ไม่ต้องนั่งสมาธิ จะตัดอุปาทานในขันธ์ ๕ (ตัดกิเลส)ได้หรือ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 27 พฤศจิกายน 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ภาวนาสมาธินั้น
    จะให้ผลเร็วช้าเท่าเทียมกันเป็นไปไม่ได้
    บางคนได้ผลเร็ว บางคนก็ช้า หรือยังไม่ได้ผลลิ้มรสแห่งความสงบเลยก็มี
    แต่ก็ไม่ควรท้อถอย ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรทางใจ
    ย่อมเป็นบุญกุศลขั้นสูงต่อจากการบริจาคทานรักษาศีล

    เคยมีลูกศิษย์จำนวนมากเรียนถามหลวงปู่ดุลย์ว่า
    อุตส่าห์พยายามภาวนาสมาธินานมาแล้ว
    แต่จิตไม่เคยสงบเลย แส่ออกไปข้างนอกอยู่เรื่อย
    มีวิธีอื่นใดบ้างที่พอจะปฏิบัติได้

    หลวงปู่ดุลย์แนะวิธีอย่างหนึ่งว่า

    "ถึงจิตจะไม่สงบ(ไม่มีสมาธิ)ก็ไม่ควรให้มันออกไปไกล
    ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้
    ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา ว่าหาสาระแก่นสารไม่ได้
    เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว
    จิตก็จะเกิดความสลดสังเวช เกิดนิพพิทา ความหน่าย คลายกำหนัด
    ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ ๕ ได้เช่นเดียวกัน"

    ...........................................................
    การวิปัสสนา พิจารณาถอดถอนกิเลส เหมือนการตัดต้นไม้
    สติปัญญา เปรียบเสมือนมีด
    การพิจารณาบ่อยๆเสมือนเป็นการลับมีดให้คม
    สมาธิเสมือนกำลังในการยกมีด

    การใช้สติปัญญาเข้าไปพิจารณาถอดถอน
    อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดไม่ท้อถอย ต้นไม้ย่อมขาดสักวันหนึ่ง
    การใช้สมาธิเป็นเครื่องหนุนย่อมมีแรงหนุนให้ตัดต้นไม้ได้เร็วขึ้น

    สมาธิอย่างเดียวไม่สามารถหลุดพ้นได้
    การเร่งวิปัสสนาเพียงมีสมาธิเล็กน้อย สามารถหลุดพ้นได้เพียงไม่นาน



    (หลวงพ่อชานนท์ ชยนันโท วัดป่าเจริญธรรม จ.ชลบุรี)

    www.dhammajak.net
     
  2. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,708
    ค่าพลัง:
    +1,563
    แล้วตกลง ไม่ต้องนั่งสมาธิ จะตัดอุปาทานในขันธ์ ๕ (ตัดกิเลส)ได้หรือ
    <!-- google_ad_section_end -->ไม่ได้กันแน่หละ . . .
    อ่านดูไม่เห็นมีบอกว่าต้องนั่งหรือไม่ต้องนั่ง ตัดได้หรือตัดไม่ได้ . .
     
  3. tinnakornten

    tinnakornten เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +494
    ที่ทำตัวหนาไว้อะครับ
     
  4. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,708
    ค่าพลัง:
    +1,563
    ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้
    ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา ว่าหาสาระแก่นสารไม่ได้


    อ่อนี่เองหรอที่บอกว่า ไม่ต้องนั่งสมาธิ จะตัดอุปาทานในขันธ์ ๕ (ตัดกิเลส)ได้หรือ ^^<!-- google_ad_section_end -->
     
  5. tinnakornten

    tinnakornten เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +494
    เป็นสติปัฏฐาน นะครับ ดูแล้วคงจะเป็น การดูกาย แล้วน้อมเป็น ธัมมานุปัสนา
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    การทำสมาธิมีอยู่ ๔ วิธีใหญ่ๆ....คือ ยืน เดิน นั่ง นอน....
     
  7. จีโอ14

    จีโอ14 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +262
    หลายคนเหลือเกิน..พอพูดถึงสมาธิ..ก็คิดเห็นแต่การนั่ง..มีบ้างที่คิดถึงการเดิน

    คือนึกเห็นแต่อาการของกาย...ไม่ได้นึกเห็นอาการของจิต..ที่มันตั้งมั่น
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    มันก็ต้องแทะเปลือกไปแก่น....อยู่ดีๆ....นู่นแก่น....คนมันไม่เห็นแก่น...มันเห็นเปลือก....เห็นใบ....มันก็ว่าเปลือกว่าใบ....เพราะมันมองไม่เห็นแก่น....

    ว่าเปลือกใบก็เอาไปตามเปลือกหรือใบ.....อีกหน่อยมันก็รู้จักแก่น....

