ท่านหลวงปู่เณรคำกล่าวถึง เหตุที่การปฏิบัติเกิดผลช้าหรือไม่เกิดผลดี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธัชกร, 1 ธันวาคม 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    [​IMG]

    หลายท่านเกิดความสงสัยในผลของการปฏิบัติว่า ทำไมจึงเกิดผลช้าหรือไม่เกิดผลดี หรือเกิดผลนิดเดียว ไม่เป็นที่น่าพอใจเลย บางท่านอ่านหนังสือธรรมะมามาก ศึกษามามาก และปฏิบัติธรรมมานานหลายปี หลายพรรษาแล้ว แต่ผลของการปฏิบัติยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ขณะเดียวกัน บางท่านเพิ่งจะเริ่มปฏิบัติธรรมเพียงไม่กี่เดือน ไม่กี่พรรษา แต่ผลของการปฏิบัติบังเกิดผลดีเป็นที่น่าพอใจ เด่นชัดมาก จนทำให้บางท่านไปโทษครูบาอาจารย์ ว่าท่านสอนไม่ดี ไม่ละเอียด บางท่านโทษครูบาอาจารย์ ว่าท่านไม่พาปฏิบัติ มีแต่หลักธรรมคำสอน ให้คำชี้แนะแนวทางการปฏิบัตินั้น บางท่านก็โทษว่ามีกรรมหนาแน่นมาก บุญบารมีไม่เพียงพอ หรืออะไรต่างๆนานา สุดแท้แต่จะโทษ ลองมาสำรวจดูว่าเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้ มีอยู่ในตัวท่านมากน้อยเพียงใด
    <O:p</O:p
    ธรรมะของพระพุทธองค์ ที่พระเดชพระคุณท่าน หลวงปู่เณรคำ เมตตานำมาเผยแผ่อบรมสั่งสอน ชี้ทางการปฏิบัตินั้น เข้าถึงจิตใจของท่านมากน้อยเพียงใด เข้าใจอย่างเดียวไม่ได้นะ ก้นบึ้งของจิตใจน้อมรับหลักธรรมคำสอนนั้น ด้วยความเคารพเทิดทูนเต็มหัวอกหัวใจ สนิทในใจของท่านแล้วหรือยัง ?<O:p
    <O:p
    ความศรัทธาอ่อนกำลัง ยังลังเลสงสัยอยู่หรือไม่ หรือเคยศรัทธา แต่ความศรัทธานั้นเสื่อมถอยลดน้อยลงไปหรือเปล่า ศรัทธาในพระรัตนตรัยนั้น มีความแก่กล้ามั่นคงเพียงใด ?<O:p
    <O:p
    ท่านได้สำรวมระวังและรักษาศีลให้สะอาดบริสุทธิ์ดีพอหรือยัง ด่างพร้อยอยู่หรือไม่ ?<O:p
    <O:p
    บำเพ็ญภาวนาต่อเนื่องหรือไม่ หรือบำเพ็ญภาวนาทุกวัน แต่เพียงไม่กี่นาที หรือบำเพ็ญ<O:p
    ภาวนาหนักมาก แต่จิตไม่ได้อยู่กับกาย ไม่ได้พิจารณาหมุนอยู่ในกาย ใจลอยฟุ้งซ่านปรุงแต่งไปตามสภาพอารมณ์ต่างๆ ยังมีความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงอยู่<O:p
    <O:p
    ถ้าท่านยังมีเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้นอยู่ในตัว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลย ที่การปฏิบัติจะเกิดผลช้าหรือไม่เกิดผลดีเท่าที่ควร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็สามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติให้เกิดผลดีได้ สำเร็จมรรคผลได้<O:p
    หลักสำคัญ ๆ ที่พระเดชพระคุณท่าน หลวงปู่เณรคำ เน้นอยู่เสมอ ทุกครั้งที่แสดงพระธรรมเทศนา อบรมสั่งสอนชี้ทางให้แก่เหล่าสานุศิษย์ ให้ได้รับผลการปฏิบัติดีเป็นที่น่าพอใจ ประกอบด้วย<O:p
    <O:p
