นิทรรศการวัดบวรนิเวศฯ ในหลวง กับ พระพุทธศาสนา

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย paang, 15 มิถุนายน 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    [​IMG]

    เดือนมิถุนายน 2549 นับเป็นเดือนมหามงคลยิ่งของปวงชนชาวไทย เพราะเป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองงานสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ใน *พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช* ผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุด ซึ่งนับเป็นบุญญาธิการยิ่งในส่วนพระองค์ และเป็นสิริมหามงคลยิ่งในส่วนพสกนิกรชาวไทย จึงมีการจัดเฉลิมฉลองกันทั่วประเทศ

    นับแต่วันที่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 มาจนปัจจุบันทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อสร้างความเจริญแก่ประเทศชาติ และสร้างความผาสุกแก่ประชาชนในทุกด้าน สมดังพระปฐมบรมราชโองการ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข

    แห่งมหาชนชาวสยาม" อาจกล่าวได้ว่า ทรงเป็นคนไทยที่ทำงานมากและทำงานหนักยิ่งกว่าคนไทยใดๆ ในประเทศไทย

    ด้านการพระศาสนา ทรงมีพระราชจริยวัตรที่งดงาม ทรงศึกษาปฏิบัติหลักพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังและเคร่งครัด ทรงปฏิบัติพระองค์เยี่ยงพุทธมามกะที่ดีทุกประการ ทั้งพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์พระศาสนานานัปการมาโดยตลอด สมกับที่ทรงเป็น *เอกอัครศาสนูปถัมภก*

    ในวาระอันเป็นมหามงคลยิ่งของประเทศครั้งนี้ *วัดบวรนิเวศวิหาร* ได้จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ชื่อว่า "นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี" ถวายอย่างยิ่งใหญ่ ที่อาคารมานุษยนาควิทยาทาน ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร

    โดยนำพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาร้อยเรียง และนำเสนอด้วยวิธีการต่างๆ อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะทรงผนวช ฉะนั้นนิทรรศการนี้จึงเน้นเป็นพิเศษในเรื่องทรงผนวช และพระราชกรณียกิจทางพระศาสนาและวัฒนธรรม

    งานครั้งนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นเจ้าภาพจัดนิทรรศการถวาย หรือพูดภาษาชาวบ้านง่ายๆ ว่า "อาจารย์จัดให้ลูกศิษย์" โดยมี *หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล* เป็นประธานเปิดงาน

    ทั้งนี้ งานนิทรรศการมีตั้งแต่วันที่ 10 ถึง 30 มิถุนายน 2549

    *ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ* รองราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ เล่าถึงความเป็นมาและความสำคัญของนิทรรศการครั้งนี้ว่า เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงผนวชนั้น ตลอดเวลาที่ทรงผนวช ได้ประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร คณะกรรมการวัดคือพระสงฆ์จึงดำเนินการจัดขึ้น

    โดยมีสมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานการจัด

    ท่านผู้หญิงบุตรีเล่าว่า มีเรื่องสำคัญยิ่งเกี่ยวกับพระเจ้าอยู่หัว คือ เรื่องของทศพิธราชธรรม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติมาตลอด 60 ปี แม้กระทั่งเครื่องอัฐบริขารของพระ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ในสมัยที่ทรงผนวชนั้น ก็นำมาแสดงไว้ด้วย รวมทั้งของสมเด็จพระสังฆราช ที่พระเจ้าอยู่หัวได้ถวาย <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=2 cellPadding=4 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    เพราะฉะนั้นนิทรรศการนี้จะเห็นพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านการศาสนา ประชาชนที่เข้าชมยังสามารถพิมพ์คำถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัวได้ หรือถ้าใช้แท่นพิมพ์ไม่เป็น ก็สามารถลงนามในสมุดที่จัดไว้ให้

    "ในนี้มีรูปภาพให้เห็นหมดว่าตลอดเวลา 60 ปี ท่านทรงปฏิบัติพระองค์อย่างไร อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะวัดบวรนิเวศฯ เป็นวัดที่ประทับในช่วงทรงผนวช นอกจากนี้ก็มีภาพยนตร์ฉายให้เห็นว่าขณะที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุนั้น ท่านทรงปฏิบัติอย่างไรบ้าง แล้วจะเห็นว่าพระองค์ท่านไม่เคยฉลองพระบาทเลย ระหว่างที่ทรงผนวช เพราะถือว่าเป็นภิกษุสงฆ์ไปรับบาตรที่ไหน อย่างไร ก็ต้องปฏิบัติตามวินัยของสงฆ์"