    โมทนาสาธุธรรม....
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    ท่านครับ ท่านอ่านโดยไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ แล้วท่านรีบด่วนสรุปเอง เออเองไม่ถูกต้องนะ

    ท่านพระอาจารย์หลวงดูลย์ ที่ท่านกล่าวอยู่นั้น เป็นขณะที่กำลังนั่งปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาอยู่
    เมื่อจิตยังไม่สงบตั้งมั่น(รวมลง) ก็ให้พิจารณากายในกายป็นภายใน
    อย่าให้จิตฟุ้งซ่านส่งออกไปกับอารมณ์ภายนอกกาย
    ก็คือการพิจารณากายคตาสติ เพื่อเป็นอุบายให้จิตรวมลงได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่ ไม่ต้องนั่งสมาธิ

    "จิตก็จะเกิดความสลดสังเวช เกิดนิพพิทา ความหน่าย คลายกำหนัด
    ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ ๕ ได้เช่นเดียวกัน"

    ถ้าใครที่เคยอ่านประวัติท่านพระอาจารย์หลวงปู่ดูลย์ ย่อมรู้ดีว่า ท่านเน้นการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานอย่างมาก
    แม้ตัวท่านเองก็ยังเข้าป่าปลีกวิเวก เอาชีวิตเข้าแลกภัยอันตรายต่างๆ มาถึง๑๙ปี....

    ;aa24
     
  10. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    ถ้าบอกว่าไม่ได้ เดี๋ยวจะมีคนมาแย้งอีกว่า ในพระไตรองค์โน่นได้ องค์นี้ได้ จะอ้างว่าขึ้นกับการสะสม

    สำหรับผมเห็นว่าจะให้ดีนั่งสมาธิแล้ววิปัสสนาต่อในท่านั่งปิดทวารดูใจนั่นแหล่ะ...ดีที่สุด
     
  11. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,708
    ค่าพลัง:
    +1,563
    เห็นด้วยกับตรงสีแดงครับ
    อ่านแค่นี้ยังตีความหมายไม่เข้าใจว่าหลวงปู่กำลังคุยพูดเรื่องอะไร - -"
     
  12. Jeerachai_BK

    Jeerachai_BK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    318
    ค่าพลัง:
    +821
    "ถึงจิตจะไม่สงบ" น่าจะหมายถึงสงบขั้นฌาน น่าจะฌานสี่ ครับ (ผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยครับ)

    ก่อนนั่งสมาธิ หลายครั้ง ผมพิจารณาธรรม ๕ อย่าง (ปัญจอภิณหปัจจเวกขณะ)
    ๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดา ล่วงความแก่ไปไม่ได้
    ๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ล่วงความเจ็บไข้ไปไม่ได้
    ๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา ล่วงความตายไปไม่ได้
    ๔. เราละเว้นเป็นต่างๆ คือว่าพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง
    ๕. เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
    เป็นผู้รับผลของกรรม
    เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
    เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
    เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
    จักทำกรรมอันใดไว้
    ดีหรือชั่ว
    จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้
    เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนืองๆ อย่างนี้แล

    ครั้นนั้น พิจารณากายคตาสติโดยย่อ ระลึกถึงความตาย (มรณัสสติ) และพิจารณาพระไตรลักษณ์ (ติลักขณภาวนา) โดยย่อ
     
  13. tinnakornten

    tinnakornten เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +494
    สรุป เรากำหนดได้ทุกอิริยาบถ เวลากำหนด มันก็ได้ทั้ง สมาธิ และ สติ แหละครับ
    กำหนดมาก กำหนดถี่ ก็ได้มาก
    อ่านแล้วปวดหัว.......
     
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ทำไปเถอะครับ....ถ้าทำมันก็ดีหมด.....

    คนพูดมีมากกว่าคนทำ.....สมัยนี้คนมันชอบพูด....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2009
  15. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    15,448
    ค่าพลัง:
    +39,087
    หลวงปู่ท่านแนะแนวทางสำหรับผู้ที่นั่งสมาธิแล้วเกิดความฟุ้งซ่านไม่สงบ ก็ให้พิจารณากายแทน เมื่อจิตพิจารณาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง หรือไล่ไปในอาการสามสิบสองแล้ว จิตก็จะสงบ ไม่ส่งออกนอก แลเมื่อพิจารณาน้อมไปในทางไตรลักษณ์แล้ว ก็เป็นวิปัสสนา เมื่อทำไปบ่อยๆพิจารณาบ่อยๆ ความยึดมั่นถือมั่นในกายก็จะเริ่มลดลงไปเรื่อยๆครับ ไม่ใช่ไม่ต้องทำสมาธิ แล้วก็อย่างที่หลายท่านกล่าวไว้ การพิจารณาสามารถทำในหลายอริยาบท ยืนเดินนั่งนอน หรือยามที่ระลึกได้ในการทำอะไรต่างๆในชีวิตประจำวันครับ ไม่จำเป็นต้องเพ่งจ้องตลอดเวลา นอกจากขณะที่เราปฏิบัติในเวลาจริงๆ นอกเวลาก็ทำไปเท่าที่ทำได้ เมื่อปฏิบัติไปจนสติแก่กล้า เขาก็จะทำงานเองครับ
    ขออนุโมทนา
     
