จะให้จิตเป็นอย่างนั้นอย่างนี้" มันเป็นความหมายในทางลบครับ..... เสนอ ใช้คำว่า "การฝึกจิต" หรือ "อบรมจิต" ที่เป็นภาษากลางที่ใช้ในพระไตรปิฎกแปลไทย กันดีกว่าครับ...เป็นมาตรฐานกว่า



    "การฝึกจิต" หรือ "อบรมจิต"

    มีพระพุทธพจน์รับรอง คือ

    จิต.ตํ ทน.ตํ สุขาวหํ
    ( จิตตัง ทันตัง สุขาวะหัง )
    จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้

    จิต...ถึงแม้นจะเป็นอนัตตา คือ บังคับไม่ได้ดังใจ ก็จริง
    แต่ จิตเป็นสิ่งที่ฝึกได้ อบรมได้ แน่นอน

    และ กระบวนการแห่งอริยมรรคที่มีองต์แปด(ศีล สมาธิ ปัญญา)ก็คือ กระบวนการฝึกหรืออบรมจิตตามพุทธวิธี นั่นเอง

    การฝึกจิต ก็คือ การประกอบเหตุอันควร เพื่อนำไปสู่ผลอันควร
    เป็น การประกอบเหตุ แล้ว ปล่อยให้ผลมันดำเนินไปเอง

    การฝึกจิต ไม่ใช่เป็นการทำจิตที่เป็นอนัตตา(บังคับไม่ได้) ให้กลายเป็นจิตที่เป็นอัตตา(บังคับได้)


    ปัจจุบัน
    จะมี บางท่านที่เชื่อว่า การฝึกจิต หรือ การอบรมจิต คือ การกดข่มแทรกแซงจิต

    คือ แยกระหว่าง การฝึกจิต-อบรมจิตตามพุทธวิธี กับ การกดข่มแทรกแซงจิต ไม่ออก

    โดยที่ จะเห็นว่า

    การแผ่เมตตา(เจริญอัปปมัญญาเมตตาพรหมวิหาร) คือ อย่างเดียวกับการกดข่มแทรกแซงจิต.... จิตเขาจะโกรธก็ใช้อารมณ์แห่งเมตตา ไป บังคับให้เขาหายโกรธ ทำให้ไม่สามารถเห็นไตรลักษณ์แห่งจิต คือ การเกิดดับแห่งอาการโกรธ ซึ่งเชื่อว่า การแผ่เมตตาเป็นสิ่งที่ผิดเมื่อจะเจริญวิปัสสนา เพราะ การแผ่เมตตาจะไปจัดขวางการเจริญวิปัสสนา... ที่ถูกต้องนั้น ต้องตามดูอาการโกรธของจิตอย่างเดียว จนเห็นโกรธเกิดดับ และ ปล่อยวาง....ไม่ควรแผ่เมตตา

    การเจริญสมาธิภาวนา เช่น อานาปานสติ คือ อย่างเดียวกับการกดข่มแทรกแซงจิต ....จิตเขาฟุ้งซ่าน ก็ใช้สมาธิวิธีไปบังคับให้สงบ ครั้นสงบแล้วก็ต้องมาคอยเสียเวลารักษาสภาวะจิตที่ดีเอาไว้อีก ทำให้ไม่สามารถเห็นไตรลักษณ์แห่งจิต คือ ไม่เห็น การเกิดดับของอาการฟุ้งซ่าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิด....ที่ถูกต้องนั้น ต้องตามดูอาการฟุ้งซ่านอย่างเดียว จนเห็นความฟุ้งซ่านเกิดดับ และ ปล่อยวาง....ไม่ควรเจริญอานาปานสติ

    และ ๆลๆ

    #ปล... การตามดูไตรลักษณ์แห่งจิตโดยตรง เช่น จิตตานุปัสสนา สงเคาราะห์เข้าได้กับโยนิโสมนสิการที่รู้เท่าทันสภาวะ (หรือ โอวาทปาติโมกข์ข้อ3). ซึ่ง ก็เป็นพุทธวิธีวิธีหนึ่งในการเจริญปัญญา ซึ่งสามารถยังจิตให้หลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์๕ ได้ แน่นอนน่ะครับ ...ผมไม่ได้ปฏิเสธ จิตตานุปัสสนา น่ะครับ. เพียงแต่ กำลังจะทักท้วง การใช้โยนิโสมนสิการที่รู้เท่าทันสภาวะ(หรือโอวาทปาติโมกข์ข้อ3) มากล่าวว่า โยนิโสมนสิการที่เพียรละอกุศล(โอวาทปาติโมกข์ข้อ1) และ โยนิโสมนสิการที่เพียรเจริญกุศล(หรือโอวาทปาติโมกข์ข้อ2)เป็นสิ่งที่ผิด-ไม่ควรปฏิบัติ.