    ประการแรก คือ ความศรัทธา ความศรัทธาเป็นพื้นฐานอันสำคัญของการปฏิบัติ ความศรัทธาที่มีในพระพุทธเจ้า ความศรัทธาที่มีต่อพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และความศรัทธาที่มีแด่พระสงฆ์ พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลาย กล่าวคือ ความศรัทธานั้นต้องเป็นศรัทธาที่ถูกต้องดีงาม ไม่ได้ศรัทธาเพียงแค่วัตถุ ธาตุขันธ์ แต่ศรัทธาในคุณงามความดีในจิตที่ฝึกมาดีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสอน หรือพระสงฆ์เจ้าผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เห็นคุณประโยชน์ของท่านเหล่านั้นหมดแล้ว และต้องทำศรัทธาของตนให้แก่กล้า ตั้งมั่นเด็ดเดี่ยวในหัวใจ รวมทั้งปฏิบัติตนด้วยความศรัทธาอันบริสุทธิ์ เมื่อมีความศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัยอย่างสูงสุดในจิตใจแล้ว ก็จะเป็นกำลังผลักดันให้เรามีตบะเดชะในใจ สามารถบำเพ็ญเพียร ปฏิบัติตามกุศโลบายธรรมของพระเดชพระคุณท่านหลวงปู่เณรคำ ที่ท่านได้เมตตาชี้ทางให้ ได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดีต่อไป<O:p
    <O:p
    ประการที่สอง คือ ศีล เมื่อมีศรัทธาเป็นพื้นฐานแล้ว ต้องมีศีลบริสุทธิ์ ไม่ด่างพร้อย ต้องเฝ้าระวังรักษาศีลให้ดี อำนาจศีลมีพลานุภาพต่อการปฏิบัติมาก ศีลที่เคยขาดตกบกพร่องไป ก็ให้ไปชำระสะสาง ประพฤติตนเสียใหม่ ให้มันสะอาดบริสุทธิ์ ให้มันสว่างขึ้นมาในหัวใจ ถ้าศีลไม่สะอาด จะรวมสติสมาธิปัญญาลงไปที่ใจไม่ได้ ต้องทำศีลให้แจ้ง ให้สะอาดบริสุทธิ์ จนเต็มจิตเต็มใจของเรา เพราะศีลเป็นสิ่งที่ดีเลิศประเสริฐ เป็นคุณธรรมที่ประเสริฐในเบื้องต้น ที่จะทำให้เราทุกคนนั้นปฏิบัติในขั้นอื่นๆที่สูงขึ้นไป ได้ผลดีและรวดเร็ว แต่ถ้าศีลของตนไม่บริสุทธิ์ ด่างพร้อยแล้ว การปฏิบัติมันก็ยืดเยื้อชักช้าเสียเวลา จะไปภาวนาให้ เกิดสติสมาธิปัญญาก็เกิดผลยาก ดังคำสอนของพระเดชพระคุณท่านหลวงปู่เณรคำ ได้กล่าวเอาไว้ว่า<O:p
    <O:p
    เราจะปฏิบัติธรรม เราก็ต้องรู้จักศีลด้วยว่า ศีลที่เรารักษาอยู่นั้นมีอะไรบ้าง นักปฏิบัติรุ่นใหม่นี่ ต้องรู้จักคำว่าศีลให้มาก ให้หนักแน่น เพราะว่าศีลนี่เป็นสิ่งทำให้จิตใจมีกำลังสำคัญ ที่จะผลักดันให้จิตใจของเรานี่ เกิดผลการปฏิบัติได้รวดเร็วและแข็งแกร่ง ไม่สะทกสะท้านหวั่นไหวต่ออุปสรรค ที่มันจะเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติ แต่ถ้าศีลของเราไม่ดี มันก็จะหวั่นไหว ก็จะสะทกสะท้าน สภาวะอะไรที่มากระทบมันก็จะหวั่นไหวไปหมดเลย ไม่มีกำลัง เพราะศีลไม่สะอาด ศีลไม่บริสุทธิ์ <O:p
    <O:p
    ประการที่สาม คือ ความตั้งมั่น ตั้งมั่นที่จะปฏิบัติบำเพ็ญเพียร เพื่อให้ถึงความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏทุกข์ทั้งหลาย ในโลกใบนี้ด้วยความจริงใจ เด็ดเดี่ยว มั่นคง ไม่หลอกตัวเอง ต้องบำเพ็ญเพียรด้วยใจที่บริสุทธิ์ ทำด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว คือ ไม่ต้องไปลังเลสงสัยกับคนอื่น ไม่ต้องไปสนใจกับเรื่องอื่น ให้นั่งทำใจของตนเองให้สงบระงับไม่ฟุ้งซ่านปรุงแต่งไปตามอารมณ์ต่าง ๆ บำเพ็ญเพียรด้วยใจอย่างภาคภูมิ เต็มไปด้วยความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามพระธรรมคำสอนขององค์พระบรมศาสดา ไม่ให้ด่างพร้อย