    ท่านผู้หญิงบุตรีบอกอีกว่า ทางวัดบวรนิเวศฯ ได้เปิด "ตำหนักเพ็ชร" ซึ่งเป็นตำหนักที่ประทับระหว่างทรงผนวช ให้ประชาชนเข้าชมด้วย

    สำหรับพระตำหนักเพ็ชร เป็นพระตำหนักที่รัชกาลที่ 6 ได้สร้างถวายสมเด็จพระสังฆราชในสมัยที่ท่านทรงผนวช ในนั้นมีพระบรมรูปรัชกาลที่ 4 ซึ่งปั้นขึ้นมาเป็นต้นแบบเท่าพระองค์จริง เป็นองค์แรกซึ่งได้กลายเป็นต้นแบบของพระบรมรูปต่างๆ ในเวลาต่อมา

    "สมัยก่อนคนไทยจะถือว่าการจะทำเป็นรูปปั้นองค์เองนั้นไม่ได้ ไม่ดี แต่ว่ารัชกาลที่ 4 ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์ ท่านบอกว่าไม่เป็นไร มีไว้ให้คนเข้าใจว่าท่านองค์สูงแค่ไหน ก็เลยทำขึ้นมาในสมัยนั้น แล้วในตำหนักเพ็ชรก็ยังมีพระพุทธรูป ภปร. ปัจจุบันตำหนักเพ็ชรใช้เป็นที่ประชุมของมหาเถรสมาคม แต่ว่าสมัยเดิมนั้นเป็นท้องพระโรงของสมเด็จพระสังฆราช ในรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 6 ก็ทรงผนวชที่นี่เหมือนกัน

    "คนจะไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าไปถวายสักการะในนั้น แต่ช่วงนี้จะเปิดจนถึงเดือนกรกฎาคม 2549 จะปิดเพื่อเริ่มการบูรณะปฏิสังขรณ์"

    นอกจากการเปิดตำหนักเพ็ชรให้ประชาชนเข้าชมแล้ว ยังมีสิ่งของที่ทางวัดเก็บไว้ด้วย เช่น ของที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายสมเด็จพระสังฆราช เป็นเครื่องถมปัด เครื่องที่พระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ขณะทรงผนวช

    การจัดนิทรรศการจัดที่อาคารมนุษยนาควิทยาทาน สามารถจัดได้แค่ครึ่งซีกเท่านั้น ด้วยเหตุที่ว่าอีกซีกหนึ่งของอาคารเป็นที่เก็บพระพุทธรูปต่างๆ ที่เชิญออกมาจากตำหนักคอยท่าปราโมทย์ ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน

    ท่านผู้หญิงบุตรีบอกว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชศรัทธาจะให้บูรณะพระตำหนักคอยท่าปราโมทย์ จึงต้องขนของบางส่วนออกมา เพื่อสมเด็จพระสังฆราชจะได้เสด็จกลับมาประทับที่วัดในโอกาสที่ท่านต้องพระประสงค์

    "คือทุกวันพระ สมเด็จพระสังฆราชจะเสด็จกลับมาปฏิบัติศาสนกิจที่วัด แต่วันอื่นๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็อยากให้เสด็จด้วย เพราะฉะนั้นเลยต้องบูรณะพระตำหนักด้วยเหตุผลว่า ของมากมายก่ายกองมันไม่ดีสำหรับพระสุขภาพ พระเจ้าอยู่หัวท่านละเอียดอ่อนมาก เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่เชิญออกมาจากพระตำหนักคอยท่าฯ ถ้าไม่เอากลับคืนก็จะจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ต่างหาก เพราะที่ประทับสมเด็จพระสังฆราชต้องสะอาดรื่นรมย์ ต้องถูกสุขลักษณะเพราะว่าท่านทรงพระชนมพรรษามากแล้ว" <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=2 cellPadding=4 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ด้านพระอนิลมาน ธัมมสากิโย ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เพิ่มเติมสิ่งที่ท่านผู้หญิงบุตรีบอกไว้ ว่า พระสงฆ์เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงปฏิบัติพระองค์เยี่ยงพุทธมามกะที่ดีเยี่ยมพระองค์หนึ่ง ซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของปวงพสกนิกรชาวไทยทุกคน

    ทางวัดบวรนิเวศฯ ซึ่งเป็นวัดหลวง มีความผูกพันกับราชวงศ์จักรีมาตั้งแต่ต้น จะเห็นว่าเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดบวรฯ แห่งนี้คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชอยู่ตั้งแต่อายุ 20 จนถึง 47 พรรษา พระองค์ประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศฯแห่งนี้เป็นส่วนใหญ่ และทรงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสพระองค์แรก

    หลังจากนั้นมาเจ้าอาวาสองค์ที่สอง คือ กรมพระยาปวเรศวชิราลงกรณ์ ซึ่งรู้จักในวงการพระเครื่องก็คือกริ่งปวเรศ ซึ่งเป็นกริ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดก็ว่าได้ องค์ที่สาม คือพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอง คือ พระมหาสมณะเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส หรือชื่อเดิม มานุษนาค ซึ่งเป็นพระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ว่าในขณะเดียวกันทรงวางพระราชหฤทัยให้ทรงปฏิรูปการศึกษาคณะสงฆ์ และการศึกษาทางบ้านเมือง

    ส่วนเจ้าอาวาสองค์ที่สี่ คือ สมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ด้วย แสดงให้เห็นว่าทั้งสี่พระองค์ เจ้าอาวาสยุคแรกๆ ของวัดนั้นเป็นเชื้อพระวงศ์ทั้งหมด อยู่ในราชวงศ์จักรี ดังนั้น วัดบวรนิเวศวิหารกับพระบรมวงศานุวงศ์ หรือว่าจักรีวงศ์นั้น มีความสำคัญและมีความสัมพันธ์มาโดยตลอด และที่สำคัญยิ่ง คือไม่ว่าจะเป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ หรือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ตอนทรงผนวช ทั้งหมดล้วนประทับที่วัดแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ก็ทรงผนวชและประทับที่นี่ ถือเป็นขัตติยราชประเพณีที่จะประทับที่วัดบวรฯ โดยมีพระตำหนักปั้นหยา ซึ่งเป็นพระตำหนักที่ย้ายมาจากสวนขวาในพระบรมหาราชวังในรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างไว้ให้

    งานนิทรรศการครั้งนี้เรานำเสนอว่าเวลาพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯไปไหน จะเห็นว่าเราจะถวายลาดพระบาท เพื่อที่จะรับเสด็จ จึงนำความคิดตรงนี้มาทำในงานนิทรรศการ ตรงห้องโถงใหญ่ ทำเป็นวงเวียนลาดพระบาท ซึ่งโค้งไปโค้งมาเป็นสตอรี่บอร์ดนำเสนอว่าพระองค์นั้นทรงทำอะไรบ้าง ส่วนต่อมาคือเรื่อง ทศพิธราชธรรม วัดบวรฯพยายามให้ผู้ชมได้เข้าใจว่าทศพิธราชธรรมคืออะไร แทนที่จะแค่อธิบายตัวธรรม สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นพระอภิบาล หรือพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านจะนำเอาพระราชจริยวัตรเข้ามาผสมกับเนื้อธรรม ว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงทศพิธราชธรรมตรงกับการกระทำอย่างไร เป็นการอธิบายทศพิธราชธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

    นอกจากนี้ในหลวงยังทรงเป็นศาสนูปถัมภกของทุกศาสนาในประเทศไทย จึงเน้นไปที่ทรงเป็นธรรมิกมหาราช คือเป็นกษัตริย์ที่สมบูรณ์ที่สุดตามพระพุทธศาสนา ตามตัวอย่างของพระเจ้าอโศกมหาราช คือนอกจากจะทำนุบำรุงพระศาสนาในแง่ที่เหมือนกับพุทธศาสนิกชนทั่วไปคือช่วยสร้างวัดแล้ว ที่เด่นชัดคือการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช

    ในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชนั้น ในยุคก่อนๆ เราจะเห็นว่าไม่เป็นพิธีใหญ่ เป็นการพระราชพิธีที่ผสมอยู่กับวันเฉลิมพระชนมพรรษาบ้าง วันฉัตรมงคลบ้าง แต่ว่าตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน มีพระราชวินิจฉัยให้มีพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชโดยเฉพาะ เราจึงนำเสนอให้เห็นว่าเครื่องยศสมณศักดิ์ของสมเด็จพระสังฆราชนั้นมีอะไรบ้าง เอาของจริงมาให้ชมกัน