    อนึ่ง ในความจริงแล้ว

    การดูลักษณะของจิต และจิต ในสติปัฏฐานหมวดจิตตานุปัสสนา ...ก็ไม่ใช่ว่า จะห้ามแผ่เมตตา หรือ ห้ามเจริญสมาธิภาวนา แต่อย่างใดเลย

    เพราะ ใน พระสูตรที่แสดงจิตตานุปัสสนา ก็มีพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า
    จิตโกรธก็ให้รู่ว่าจิตโกรธ จิตไม่โกรธก็ให้รู่ว่าจิตไม่โกรธ ....ไม่ได้ห้ามการที่จิตไม่โกรธ ไม่ได้ห้ามแผ่เมตตา
    จิตฟุ้งซ่านก็ให้รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตไม่ฟุ้งซ่านก็ให้รู้ว่าจิตไม่ฟุ้งซ่าน ....ไม่ได้ห้ามการที่จิตสงบ ไม่ได้ห้ามเจริญอานาปานสติ
    จิตเป็นมหรคต(ฌาน)ก็ให้รู้ว่าจิตเป็นมหรคต จิตไม่เป็นมหรคต(ฌาน) ก็ให้รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต ....แม้นแต่จิตที่สงบระดับฌาน ก็ไม่ได้ห้ามเช่นกัน
    เพียงแต่ในจิตตานุปัสสนา ท่านให้กำหนดรู้ และ ไม่ยึดมั่นถือมั่น แม้นแต่ในสภาวะจิตที่ไม่โกรธ สภาวะจิตที่สงบ นั้นๆ ต่างหาก


    ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ จิตที่มีศีล และ สมาธิ(ปลอดจากนิวรณ์)เป็นพื้นฐาน ย่อมสามารถจะเกิดปัญญาได้ง่ายกว่า และ ไม่ผิดเพี้ยน
    ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว พระพุทธเจ้าจะไปทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ข้อ1และข้อ2เอาไว้ทำไม?...แสดงเพียงข้อ3ข้อเดียว ก็น่าจะพอแล้วสิ


    ดังนั้น การฝึกจิต เช่น ด้วยการแผ่เมตตา หรือ การเจริญสมาธิภาวนา จึงไม่ขัดแย้งกับ การเจริญจิตตานุปัสสนา อย่างที่บางท่านเข้าใจกัน


    ..................................


    เสนอ อ่าน กระทู้

    "ข่มจิต-ประคองจิต-ยังจิตให้ร่าเริง" ในสมัยที่ควร. ท่านเห็น เช่นใด?


    "?聨Ե-?Ð?ͧ?Ե-‘??Ե㋩èҠÔ?" 㹊?·ը?ǃ -> ?Ð?ҹ ?ՇԵ?Ѻ?Ã? | Œ??Ã?ʇ?Ҡlarndham.net

    <!-- / message -->
     
  10. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ประเด็น การฝึกจิตที่ปราศจากโยนิโสมนสิการ(ขาดความเฉลียว) อาจจะยังให้เป็นทุกข์ได้ เมื่อ จิตแสดงความเป็นไตรลักษณ์นั้น..... เป็น ความจริง







    ปัญหาเกิดจาก ความยึดมั่นถือมั่น ว่า จิตต้องสงบ

    วิธีแก้ คือ ควรเจริญสมาธิภาวนาแบบไม่ยึดมั่นถือมั่น... หาใช่ การไม่เจริญสมาธิภาวนา




    ท่าน อ.มิตซูโอะ ท่านเคยกล่าวเอาไว้ในเรื่อง การเจริญสมาธิภาวนา แบบไม่ยึดมั่นถือมั่น ดังนี้

    viewtopic.php?f=2&t=19824

    "....ระวังอย่าทุกข์ใจกับจิตที่ไม่สงบนะ
    ไม่สงบก็ให้รับรู้ไว้
    สงบเอา ไม่สงบไม่เอา ไม่ได้นะ อยากแต่สงบ ไม่อยากไม่สงบไม่ได้
    ดีใจเพราะสงบ เสียใจเพราะไม่สงบก็ไม่ถูก

    เรื่องจิตมันเป็นอย่างนี้มาตลอด ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว
    จิตของเราต้องเป็นอย่างนี้ ไม่ควรเป็นอย่างนั้น
    เราบังคับมันไม่ได้หรอก
    เรามีหน้าที่เพียงแต่กำหนดรู้ว่าสงบหรือไม่สงบเท่านั้น
    มันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ...."


    การฝึกจิต อบรมจิต ด้วยกรรมฐานต่างๆ ก็คือ การประกอบเหตุอันควร เพื่อนำไปสู่ผลอันควร
    เป็น การประกอบเหตุ แล้ว ปล่อยให้ผลมันดำเนินไปเอง


    การเจริญสมาธิภาวนาด้วยวิภวตัณหา ที่ยึดมั่นถือมั่นว่า จิตต้องดีเท่านั้น จิตต้องสงบ เท่านั้น จะทุกข์เมื่อจิตแสดงไตรลักษณ์..... นำไปสู่ความทุกข์ ความเครียด

    แต่ การเจริญสมาธิภาวนาด้วยปัญญา(ความเข้าใจ)เป็น ฉันทะ เป็นเหตุนำไปสู่ความพ้นทุกข์

    <!-- / message -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...