ไม่ให้พลั้งเผลอเลยแม้แต่น้อย แม้ว่าผลของการปฏิบัตินั้นจะมีมากเพียงใดก็ตาม การบำเพ็ญนั้น ต้องหลีกเว้นออกจากสิ่งที่เคยยึดถือยึดมั่นทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหนังเอ็นกระดูก เป็นตัวเริ่มต้นเลยในการถอน เมื่อเราไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นเป็นเนื้อหนังเอ็นกระดูกแล้ว อย่างอื่นมันไม่ยึดถือกันโดยอัตโนมัติ และต้องบำเพ็ญเพียรให้หนัก ให้ต่อเนื่อง อย่าทำแบบกระปิดกระปอย แม้ว่าบารมีเก่าจะมากแค่ไหนก็ตาม ดังคำสอนของพระเดชพระคุณท่าน หลวงปู่เณรคํา
    ถ้าปฏิบัติน้อย ผลมันก็เกิดน้อย ปฏิบัติมาก ๆ ผลมันก็เกิดมาก ยิ่งมีสภาวะความขี้เกียจอ่อนแอเข้ามากระทบแล้วนี่ ผลการปฏิบัติมันยิ่งล่าช้าไปกันใหญ่นะ ปฏิบัติไปก็ต้องฝืนมั่ง บางทีธรรมชาติมันพาให้เกิดความพอใจยินดีนะ เราก็ต้องฝืน ไม่ให้พอใจยินดีในสิ่งที่กำเริบขึ้นมานี่ ฉะนั้น ความเพียรมีมากแล้ว ผลการปฏิบัติมันก็มาก จิตมันก็ละเอียดมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถ้าปฏิบัติน้อย ความเพียรน้อย จิตมันก็ยังหยาบกระด้างอยู่ มันไม่ละเอียดไปเลย มันก็ล่าช้า แต่เวลาที่เราปฏิบัติแล้วมันฟุ้งซ่าน มันก็เป็นเรื่องธรรมดา ที่มันยังไม่ได้ผลอะไรมากนะ อย่าไปคิดมาก ปล่อยมันไปก่อน พอเราเพิ่มความเพียรขึ้นไปก่อนสักระยะหนึ่งนี่ เดี๋ยวตัวที่มันฟุ้งซ่าน มันเผอเรอ มันก็จะหยุดเอง จะเหลือแต่สภาพสติ ที่ต่อเนื่องในองค์บริกรรมนะ<O:p
    <O:p
    ประการที่สี่ คือ กุศโลบายธรรม เมื่อมีศรัทธาเป็นพื้นฐานแล้ว มีศีลที่สะอาดบริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อยแล้ว มีความตั้งมั่นบำเพ็ญเพียรอย่างต่อเนื่องด้วยใจที่เด็ดเดี่ยวแล้ว ต้องมีกุศโลบายในการปฏิบัติธรรมกรรมฐาน เพื่อมัดจิตมัดใจไม่ให้ฟุ้งซ่านปรุงแต่งไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ให้มีจิตใจที่เหนือกาย กุศโลบายธรรมที่องค์หลวงปู่ใช้ คือ การบริกรรมภาวนา ลมหายใจเข้า พุท ลมหายใจออก โธ ควบคู่กับการพิจารณาระลึกรู้เข้าไปในกระดูก ถ่ายเทความรู้สึกเข้าไปในกระดูกทั่วสรรพางค์กาย ตื่นรู้อยู่ในกายอยู่ตลอดทุกอิริยาบถทุกสภาวะในปัจจุบัน ทุกสถานที่ โดยไม่ให้พลั้งเผลอ ไม่ให้หลงลืม ไม่ให้ด่างพร้อยไปตามอารมณ์ กำหนดสติปัญญาตื่นรู้ ระลึกรู้ในกาย ให้ถึงพร้อมทั่วทั้งกาย รู้แจ้งเห็นจริงในกาย รู้อย่างแตกฉานเด่นชัดในกาย จนไม่มีข้อสงสัยประการใดว่า มีอะไรอยู่บ้างในร่างกาย เมื่อหายสงสัยหมดแล้ว ความเห็นความมีในกายจะค่อย ๆ หายไป จิตจะเด่นชัดขึ้นมา จากนั้นสติปัญญาจะออกจากสภาพร่างกายและเข้าสู่จิต ไปดำเนินสติปัญญา สภาพปัญญา สภาพสติในจิตล้วน ๆ ปัญญาล้วน ๆ ที่ไม่มีอารมณ์อื่นแทรกแซงปรากฏ<O:p
    <O:p
    ประการที่ห้า คือ การส่งคืน พระเดชพระคุณท่าน หลวงปู่เณรคำ ได้เมตตาอบรมสั่งสอน ให้ส่งคืนธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ส่งคืนปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างที่จะมาทำให้กายและจิตมีความยึดมั่นถือมั่นให้หมด ไม่ว่าจะเป็นความยึดถือในทรัพย์สมบัติภายนอก ยึดถือในสกลกายอันสกปรกโสโครกอันนี้ทุกอย่าง ส่งคืนสู่ธรรมชาติเดิมไป ไม่ยึดถือเป็นเจ้าของ คือ ไม่ได้เอาอะไรแล้วในโลกแห่งการเกิด เห็นสักแต่ว่าสมมุติในโลกเท่านั้น ดังคำสอนของพระเดชพระคุณท่าน หลวงปู่เณรคำ ได้กล่าวเอาไว้ว่า<O:p
