วีรบุรุษแห่งอุตรดิตถ์ "พระยาพิชัยดาบหัก" เรื่องเท็จ-จริง-เติม?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 11 ธันวาคม 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    วีรบุรุษแห่งอุตรดิตถ์ "พระยาพิชัยดาบหัก" เรื่องเท็จ-จริง-เติม?

    โดย วิภา จิรภาไพศาล wipha_chi@yahoo.com



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักที่ประดิษฐาน ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>เรื่องราวของชาติและบุรุษสำคัญของชาติซึ่งเกิดขึ้นในอดีต ที่เราเรียกรวมๆ ว่าประวัติ ศาสตร์ของชาติ แต่เรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต แม้จะจบลงในอดีต หากเกือบทุกเรื่องล้วนมีผลต่อเนื่องถึงอนาคต เช่นนี้ประวัติที่เป็นจริง กับประวัติศาสตร์ที่เผยแพร่รับรู้บางครั้งจึงเป็นคนละเรื่อง ประวัติศาสตร์จึงมีการ "ชำระ" กันเป็นระยะๆ

    ล่าสุดนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนธันวาคม นำเสนอผลการ "ชำระ" ของ ปรามินทร์ เครือทอง ในบทความที่ชื่อว่า "ชำระประวัติวีรบุรุษ "พระยาพิชัยดาบหัก" ของแท้ หรือเรื่องแต่ง?"

    เมื่อทหารนายหนึ่งที่สู้รบกับข้าศึกจน "ดาบหัก" และกลายเป็นฉายาต่อท้ายราชทินนาม และมีการทำหุ่นจำลองถึงวีรกรรมครั้งนั้นไว้ที่อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ

    เพราะพระยาพิชัยดาบหักเป็นวีรบุรุษสามัญชนจำนวนน้อยท่ามกลางวีรชนส่วนใหญ่ที่มักเป็นบุคคลระดับผู้นำประเทศ เป็นเจ้าเป็นนาย ความธรรมดาจึงกลายเป็นความพิเศษ เป็นเรื่องน่าสนใจกระนั้นหรือ

    มาดูกันว่ามือชำระประวัติศาสตร์อย่างปรามินทร์ ที่มีผลงานจากเรื่องของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ กรมขุนกระษัตรานุชิต (เจ้าฟ้าเหม็น) เห็นอะไรในกรณีของพระยาพิชัยดาบหัก

    เอกสาร 3-4 รายการที่เขากล่าวถึง คือ ประวัติพระยาพิชัยดาบหัก ฉบับพระยาศรีสัชนาลัยบดี (เลี้ยง ศิริปาละกะ) ใช้เอกสารดังกล่าวเป็นหลัก เทียบเคียงกับพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และฉบับบริติชมิวเซียม สุดท้ายคือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    (ซ้าย) ศาลเจ้าพ่อพระยาพิชัยดาบหัก ใกล้กับวัดหน้าพระธาตุ อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ (ภาพจาก ทีฆายุโก โหตุ มาหาราชา) (ขวาบน) อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ณ บ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก บ้านห้วยคา ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย (ภาพถ่ายโดยคุณป้อม จาก
     
  2. จักราธร

    จักราธร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +180
    ท่าทาง..จะชวนให้คนไทยแตกแยกทางความคิดอีกแล้ว..ผมว่าถ้าไม่สร้างสรรค์ก็เฉยๆไม่ดีกว่าหรือ..
     