    กระทั่งเรื่องของสีจีวรของพระ ราวปี 2532 ในหลวงทรงมีพระราชวินิจฉัยสีจีวรของพระ เราจะเห็นว่าพระในประเทศไทยนั้นเวลาห่มสีจีวรนั้นมีหลายสีเหลือเกิน ในหลวงทรงค้นคว้าพระไตรปิฎก แล้วให้กรมป่าไม้สร้างสีออกมาจากต้นไม้ ปรากฏว่าได้มา 100 กว่าสี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าสีที่ใกล้เคียงกับที่มีในพระไตรปิฎกนั้นสีอะไรบ้าง แล้วเลือกออกมาได้ 5 สี ในที่สุดก็ขอวินิจฉัยของสมเด็จพระสังฆราช จนได้ออกมาเป็นสีจีวรสีพระราชนิยม ตั้งแต่นั้นมาเวลามีงานพระราชพิธีพระทุกรูปก็ห่มจีวรสีนี้ นั่นคือพระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    พระ ดร.อนิลมานยกตัวอย่างอีกว่า เรื่องของพระมหาชนก พระเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาเรื่องพระมหาชนก ทรงพระราชนิพนธ์นาน ในช่วงที่พระราชนิพนธ์นั้นทรงถวายต้นฉบับมาให้สมเด็จพระสังฆราช มีวินิจฉัยตลอด ทรงปรึกษาตลอด แล้วในช่วงที่พระราชนิพนธ์เสร็จแล้ว สมเด็จพระสังฆราชก็ให้คนที่วาดการ์ตูนในยุคนั้น ร่างภาพออกมาประมาณ 4 ภาพ แล้วทูลเกล้าฯถวายไปจนพัฒนาออกมาเป็นเรื่องเป็นราว นั่นคือพระอัจฉริยภาพของสองพระองค์ ที่ทรงทำงานร่วมกัน

    "ประเทศเนปาลไม่รู้จักเรื่องพระมหาชนก แต่ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบ่งบอกเลยว่าสถานที่เกิดของพระมหาชนก คือประเทศเนปาล เมืองมิถิลา อยู่ที่เนปาล จนทางประเทศเนปาลตื่นตัวเรื่องนี้ มีการแปลพระมหาชนกฉบับการ์ตูนเป็นภาษาเนปาล โดยพระบรมราชานุญาตแล้วก็พิมพ์แจกทั่วประเทศในเนปาล ก็เป็นพระอัจฉริยภาพทางพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลถึงต่างประเทศ ตอนนี้กำลังแปลเป็นภาษาอื่นๆ อยู่

    การไปชมนิทรรศการที่วัดบวรฯ นอกจากจะได้ชมพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังได้ชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และสิ่งสำคัญทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ อีกจำนวนมาก พร้อมทั้งได้สักการะกราบไหว้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองภายในวัด เพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิตด้วย


    ที่มา สำนักพิมพ์มติชน
     
  2. benjee

    benjee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +48
    ภาพบางส่วนภายในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 อาคารมนุษยนาควิทยาทาน วัดบวรนิเวศวิหาร

    ภาพซ้ายล่างสุดคือภาพรัชกาลที่5 ขณะทรงผนวช
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 มิถุนายน 2006
  3. benjee

    benjee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +48
    ในภาพคือพระประธานในโบสถ์วัดบวรนิเวศวิหาร พระประธานองค์หน้าคือ พระพุทธชินสีห์ ส่วนพระประธานองค์หลังคือ พระสุวรรณเขต หรือที่เรียกกันว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,081
    [​IMG]
     
  5. wong3210

    wong3210 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    553
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,392
    ขอให้พ่อหลวงของเรามีพระชมน์ยิ่งยืนนานเพื่อกระทำบารมีสมที่ได้ตั้งความปรารถนายิ่งๆขึ้นไปเทอญ อนุโมทนาสาธุขอรับ_/l\_
     
  6. ชุติพนธ์ แจ่มอุลิตรัตน์

    ชุติพนธ์ แจ่มอุลิตรัตน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    153
    ค่าพลัง:
    +314
    ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...