    <O:p
    ถ้าจิตมันส่งคืนได้ มันก็ไม่ได้มาเวียนว่ายตายเกิดกับสิ่งนี้อีก ถ้าเราไม่อยากเกิด เราก็ต้องฝึกจิตของเราให้รู้จักการส่งคืน คือ การไม่ยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งที่เคยเป็น เคยอยู่ คำว่าเคยเป็น เคยอยู่นี่ ไม่เฉพาะเคยในปัจจุบันนะ ต้องอดีตด้วย เราเคยเป็นอะไรมาก่อนนี้ ถึงมามีปัจจุบันนี้ ก็ส่งคืนหมด มันจะได้ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีก อันนี้แหละถือว่าควรปฏิบัติ ฝึกฝนให้ได้ ทำให้ได้นะ<O:p
    <O:p
    ประการสุดท้าย คือ การทบทวน ทบทวนดูพฤติจิต พฤติกรรมของจิตใจของตน ทบทวนดูผลของการปฏิบัติที่ผ่านมาให้ละเอียดลงไปเรื่อย ๆ ว่ากิเลสตัณหาอุปาทานที่ฝังแน่นอยู่ในจิตนั้น มันหมดไปมากน้อยเพียงแค่ไหน ทบทวนดูสิ่งที่ตนบรรลุนั้นให้ดี ให้เด่นชัด ให้ละเอียดลึกซึ้งลงไปเรื่อย ๆ จนมันถึงที่สุดแห่งความเป็น จนไม่เป็นแล้ว ไม่ถือว่าตนเป็นโน่นเป็นนี่ ไม่เป็นในสิ่งที่เป็น ไม่มีสิ่งที่เป็นในหัวใจ เพราะสิ่งที่เป็นก็คือสมมุติในโลกเท่านั้น<O:p
    <O:p
    หลักสำคัญทั้งหกประการที่กล่าวในข้างต้นนั้น คือ หลักใหญ่ในการปฏิบัติให้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพื่อให้เข้าถึงความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ คือ การบำเพ็ญทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ตีเสมอควบคู่กันไป ให้มันสมบูรณ์ทั้งสามอย่าง เพื่อเป็นทุนส่งเสริมให้สติปัญญาแก่กล้า สามารถที่จะทำลายล้างความยึดถือในจิตในกายได้<O:p
    <O:p
    หากพุทธศาสนิกชนท่านใด ถือปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน ที่พระเดชพระคุณท่าน หลวงปู่เณรคำ เน้นอยู่เสมอนั้น เชื่อได้ว่าข้อสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับผลของการปฏิบัติที่ยังสงสัยอยู่นั้นจะหมดไป และได้รับผลของการปฏิบัติที่เด่นชัด เกิดผลดีเป็นที่น่าพอใจเข้ามาแทนที่ ได้เข้าถึงความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดจากวัฏสงสาร ในที่สุด<O:p
    <O:p
    ผู้เรียบเรียงและคณะเจ้าภาพผู้จัดพิมพ์ทุกท่าน ตั้งแต่เริ่มสร้างธรรมทานเป็นต้นมา ขออนุโมทนาบุญกับท่านที่ได้อ่านได้ศึกษาหลักธรรมคำสอนจากหนังสือ ขันติธรรม และ เพชรน้ำหนึ่ง จนเกิดผลดี เป็นที่น่าพอใจ และสำเร็จจนเป็นมรรคเป็นผล ได้เข้าถึงความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในโลกวัฏฏทุกข์ทั้งหลาย จนบรรลุถึงซึ่งพระนิพพานเจริญรอยตามพระพุทธองค์ด้วยเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ<O:p
    <O:p
    คัดลอกจากหนังสือ เพชรน้ำหนึ่ง <O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2009
  2. Jittradhavee