  3. รพินทร์ไพรวัลย์

    รพินทร์ไพรวัลย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +1,122
    ผมเติบโตมาที่ จ.อุตรดิตถ์ สำหรับพ่อพระยาพิชัยดาบหัก(ชาวอุตรดิตถ์นิยมเรียกเช่นนี้)ชาวอุตรดิตถ์ ให้ความเคารพนับถือมาก "เพราะพระยาพิชัยดาบหักเป็นวีรบุรุษสามัญชนจำนวนน้อยท่ามกลางวีรชนส่วนใหญ่" หรือเปล่าที่ทำให้เกิดประเด็นนี้ขึ้นมา แล้วชาวบ้านบางระจัน และอีกหลายๆตำนานที่เล่าขานกันมา เพื่อจุดประสงฆ์ใดหรือ สมัยพระเจ้าตากสินมหาราชก็ใช่ว่าจะย้อนหลังไปมากมายอะไร เคยเป็นบทเรียนในชั้น ม.ต้นเท่าที่จำได้ ผมไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ ไม่ใช่นักการเมือง แต่คิดว่า ถ้ามีคนจีนออกมาบอกว่า สงสัยเทพกวนอู ว่าฃื่อสัตย์จริงหรือไม่ หมอนี่เข้าศาลเจ้าไม่ได้แน่ การกระทำใดๆก็ตามแต่หากเป็นการ กระทบต่อความรู้สึก ต่อความเชื่อในสิ่งอันเป็นที่เคารพของผู้อื่นขอให้พึงระวังให้มาก ถ้าแค่อวดรู้ก็ขอให้ไปศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนนำมากล่าวอ้าง
    แม่ทัพนายกอง ที่ถูกประหารด้วยท่อนจันทร์ มิได้มีเพียงพระยาพิชัย ที่นักวิชาการสนใจมีเพียงเรื่องสงสัยในความเก่งกาจสามารถที่รบจนดาบหักจนเป็นที่มาของชือ พระยาพิชัยดาบหัก แค่นั้นเองหรือเรียนท่านนักวิชาการอวดรู้ให้ทราบสักนิด ว่าที่ชาวอุตรดิตถ์เคารพบูชาเทอดทูลพ่อพระยาพิชัย เพราะความจงรักภักดีที่พ่อพระยาพิชัยมีต่อพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นนักรบที่ร่วมกู้ชาติ และสละชีวิตเพื่อศักดิ์ศรีแห่งความจงรักภักดีเสมอชีวิต และไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่(ทั้งเรื่องการเมือง การปกครอง) การเสียสละชีวิตของพระยาพิชัยครั้งนั้น เป็นการเสียสละเพื่อประโยชน์สุขของชาติและบ้านเมืองโดยแท้ ฃึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เข้าใจในเหตูที่ต้องเสียสละของท่าน ความฃื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อฃาติและพระมหากษัตริย์ของพ่อพระยาพิชัย จึงยังคงอยู่และกล่าวขานสืบมา
    และจะบอกให้ฟังว่า ชาวอุตรดิตถ์จะเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ในพ่อพระยาพิชัยมากไม่มีใครกล้าลบหลู่
    โตมาไม่เคยได้ยินจริงๆ เคยมีเจ้านายจากกรุงเทพไปเจอดีมาแล้ว ผมไม่ใช่คนงมงาย แต่งานนี้ตัวใครตัวมันนะท่าน คนอุตรดิตถ์เค้ารู้เรื่องนี้ดี ผมจะคอยติดตามข่าวนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 ธันวาคม 2009
  4. harajoogoo

    harajoogoo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +71
    ขอให้ลบกระทู้เถอะครับ ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่
     
  5. daremim113

    daremim113 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +125
    ผู้ใหญ่โบราณท่านบอกเล่าต่อกันมา.....

    ท่านเกิดทีหลัง....คนต่างถิ่น.....จะไปทราบอะไรมาก????

    ถ้าไม่มีท่านวีรชนคนกล้าอย่างพวกท่าน....

    ท่านนักวิชาการครับ....ท่านจะได้เกิดมา สร้างความคิดแบบนี้หรอ???

    เห้ย...ความรู้มากก็ชอบคิดไรแผงๆ เอามาสร้างประเทศตอนนี้ดีกว่าไหม?
     
  6. sujjung

    sujjung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    193
    ค่าพลัง:
    +424
    เป็นคนจังหวัดพิษณุโลกค่ะ แต่มาอาศัยอยู่ใต้ร่มบารมีของท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหักค่ะ

    ท่านศักดิ์สิทธิ์มากนะคะ....อ่านประวัติของท่านให้ลึกซึ้งแล้วจะตื้นตันค่ะ
     
  7. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,671
    ค่าพลัง:
    +51,946
    *** ซื่อสัตย์เด็ดขาด ****

    ดาบหัก... ตอนออกรบครั้งแรก
    เขาจึงเรียกต่อท้ายชื่อกันมา
    ที่ยอมสละชีวิต ...เพื่อรักษาสัจจะ เป็นสัจจาที่ให้ไว้
    พูดแล้วทำจริง.... คือ ซื่อสัตย์เด็ดขาด
    คนไทยนักรบไทยโบราณ เขาทำจริง...ไม่กลับคำพูดตัวเอง

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  8. พระยา

    พระยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +294
    รักและเคารพท่านครับ สัจจะวาจาของนักรบเมืองพิชัยครับ
    ทั้งชีวิต ที่เกิดมา มีสิ่งใด ที่มีค่า กว่าเถ้าธุรี
    อ๋อ.....ก็ความดีนะซิ
     