  16. yaksa

    yaksa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +80
    ใช้ปัญญาได้ปัญญาวิมุติ ชอบมากครับ ฝึกเนืองๆ
     
  17. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    พระพุทธเจ้าก็สอนอยู่แล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค8 หมั่นทำเหตุตามที่พระพุทธเจ้าสั่งไปสิ
     
  18. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ไม่ต้องนั่งสมาธิ จะตัดอุปาทานในขันธ์ ๕ (ตัดกิเลส)ได้หรือ

    ทำไมถึงจั่วหัวกระทู้แบบนี้คะ ทำให้คนอ่านสับสนได้นะคะ...
    เพราะถ้าได้อ่านทั้งบท ก็ชัดเจนอยู่แล้วนิคะ
    ว่าหลวงปู่ดูลย์ท่านตอบปัญหาเกี่ยวกับการนั่งสมาธิภาวนา


    เพราะผู้ถามถามว่า
    อุตส่าห์พยายามภาวนาสมาธินานมาแล้ว
    แต่จิตไม่เคยสงบเลย แส่ออกไปข้างนอกอยู่เรื่อย
    มีวิธีอื่นใดบ้างที่พอจะปฏิบัติได้
    และหลวงปู่ตอบว่า
    ถึงจิตจะไม่สงบ ก็ไม่ควรให้มันออกไปไกล
    ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้


    ความก็ชัดเจนดีอยู่แล้วว่าเป็นตอนนั่งสมาธิ

    (smile)
     
  19. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471


    กราบคารวะ คารวะ พ่อแม่ครูบาอาจารย์
    สาธุการค่ะ
     
  20. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677


    สาธุ ครับ


    บทธรรม ส่วนนี้ งดงาม รัดกุม ชัดเจน ที่สุดแล้ว


    บทธรรมนี้ กำลังกล่าวถึง ภาวนาสมาธิ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว ภาวนาสมาธิก็มีทั้ง4อิริยาบถ ตามที่ ท่านอื่นๆแสดงไว้แล้ว....


    แต่ ที่จะเป็นที่นิยม ในการปฏิบัติที่เป็นรูปแบบ ก็คือ การนั่งสมาธิภาวนา กับ การเดินจงกรม ...ส่วนใน ท่ายืน และ ท่านอน ก็สามารถปฏิบัติได้เช่นกัน หากแต่ ท่ายืนมักไม่ค่อยมีการกล่าวถึง ส่วนท่านอนก็อาจจะหลับง่าย(เว้น ครูบาอาจารย์บางองค์ เช่น หลวงปู่ชอบ ที่ท่านจะนอนภาวนาได้ดี)



    ใน กรณี ที่เพียรพยายามเจริญสมาธิภาวนาแล้ว แต่ ยังไม่ประสบความสงบของจิตใจเลย ก็ พึงเจริญตามกุศโลบาย ที่ หลวงปู่ ดุลย์ ท่านแนะนำไว้เถิด.






    ปล... เสนอ สังเกตุว่า





    1.หลวงปู่ดุลย์ ท่าน ก็กล่าวถึง การเจริญสัญญาเจ็ดประการแบบในพระสูตร (ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้ ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา ว่าหาสาระแก่นสารไม่ได้ ) เช่นกัน ...
    ซึ่ง นี่คือ เครื่องยืนยันว่า หลวงปู่ ท่านไม่ได้สอน ห้ามใช้ความคิดน้อมพิจารณาธรรม(จินตมัยยะปัญญา หรือ โยนิโสมนสิการ)
    เพียงแต่ ท่านสอนไม่ให้จบเพียงแค่ความคิด แต่ ให้พัฒนาความคิดสู่ความรู้แจ้ง(ภาวนามัยยะปัญญา หรือ วิปัสสนาญาณ ) โดยอาศัย การเพียร การตั้งใจ การมุ่งมั่น....


    หาใช่ การอยู่เฉยๆ ให้รู้ขึ้นมาเอง แบบที่มีการเข้าใจกัน



    2.ปัจจุบัน จะมีบางท่าน ที่มีความเชื่อที่ว่า การเพียรเจริญอสุภสัญญา ไม่ใช่การตามรู้อย่างเดียว ยังคงมีการน้อมนำพิจารณาไปด้วย เป็นการแทรกแซงจิต และ ไม่พึงกระทำ...


    ซึ่ง บทธรรมนี้ ยืนยันว่า หลวงปู่ดุลย์ ท่านไม่ได้สอนเอาไว้เช่นนั้น


     

แชร์หน้านี้

Loading...