    Jittradhavee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +16
    ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ
     
  3. sittiver

    sittiver สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +7
    อนุโมทนา สาธุ คับ

    อยากไปกราบหลวงปู่เณรคำมากๆๆคับ มีท่านใดแนะนำได้ไหมคับ
     
  4. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    ขอเชิญทุกท่านร่วมอบรมวิปัสสนาเพื่อต้อนรับปีใหม่

    [​IMG]

    เชิญชมรายระเอียดได้ที่ www.luangpunenkham.com/


    วิธีนั่งสมาธิตามแนวทางของหลวงปู่เณรคํา

    ให้นั่งขัดสมาธิเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย โดยให้หัวนิ้วแม้มือทั้งสองข้างสอดประสานกัน จากนั้นพึงตั้งตัวให้ตรง ไม่ส่งจิตฟุ้งซ่านไปในเรื่องต่างๆ ให้เอาจิตมากําหนดที่ลมหายใจเข้าออก สูดลมหายใจลึกๆสักสามครั้ง

    เมื่อรู้สึกผ่อนคลายแล้วค่อยๆหลับตาลง และบริกรรมภาวนา พุท โธ บริกรรมลมหายใจเข้า พุธ ลมหายใจออก โธ พร้อมกับกําหนดความรู้สึกในลมหายใจเข้าออกที่กระทบโพรงจมูก รู้สึกที่มันวิ่งเข้าวิ่งออก สัมผัสรู้สึกอย่างละเอียดลุ่มลึกเข้าไปอย่างมีสติ เพราะสติเป็นตัวรู้ รู้เท่าทันจิต เมื่อเรามีสติกําหนดกับคําบริกรรมภาวนา พุทโธ ด้วยกัน เมื่อจิตจดจ่อกับคําบริกรรมภาวนาแล้ว จิตย่อมปล่อยวางจากอารมณ์ภายนอก และก็เกิดความสงบ เบากาย เบาใจ เยือกเย็น สว่างโล่งอยู่ในใจ เมื่อจิตสงบดีแล้วให้ถ่ายเทความรู้สึกไปทั่วสรรพางค์กาย ควบคู่กับการบริกรรมภาวนา พร้อมกับยกจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในความรูสึก รู้สึกในกระดูก การกําหนดรู้สึกในกระดูก ท่านจะเริ่มจากจุดไหนก่อนก็ได้ ขอเพียงแค่ว่าให้มีความรู้สึกพร้อมทั่วทั้งสรรพางค์กาย ถ้าใครมีสติแข็งแกร่งพอ ก็รวมเป็นหนึ่งในกระดูกทั้งหมดของร่างกายนี้ แต่ถ้าใครมีฐานเดิมของสติกําลงไม่เพียงพอ เราก็เริ่มกําหนดความรู้สึกตรงกระดูกหน้าผาก แล้วค่อยขยายวงกว้างไปทั่วกะโหลก แล้วค่อยขยายขยับไปทั่วสรรพางค์กาย หรือท่านจะกําหนดให้รู้สึกถึงโครงกระดูกโดยลําดับ ตั้งแต่เบื้องบน ลงไปจนถึงเบื้องตําก็ได้ คือพิจารณากําหนดรู้ที่กระดูก กะโหลกศีรษะนี้ จะทําให้จิตนิ่งและสงบมาก จากนั้นก็เอาจิตไปกําหนดรู้ที่กระดูกคอ กระดูกไหปลาร้า กระดูกหัวไหล่ กระดูกแขนทั้งสองข้าง กระดูกข้อศอกทั้งสองข้าง กระดูกข้อมือทั้งสองข้าง กระดูกนิ้วมือทั้งสิบนิ้ว กระดูกหน้าอก กระดูกลิ้นปี่ กระดูกซี่โครง กระดูกสะบัก กระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังบั้งเอว กระดูกสะโพก กระดูกฝ่าเท้า อย่าลืมบริกรรมลมหายใจเข้า พุธ ลมหายใจออก โธ ไปด้วยจากนั้นก็พิจารณาย้อนกลับไปกลับมา จากเบื้องตําขึ้นสู่เบื้องสูง ให้ต่อเนื่องทุกลมหายใจเข้าออก ทําอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

    หลวงปู่ท่านบอกว่า ในสมัยนี้เครื่องลวงล่อเลินเล่อทําให้จิตประมาทเยอะมาก มันหนาแน่น ความทะเยอทะยานอยาก ความกําหนัดเพลิดเพลินหลงใหลในอารมณ์ทั้งปวง มันฝังแน่นมากกว่าในสมัยพ่อแม่ครูบาอาจารย์ในสมัยก่อน หลวงปู่ท่านจึงเน้นให้เอาจิตมารวมลงที่ความรู้สึกในกระดูกทั้งหมด พร้อมกับบริกรรม พุท โธ ด้วยคู่กันไป พึงมีสติรู้ กําหนดจิตให้รู้เห็นด้วยอํานาจสติ ด้วยความรู้สึกที่ละเอียดลุ่มลึกทั่วสรรพางค์กาย ค่อยๆตื่นรู้เข้าไปให้มันแตกฉานไปหมด ร่างกายนี้ไม่มีข้อสงสัยประการใดว่า มันมีอะไรอยู่บ้างในร่างกายนี้ เมื่อแจ้งกาย หายสงสัยหมดแล้ว สภาพจิตที่มีกําลังสติปัญญาพอตัวจากการที่ได้รู้เห็นในกายมามากแล้ว หายสงสัยแตกฉานแล้ว จิตจะเด่นชัดขึ้นมา จากนั้นสติปัญญาจะออกจากสภาพร่างกายเข้าสู่จิตไปดําเนินสติปัญญา สภาพปัญญา สภาพสติในจิตล้วนๆ ชําระล้างถอดถอนกิเลสตัณหาอุปาทานอยู่ในจิตนั้น จนเหลือแต่ปัญญาล้วนๆ เห็นอะไรมันตัดขาดไปหมดเลย สภาพจิตมันจะลอยตัวขึ้นมาอยู่เหนือกายจิตที่เคยมีความยึดถือ ก็จะดีดหมุนออกจากกายเอง หมุนออกไปสู่ดวงจิตดวงเดียว จนเหลือแต่ปัญญาล้วนๆ และให้ทําการทบทวนดูให้ดี ให้เด่นชัดให้ละเอียดลึกซึ้งมากขึ้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้สึกเหนื่อยหรือได้เวลาพอสมควรแล้วจึงออกจากการนั่งสมาธิบําเพ็ญภาวนา