  9. NATTAYA nurse

    NATTAYA nurse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +781
    ดิฉันเป็นลูกของท่านพ่อพระยาพิชัยคะ ด้วย เคารพท่านนักวิชาการเป็นอย่างสูง คนอุตรดิตถ์ทุกท่านคงไม่สบายใจแน่ แน่ เมื่อเห็นข้อความนี้

    เพราะดิฉันเห็นแล้วรู้สึกไม่สบายใจอย่างยิ่ง (ขออ้างอิงของคุณพรานใหญ่นะคะ) ที่นักวิชาการสนใจมีเพียงเรื่องสงสัยในความเก่งกาจสามารถที่รบจนดาบหักจนเป็นที่มาของชื่อ พระยาพิชัยดาบหัก แค่นั้นเองหรือเรียนท่านนักวิชาการอวดรู้ให้ทราบสักนิด ว่าที่ชาวอุตรดิตถ์เคารพบูชาเทอดทูลพ่อพระยาพิชัย เพราะความจงรักภักดีที่พ่อพระยาพิชัยมีต่อพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นนักรบที่ร่วมกู้ชาติ และสละชีวิตเพื่อศักดิ์ศรีแห่งความจงรักภักดีเสมอชีวิต และไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่(ทั้งเรื่องการเมือง การปกครอง) การเสียสละชีวิตของพระยาพิชัยครั้งนั้น เป็นการเสียสละเพื่อประโยชน์สุขของชาติและบ้านเมืองโดยแท้ ฃึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เข้าใจในเหตูที่ต้องเสียสละของท่าน ความฃื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อฃาติและพระมหากษัตริย์ของพ่อพระยาพิชัย จึงยังคงอยู่และกล่าวขานสืบมา และจะเป็นที่เคารพของชาวอุตรดิตถ์สืบต่อชั่วลูกชั่วหลาน




    .......นรชาติ ติวางวาย มลายสิ้น ทั้งอิน ทรีย์
    สถิตทั่ว แต่ชั่วดี ประดับไว้ ในโลกา<!-- google_ad_section_end --> ....







    พระยาพิชัยดาบหัก

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรม


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content -->[​IMG]
    อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์


    พระยาพิชัยดาบหัก เดิมชื่อ จ้อย เกิดที่บ้าน ห้วยคา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2284 ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ศึกษาอยู่กับท่านพระครูวัดมหาธาตุหรือวัดใหญ่ เมืองพิชัย ภายหลัง จ้อยได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี หรือ ทองดีฟันขาว มีความสามารถทั้งทางเชิงมวยและเชิงดาบ
    เข้ารับราชการกับพระเจ้าตากสิน ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาตาก ต่อมานายทองดีได้รับแต่งตั้งเป็นองค์รักษ์มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงพิชัยอาสา" เมื่อรับราชการมีความดีความชอบจึงได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ พระยาสีหราชเดโช และพระยาพิชัย ผู้สำเร็จราชการครองเมืองพิชัย ซึ่งรับพระราชทานเครื่องยศเสมอเจ้าพระยาสุรสีห์ ตามลำดับ
    ภายหลังพม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย 2 ครั้ง ในการรบครั้งที่ 2 พระยาพิชัยถือดาบสองมือ ออกต่อสู้จนดาบหักไปข้างหนึ่ง และรักษาเมืองไว้ได้ ดังนั้นจึงไดัรับสมญานามว่า " พระยาพิชัยดาบหัก "
    <TABLE class=toc id=toc sizset="0" sizcache="0"><TBODY sizset="0" sizcache="0"><TR sizset="0" sizcache="0"><TD sizset="0" sizcache="0">เนื้อหา

    [1 ประวัติ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT> ประวัติ

    ชาติภูมิ

    พระยาพิชัยดาบหัก เดิมชื่อ จ้อย เกิดในปี พ.ศ. 2284 ที่บ้านห้วยคา เมืองพิชัย จ.อุตรดิตถ์ มีพี่น้อง 4 คน แต่เสียชีวิตไป 3 คน บิดามารดาไม่ปรากฏนาม
    วัยเยาว์

    เด็กชายจ้อยมีนิสัยชอบชกมวยมาตั้งแต่เยาว์วัย บิดาได้พร่ำสอนเสมอ ถ้าจะ ชกมวยให้เก่งต้องขยันเรียนหนังสือด้วย เมื่ออายุได้ 14 ปี บิดานำไปฝากกับท่านพระครูวัดมหาธาตุ เมืองพิชัย จ้อยสามารถอ่านออกเขียนได้จนแตกฉานเพราะเป็นคนขยันและเอาใจใส่ในตำราเรียนคอยรับใช้อาจารย์ และซ้อมมวย ไปด้วย ทั้งหมัด เข่า ศอก และสามารถเตะได้สูงถึง 4 ศอก ในขณะที่เป็นเด็กวัดนั้นเขามักจะถูกกลั่นแกล้งจากเด็กที่โตกว่าเสมอ แต่ในระยะหลังเขาก็สามารถปราบเด็กวัดได้ทุกคนด้วยชั้นเชิงมวย
    ต่อมาเจ้าเมืองพิชัยได้นำบุตร (ชื่อเฉิด) มาฝากที่วัดเพื่อร่ำเรียนวิชา เฉิดกับพวกมักหาทางทะเลาะวิวาทกับจ้อยเสมอ เขาจึงตัดสินใจหนีออกจากวัดขึ้นไปทางเหนือโดยมิได้บอกพ่อแม่และอาจารย์ เดินตามลำน้ำน่านไปเรื่อยๆ เมื่อเหนื่อยก็หยุดพักตามวัด ที่วัดบ้านแก่ง จ้อย ได้พบกับครูฝึกมวยคนหนึ่งชื่อ เที่ยง จึงฝากตัวเป็นศิษย์แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี ครูเที่ยงรักนายทองดีมากและมักเรียกนายทองดีว่านายทองดี ฟันขาว (เนื่องจากท่านไม่เคี้ยวหมากพลูดังคนสมัยนั้น) ด้วยความสุภาพเรียบร้อย และขยันขันแข็งเอาใจใส่การฝึกมวยช่วยการงานบ้านครูเที่ยงด้วยดีเสมอมา ทำให้ลูกหลานครูเที่ยงอิจฉานายทองดีมาก จนหาทางกลั่นแกล้งต่างๆ นานา นายทองดี ฟันขาว เห็นว่าอยู่บ้านแก่งต่อไปคงลำบาก ประกอบ ครูเที่ยงก็ถ่ายทอดวิชามวยให้จบหมดสิ้นแล้วจึงกราบลาครูขึ้นเหนือต่อไป
    ชื่อเสียงเลื่องลือ

    เมื่อเดินถึงบางโพได้เข้าพักที่วัดวังเตาหม้อ (ปัจจุบันคือวัดท่าถนน) พอดีกับมีการแสดงงิ้ว จึงอยู่ดูอยู่เจ็ดวันเจ็ดคืน นายทองดี ฟันขาว สนใจงิ้วแสดง ท่าทางหกคะเมน จึงจดจำไปฝึกหัดไปฝึกหัดจนจดจำท่างิ้วได้ทั้งหมดสามารถกระโดดข้ามศีรษะคนยืนได้อย่างสบายจากนั้นก็ลาพระสงฆ์วัดวังเตาหม้อขึ้น ไปท่าเสา ขอสมัครเป็นลูกศิษย์ครูเมฆ ซึ่งมีชื่อเสียงในการสอนมวยมาก ครูเมฆรักนิสัยใจคอจึงถ่ายทอดวิชาการชกมวยให้จนหมดสิ้น<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP> ขณะนั้นนายทองดี ฟันขาว อายุได้ 18 ปี ต่อมาได้มีโอกาสชกมวยในงานไหว้พระแท่นศิลาอาสน์ กับนายถึก ศิษย์เอกของครูนิล นายถึกไม่สามารถป้องกันได้ ถูกเตะสลบไปนาน ประมาณ 10 นาที ครูนิลอับอายมากจึงท้าครูเมฆชกกัน นายทองดี ฟันขาว ได้กราบอ้อนวอนขอร้อง ขอชกแทนครูเมฆ และได้ตลุยเตะต่อยจนครูนิลฟันหลุดถึง 4 ซี่ เลือดเต็มปากสลบอยู่เป็นเวลานาน ชื่อเสียงนายทองดี ฟันขาว กระฉ่อนไปทั่วเมืองทุ่งยั้ง ลับแล พิชัย และเมืองฝาง นายทองดีอยู่กับครูเมฆประมาณ 2 ปี ก็ขอลาไปศึกษา การฟันดาบ ที่เมืองสวรรคโลก ด้วยความฉลาดมีไหวพริบ เขาใช้เวลาเพียง 3 เดือน ก็เรียนฟันดาบสำเร็จเป็นที่พิศวงต่อครูผู้สอนยิ่งนัก หลังจากนั้น ก็ไปเที่ยวเมืองสุโขทัยและเมืองตากระหว่างทางได้รับศิษย์ไว้ 1 คน ชื่อบุญเกิด ครั้งที่บุญเกิดถูกเสือคาบไปนั้น ทองดีได้ช่วยบุญเกิดไว้โดยการแทงมีดที่ปากเสือ จนเป็นที่ร่ำลือไปทั่ว
    รับราชการ ทหารเอกพระเจ้าตาก