    วิธีออกจากสมาธิตามแนวทางของหลวงปู่เณรคํา

    ก่อนจะออกจากการภาวนานั้น ให้พึงกําหนดรู้อยู่ตลอด อย่าลืมบริกรรมภาวนา พุท โธ ไปด้วย บริกรรมลมหายใจเข้า พุท ลมหายใจออก โธ จากนั้นค่อยๆดึงมือทั้งสองข้างที่หัวแม้มือที่ประสานกันไว้นั้นแยกออกจากกัน และค่อยๆลืมตาทั้งสองข้างพร้อมทั้งค่อยๆปรับเปลี่ยนอิริยาบถช้าๆ อย่ามีสติกําหนดรู้อยู่ตลอดเวลา

    วิธีเดินจงกรมตามแนวทางของหลวงปู่เณรคํา

    การเดินจงกรมเป็นการภาวนาในอิริยาบถยืน ยืนตั้วตัวให้ตรง เท้าทั้งสองข้างแยกห่างกันพอประมาณ เอาข้อมือขวาทับข้อมือซ้าย ลักษณะไขว้ประสานกัน วางไว้ด้านหน้า ทอดสายตาลงเบื้องตําช้าๆ อย่างมีสติ จากนั้นเอาจิตกําหนดที่ลมหายใจเข้าออก สูดลมหายใจลึกๆ สักสามครั้ง เมื่อรู้สึกผ่อนคลายแล้ว บริกรรมภาวนา ลมหายใจเข้า พุท ลมหายใจออก โธ แล้วให้ก้าวขาขวาออกไป
    ขณะเดินจงกรมให้เอาจิตพิจารณากําหนดรูที่โครงกระดูกส่วนต่างๆของร่างกาย ถ่ายเทความรูสึกให้ถึงพร้อมทั่วสรรพาค์กายเช่นเดียวกับการนั่งสมาธิ

    ก่อนจะกลับแต่ละครั้ง ให้ค่อยๆกลับตัวอย่างมีสติรู้ตัวทุกเมื่อ เมื่อจะออกจากการเดินจงกรม ให้ยืนสงบนิ่งสักพักก่อน แล้วค่อยๆปล่อยมือทั้งสองที่ประสานกันไว้ออกจากกัน

    วิธีนอนสมาธิตามแนวทางของหลวงปู่เณรคํา

    การทําสมาธิอิริยาบถนอน ให้นอนตะแคง ดูลักษณะพระนอนเป็นตัวอย่าง ห้ามไม่ให้เอาฝ่ามือรองศีรษะเพราะจะทําใหเกิดเหน็บชา ให้เอามือวางไว้ข้างศีรษะ มืออีกข้างให้วางแนบลําตัว แล้วนอนบริกรรมภาวนา พุทโธ ไปเรื่อยๆ พร้อมกับกําหนดรู้ลึกซึ้งเข้าไปในกระดูกให้ต่อเนื่องทุกลมหายใจเข้าออก เช่นเดียวกับการนั่งสมาธิ จนกว่าจะหลับไป

    ขณะนั่งสมาธิแล้วเกิดเวทนาจะทําอย่างไร?