    [​IMG]
    พระยาพิชัยต่อสู้กับพม่าเมื่อครั้งศึกโปสุพลายกทัพมาตีเมืองพิชัยจนดาบคู่กายของท่านหัก


    เมื่อท่านเดินทางถึงเมืองตาก ขณะนั้นได้มีพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาที่วัดใหญ่เจ้าเมืองตาก (พระเจ้าตากสินมหาราช) จัดให้มีมวยฉลองด้วย นายทองดี ฟันขาว ดีใจมากเข้าไปเปรียบมวยกับครูห้าว ซึ่งเป็นครูมวยมือดีของเจ้าเมืองตาก และมีอิทธิพลมาก นายทองดี ฟันขาว ใช้ความว่องไวใช้หมัดศอก และเตะขากรรไกรจนครูห้าวสลบไปเจ้าเมืองตากจึงถามว่าสามารถชกนักมวยอื่นอีกได้หรือไม่ นายทองดี ฟันขาว บอกว่าสามารถชกได้อีก เจ้าเมืองตากจึงให้ชกกับครูหมึกครูมวยร่างสูงใหญ่ ผิวดำ นายทองดี เตะซ้ายเตะขวา บริเวณขากรรไกร จนครูหมึกล้มลงสลบไป
    เจ้าเมืองตากพอใจมากให้เงิน 3 ตำลึง และชักชวนให้อยู่ด้วย นายทองดี ฟันขาว จึงได้ถวายตัวเป็นทหารของเจ้าเมืองตาก (พระเจ้าตากสิน) ตั้งแต่บัดนั้น รับใช้เป็นที่โปรดปรานมาก ได้รับยศเป็น "หลวงพิชัยอาสา" เมื่อเจ้าเมืองตากได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาวชิรปราการ ครองเมืองกำแพงเพชร หลวงพิชัยอาสาได้ติดตามไปรับใช้อย่างไกล้ชิด และเป็นเวลาเดียวที่พม่ายกทัพล้อม กรุงศรีอยุธยา
    พระยาวชิรปราการพร้อมด้วยหลวงพิชัยอาสาและทหารหาญ ได้เข้าปะทะต่อสู้จนชนะ ได้ช้างม้าอาหารพอสมควร ได้เข้าสู้รบกับทัพพม่าหลายคราวจนได้รับชัยชนะ พระเจ้าตากสินได้รับการต้อนรับจากประชาชนและยกย่องขึ้นเป็นผู้นำ เมื่อกอบกู้เอกราชได้แล้ว พระเจ้าตากสินขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงธนบุรีและได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงพิชัยอาสา เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถ เป็นทหารเอกราชองครักษ์ในพระองค์
    ความเป็นมาของชื่อ "พระยาพิชัยดาบหัก"

    ในปี พ.ศ. 2311 พม่าได้ยกทัพมาอีก 1 หมื่นคน พระเจ้าตากพร้อมด้วยหมื่นไวยวรนาถได้เข้าโจมตีจนแตกพ่าย และได้มีการสู้รบปราบก๊กต่าง ๆ อีกหลายคราว เมื่อพระเจ้าตากสินเสด็จกลับกรุงธนบุรี โปรดตั้งเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็น "พระยาสีหราชเดโช" มีตำแหน่งเป็นายทหารเอกราชองครักษ์ตามเดิม สุดท้ายเมื่อปราบก๊กพระเจ้าฝางได้แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบให้ทหารของพระองค์โดยทั่วหน้า ส่วนพระยาสีหราชเดโช (จ้อย หรือ ทองดี ฟันขาว) นั้น ได้โปรดเกล้าฯ บำเหน็จความชอบให้เป็นพระยาพิชัยปกครองเมืองพิชัยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนแต่เยาว์วัย
    ในปี พ.ศ. 2313 - 2316 ได้เกิดการสู้รบกับกองทัพพม่าอีกหลายคราว และทุกคราวที่กองทัพพม่าแตกพ่ายไป ก็สร้างความอัปยศอดสูแก่แม่ทัพนายกองเป็นทวีคูณ พอสิ้นฤดูฝนปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 โปสุพลายกกองทัพมาหมายตีเมืองพิชัยอีก "การศึกครั้งนี้พระยาพิชัยจับดาบสองมือคาดด้าย ออกไล่ฟันแทงพม่าอย่างชุลมุน จนเมื่อพระยาพิชัยเสียการทรงตัว ก็ได้ใช้ดาบข้างขวาพยุงตัวไว้ จนดาบข้างขวาหักเป็นสองท่อน" กองทัพโปสุพลาก็แตกพ่ายกลับไป เมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรม 7 ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 (ตรงกับวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2316)
    ถวายชีวิตเป็นราชพลี




    [​IMG]
    พระปรางค์วัดราชคฤห์วรวิหาร สถานที่บรรจุอัฐิของพระยาพิชัยดาบหัก


    เมื่อปี พ.ศ. 2325 หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันท์ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเล็งเห็นว่าพระยาพิชัยเป็นขุนนางคู่พระทัยสมเด็จพระเจ้าตากสินที่มีฝีมือและซื่อสัตย์ จึงชวนพระยาพิชัยเข้ารับราชการในแผ่นดินใหม่แต่พระยาพิชัยไม่ขอรับตำแหน่งด้วยท่านเป็นคนจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อองค์พระเจ้าตากสินฯ และถือคติที่ว่า "ข้าสองเจ้าบ่าวสองนายมิดี" จึงขอให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกสำเร็จโทษตน เป็นการถวายชีวิตตายตามสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ
    หลังจากท่านได้ถูกสำเร็จโทษสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีพระองค์จึงได้ทรงรับสั่งให้สร้างพระปรางค์นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ ณ วัดราชคฤห์วรวิหาร ซึ่งพระปรางคนี้ก็ยังปรากฏสืบมาจนปัจจุบัน
    พระยาพิชัยดาบหักได้สร้างมรดกอันควรแก่การยกย่องสรรเสริญให้สืบทอดมาถึงปัจจุบันได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที ความเด็ดเดี่ยวเฉียบขาดกล้าหาญรวมถึงความรักชาติ ต้องการให้ชาติเจริญรุ่งเรืองมั่นคงต่อไป




    ต้นตระกูล “วิชัยขัทคะ”



    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี ได้พระราชทานนามสกุลของตระกูลพระยาพิชัยดาบหักว่า “วิชัยขัทคะ” อ่านว่า ( วิ-ไช-ขัด-ทะ-คะ ) ซึ่งแปลโดยอนุโลมว่า “ดาบวิเศษ” <SUP class=reference id=cite_ref-1>[2]</SUP>
    อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก





    [​IMG]
    อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก


    อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอเมือง สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเกียรติในเรื่องความ องอาจ กล้าหาญ รักชาติ และเสียสละของท่าน ชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และนายเวทน์ นิจถาวร ผู้ว่าราชการขณะนั้นได้พร้อมใจกันสร้าง อนุสาวรีย์ของท่านประดิษฐานไว้หน้าศาลากลางจังหวัด และทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 หลังจากนั้นในระหว่างวันที่ 7 - 13 มกราคม ของทุกปี จะจัดงานเพื่อระลึกถึงวีรกรรมของท่าน ถือเป็นงานประจำปี เรียกชื่องานว่า "งานพระยาพิชัยดาบหักและงานกาชาด"
    และในบริเวณอนุสาวรีย์ยังมี "พิพิธภัณฑ์ดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก" เป็นที่เก็บรักษาดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนัก 557.8 กิโลกรัม ฝักดาบทำด้วยไม้ประดู่ ฝังลวดลายมุกหุ้มปลอกเงินสลักสลาย และ "พิพิธภัณฑ์พระยาพิชัย" ที่ภายในเก็บรวบรวมประวัติของพระยาพิชัยดาบหัก รวมทั้งแบบจำลองสนามรบ และวิถีชีวิตผู้คนเมืองอุตรดิตถ์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยโบราณ
    อ้างอิง

    1. <LI id=cite_note-0> ทรงพล นาคเอี่ยม. (2550). การเปลี่ยนแปลงของความหลากหลายในเชิงศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวไทย : กรณีศึกษามวยไทยสายพระยาพิชัยดาบหัก. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๙, เล่ม ๓๐, ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๒๒๑๑: (รหัสนามสกุลพระราชทานที่ ๐๘๕๕ “วิชัยขัทคะ” สะกดแบบบาลีสันสกฤตว่า Vijayakhadga)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2009
  10. mashima