    เมื่อเรานั่งสมาธิไปได้สักระยะหนึ่ง มักจะมีเวทนาฝ่ายนอกเกิดขึ้น คือ การกดทับเส้นเอ็น เลือดลมเดินไม่สะดวก เกิดความเจ็บปวดตามเส้นเอ็น เกิดเหน็บชา เวทนาปรากฏขึ้นมาแล้ว จะทําอย่างไร จะแก้ไขอย่างไร ความเจ็บปวดนั้นจะหายไป

    หลวงปู่ท่านสอนให้เราคงความรู้สึกในร่างกายไว้ก่อน จากนั้นค่อยๆ ถ่ายเท อํานาจสติลงไปสู่เวทนา จับดูให้ละเอียดให้ลึกซึ้งลงไป เมื่อจิตจับดูเวทนานั้นลึกซึ้งละเอียดไปแล้ว ในขณะที่จิตมันเดินสภาพจิต ปัญญาเข้าไปสู่องค์เวทนา เข้าไปดูเวทนา เข้าไปพิจารณาด้วยสติ ด้วยปัญญาที่แก่กล้า ระหว่างนั้นเหมือนกับว่าเรามีปิติเกิดขึ้นมา ก็คือเราไปจับรู้เฉพาะตรงนั้นแล้ว เวทนานั้นก็จะ
    เบาบางลง และดับไปในที่สุด

    ขณะนั่งสมาธิแล้วลืมบริกรรมภาวนาจะทําอย่างไร?

    เมื่อนั่งสมาธิไปได้สักระยะหนึ่ง เมื่อจิตมีองค์สติ มีสมาธิ มีปัญญาเข็มแข็งเด็ดเดี่ยวแล้ว จนทิ้งความยึดมั่นถือมั่นในองค์บริกรรมภาวนา ว่างจากองค์บริกรรมภาวนา จนเหลือแต่ความรู้สึกถ่ายเทเข้าไปในกระดูก จนมันว่างไม่มีกาย ไม่มีความรู้สึกทางกาย รู้สึกนิ่ง โล่ง เย็น ให้พึงรักษาความไม่ประมาท จนเหลือแต่ปัญญาล้วนๆที่ไม่มีอารมณ์อื่นแทรกแซง และใช้สติปัญญาที่เฉียบคม ทําการทบทวนดูผลของการปฏิบัติ ให้ดีให้เด่นชัด ให้ละเอียดลงไปเรื่อยๆ จนกว่าจะออกจากสมาธิ

    ขณะนั่งสมาธิแล้วเกิดนิมิตสมาธิจะทําอย่างไร?

    เมื่อนั่งสมาธิไปได้สักระยะหนึ่ง แล้วเกิดนิมิตสมาธิขึ้น กล่าวคือ อาจเห็นนิมิตในรูปแบบต่างๆ ทั้งน่ายินดี ไม่น่ายินดี ทั้งน่ากลัวจนตกใจกลัว มาปรากฏในจักขุทวาร เป็นเหตุให้เผลอสติ แก้ไขโดยให้ดึงจิตกลับมาพิจารณาที่กระดูกส่วนต่างๆของร่างกาย ไม่เอาจิตไปติดข้อง ไปยินดียินร้ายในนิมิตทั้งหลาย หากลุ่มหลงในนิมิตจะทําให้จิตนั้นต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยภพใหญ่ อยู่ในวัฏสงสารตลอดไป ฉะนั้นเมื่อเกิดนิมิตสมาธิให้พึงมีสติ กําหนดจิตรวมจิตให้เป็นเอกจิต พิจารณาด้วยความวางเฉยจนกว่านิมิตนั้นจะหายไป

    คัดลอกจากหนังสือหลวงปู่เณรคํา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2009
  5. ใจกาย

    ใจกาย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +19
    อนุโมทนาบุญกับเจ้าของกระทู้ด้วยค่ะ ขอน้อมนำคำอบรมสั่งสอนของหลวงปู่เณรคำไปปฏิบัติเพื่อความก้าวหน้าในธรรม และขอน้อมถวายบุญจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของข้าพเจ้าแด่หลวงปู่เณรคำด้วยค่ะ
     
  6. มาริตา

    มาริตา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +60
    ขอบคุณมากค่ะ
     
  7. raunheim

    raunheim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2009
    โพสต์:
    153
    ค่าพลัง:
    +232
    อนุโมทนาสาธุด้วยค่ะ ทำไมถึงร่วมอนุโมทนากับคนอื่นไม่ได้ก็ไม่รู้ รู้สึกไม่ดีเลยค่ะใครรู้ช่วยบอกหน่อยได้ไม๊ค๊ะ ขอบคุณค่ะ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...