    mashima เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2009
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +162
    คุณปู่-คุณย่าและคุณพ่อของดิฉันเป็นคนอุตรดิตถ์ เรื่องพระยาพิชัยดาบหักเป็นเรื่องที่คนเฒ่าคนแก่เล่าขานให้ลูกหลานได้ฟังมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย ท่านเป็นแบบอย่างของความรักชาติรักแผ่นดิน ดิฉันได้ฟังเรื่องนี้ตั้งแต่เด็ก ๆ ......เคยเล่าเรื่องพระยาพิชัยให้หลานชายตัวเล็กฟังเกิดแรงบันดาลใจอยากเป็นทหารรับใช้ชาติ....ไม่ทราบว่าจะชำระทำไม? เพื่ออะไร?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2009
  11. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    "เอกสาร 3-4 รายการที่เขากล่าวถึง คือ ประวัติพระยาพิชัยดาบหัก ฉบับพระยาศรีสัชนาลัยบดี (เลี้ยง ศิริปาละกะ) ใช้เอกสารดังกล่าวเป็นหลัก เทียบเคียงกับพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และฉบับบริติชมิวเซียม สุดท้ายคือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา" มีเหตุผลอะไรที่ใช้ ฉบับของ พระยาศรีสัชนาลัยบดี มาเป็นหลัก

    ,,,,,

    ทำไมคิดว่า เล่นนั้น น่าจะมีความน่าเชื่อถือกว่า
     
  12. เอก999

    เอก999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +143
    เสี่ยงชีวิตกอบกู้บ้านเมือง
    ทหารเสือพระเจ้าตาก
    หนึ่งไม่มีสอง
     
  13. พระยา

    พระยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +294
    ไปเที่ยวมาครับ บ้านเกิดท่าน ที่ อ. พิชัยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. หลวงจีน

    หลวงจีน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    861
    ค่าพลัง:
    +1,326
    ขอสดุดีในวีรกรรมของพระยาพิชัย ที่ได้สร้างคุณอันใหญ่หลวงต่อประเทศไทย
     
  15. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +2,040
    ยอมไม่ได้ .............. ผมคนอุตรดิตถ์นะ .. สัจจะของพระยาพิชัย "กูไม่เป็นข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย" เเล้ว ตอนที่พระเจ้าตากโดนประหารชีวิต พระยาพิชัย ก็ได้ให้ประหารชีวิตตนเช่นกัน
     
  16. ZeusInw

    ZeusInw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +333
    ก็ไม่เห็นพระยาตากจะด้วยการประหาร

    เค้าทำดีกับบ้านเมืองทำไมต้องประหารด้วย

    ในการที่ออกพงศาวดารว่าประหารก็เพื่อไม่ให้ประชาชนลุกฮือ

    นักวิชาการ ก็แค่คนที่คร่ำครึในตำรับตำรา

    แต่ในเรื่องจริงแล้วไม่สามารถช่วยอะไรสำหรับผู้คนได้

    นั่งเอาตำรามานั่งตรวจกัน ตรวจไปตรวจมา

    เรื่องมันยิ่งมั่วไปใหญ่
     
  17. emaN resU

    emaN resU เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    2,946
    ค่าพลัง:
    +3,301
    ชำระประวัติศาสตร์เหรอฮะ

    ดีฮะ ดี ชอบ

    ศาสตราจารย์ชื่อปรามาส อ้อ... ปรามินทร์
    แล้วสัตราจานคนนี้ เป็นใครเหรอฮะ
    เคยรบกับพม่าตอนไหนบ้างฮะ
    โคตรพ่อโคตรแม่ของสัตราจานได้เสียสละอะไรไว้ให้แผ่นดินบ้างฮะ
    กิน ขี้ ปี้ นอน บนแผ่นดินสยาม แล้วยังจะหาชื่อเสียงหากินด้วยวิธีการอย่างนี้เหรอฮะ
    ชำระประวัติศาสตร์เหรอฮะ อย่าเลยฮะสัตราจาน ดูเสล่อเปล่าๆฮะ

    นั่งเทียนเขียน อยากดัง เผื่อรวย Bud-Soap
    วิธีอื่นๆเรื่องอื่นๆดีกว่าฮะสัตราจาน
    เรื่องนี้เดี๋ยวสัตราจานจะอยู่ไม่ทันรวยนะฮะ

    เป็นห่วงนะฮะ เกรงว่าสัตราจานจะกลายเป็นโมฆะบุรุษนะฮะ

    แว๊บๆ หายตัว
     
  18. cmaiya

    cmaiya สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2011
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +6
    สวัสดีชาวพุทธที่เจริญด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา จิตใจไตร่ตรอง ด้วยความเป็นธรรม
    หลวงพิชัยอาสาหรือพิชัยราชา เป้นทหารอาสาชาวจีนในปี 2310 ที่ดูแลอยู่ที่ค่ายวัดพิชัย ร่วมกับกองอาสาชวจีน ชื่อท่านคือ สิงห์ หรือพยัตเจิ๊ง หรือที่ถูกขนานนามว่า สิงห์เหนือ หรือ สิงห์พิชัย
    ในขณะนั้น (พระยาพิชัยดาบหัก เป็น ทองดีทหารอยุ่ในกองพระยาตากสิน)
    หลวงพิชัยอาสาหรือราชา (ทหารจีนอาสา) ที่ระยองได้เลื่อน
    ต่ำแหน่งเป้น พระยาพิชัย และที่ค่ายโพธิืสามต้น เป็นกองหน้าฝ่าทางด่านประตูด่านหน้า มาทางเรือร่วมกับทหารอาสาจำนาวมากที่เสียสละทั้งจีนและไทย ส่วน พระพิชัยดาบหักนั้น มาได้ต่ำแหน่งผู้สำเร้จราชการเมืองพิชัย ชื่อท่านคือ พระยาศรีราชเดโช จึงมักถูกคิดว่าเป็นคนเดียวกับหลวงพิชัยอาสาหรือราชาแต่ต้น ทั้งชาวอุตรดิตย์และชาวจีนไทยทั่วแคว้นแดนแห่งนี้ โปรดให้ความเคารพทั้งสองนักรบแดนเหนือที่รบเคียงบ่าเคียงไหล่มาด้วยกัน เพราะชะตากรรมทั้งสองท่าน คือหัวขาดเหมือนกันแต่ต่างกรรมต่างวาระ หลวงพิชัยอาสา ตำแหน่งสุดท้ายคือเจ้าพระยาพิชัยราชาเจ้าเมืองสวรรคโลก ส่วนทองดีทหารนั้น ตำแหน่งคือพระยาศรีราชเดโช ครองเมืองพิชัยใน ปี 2513 จึงมักถูกจำสับสนว่า พระยาพิชัยดาบหักเป็นนคนเดียวกันกับ หลวงพิชัยอาสา(ทหารจีน) แห่งค่ายวัดพิชัย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กันยายน 2011
  19. doctornattapong

    doctornattapong สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +16
    เป็นบทความที่น่าสนใจนะครับ
    มีใครได้อ่านบทความนั้นในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมบ้างครับ
    อยากทราบบทสรุปครับ
    ผมเห็นด้วยกับการชำระประวัติศาตร์นะครับ
    เพราะบางที
    พวกเราและลูกหลานของเราในอนาคต
    อาจรับรู้ผิดๆว่าท่านพระยาพิชัยดาบหักทำวีรกรรมที่ดีๆต่างๆสัก20เรื่อง
    แต่หลังจากไปขำระประวัติศาสตร์ ซึ่งบางครั้งได้ข้อมูลจากประวัติศาสตร์หรือพงศาวดาร
    จากประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศล่าอาณานิคมร่วมด้วย
    อาจทำให้เราทราบความจริง
    ว่าแท้จริงแล้วท่านพระยาพิชัยดาบหัก มีวีรกรรมมากมายเป็นร้อยๆเรื่องเลยก็ได้ครับ
    การชำระประวัติศาสตร์ก็เพื่อทำให้ประวัติศาสตร์และเรื่องราวเหล่านั้นน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
    เป็นความจริงยิ่งขึ้น
    และเพื่อให้ลูกหลานได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องและไม่บิดเบือน
    คนไทยทุกวันนี้ มักได้รับข้อมูลข่วสารที่บิดเบือน คลาดเคลื่อน หรือเป็นความจริงเพียงบางส่วน
    ทำให้เราแตกแยกกัน เพื่อผลประโยชน์ของคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
    เราเป็นชาวพุทธ
    พระพุทธองค์ทรงสอนให้เชื่อตามความเป็นจริงหลังจากได้ใช้"ปัญญา"พิจารณาตามหลักกาลามสูตรแล้วไม่ใช่เหรอครับ
    อย่างน้อยๆการที่นักวิชาการท่านดังกล่าวหยิบยกเรื่องนี้มาชำระให้ชัดเจน
    ก็เป็นการกระตุ้นให้ลูกหลานและคนไทยบางคนได้หันมาใส่ใจเรื่องของท่านมากขึ้น
    และนำคุณความดีของท่านไปเป็นแบบอยางที่ดีในการดำรงชีวิตต่อไป
     
  20. piak_piak

    piak_piak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    249
    ค่าพลัง:
    +6,484
    ท่านมาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว เป็นพระโพธิสัตว์บารมีมาก สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...